GET STRING FROM ENUM

เพื่อนๆนักพัฒนาหลายคนก็คงจะรู้จัก enum กันพอสมควรแล้วนะคะ วันนี้เรามาทำความรู้จักเจ้า Enum กันให้มากขึ้นกว่าเดิมกันดีกว่านะคะ ว่านอกจากเราจะดึงค่า Integer ที่เก็บค่าในตัวแปร หรือ Tostring() เป็นค่าstring ตามชื่อของตัวแปร Enum แล้ว เรายังสามารถ ดึงค่า  String  เป็นประโยคยาวๆได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับชื่อตัวแปรแล้วนะคะ เอาล่ะค่ะ เรามาเริ่มจากการทำความรู้จักเจ้าตัว Enum กันตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อระลึกความจำกันก่อนละกันนะคะ ^^ Enumeration จะมีชนิดเป็น integer type ซึ่ง เราสามารถกำหนดกลุ่มของข้อมูลได้ (User-defined) ในการสร้าง enumeration เราจะใช้ keyword คำว่า  enum  ดังนี้ public enum Colors {   White,   Black,   Red,   Green,   Blue } ในตัวอย่างนี้สร้าง enum ที่ชื่อว่า Colors โดยมีสมาชิกอยู่ 5 สมาชิกคือ White,Black,Red,Green,Blue โดยสมาชิกต่างๆของ enum ถ้าเราไม่ได้กำหนดค่าเริ่มต้นจะมีค่าเริ่มต้นจาก 0 ดังนี้ white = 0 Black =1 Red =2 Green=3 Blue=4 ในการเรียกใช้งาน enum Colors  c = Colors.Green; //สร้างตัวแปร c ขึ้นมาเพื่อเรียกใช้สมาชิกที่ชื่อ Green ตัวอย่าง enum   using System; public enum Colors {     White,     Black,     Red,     Green,     Blue } public class TestEnum {     public static void Main()     {         Colors c = Colors.Blue;         Console.WriteLine(c);         Console.ReadLine();     } } ผลลัพธ์จะแสดง Blue จากตัวอย่างนี้ถ้าต้องการให้แสดงเป็น integer type   เราก็เขียนได้ดังนี้ Console.WriteLine((int)c); ผลลัพธ์จะได้ 4 เราสามารถกำหนดค่าให้กับสมาชิกของ  enum ได้ดังนี้   public enum Colors {   Red = 10,   Green =20,   Blue=30 } ตัวอย่าง   using System; public enum Colors {   Red = 10,   Green =20,   Blue=30 } public class TestEnum {     public static void Main()     {         Colors c = Colors.Green;         Console.WriteLine((int)c);         Console.ReadLine();     } } ผลลัพธ์จะได้ 20 นอกจากนี้สามารถเขียนรับค่า value

Read More »

Configuration of TCP/IP with SSL and TLS for Database Connections

สิ่งที่ต้องเตรียม Oracle Database Server ในตัวอย่างนี้ใช้ Oracle database บน Oracle Enterprise Linux 7 Oracle Database Client  ในตัวอย่างใช้ Windows Server 2008 R2 เริ่ม ฝั่ง Server เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ oracle หรือบัญชีที่เป็นเจ้าของ Oracle Database เปิด terminal สร้าง Oracle Wallet ด้วยคำสั่ง mkdir -p /u01/app/oracle/wallet ต่อด้วย orapki wallet create -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 -auto_login_local โดย -pwd WalletPasswd123 ตัว WalletPasswd123 คือรหัสผ่านที่ใช้ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ใน wallet กฎการตั้งมีอยู่คือ ยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร ไม่จำกัดความยาว จำเป็นต้องตั้งให้ตัวเลขผสมตัวอักษร สร้าง Certificate และใส่เข้าไปใน wallet ด้วยคำสั่ง orapki wallet add -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 \ -dn “CN=`hostname`” -keysize 1024 -self_signed -validity 3650 ตรวจสอบด้วยคำสั่ง orapki wallet display -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 ได้ผลลัพธ์ประมาณ Oracle PKI Tool : Version 12.1.0.2 Copyright (c) 2004, 2014, Oracle and/or its affiliates. All rights reserved. Requested Certificates: User Certificates: Subject: CN=reis.psu.ac.th Trusted Certificates: Subject: CN=reis.psu.ac.th Export Certificate เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง Oracle Client ด้วยคำสั่ง orapki wallet export -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 \ -dn “CN=`hostname`” -cert /tmp/server-certificate.crt ตรวจสอบแฟ้มที่ export ไปด้วยคำสั่ง cat /tmp/server-certificate.crt ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า —–BEGIN CERTIFICATE—– MIIBoTCCAQoCAQAwDQYJKoZIhvcNAQEEBQAwGTEXMBUGA1UEAxMOcmVpcy5wc3UuYWMudGgwHhcN MTgwMTA5MDcyNTA2WhcNMjgwMTA3MDcyNTA2WjAZMRcwFQYDVQQDEw5yZWlzLnBzdS5hYy50aDCB nzANBgkqhkiG9w0BAQEFAAOBjQAwgYkCgYEAj4x2/NviDaTlXuEJt0kZARY5fHiT2SiVX+a18hai I0stoUhKKefjOCgB85iuqjIk0rvcGXI0KXkbenTy2t40A+qGxB04mBhCLKaKeIe67BZKR6Zyw1dd oaesoaWChC01b+IW1X5WWtC53UxpIZQ4Zktj41sLGUnarIr9+9HFwncCAwEAATANBgkqhkiG9w0B AQQFAAOBgQAqSCF2Y8uyM4rSQHUC8MKEl3Ia3NJKnigMOUzDc2fP7grSaoeuQ4NvIntTD+s+IT5Y EpLVND4kSHFTwGRq0Py/ig8ybXZCXfHtvNZh7ZGziL/sYt5/8xYi/tOBKwVanBTUaseKIMovtmd7 UyoOKrX8YBoFsB3UPRLudmFsksXRXw== —–END CERTIFICATE—– ฝั่ง Client เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ administrator เปิด cmd แล้วสร้าง wallet ด้วยคำสั่ง mkdir c:\app\oracle\wallet สร้าง Certificate ด้วยคำสั่ง orapki wallet add -wallet “c:\app\oracle\wallet” -pwd WalletPasswd123 -dn “CN=%computername%” -keysize 1024 -self_signed -validity 3650 โดย WalletPasswd123 คือพาสเวิร์ดที่ใช้ล็อค wallet ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับของ Server ตรวจสอบด้วยคำสั่ง orapki wallet display -wallet “c:\app\oracle\wallet” -pwd WalletPasswd123 ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า Oracle PKI Tool : Version

Read More »

Raspberry Pi 3 [LCD Text Display with Python]

จากตอนที่แล้ว เราทำการเชื่อมต่อจอ LCD 16×2 และเขียน Basic Python ให้สามารถแสดงข้อความง่ายๆ ได้แล้ว ตอนนี้เราจะลองนำค่าที่อยู่ในตัว Raspberry Pi 3 มาแสดง เช่น Date & Time Network Adapter IP Address CPU Percentage Usage CPU Temperature Memory Total Memory Usage Memory Free Disk Total Disk Usage Disk Free เป็นต้น   ** ส่วนตัวผมจะถนัดใช้ nano เป็น text editor นะครับ ส่วนท่านอื่นที่ไม่คล่อง จะใช้ผ่าน vi หรือ text editor บน gui ก็ไม่ว่ากันครับ ** ** ไฟล์ทั้งหมดผม mkdir LCD เอาไว้บน home directory ของ user: pi ครับ ** ซึ่งดาวน์โหลดตัวอย่าง ได้ที่นี่ จากนั้นนำไฟล์ RPi_LCD_Driver.py (จากตอนที่แล้ว) วางไว้ที่ directory เดียวกัน   การแสดงวัน/เวลาบนหน้าจอ ใช้คำสั่งเพื่อสร้างไฟล์ sudo nano show_dt.py จากนั้นเขียนโค้ดตามด้านล่างนี้ครับ   import RPi_I2C_Driver from datetime import datetime mylcd = RPi_I2C_Driver.lcd() while True:     mylcd.lcd_display_string(“%s” %datetime.now().strftime(“%d/%m/%Y”), 1)     mylcd.lcd_display_string(“%s” %datetime.now().strftime(“%H:%M:%S.%f”), 2)   while True เนื่องจากต้องการให้รันแบบ infinite loop แสดงวันเวลาโดยที่ %d แสดงวันที่ %m แสดงเดือน %Y แสดงปี ค.ศ. %H แสดงหลักชั่วโมง %M แสดงหลักนาที %S แสดงหลักวินาที %f แสดง milli-seconds   เมื่อทดลองรันด้วยคำสั่ง sudo python show_dt.py หน้าจอ LCD จะแสดงดังตัวอย่างข้างล่างนี้ หลัก milli-seconds จะวิ่งเร็วมากจนหน้าจอแสดงไม่ทัน จากนั้นท่านจะเห็นว่าไม่สามารถพิมพ์คำสั่งอื่นๆ ที่ terminal ได้อีก เนื่องจากโปรแกรมรันอยู่นั่นเอง ให้ท่าน Ctrl+C ออกมา   การแสดงค่า IP Address ใช้โค้ดด้านล่างนี้ พร้อมกับเซฟไว้ในชื่อ myip.py   import RPi_I2C_Driver import socket mylcd = RPi_I2C_Driver.lcd() s = socket.socket(socket.AF_INET, socket.SOCK_DGRAM) s.connect((‘psu.ac.th’, 80)) ip = s.getsockname()[0] s.close() mylcd.lcd_display_string(“IP Address:”, 1) mylcd.lcd_display_string(ip, 2)   หน้าจอ LCD ก็จะแสดงข้อความดังนี้ ** มีวิธีการเขียนแสดง ip address อีกหลายวิธี แต่ใช้วิธีนี้เนื่องจากเป็นวิธีที่จะได้ ip address ที่ใช้งานจริง เพราะในบางกรณีจะได้ loopback ip 127.0.0.1 แทน และในบางแบบ ก็สามารถระบุ interface เช่น eth0

Read More »

วิธีขยาย Disk ใน VM/Virtualbox แล้วให้ Ubuntu

ในกรณีใช้ VMWare/VirtualBox  บางครั้งเราต้องการขยาย Disk ให้ Ubuntu มีพื้นที่มากขึ้น เดิมมี Disk 100 GB แก้ไขให้เป็น 300 GB Login เข้าไป ดูข้อมูล ด้วยคำสั่ง df -h จะเห็น 100 GB อยู่ แล้ว sudo reboot ลอง Login ใหม่ แล้วใช้คำสั่ง sudo su fdisk -l ก็จะ ขนาดเพิ่มเป็น 300 GB จากนั้นใช้คำสั่ง growpart /dev/sda 1 resize2fs /dev/sda1 แล้วลอง df -h ก็จะพบว่า ได้ขนาดมาเป็น 300 GB แล้ว

Read More »

Raspberry Pi 3 [Writing Text to 16×2 LCD]

จากตอนที่แล้วเราได้ทำการเชื่อมต่อ hardware ซึ่งได้แก่ จอ LCD ขนาด 16×2 ผ่าน I2C Module ไปเรียบร้อยแล้วนั้น เราจะเริ่มทำการ Config I2C และเขียน Python เพื่อแสดงข้อความตัวอักษรอย่างง่าย   Enable I2C Module เริ่มด้วยการ login เข้าสู่ Raspberry Pi และใช้คำสั่ง sudo raspi-config บนหน้าจอ Terminal จากนั้นเลือก 5 Interfacing Option และเลือก P5 I2C (Enable/Disable automatic loading…) ทำการคอนเฟิร์ม ด้วยการตอบ YES จากนั้น Reboot   จากนั้นทำการอัพเดทไฟล์ /boot/config.txt ด้วยคำสั่ง sudo nano /boot/config.txt ใส่ข้อความ (หรือ uncomment) ต่อไปนี้ dtparam=i2c1=on dtparam=i2c_arm=on จากนั้นทำการ reboot ครับ   ลองใช้คำสั่ง sudo i2cdetect -y 1 เพื่อดูว่าเจอ I2C Module หรือไม่ ซึ่งผลที่ได้คือ address ของอุปกรณ์ (อาจแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง ซึ่งในที่นี้คือ address 0x3f นั่นเอง)   จากนั้นทำการตรวจสอบว่ามีการติดตั้ง Python ไว้หรือยัง ด้วยการทดลองเรียกใช้ซะเลย ด้วยคำสั่ง python3 จะพบกับหน้าจอดังนี้ (ใช้คำสั่ง exit() เพื่อออกกลับไปยัง prompt เดิม) แต่ถ้าหากยังไม่เคยติดตั้ง ให้ติดตั้งด้วยคำสั่ง sudo apt-get install python ครับ   เริ่มเขียน Python เพื่อแสดงตัวอักษรบน LCD กันเลย เนื่องจากเราไม่ใช่คนแรกในโลกที่ใช้งานส่วนนี้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลา เราจะทำการดาวน์โหลด library มาใช้งาน ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ที่นี่ (ต้อง Extract Zip จะเจอไฟล์  RPi_I2C_Driver.py) โดยจะต้องทำการแก้ไข บันทัดที่ 54 ADDRESS = 0x3f ให้เป็น Address ของเราเอง (ต้นฉบับจากที่นี่ https://gist.github.com/DenisFromHR/cc863375a6e19dce359d)   จากนั้นลองทำการเขียนกันดูครับ import RPi_I2C_Driver from time import * mylcd = RPi_I2C_Driver.lcd() mylcd.lcd_display_string(“Hello PSU !”, 1) เซฟไฟล์ชื่อ hello.py จากนั้นสั่งรันด้วยคำสั่ง python hello.py จะพบว่า LCD สามารถแสดงข้อความได้แล้ว   คำสั่งพื้นฐานอื่นๆ ที่อาจต้องใช้ได้แก่ mylcd.lcd_display_string(“Hello PSU !”, 2, 3) แสดงข้อความที่ row 2, column 3 mylcd.lcd_clear() เพื่อเคลียร์หน้าจอ เป็นต้นครับ   สำหรับตอนหน้า จะเป็นเรื่องของการแสดงข้อความอื่นๆ ในระบบ เช่น วัน/เวลา, IP Address, CPU/Memory/Disk Usage ครับ   ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ครับ        

Read More »