การติดตั้ง Lighttpd + PHP5 บนเครื่อง Ubuntu 14.04 LTS

มาเริ่มขั้นตอนการติดตั้งกันเลยครับ วิธีการติดตั้ง Lighttpd Web Server 1. ทำการติดตั้ง Lighttpd ผ่าน apt-get ดังนี้ครับ # sudo apt-get install -y lighttpd 2. ให้ทำการ Restart Lighttpd ด้วยคำสั่ง # sudo service lighttpd restart 3. ทำการทดสอบเข้าใช้งาน HTTP โดยพิมพ์คำสั่ง http://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์ เช่น http://192.168.99.1 4. ในกรณีที่ต้องการติดตั้ง SSL ให้พิมพ์คำสั่งเพื่อเปิด site ดังนี้ sudo lighttpd-enable-mod ssl 5. หลังจากนั้นทำการ สร้าง key จาก default cer (ถ้ามี key จริงสามารถนำมาแทนได้ในภายหลัง) ในกรณีที่ไม่เคยติดตั้ง apache ให้ติดตั้งโปรแกรม ssl-cert ก่อนดังนี้ sudo apt-get install -y ssl-cert ทำการรวม Key โดยสร้างเป็นไฟล์ใหม่ เก็บไว้ที่ /etc/lighttpd/snakeoil.pem sudo sh -c ‘cat /etc/ssl/certs/ssl-cert-snakeoil.pem /etc/ssl/private/ssl-cert-snakeoil.key > /etc/lighttpd/snakeoil.pem’ 6. จากนั้นทำการเข้าไปแก้ไฟล์ระบุ เพื่อระบุตำแหน่ง cer ให้ถูกต้อง sudo nano /etc/lighttpd/conf-enabled/10-ssl.conf 7. ทำการแก้ไขข้อความในไฟล์ดังนี้ ssl.pemfile = “/etc/lighttpd/snakeoil.pem” 8. จากนั้นให้สั่ง Restart Lighttpd  ตามปกติ # sudo service lighttpd restart 9. ทำการทดสอบเข้าใช้งาน HTTPS โดยพิมพ์คำสั่ง https://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์ เช่น https://192.168.99.1 *หมายเหตุ วิธีการดู IP ให้พิมพ์ดังนี้ ifconfig ให้วิธีการดูให้สังเกตุตามรูปตัวอย่าง – eth0 เป็น ip จาก nat interface – eth1 เป็น ip จาก bridge interface – lo เป็น ip จาก loopback interface วิธีการเปลี่ยน Lighttpd Server Default Port *ยกตัวอย่างการเปลี่ยนจาก port 80->8081 – เปิดไฟล์ /etc/lighttpd/lighttpd.conf sudo nano /etc/lighttpd/lighttpd.conf – แก้ไขข้อความในไฟล์ดังนี้ (วิธีการ save ให้กด Ctrl-X แล้วกด y แล้ว enter) server.port = 8081 วิธีการติดตั้ง PHP5 เพื่อใช้งานกับ Lighttpd Web Server 1. ทำการติดตั้ง PHP5 ดังนี้ sudo apt-get install php5-cgi 2. ทำการเปิดใช้งาน module เพื่อให้สามารถใช้งาน php บน lighttpd ได้ sudo lighty-enable-mod fastcgi sudo lighty-enable-mod fastcgi-php 3. จากนั้นให้สั่ง Restart Lighttpd  ตามปกติ # sudo service lighttpd restart 4. วิธีการสร้างไฟล์ตรวจสอบสามารถทำได้ดังนี้ – เปิดไฟล์ /var/www/info.php sudo sh -c

Read More »

การติดตั้ง Apache2 + PHP5 บนเครื่อง Ubuntu 14.04 LTS

มาเริ่มขั้นตอนการติดตั้งกันเลยครับ วิธีการติดตั้ง Apache2 Web Server 1. ทำการติดตั้ง Apache ผ่าน apt-get ดังนี้ครับ # sudo apt-get install -y apache2 2. ให้ทำการ Restart Apache ด้วยคำสั่ง # sudo service apache2 restart จะเห็นได้ว่าจะมี Warning เกี่ยวกับ Domain Name ไม่ต้องตกใจครับ สามารถใช้งานได้ แต่เพราะยังไม่ได้จด Domain ให้กับ IP เครื่องที่ติดตั้ง ทุกครั้งที่ Restart ก็จะมีการฟ้องจนกว่าจะจดครับ ถ้าไม่ต้องการให้ขึ้น Warning ดังกล่าว ให้ทำการแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/apache2.conf ดังนี้ – เปิดไฟล์ /etc/apache2/apache2.conf sudo nano /etc/apache2/apache2.conf – เพิ่มข้อความท้ายไฟล์ดังนี้ (วิธีการ save ให้กด Ctrl-X แล้วกด y แล้ว enter) ServerName localhost 3. จากนั้นทำการ Restart Apache อีกครั้งจะไม่พบข้อความ Warning อีกแล้ว # sudo service apache2 restart 4. ทำการทดสอบเข้าใช้งาน HTTP โดยพิมพ์คำสั่ง http://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์ เช่น http://192.168.99.1 5. ในกรณีที่ต้องการติดตั้ง SSL ให้พิมพ์คำสั่งเพื่อเปิด site ดังนี้ sudo a2enmod ssl sudo a2ensite default-ssl 6. จากนั้นให้สั่ง Restart Apache ตามปกติ # sudo service apache2 restart 7. ทำการทดสอบเข้าใช้งาน HTTPS โดยพิมพ์คำสั่ง https://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์ เช่น https://192.168.99.1 8. ในกรณีที่ต้องการยกเลิกการติดตั้ง SSL ให้พิมพ์คำสั่งเพื่อปิด site ดังนี้ sudo a2dismod ssl sudo a2dissite default-ssl 9. จากนั้นให้สั่ง Restart Apache ตามปกติ # sudo service apache2 restart *หมายเหตุ วิธีการดู IP ให้พิมพ์ดังนี้ ifconfig ให้วิธีการดูให้สังเกตุตามรูปตัวอย่าง – eth0 เป็น ip จาก nat interface – eth1 เป็น ip จาก bridge interface – lo เป็น ip จาก loopback interface วิธีการเปลี่ยน Apache Server Default Port *ยกตัวอย่างการเปลี่ยนจาก port 80->8080 1. เปิดไฟล์ /etc/apache2/sites-enabled/000-default.conf sudo nano /etc/apache2/sites-enabled/000-default.conf 2. แก้ไขข้อความในไฟล์ดังนี้ (วิธีการ save ให้กด Ctrl-X แล้วกด y แล้ว enter) <VirtualHost *:8080> 3. เปิดไฟล์ /etc/apache2/ports.conf sudo nano /etc/apache2/ports.conf 2. แก้ไขข้อความในไฟล์ดังนี้ (วิธีการ save ให้กด Ctrl-X แล้วกด y แล้ว enter) Listen 8080 3. จากนั้นให้สั่ง

Read More »

วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Laptop ไม่สามารถปรับควบคุมแสงสว่าง Brightness Control ใน Ubuntu 14.04

วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Laptop ไม่สามารถปรับควบคุมแสงสว่าง Brightness Control ใน Ubuntu 14.04 ปัญหานี้เกิดกับ Laptop ที่มีการ์ดแสดงผลของยี่ห้อ [Intel Graphics] ซึ่งจะไม่สามารถปรับควบคุมความเข้มความสว่างของจอภาพเพื่อปรับลด/เพิ่ม แสงได้ตามปกติ – ให้ลองใช้คำสั่งตรวจสอบ video/graphic card ของท่านดูก่อนว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใด ls /sys/class/back light/ ถ้าปรากฎว่าแฟ้มข้อมูลที่แสดงออกมามีแฟ้มชื่อ intel_backlight อาจจะเกิดปัญหากับการปรับลด/เพิ่ม แสงของหน้าจอ ให้แก้ไขดังนี้ touch /usr/share/X11/xorg.conf.d/20-intel.conf sudo vi /usr/share/X11/xorg.conf.d/20-intel.conf จากนั้นพิมพ์ข้อมูลดังนี้ Section “Device” Identifier “card0” Driver “intel” Option “Backlight” “intel_backlight” BusID “PCI:0:2:0” EndSection หลังจากพิมพ์ข้อความเสร็จให้ทำการบันทึกแฟ้มดังกล่าว จากนั้นให้ลองล็อกเอาท์ logout หรือทำการ restart เครื่องใหม่ และลองใช้ฟังค์ชั่นคียร์ปรับลด/เพิ่ม แสงของจอภาพ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย… ^_^

Read More »

เรียนรู้ด้วยตนเอง Linux System Administration I และ II

ขอแนะนำแหล่งความรู้สำหรับทุกท่านที่ต้องการเรียนรู้ Linux ซึ่งผมและอาจารย์ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม ได้รวบรวมเขียนไว้และจัดอบรมไปแล้ว 1 รุ่น ใน Workshop I สอนด้วย Ubuntu 12.04 และใน Workshop II Ubuntu 14.04 ออกมาพอทันให้ได้ใช้กันครับ Workshop Linux System Administration I (http://opensource.cc.psu.ac.th/WS-LSA1) เนื้อหา เป็นการให้ความรู้ในการทำหน้าที่ system administrator เพื่อดูแลระบบปฏิบัติการ Linux โดยจะใช้ Ubuntu ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานกันมาก โดยจัดเนื้อหาเป็น 2 ตอน ในตอนแรกนี้จะเป็นความรู้จำเป็นที่จะเป็นพื้นฐานไปสู่การเป็นมืออาชีพที่สามารถดูแล server ด้วยตนเองต่อไปได้อย่างมั่นใจ โดยใช้เวลา 2 วัน Workshop Linux System Administration II (http://opensource.cc.psu.ac.th/WS-LSA2) เนื้อหา เป็นการให้ความรู้ในการทำหน้าที่ system administrator เพื่อดูแลระบบปฏิบัติการ Linux โดยจะใช้ Ubuntu ในตอนที่ 2 นี้จะเป็นความรู้ในการติดตั้ง server การดูแล server การป้องกันและตรวจสอบความปลอดภัย server และ web application ที่ติดตั้งในเครื่อง โดยใช้เวลา 2 วัน วิธีการเรียนใน workshop ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติด้วย Ubuntu server ที่ติดตั้งใน Oracle VM Virtualbox ซึ่งเป็นโปรแกรมในการจำลองเครื่องเสมือนจริง สำหรับเพื่อนๆที่ไม่ได้เข้า workshop ลองเข้าไปอ่านกันได้นะครับ และเพื่อนๆที่เข้า workshop ก็ทบทวนได้เมื่อต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับ Linux System Administration I และ II

Read More »

วิธีตั้งค่า Apache web server 2.4.x แตกต่างจาก 2.2.x

เก็บตกจากวันวานเปิดอบรม Workshop Linux System Administration II (WS-LSA2) ที่ศูนย์คอมฯ 2 วัน ผมเตรียมเอกสาร workshop วิธีตั้งค่าหลายๆเรื่องบน ubuntu 12.04 แต่พอดีกับที่ ubuntu 14.04 ออกมาแล้ว จึงนำ ubuntu 14.04 มาให้ผู้เรียนใช้ติดตั้ง มันก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก ubuntu 12.04 ตั้งแต่เริ่มต้น installation จนกระทั่งมาถึงเรื่องที่เราจะตั้งค่าเกี่ยวกับ Apache web server ซึ่งทำให้ต้องแก้ไขเอกสารประกอบการสอนกันสดๆตอนนั้นเลย (ฮา) เพราะว่า Apache Web Server ที่อยู่ในแผ่น ubuntu 14.04 นั้นเป็นเวอร์ชั่น 2.4.7 ซึ่งมี Default Document Root อยู่ที่ /var/www/html ต่างจาก Apache Web Server เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ (2.2.x) ที่มี Default Document Root อยู่ที่ /var/www เป็นต้น พอจะสรุปได้ดังนี้ Apache Web Server 2.2.x ทำแบบนี้ 1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/testjoomla 2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available จะมีไฟล์ชื่อ default และ default-ssl มาให้ และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็สร้าง config file ที่มีชื่อไฟล์อย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/sites-available/pma หลังจากนั้นเราก็ enable VirtualHost นี้ จาก config ที่เราสร้างขึ้นใหม่ โดยการใช้คำสั่ง sudo a2ensite pma แล้วก็สั่ง restart apache 3.เมื่อเข้าไปดูในไฟล์ default DocumentRoot จะอยู่ที่ /var/www 4.Apache2 config file จะอยู่ที่ /etc/apache2/conf.d สมมติว่าต้องการเพิ่มการป้องกัน joomla web server ด้วย config file ชื่อ jce จะต้องทำดังนี้ สร้างไฟล์ที่จะมีชื่ออย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/conf.d/jce แค่นี้ก็ได้แล้ว แล้วก็สั่ง restart apache และเมื่อจะไม่ใช้ config file jce นี้แล้ว ก็แค่ลบไฟล์นี้ทิ้ง แต่สำหรับ Apache Web Server 2.4.x วิธีการจะแตกต่างไป ดังนี้ 1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www/html หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/html/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/html/testjoomla 2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available จะมีไฟล์ชื่อ 000-default และ default-ssl มาให้ (ต่างจาก 2.2.x) และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็ต้องสร้าง config file ที่มี

Read More »