Author: wiboon.w

  • มาทำ Self-hosted cloud storage ด้วย ownCloud ใน PSU กันเถอะ

    เมื่ือช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ผมได้รับอีเมลเกี่ยวกับรายชื่อ cloud storage ที่มีให้บริการ เช่น dropbox เป็นต้น แล้วมีพูดถึงว่านอกจากบริการบนอินเทอร์เน็ต ยังมี open source software ชื่อ owncloud อีกตัวนึงที่มีคนทำไว้ใช้งานเองและใช้ได้จริง และเป็นที่นิยมกันมากมาย ผมเลยตามไปดูที่ owncloud.org และก็จุดประกายความคิดขึ้นมาต่อยอดจากที่งาน WUNCA26 ว่ามีอาจารย์ท่านนึงบรรยายเกี่ยวกับ cloud ว่าอยากให้มหาวิทยาลัยมี private cloud ใช้งาน อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งคือ self-hosted cloud storage หมายถึง ตั้งเซิร์ฟเวอร์เองไว้เก็บไฟล์
    owncloud-in-psu-1
    owncloud ทำอะไรได้บ้าง ผมจินตนาการอย่างนี้นะครับ ผมจะมี directory เก็บไฟล์ทำงาน ซึ่งแน่นอนอาจต้องการอีกสักหนึ่งเพื่อไว้กิจกรรมอะไรก็ได้ และนำไฟล์เหล่านี้ไปเก็บบน server ทำให้ผมจะมีข้อมูลเก็บอยู่สองแห่ง (เครื่องผมและserver)  เมื่อผมแก้ไข เพิ่ม หรือ ลบไฟล์ แล้วจะมี sync client สักตัวทำการ sync ให้เท่ากัน เมื่อผมไม่ได้ใช้เครื่องคอมฯของตนเอง ผมก็สามารถเข้าเว็บเบราว์เซอร์แล้วเข้าไปที่ URL ที่กำหนดไว้ เช่น [ http://cloud.in.psu.ac.th ] เป็นต้น ผมก็สามารถ login เข้าทำงานกับไฟล์ของผมได้แล้ว จากนั้นก็คิดต่อไปว่าแล้วผมมี Android smart phone จะต้องใช้ได้ด้วย คือเปิดดูพวกไฟล์ pdf ได้เลย รวมถึงเมื่อถ่ายรูป ไฟล์รูปภาพก็จะอัพโหลดไปเก็บอยู่บน server ของผม และเมื่อผมกลับมาเปิดเครื่องคอมฯของตนเองอีกครั้ง โปรแกรม sync client ก็จะทำการ sync ไฟล์รูปภาพจาก server ลงมาเก็บไว้ใน directory ที่กำหนดไว้

    เป็นไงครับอ่านมาถึงตรงนี้ นึกออกแล้วใช่ไม๊ครับ ไม่เห็นภาพ ลองดูตัวอย่างจาก presentation เรื่อง คู่มือสำหรับผู้ใช้งาน ownCloud ครับ

    ตามนี้ [ https://sharedrive.psu.ac.th/public.php?service=files&t=494382205a552cc52f07e6855c991162 ]

    สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจึงลงมือทำการทดสอบ ติดตั้งง่ายครับใช้ ubuntu server 12.04.2 มีเรื่องที่ต้องสนใจ 2-3 เรื่อง เรื่องแรกคือจะใช้ฐานข้อมูลอะไร มีให้เลือก sqlite, MySQL, PostGresSQL เรื่องที่สองคือจะใช้ user name อะไรในการ login เข้าใช้งาน เรื่องที่สามคือจะกำหนดพื้นที่ดิสก์รวมอยู่กับ system หรือแยก partition ต่างหากสำหรับเก็บ data นอกจากนี้ก็เป็นการคอนฟิกเพิ่มเติมโปรแกรม (owncloud จะเรียกว่า Apps) เช่น Bookmark, News Feed, Web mail client เป็นต้น และสุดท้ายคือตั้งค่า disk quota สำหรับผู้ใช้แต่ละคน

    เริ่มต้นด้วยแบบง่ายๆก็ใช้ local user ของโปรแกรม owncloud เองเลย ซึ่งเก็บอยู่บนฐานข้อมูล sqlite ในขั้นตอนติดตั้ง แบบยากขึ้นมานิด จะใช้ External user support ได้อย่างไร ก็พบว่าทำได้จาก LDAP, IMAP, FTP server ผมเลือกใช้ FTP server เพราะว่าเราสามารถผสมใช้ linux user name พร้อมๆไปกับ PSU Passport ของมหาวิทยาลัยได้ด้วย ผ่านทาง FTP server และอนุญาตเฉพาะ user name ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับจากหลวงพี่วิภัทรสั่งสอนไว้นั่นเอง คือ PSU-radius + vsftpd + pam_radius_auth

    ถัดมาก็ทดสอบเปลี่ยนไปใช้ MySQL database ก็ไม่ยุ่งยากอะไร คือ ต้องเตรียม database name, database user, database password ไว้ก่อน จากนั้นในขั้นตอนติดตั้งทางหน้าเว็บครั้งแรกให้เลือก Advanced เพื่อเลือกว่าจะใช้ MySQL แล้วระบุค่าสำหรับ database ที่เตรียมไว้นั้น

    ถัดมาก็ศึกษาวิธีการเปลี่ยนใช้ partition แยกต่างหากสำหรับ ownCloud data ซึ่งก็คือที่เก็บไฟล์ของ user แต่ละคนนั่นเอง หากให้คนละ 10 GB มีคน 100 คน ก็ต้องใช้ 1,000 GB เป็นต้นจึงจำเป็นต้องแยก mount disk ต่างหาก ตรงนี้จะเกี่ยวกับไฟล์ /etc/fstab ด้วยนะ นอกจากนี้ผมต้องการให้มีการ share with link เพื่อให้สาธารณะดูไฟล์ได้โดยผมจะส่งเป็นอีเมลไปให้ จึงต้องคอนฟิกเรื่อง mail อีกนิด

    การติดตั้งหลักๆเสร็จไปแล้ว ต่อมาก็ทดสอบการใช้งาน เริ่มต้นจากเมื่อ login เข้าใช้งานครั้งแรก จะมีหน้าต่าง wizard เชิญชวนให้ติดตั้ง Desktop Client ซึ่งมีสำหรับ Linux, Windows, Mac OS ซึ่งฟรีครับ นอกจากนี้ก็มีสำหรับ Android PlayStore, iOS AppStore แต่เนื่องจากต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับดาวน์โหลดทาง PlayStore และ AppStore ราคา 29 บาท ผมจึงเสาะหาพบว่า “ฟรี” ที่นี่ครับ [ http://f-droid.org ]จะมีโปรแกรม owncloud client ให้ใช้ฟรีๆครับ

    ทดสอบการใช้งาน พบว่ามี bug 2-3 เรื่อง เรื่องแรกการ share file ระหว่าง user name บน ownCloud กับ External user ยังไม่สมบูรณ์ จึงค้นหา google พบว่ามีคนบอกวิธีแก้ bug ไว้ให้ และ bug เกี่ยวกับเกิดมี error log record ผิดปรกติจำนวนมากใน /var/www/owncloud/data/owncloud.log ซึ่งไม่ควรจะมี ผมพบว่ายังมี bug อีก 2 อย่างที่ยังแก้ไขไม่ได้คือ disk quota แสดงผลไม่ตรงความจริง คือ ผมอัพโหลดไฟล์ไว้มากๆเพื่อลองทดสอบประมาณ 7พันกว่าไฟล์ ขนาด 7 GB กว่าๆ แต่โปรแกรมรายงานเพียง 2GB เท่านั้น และอีก bug คือ Apps ชื่อ Pictures Gallery เมื่อผมลบไฟล์รูปภาพไปแล้ว แต่ thumbnail picture ยังคงเก็บอยู่ อันนี้ผมซอกแซกเข้าไปดูในที่เก็บ คือ cd /var/www/owncloud/data/(user)/gallery/

    หากต้องการทดสอบ ให้อ่านเรื่อง ติดตั้ง owncloud (5.0.6) บน ubuntu (12.04.2) สำหรับ PSU [ http://opensource.cc.psu.ac.th/ติดตั้ง_owncloud_(5.0.6)_บน_ubuntu_(12.04.2)_สำหรับ_PSU ] อยู่ที่เว็บไซต์ opensouce.cc.psu.ac.th ครับ

    และนี่คือ Your Private Cloud Storage in PSU ครับ ขอบคุณครับ

  • ติว “DHCP for IPv6 (DHCPv6)”

    Workshop Lab guide dhcpv6 https://sharedrive.psu.ac.th/public.php?service=files&t=d101ba43953c1a7c493b0d507db3b333

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป ติว “DHCP for IPv6 (DHCPv6)” วันที่ 31 พ.ค. 56 เวลา 09.00 – 16.00 น. ที่ห้อง 107 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่

    เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการระบบเครือข่ายสำหรับรองรับการใช้งาน IPv6 และฝึกปฏิบัติการติดตั้ง DHCPv6 สำหรับหน่วยงาน

    รายละเอียดหัวข้อติว
    9.00-10.15น. IPv6 Overview
    -IPv6 Addressing
    -IPv6 Address Allocations
    -IPv6 Header Types, Formats, and Fields
    -IPv6 Extension Headers
    -Internet Control Message Protocol for IPv6 (ICMPv6)
    -IPv6 and Routing
    -IPv6 and the Domain Name System (DNS)
    10.30-12.00น. Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) for IPv6
    -Specification Overview
    -Difference from IPv4 Standards
    -Security Ramifications
    -Unknown Aspects
    13.00-16.00น. ทำ LAB ติดตั้งและคอนฟิก DHCPv6 บน Ubuntu

    วิทยากร
    1. พรพิทักษ์ สันติภาพถาวร ศูนย์คอมพิวเตอร์
    ผู้ช่วยวิทยากร
    2. โกศล โภคาอนนท์ ศูนย์คอมพิวเตอร์

    หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้

    รายชื่อผู้เข้าร่วม

    1. วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์
    2. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    3. สุนิสา จุลรัตน์ สถาบันสันติศึกษา
    4. ก้องชนก ทองพรัด กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
    5. ชัยวัฒน์  ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    6. ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    7. อาทิตย์ อรุณศิวกุล คณะศิลปศาสตร์
    8. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์
    9. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    10. จรัล บูลวิบูรณ์ คณะศิลปศาตร์
    11. ประทีป โคตัน ศูนย์คอมพิวเตอร์
    12. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ คณะเภสัชศาสตร์
    13. ศุภกร  เพ็ชรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์
    14. ทิพาพร พัฒนศิริ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    15. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    16. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์
    17. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    18. สาวิตรี วงษ์นุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    19. ลักขณา ฉุ้นทิ้ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    20. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์
    21. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    22. นวพล เทพนรินทร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    23. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์
    24. ภูเมศ จารุพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์
    25. กฤตกร อินแพง คณะพยาบาลศาสตร์
    26. พงศ์กานต์ กาลสงค์ คณะแพทยศาสตร์
    27. บัณฑิต ชนะถาวร คณะทันตแพทยศาสตร์
    28. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (อาหารมังสวิรัติ)
    29. กิตติพัฒน์ อุบลกาญจน์ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ
    30. จอมขวัญ สุวรรณมณี คณะพยาบาลศาสตร์
    31. พันธ์พงษ์ คงกระพันธ์ หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ. ปัตตานี
    32. สนธยา เมืองโต หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ. ปัตตานี
  • Linux Mint – แหล่งรวมรวมเอกสาร ข้อมูลความรู้ต่างๆ

    Linux Mint – แหล่งรวมรวมเอกสาร ข้อมูลความรู้ต่างๆ
    ลิงค์ http://opensource.cc.psu.ac.th/Linuxmint

    1-วิธีตั้งค่าให้อัปเดต Linux Mint ได้เร็วขึ้น ทำได้โดยการตั้งค่าให้ติดต่อกับ server ในประเทศไทย
    ลิงค์ http://opensource.cc.psu.ac.th/วิธีตั้งค่าให้อัปเดต_Linux_Mint_ได้เร็วขึ้น

    2-วิธีปรับการตั้งค่า Linux Mint – Boot Options กรณีติดตั้ง Multi OS ปรับการหน่วงเวลาการเลือก OS
    ลิงค์ http://opensource.cc.psu.ac.th/วิธีปรับการตั้งค่า_Linux_Mint_-_Boot_Options_กรณีติดตั้ง_Multi_OS_ปรับการหน่วงเวลาการเลือก_OS

    3-คำสั่งตรวจสอบรายชื่อ packages ที่ติดตั้งในระบบปฎิบัติการ Linux Mint, Ubuntu, Debian
    ลิงค์ http://opensource.cc.psu.ac.th/คำสั่งตรวจสอบรายชื่อ_packages_ที่ติดตั้งในระบบปฎิบัติการ_Linux_Mint,_Ubuntu,_Debian

    4-แก้ไข Firefox browser แจ้งว่าใช้ flash player ที่ไม่ปลอดภัย หรือ Outdated
    ลิงค์ http://opensource.cc.psu.ac.th/แก้ไข Firefox browser แจ้งว่าใช้ flash player ที่ไม่ปลอดภัย

    5-ตั้งค่า VPN สำหรับ Linux Mint
    ลิงค์ http://opensource.cc.psu.ac.th/ตั้งค่า_VPN_สำหรับ_Linux_Mint

    และอื่นๆที่จะมีเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ

  • WordPress file owner and permission

    ตอนนี้เราควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเว็บไซต์ wordpress โดยการตั้งค่าสิทธิของไดเรกทอรีและไฟล์มากขึ้นเพราะมีข่าวที่เว็บไซต์มีช่องโหว่แล้วถูกฝังโค้ด

    เช่น แต่เดิมเราติดตั้ง wordpress ไว้ในไดเรกทอรี /var/www/wordpress แล้วเพื่อให้ทำงานติดตั้ง plugins เพิ่ม ปรับแต่งหน้าเว็บด้วย themes ใหม่ๆ หรือการอัปโหลดรูปภาพและสื่อ รวมทั้งการ upgrade เวอร์ชั่นของ wordpress ทำได้สะดวกง่ายๆ ด้วยการกำหนดสิทธิอย่างง่ายคือ

    sudo chown -R www-data.www-data /var/www/wordpress

    ก็ใช้งานได้แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะเป็นเหยื่อได้ ผมได้คุยกับน้องใหญ่ แล้วก็ลงความเห็นกันว่า เราควรตั้งค่า file owner และ file permission ให้มันเข้มขึ้นแต่ยังสะดวกในการทำงานติดตั้งอะไรๆได้ด้วย ก็เป็นที่มาของคำสั่งข้างล่างนี้

    อันดับแรกก็จะต้องกำหนด file owner กันก่อน ถ้า ubuntu server ของเรา ใช้ username คือ mama และมี group ชื่อ adm ซึ่งเป็นชื่อ group ที่มีสิทธิทำอะไรได้มากกว่า user ธรรมดา ก็ใช้ mama:adm นี้ได้ หรือจะใช้ mama:mama ก็ได้ครับ (ที่เป็น adm ก็เผื่อไว้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะเพิ่ม username สักคนเข้าใน groupname adm นี้ก็เท่านั้นเอง) ดังนี้

    sudo chown -R mama:adm /var/www/wordpress
    sudo chown -R mama:adm /var/www/wordpress/wp-content/

    ถัดมาก็กำหนด file owner ที่ให้สิทธิ apache web server ซึ่งใช้ username คือ www-data และ groupname คือ www-data เพียงแค่ไดเรกทอรีที่จำเป็น ดังนี้

    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/plugins
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/themes
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/upgrade
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/uploads

    ถัดไปก็กำหนด file permission ให้กับไดเรกทอรีเหล่านี้ด้วย (ผมเพิ่ม -R ลงไปในคำสั่งด้านล่างนี้ด้วยแล้ว) ดังนี้

    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/plugins
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/themes
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/upgrade
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/uploads

    สุดท้าย เราต้องแก้ไขไฟล์ชื่อ wp-config.php ด้วยนะ เหตุผลตรงนี้คือ เราไม่ต้องการติดตั้งแบบที่มันจะถาม ftp user แต่ต้องการให้ติดตั้งได้อัตโนมัติ ให้แก้ไขดังนี้

    sudo vi /var/www/wordpress/wp-config.php

    โดยให้แทรกบรรทัด

    define('FS_METHOD', 'direct');

    ไว้ก่อนบรรทัดนี้ อยู่ประมาณ 10 บรรทัดนับจากท้ายไฟล์ครับ

    /* That’s all, stop editing! Happy blogging. */

    ผมคิดว่าหากเป็น CMS ตัวอื่นๆ ก็คงใช้แนวทางเดียวกันนี้ได้

    ขอจบเพียงเท่านี้ และขอขอบคุณข้อมูลจากคุณเกรียงไกร หนูทองคำ ครับ

  • Recovering Files From ecryptfs Encrypted Home

    ผมเจอปัญหาว่ามีเครื่องเสีย ผมต้องเข้าไปช่วยกู้ข้อมูลในดิสก์ที่เสีย แต่ก็พบว่า home directory ได้ทำ encrypt ไว้ในตอนติดตั้ง ubuntu 10.04 desktop ผมจึงค้นหาดูพบหลายบทความ แต่มาลงตัวที่บทความนี้ http://www.kaijanmaki.net/2009/10/26/recovering-files-from-ecryptfs-encrypted-home/ เป็นจุดเริ่มต้นให้ลองทำตามดู

    ผมทำ Virtual Machine เป็น guest ใน Oracle VM VirtualBox โดยติดตั้ง ubuntu 10.04 desktop (จะลองกับ 12.04 หรืออื่นๆก็คงได้) แล้วลองสร้างไฟล์ test.txt, test2.txt จากนั้น shutdown เครื่อง guest แล้วบูตอีกทีด้วยไฟล์ ubuntu-10.04.4-desktop-i386.iso แล้วเลือก Try ubuntu

    เมื่อเข้าถึงหน้ากราฟิกแล้ว คลิกเมนู places, เลือก disk ที่ต้องการ จากนั้นเปิด terminal เพื่อออกไปทำงานในโหมด command line

    ใช้คำสั่ง df ดูจะเห็นว่าดิสก์ถูก mount เป็นชื่อ ดังนี้

    /dev/sda1 /media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6

    ให้เข้าทำงานเป็น root

    ubuntu@ubuntu:~$ sudo su

    ลองตรวจสอบดูว่ามีอะไรอยู่ข้างในบ้างด้วยคำสั่งข้างล่างนี้

    root@ubuntu:~# ls -l /media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6/home/mama/
     total 0
     lrwxrwxrwx 1 1000 1000 56 2013-04-10 08:52 Access-Your-Private-Data.desktop -> /usr/share/ecryptfs-utils/ecryptfs-mount-private.desktop
     lrwxrwxrwx 1 1000 1000 52 2013-04-10 08:52 README.txt -> /usr/share/ecryptfs-utils/ecryptfs-mount-private.txt

    ตรวจสอบดูว่าไฟล์ต่างๆ น่าจะซ่อนอยู่ที่ไหนก็พบว่าอยู่ที่นี่

    root@ubuntu:~# ls -l /media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6/home/.ecryptfs/mama/.Private/
     total 276
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:10 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC1PAe3rM36mt8nRtyRWtxlE--
     drwxr-xr-x 4 1000 1000  4096 2013-04-10 09:06 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC2Yj-dqfvpHuYFJe32oPmP---
     drwx------ 4 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC3kM22hNF7litgpIAwtmwtU--
     drwx------ 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:11 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC7W8YJQSLe20t0XJHf6xjB---
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 08:52 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC9cPIgv52y7AFWY.H1WCtTE--
     -rw------- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC9dcmZbWv.pjpzikXKTE2xU--
     lrwxrwxrwx 1 1000 1000   104 2013-04-10 08:52 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC9u1V-uJOrNxm7ZdoXYvX5E-- -> ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FXaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCGOuByR46pE4zxC1IyPOC1XMuz8uG9d.Y91Nys0NXy1o-
     drwx------ 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:06 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCBinhrU4ijNIOXaDLIUmz6---
     drwxr-xr-x 6 1000 1000  4096 2013-04-10 09:08 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCbQymH7oV5njbGxrao6qK.E--
     drwx------ 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:11 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCcib.jfkdAKRfPUX3SRC3PE--
     drwx------ 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCd8fDbrGkyQn76SLx7OFbWk--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCf9KXChgI4vRxtQINyM5f2U--
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:08 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC.FSa4ytf8l5gxGoCy5Z.hU--
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCHD.zza5bDIfbpJCBK20OEk--
     drwx------ 7 1000 1000  4096 2013-04-10 09:11 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCHMmbRJdm8bOuKAIY9l2nNE--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCI0txn1fN.CnTaplNnnfw-E--
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:10 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCinSVUy2qcWnG4Fkkvq3TbE--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCJCe9LKWs69b5Gm7sz9l8bk--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCkjHGX5Z.4t2crv-B-HErFE--
     drwx------ 3 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCkL2EHaUs.epFv6xhN2RgnE--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCNnJ2nY9cMM4vKFU6acxrIE--
     drwx------ 3 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmC-NphMDal80t55pvvVnvyiE--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCNYJp37Rmr3eJHZWw-yuZiE--
     -rw------- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCRIV.WMwNJ.HPDn2Qm9Is4---
     -rw------- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:11 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCRqHIvRgijJ2kR4EkiHAV.U--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCTnsCL.MmBrnuuZJB7rUqu---
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCt-qx19u1J7cqrJdDeAcGXU--
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCtrtmC.5pOzU71mXW9lsBTU--
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 08:52 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCtZB8bfkkrg5Vwn12I0a36k--
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 08:52 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCugEFlA5kzGzGdCrk98SRdk--
     -rw------- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCUvV.UqheVgE8ii35hI1CD---
     drwxr-xr-x 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCwkbU8zR9wlpqaW.qpSOOG---
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCWmtlLdW3Fscyzdv92P7ya---
     drwx------ 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:05 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCxb3ohG01RPLQKdGf5aGO0k--
     lrwxrwxrwx 1 1000 1000   104 2013-04-10 08:52 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FWaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCY20y7DesFofU3WXsupOCaU-- -> ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FXaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCHlpTqADLNpd4HnYAdygClBA6cPCLon7WcZ6N6OFCv8g-
     -rw------- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:11 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FXaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCpbeOQivGSuvqOu51OftghDjzC0ltpVNARnFgkWRBi-2-
     -rw------- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 09:11 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FXaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCpmXGVsVsyK8V95y22w4vq88Zp17vcB8FLxmDpAeLfzM-
     -rw-r--r-- 1 1000 1000 12288 2013-04-10 08:52 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FXaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCpmXGVsVsyK8V95y22w4vqAzU.HY0GIf1CP9WH.239TU-
     drwx------ 2 1000 1000  4096 2013-04-10 09:09 ECRYPTFS_FNEK_ENCRYPTED.FXaiRtz3Ag4mTURWaW1nT.6mYpw-PkyvsXmCpmXGVsVsyK8V95y22w4vq-Qwp5WNWvevyfXuTlIfkN2-

    เข้าสู่ขั้นตอนการกู้ข้อมูล โดยสร้างไดเรกทอรีใน /mnt ดังนี้

    root@ubuntu:/home/ubuntu# cd /mnt
    root@ubuntu:/mnt# mkdir oldhome
    root@ubuntu:/mnt# ln -s /media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6/home/.ecryptfs/mama/.Private oldprivate

    ตรวจสอบดูว่าได้ผลตามต้องการ

    root@ubuntu:/mnt# ls -l /mnt
    total 12
    drwx------ 24 mama mama 4096 2013-04-10 16:11 oldhome
    lrwxrwxrwx  1 root root   72 2013-04-10 20:51 oldprivate -> /media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6/home/.ecryptfs/mama/.Private

    เราจะต้องเข้าไปสร้าง passphase จากรหัสผ่านของบัญชีผู้ใช้งาน ในที่นี่คือ username ชื่อ mama มีรหัสผ่าน 123456 โดยการเข้าไปใช้คำสั่ง ecryptfs-unwrap-passphrase กับไฟล์ wrapped-passphrase ซึ่งตามความเป็นจริง เราจะต้องรู้ passphase ยาวๆนี้อยู่แล้ว แต่ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร

    เข้าไปไดเรกทอรีเพื่อจะได้ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งยาวๆ

    root@ubuntu:/mnt# cd /media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6/home/

    ใช้คำสั่งเพื่อสร้าง passphase

    root@ubuntu:/media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6/home# ecryptfs-unwrap-passphrase .ecryptfs/mama/.ecryptfs/wrapped-passphrase
    Passphrase: 123456

    ตรงนี้ใส่รหัสผ่านของ username ที่มี home directory encrypted คือ mama มีรหัสผ่าน 123456 ไว้

    ได้ผลคือได้ passphase ยาวๆ ออกมา ซึ่งจะถูกนำไปใช้ต่อไป

    44dcd2be32726c9925eb2403e295aa2e

    ออกจากไดเรกทอรี

    root@ubuntu:/media/c460e698-ae7a-478e-a9fa-7ea4beb4f7c6/home# cd

    ตอนนี้จะมีการถาม passphase อีก หากใช้วิธี copy และ paste ได้จะสะดวกกว่าคีย์ทั้งหมดทีละตัว

    root@ubuntu:~# ecryptfs-add-passphrase --fnek
    Passphrase: ใส่ 44dcd2be32726c9925eb2403e295aa2e ที่ได้มา

    ได้ผลลัพธ์

    Inserted auth tok with sig [f09d3c0aedc95c7b] into the user session keyring
    Inserted auth tok with sig [ae779fc532c1b27e] into the user session keyring

    เราจะใช้ค่า ae779fc532c1b27e ในขั้นตอนต่อไป

    root@ubuntu:~# mount -t ecryptfs /mnt/oldprivate /mnt/oldhome
    Passphrase: ใส่ 44dcd2be32726c9925eb2403e295aa2e ที่ได้มา
    Select cipher:
    1) aes: blocksize = 16; min keysize = 16; max keysize = 32 (not loaded)
    2) blowfish: blocksize = 16; min keysize = 16; max keysize = 56 (not loaded)
    3) des3_ede: blocksize = 8; min keysize = 24; max keysize = 24 (not loaded)
    4) twofish: blocksize = 16; min keysize = 16; max keysize = 32 (not loaded)
    5) cast6: blocksize = 16; min keysize = 16; max keysize = 32 (not loaded)
    6) cast5: blocksize = 8; min keysize = 5; max keysize = 16 (not loaded)
    Selection [aes]: กด Enter
    Select key bytes:
    1) 16
    2) 32
    3) 24
    Selection [16]:  กด Enter
    Enable plaintext passthrough (y/n) [n]: n
    Enable filename encryption (y/n) [n]: y
    Filename Encryption Key (FNEK) Signature [f09d3c0aedc95c7b]: ae779fc532c1b27e ใส่ค่านี้
    Attempting to mount with the following options:
    ecryptfs_unlink_sigs
    ecryptfs_fnek_sig=ae779fc532c1b27e
    ecryptfs_key_bytes=16
    ecryptfs_cipher=aes
    ecryptfs_sig=f09d3c0aedc95c7b
    WARNING: Based on the contents of [/root/.ecryptfs/sig-cache.txt],
    it looks like you have never mounted with this key
    before. This could mean that you have typed your
    passphrase wrong.
    
    Would you like to proceed with the mount (yes/no)? : yes
    Would you like to append sig [f09d3c0aedc95c7b] to
    [/root/.ecryptfs/sig-cache.txt]
    in order to avoid this warning in the future (yes/no)? : no
    Not adding sig to user sig cache file; continuing with mount.
    Mounted eCryptfs

    หากได้บรรทัด Mounted eCryptfs ก็ไชโยได้ แต่ถ้าไม่สำเร็จจะฟ้องเป็น error ก็เพราะระบุตำแหน่ง directory ที่มีไฟล์ encrypted ไม่ถูกต้องในขั้นตอนแรกๆ ที่เป็นคำสั่ง ln -s

    หากทำสำเร็จ เราลอง ใช้คำสั่งดูรายชื่อไฟล์

    root@ubuntu:~# ls -l /mnt/oldhome/
    total 80
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Desktop
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Documents
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Downloads
    -rw-r--r-- 1 mama mama  179 2013-04-10 15:52 examples.desktop
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Music
    -rw-r--r-- 1 mama mama   33 2013-04-10 16:08 mypassphase
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Pictures
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Public
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Templates
    -rw-r--r-- 1 mama mama   16 2013-04-10 16:10 test2.txt
    -rw-r--r-- 1 mama mama   15 2013-04-10 16:10 test.txt
    drwxr-xr-x 2 mama mama 4096 2013-04-10 16:05 Videos

    จะเห็นไฟล์ตามปกติ ซึ่งมีไฟล์ที่ผมสร้างไว้คือ test.txt และ test2.txt

    ผมเคยเก็บ passphase ไว้เพื่อเปรียบเทียบ ซึ่งก็ตรงกับที่เราสร้าง passphase ในขั้นตอนด้านบนจากรหัสผ่านของ username mama

    root@ubuntu:~# cat /mnt/oldhome/mypassphase
    44dcd2be32726c9925eb2403e295aa2e

    ถึงตอนนี้ หากเป็นการกู้ข้อมูล ก็ทำการคัดลอกไฟล์ตามสะดวก

    เมื่อคัดลอกไฟล์ที่ต้องการแล้ว ก็ทำการ unmount เพื่อเลิกใช้ดิสก์นั้น

    root@ubuntu:~# umount /mnt/oldhome

    หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับ ใครที่บังเอิญติดตั้งแบบ encrypted home directory เอาไว้ แล้ววันหนึ่งต้องกู้ข้อมูล หรือใครจะลองทำดูก็ได้นะ

    หากโชคดีไฟล์ wrapped-passphrase ไม่เสียหาย ก็จะทำได้สำเร็จครับ

  • Solved Firefox browser with adobe flash player outdated

    ผมรัน Firefox browser แล้วพบว่ามันจะแจ้งว่า Adobe Flash Player Plugin ไม่ปลอดภัยเนื่องจาก Outdated จึงคลิกเข้าไปในหน้า Addons แล้ว ดาวน์โหลดจากเว็บ http://get.adobe.com/flashplayer/ ได้ไฟล์ install_flash_player_11_linux.x86_64.tar.gz จากนั้นแตกไฟล์ออกมาอย่างง่ายๆ เพราะใช้ GUI อยู่ ได้ไฟล์มาดังนี้

    libflashplayer.so และไดเรกทอรี usr

    flashplayer-outdated

    แล้วเปิดอ่าน readme.txt สั่งว่าให้อัปเดตแบบ manual ก็ต้องทำตาม ทั้งๆที่อยากทำแบบคลิกๆๆๆ จะสะดวกสำหรับผู้ใช้มากกว่า

    ตอนนี้ผมอยู่ที่หน้าต่าง terminal ของ linux mint ทำตามดังนี้

    sudo cp libflashplayer.so /opt/mint-flashplugin-11/
    sudo cp -r usr/* /usr

    รัน firefox ใหม่ ตอนนี้ใช้งานได้แล้ว

    หมายเหตุ

    เครื่องที่ใช้งานคือ

    ผมใช้คำสั่ง cat /etc/lsb-release ได้ดังนี้

    DISTRIB_ID=LinuxMint
    DISTRIB_RELEASE=13
    DISTRIB_CODENAME=maya
    DISTRIB_DESCRIPTION="Linux Mint 13 Maya"

    ผมใช้คำสั่ง uname -a ได้ดังนี้

    Linux HP-ProBook-6450b 3.2.0-39-generic #62-Ubuntu SMP Thu Feb 28 00:28:53 UTC 2013 x86_64 x86_64 x86_64 GNU/Linux

    จบครับ

  • อัปเดต wordpress เปลี่ยน theme และเพิ่ม plugins

    ผมได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน น้องใหญ่ เพื่อที่จะปรับปรุงให้หน้าแรกไม่ยืดยาวจนเกินไปในลักษณะแสดงข้อความส่วนต้นๆของเรื่องเท่านั้น  ก็ได้ theme ชื่อ toothpaste ดังรูปtheme-toothpaste

    และได้เพิ่ม plugin ชื่อ Authors Widget เพื่อแสดงรายชื่อผู้ที่เขียนบล็อก เพื่อความสะดวก ดังรูป

    plugin-authors-widget

    และได้เพิ่ม plugin ช่ื่อ List Category Posts เพื่อแสดงเฉพาะรายการชื่อเรื่องเท่านั้นดูได้ในเมนู หมวดหมู่ ดังรูป

    plugin-list-category-posts

    และได้ตั้งค่าให้แสดง Categories, Authors และ Archives เป็นแบบ Drop Down List รวมทั้งตั้งให้แสดงหน้าแรกเพียง 3 เรื่องล่าสุด เพื่อให้หน้าจอสั้นลง

    หวังว่าเพื่อนๆคงถูกใจครับ

  • กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM3 “ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก”

    กิจกรรม CoP PSU sysadmin ลำดับถัดไปของเรา KM3 “ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก” วันที่ 15 มี.ค. 56 เวลา 09.00 – 12.15 น. ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่ครับ ครั้งนี้จะจัดต่างจากที่ผ่านมา คือ ขอจัดเป็นรายการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยผมได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมงานด้วย

    ผู้สนใจตอบรับเข้าร่วมได้ที่อีเมล wiboon.w@psu.ac.th หรือที่เฟสบุ๊ค http://www.facebook.com/groups/psu.sysadmin/ ก็ได้ครับ (ดูรายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วม)

    เสวนา เรื่อง “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” (ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก)

    กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม

    • ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบ และผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ
    • ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์

    วันที่จัด

    • 15 มีนาคม 2556 เวลา 09.00 – 12.15 น.

    สถานที่จัด

    • ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    เนื้อหา
    1.เป็นการแนะนำระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สชื่อ Linux Mint ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์การใช้งาน

    • Linux ถึงจุดเปลี่ยน…
    • มาทำความรู้จักกับ Linux Mint
    • ใช้ Windows จนชิน…ปี 2556 แล้วลองสลับมาใช้ Linux ดูไหม
    • Windows ทำได้ Linux หล่ะทำได้ไหม แล้วอะไรที่ Windows ทำไม่ได้

    2.เล่าเรื่องที่ม.อ.ซื้อ Microsoft Licenses อย่างไร อะไรบ้าง และใครได้ใช้ประโยชน์

    • Microsoft มีทั้งจุดดีและจุดด้อยครับ หาก ม.อ. ไม่ซื้อเลยก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยหาใช้ของเถื่อนมาใช้อยู่ดี
    • ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเงินที่ลงทุนไป
    • สิทธิประโยชน์ที่ Microsoft ให้ ม.อ. มีอะไรบ้าง บุคลากร, นักศึกษา, ห้อง Lab
    • สถิติการดาวน์โหลดและการลงทะเบียนเป็นจำนวนเท่าไหร่

    3.เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” ตัวอย่างหัวข้อในการเสวนา

    • การใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพื่อนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์จริงหรือไม่?
    • มีคณะไหนในชุมชน ม.อ. ประกาศไม่สนับสนุนซอฟร์แวร์เถื่อนหรือคิดจะทำแบบเป็นรูปธรรมบ้าง?
    • อนาคตของ open source ใน ม.อ. ทำอย่างไรจะผลักดันให้เกิดขึ้น?
    • การทำวิจัยสถาบันเพื่อสำรวจการใช้งานแต่ละแห่งโดยเฉพาะธุรการ อาจารย์ ใช้ Microsoft ทำอะไร ใช้อะไรบ้าง จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
    • การใช้ Linux มีข้อดีจริงหรือไม่ในเรื่องเหล่านี้เมื่อเทียบกับ Microsoft?
      – ลดปริมาณการละเมิดลิขสิทธิ์ (แผ่นเถื่อน)
      – นักศึกษาได้ประโยชน์ในเชิงพัฒนาต่อยอดความรู้ด้าน open source
      – เกิดการวิจัยด้านซอฟต์แวร์ open source ใมหาวิทยาลัยเพื่อให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยวิจัย
      – ม.อ.เป็นตัวอย่างการใช้ซอฟต์แวร์ open source อย่างจริงจังเป็นการสร้างจุดแข็งให้กับองค์กร
      – ม.อ.บริการวิชาการให้กับชุมชน อบรมการใช้งาน Linux ให้กับชุมชนและท้องถิ่น

    กำหนดการ
    09.00-10.00 น. แนะนำ Linux Mint

    • โดยคุณศิริพงษ์ ศิริวรรณ ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

    10.00-10.15 น. พักเบรค
    10.15-10.50 น. บอกเล่าเรื่อง Microsoft Licences ที่ม.อ.ซื้อ

    • โดยเกรียงไกร หนูทองคำ ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.

    10.50-12.15 น. เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” ร่วมเสวนาโดย

    • คุณวิบูลย์ วราสิทธิชัย ประธานชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • รศ.ปัญญรักษ์ งามศรีตระกูล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประธานชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สมัยแรก
    • รศ.ดร.วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
    • รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์

    12.15-13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน

    แจกแผ่น DVD Linux Mint สำหรับผู้ร่วมงานทุกท่าน
    พร้อมร่วมสนุกชิงรางวัล
    1. USB flash drive 16GB จำนวน 2 รางวัล
    2. ตุ๊กตาพวกกุญแจรูปนกเพนกวิน 2 รางวัล
    สนับสนุนโดยชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ม.อ.

    รายชื่อผู้แจ้งชื่อเข้าร่วม

    1. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ ม.อ.
    2. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
    3. สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    4. สมชาย วนธนศิลป์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    5. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย ม.อ.
    6. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ.
    7. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    8. ธีรวัฒน์ แตระกุล คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    9. ภูเมศ จารุพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.
    10. กฤตกร อินแพง คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.
    11. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
    12. จันทนา เพ็ชรรัตน์ สำนักวิจัยและพัฒนา
    13. นาลิวัน หีมเห็ม สำนักวิจัยและพัฒนา
    14. ณัฐพล เพชรจิระวรพงศ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    15. ศุภกร  เพ็ชรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
    16. จรรยา เพชรหวน คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
    17. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
    18. ครูดนรอฝาด โส๊ะหัด โรงเรียนพัฒนาศาสตร์มูลนิธิ จ.สงขลา
    19. ผศ. ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ม.อ.
    20. เลียง คูบุรัตถ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.
    21. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    22. เชวง ภควัตชัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
    23. เนาวรัตน์ ทองไทย ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    24. อำนาจ สุคนเขตร์ สำนักวิทยบริการ ม.อ.
    25. ธีรพันธุ์ บุญราช คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    26. น.ส.จุฑามาศ มากบุญ นักศึกษาฝึกงาน คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    27. น.ส. จุฑารัตน์ ปลื้มใจ นักศึกษาฝึกงาน คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    28. นายปัณณธร พูลสวัสดิ์ นักศึกษาฝึกงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    29. สมคิด อินทจักร คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
  • ติว “VirtualBox Networking + vi + Shell Scripts”

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 28 ก.พ. 56 (พฤหัส) เวลา 09.00 – 16.30 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยง ที่ห้อง 101 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ (ดูรายชื่อผู้เข้าร่วมติว)

    ติว “VirtualBox Networking + vi + Shell Scripts”

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของม.อ.วิทยาเขตต่างๆ

    วันและเวลา

    • วันที่ 28 ก.พ. 56 เวลา 09.00 – 16.30 น.

    สถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้

    • ห้อง 101 เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 26 เครื่อง (ผู้เรียนจะนำโน้ตบุ๊คมาเองก็ได้)

    ระบบปฏิบัติการที่ใช้

    • Linux Mint/Ubuntu
    • Microsoft Windows (เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้อง 101)

    เนื้อหา

    • ฝึกปฏิบัติใช้ Oracle VirtualBox เพื่อทดสอบเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่อง และทดสอบระบบงานที่มีเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์หลายเครื่องอยู่ภายใน VirtualBox Networking
    • ฝึกปฏิบัติการใช้เอดิเตอร์ vi เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับแอดมิน
    • ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม Linux Shell Script

    รายละเอียดหัวข้อติว
    ช่วงเช้า

    1. VirtualBox Networking (NAT, Bridged Adapter, Internal Network, Host-only Adapter) แต่ละแบบทำงานอย่างไร
    2. โปรแกรมที่นำมาใช้เป็น Domain Name Resolver เพื่อทดสอบใน VirtualBox Networking
    3. ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ทำเป็น Router แบ่ง subnet มากกว่า 1 net เพื่อทดสอบใน VirtualBox Networking

    ช่วงบ่าย

    1. เอดิเตอร์ vi
    2. แนะนำโปรแกรม Shell Script จากตัวอย่างในงานจริง ทั้งแบบรันตามต้องการ และสั่งทำงานผ่าน crontab
    3. การเขียนโปรแกรม Shell Script

    วิทยากร

    • วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • อ.ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วมติว

    1. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    2. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    3. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    4. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    5. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    6. อาทิตย์ อรุณศิวกุล งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    7. ธีรพันธุ์ บุญราช ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    8. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    9. ทิพาพร พัฒนศิริ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    10. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    11. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    12. ศุภกร  เพ็ชรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ (จอมขวัญ สุวรรณมณี สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ แจ้งยกเลิก)
    13. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (fb: Nick Justice)
    14. กิตติพัฒน์ อุบลกาญจน์ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ
    15. ปิยะวัชร์ จูงศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    16. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    17. พัฒนาวดี ศิวติณฑุโก คณะวิศวกรรมศาสตร์
    18. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    19. สราวุฒิ เลิศล้ำไตรภพ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    20. เกียรติศักดิ์ คมขำ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    21. ศรายุทธ จุลแก้ว ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    22. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    23. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์
    24. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    25. โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    26. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    27. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่

    (ปิดรับสมัคร)