การปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลเส้นทางระหว่างพิกัดจุดบนแผนที่ Google Map APIs ด้วย DirectionsTravelMode

          ก่อนที่เราจะไปเริ่มเนื้อหาของบทความี้ ผู้เขียนต้องขอท้าวความเดิมตอนที่แล้วของบทความก่อน ซึ่งผู้เขียนได้พูดถึงวิธีการแสดงผลเส้นทางทางระหว่างพิกัดจุดบนแผนที่ Google Map APIs ด้วย DirectionsService ในเบื้องต้นไว้ (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความ : การแสดงเส้นทางระหว่างพิกัดจุดบนแผนที่ Google Map APIs ด้วย DirectionsService ในเบื้องต้น )  สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนจึงอยากต่อยอดการทำงาน และเพิ่มลูกเล่นให้กับการแสดงผลแผนที่ด้วยการปรับเปลี่ยนการกำหนดรูปแบบการแสดงผลของเส้นทางให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์  ซึ่งเราจะให้ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบในการแสดงผลได้ว่า ต้องการดูเส้นทางในรูปแบบใดตามรูปแบบ Mode ที่ผู้ใช้เลือกมา เช่น เส้นทางเดิน ทางถนน หรือขนส่งสาธารณะ เป็นต้น โดยวิธีการดังกล่าวนี้เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการที่ต้องการทราบเส้นทางในแต่ละรูปแบบ เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับงานของแต่ละท่านได้ค่ะ    ตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากบทความที่แล้ว  ซึ่งจากตัวอย่างโค้ดในบทความที่แล้ว การกำหนด DirectionsTravelMode เป็น DRIVIING ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีรูปแบบอื่นๆให้เลือกใช้ด้วยกันทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้ DRIVING (Default):เป็นโหมดตั้งต้นให้หากไม่ได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งเป็นโหมดที่แสดงเส้นทางการขับขี่ด้วยยานพาหนะ BICYCLING: เป็นโหมดสำหรับเส้นทางที่เตรียมไว้สำหรับผู้ขับขี่จักรยาน TRANSIT: เป็นโหมดสำหรับแสดงเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะ เช่น  รถบัส รถไฟ หรือแม้แต่เครื่องบิน เป็นต้น WALKING: เป็นโหมดสำหรับแสดงเส้นทางการเดินถนน           ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างในส่วนของการเลือกรูปแบบเส้นทางและผลลัพธ์ของแต่ละรูปแบบ ดังตัวอย่างโค้ดต่อไปนี้ การกำหนดรูปแบบของเส้นทางในการแสดงผลบนแผนที่ โค้ด … Read more

การแสดงเส้นทางระหว่างพิกัดจุดบนแผนที่ Google Map APIs ด้วย DirectionsService ในเบื้องต้น

          หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเคยได้มีโอกาสศึกษาบทความเกี่ยวกับความสามารถของ Google Map APIs มาบ้างแล้วนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องเกี่ยวกับแผนที่นับเป็นอีกหัวข้อที่น่าสนใจในการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่ และที่ตั้ง เพราะถือเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้มีความตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น โดยความสามารถของแผนที่ที่ใน Google Map APIs มีมาให้ใช้กันได้ในหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้พัฒนาแต่ละคน อาทิ การกำหนดพิกัดจุด การแสดงเส้นทาง การค้นหาละติจูด-ลองจิจูดจากการคลิกบนแผนที่ หรือจนกระทั่งการดึงพิกัดมาจากฐานข้อมูลเพื่อมาแสดงผล เป็นต้น โดยในความเป็นจริงแล้ว ลูกเล่นเกี่ยวกับการทำงานกับแผนที่ยังมีอีกมากมาย แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอพูดถึงในส่วนของการแสดงเส้นทางระหว่างจุดสองจุดในแบบเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจก่อนนำไปประยุกต์ใช้ ดังนี้ การแสดงเส้นทางโดยเบื้องต้นเมื่อทราบจุดพิกัดละติจูด-ลองจิจูดบนแผนที่ อ้างอิงไฟล์ที่ใช้ในการทำงานร่วมกับ Google Map APIs <script src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=YOUR_API_KEY&libraries=places&language=en” async defer></script> ส่วนของ Javascript ที่ใช้ในการแสดงเส้นทางระหว่างพิกัด 2 จุดบนแผนที่ <script type=”text/javascript”> /////////การกำหนดค่าละติจูด-ลองจิจูดระหว่าง 2 ตำแหน่ง ในที่นี้คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสวนสาธารณะหาดใหญ่ var markers = [ { “title”: ‘มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์’, … Read more

Itextsharp #4 คู่มือเทคนิคพื้นฐานการใช้งาน PdfTable สำหรับมือใหม่ ตอนที่ 2

บทความนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้ สามารถอ่านบทความได้ที่ Itextsharp #3 คู่มือเทคนิคพื้นฐานการใช้งาน PdfTable สำหรับมือใหม่ ตอนที่ 1 เพื่อความเข้าใจต่อเนื่องกันนะครับ โดยเนื้อหาในบทความนี้เป็นส่วนของใช้งาน Table ที่ผู้เขียนเองใช้ในการทำงานคือการทำ Nest Table นั้นเองโดยปกติการสร้างเอกสาร1ใบ ผู้เขียนจะใช้ Table ตัวแรกในการกำหนดรูปแบบหน้าตาของเอกสาร การจัดตำแหน่งสัดส่วนต่างๆ หลังจากนั้นก็ใช้ Table ซ้อนเข้าไปตามส่วนต่างๆตามที่ออกแบบไว้มาจัดการส่วนของข้อมูล จึงจำเป็นต้องใช้งาน Nest Table เราไปดูตัวอย่างรูปกันก่อนดีกว่าครับ จากตัวอย่างจะพบว่าสำหรับคนที่เขียนโปรแกรมก็คือการซ้อนตารางปกติที่พบเจอได้ในการเขียนโปแกรม จากรูปคือเอาTable2 ใส่ใน Cell ที่1ของ Table1 หรือพูดภาษาของเขียนโปรแกรมคือเขียน Table2 ลงใน <TD> แรกของ Table1 นั้นเอง ซึ่งถามว่าทำงานคล้ายๆกับตารางทั่วไปแล้วสามารถรวมCell ก่อนเพิ่มตารางได้ไหมใน ItextSharp ทำได้เหมือนกันครับ ตามรูปเลยครับ จากตัวอย่างเป็นการรวม Collumn แล้วทำการเพิ่ม Table2 เข้าไปโดยใน ItextSharp เรากำหนดCollumn ของTable1และTable2 เท่ากัน ตัวโปรแกรมจะจัดขนาดของ … Read more

การเรียกใช้งาน (Register) Bootbox.js ด้วย C#.NET

ในการออกแบบเว็บฟอร์มบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูลนั้น นักพัฒนาเว็บแอ๊พปลิเคชั่นส่วนใหญ่จะออกแบบเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานประมาณนี้ ผู้ใช้เปิดเว็บฟอร์มขึ้นมาด้วยเว็บบราวเซอร์ ผู้ใช้กรอกข้อมูลลงในเว็บฟอร์ม ผู้ใช้กดปุ่มบันทึกข้อมูล ระบบตรวจสอบ (Validate) ข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกเข้ามา ถ้าผ่านก็บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล ถ้าไม่ผ่านก็จะแจ้งข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้งานให้ตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง ระบบจะแจ้งผลการบันทึกข้อมูลว่า “บันทึกข้อมูลสำเร็จ” กรณีที่บันทึกสำเร็จ หรือ “เกิดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล” ในกรณีที่มีข้อผิดพลาด การพัฒนาเว็บด้วย ASP.NET นั้นในขั้นตอนที่ 4 จะถูกเขียนด้วยโค้ด C#.NET ซึ่งเป็น Server Side Script ส่วนขั้นตอนที่ 5 นั้นเราสามารถใช้ Dialog ของ Bootbox.js ซึ่งเป็น Client Side Script มาช่วยได้ ซึ่งในบทความนี้จะแสดงวิธีการเขียนโค้ด C#.NET ให้เรียกใช้ Bootbox Dialog ได้เลย  (อ่านบทความ การสร้าง JavaScript Dialog ด้วย Bootbox.js ได้ที่นี่) และสร้างเป็นฟังก์ชั่นสำเร็จรูปไว้เรียกใช้งานใหม่ได้ (Reuse)   การรันคำสั่ง Bootbox.js … Read more

การสร้าง JavaScript Dialog ด้วย Bootbox.js

เชื่อว่านักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันทุกคนต้องเคยได้ใช้งาน JavaScript กันเพื่อทำให้เว็บแอปพลิเคชันสามารถทำงานได้ตามความต้องการ  ตัวอย่างตัวที่ใช้กันบ่อยๆ น่าจะเป็น JavaScript Confirm ใช้ในการยืนยันก่อนการดำเนินการต่าง ๆ เช่นการลบข้อมูล เพื่อป้องกันการคลิกปุ่มลบโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังรูป   จากรูปจะเห็นว่า JavaScript Confirm บน Google Chrome และ Mozilla Firefox หน้าตาไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่ใช้โค้ดเดียวกัน และปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบคือ หากเราต้องการให้ข้อความ “คุณต้องการลบข้อมูลรายการนี้ใช่หรือไม่?” มีการขึ้นบรรทัดใหม่ ใส่สี เพิ่มขนาดฟอนต์ จัดตัวหนา ตัวเอียงก็ไม่สามารถทำได้เลย แต่ถ้าต้องการให้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก็ต้องใช้ตัวช่วย นั่นคือ Bootbox.js ซึ่งเป็น JavaScript library ที่ใช้งานร่วมกับ Bootstrap โดยใช้ Bootstrap modal มาทำหน้าที่แทน JavaScript Dialog ต่างๆ ทั้ง Alert, Confirm, Prompt และรวมถึง Custom Dialog ด้วย … Read more