สร้าง ER Diagram ง่ายๆ ด้วย Toad for Oracle

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน Blog ที่ 2 ของ TOR รอบนี้จะขอว่าด้วยเรื่องของ ER Diagram กันค่ะ การจัดทำ ER Diagram โดยปกติเราสามารถทำได้หลากหลายวิธี ใช้งานได้มากมายหลากหลายเครื่องมือ ก็แล้วแต่แหละเนอะ ว่าใครถนัดแบบไหน ใช้เครื่องมือใด สำหรับทางผู้เขียนจะคลุกคลีตีโมงอยู่กับ Toad for Oracle เป็นหลัก ครั้งนี้เลยจะมาขอแชร์วิธีการเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมีความสะดวกสบายในการสร้าง ER Diagram จากข้อมูลตารางที่อยู่ในฐานข้อมูลของเราโดยอัตโนมัตินั่นเอ๊งงงง !!! ปะ …. เรามาเริ่มกันเลยละกัน เมื่อเราเปิด Toad for Oracle และ Connect เข้า Database ที่เราต้องการเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้หน้าจอตามรูป ปล…หน้าตาอาจจะต่างกันเล็กน้อยแล้วแต่ version ของแต่ละคนที่ใช้งาน 2. ให้คลิกเลือกเมนู “Database” —> จากนั้นเลือกเมนู “Report” —> เลือกเมนู “ER Diagram” เมื่อเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้พื้นที่ Workspace ของเราขึ้นมา ตัวอย่างดังรูปด้านล่างเลยจ๊ะ 3. จากนั้นคลิกเลือก Add Objects ตรงสัญลักษณ์เครื่องหมาย + สีเขียวๆฟ้าๆ จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างให้เราเลือก Table หรือ View จาก Schema ที่เราต้องการ เพื่อ “Add to ER Diagram“ ปล … ทั้งนี้หากเราไม่เลือกที่ละรายการ ก็สามารถเลือกได้ว่า Select All , Deselect All หรือ Invert selection ผ่าน เครื่องมือที่มีให้ได้เช่นเดียวกัน 4. เราลองมาเลือก Table ข้อมูลที่เราต้องการนำมาสร้าง ER Diagram กันเลย และเมื่อเลือกเรียบร้อยแล้วก็ให้คลิกปุ่ม “OK” ได้เลยนะ จากนั้นก็จะได้หน้าตา ER Diagram ที่โยงความสัมพันธ์ของข้อมูลให้แล้ว ดังรูปเลยทุกคน !! 5. และหากเราต้องการให้ใน ER Diagram ของเราแสดงเพียงแค่ชื่อ Column Name เท่านั้น ไม่แสดงรายละเอียดอื่นๆ ก็แนะนำให้เลือกตรงข้อความ All Columns จากนั้นเลือกแสดงแบบ “Column Names only“ 6. เมื่อเลือกแสดงแบบ Column Names only ก็จะได้หน้าตาดังรูปด้านล่างนะ เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย Blog นี้พอจะช่วยให้การสร้าง ER Diagram สำหรับผู้อ่านง่ายขึ้นบ้างมั้ย ? ทั้งนี้ …. ทางผู้เขียนก็ขอออกตัวก่อนเลย มันมีมากมายหลายวิธีจริงๆ ในการสร้าง ER Diagram ทั้งอาจจะง่ายกว่าวิธีนี้ หรือยุ่งยากกว่าวิธีนี้ก็เป็นได้ ผู้เขียนจึงอยากจะขอแชร์วิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อช่วยในการทำงานของทางผู้เขียนเองเท่านั้น และก็ยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน ไม่มากก็น้อย ตามคติที่ว่า “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามมมมม” นั้นเอง 555+ Special Thanks : Supervisor Regist Team สำหรับคำแนะนำในการใช้งานแง๊บบบบ 🙂

Read More »

วิธี Convert Multiple email to Adobe PDF ด้วย MS Outlook

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ เอาจริงๆ ทางผู้เขียนห่างหายไปนานมากๆ กับการเขียน Blog นานมากกกกจริงๆ นะ 😊 ต้องขอเล่าก่อนว่า ตั้งแต่สิงหาคม 2564 จนถึงสิ้นปีที่ผ่านมา การทำงานของผู้เขียนในตำแหน่ง Customer Support ค่อนข้างจะหนักหนาเอาการเลยทีเดียวแหละ 55+ ดังนั้นปัญหาที่ตามมาคือการตอบคำถามให้กับนักศึกษาทั้ง 5 วิทยาเขตของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งช่องทางหลักๆ หนึ่งในการให้บริการคือ ถาม-ตอบปัญหาผ่านทาง Email ค่ะ สำหรับปัญหาของผู้เขียนคือ จะทำยังไง??? ที่จะเอา Email ในรอบ 4-5 เดือนที่ถาม-ตอบไปทั้งหมดออกมาเพื่อให้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ว่าเนื้อหา หรือปัญหาที่พบเจอมีอะไรบ้าง (คร่าวๆ ก็เกือบๆ 2000 ฉบับแหละ หื้ม) มาค่ะ เรามาเริ่มกันเลย …. วันนี้ทางผู้เขียนจะมาขอแบ่งปันเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เกี่ยวกับการ export ข้อมูลจาก Email บน Microsoft outlook ให้อยู่ในรูปแบบ PDF กันค่ะ โดยผู้เขียนจะขอพูดถึงในส่วนที่ผู้เขียนทราบและได้ทดสอบใช้งานจริงค่ะ ปล … จริงๆ แล้ว Microsoft Outlook มันก็มีวิธีให้เรา Export ข้อมูลในตัวของมันอยู่แล้ว แต่อาจจะอยู่ในรูปแบบของ .pst ซึ่งไม่ใช่แบบ pdf ที่ทางผู้เขียนต้องการเท่านั้นเอง แหะๆ (แต่จริงๆ อาจจะมีวิธีที่ทำได้มากกว่าวิธีที่ผู้เขียนจะแชร์ก็ได้นะ) Export ข้อมูล Email ทั้ง Folder ออกจาก Microsoft Outlook ให้อยู่ในรูปแบบ PDF ขั้นตอนที่ 1 : อย่างแรกเลยคือ เครื่องของผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งหรือมี Adobe acrobat pro DC ก่อนนะ (วิธีดาวน์โหลดติดตั้งโปรแกรม สามารถค้นหาผ่าน google ได้เลยนะทุกคน) ขั้นตอนที่ 2 : เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็ Sign in เข้าไปด้วย Adobe Account กันเลย เมื่อขั้นตอนของการติดตั้ง Sign in เรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่ในส่วนของ Microsoft Outlook กันค่ะ ขั้นตอนที่ 3 : จากนั้นให้ผู้ใช้งานเปิดโปรแกรม Microsoft Outlook ขึ้นมาเลยค่ะ (จากรูปผู้เขียนใช้ Office 365 นะ)จะสังเกตได้ว่า จะมีเมนู Acrobat เพิ่มเข้ามาตามในรูปเลย ขั้นตอนที่ 4 : จากนั้นหากผู้ใช้ต้องการดำเนินการใน Folder ไหน ก็ให้คลิกขวาที่ Folder นั้นได้เลยค่ะ อย่างในรูปผู้เขียนจะดำเนินการใน Folder ที่ชื่อว่า “อว.ลดค่าเทอม” เมื่อเราคลิกขวา จะปรากฏเมนูที่ชื่อว่า “Convert อว.ลดค่าเทอม to Adobe PDF” ขั้นตอนที่ 5 : คลิกเลือกเมนู “Convert อว.ลดค่าเทอม to Adobe PDF” ได้เลยค่ะ จากนั้น ก็เลือก Location สำหรับบันทึกไฟล์ดังกล่าว เมื่อยืนยันเรียบร้อยแล้ว Microsoft Outlook ก็จะทำการ Convert ข้อมูลใน Folder ดังกล่าวออกมาให้ค่ะ ปล…สำหรับของผู้เขียนรอนานมากกกกกกกค่ะ เพราะมีข้อมูลเกือบๆจะ 2000 ฉบับแน่ะ !!! ขั้นตอนที่ 6 : เมื่อเรียบร้อยแล้วเราก็จะได้ข้อมูลเป็นไฟล์ PDF ออกมาค่ะ ก็ลอง Double Click เปิดไฟล์ดูได้เลยค่ะ จะได้หน้าตาประมาณนี้นี่เอง ง่าย และสะดวกกกกกก ไม่ต้องนั่งทำผ่าน Email ที่ละฉบับ เป็นยังไงกันบ้างค่ะ พอจะช่วยเหลือการทำงานให้กับผู้อ่านได้บ้างรึเปล่าเอ่ย ??? แต่ยังไงก็ตามผู้เขียนก็ยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยค่ะ เจอกันใหม่อีกทีใน Blog หน้า Coming

Read More »
Save to Google Drive

บันทึกภาพจากเว็บไปยัง Google Drive ของเราโดยตรง ด้วยส่วนขยาย “Save to Google Drive”

วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำส่วนขยายของบราวเซอร์ (Extension) ที่น่าใช้กันอีกซักตัวนะคะ นั่นก็คือ “Save to Google Drive” ซึ่งเป็นส่วนขยายที่จะช่วยให้เราสามารถบันทึกภาพที่มีอยู่บนเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราต้องการไปยัง Google Drive ของเราโดยตรงได้ทันทีค่ะ เริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ เพิ่มส่วนขยายนี้ให้กับ Google Chrome ของเรากันก่อน กด URL นี้ https://chrome.google.com/webstore/detail/save-to-google-drive/gmbmikajjgmnabiglmofipeabaddhgne?hl=th แล้วกดปุ่ม “เพิ่มใน Chrome” ค่ะ รอจนติดตั้งเรียบร้อย ก็จะพบ ICON นี้โผล่ขึ้นมา ซึ่งการเพิ่มส่วนขยาย Save to Google Drive ให้กับ Chrome ของเราก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย พร้อมใช้งานแล้วละค่า มาใช้งานกันค่ะ เพียงแค่คลิกขวาบนภาพที่เราต้องการบันทึกไปยัง Google Drive แล้วเลือก “บันทึกภาพไปที่ Google ไดรฟ์” เท่านี้ภาพที่เราต้องการก็จะจัดเก็บลงไปยัง Google Drive ของเราค่ะ (เข้าใช้งานบัญชี Google ไว้แล้ว) โดยเริ่มต้นภาพนั้นจะถูกบันทึกไปยัง “ไดรฟ์ของฉัน” นะคะ แต่หากเราต้องการจัดเก็บไปยังโฟลเดอร์อื่นบน Google Drive ก็ให้สร้างโฟลเดอร์ที่ต้องการให้เรียบร้อยก่อนค่ะโดยการเปลี่ยนโฟลเดอร์ปลายทางที่เราจะเก็บภาพนั้น ก็ให้กด (เปลี่ยน) ในกล่องบันทึกไปยัง Google Drive ซึ่งจะมีหน้าจอให้เราตั้งค่าต่างๆ ขึ้นมาให้ ให้คลิกที่ “เปลี่ยนโฟลเดอร์ปลายทาง” นะคะ ก็จะมีหน้าจอให้เราเลือกโฟลเดอร์ปลายทางที่เราต้องการบันทึกภาพ ให้เราเลือกโฟลเดอร์บน Google Drive ที่เราได้สร้างไว้แล้ว และต้องการจัดเก็บภาพ แล้วกดปุ่ม “Select” ได้เลยค่ะ สำหรับครั้งต่อๆไป การบันทึกภาพก็ไม่ต้องเลือกโฟลเดอร์ใหม่แล้วนะคะ จะตั้งต้นโฟลเดอร์ที่เราเลือกไว้ให้เลยค่ะ (ยกเว้นว่า อยากจะเก็บโฟลเดอร์อื่น ก็ต้องเปลี่ยนกันใหม่ค่ะ) ส่วนใครที่ต้องการแก้ไขชื่อไฟล์ ให้คลิก “เปลี่ยนชื่อ” แล้วแก้ไขชื่อไฟล์ กดปุ่ม “ใช้” ได้เลยนะคะ ชื่อไฟล์ก็จะถูกเปลี่ยนให้เราตามที่ต้องการค่ะ เท่านี้ไฟล์ภาพที่เราต้องการก็ถูกบันทึกด้วยชื่อ และไปยังโฟลเดอร์บน Google Drvie ที่เราต้องการค่า เป็นไงกันบ้างค่ะ ผู้เขียนคิดว่าเป็นส่วนขยายที่ดีงามมากเลยทีเดียว https://chrome.google.com/webstore/detail/save-to-google-drive/gmbmikajjgmnabiglmofipeabaddhgne?hl=en

Read More »

Webmail transformation!! #4

export contact มาแล้วเอาเข้า webmail2 ไม่ได้ ยังไงซิ ? ไหนขอดูหน่อย เมื่อเปิดไฟล์ที่ export ออกจาก Squirrelmail (webmail) ตัวเก่าพบว่าข้อมูลที่ export มาเป็นดังนี้ จะเห็นว่ามีบรรทัดสุดท้ายที่รายชื่อแปลก ๆ เมื่อถามๆ ดูคือทำลิสต์เอาไว้ว่าถ้าส่งหาลิสต์นี้ก็ไปตามรายชื่อเมล์ได้เลย ทีนี้ การเก็บลักษณะนี้บน Roundcube (Webmail2) นั้นทำไม่ได้ครับต้องแก้ใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดังนี้ *รูปแบบตามบรรทัดแรกในไฟล์นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงสดมภ์ (คอลัมน์ Column) ที่จำเป็นจะต้องมีมีเพียง 3 คอลัมน์ ได้แก่ First Name, Last Name และ E-mail address เท่านั้นดังนี้เมื่อแปลงไฟล์ด้านบนให้เป็นตามรูปแบบก็จะได้เป็น หรือจะสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาเองก็ได้แต่ต้องอยู่ในรูปแบบ ไฟล์ตัวอย่างก็จะได้เป็น เมื่อมาที่ Roundcube ไปที่ contact แล้วมองด้านขวาบนกด Import Browse เลือกไฟล์ที่แก้ไขแล้ว กด Import จะได้หน้าสำคัญที่เป็นตัวกำหนดว่าจะเอาคอลัมน์ไหนเข้าบ้าง หากเป็นไฟล์ Custom ก็จะมีเพียง 3 คอลัมน์ดังภาพ กด Import จะได้หน้าสรุปว่านำเข้าได้กี่รายชื่อ กด Close แต่มาเป็นการรวมแต่ละรายชื่อเข้ากลุ่มให้เหมือนสมัยเป็น Squirrelmail มองมาทางซ้ายสุดด้านบนจะเห็นคำว่า Group อยู่ ใกล้ ๆ กันนั้นมี ให้กดที่ แล้วเลือก Add group จะมีหน้าต่างสำหรับตั้งชื่อ Group ให้ ก็สามารถตั้งชื่อได้ตามอัธยาศัยแล้วกด Save จะได้ Group ที่สร้างเพิ่มขึ้นมาดังภาพ คราวนี้มาเพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่ม ทำได้โดยการคลิกที่รายชื่อที่ต้องการแล้วมองไปทางขวา จะเห็นคำว่า Groups กดที่คำว่า Groups ก็จะเห็นรายชื่อกลุ่มที่เราสร้างไว้สามารถกด (ปุ่มอยู่ชิดซ้าย) ให้กลายเป็น (ปุ่มอยู่ชิดขวา) เพื่อให้รายชื่อนั้นอยู่ในกลุ่มที่เราต้องการนั่นเอง ก็สามารถเลือกได้จนพอใจเมื่อคลิกกลุ่มที่สร้างไว้จะพบรายชื่อที่เราต้องการให้อยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่แล้ว สามารถส่งเมล์ถึงกลุ่มได้ทันทีโดยง่ายเพียงกดเลือกที่ชื่อกลุ่มที่เราต้องการจะส่งเมล์หา แล้วไปกดที่ Compose รายชื่อทั้งหมดในกลุ่มจะถูกใส่ในชื่อ To โดยอัตโนมัติ หรือหากมีหลายกลุ่มหรือต้องการส่งเมล์ถึง คนอื่นๆ ในคราวเดียวกัน (สำคัญ) ระบบเมล์ของมหาวิทยาลัยอนุญาตให้ส่งเมล์ถึงที่อยู่เมล์ได้ 100 เมล์เท่านั้นในคราวเดียวกัน สามารถกดที่รูป เพื่อเพิ่มรายชื่อได้ทันทีหรือจะพิมพ์ต่อท้ายไปก็ได้เช่นเดียวกัน จบขอให้สนุก…

Read More »

เรียนรู้ RPA โดยใช้ ui-path (Excel x Mail)

จากบทความที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แนะนำ Tool ของ RPA  คือ UiPath  และการติดตั้ง UiPath StudioX  ไปแล้ว ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการใช้งาน ในที่นี้ ใช้ UiPathStudio X อ่านค่าจาก Excel และส่งเมลไปยังตามข้อมูลใน Excel ตัวอย่างเช่น อาจารย์ที่ปรึกษาต้องการส่งเมลไปยังนักศึกษาในที่ปรึกษาทั้งหมด ในคราวเดียวกัน เนื้อหาในเมลแต่ละคนอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ซึ่งอาจารย์ได้เตรียมข้อมูลไว้ในรูปแบบ Excel เริ่มต้น ผู้เขียนจะเตรียมข้อมูลใน Excel ตามนี้               โดยจะมีฟิลด์หลัก สำหรับการส่งเมล ดังนี้ EMAIL  ไว้เก็บ E-mail Address ของคนที่เราต้องการส่ง Subject หัวเรื่องของ E-mail ที่ต้องการส่ง Body คือส่วนของ เนื้อหาที่ต้องการให้ทราบ               เรามาสร้าง bot การส่งเมลกันเลย เริ่มต้นให้ทำการสร้าง Project คำสั่งแรกให้เปิด Excel ไฟล์ ขึ้นมา  โดยการเลือก Activites > Resources > Use Excel File และลากคำสั่งมาวางที่ตำแหน่ง Main ดังภาพ 3. จากนั้นกำหนดไฟล์ Excel ที่เก็บข้อมูลที่เราได้เตรียมไว้ตามขั้นตอนที่ผ่านมา โดยการกดที่รูป Folder  ดังภาพ 4. ขั้นตอนต่อไป คือการสั่งให้ UiPath อ่านข้อมูล โดยการอ่านข้อมูลทีละแถว และนำข้อมูลดังกล่าวไปส่งเมลต่อไป  โดยให้ไปที่ Activites และเลือก “For Each Excel Row”  และลากคำสั่งไปวางไว้ในภายในของคำสั่ง  Use Excel File ดังรูป 5. คำสั่ง For each Excel Row กำหนดคุณสมบัติ ดังนี้ In range คือ ช่วงของข้อมูลที่เลือก โดยในที่นี้จะเลือกข้อมูลทั้ง Sheet ชื่อ Sheet Test ให้ติ๊กเลือก Has headers ด้วย 6. ต่อไปเป็น คำสั่งส่งเมลโดยการเลือก Activites > Resources > Use Desktop Outlook App และลากคำสั่งมาวางที่ตำแหน่ง Drop Activity Here Use Desktop Outlook App คือการเรียกใช้ฟังก์ชันส่งเมล จากโปรแกรม Outlook ที่ติดตั้งไว้ในเครื่องของเรา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพียงแค่ login เข้าใช้ผ่าน Microsoft Account ไว้  โปรแกรม UiPath ก็จะเรียกใช้งานฟังก์ชันส่งเมลได้ทันที โดยในบทความนี้ ขอนำเสนอวิธีใช้  Use Desktop Outlook App ค่ะ 7. ส่วนถัดไป เลือกคำสั่งในการส่งเมล โดยไปที่ Activites > Business > Mail > Send Email และลากคำสั่งมาวางที่ตำแหน่ง Drop Activity Here คำสั่ง Send Email มีคุณสมบัติที่ต้องกำหนด  โดยให้ทำการเลือก Field ของ Excel และแมพให้ตรงกัน ดังนี้ To  คือ E-mail ของปลายทางที่ต้องการส่ง Subject  คือ  หัวเรื่องของ Email Body คือ ส่วนของเนื้อหา ในส่วนนี้เราสามารถพิมพ์เนื้อหาเองได้ หรือจะดึงจาก Field ของ Excel และนอกจากนี้เราก็สามารถ ดึง Field ของ Excel มาแสดงได้มากกว่า 1

Read More »