Virtual data center with OpenNebula

OpenNebula เป็นชื่อของ open source software สำหรับทำ virtual data center เวอร์ชั่นล่าสุดคือ 5.6.1 (https://opennebula.org)

ผมได้ทดลองในห้องปฏิบัติการ และเขียนเป็นขั้นตอนการติดตั้งจนกระทั่งได้ VM ขึ้นมา แต่ยังไม่ลงรายละเอียดถึงขั้นใช้งาน storage network ได้ ซึ่งจะได้ทดลองกันต่อไป

ในตอนนี้ จะเรียกว่า basic set up ก็ได้นะ ในการ set up ระบบจริงตามคำแนะนำ แต่ละเครื่องควรมี network card 2 cards เพื่อแยกระหว่าง network ที่ให้บริการ กับ Management network

การ set up จะต้องมีเครื่องที่เป็น Front-end เพื่อทำหน้าที่เป็น database และเว็บเพจสำหรับทำ configuration และสั่งการ และจะต้องมีเครื่องที่เป็น Hypervisor อย่างน้อย 1 เครื่อง โดยเลือกได้ว่าจะใช้ KVM หรือ vcenter สเปคเครื่อง hypervisor นี้ต้องรองรับ Virtualization extensions (Intel VT-x or AMD-V)

เตรียมการทดลองโดยใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผมนำมาใช้มี 3 เครื่อง อายุเครื่องก็พอสมควร (ตามกำลังทรัพย์ที่มีในห้องปฏิบัติการ) แต่ทั้ง 3 เครื่องนี้ มีเพียง 1 network card ครับ เครื่อง Front-end 1 เครื่อง สเปค Pentium(R) Dual-Core CPU E5200 @ 2.50GHz มี RAM 4 GB อันนี้เป็นเครื่องทั่วไปที่รัน apache2 web server และ mariadb database ได้ ใช้เครื่อง KVM จำนวน 2 เครื่อง เพื่อจะให้เห็นว่าสามารถสร้าง VM ไปที่ KVM node ที่ต้องการได้ เครื่อง KVM node01 เป็น AMD Phenom(tm) II X4 945 Processor มี RAM 8 GB และ KVM node02 เป็น Intel(R) Core(TM) i5 CPU M 520 @ 2.40GHz มี RAM 4 GB

นอกจากเครื่องคอมฯ แล้ว ผมก็มี network switch (L2-managed) เพื่อกำหนด port ให้รองรับ 802.1Q VLAN ผมออกแบบให้มี 2 VLAN คือ VLAN ID 6 (untagged) และ VLAN ID 7 (tagged) ซึ่ง VLAN 6 ก็คือ ครึ่งแรกของ network class C 192.168.6.0 เขียนแบบ CIDR 192.168.6.0/25 มี gateway คือ 192.168.6.1 และ VLAN 7 ก็คือ ครึ่งหลังของ network 192.168.6.128/25 มี gateway คือ 192.168.6.129

ผมเขียนขั้นตอนไว้ในเว็บไซต์ opensource.psu.ac.th จะสะดวกกว่านำมาใส่ไว้ในบล็อกนี้ทั้งหมด เข้าไปที่ https://opensource.cc.psu.ac.th/Ubuntu1804 ก็จะเห็น link ต่อไปนี้

แล้วจะมานำเสนอเรืองราวถัดไปครับ