แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)

ผมได้จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ในแนวทาง Virtual Desktop Infrastructure” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ อาคารวิทยบริการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

คิดว่านำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้น่าจะเกิดประโยชน์

คุณลักษณะของระบบ

  • VMware vSphere ESXi 6.7 เป็น software จัดการ server
  • Dell EMC PowerEdge Systems เป็น hardware ชนิด Rack Server จำนวน 5 เครื่อง แต่ละเครื่องมี RAM 512 GB มี GPU ชนิด NVIDIA Tesla M10 32 GB และมี SAN Storage ขนาด 50 TB
  • L2/3 network switch ที่มี 10 G Base-T จำนวน 2 ตัว
  • VMware Horizon 7 เป็น software สำหรับทำ VDI
  • เครื่องที่ให้ใช้งานเป็น PCoIP zero client จำนวน 480 ชุด
  • user account เป็น Local Microsoft AD สำหรับห้องคอม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

  • ได้ทดลองใช้งานเป็นผู้ใช้งาน
  • ได้รับข้อคิดเห็นจากประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่จัดซื้อเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว
  • ได้เห็นวิธีการ cloning VM ทำภายใน server สะดวกมาก เพราะ zero client ไม่มี hard disk เป็นแค่จอภาพ+อุปกรณ์เชื่อมต่อกับ server

สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการนำระบบ VDI ไปใช้งาน

  • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Virtualization Technology
  • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ DHCP Sever, DNS Server
  • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Microsoft AD
  • ผู้ดูแลต้องมีความรู้พื้นฐานการจัดการ PC , Windows
  • ผู้ดูแลควรมีการติดตั้งและทดสอบโปรแกรมที่จะนำมาใช้กับระบบ VDI
  • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Server และ Network
  • ระบบไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศภายในห้อง Data Center ที่มีประสิทธิภาพ

ปัญหาที่เจอในการใช้งานระบบ VDI

  • vcenter ล่ม (ระบบไฟฟ้าภายในห้อง Data Center มีปัญหา,ไฟล์สำคัญโดนลบ)
  • การ Clone เครื่อง (ใช้งานได้ไม่ครบทุกเครื่อง)
  • ค่า Error ไม่สื่อความหมาย (Clone แล้วเครื่องไม่พร้อมใช้งาน)
  • ข้อมูลทั้งระบบมีขนาดที่โตขึ้น (การเก็บข้อมูลในเครื่องผู้ใช้งาน Drive C,D)
  • ทรัพยากรไม่เพียงพอเมื่อมีการสร้างเครื่องใช้งานเยอะเกินไป ต้องประเมิน Disk Storage ให้เพียงพอ
  • ปัญหาเกี่ยวกับ user account ที่จะใช้ VM ในตอนแรกจะให้ใช้ Microsoft AD ของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจาก AD ของมหาวิทยาลัยไม่ได้ออกแบบมาให้คอนฟิกได้ง่าย จึงเปลี่ยนเป็นสร้าง Local AD ผูกกับ zero client เป็นเครื่อง ๆ ไป เปิดเครื่อง กด Enter ก็เข้าถึงหน้าต่าง Windows ราว ๆ 30-40 วินาที

ข้อดีของการนำระบบ VDI มาใช้งาน

  • การบริหารจัดการเครื่องมีประสิทธิภาพขึ้น เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
  • ประหยัดพลังงาน เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
  • ลดอุณหภูมิภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
  • มีความยืดหยุ่นในการใช้งานทรัพยากร เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
  • ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
  • การ Backup ข้อมูลทั้งระบบทำได้ง่าย เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC

ถาม-ตอบ ที่พอจะประมวลได้จากการพูดคุย

ถาม: วิทยาเขตตรัง มีนโยบายการให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน กี่แบบ
ตอบ: มีแบบเดียว คือ มีเครื่องให้ใช้ร่วมกัน เก็บบันทึกไฟล์ไว้เอง เนื่องจากระบบ VDI ที่จัดซื้อทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะสร้าง VM แยกให้นักศึกษาหรือให้แต่ละวิชา

ถาม: ระบบนี้มีค่าใช้จ่ายเท่าไร แยกเป็นค่าอะไรบ้าง ขอทราบ specification ที่ใช้งานอยู่
ตอบ: ไม่สามารถระบุเฉพาะระบบ VDI ได้ เพราะเป็นการเช่ารวมกับ PC และ Notebook อีกจำนวนหนึ่ง (ประมาณหยาบ ๆ ได้เครื่องละ 20,000 บาท/3ปี หรือ คิดเป็นค่าใช้เครื่อง 18 บาท/วัน) ส่วนการกำหนด VDI specification ได้คำนวณจากปริมาณ (PC, RAM และ Disk) ที่ต้องการใช้งาน บวกส่วนเผื่อไว้อีก 25%

ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับคณะที่ให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนการติดตั้งโปรแกรมหรือไม่
ตอบ: ทำได้เพราะเปิดสิทธิ Administrator เหมือนกับ PC

ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับหน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรมหรือไม่
ตอบ: ขึ้นอยู่กับความพร้อมของ data center ให้บริการได้ต่อเนื่องหรือไม่ และโปรแกรมที่อบรมได้ทดสอบติดตั้งใช้งานแบบ VDI ได้

ถาม: ระบบนี้ดีกว่าระบบเก่าอย่างไร
ตอบ: มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มทรัพยากรให้ zero client ที่ต้องการใช้มาก ๆ ปรับเปลี่ยนได้สะดวก การ cloning สามารถ remote เข้าทำได้ที่ server ไม่ต้องทำที่ห้องคอม

ถาม: ตั้งแต่เริ่มใช้ระบบนี้มีการประเมินการใช้งานแล้ว คุ้มหรือไม่คุ้ม ดีหรือไม่ดี อย่างไร
ตอบ: ยังไม่ได้ประเมิน

ขอขอบคุณข้อมูลที่ได้รับจาก presentation ของคุณพงษ์พันธ์ ประพันธ์ หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

Comments

One response to “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)”

  1. วิศาล เดิมหลิ่ม Avatar
    วิศาล เดิมหลิ่ม

    ประเด็นของการทำ VDI ที่สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นคือ IOPS ที่เกิดขึ้น ไม่ทราบว่า SAN Storage มี IOPS เท่าไหร่ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *