Itextsharp #3 คู่มือเทคนิคพื้นฐานการใช้งาน PdfTable สำหรับมือใหม่ ตอนที่ 1

บทความนี้ผู้เขียนจะพูดถึงส่วนที่มีการทำงานในรูปแบบ Table สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใหม่สามารถอ่านบทความ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 เพื่อความเข้าใจต่อเนื่องกันนะครับ

ก่อนที่ผู้เขียนจะไปพูดถึงส่วนของการเขียนโปรแกรมนั้น ผู้เขียนอยากอธิบายเพื่อทำความเข้าใจให้กับผู้อ่านได้เห็นภาพได้ชัดเจนเกี่ยวลักษณะการทำงานของ Table ใน Itextsharp ต่อจากตอนที่แล้ว ที่ได้พูดถึงไว้แบบคร่าวๆ ตอนนี้เราจะลงรายละเอียดมากขึ้น ว่ามีการทำงานอย่างไร

จากรูปตัวอย่างจะเป็นการแสดงส่วนของการทำงานในการสร้างTable ของโปรแกรม Itextsharp โดยเมื่อเราได้ทำการเพิ่ม pdfCell ลงไปใน pdfTable Itextsharp จะทำการนำ pdfCell มาเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ และทำการอ้างอิงว่าในแต่ละ Row มีได้กี่ Collumn ตามที่ได้ระบุไว้ตอนสร้าง Table เมื่อมี Cell ครบตามกำหนดจะขึ้นRowใหม่ให้อัตโนมัติ แต่สิ่งที่ควรระวังคือ กรณีที่Rowนั้นๆมี Collumn ไม่ครบตามที่กำหนด โปรแกรมอาจไม่แสดงผลของส่วนนั้นได้ ซึ่งในตัวอย่างผู้เขียนได้กำหนดไว้ 3 Collumn ต่อ Row และได้เพิ่ม pdfCell ไปทั้งหมด 9 อันด้วยกันครับ เมื่อทำการแสดงผลจะได้ Table ที่มีขนาด 3×3 นั้นเอง

PdfPTable PdfTable = new PdfPTable(3);//#1
float[] tbwidths = { 50f, 50f, 50f};
PdfTable.SetWidths(tbwidths);
PdfTable.WidthPercentage = 100;
PdfPCell PdfCell = null;
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("1", bold)));//#2
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("2", bold)));//#3
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("3", bold)));//#4
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("4", bold)));//#5
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("5", bold)));//#6
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("6", bold)));//#7
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("7", bold)));//#8
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("8", bold)));//#9
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("9", bold)));//#10
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);

จาก code ด้านบนผู้เขียนได้ทำการสร้าง Table ขึ้นมาโดยกำหนดขนาด Collumn ไว้เท่ากับ 3 (#1)และทำการกำหนดขนาดความกว้างของ Collumn ในบรรทัดถัดมา เมื่อทำการสร้าง Table เรียบร้อยแล้วผู้เขียนก็ทำการสร้างและเพิ่ม Cell ลงใน Table ไล่ลงมาตามลำดับใน Code (#2-#10) แค่นี้เราก็ได้ Table ตามรูปตัวอย่างแล้วครับ หลังจากตัวอย่างแรกผ่านไป ก็มาต่อกันที่ตัวอย่างต่อไปที่ใครใช้งาน Table ก็จำเป็นต้องได้ใช้ฟังก์ชั่นนี้แน่นอน นั้นก็คือ Colspan กับ rowspan นั้นเอง ตัวอย่างนี้จะให้ดูการจัดงานฟังก์ชั่นและการจัดวางลำดับของ Cell เพื่อให้แสดงผลตรงตามที่เราต้องการโดยเริ่มจากฟังก์ชั่น colspan กันก่อนดังนี้

จากตัวอย่างเป็นการรวม collumn ที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน และมี column 3-8 เป็นแบบปกติ การเขียนโปรแกรมนั้นให้ยึดเอา collumn แรกที่ทำการรวมCell เป็นจุดเริ่มต้นในการเขียนฟังก์ชั่น Colspan ซึ่งในรูปก็คือ Cell ที่ 1 นั้นเอง

PdfPTable PdfTable = new PdfPTable(3);
float[] tbwidths = { 50f, 50f, 50f};
PdfTable.SetWidths(tbwidths);
PdfTable.WidthPercentage = 100;
PdfPCell PdfCell = null;
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("1", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfCell.Colspan = 2; <---------------------------------------------------#1
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("2", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("3", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("4", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("5", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("6", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("7", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("8", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);

จาก Code ตัวอย่างส่วนที่เป็นฟังก์ชั่นการรวม Cell คือ PdfCell.Colspan (#1) นั้นเองและ Cell ที่เหลือก็เพิ่มปกติเหมือนตัวอย่างแรก ต่อไปจะเป็นตัวอย่างของการใช้งาน Rowspan ตามรูปและ Code ดังนี้

ตัวอย่าง Code ดังนี้

PdfPTable PdfTable = new PdfPTable(3);
float[] tbwidths = { 50f, 50f, 50f};
PdfTable.SetWidths(tbwidths);
PdfTable.WidthPercentage = 100;
PdfPCell PdfCell = null;
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("1", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfCell.Rowspan = 3; <---------------------------------------------------#1
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("2", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("3", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("4", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("5", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("6", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("7", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfTable.AddCell(PdfCell);

ก็จบในส่วนของ Colspan และ Rowspan ในฟังก์ชั่นที่จะแนะนำต่อไปจะเป็นเรื่องของการทำ Header และ Footer ให้กับ Table ของเรากันครับ โดยฟังก์ชั่นดังกล่าวจะทำการโชว์ Header และ Footer ที่เรากำหนดในทุกๆหน้าที่ Table แสดงผลอยู่ อารมณ์เหมือนกับ Header Footer ใน MSWord ครับ

จากในรูปตัวอย่างจะแบ่งออกเป็น2ส่วนด้วยกันคือ บล๊อกด้านซ้ายจะเป็นรูปแบบการจัดเรียง Row ของการเขียน Code และบล๊อกด้านขวาจะเป็นการแสดงในการใช้งานจริงบน PDF โดยลักษณะการเขียนนั้น Itextsharp บังคับให้เราเขียน Code ส่วนของ Header และ Footer ก่อนเสมอจากนั้นก็ตามด้วยส่วนของ Body ที่เราต้องการต่อท้ายไปเรื่อยๆ ซึ่งเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานมาเพียงแค่2บรรทัดก็สามารถใช้งานได้แล้วครับ มาดูตัวอย่าง Code กันเลยดีกว่า

PdfPTable PdfTable = new PdfPTable(3);
float[] tbwidths = { 50f, 50f, 50f};
PdfTable.SetWidths(tbwidths);
PdfTable.WidthPercentage = 100;
PdfTable.HeaderRows = 2; <----------------------------------------#1
PdfTable.FooterRows = 1; <----------------------------------------#2
PdfPCell PdfCell = null;
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("Headder", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfCell.Colspan = 3;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("Footer", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfCell.Colspan = 3;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("body 1", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfCell.Colspan = 3;
PdfTable.AddCell(PdfCell);
PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk("body 2", bold)));
PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER;
PdfCell.Colspan = 3;
PdfTable.AddCell(PdfCell);

จาก Code ตัวอย่างจะพบว่ามีฟังก์ชั่นใหม่เพิ่มมา2บรรทัดด้วยกันคือ (#1)ส่วนของการกำหนดให้มี Headder+Footer โดยในฟังก์ชั่นนั้นสังเกตุว่าจะกำหนดให้ HeaderRows=2 แต่พอไปดูส่วนของการสร้าง Cell พบว่ามี Header ที่สร้างแค่อันเดียว เหตุผลที่กำหนดเป็น 2 เพราะการกำหนดส่วนของ Header นั้นต้องรวม footer เข้าไปด้วย ในกรณีตัวอย่างคือมี Header 1 และ Footer 1 รวมกันเป็น 2 และต้องไปกำหนดแยกของ Footer แยกอีกฟังก์ชั่นเพื่อให้ตัว Itextsharp รู้ว่ามี Footer กี่แถวด้วยกัน (#2) หลายท่านอาจสับสน ผู้เขียนจะทำการยกตัวอย่างให้ดูเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

จากตัวอย่างในรูปผู้เขียนได้ยกตัวอย่างกรณีที่เราต้องการ Header 2 แถวและ Footer 1 แถว เวลาเขียน Code ให้กำหนดส่วนของ HeaderRow=3 เนื่องจาก 3 มาจาก (Header)2 + (Footer)1 นั้นเองและหลังจากนั้นก็กำหนด FooterRow =1 ตามที่เราตั้งไว้

จากรูปตัวอย่างถัดมา เราต้องการ Header 2 แถวและ Footer 2 แถว เวลาเขียน Code ให้กำหนดส่วนของ HeaderRow=4 และหลังจากนั้นก็กำหนด FooterRow =2 ตามที่เราตั้งไว้ เราก็จะได้การแสดงผลตรงตามที่เราต้องการแล้ว แต่กรณีที่เราต้องการ Footer เพียงอย่างเดียวเราสามารถทำได้โดยกำหนด HeaderRow=1 และหลังจากนั้นก็กำหนด FooterRow =1 เราก็จะได้ Footer เป็นที่เรียบร้อยครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้ที่สนใจอ่านบทความของผู้เขียนครับ และสำหรับเนื้อหาที่เขียนในบทความมาจากประสบการณ์และการลองผิดลองถูกจากผู้เขียนเอง ถ้ามีส่วนไหนผิดพลาด ตกหล่น ก็ขออภัยไว้นะที่นี้ด้วยครับ