Category: etc (อื่นๆ)

  • เรียนรู้ RPA โดยใช้ ui-path

    Robotic Process Automation หรือ RPA  คือการนำเอาหุ่นยนต์ (ในที่นี้คือซอฟแวร์หุ่นยนต์) เข้ามาช่วยในการทำงานอย่างไหนอย่างหนึ่ง  ซึ่งคำที่คนส่วนใหญ่ได้ยินกัน คือ Bot นั่นเอง 😊 ซึ่งงานที่เหมาะสมที่จะนำเอาRPA มาช่วยในการทำงานนั้น เป็นงาน Routine ที่ต้องมานั่งทำแบบเดิมๆ ทุกวัน งานที่ต้องทำซ้ำๆ ง่ายๆ ที่มีปริมาณงานเยอะ ซึ่งเป็นงานที่มีขั้นตอนลำดับชัดเจน  เช่น งานคัดลอกข้อมูลจากเว็บ  งานส่งอีเมล์ งานกรอกข้อมูล

    ในปัจจุบัน RPA ก็มี Tool ด้วยกันหลายๆ ตัว  แต่ที่ผู้เขียนจะใช้ คือ UiPath  ตัวอื่นๆ ก็มี Automation Anywhere , Blue Prism, Work Fusion ซึ่งเป็น Tool ที่ใช้งานได้ง่ายๆ มากๆ ไม่ต้องเขียนโปรแกรม ลากๆ คลิกๆ เลือก อย่างเดียว …

    ก่อนเพื่อให้เห็นภาพ  จะตั้งโจทย์ในการทำงานเข้ามา  โดยมีโจทย์ว่า  อาจารย์ที่ปรึกษาต้องการส่งเมลไปยังนักศึกษาในที่ปรึกษาทั้งหมด ในคราวเดียวกัน เนื้อหาในเมล แต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งอาจารย์ได้เตรียมข้อมูลไว้ในรูปแบบ Excel ซึ่งจะต้องทำการส่งข้อมูลบ่อยครั้ง ในการติดต่อสื่อสาร ในช่วงโรคระบาดโควิด

    ซึ่งงานนี้เราจะนำเอา Bot มาช่วยในการดึงข้อมูลจาก Excel แล้วส่งเมลเอง โดยการกดปุ่ม เพียงแค่ คลิกเดียว!

    ขั้นตอนที่   1   การติดตั้ง UiPath

    1.เข้าไปยังเว็บไซต์ของ UiPath  คือ  Automation Platform – Leading RPA Company | UiPath 

     จากนั้นกดปุ่ม

    2. ทำการ Sign-in และทำตามขั้นตอน  จากนั้นมายังหน้าจอดังภาพ กด download ไฟล์โปรแกรม มาติดตั้งลงเครื่องได้เลย

    3. ทำการติดตั้งได้เลย    ทำการคลิกปุ่มต่อไปเรื่อยๆ จนมาหยุดหน้าเลือก Version ของโปรแกรม ตามภาพข้าล่างนี้  ให้ทำการเลือก UiPath StudioX ซึ่งจะเป็น Version สำหรับการสร้าง Bot เบื้องต้น ซึ่งไม่ต้องเขียนโปรแกรม  โดย Version นี้จะเน้นการลากวาง คำสั่ง และเลือกคำสั่ง ทำให้ง่าย สำหรับคนที่ไม่ได้เป็น Programmer ส่วน UiPath Studio จะมีการเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อ รองรับงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

    4. จากนั้นเปิดโปรแกรมได้เลย   เริ่มต้นระบบจะแนะนำ  การใช้งานตามภาพ

    5. จากนั้นเริ่มต้น  โปรแกรมจะเลือกให้เราสร้าง Project ก่อน  โดยให้เลือกเป็น Blank Task ให้กำหนดชื่อและที่เก็บไฟล์ และคำอธิบายของงานนี้  จากนั้น กด “Create” ได้เลย

    6. โปรแกรม ก็จะแสดงหน้าจอการทำงาน ตามภาพ  โดยในที่นี้ผู้เขียน ขออธิบาย เมนูและการใช้งานเฉพาะในส่วนที่ ผู้เขียนใช้เท่านั้น   (เมนูอื่นอธิบายไม่ถูกเพราะไม่เคยใช้ 555)

                  6.1 ส่วนที่  1 :   MAIN    เป็นส่วนที่เรานำ คำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการให้ bot ทำ มาลากวาง โดยจะเรียง คำสั่ง จากบน ลง ล่าง  (ให้นึกถึงการเขียน flow chart) 

                  6.2 ส่วนที่ 2 : Activities  เป็นส่วนของคำสั่ง ที่โปรแกรมจัดเตรียมมาให้ เช่น การกรอกข้อมูล  การคลิก การเปิด mail การเปิด App เปิด web  เห็นไหมว่า ง่ายมาก ไม่ต้องเขียนโค้ดเลย  โดยอยากได้คำสั่งใดก็เลือก และลากมาวางที่ Main ได้เลย

                  6.3 ส่วนที่ 3 :  Properties ส่วนที่กำหนดคุณสมบัติ และค่าของ Activities

    6.4 ส่วนที่ 4 : run เอาไว้ รัน bot ให้ทำงานตามที่เราสั่ง

                  6.5 ส่วนที่ 5 : Publish อธิบาย ง่ายๆ คือ การทำตัว exe ของโปเจค ที่เราทำนั่นเอง โดย ui-path จะมีอีกโปรแกรมหนึ่งไว้สำหรับเก็บ โปรแกรม Bot ที่เราสร้างไว้  ให้สามารถเรียกใช้งานได้ง่าย (จะอธิบายในส่วนถัดไป)

    ในบทถัดไป ทางผู้เรียนจะนำตัวอย่างข้อมุล และวิธีการเขียน Bot มาแนะนำจ้าาาา

  • Big Data Framework

    ออกตัวไว้ก่อนนะครับบทความนี้เป็นการย่อความหรือถอดสาระสำคัญมาจาก หนังสือกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ซึ่งจะนำเสนอในส่วนของการตั้งทีมเพื่อพัฒนา Big Data แนวทางการพัฒนาทั้งข้อมูลและกลุ่มคนที่จะดำเนินการพัฒนาระบบให้บริการข้อมูล เพื่อประยุกร์ใช้กับการนำข้อมูลไปประกอบการพัฒนามหาวิทยาลัยของเราในรูปแบบ (Data Driven Organization)

    ภาพที่ 1 กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่

    1) กลุ่มผู้ใช้ข้อมูล (Business Domain) ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ มีหน้าที่กำหนดโจทย์หรือประเด็น ที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล และนำสารสนเทศที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล มาใช้ประกอบการดำเนินงาน

    2) กลุ่มผู้วิเคราะห์ ประมวลและแสดงผลข้อมูล ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และนักนิทัศน์ข้อมูล (Data Visualizer) มีหน้าที่ในการนำข้อมูลมาจัดกลุ่ม วิเคราะห์และประมวลผล พร้อมทั้งพัฒนาภาพแบบ แสดงผลข้อมูลหรือ Dashboard สำหรับการนำเสนอข้อมูล

    3) กลุ่มผู้สร้างและพัฒนาระบบ ได้แก่ วิศวกรข้อมูล (Data Engineer) สถาปนิก ข้อมูล(Data Architect) นักวิเคราะห์ธุรกิจ(Business Analyst)ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) และเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Corporate Security IT Operator) มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล รวมทั้งดูแลและบริหารจัดการข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

    นอกจากกรอบเรื่องของคนแล้วก็ยังมีกรอบเรื่องระยะเวลาด้วย

    ภาพที่ 2 กรอบระยะการดำเนินการ 3 ระยะ

    ระยะสั้น :  การพัฒนาแพลตฟอร์ม (Platform) เสริมสร้างทักษะที่เรียกว่า Sandbox สำหรับการพัฒนาบุคลากรในระยะสั้น เริ่มตั้งแต่การกำหนดโจทย์การพัฒนาโครงสร้าง และระบบข้อมูล การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเชิงประจักษ์ ตลอดไปจนถึงการนำสารสนเทศและองค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลผลมาใช้ ประกอบการตัดสินใจและการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆแพลตฟอร์มดังกล่าวเน้นการพัฒนา บุคลากรผ่านหลักสูตรที่นำรูปแบบการพัฒนาแบบการเรียนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) มาปรับใช้เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ “ทำได้ ทำเป็น” มากกว่า เรียนรู้จากทฤษฎีโดยการดำเนินงานร่วมกับหลักสูตรนักบริหารภาครัฐเพื่อการบูรณาการ การพัฒนาประเทศไทย ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้าง ความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) โดยมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สกพ.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.)และสถาบันสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ ภาครัฐ (GBDi) 

    ระยะกลาง : การวางแผนการบริหารจัดการกำลังคนเพื่อการใช้ประโยชน์ข้อมูล ขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัว สามารถสนับสนุนการพัฒนานโยบาย การตัดสินใจ การบริหาร จัดการ การให้บริการ และการพัฒนานวัตกรรมภาครัฐ มีกรอบการดำเนินงานดังนี้ 

    • วางระบบการบริหารจัดการกำลังคนแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
      1) กลุ่มหน่วยงานที่มีความพร้อมด้านบุคลากรที่สามารถดูแลบริหารจัดการระบบข้อมูลและมีบุคลากรที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ประมวลและแสดงผลข้อมูล แต่ยังคงมีความต้องการการสนับสนุนเชิงเทคนิคหรือการดำเนินการในบางประการ

      2) กลุ่มหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนามีบุคลากรที่มีความเข้าใจและสามารถให้ข้อมูลความต้องการได้ชัดเจน       ระดับหนึ่ง ต้องการการสนับสนุนเชิงเทคนิคในการสร้างและพัฒนาระบบและการวิเคราะห์ ประมวลและแสดงผลข้อมูล

      3) กลุ่มหน่วยงานที่ขาดแคลนบุคลากรด้านข้อมูล แต่มีความจำเป็นต้องนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย หรือการบริหารจัดการต่าง ๆ
    • นำบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหน่วยงานต่าง ๆ       มารวมไว้ภายในหน่วยงานเดียว เช่นพัฒนารูปแบบการทำงานในลักษณะเป็น “ทีมที่ปรึกษา” (Agile Team) เพื่อให้บริการหน่วยงานภาครัฐโดยอาจนำที่ปรึกษาภายนอกหรือหน่วยงานเอกชนมาร่วมดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ หรือให้มีการพัฒนารูปแบบการจ้างงานใหม่นอกเหนือจาก “ข้าราชการ/พนักงานราชการ” เพื่อดึงดูด/จูงใจ และอาจมีการเพิ่ม “สายงานเฉพาะทาง” สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล มีการดูแลความก้าวหน้าในอาชีพ มีการสร้างโอกาสการพัฒนาที่ต่อเนื่อง มีการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีการปรับกรอบอัตรากำลังให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่มีความซับซ้อนและความต้องการบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงและมีความเป็นมืออาชีพ ทั้งนี้อาจมีการนำ       วุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานหรือสมรรถนะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการกำลังคนด้วย
    • พัฒนาขีดความสามารถของผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มต่างๆได้แก่ผู้บริหารระดับสูงผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ และผู้ทำงานด้านบริการให้สามารถกำหนดโจทย์หรือประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลและนำสารสนเทศที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลมาใช้ประกอบการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งยกระดับศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน โดยอย่างน้อยให้มีความสามารถในการกำกับควบคุมงานจ้างที่ปรึกษา (Project Management) และในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล (Data Governance) 
    • นำกลไกการให้ทุนรัฐบาลมาใช้สนับสนุนการสร้างและพัฒนากำลังคนด้านการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
    • วางระบบการบริหารองค์ความรู้และเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน

    ระยะยาว : การต่อยอดขยายผลโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและสร้าง ประโยชน์ในทรัพยากรข้อมูลของทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับระบบเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงให้กับสังคม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาพันธมิตรธุรกิจระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและ ระหว่างประเทศภายใต้เจตจำนงค์ร่วมกัน โดยร่วมสร้าง Open Government DataPlatform for Business and Citizen ให้ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และการนำข้อมูลเปิดภาครัฐ มาใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม

    ภาพที่ 3 ขั้นตอนการทำโครงการบิ๊กดาต้า

    โดยรวมแล้ว Big Data จะเกิดมาได้จากโจทย์ที่ต้องการใช้ข้อมูลจากผู้บริหารหรือโจทย์ทางเป้าหมายขององค์กร แต่เท่าที่ได้ยิน รับรู้และประสบมาองค์กรเช่น มหาวิทยาลัยมีโจทย์หลายด้านไม่เหมือนภาคเอกชนที่โจทย์จะชัดเจนมากและถูกกำหนดมาโดยผู้บริหารอย่างชัดเจน ดังนั้นการที่จะเกิดการเอาข้อมูลมาใช้งานในองค์กรเพื่อการบริหารเช่น มหาวิทยาลัยนั้น อาจจะต้องอาศัยอีกทางเลือกนึ่งมาเสริมแรงเข้าไปคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรงฝึกมองข้อมูลที่มีอยู่ในมุมมองใหม่ๆ การเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบให้หลากหลายแบบ จนเจอข้อมูลอะไรที่น่าสนใจ เรื่องมุมมองที่แตกต่างนี้ถ้าได้คุยกับคนหลากหลายอาชีพก็จะได้มุมมองที่กว้างขึ้นได้และจะช่วยเปิดแนวคิดในการดูข้อมูลแบบใหม่ๆขึ้นมาก็เป็นไปได้ อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ

    ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางโดยภาพรวมที่องค์กรพึ่งดำเนินการถ้าต้องการพัฒนาเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินงาน Data Driven Organization และต้องการมี Big Data เพื่อการพยากรณ์ความเป็นไปได้ในอนาคตและเพิ่มทางเลือกที่อาจจะซ่อนอยู่ในข้อมูลที่มีแต่ยังมองไม่เห็น ขอบคุณครับ

  • Data Visualization นำเสนอข้อมูลเป็นรูป/กราฟแบบไหนดี ? กับข้อมูลที่มีอยู่

    การสือสารที่มีอรรถรสสำหรับการมอง/อ่าน ที่ข้อมูลครบถ้วนโดยมีมิติ มุมมองและการเปรียบเทียบ จบในหน้าเดียวหรือรูปเดียว คือนิยาม Data Visualization ของผมครับ เราก็มาดูกันครับ เอาข้อมูลแบบไหนมาชนกับ Data Visualization แบบไหนถึงจะตรงประเด่นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ

    ต้องการเปรียบเทียบข้อมูล (Comparison)

    กลุ่มนี้ก็จะมี

    • Bar Chart
    • Line Chart
    • Bubble Chart
    • Grouped Bar
    • Table
    • Pivot Table

    Bar Chart และ Grouped Bar ใช้เปรียบเทียบข้อมูลตามเงื่อนไขที่สนใจ

    ใช้เปรียบเทียบมิติจำนวนข้อมูลที่สนใจกับช่วงที่สนใจ เช่น เปรียบเทียบเป้าหมายที่ตั้งไว้กับข้อมูลที่ทำได้จริงในแต่ละเดือน, จำนวนนักศึกษา ในแต่ละปีการศึกษา เป็นต้น

    Line Chart ใช้เปรียบเทียบเพื่อดูแนวโน้มของข้อมูล

    ใช้เปรียบเทียบมิติของข้อมูล ในเชิงต้องการดูเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ดูแนวโน้ม (Trends) โดยอาจจะเทียบกับมิติของเวลา (Time Series) และยังนำไปใช้ร่วมกับ machine learning เพื่อพยากรณ์ข้อมูลในอนาคตได้ด้วย เช่น ข้อมูลการถอนรายวิชาในแต่ละเดือนเปรีบเทียบ 3 ปีที่ผ่านมา จำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนใน มอ. แยกตามโครงการ 5 ปีที่ผ่านมา เป็นต้น ตัวอย่างเป็นเปอร์เซ็นต์นักศึกษาเพศชายกับเพศหญิง

    รูป Line Chart

    Bubble Chart ใช้แสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันแบบ 3 มิติ

    ใช้เปรียบเทียบแบบ 3 มิติข้อมูล เช่น
    แกน X แสดง จำนวนอาจารย์
    แกน Y แสดง จำนวนเงินค่าลงทะเบียน
    ขนาดและจำนวนแต่ละฟอง แทน คณะและจำนวนนักศึกษา
    ถ้าเปรียบเทียบแบบนี้ก็จะเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้ง 3 ข้อมูลและสามารถตั้งเป้าหมาย หาค่ามากที่สุด น้อยที่สุดที่สนใจได้

    รูป Bubble Chart ตัวอย่างเป็นข้อมูลสมมุติ

    Table ใช้เปรียบเทียบข้อมูลแบบแนวตั้ง

    เป็นการเปรียบเทียบพื้นฐานที่สุดเลย เป็นการเปรียบเทียบชุดข้อมูลที่ไม่ซับซ้อน เช่น

    รูป Table

    Pivot Table ใช้เปรียบเทียบข้อมูลแนวนอน

    เหมาะสำหรับการเปลี่ยนเทียบข้อมูลเพื่อหาความแตกต่างตามแนวนอน มักจะใช้กับเวลา เดือน ปี เป็นแนวนอนและรายการข้อมูลที่สนใจเป็นแนวตั้งที่สามารถ Filter ได้ เช่น จำนวนค่าลงทะเบียนในแต่ละปีแยกตามคณะ 5 ปีที่ผ่านมาเป็นแนวนอนและรายชื่อคณะเป็นแนวตั้งที่สามารถ Filter ได้ เป็นต้น

    รูป Pivot Table

    ต้องการดูการกระจาย (Distribution) สามารถใช้เมื่อต้องการดูความถี่ของข้อมูลว่ามีลักษณะการกระจายตัวอย่างไร

    Histogram
    Line Histrogram
    Scatter Plot
    Box Plot

    Histogram แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ดูการการจายความถี่ของข้อมูล

    รูป Histogram

    Scatter Plot แสดงการกระจายของการจับคู่ข้อมูล

    ภาพจาก WHO

    เหมาะสำหรับแสดงการจับคู่ข้อมูลเพื่อดูการกระจายผล
    เช่น การวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน การวัดผลการทดลองสองกลุ่มทดลอง การวัดน้ำหนักสองครั้งจากคนเดียวกัน 100 คนในวิธีควบคุมอาหาร เป็นต้น

    จะเห็นอะไรจาก Scatter Plot
    -แนวโน้มของข้อมูลระหว่างตัวแปร
    -ความผิดปกติจากภาพรวม
    -กลุ่มก้อนภาพรวมของข้อมูล

    Box Plot เพื่อดูการกระจายของข้อมูลและมีค่าต่างๆประกอบอยู่ในกราฟคือ ค่ากลาง ค่าการการะจาย ค่ามากสุด น้อยที่สุดและข้อมูลห่างกลุ่มมาก (Outlier)

    รูป Box Chart

    Box Plot Chart จะมีข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ
    25% (Q1) คือข้อมูล 25% แรกจากค่าต่ำขึ้นมา
    50% (Q2) คือข้อมูลตัวที่มากกว่า 25% จนถึงตัวที่ 75% โดยแสดงออกมาในรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า
    75% (Q3) คือข้อมูล 50% ของข้อมูลอยู่ เขียนแทนด้วยเส้นตรงอยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค่านี้คือค่าค่ากลางของข้อมูลทั้งหมด (Median) และตรงค่า เฉลี่ย (Mean) จะแทนด้วย เครื่องหมายบวก
    สำหรับตัวอย่างที่น่าจะยกได้สำหรับการศึกษาอาจจะเป็นผลการเรียนของนุักศึกษา

    ดูการแบ่งสัดส่วน (Composition) ต้องการเห็นภาพรวมพร้อมกับส่วนต่างๆที่สนใจ

    Treemap
    Donut Chart
    Stacked Area Chart
    Stacked Bar
    Pie Chart
    Waterfall Chart

    Treemap

    รูป Treemap

    เป็น Chart ตารางสี่เหลี่ยม โดยใช้สีแยกกลุ่มของข้อมูล และขนาดของสีสี่เหลี่ยมบอกถึงปริมาณของข้อมูลแต่ละกลุ่ม เป็นกราฟที่ดูง่ายเข้าใจในทันทีที่เห็น

    Pie Chart

    รูป Pie Chart

    Pie Chart เป็น Chart ที่แสดงสัดส่วนของข้อมูลดังเดิมที่เข้าใจง่าย เห็นการแยกสัดส่วนตามสีของแต่ละส่วน (เหมือนพิสซ่ามากกว่าพาย)

    ดูความสัมพันธ์ (Relationship) ของข้อมูล

    Heatmap
    Worldmap
    Column/Line Chart
    Scatter Plot
    Bubble Chart

    World map

    รูป World Map

    world map ใช้รูปแผนที่โลกในการแสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เป็น Chart สมัยใหม่เข้าใจง่ายและสวยงาม

    วิเคราะห์ข้อมูลการมาอย่างยากลำบาก แต่ถ้านำเสนอไม่น่าสนใจ คนดูไม่เข้าใจ เลือกการแสดงผลไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เหมือนทำอาหารอร่อยแต่ไม่น่ากิน เราเลยจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิธีนำเสนอข้อมูลในแบบ Data Visualication อย่างเข้าใจและสวยงาม

    แหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษาและเขียนบทความ
    แหล่งที่ 1
    แหล่งที่ 2
    แหล่งที่ 3

  • การส่งภาพหน้าจอโทรศัพท์มือถือระบบ Android ไปยัง PC (Windows 10) โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม

    ในการนำเสนอข้อมูลจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง Projector บางครั้งอาจจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษในการส่งข้อมูลภาพ แต่มีอีกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้หากมี PC ที่ติดตั้ง Windows 10 นั่นคือ การส่งข้อมูลหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือไปยัง PC จากนั้นจึงส่งภาพจากหน้าจอ PC ขึ้นไปยัง Projector อีกต่อหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้ผู้นำเสนอก็จะสามารถนำเสนอได้ทั้งข้อมูลจากหน้าจอมือถือ และข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่บน PC ด้วย

    สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการดังกล่าว โดยจะเป็นการส่งภาพหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือระบบ Android ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มบนโทรศัพท์มือถือ หรือบน PC

    สิ่งที่ควรรู้ก่อนการตั้งค่า

    • เนื่องจากวิธีการนี้เป็นการส่งผ่านข้อมูลถึงกันผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi ดังนั้นทั้งอุปกรณ์ Android และ PC ควรเชื่อมต่อผ่าน WiFi บน Access Point ชื่อเดียวกัน เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดจากการที่อุปกรณ์ทั้งสองหากันไม่เจอ

    ขั้นตอนการตั้งค่าบน Windows 10

    1. บน PC ไปที่ Setting

    2. เลือก System จะปรากฏเมนูด้านซ้ายมือ จากนั้นเลือก Projecting to this PC

    3. การตั้งค่าลำดับแรก “Some Windows and Android devices can project this PC when you say it’s OK” จะมี 3 ตัวเลือก

    ให้ตั้งค่าเป็นตัวเลือก Available everywhere on secure networks หรือ Available everywhere ส่วนตัวเลือก Always Off เป็นการเลือกที่จะไม่ให้มีการเชื่อมต่อเข้ามา

    4. การตั้งค่า “Ask to project to this PC”

    เป็นการตั้งค่าให้มีข้อความแจ้งบน PC เมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามาจากโทรศัพท์มือถือ โดยบนฝั่ง PC จะเป็นการเลือกว่าจะยอมรับการเชื่อมต่อหรือไม่

    โดยเมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามายัง PC จะมีกล่องข้อความแจ้งเตือนดังรูป

    ส่วนตัวเลือกในการยอมรับการเชื่อมต่อจะมีสี่ตัวเลือกดังรูป

    ตัวเลือก First time only เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนครั้งแรกที่ขอเชื่อมต่อเข้ามาเท่านั้น หากมีการขอเชื่อมต่อหลังจากนี้ครั้งต่อไปจะสามารถทำการเชื่อมต่อได้เลย (ตอนยอมรับการเชื่อมต่อต้องเลือก Always allow ด้วย หลังจากนี้หากมีการขอเชื่อมต่ออีกก็จะไม่มีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาอีก)

    ตัวเลือก Every time a connection is requested เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนทุกครั้ง เมื่อมีการเชื่อมต่อ

    5. การตั้งค่า Require PIN for pairing

    เป็นการกำหนดว่าเมื่อมีการเชื่อมต่อกัน จะต้องมีการยืนยันรหัส PIN หรือไม่ โดยฝั่ง PC จะออกรหัส PIN ให้ และฝั่งโทรศัพท์มือถือต้องกรอกรหัส PIN นี้เพื่อยืนยัน

    ตัวเลือกการตั้งค่ามี 3 ตัวเลือก คือ

    ตัวเลือก Never เลือกตัวเลือกนี้หากไม่ต้องการใช้รหัส PIN ในการยืนยัน

    ตัวเลือก First Time ใช้สำหรับยืนยันรหัส PIN ครั้งแรกครั้งเดียว

    ตัวเลือก Always ต้องมีการยืนยันรหัส PIN ทุกครั้ง

    ตัวอย่างรหัส PIN

    6. การตั้งค่า “This PC can be discovered for projection only when it’s plugged into a power source”

    ถ้าเลือกเป็น On สามารถเชื่อมต่อได้เฉพาะกรณีที่ PC ต่อเข้ากับสาย power adapter ที่ต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเท่านั้น

    ส่งภาพจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง PC

    1. บนโทรศัพท์มือถือ ให้ไปที่ Setting และหาเมนู Wireless Display (อยู่ในหมวด WIRELESS & NETWORKS)

    จากตัวอย่าง เลือก More จะเจอเมนู Wireless Display

    2. แตะที่เมนู Wireless Display แล้วเปิดการใช้งาน Wireless Display จะปรากฏรายการ PC ที่เปิดให้สามารถเชื่อมต่อได้

    3. แตะเลือก PC ที่ต้องการเชื่อมต่อ หากบน PC มีการตั้งค่าให้ยืนยันรหัส PIN จะมีหน้าต่างให้ป้อนรหัส PIN บนโทรศัพท์มือถือ

    4. เมื่อป้อนรหัส PIN แล้วกด Accept ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับ PC เพื่อส่งหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือไปยัง PC ได้ดังรูป

  • ขั้นตอนการขอใช้บริการ PSU Groupmail

    กรุณาดำเนินการกรอกเอกสาร ตามขั้นตอนต่อไปนี้ครับ
    Download เอกสาร

    http://group.psu.ac.th/docs/F_SD13.pdf

    วิธีกรอก

    https://sysadmin.psu.ac.th/2017/01/05/acrobat-reader-dc-free-but-sufficient/

    วิธีการใช้งานเบื้องต้น

    http://group.psu.ac.th/docs/MailingList-20090625.pdf


    แล้วส่งกลับมาทาง email ได้เลยครับ  ()

    PSU Groupmail ตั้งต้นจะเป็น @group.psu.ac.th นะครับหากต้องการให้แปลงเป็น @psu.ac.th ช่วยแจ้งด้วย
    ส่วนการส่ง Email ออกไปในนามหน่วยงาน ให้ทำตามนี้

    วิธีส่ง email ออกไปในนามหน่วยงาน ด้วย PSU Webmail
    https://sysadmin.psu.ac.th/2020/03/27/psu-webmail-sent-email-on-behalf-of/

    วิธีส่ง email ในนามหน่วยงาน ที่ออกจาก Gmail ให้เป็น @psu.ac.th หรือ @group.psu.ac.th

    https://sysadmin.psu.ac.th/2018/01/26/send-gmail-in-the-name-of-psu/

  • วิธีส่ง email ออกไปในนามหน่วยงาน ด้วย PSU Webmail

    เนื่องจาก ตอนนี้มีหลายหน่วยงาน มีความต้องการใช้ “email ส่วนกลาง” ที่เป็น Mailbox แยกจากบุคคล กันมามาก
    จึงขอเรียนให้ทราบถึงปัญหาที่หน่วยงานของท่านจะเจอ ก่อนจะตัดสินใช้วิธีการดังกล่าว

    1. ไม่รู้ใครอ่าน
    2. ไม่รู้ว่าใครส่งออกไป
    3. ไม่รู้ว่าใครลบ email สำคัญนั้น
    4. ไม่รู้ว่าใครเปลี่ยนพาสเวิร์ด

    วิธีที่ทำกันมาตลอด คือ การสร้าง Groupmail นั้น

    • แต่ละกลุ่ม มีสมาชิกผู้รับได้หลายคน ทำให้ช่วยกันดูแลได้
    • การส่งออก สามารถตั้งได้ว่า ส่งออกไปในนามหน่วยงาน และสามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นคนส่ง
    • สามารถสร้าง Archive ได้ หมายความว่า ย้อนกลับมาดูได้ว่า เรื่องเหล่านี้ พูดคุยกันไปว่าอย่างไรบ้าง
    • สมาชิกบางคน ลบ email ไป แต่ การสนทนา ยังอยู่
    • หมดปัญหา 1 account แต่รู้รหัสผ่านกันหลายคน

    สำหรับวิธีการตั้งค่า ให้ แต่ละคนในกลุ่ม ส่งออกไปในนามหน่วยงานได้ บน PSU Webmail

    1. คลิกที่ เมนู Options

    2. คลิก Personal Information

    3. คลิก Edit Advanced Identities

    4. จากนั้น กรอกข้อมูล Full Name, E-Mail Address และ Signature

    มีข้อที่ *** ต้องห้าม *** อยู่อย่างนึงคือ Fullname ต้องไม่มีเครื่องหมายพิเศษใด ๆ โดยเฉพาะ เครื่องหมาย “.” จากนั้น กดปุ่ม Save/Update

    5. เมื่อต้องการส่ง Email แบบ Compose สามารถเลือกได้ว่า ต้องการให้ออกไปนามหน่วยงาน

    เมื่อผู้รับได้รับ ก็จะเห็นแบบนี้

    ครับ

  • [สภากาแฟ] ว่าด้วยเรื่องสายงานคนไอที 2020

    อยากทดลองเขียนบทความแนวแชร์ความคิดเห็นส่วนตัวแบบนั่งพูดคุยง่ายๆสบายๆ โดยไม่มีรูปแบบอะไรดูบ้าง ขอเริ่มจากเรื่องนี้ล่ะกันว่าด้วยเรื่องสายงานของคนไอทีที่เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หรือชัดมานานแล้วผมพึงเข้าใจมัน 

    ด้วยความที่เทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสายโปรแกรมเมอร์ จนเกิดอาการซ๊อคตามไม่ทันไม่รู้จะจับอะไรก่อนดี มันดูสับสนวุ่นวายไปหมด จนกระทั่ง 2-3 ปี มานี้เริ่มจับทางถูกพอทำให้ไม่ตกขบวนบ้าง

    ได้รับอีเมล์จากไมโครซอฟท์ หัวข้อ “Join our Apps & Infrastructure sessions at the Open Source Virtual Summit” ลองเข้าไปอ่านรายเอียดดูว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

    พบว่าหัวข้อการอบรมแบ่ง 3 track ใหญ่ๆ ได้แก่

    1. Apps & Infrastructure
    2. Developer
    3. Data & AI

    เห็นได้ชัดว่าสายงานคนไอที 2020 ถ้าแบ่งแบบหยาบน่าจะเป็น 3 ลู่วิ่งนี้… ลู่วื่งที่ 1. Apps & Infrastructure เป็นของสาย System Admin หรือ SysAdmin เกี่ยวกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ออกแบบ วางระบบ แน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับ Cloud ทำยังไงให้มีโครงสร้างระบบพื้นฐานที่ดีสามารถี่รันแอพที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ และต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ เช่น Docker Kubernetes ฯลฯ

    …สังเกตว่าสายไอที Network เพียวๆ ที่เป็นฮาร์แวร์จะถูกแยกลู่ออกไปเลย คงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านๆ นั้น ได้แก้ Data Center คอนฟิก Switch ซึ่งไม่มาแตะซอฟแวร์มากนัก  

    ลู่วื่งที่ 2 Developer อันนี้สายโปรแกรมเมอร์ล้วนๆ รักไม่มุ่งแต่มุ่งโฟกัสที่พัฒนาแอพอย่างเดียว โค้ดคือชีวิตอย่าไปให้เค้าแตะเรื่อง Infrastructure มากนัก เทรนก็เลยมาแนว Serverless แบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง เน้นการพัฒนาแอพให้ดี เรื่องวุ่นวายปล่อยให้ Cloud จัดการให้

    ลู่วิ่งที่ 3 Data & AI ยุดสมัยนี้ของมันต้องมี… แยกมากันชัดๆโฟกัสไปเลยว่าจะเอาดีทางสายนี้ สำหรับผมความคิดเห็นที่จะพูดถึงลู่นี้ไม่มีเพราะไม่รู้ 555 เพราะไม่เคยแตะเลย แต่ใครมาเอาดีสายนี้รับรองว่าอนาคตสดใสแน่นอนครับ

    สุดท้ายฝากลิงค์งานสามารถเข้าคลิกดู agenda ได้ : https://info.microsoft.com/AP-AzureMig-WBNR-FY20-03Mar-18-OpenSourceVirtualSummit-4491_01Registration-ForminBody.html

  • แชร์ประสบการณ์การสอบวิทยานิพนธ์ออนไลน์ผ่านระบบวิดีโอคอลด้วยงบประมาณศูนย์บาท (Zoom)

    สืบเนื่องจากที่ได้ไปอบรมการใช้งานโปรแกรม Zoom ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. ที่ผ่านมาประกอบกับนโยบายของคณะที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเดินทางของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมาสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา จึงได้ทดลองใช้จัดสอบวิทยานิพนธ์ออนไลน์ผ่านระบบวิดีโอคอลด้วยงบประมาณศูนย์บาทโดยใช้อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว ดังนี้

    เครื่องมือ

    1. เครื่องคอมพิวเตอร์ Lenovo all in one c340 ที่ติดตั้งในห้องเรียนอยู่แล้วกับเครื่องโปรเจกตอร์
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ lenovo all in one c240
    1. กล้อง WebCam Microsoft LifeCam Studio พร้อมขาตั้งกล้อง
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ microsoft webcam
    1. ไมโครโฟนไร้สาย Boya BY-WM8 Pro K2
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Boya BY-WM8 Pro K2

    ผลการใช้งานระบบ

    • โปรแกรม Zoom สามารถใช้งานได้ดี ระบบมีความเสถียรในเรื่องของสัญญาณภาพและเสียง ให้ความรู้สึกเหมือนพูดคุยโต้ตอบแบบ RealTime ไม่ดีเลย์แม้ใช้งานบนเครือข่าย WIFI 2.4 GHz
    • ภาพและเสียงคมชัดทั้งสองฝ่าย สามารถแชร์ภาพจากหน้าจอได้
    • โปรแกรมใช้งานง่าย โดยที่ผู้ทรงฯ สามารถใช้งานได้เองโดยไม่ต้องมีผู้ช่วย

    ข้อจำกัดและอุปสรรคที่พบ

    • โปรแกรมใช้งานได้แค่ 40 นาที สำหรับบัญชีแบบ Basic
    • คุณภาพจากกล้อง WebCam ดีระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถซูมภาพได้
    • ไมโครโฟนไร้สายที่การใช้งานจริงยังไม่คล่องตัวเท่าไรหากใช้สนทนาแบบกลุ่ม ควรเปลี่ยนเป็นไมโครโฟนวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่สามารถดูดเสียงได้รอบทิศทาง
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไมโครโฟนวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

    ภาพบรรยายกาศในวันสอบ…

  • PSU Webmail ทำไมลบ email ออกไปตั้งเยอะแล้ว แต่ Quota ยังเต็ม ?

    เหตุ: แบ่งเป็น 4 กรณี

    (1) ลบแล้ว แต่ยังไม่ Expunge

    ก่อนหน้านี้ เคยตั้งค่าให้ Delete แล้วก็ให้ลบหายไปเลย แต่ก็มีบางคน (หลายคน) แจ้งว่า อยากให้แค่ Mark Delete กล่าวคือ … ลบแล้ว แต่ให้เปลี่ยนใจได้ จึง … ทำให้คนอื่น ๆ เมื่อลบแล้ว ก็ต้องกดปุ่ม Expunge ด้วย เพื่อให้ลบถาวร

    *** ระบบ PSU Email เมื่อลบและกด Expunge แล้วจะเป็นการลบ ถาวร ไม่สามารถกู้คืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ***

    (2) ลบแต่จดหมายเล็ก ๆ

    บางที เราก็มีจดหมายไม่กี่ฉบับ แต่ว่า แต่ละฉบับ อาจจะแนบไฟล์ขนาดใหญ่ ๆ ทั้งนั้น วิธีการคือ สั่งให้ PSU Webmail แสดง ขนาดของ email แต่ละฉบับ โดยไปที่

    Options > Index Order

    จากนั้นคลิกปุ่ม Add ข้าง ๆ Size แล้ว คลิก Inbox อีกครั้ง

    จะปรากฏ Column “Size” ด้านขวามือ ให้คลิกเรียงลำดับ ตามขนาดของ email ให้เลือกลบฉบับที่มีขนาดใหญ่ ๆ ก่อน แล้ว *** และเมื่อลบแล้ว ก็อย่าลืม Expunge และ อย่าลืม เรียงลำดับใหม่ด้วย มิฉะนั้น จะไม่เห็นอีเมลใหม่สุด อยู่บนสุด *** เพราะระบบกำลังแสดงผลแบบเรียงลำดับตาม ขนาดของอีเมลอยู่

    (3) ลบใน Inbox หมดแล้ว แต่พื้นที่ยังเต็ม เป็นเพราะ มันเต็มใน Folder อื่น

    ให้คลิกที่ Folder Size ด้านล่างซ้ายของ PSU Webmail

    จะแสดงผลให้เห็นว่า จริง ๆ แล้ว Folder ใดที่กินพื้นที่ เมื่อทราบแล้ว ก็ไปจัดการให้ถูกที่

    (4) ทำตามข้อ 1-3 แล้ว ยังเต็ม ก็เป็นเพราะมี Folder “Trash” ซึ่งซ่อนอยู่

    มันมาได้ไง ?? มาจากการใช้ Mail Client บน โทรศัพท์มือถือ แล้วต่อ IMAP มายัง PSU Email Server มักจะสร้าง “Trash” Folder ไว้ เมื่อผู้ใช้ ลบอีเมล ก็จะย้ายไปไว้ใน Trash นี้ (ไม่ใช่ INBOX.Trash ของระบบ) ซึ่งจะมองเห็นได้บนโทรศัพท์มือถือ แต่ มักจะมองไม่เห็นบน PSU Webmail

    วิธีการแก้ไขคือ เลือกให้แสดง Folder นี้ โดยคลิกที่

    Folders > Trash > Subscribe

    แล้วกด Refresh folder list

    ก็จะปรากฏ Trash อยู่ในรายการด้าน ซ้ายมือ ให้ทำการลบได้ตามปรกติ