niti.c
ปัจจุบันมีปลั๊กอิน (Plug-in) จาวาสคริปมากมาย ที่ช่วยให้การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย สามารถสร้างลูกเล่นและความสามารถต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงแรงเขียนโค้ด ทำให้ประหยัดเวลาการทำงานได้อย่างมาก เฟรมเวิร์ก (Framework) จาวาสคริปที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งอย่าง Jquery ที่มีปลั๊กอินให้เลือกใช้อย่างมากมายที่เป็นนิยมกันมากและถูกใช้เฟรมเวิร์กพื้นฐานในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นเป็นส่วนใหญ่ แต่หากเรามีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกับเฟรมเวิร์กตัวอื่นๆ อาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งการทำงาน (Conflict) ระหว่างเฟรมเวิร์กหรือปลั๊กอินได้ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความขัดแย้งคือ การที่ชื่อตัวแปรหรือฟังก์ชัน ในโค้ดโปรแกรมระหว่างปลั๊กอินซ้ำและเหมือนกัน ทำให้โปรแกรมเกิดความสับสนและทำให้ปลั๊กอินไม่ทำงาน วิธีการแก้ไขคือเข้าไปไล่โค้คเพื่อเปลี่ยนชื่อตัวแปรใหม่ หรือเลือกใช้ปลั๊กอินตัวใดตัวหนึ่งเท่าที่จำเป็นที่สุด หากมีความจำเป็นต้องใช้เฟรมเวิร์กหรือปลั๊กอินจากหลายๆ ค่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจริงๆ ผมก็ลองค้นหาวิธีการที่เป็นสูตรสำเร็จแล้วไม่พบว่ามีวิธีการที่ใช้ได้อย่างชัดเจน หากผู้อ่านท่านทราบวิธีการที่ดีกว่านี้ก็แลกเปลี่ยนกันได้ครับ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ใช้อยู่ก็มีวิธีการเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปแล้วและมีอีกวิธีการเลือกหนึ่งคือ การคัดกรองให้ใช้น้อยที่สุด (Customize) โดยก่อนที่จะดาวน์โหลดปลั๊กอินมาใช้ ซึ่งปลั๊กอินส่วนใหญ่จะมีเมนุที่ชื่อ JavaScript components ให้เลือก เทคนิคก็คือเลือกเอาออกให้หมด แล้วคลิกเลือกเฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น ซึ่งเราจะทราบได้โดยการนั่งไล่ชื่อ JavaScript components ระหว่างทั้งสองเฟรมเวิร์กโดยให้ยึดเฟรมเวิร์กตัวใดตัวหนึ่งไว้เป็นตัวทำงานหลัก ยกตัวอย่างที่ผมเคยใช้คือ Jquery Easy UI กับ Bootstrap ผมจะยึด Jquery Easy UI เป็นตัวทำงานหลัก และปิดการทำงาน JavaScript components ของ Bootstrap จากหน้าลิงค์นี้ (Customize and download) โดยเอาออกทุกตัวและเลือกกลับเข้าไปใหม่ที่คิดว่าจะทำไม่ให้เกิด Conflict (จุดสังเกตคือชื่อฟังก์ชัน) หวังว่าเทคนิคเล็กๆ…
>> Read More <<
จากบทสัมภาษณ์ Wyke-Smith ซีอีโอของ @BublishMe ได้กล่าวถึงแนวโน้มในการพัฒนาและการออกแบบเว็บแอพพลิเคชั่นในปี 2014 ไว้ดังนี้ :- การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเว็บแอพพลิเคชั่น จะติดต่อสื่อสารกับแบบสองทาง (two-way binding) กันมากขั้น แนวโน้มการพัฒนา ที่จะช่วยให้เราประหยัดทั้งเวลาและเงินในกระเป๋า เฟรมเวิร์กที่ใช้พัฒนาบนส่วนการทำงานของเบื้องหน้าโปรแกรม (Front-End) ที่นิยมใช้กันได้แก่ NodeJS. AngularJS, Ember และ Backbone ฐานข้อมูลแบบ JSON จะได้รับความนิยมมากขึ้น เป็นการย้ายฐานข้อมูลแบบ SQL ไปเป็นในรูปแบบของ JSON ส่วนกลางการทำงานของโปรแกรม (Middleware) จะใช้ JavaScript การใช้ประโยชน์ของแฟรมเวิร์ก Angular จะเป็นทั้งการพัฒนาและการออกแบบเว็บ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและทักษะความรู้ความสามารถของนักพัฒนาเว็บกับนักออกแบบเว็บไซต์จะเหมือนกัน สามารถอ่านรายละเอียดแต่ละเทคโนโลยีจากแหล่งที่มาครับ Cr: Web Professional Trends 2014
wiboon.w
เล่าสู่กันฟัง Workshop Linux System Administration I เมื่อวันที่ 27-28 ก.พ. 57 ที่ผ่านมา ผมและอาจารย์ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม ได้ช่วยกันให้ความรู้กับผู้ดูแลระบบของม.อ.จำนวน 27 คน ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับชุมชนฯหากจะนำมาเล่าสู่กันฟังที่ตรงนี้ครับ เราเรียนกันด้วยเครื่อง Windows 7 ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ โดยให้ผู้เรียนติดตั้ง Oracle VM Virtualbox ตามแผนผัง LSA-I.jpg โดยผมดาวน์โหลด VM guest ไว้ให้แล้วเก็บไว้ที่ Drive D:\LSA1 และสามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ URL คือ ftp://ftp.psu.ac.th/pub/psulab/ เลือกไดเรกทอรี LSA รูปภาพ LSA-I.jpg หากท่านสนใจก็เข้าไปลองเรียนดูได้ที่เว็บไซต์ opensource.cc.psu.ac.th > หลักสูตรลินุกซ์ > Workshop Linux System Administrator I (WS-LSA1) URL คือ http://opensource.cc.psu.ac.th/WS-LSA1…
kanakorn.h
เนื่องจาก PSU Email ให้พื้นที่ปัจจุบัน 1GB ซึ่ง อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บางท่าน หรือ บางท่านต้องการสำรองข้อมูล Email เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำได้ โดยใช้งานผ่านโปรแกรม Mozilla Thunderbird เชื่อมต่อกับ PSU Email ด้วย IMAP อีกทั้ง สามารถส่ง Email ออกได้จากทั่วโลกผ่าน smtp2.psu.ac.th และ ตัวอย่างต่อไปนี้ จะสร้างพื้นที่จัดเก็บบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ไว้ใน D:\MyBackup (รายละเอียดของ PSU Email สามารถอ่านได้ที่ http://www.cc.psu.ac.th/staffemail) มีวิธีการดังนี้ 1. Download Mozilla Thunderbird (รุ่นล่าสุด 24.3.0) จาก http://www.mozilla.org/en-US/thunderbird/ คลิกที่ Thunderbird Free Download แล้ว Save File ลงเครื่อง 2. Double…
เมื่อต้องการเขียน Shell Script เพื่อรับ Argument และ Option เช่น เขียน myscript.sh ซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบ 1) $ sh myscript1.sh myfirstname mylastname 16 2) $ sh myscript2.sh -f myfirstname -l mylastname -a 16 3) $ sh myscript3.sh –firstname myfirstname –lastname mylastname –age 16 [บทความนี้ ใช้งานบน Ubuntu 12.04 Server และ ใช้ Bash Shell] 1) วิธีแรก คือ การรับตัว Argument เรียงตามลำดับ…
บทความนี้ แสดงให้เห็นการโจมตีช่องโหว่ของ PHP แบบ CGI ทำให้สามารถ แทรกคำสั่งต่างๆไปยังเครื่องเป้าหมายได้ ดังที่ปรากฏใน วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #6 โดย PHP Version ที่ต่ำกว่า 5.3.12 และใช้แบบ php5-cgi จะมีช่องโหว่นี้ ก่อนอื่น ขออธิบายคร่าวๆ ว่า การใช้งาน PHP นั้น มีวิธีที่นิยมใช้กัน 3 วิธี [1] ได้แก่ 1. Apache Module 2. CGI 3. FastCGI 1. Apache Module (mod_apache) เป็นวิธีการที่ใช้งานอยู่กันโดยทั่วไป ได้รับความนิยม เพราะติดตั้งง่าย ข้อดี: – PHP ทำงานร่วมกับ Apache – เหมาะกับงานที่ใช้ PHP เยอะๆ ข้อเสีย: –…
บทความชุด “วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack” วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #1 : เริ่มต้นตรวจพบความผิดปรกติที่ทำให้ Web Server ล่มเป็นระยะๆ และวิธีการตรวจสอบจนพบ Backdoor วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #2 : ลักษณะของ Backdoor และวิธีตรวจสอบ Backdoor วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #3 : ช่องโหว่ JCE Exploit และวิธีค้นหา Backdoor อื่นๆ วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #4 : สรุป ขั้นตอนปฏิบัติ เมื่อตรวจสอบพบว่า Website ถูก Hack วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #5 : แนวทางการตรวจสอบช่องโหว่ของ Website ตนเองก่อนถูก Hack, รู้จักกับ CVE, CVSS และ Website cvedetails.com…
บทความนี้ จะกล่าวถึง วิธีการปิดช่องโหว่ของ Apache ที่ให้บริการ Web Hosting เลย เผื่อมีผู้ใช้ ติดตั้ง Joomla และมี JCE รุ่นที่มีช่องโหว่ จะได้ไม่สร้างปัญหา และ แนะนำวิธีสำหรับผู้พัฒนาเวปไซต์เองด้วย ที่เปิดให้มีการ Upload ไฟล์โดยผู้ใช้ผ่านทาง Web ด้วย … เพราะหน้าที่นี้ ควรเป็นของ Web Server Administrator ไม่ใช่ของ Web Master หรือ Web Author ครับ จากปัญหาช่องโหว่ของ JCE Exploited ของ Joomla ที่อธิบายไว้ใน วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #3 ที่อธิบายขั้นตอนการเจาะช่องโหว่, วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #4 ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบค้นหา และทำลาย Backdoor และ วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #11…
ตั้งแต่ วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #1 เป็นต้นมา เป็นการแสดงให้เห็นถึง ปัญหา, การตรวจสอบ, การค้นหา หลังจากเกิดปัญหาแล้วทั้งสิ้น ก็จะเห็นได้ว่า ยุ่งยาก และเป็นเรื่องยากมาก ที่จะค้นหา Backdoor ให้หมด และการจะกำจัดให้หมดนั้นเป็นภาระอย่างมาก ในบทความนี้ จะกล่าวถึง การสำรองข้อมูลไว้ พร้อมๆกับ สามารถตรวจสอบได้ว่า มี Backdoor ใดเกิดขึ้น, มีการแก้ไขไฟล์เพื่อวาง Backdoor ไว้บ้าง, มีการเปลี่ยนแปลงไฟล์ของระบบเป็น Backdoor บ้างหรือไม่ และยังสามารถ กู้ระบบกลับมาได้ แล้วจึงดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีกได้ การสำรองข้อมูล หรือการ Backup มี 2 แบบ Full Backup: สำรองทุกไฟล์และไดเรกทอรี่ Incremental Backup: สำรอง “เฉพาะ” ไฟล์และไดเรกทอรี่ ที่มีการเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลง เท่านั้น เครื่องมือในการ Backup มีหลายอย่าง ในบทความนี้…