วิธีการจองทรัพยากร (ห้องประชุม/รถ/Projector/etc…) ใน Calendar ของ G Suite for Education

ข้อแตกต่างระหว่าง Calendar ของ G Suite for Education กับ Free Gmail สร้าง Event เพิ่มผู้เข้าร่วมประชุม และ จองทรัพยากร คลิกในช่อง วันบนปฏิทิน ที่เราต้องการนัดประชุม กรอกหัวข้อการประชุม แล้ว ใส่รายชื่อ ผู้เข้าร่วมประชุมและเลือกห้องประชุม คลิกที่ See guest availability เพื่อดูว่า ว่างพร้อมกันหรือไม่ ทั้งผู้เข้าร่วมประชุม และ ห้อง หากบางคนไม่ว่างในเวลาที่กำหนด สามารถคลิก Suggested times เพื่อให้ Google Calendar หาเวลาที่ว่างพร้อมกันหมดได้ ใส่คำอธิบาย หัวข้อการประชุมก็ได้ เมื่อกดปุ่ม Save ระบบจะแจ้งว่า ให้ส่ง Email ไปแจ้งผู้เข้าร่วมประชุมหรือไม่ แนะนำว่าควรคลิก Send เพิ่มเติม เมื่อคลิกเข้ามาดูรายละเอียดการนัดประชุม ใน G Suite for Education มีบริการ Hangouts Meet ให้ในตัว (นัดหมายด้วย Free Gmail จะสร้างห้องเองไม่ได้ ทำได้แต่ Join เข้ามา) ซึ่งทำได้ทั้ง Video Call หรือ จะ Phone In ก็ได้ (อันนี้ไม่เคยลอง) ดูได้ว่า ใครตอบรับ/ปฏิเสธ/ยังไม่ตอบ (เค้าเรียกว่า RSVP – Répondez s’il vous plaît – Please respond) มีแจ้งเตือนก่อนการประชุมจะเริ่ม ตั้งค่าได้ว่าต้องการก่อนเวลานานขนาดไหน (ในตัวอย่างตั้งไว้ 10 นาที) Free Gmail ทำได้แค่นี้ ต่อไป เป็นตัวอย่างนัดกับผู้ที่มีตารางนัดหมายแน่น ๆและแสดงการจอง ห้องประชุม และ Projector เลือก จำนวนชั่วโมง (ในที่นี้ 1 ชั่วโมง) แล้วเลื่อนหาช่องที่ว่างตรงกันได้ การทำรายงานการใช้ทรัพยาการ (ยกตัวอย่างห้องประชุม) คลิกที่ รูปแว่นขยาย เลือก ปฏิทินของทรัพยากร (ในที่ คือห้องประชุม) ที่ต้องการดู แล้วเลือก ช่วงเวลาที่จะทำรายงาน (ในที่นี้ เป็นตัวอย่างการทำรายงานการใช้ ห้องประชุม ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม) แล้ว คลิก ปุ่ม Search ก็จะได้รายงานอย่างนี้ หวังว่าจะเป็นประโยขน์ครับ

Read More »

Google Colab – เมื่องานด้าน Data Science ต้องทำงานร่วมกัน

ก่อนหน้านี้ ได้กล่าวถึง Kaggle Introduction to Kaggle – เรียนรู้การงานด้าน Data Science Kaggle – วิธีการใช้ Logistic Regression บนข้อมูล Iris From LAB to Production – จาก Machine Learning Model สู่ Flask RESTful ในบทความนี้ จะกล่าวถึง Google Colab หรือ ชื่อเต็มคือ Colaboratory ของ Google ซึ่งก็เป็น Jupyter Notebook บน Cloud เช่นกัน แต่มีจุดเด่นเรื่อง การทำงานร่วมกัน ในสไตล์ Google Drive เริ่มต้นใช้งานได้ที่ https://colab.research.google.com/ อันดับแรกคือ ถ้าอยากเรียนรู้เรื่อง Machine Learning และอยากได้ตัวอย่างเจ๋ง ๆ ไปดูจาก Seedbank (https://tools.google.com/seedbank/) มี tensorflow พร้อมใช้งาน ใช้งานร่วมกับ GitHub และ มี Visualization ด้วย matplotlib (แปลกตรงไหน ?) จุดเด่นคือ สามารถสร้าง Form ได้ !!! ที่เด่นสุดคือ สามารถใช้ไฟล์จาก Google Drive ได้ !!! เป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะกับมหาวิทยาลัยที่ได้ใช้บริการ G Suite for Education อย่าง ม.สงขลานครินทร์ เพราะ เราจะสามารถใช้พื้นที่ได้ Unlimited ! แต่!!! สุดท้ายก็มาติดตรงที่ Google Colab นี้ เป็น VM อยู่ใน Google Compute Engine นั่นแหล่ะ แต่เค้าไม่คิดค่าบริการกับเรา ซึ่งของฟรี ก็มีข้อจำกัดอยู่คือ พื้นที่ Google Colab ให้ประมาณ 400 GB แต่อย่างน้อย ก็สามารถเชื่อมต่อเอาข้อมูลจาก Google Drive มาได้ง่าย ก็ดีแล้ว แถม Jupyter Notebook ที่สร้างก็สามารถ Save เก็บไว้ใน Google Drive ได้เลย การส่งผลลัพท์ออกไป Google Drive ก็ง่าย ในขณะที่ Kaggle มี Quota การสร้าง Dataset ของตนเองได้ไม่เกิน 20 GB จะมีข้อจำกัดหน่อย ๆ CPU ให้แค่ 2 Core ตรงนี้ Kaggle ดูดีกว่า เพราะให้ถึง 32 Core การทำงานร่วมกัน แน่นอน Google ก็คือ Google แชร์แบบที่ใช้บน Google Drive ได้เลย ในขณะที่ Kaggle ก็ทำได้ แต่ดูทำงานแยก ๆ กันอยู่ Google Colab ใช้งานร่วมกับ Google BigQuery ได้ ตรงนี้แหล่ะ ข้อแตกต่าง ถ้าจะทำงานใหญ่ มีข้อมูลเป็น TB ถ้าไม่สร้าง Hadoop ไม่ว่าจะ On-Primes หรือ บน Google Dataproc ก็จะต้องบริหารจัดการในระดับหนึ่ง แต่นี่เรียกตรงจาก Google BigQuery ได้เลย นับว่าดีมาก มี Widget ทำให้ Jupyter Notebook กลายเป็น Interactive BI ย่อย ๆ

Read More »

วิธีการทำ Group ซ้อน Group ให้สามารถส่งผ่านได้ไปถึงสมาชิกระดับล่างสุด ใน Google Groups

มีคำถามมาว่า ใช้ Google Groups เช่น all-staffs ซึ่ง มี สมาชิกในนี้เป็น Google Groups ด้วย ชื่อ faculty01, faculty02, faculty03 แล้ว ภายใต้ faculty01 มี department01, department02 ซึ่ง department01 นั้น จะประกอบด้วย email ของสมาชิก โดยทุก Group ตั้งค่าไว้ว่า ให้เฉพาะ Owner และ Manager เท่านั้นที่มีสิทธิ์ส่ง แล้ว … จะทำอย่างไร ให้เมื่อมีคน (ที่ได้รับอนุญาตให้ส่ง) สมมุติชื่อ somchai.jaidee@gmail.com ส่งเข้า all-staffs@groups.google.com แล้ว ผู้รับ ซึ่งอยู่ใน department01 สามารถรับ email ได้ ??? วิธีการคือ ให้เพิ่ม email address ของ Group ที่เป็น Parent ลงไปใน Child Group เช่น ในที่นี้ เพิ่ม all-staffs@groups.google.com ลงไปเป็นสมาชิกของ faculty01 Group แล้วตั้งค่าให้ Email Delivery เป็น No email และ Posting Permission เป็น Override : member is allowed to post และ ทำเช่นนี้กับ faculty02, faculty03 … ส่วน department01, department02 ก็ให้เอา faculty02@groups.google.com ไปเป็นสมาชิก และตั้งค่าแบบนี้เช่นกัน  

Read More »

วิธีใช้ Google Sheets เป็นฐานข้อมูล เพื่อการเฝ้าระวังระบบ โดยการใช้งานผ่าน Google API Client Library for Python

ต่อจาก วิธีการใช้ Google Sheets เป็นฐานข้อมูล การใช้งาน Google Drive API ด้วย Google Client Library for Python วิธีการ Upload ไฟล์ไปบน Google Drive File Stream ด้วย Google Client Library for Python คราวนี้ ใครมีข้อมูลที่เกิดขึ้นในเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร แล้วต้องการส่งไปเขียนเก็บไว้ใน Google Sheets แบบต่อท้าย (Append) เช่น ในตัวอย่างนี้ วัดระยะเวลาการโอนย้ายข้อมูล เปรียบเทียบระหว่าง rsync เพื่อสำรองข้อมูลไปไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำรองที่ต่างวิทยาเขต กับ การนำไปเก็บไว้ใน Google Drive ตามวิธีการที่กล่าวไว้ใน วิธีการ Upload ไฟล์ไปบน Google Drive File Stream ด้วย Google Client Library for Python ผมได้เขียนโค๊ดเอาไว้ที่ https://github.com/nagarindkx/google.git สามารถโคลนไปใช้งานได้ (ช่วย Reference กันด้วยนะครับ) ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้ ใช้คำสั่ง git clone https://github.com/nagarindkx/google.git cd google ติดตั้ง python, pip, google-api-python-client ตามที่เขียนไว้ใน การใช้งาน Google Drive API ด้วย Google Client Library for Python และสร้างโปรเจคใน Google Developer Console เปิดใช้งาน Google Sheets API, สร้าง Credentials > OAuth Client ID แล้ว download JSON มาไว้ในชื่อว่า client_secret.json รูปแบบคำสั่งคือ $ python append2gsheet.py –help usage: append2gsheet.py [-h] [–auth_host_name AUTH_HOST_NAME] [–noauth_local_webserver] [–auth_host_port [AUTH_HOST_PORT [AUTH_HOST_PORT …]]] [–logging_level {DEBUG,INFO,WARNING,ERROR,CRITICAL}] –data DATA –sheetid SHEETID [–range RANGE] [–value-input-option VALUEINPUTOPTION] optional arguments: -h, –help show this help message and exit –auth_host_name AUTH_HOST_NAME Hostname when running a local web server. –noauth_local_webserver Do not run a local web server. –auth_host_port [AUTH_HOST_PORT [AUTH_HOST_PORT …]] Port web server should listen on. –logging_level {DEBUG,INFO,WARNING,ERROR,CRITICAL} Set the logging level of detail. –data DATA CSV format –sheetid SHEETID Google Sheets ID –range RANGE Simply Sheet Name like ‘Sheet1!A1’ –value-input-option VALUEINPUTOPTION Optional: [RAW,USER_ENTERED] สิ่งที่ต้องมี คือ Google Sheets ที่สร้างไว้แล้ว ให้สังเกตที่ URL ตัวข้อความที่อยู่หลัง https://docs.google.com/spreadsheets/d/ จะเป็น “Sheet

Read More »

GCP #01 วิธีการสร้าง Virtual Machine บน Google Cloud Platform

ขั้นตอน มี Google Account ไปที่ https://console.cloud.google.com/start สำหรับคนที่ใช้ครั้งแรก ควรจะใช้สิทธิ์ Free Trial 300 USD / 12 Month ในการใช้งาน จะต้องมี Billing Account โดยต้องกรอกข้อมูล บัตร Credit/Debit ซึ่งต้องเป็น VISA/MasterCard เท่านั้น และต้องไม่ใช่ Prepaid ด้วย https://cloud.google.com/billing/docs/how-to/payment-methods#add_a_payment_method เมื่อเสร็จแล้วจะได้ Credit อย่างนี้ ต่อไป สร้าง Virtual Machine กัน ไปที่ เมนู > Cloud Launcher จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ระบบจะสร้าง “My First Project” ไว้ให้ ซึ่งเราสามารถ สร้าง Project ใหม่ก็ได้ แต่ตอนนี้ใช้อย่างนี้ไปก่อน ต่อไป จะลองสร้าง Ubuntu Server ขึ้นมาใช้งาน ในที่นี้จะสร้าง Ubuntu 14.04 พิมพ์ Ubuntu ในช่องค้นหา แล้ว เลือก Ubuntu 14.04 จากนั้น คลิก Launch on Compute Engine ตั้งชื่อตามต้องการ (ถ้าต้องการ) สามารถเลือก Zone และ Machine Type ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีราคาแตกต่างกัน ค่าเริ่มต้น Machine Type: n1-standard-1 จะให้ 1 vCPU, 3.75 GB RAM และ 10 GB standard persistent disk หากต้องการ Disk เพิ่ม สามารถคลิก Change เพื่อเพิ่มได้​ (standard persistent disk จะราคาถูกกว่า ssd มาก) ต่อไป กำหนดเรื่องเของ Firewall ถ้าให้บริการ HTTP/HTTPS ก็คลิกเลือกได้เลย ในกรณีที่ต้องการกำหนดค่าอื่นๆ เช่น Disk, Network, SSH Key ให้คลิก “Management, disks, networking, SSH keys” เสร็จแล้วกดปุ่ม Create รอสักครู่ ก็จะได้ VM มาใช้งานแล้ว ในที่นี้ จะได้ External IP ซึ่งใช้ในการติดต่อจาก Internet มา แต่หากมีการ Restart/Stop IP address นี้ก็จะเปลี่ยนไป (การ Fix มีค่าใช้จ่ายนิดหน่อย) และ การติดต่อไปยัง VM ก็สามารถทำได้ โดยการคลิก SSH ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จาก Console นี้ หากต้องการใช้งานจาก Client อื่นก็ทำได้ แต่ต้องกำหนด SSH Key กันนิดหน่อย ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง เพิ่มเติม ในกรณีต้องการเปิด Port เพิ่มที่ไม่ใช่ HTTP/HTTPS ให้คลิกที่ Menu > Network Services > Firewall Rules แล้วกำหนดค่าตามต้องการ โดยการ Create Firewall Rule หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »