การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ
วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

 

WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น

ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every hour)

 

ตัวอย่างหน่วยงานที่เผยแพร่ WMS

 

*** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

*** ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

 

โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/

2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

01

3. เปิดโปรแกรม Google Earth

4. เพิ่มเลเยอร์ ภาพซ้อนทับ โดยสามารถเพิ่มด้วยการ

  • คลิกไอคอนบน Tools bar หรือ
  • คลิกขวาที่สถานที่ชั่วคราว > เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ หรือ
  • คลิกที่เมนู เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ ก็ได้เช่นกัน

02

5. แท็บ รีเฟรช > คลิกปุ่ม พารามิเตอร์ WMS

03

6. คลิกปุ่ม เพิ่ม… > วางลิงค์ที่คัดลอกมาจากเว็บ NASA จากข้อ 2 > คลิกปุ่ม ตกลง

04

7. เลเยอร์โปร่งใส จะแสดงรายการ ให้เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม เพิ่ม ->

05

8. รายการที่เลือกจะแสดงในส่วนของเลเยอร์ที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม ตกลง

06

9. ใส่ชื่อชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม ตกลง

07

10. จะแสดงข้อมูล Google Earth ตามรูป

08

*** ทางตอนกลาง ตอนบน และอีสานของไทยเรา มีความหนาแน่นของจุดความร้อนมากๆเลยนะคับ #ภัยแล้ง

จากรูปจะเห็นได้ถึงการกระจายตัวหรือจุดความร้อนที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ต่อไป อาทิเช่น ภัยแล้ง จุดเสี่ยงการเกิดไฟป่า เป็นต้น

___จะเห็นได้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้สามารถนำข้อมูลนั้นมากช่วยในการคิดและวิเคราะห์ ต่อยอดงานวิจัยต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น หน่วยงานท่านล่ะคับ มีอะไรที่อยากจะมาแชร์บ้าง? หรืออยากแชร์แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร? คราวหน้าจะมาเขียนวิธีการทำ WMS เพื่อการเผยแพร่ให้นะคับ ^^

 

สวัสดี—-

Comments are closed.