วิธีการตั้งค่าและการใช้งาน NagiosQL บน Ubuntu 14.04 LTS

สามารถอ่านวิธีติดตั้ง NagiosQL บน Ubuntu 14.04 LTS ได้ที่
http://sysadmin.psu.ac.th/2014/07/23/nagiosql-ubuntu/

หลังจากการติดตั้งจะต้องมีการตั้งค่าให้สามารถควบคุม Nagios ได้ดังนี้

วิธีการตั้งค่า Nagiosql configuration

1) หลังจาก Login ให้ทำการเข้าไปแก้ไข config path ดังนี้

Administrator -> Config targets -> Configuration directories
Nagios base directory -> /etc/nagios3
Import Directory -> /etc/nagios3/conf.d

Nagios command file -> /var/lib/nagios3/rw/nagios.cmd
Nagios binary file -> /usr/sbin/nagios3
Nagios process file -> /var/run/nagios3/nagios3.pid
Nagios config file -> /etc/nagios3/nagios.cfg

2) จากนั้นทำการ save config โดยการกดปุ่ม Save ตามรูป

3) หลังจากทำการ save จะปรากฎข้อความดังรูป

2014-07-23_200526

4) ทำการแก้ไขไฟล์ของ nagios ให้มาเรียก configuration ของ nagiosql (ยกเว้น nagios config, cgi config ที่ยังใช้ของ nagios อยู่ เนื่องจากเป็น config ของโปรแกรม nagios)

Tools -> Nagios config -> Nagios main configuration file

5) ทำการเพิ่มข้อความดังภาพ

...

log_file=/var/log/nagios3/nagios.log

cfg_file=/etc/nagiosql/contacttemplates.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/contactgroups.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/contacts.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/timeperiods.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/commands.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/hostgroups.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/servicegroups.cfg

cfg_dir=/etc/nagiosql/hosts
cfg_dir=/etc/nagiosql/services

cfg_file=/etc/nagiosql/hosttemplates.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/servicetemplates.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/servicedependencies.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/serviceescalations.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/hostdependencies.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/hostescalations.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/hostextinfo.cfg
cfg_file=/etc/nagiosql/serviceextinfo.cfg

# Commands definitions
#cfg_file=/etc/nagios3/commands.cfg

# Debian also defaults to using the check commands defined by the debian
# nagios-plugins package
#cfg_dir=/etc/nagios-plugins/config

# Debian uses by default a configuration directory where nagios3-common,
# other packages and the local admin can dump or link configuration
# files into.
#cfg_dir=/etc/nagios3/conf.d

...

6) ทำการแก้ค่า check_external_command จาก 0 เป็น 1 ดังนี้

...

# EXTERNAL COMMAND OPTION
# This option allows you to specify whether or not Nagios should check
# for external commands (in the command file defined below). By default
# Nagios will *not* check for external commands, just to be on the
# cautious side. If you want to be able to use the CGI command interface
# you will have to enable this.
# Values: 0 = disable commands, 1 = enable commands

check_external_commands=1

...

7) จากนั้นทำการ save config โดยการกดปุ่ม Save ตามรูป

2014-07-23_203407

8) เนื่องจาก Nagios มี config ของตัวเองอยู่แล้ว ให้ทำการ Import Data ของ Nagios มาไว้ด้วยดังนี้

8.1) ทำการ Import Data จาก /etc/nagios3/conf.d ซึ่งได้ตั้งค่า Import directory ไว้แล้วตามข้อ 1)

Tools -> Data import -> Configuration Import

– จากนั้นทำการ กดปุ่ม Import ดังรูป

8.2) ทำการ Import Data จาก /etc/nagios-plugins/config ซึ่งต้องทำการตั้งค่า Import directory ใหม่ดังรูป

– จากนั้นทำการ กดปุ่ม Import ดังรูป

Administrator -> Config targets -> Configuration directories

2014-07-23_204140– จากนั้นกลับไป Import Data อีกครั้งดังนี้

Tools -> Data import -> Configuration Import

– จากนั้นทำการ กดปุ่ม Import ดังรูป

2014-07-23_204610

9) จากนั้นทำการ Save ข้อมูลจากฐานข้อมูลทั้งหมดลง config file และทำการทดสอบ config และสั่ง Restart nagios ดังรูป

Tools -> Nagios control -> Check Written configuration files

2014-07-23_214921

10) ทดสอบเข้า web nagios เพื่อตรวจสอบผลการ Import configuration

การตั้งค่า Alert mail

1) ทำการแก้ไข Contact name : nagiosadmin

Alerting -> Contact data

2014-07-23_222435

2) ทำการเพิ่มข้อมูลดังรูป โดยรายละเอียกที่ต้องการให้ส่งสามารถเลือกได้ที่ Host command และ Service command สำหรับ profile default ของ nagiosadmin จะส่งทั้งหมด

2014-07-23_222616

การเพิ่ม Host

1) ทำการเพิ่มข้อมูล Host

Supervision -> Host

2014-07-23_223609

2) ทำการตั้งค่าทั่วไปและทำการเลือก Host Template ทำให้เราไม่ต้องตั้งค่าเยอะ เพราะจะ Inherite มาจาก Template

2014-07-23_224822

3) ทำการตั้งค่าในกรณีที่ต้องการแสดงข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีเครื่องมีปัญหาให้ติดต่อใคร

2014-07-23_224927
4) จากนั้นทำ Save และทดสอบ เข้าไป Restart Nagios

Tools -> Nagios control -> Check Written configuration files

จะพบว่าในขั้นตอน Check configuration files มีข้อความฟ้องเป็น Warning ว่า Linux-Server ยังไม่มี Service ให้ทำการเพิ่ม Service ให้กับ Host ในขั้นตอนต่อไป

การเพิ่ม Service

1) ทำการเพิ่มข้อมูล Service ให้กับ Host ชื่อ Linux-Server

Supervision -> Services

2014-07-23_230036

2) ทำการตั้งค่าทั่วไปและทำการเลือก Service Template เพื่อดึงค่าต่าง (Monitor Period, Retry, Interval ฯลฯ) โดยเฉพาะเมื่อติดตั้ง NagiosGraph จะทำที่ Template ที่เดียวจะสามารถขึ้น Graph ให้กับทุก Service โดยไม่ต้องไปไล่ใส่ทุก Service

2014-07-23_230809

3) จากนั้นทำ Save และทดสอบ เข้าไป Restart Nagios

Tools -> Nagios control -> Check Written configuration files

จะพบว่าจะไม่มี Warning ฟ้องแล้ว ให้ลองใช้งานดูครับ ตัว NagiosQL จริง ๆ ก็คือเป็นแค่ Web ที่เขียน config แทนที่เราจะต้องแก้ไขด้วยมือ Function การใช้งานก็เหมือน Nagios ปกติแต่จะสบายกว่าในกรณีที่มีเครื่องเยอะ ๆ แล้วจะติดใจครับ ^ ^

Comments are closed.