Category: GIS
All about GIS
-
ตรวจเช็คพื้นที่และเฝ้าระวังน้ำท่วมด้วย Google Earth
#ฝนตกต่อเนื่อง ตรวจเช็คพื้นที่และเฝ้าระวังน้ำท่วมด้วย Google Earthมาดูวิธีการเฝ้าระวังพื้นที่บ้านเรา จะเสี่ยงน้ำท่วมไหม? และต้องเฝ้าระวังพื้นที่รอบๆด้วยนะคับ#GoogleEarth #GIS #เฝ้าระวังน้ำท่วม -
ELK #6 วิธีการติดตั้ง ELK และ Geoserver แบบ Docker ให้ทำงานร่วมกัน
จาก ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS และ การสร้าง Web Map Service (WMS) บน Geoserver ก็จะเห็นถึงการนำไปใช้เบื้องต้น
>> ขอบคุณ คุณนพัส กังวานตระกูล สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) สำหรับความรู้มากมายครับ <<
ต่อไปนี้ จะเป็นขั้นตอนการติดตั้ง ELK และ Geoserver แบบ Docker โดยผมได้สร้าง Github Repository เอาไว้ ซึ่งได้แก้ไขให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลไว้ภายนอก
Prerequisite
- ถ้าเป็น Windows ก็ต้องติดตั้ง Docker Toolbox หรือ Docker for Windows ให้เรียบร้อย
- ถ้าเป็น Linux ก็ติดตั้ง docker-ce ให้เรียบร้อย (เรียนรู้เกี่ยวกับ Docker ได้จาก ติดตั้ง docker 17.06.0 CE บน Ubuntu)
ขั้นตอนการติดตั้ง
- สร้าง Folder ชื่อ Docker เอาไว้ในเครื่อง เช่นใน Documents หรือ จะเป็น D:\ หรืออะไรก็แล้วแต่
- เปิด Terminal หรือ Docker Quickstart Terminal จากนั้นให้ cd เข้าไปมา Folder “Docker” ที่สร้างไว้
- ดึง ELK ลงมา ด้วยคำสั่ง
git clone https://github.com/deviantony/docker-elk.git - ดึง Geoserver ลงมา ด้วยคำสั่ง (อันนี้ผมทำต่อยอดเค้าอีกทีหนึ่ง ต้นฉบับคือ https://hub.docker.com/r/fiware/gisdataprovider/)
git clone https://github.com/nagarindkx/geoserver.git - เนื่องจาก ไม่อยากจะไปแก้ไข Git ของต้นฉบับ เราจึงต้องปรับแต่งนิดหน่อยเอง
ให้แก้ไขไฟล์ docker-elk/docker-compose.yml
โดยจะเพิ่ม Volume “data” เพื่อไป mount ส่วนของ data directory ของ Elasticsearch ออกมาจาก Containerแก้ไขจากelasticsearch: build: elasticsearch/ volumes: - ./elasticsearch/config/elasticsearch.yml:/usr/share/elasticsearch/config/elasticsearch.yml
เป็น
elasticsearch: build: elasticsearch/ volumes: - ./elasticsearch/config/elasticsearch.yml:/usr/share/elasticsearch/config/elasticsearch.yml - ./elasticsearch/data:/usr/share/elasticsearch/data
- สร้าง docker-elk/elasticsearch/data
mkdir docker-elk/elasticsearch/data
- แก้ไขไฟล์ docker-elk/logstash/pipeline/logstash.conf ตามต้องการ เช่น ใส่ filter
filter { csv { separator => "," columns => [ "cid","name","lname","pid","house","road","diagcode","latitude","longitude","village","tambon","ampur","changwat" ] } if [cid] == "CID" { drop { } } else { # continue processing data mutate { remove_field => [ "message" ] } mutate { convert => { "longitude" => "float" } convert => { "latitude" => "float" } } mutate { rename => { "longitude" => "[geoip][location][lon]" "latitude" => "[geoip][location][lat]" } } } }
- จาก Terminal ให้เข้าไปใน docker-elk แล้ว start ด้วยคำสั่ง
cd docker-elk docker-compose up -d
- จาก Terminal ให้เข้าไปใน geoserver แล้ว start ด้วยคำสั่ง
cd ../geoserver docker-compose up -d
ถึงขั้นตอนนี้ ก็จะได้ ELK และ Geoserver ทำงานขึ้นแล้ว
ELK: http://localhost:5601
Geoserver: http://localhost:9090/geoserver/web
ขั้นตอนต่อไป จะเป็นการ นำข้อมูลเข้า และ เชื่อ Kibana กับ Geoserver
วิธีการนำข้อมูลเข้า Elasticsearch
เนื่องจาก pipeline ของ Logstash กำหนดว่า จะรับข้อมูลทาง TCP Port 5000 จึงใช้วิธี netcat ไฟล์เข้าไป ด้วยคำสั่ง (ตัวอย่างนี้ ใช้ข้อมูลจากไฟล์ sample.csv)
cat sample.csv | nc localhost 5000
วิธีการดึง Map จาก Geoserver มาใช้งานใน Kibana
ทำตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ใน การสร้าง Web Map Service (WMS) บน Geoserver ซึ่งจะได้ URL ของ Layer Preview มา ประมาณนี้
http://localhost:9090/geoserver/test/wms?service=WMS&version=1.1.0&request=GetMap&layers=test:hadyai_vil&styles=&bbox=631866.963048935,748605.6609660918,677997.0295239205,791055.6681053439&width=768&height=706&srs=EPSG:32647&format=application/openlayersทำตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ใน ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS ในส่วนของ วิธีใส่ Map Server อื่น แล้วเอา URL นี้ไปใส่ และรายละเอียดเกี่ยวกับ Layer, version, format ตามที่กำหนดไว้ ก็จะสามารถเอา Map ที่เราต้องการ พร้อม Shape File มาใช้งานได้
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
-
การสร้าง Web Map Service (WMS) บน Geoserver
จากบทความ ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS ของคุณคณกรณ์ ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจัดทำแผนที่ GIS ซึ่งอาศัย Web Map Service หรือเรียกย่อๆว่า WMS ก็เลยทำให้คันไม้คันมือ อยากนำเสนอวิธีการสร้าง WMS บน Geoserver เพื่อนำ shape file ที่เราได้จัดทำขึ้น(ไม่ว่าจะเป็น point , line, polygon) มาใช้งานบน GIS Web Application ซึ่งทั่วไปก็จะใช้ UI เป็น Openlayers, Leaflet ฯลฯ
**ลองแวะเข้าไปอ่านบทความเก่าๆของผู้เขียน จะมีการนำเสนอวิธีการนำ WMS ไปใช้ อาทิเช่นกับ Google Earth, ArcGIS เป็นต้น
ขั้นตอนการสร้าง WMS บน Geoserver
- สร้างและกำหนด style ของข้อมูลในโปรแกรม QGIS
2. save style เป็น SLD file โดยจัดเก็บไว้ที่เดียวกับ shape file
3. Copy file ทั้งหมด
4. ไปวาง(past) ไว้ที่ root folder ของ Geoserver ซึ่งในที่นี้จะอยู่ที่ C:\Program Files\Apache Software Foundation\Tomcat 7.0\webapps\geoserver\data\shpfile\slb-gis
*** ดาวน์โหลด shape file ตามตัวอย่างได้ที่นี่
5. เปิด Geoserver manager โดยพิมพ์ url: localhost:8080/geoserver *** port สามารถปรับเปลี่ยนได้
6. ทำการสร้าง Workspaces
7. กำหนดชื่อ Workspace และ URI
8. กำหนด properties ของ Workspace ให้เปิดใช้งาน (Enabled) Services ต่างๆ
9. จากนั้นทำการสร้าง Stores ในการเก็บข้อมูล shape file (จากขั้นตอนที่ 4)
10. เลือกชนิดของ data sources ในที่นี้จะเลือก Directory of spatial files (Shapefiles)
11. ทำตามขั้นตอนในรูป
1) เลือก Work space ที่สร้างไว้ในข้อ 7
2) กำหนดชื่อ data
3) กำหนด directory ที่เก็บ shape file
4) เลือกโฟลเดอร์ จากข้อ 4
5) คลิกปุ่ม OK
จากนั้นเลืื่อนไปด้านล่างสุดของหน้าจอ เพื่อคลิกปุ่ม Save
12. จะปรากฏหน้าต่างข้อมูล shape file ที่ถูกจัดเก็บไว้ในข้อ 4 ซึ่งในที่นี้มีเพียง 1 shape file คือ slbtamb > จากนั้นคลิกที่ Publish เพื่อเปิดการใช้งานชั้นข้อมูล
13. จะแสดงชั้นข้อมูล slbtamb จากข้อ 12
14. คลิกปุ่ม Find เพื่อกำหนดระบบพิกัดให้กับชั้นข้อมูล ในที่นี้ shape file เป็นระบบ UTM ผู้เขียนจึงใช้รหัส 32647
15. จากนั้น คลิก Compute from native bounds เพื่อให้ระบบ generate พิกัดให้
16. คลิกปุ่ม Save
17. ทำการเพิ่ม SLD file ที่ได้จัดทำไว้ในข้อที่ 2 เพื่อการแสดงผลของแผนที่ให้มีลักษณะเหมือนดังเช่นที่ได้ปรับแก้ในโปรแกรม QGIS
18. เลือก Workspace > คลิกเลือกไฟล์ ที่ได้จัดเก็บไว้ในข้อ 4 > คลิก Upload…
19. จะแสดงโค้ดของ sld file ซึ่งตรงนี้ สามารถปรับแก้/เพิ่มเติมได้ > จากนั้นคลิกปุ่ม Submit
20. กลับไปที่เมนู Layers จากข้อ 12 ให้คลิกแถบ Publishing > เลือก Default Style > เลือก style ที่ได้สร้างในข้อ 19
21. จะแสดงรูปแบบของ style
22. ทำการพรีวิวดูชั้นข้อมูลที่ได้สร้างขึ้น > คลิกเมนู Layer Preview > เลือกชั้นข้อมูล จากนั้นคลิก OpenLayers
23. จะแสดงแผนที่ชั้นข้อมูลที่ได้นำเข้า shape file โดยการนำไปใช้ จะใช้
WMS url และ Layers name
*** ดูตัวอย่างการนำไปใช้เพิ่มที่
- การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server
- การนำเข้า Web Map Services บนโปรแกรม ArcGIS
- ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านที่ต้องการจะสร้าง GIS Web App. หรือมีข้อมูล shape file แล้วต้องการจะนำไป publish ขึ้นเว็บในรูปแบบของ GIS Web นะคับ
** ข้อดีของ WMS คือ เราจะแชร์เฉพาะ Service โดยที่ข้อมูล shape file ยังคงอยู่กับเรา(private)
สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา GIS Web Application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th
หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS
===============================================
สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand -
ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS
คราวนี้ มาดูการประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS
ต่อจาก ELK #01 > ELK #02 > ELK #03 > ELK #04 ซึ่งเป็นการติดตั้งทั้งหมด คราวนี้มาดูการประยุกต์ใช้งานกันบ้าง
โจทย์มีอยู่ว่า มีการไปเก็บข้อมูลในภาคสนาม แล้วมีการบันทึก พิกัดด้วย GPS เป็น Latitude กับ Longitude พร้อมกับค่าบางอย่าง ทั้งหมดถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล MySQL
การนำข้อมูลเข้า ELK ก็เลย Export ข้อมูลจาก MySQL มาเป็น CSV File ประกอบด้วย
id,LATITUDE,LONGITUDE,something
ตัวอย่างข้อมูล มีดังนี้
id,LATITUDE,LONGITUDE,something 1,6.97585,100.448963,100 2,6.975627,100.450841,19 3,6.973472,100.449196,65 4,6.973468,100.449104,53 5,6.973455,100.449135,33 6,6.973252,100.44888,13 7,6.985862,100.45292,85 8,6.993386,100.416214,90 9,7.005465,100.447984,1
นำข้อมูลเข้า ELK ผ่านทาง Logstash
ใน ELK #2 ได้อธิบายขั้นตอนการติดตั้ง Logstash ไว้แล้วนั้น ต่อไปเป็นการนำข้อมูลชนิด CSV เข้าไปใส่ใน Elasticsearch
Logstash จะอ่าน “กระบวนการทำงาน” หรือเรียกว่า Pipeline จากไฟล์ Configuration ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ Input, Filter และ Output
input { stdin { } }
ในส่วน input นี้ จะเป็นการอ่าน STDIN หรือ ทาง Terminal
filter { csv { separator => "," columns => [ "id","latitude","longitude","something" ] } if [id] == "id" { drop { } } else { # continue processing data mutate { remove_field => [ "message" ] } mutate { convert => { "something" => "integer" } convert => { "longitude" => "float" } convert => { "latitude" => "float" } } mutate { rename => { "longitude" => "[geoip][location][lon]" "latitude" => "[geoip][location][lat]" } } } }
ในส่วนของ filter นี้ เริ่มจาก เลือกใช้ Filter Plugin ชื่อ “csv” เพื่อจัดการไฟล์ CSV โดยกำหนด “separator” เป็น “,” แล้วกำหนดว่ามีชื่อ Column เป็น “id”,”latitude”,”longitude”,”something”
จากนั้น ก็ตรวจสอบว่า ถ้าข้อมูลที่อ่านเข้ามา ใน Column “id” มีค่าเป็น “id” (ซึ่งก็คือบรรทัดหัวตารางของไฟล์ csv นั่นเอง) ก้ให้ “drop” ไป
แต่หากไม่ใช่ ก็ให้ทำดังนี้ (mutate คือการแก้ไข)
- remove field ชื่อ message (ซึ่งจะปรากฏเป็น Default อยู่ ก็เลยเอาออกเพราะไม่จำเป็น)
- convert หรือ เปลี่ยน “ชนิด” ของแต่ละ field เป็นไปตามที่ต้องการ ได้แก่ ให้ something เป็น Integer, latitude และ longitude เป็น float
- rename จาก latitude เป็น [geoip][location][lat] และ longitude เป็น [geoip][location][lon] ซึ่งตรงนี้สำคัญ เพราะ geoip.location Field ข้อมูลชนิก “geo_point” ซึ่งจำเป็นต่อการนำไปใช้งานเกำหนดตำแหน่งพิกัดบนแผนที่ (เป็น Field ที่สร้างจาก Template พื้นฐานของ Logstash ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้)
output { stdout { codec => rubydebug } elasticsearch { hosts => ["http://your.elastic.host:9200"] } }
ในส่วนของ Output จะกำหนดว่า ข้อมูลที่อ่านจาก csv และผ่าน filter ตามที่กล่าวมาข้างต้น จะส่งไปที่ใน จากการกำหนดนี้ บอกว่า จะส่งออกไป
- stdout คือ การแสดงผลออกมาทาง terminal โดยมีรูปแบบเป็น rubydebug (รูปแบบหนึ่ง)
- Elasticsearch ซึ่งอยู่ที่ http://your.elastic.host:9200
จากนั้น Save ไฟล์นี้ แล้วตั้งชื่อว่า gis.conf
แล้วใช้คำสั่ง
cat sample1.csv | /usr/share/logstash/bin/logstash -f gis.conf
การแสดงผลข้อมูลใน Elasticsearch ผ่าน Kibana
จากบทความก่อนหน้า ได้แสดงวิธีการติดตั้ง Kibana และเชื่อมต่อกับ Elasticsearch แล้ว โดยจะเข้าถึง Kibana ได้ทางเว็บไซต์ http://your.kibana.host:5601
ในกระบวนการของ Logstash ข้างต้น จะไปสร้าง Elasticsearch Index ชื่อ “logstash-YYYY-MM-DD”, ใน Kibana ก็จะต้องไป คลิกที่ Setting (รูปเฟือง) จากนั้นคลิกที่ Index Pattern โดยให้ไปอ่าน index ซึ่งมีชื่อเป็น Pattern คือ “logstash-*” จากนั้น คลิกปุ่ม Create
จะได้ผลประมาณนี้
ต่อไป คลิกที่ Discover ก็จะเห็นข้อมูลเข้ามา
แสดงข้อมูลในรูปแบบของ Tile Map
คลิกที่ Visualization > Create a visualization
เลือก Tile Map
เลือก Index ที่ต้องการ ในที่นี้คือ logstash-*
คลิก Geo Coordinates
จากนั้น คลิก Apply แล้วคลิก Fit Data Bound
ก็จะได้เฉพาะ พื้นที่ทีมีข้อมุล
วิธีใส่ Map Server อื่น
ปัญหาของ Defaul Map Service ที่มากับ Kibana คือ Elastic Map Service นั้น จะจำกัดระดับในการ Zoom จึงต้องหา WMS (Web Map Service) อื่นมาใช้แทน ต้องขอบคุณ คุณนพัส กังวานตระกูล สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) สำหรับคำแนะนำในการใช้งาน WMS และระบบ GIS ตลอดมาครับ 🙂
โดย เราจะใช้ WMS ของ Longdo Map API : http://api.longdo.com/map/doc/
ข้อมูลการใช้งาน เอามาจาก http://api.longdo.com/map/doc/demo/advance/02-layer.phpวิธีการตั้งค่าใน Kibana
คลิกที่ Option > WMS compliant map server
แล้วกรอกข้อมูลURL : https://ms.longdo.com/mapproxy/service
Layer: bluemarble_terrain
Version: 1.3.0
Format: image/png
Attribute: Longdo APIจากนั้นคลิก Apply
จากนั้นให้ Save พร้อมตั้งชื่อ
ซึ่ง Longdo Map API สามารถ Zoom ได้ละเอียดพอสมควร
สามารถนำเสนอระบบ GIS ได้บน Website ทันที
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
-
การ Import KML / KMZ to Google Earth on Android device
Google Earth on Android ได้มี Feature ใหม่ ซึ่งสามารถนำเข้าหรือเปิด kml/kmz file ได้ และสามารถซ้อนทับชั้นข้อมูลได้หลาย layer เลยทีเดียว ถือว่าสะดวกมากๆ สำหรับคนที่ต้องการเปิดอ่าน kml/kmz file บนมือถือ
ขั้นตอนการทำ
1. ก่อนอื่น ต้องเตรียม kml หรือ kmz ไฟล์ก่อน หากไม่มี ลองเข้าไป download ได้ที่เว็บฐานข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา http://slb-gis.envi.psu.ac.th
2. update Google Earth บน Android device ให้เป็น version ล่าสุด (ตามตัวอย่างนี้ เป็นเวอร์ชั่น 9.0.4.2) หากยังไม่ได้ติดตั้ง คลิกที่นี่
3. เปิดแอพ Google Earth > คลิกเมนู (ตามรูป)
4. เลือก My Places
5. คลิก Import KML file
6. เลือกไฟล์ kml
7. แอพจะแสดงไฟล์ที่นำเข้า ให้คลิก Fly Here
8. แสดงข้อมูล
9. คลิกที่ point บนแผนที่ จะแสดงรายละเอียดของข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับไฟล์ kml ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง
10. สามารถ import kml file ได้มากกว่า 1 ไฟล์ โดยแอพจะแสดงเป็นชั้นข้อมูล(layer) ในตัวอย่างเพิ่มขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำฯ
11. แสดงข้อมูล 2 layers
12. สามารถ save เป็นรูปภาพ ได้โดยคลิกที่ไอคอน กล้อง
13. นอกจากนั้น ยังสามารถดูแบบ Street View ได้ด้วย โดยคลิกที่ไอคอนรูปคน
14. จะปรากฎเส้นสีฟ้า แสดงจุดที่สามารถคลิกดูแบบ Street View ได้ > จิ้มดูเลยคับ ^^
15. ลองจิ้มดูหน้า คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. นะคับ ^^
16. ดูแบบ 3D ก็คลิกที่ไอคอน 3D เลยคับ
17. แสดงเป็นรูป 3มิติ
5. นอกนั้น ก็ลองคลิกเล่นดูนะคับ ^^
****บริการโหลดฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ -
การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน
Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS)
วันนี้เลยอยากจะขอนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยนำเสนอ การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS มาแล้วสำหรับคนที่ใช้โปรแกรม QGIS ลองแวะเข้าไปอ่านดูได้นะคับ ^^
ขั้นตอนการติดตั้ง
1. ดาวน์โหลดไฟล์ ArcGoogle ได้ ที่นี่
โดยเลือกดาวน์โหลดไฟล์ให้เหมาะกับ ArcGIS เวอร์ชั่นที่ใช้งานอยู่
- For ArcGIS 9.3, 10.0, 10.1 or 10.2
- For ArcGIS 10.3 or 10.4
2. เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว ให้ unzip จากนั้นดับเบิ้ลคลิก setup.exe
3. ติดตั้งตามรูปเลยคับ
4. ติดตั้งเสร็จสิ้น
ขั้นตอนการใช้งาน
1. เปิดโปรแกรม ArcGIS หากใครยังไม่ได้ติดตั้ง สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้ง เวอร์ชั่นทดลองใช้งานได้ 60 วัน ที่นี่
2. คลิกที่เมนู Customize > เลือก Customize Mode…
3. คลิกเลือก ArcGoolge-ungdungmoi.com จะแสดงแถบเมนูเครื่องมือขึ้นมา จากนั้นคลิกปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าต่าง
4. คลิก Google Map > Google Satellite
5. จะมีชั้นข้อมูล(Layer) ขึ้นมา พร้อมกับแสดงแผนที่ Google Satellite ขึ้นมา
6. นอกจากนี้ ยังสามารถคลิกบนแผนที่ เพื่อแสดงภาพ Google Street View ได้ด้วย
7. นอกจากนี้ ยังสามารถดึงค่า Elevation จาก Google ได้ด้วย โดยการคลิกที่ไอคอน
8. กำหนด Cell size (หน่วยเป็น เมตร) (จำนวนสูงสุดของจุดแต่ละครั้งดาวน์โหลด 300m)
9. จากนั้นคลิกปุ่ม Get Elevation > รอสักครู่ จะแสดงตารางค่าขึ้นมา
** อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Elevation ที่นี่
10. เราสามารถ export ค่า elevation ออกมาเป็น shape file ได้ โดยคลิกปุ่ม Export to Shapefile > ตั้งชื่อไฟล์ > คลิกปุ่ม Save
11. มีชั้นข้อมูล (Layer) เพิ่มขึ้นมา โดยจะมีจุด elevation อยู่บนแผนที่ และแสดงค่าและตำแหน่งพิกัด(Lat, Long) ด้วยการเปิด attribute table ดังรู)
จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย
ปกติแล้วนักพัฒนาเว็บ (web developer) จะนิยมใช้ Google Maps API ในการพัฒนา Map on Web ….. ลองหันมาเพิ่มศักยภาพในการแสดงแผนที่ในเชิงวิเคราะห์และมีความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ดูไม๊ครัช ^^
สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา web map application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th
หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS
===============================================
สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand -
การสร้างภาพ 360 องศาเข้า Google Street View ด้วย Android device
จากคราวที่แล้วนำเสนอเรื่อง การรับชมภาพสถานที่และเส้นทางในมอ. ผ่าน Google Street View ไปแล้วนะคับ วันนี้เลยอยากนำเสนอวิธีการสร้างภาพ 360 องศา ด้วยมือถือแอนดรอยด์ แล้วอัพเข้า Google Street View ใน Google Maps กันแบบง่ายๆ นะคับ
**ทำไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเนียนในการเล็กภาพเพื่อให้เชื่อมต่อกันสนิท
ขั้นตอนการทำ
- ติดตั้งแอพ Google Street View จาก Play Store
2. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็เปิดแอพขึ้นมา ไปที่เมนู Explore > คลิกปุ่มวงกลมสีเหลือง (ตามรูป)
3. คลิกเลือก Camera เพื่อจะถ่ายรูป 360 องศา
4. แอพจะเตือนให้เราเปิด Location หรือ GPS เพื่อให้ Google ทราบตำแหน่งพิกัดที่เราอยู่ ณ ปัจจุบันที่จะถ่ายภาพ
5. เริ่มทำการถ่ายภาพ โดยจะมีลูกศรสามเหลี่ยมชี้นำทิศทางในการปรับมุมกล้องในการถ่ายแต่ละจุด
6. เลื่อนให้จุดวงกลมสีเหลือง เข้ามาซ้อนทับในวงกลมสีขาว แบบพอดีตรงกลาง เพื่อให้ได้ภาพรอยต่อที่เชื่อมต่อกันในแต่ละภาพ
6. เมื่อวงกลมทั้งสองอันมาซ้อนทับกันให้รอนิ่งๆสักครู่ อย่าเพิ่งขยับมือถือ **ระบบทำการประมวลภาพเก็บไว้
7. ทำตามขั้นตอนที่ 6 ไปเรื่อยๆจนครบทุกมุม ***จะมีปรากฎลูกศรสามเหลี่ยมชี้นำทิศทางเหมือนในขั้นตอนที่ 5
จากนั้นคลิกปุ่มวงกลมสีเขียวที่มีเครื่องหมายถูก เพื่อสิ้นสุดการถ่ายภาพ
8. เมื่อระบบประมวลภาพเสร็จแล้วจะถูกนำเก็บไว้ใน gallery ของเรา > คลิกที่รูป แล้ว คลิก SELECT
9. คลิกที่รูป หรือ Add a place เพื่อเริ่มการอัพเข้า Google Street View
10. เราสามารถทำเบลอภาพ ณ จุดที่เราไม่ต้องการให้เผยแพร่ อาทิเช่น ผู้คน(เรื่องสิทธิส่วนบุคคล) ภาพอุจาดตา ฯลฯ โดยการลากกรอบสี่เหลี่ยมคลอบคลุมบริเวณจุดนั้นๆ จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูก เพื่อเสร็จสิ้นการเบลอภาพ
11. คลิก Publish to Google Maps เพื่อทำการเผยแพร่ภาพบน Google Maps ในส่วนของ Google Street View
12. คลิก Publish เพื่อยืนยันการอัพภาพเข้า Google Maps
13. เปิด Browser > เข้า http://google.com/maps เพื่อดูภาพที่ได้ทำการอัพสำเร็จ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายๆคนที่อยากลองทำภาพอัพเข้า Google Street View ดูบ้างนะคับ และที่สำคัญ…..
ช่วยๆกันอัพภาพบริเวณ ม.อ. ของเราให้เต็มพื้นที่ใน Google Maps เลยนะคับ ^______^
*** หากคิดว่ารูปถ่ายหรือรูปภาพที่ตัวเองทำยังสวยไม่พอ ก็อย่าเพิ่ง Publish เลยนะคับ เพื่อที่ว่าประชากรโลกหรือชาวโลกจะได้รับชมเฉพาะภาพสวยๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ของเรา ^^
-
การรับชมภาพสถานที่และเส้นทางในมอ. ผ่าน Google Street View
จากข่าวล่าสุดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “เริ่มบางส่วนแล้ว….มอง ม.อ.ผ่าน Google Street View” ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย http://www.psu.ac.th/th/node/7448 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ด้วยความร่วมมือกับมอ.และ Google ในการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบ 360 องศา เสมือนเรายืนอยู่ ณ จุดนั้นๆ แล้วสามารถมองได้แบบรอบทิศทาง มาถ่ายภาพสถานที่และเส้นทางในมอ.ของเรา โดยได้เริ่มถ่ายทำในวิทยาเขตหาดใหญ่เป็นวิทยาเขตแรก และจะดำเนินการในวิทยาเขตอื่นๆ ต่อไป
คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า จะวิวหรือชมกันอย่างไร สำหรับใครที่ไม่ทราบวิธีการดูภาพผ่าน Google Street View นะคับ
ขั้นตอนการรับชม
1. เปิด Google Maps
2. เลือกบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ **หากไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน ก็ใช้ search หาสถานที่ได้คับ
3. คลิกตรงไอคอนตุ๊กตารูปคนสีเหลือง บริเวณมุมด้านขวาของหน้าจอ (ตามภาพ)
4. แผนที่จะแสดงสัญลักษณ์ภาพใน 3 รูปแบบ คือ Street View , ภาพ 360 องศา และดูภายใน
5. ในแผนที่จะแสดงสัญลักษณ์ไว้ เราสามารถคลิกที่จุดวงกลมสีฟ้า เพื่อดูสถานที่ในจุดนั้นๆ แล้ว drag mouse หมุนชมภาพ
6. หรือเลือกเข้าชมภาพได้โดยคลิกที่ภาพ gallery ที่แถบภาพด้านล่างของหน้าจอ **เมื่อคลิกที่รูป จะแสดงเส้นวิ่งไปยังจุดสถานที่นั้นๆ
7. ก่อนหน้านี้ทางศูนย์ GIS มอ. ได้ถ่ายภาพมุมสูงจาก Drone แล้วจัดทำเป็นภาพมุมสูง 360 องศาเผยแพร่ผ่าน Google Street View ไว้แล้ว
หวังว่า… หลายๆ ท่านจะสนุกและมีความสุขกับการเข้าชมภาพ 360 องศา ภายในบริเวณรั้วมอ.ของเรานะคับ ^^
หากไม่ต้องการแค่รับชมอย่างเดียว ก็ลองสร้างเองดีไม๊คับ??? คลิกเลย >> การสร้างภาพ 360 องศาเข้า Google Street View ด้วย Android device
===============================================
สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand -
การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ
นักพัฒนาเว็บหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการสร้าง web map ด้วย google map api กันนะคับ (เป็นที่นิยมเลยล่ะ) แต่ในยุคปัจจุบันที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็น near real time กันมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากหลายหน่วยงานมีการเผยแพร่ Web Map Services กันเยอะมากยิ่งขึ้น และแย่งชิงความเป็นผู้นำในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันด่วนที่สุด
แต่ด้วยปัจจัยในการต้องติดตั้งโปรแกรมบน Web Map Server เพื่อให้สามารถใช้งาน web map ผ่าน server ได้ (เสียงบประมาณเพิ่ม)
***ใครมี ArcGIS Server จะลองทำ การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ดูได้นะคับวันนี้เลยจะขอนำเสนอโค้ดง่ายๆ ในการนำลิงค์ KML/KMZ จากเว็บที่ให้บริการฟรี! มาสร้างเป็นหน้าเว็บเพจของเราโดยที่ไม่ต้องติดตั้ง map server กันคับ ^^ ที่สำคัญ ต้นทางข้อมูลอัพเดทข้อมูล หน้าเว็บเราก็อัพเดทไปด้วย อิอิ
ขั้นตอนการสร้าง
1. เปิดหน้าเว็บที่ให้บริการลิงค์ ***ตัวอย่างเว็บ http://slb-gis.envi.psu.ac.th
2. เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกขวา > copy link address
3. สร้างไฟล์ gmap.html แล้วเปิด edit ด้วยโปรแกรม notepad หรือ text editor
4. copy โค้ดนี้ไปวาง
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>
<meta name=”viewport” content=”initial-scale=1.0″>
<meta charset=”utf-8″>
<title>การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ</title>
<style>
html, body {
height: 100%;
margin: 0;
padding: 0;
}
#map {
height: 100%;
}
</style>
</head>
<body>
<div id=”map”></div>
<script>function initMap() {
var map = new google.maps.Map(document.getElementById(‘map’), {
zoom: 11,
center: {lat: 100.756297, lng: 14.790059}
});var ctaLayer = new google.maps.KmlLayer({
url: ‘ที่อยู่ kml/kmz ลิงค์‘,
map: map
});
}</script>
<script async defer
src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=google map api key“>
</script>
</body>
</html>4. วางลิงค์ที่ copy มาจากเว็บตรงurl: ‘http://slb-gis.envi.psu.ac.th/home1/images/download/kmz/gcs_slbforu.kmz‘,
และใส่ google map api key ***ถ้าไม่มีให้ไปที่ https://developers.google.com/maps/documentation/javascript/get-api-key
5. ลองเปิดผ่าน http://localhost/gmap.html จะได้ตามรูป
6. หากคลิกที่ข้อมูล จะมี pop-up แสดงข้อมูลขึ้นมา
7. เว็บไซต์ของท่านก็จะมีหน้าเว็บแมพไว้ใช้งานได้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องติดตั้ง web map server ^^
****บริการฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์