Canonical Livepatch Service

Canonical Livepatch Service Apply critical kernel patches without rebooting. โฆษณา Fixes are applied automatically, without restarting your system Reduces downtime, keeping your Ubuntu LTS systems secureand compliant Included as part of all Ubuntu Advantage for Infrastructuresupport packages ใครควรใช้ เครื่อง ubuntu 16.04 ขึ้นไป เริ่มได้ เปิดเว็บ https://auth.livepatch.canonical.com/ เลือก Ubuntu user แล้วกดปุ่ม Get your Livepatch token ก็จะไปหน้านี้ กด Accept all and visit site ก็ให้ log in ให้เรียบร้อย หากยังไม่ได้สมัคร user ของ Ubuntu one ก็ให้เลือก I don’t have an Ubuntu One account เพื่อสร้าง account หลังจากกด Create account ให้ไปเช็คเมล์ที่ใช้ลงทะเบียนแล้วกด verify ก็จะได้หน้าที่มี Token สำหรับลงทะเบียน ติดตั้งโปรแกรมชื่อ canonical-livepatch ด้วยคำสั่ง เมื่อติดตั้งเสร็จได้ผลลัพธ์ว่า canonical-livepatch 9.5.5 from Canonical✓ installed แล้วต่อด้วยคำสั่ง copy จากในเว็บได้เลย โดย $TOKEN คือค่าที่ได้จากในหน้าเว็บ ก็จะได้ผลว่าประมาณว่า Successfully enabled device. Using machine-token: xxxxxxxxxxx เสร็จ!!! แบบง่ายๆ และงงๆ และสำหรับ 1 email address สามารถใช้ token เดียวกันได้ 3 เครื่อง สำหรับผู้ใช้ฟรี!! ตั้งแต่ใช้มาประมาณ 1 ปีครึ่ง ก็ไม่รู้ว่ามีอัพเดตอะไรบ้างเหมือนกัน กรั่กๆ ตรวจสอบสถานะของ canonical-livepatch ด้วยคำสั่ง ก็จะได้ประมาณว่า จบขอให้สนุก อ้างอิง https://ubuntu.com/security/livepatch

Read More »

How to apache2 HTTP/2

วันนี้อัพเกรตเครื่อง licensing เป็น 20.04.1 เลยมาดูว่ามีอะไรที่ควรเปลี่ยนอีกบ้าง ก็มี HTTP/2 นี่ละ ออกมาหลายปีแล้วยังไม่ได้เริ่มใช้งาน เท่าที่ตรวจสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ฝั่ง windows เป็น http/2 เกือบหมดแล้ว https://thanwa.medium.com/http-2-คืออะไร-แตกต่างจาก-http-1-1-อย่างไร-5dfb14e46ae4 HTTP/1.1 และ HTTP/2 ต่างกันอย่างไร เริ่มได้ ตรวจสอบก่อนว่า server ใช้ http/2 หรือไม่ทำได้โดยใช้ web developer tool บน web browser เช่น Firefox กด F12 คลิกหัวข้อ Network ซึ่งในครั้งแรกจะไม่สามารถดูได้ว่าใช้ http/2 แล้วหรือไม่ ให้คลิกขวาดังรูป แล้วเลือก Protocol จะได้เป็น จะเห็น http/1.1 ในช่อง Protocol ถ้าเป็น http/2 จะได้ดังภาพ ขั้นตอนต่อไปนี้ทำบน Ubuntu 20.04.1 อาจใช้ได้กับ 18.04.x ด้วยเช่นกัน เริ่มด้วยการเปิด module ของ apache2 ที่ชื่อ http2 ด้วยคำสั่ง เมื่อตรวจสอบแฟ้ม /etc/apache2/mods-enabled/http2.conf (ด้วย editor ที่ชื่นชอบ) จะพบว่ามีข้อความต่อไปนี้อยู่แล้ว โดยปกติ Http/1 จะถูกเรียกใช้ก่อนเสมอ เว้นแต่ว่า web browser นั้นจะรองรับ http/2 แต่เราต้องการ http/2 ถูกเลือกก่อนจึงต้องกำหนดตามนั้น แต่ web browser ก็มีการเลือก Protocol เองด้วยเพื่อเป็นการบังคับให้เลือก ตามลำดับของ server ให้ใส่ข้อความต่อไปนี้เพิ่มลงไป *** จากการทดสอบพบว่า web browser สมัยใหม่เลือก http/2 ก่อนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ เพราะงั้นแค่เปิดดูแล้วก็ออกจากแฟ้ม รีสตาร์ท apache2 ด้วยคำสั่ง ตรวจสอบว่า เป็น http/2 แล้วหรือไม่ด้วยคำสั่ง ได้ผลดังภาพ แปลว่า http/2 ทำงานแล้ว ทีนี้เว็บเรามันทำด้วย mod_php ต้องเปลี่ยนมาใช้ PHP-FPM ติดตั้ง php7.4-fpm เพิ่มด้วยคำสั่ง ปิดการใช้งาน mod_php ด้วยคำสั่ง ปิดการใช้งาน apache mpm_prefork ด้วยคำสั่ง หลังจากนั้นเปิด การทำงานของ mpm_event, proxy_fcgi และ setenvif เปิดการทำงานของ php7.4-fpm ด้วยคำสั่ง ให้ php7.4-fpm ทำงานทุกครั้งที่รีสตาร์ท เปิดการทำงานของ php7.4-fpm ใน apache2 เริ่มการทำงานของ apache2 ใหม่ ทดสอบว่าเป็น http/2 แล้วด้วยคำสั่ง ได้ผลดังภาพ จริงๆ ตรวจสอบด้วย web browser ก็ได้ แต่อยากอวด command line จบขอให้สนุก อ้างอิง https://httpd.apache.org/docs/2.4/howto/http2.html

Read More »

Windows Terminal (2)

Q: วันก่อนติดตั้ง WSL2 แล้วอยากใช้งาน bash บน Windows Terminal ด้วยทำไง? A: กด แล้วเลือก Ubuntu 20.04 ไงล่ะ!! Q: ไม่อยากกดเอาแบบเปิดมาแล้วเป็น ubuntu เลยอ่ะ A: แก้ Settings คลิก เลือก Settings จะเป็นการเปิดการตั้งค่าต่างๆ ด้วย Text Editor ที่ชื่นชอบ เลื่อนลงมาดูเรื่อยๆ จะเจอว่ามี Ubuntu-20.04 อยู่ สนใจบรรทัดที่เขียนว่า “guid”: ให้ copy ข้อความที่อยู่ภายใน “{ }” มาทั้งหมด จากตัวอย่างคือ 07b52e3e-de2c-5db4-bd2d-ba144ed6c273 แล้วให้เลื่อนจอขึ้นไปด้านบนจนเห็นบรรทัดที่มีข้อความว่า “defaultProfile”: แทนที่ข้อความที่อยู่ภายในเครื่องหมาย “{ }” ด้วยข้อความที่ copy ไว้ เปลี่ยนเป็น แล้ว save ปิดแล้วเปิดใหม่ก็จะได้ Ubuntu-20.04 เป็นค่า default จบขอให้สนุก

Read More »

Windows Subsystem for Linux Installation Guide for Windows 10

เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เริ่ม เปิด Powershell ด้วยสิทธิ์ของ Administrator แล้วพิมพ์คำสั่ง ต่อไปนี้เพื่อเปิดใช้งาน “Windows Subsystem for Linux” หรือ wsl โดยจะเป็นรุ่น 1 หรือ wsl1 ปรับรุ่นให้เป็นรุ่น 2 โดย Windows 10 ที่ใช้งาน ต้องเป็น Windows 10 version 2004, Build 19041 1903, Build 18362 ขึ้นไปเท่านั้น ตรวจสอบรุ่นของ Windows ด้วยคำสั่ง winver (start->run) เปิดใช้งาน Virtual Machine Platform พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ ใน powershell ของ administrator restart เครื่องเพื่อให้การปรับรุ่น wsl1 เป็น wsl2 สมบูรณ์ ตั้งค่าให้ wsl2 เป็นค่าเริ่มต้นด้วยคำสั่ง ซึ่งจะเจอข้อความตามภาพ ให้ไปดาวน์โหลด kernel ได้จาก https://aka.ms/wsl2kernel โหลดมาแล้วติดตั้งให้เรียบร้อย (Next technology) สั่งคำสั่งเดิมอีกครั้งเพื่อตั้งค่าให้ wsl เป็นรุ่น 2 เป็นค่าเริ่มต้น สามารถดูรายละเอียดความแตกต่างของ wsl2 ได้ที่ https://aka.ms/wsl2 ติดตั้ง Linux ที่ต้องการจาก Microsoft Store หรือคลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อเข้า Microsoft Store Ubuntu 16.04 LTS Ubuntu 18.04 LTS Ubuntu 20.04 LTS openSUSE Leap 15.1 SUSE Linux Enterprise Server 12 SP5 SUSE Linux Enterprise Server 15 SP1 Kali Linux Debian GNU/Linux Fedora Remix for WSL Pengwin Pengwin Enterprise Alpine WSL ติดตั้งเสร็จแล้วคลิก Launch ใน Microsoft Store จะเป็นการเปิดหน้าของลินุกส์ขึ้นมาและให้ตั้งค่าต่างๆ username และ password ตั้งค่าเสร็จได้ดังภาพ ตั้งค่าลินุกส์ให้เป็น wsl2 ตรวจสอบว่าเป็นรุ่นไหนอยู่ด้วยคำสั่ง ซึ่งถ้าหากยังเป็นรุ่น 1 สามารถเปลี่ยนได้ด้วยคำสั่ง โดยแทนที่ <distribution name> ด้วยชื่อเต็มที่ได้จากคำสั่ง wsl –list –verbose เช่น Ubuntu-20.04 และ <versionNumber> ด้วย 1 หรือ 2 ตามต้องการ จบขอให้สนุก ต้นฉบับ https://docs.microsoft.com/en-us/windows/wsl/install-win10

Read More »