Author: thichaluk.s

  • Setup และ Teardown (Robot Freamwork)

    หลังจากที่เราเริ่มเขียน Test Script ไปสักพัก ก็จะเริ่มมี Test Step ที่เรามักต้องทำซ้ำ ๆ กัน เช่นเวลาเริ่มต้นและส่วนท้ายของ Test Script ทำให้ Test Script ของเราดูรก อ่านยาก มี Code ซ้ำ ๆ กันเต็มไปหมด และ Test Script เองก็มี Step ที่ไม่เกี่ยวกับการ Test ปนมาเพียบเลย

    วันนี้เลยขอเสนอให้ลองใช้ Setup และ Tear Down เพื่อช่วยลด Step เหล่านี้จาก Test Script ของเราดู โดย Setup และ Tear Down คืออะไรมารู้จักกัน

    Suite Setup = ก่อนที่จะเริ่ม Run Test ทั้งหมด จะต้องเริ่มการทำงานตัวนี้ก่อน

    Suite Teardown = หลังจาก Run Test เสร็จทั้งหมดแล้วจะสั่งให้ทำอะไรตอนสุดท้าย

    Test Setup = ก่อนที่จะเริ่มเข้า Test Case ให้เริ่มการกระทำนี้ก่อน

    Test Teardown = หลังจากจบ Test Case แต่ละ Case ให้ทำการกระทำนี้

    ตัวอย่าง

    จากรูปด้านบน ก่อนที่จะเริ่ม Run Test ทั้งหมด ให้เริ่มทำการเปิด Browser ก่อน เมื่อเริ่ม Test Case ให้แสดงคำว่า Start!!! และเมื่อจบ Test Case ให้แสดงคำว่า “Finish!!!” แล้วพอจบ Test ให้ทำการ ปิด Browser นี้

    ดังนั้น กรณีหากเรามี Case แค่ Case เดียวอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ Test Setup กับ Test Teardown ก็ได้ เพราะว่าเราสามารถใช้ Suite Setup ในการเริ่มต้น และ Suite Teardown ในการจบการกระทำเลยก็ได้

    ***สมมติว่า Test Case เรามี Pre-Condition ที่มี Step เหมือนกันทุก Test Case ก็ควรเอา Step นี้อยู่ใน Test Setup

    ข้อดีของ Setup และ Teardown

    • ลดความซ้ำซ้อนของแต่ละ Test Script ลง ช่วยให้ดูง่ายขึ้น
    • ช่วยทำให้เราโฟกัส กับสิ่งที่เราต้องการจะ Test ในแต่ละ Test Case ได้จริงๆ โดยไม่มี Setup Step และ Teardown Step มาทำให้ดูวุ่นวาย เกินความจำเป็น
    • ช่วยเครียร์ Test Environment เสมอก่อนจากรัน Test และหลังจากรัน Test เสร็จ
    • ถึง Test จะ Failed  แต่ Teardown ก็ยังทำงานต่อ จึงมั่นใจได้ว่า Test Environment ของเราสะอาดเสมอก่อนจะรัน Test ข้อต่อไป ^_^
  • มารู้จัก Web Element Locator กัน

    ทำไม Tester ต้องรู้จัก Web Element Locator ก็เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนเห็นบนหน้าเว็บ มันคือ Web Element และ Robot Framework ก็รู้จัก หน้าเว็บจาก  Element Locator ที่เหล่า Tester กำหนดให้ในแต่ละ Test script นั่นเองค่ะ ดังนั้น Tester ควรจะต้องรู้จัก Element Locator และวิธีการใช้งานค่ะ

    ตัวอย่าง Locator ของ Selenium library ดังรูป

    Element Locator มีหลายประเภท ดังนี้
    1. Id
    Element ที่มีการกำหนด id ไว้ ซึ่งเราควรจะเลือกใช้ locator นี้ค่ะ มีความเสถียรมากสุด เพราะถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนย้ายตำแหน่งของ Element นี้ จะไม่กระทบ Test script ของเราเลยค่ะ
    ตัวอย่าง locator ::  id=u_0_n;

    2. Name
    Element ที่มีการกำหนด name  ไว้
    ตัวอย่าง locator ::  name=lastname

    3. Css Selector
    Css เอาไว้กำหนด style รูปแบบของ element นั้นๆ
    ตัวอย่าง locator :: css=input#u_0_s 

    4. XPath
    XPath คืือ เป็นเส้นทางการเข้าถึงโครงสร้างภายในส่วนต่างๆของ Web
    ตัวอย่าง locator :: xpath=//*[@id=”u_0_z”]

    *เพื่อ performance ของการทดสอบที่ดี ขอแนะนำว่า เราควรจะใช้ locator ลำดับที่ 1 จนถึง 4 ตามลำดับเลยจ้า

    ID –> NAME –> CSS –> XPATH

    ตัวอย่าง Test Script ที่ใช้ Element Locator รูปแบบต่างๆ

    วิธีการหา Element Locator

    หากเราต้องการหา Locator  ในหน้า Web สามารถทำได้ง่ายมากๆ ดังนี้

    1. Open website ที่ต้องการจะทดสอบขึ้นมา
    2. เอาเมาส์ไปจิ้ม ตรง Element ที่ต้องการ
    3. กดปุ่ม F12

    เท่านี้เราก็เริ่มเขียน Test script โดยใช้ Locator เพื่อทดสอบ Web site กันได้แล้วค่ะ

  • Run automated test ด้วย Chrome แบบที่ไม่มี web browser แสดงขึ้นมา (Headless Mode)

    สืบเนื่องจากการทำ Automated test แล้วรำคาญการเปิดหน้าต่างการทำงานขึ้นมา เพราะอยากจะรู้แค่ผลลัพธ์ก็เท่านั้น วันนี้เลยมาเสนอ Headless Mode feature เป็นของ Chrome สามารถ run automated test ด้วย Chrome แบบที่ไม่มี web browser แสดงขึ้นมา หรือที่เรียกกันว่า Headless Mode นั่นเองค่ะ ไม่ต้องDownload อะไรใด ๆ เลย เพียงแค่เราติดตั้ง Chrome เท่านั้นก็สามารถใช้งาน feature นี้ได้แร่ะ (Version 60 ขึ้นไป) ขั้นตอนมาดูกันเลย ในตัวอย่างนี้จะเป็นการเขียน Code ทดสอบด้วย Selenium Library จ้า

    การตั้งค่า Headless Mode คำสั่งดังนี้

    ตัวอย่าง Test script สำหรับรันเทส web แบบ Headless mode ตามด้านล่างเลยค่ะ

    หาก Run แล้วจะพบว่าไม่มี Chrome Browser เปิดขึ้นมาให้กวนใจอีกต่อไป แต่เมื่อเข้าไปดูใน Test Report ก็จะพบว่ายังสามารถ Run Automated Test ได้ถูกต้องด้วยค่ะ

  • การนำเสนอรูปภาพให้น่าสนใจใน Power Point ด้วย Slide master

    ตามหัวข้อเลยนะคะ อาจเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนทราบอยู่แล้ว ถือว่าเป็นการทบทวนแล้วกันนะคะ มาดูกันเลย

    การสร้าง Logo ให้กับทุกหน้าใน slide

    ปัญหา : ถ้าเราต้องมาจัดวางโลโก้อยู่เองทีละหน้าก็ต้องใช้เวลาในการจัดตำแหน่ง ถึงแม้จะ Copy ได้ก็เถอะ Slide master ช่วยได้ค่ะ

    1.ไปที่แท็บเมนู View –> Slide Master คลิกขวาที่แท็บด้านซ้ายเลือก Insert Layout

    2.ไปที่แท็บเมนู Insert –> Picture เลือกรูปที่ต้องการ

    3.จากนั้นเลื่อนกล่อง Picture มาบริเวณที่เราต้องการแสดงโลโก้ ในที่นี้เลื่อนมาบริเวณมุมขวาบน

    4.คลิกขวาที่ Slide ที่กำลังจัดทำ Rename Layout เพื่อแก้ไขชื่อ Layout

    5.ไปที่แท็บ Slide Master –> Close Master View

    6.ที่แท็บ Home –> New Slide –> Custom Logo Layout

     

    7.คลิกขวา New Slide ก็จะได้ Layout ที่มีโลโก้ตามต้องการ

    การสร้างหน้าสำหรับแนะนำตัว

    1.ไปที่แท็บเมนู View –> Slide Master คลิกขวาที่แท็บด้านซ้ายเลือก Insert Layout

    2.ไปที่แท็บ Slide Master –> Insert Placeholder –> Picture

    3.ไปที่แท็บ Format –> Edit Shape –> Change Shape –> Oval เพื่อเปลี่ยน Shape ตามต้องการ

    4.ไปที่แท็บ Insert –> Shapes –> Line เพื่อสร้างเส้นแบ่งระหว่างรูปภาพและเนื้อหา

    5.ไปที่แท็บ Slide Master –> Insert Placeholder –> Text เพื่อใส่เนื้อหา

    6.คลิกขวาที่ Slide ที่กำลังจัดทำ Rename Layout เพื่อแก้ไขชื่อ Layout

    7.ไปที่แท็บ Slide Master –> Close Master View

    8.ที่แท็บ Home –> New Slide –> Custom Layout

    1. สามารถเพิ่มรูปภาพและพิมพ์ข้อความเนื้อหาเข้าไปตามต้องการ โดยมีรูปแบบตาม Custom Layout ที่ได้ออกแบบไว้

    การนำเสนอรูปภาพจำนวนหลาย ๆ รูปใน 1 slide ให้น่าสนใจ

    1.ไปที่แท็บเมนู View –> Slide Master คลิกขวาที่แท็บด้านซ้ายเลือก Insert Layout แล้วลบ Label ต่าง ๆ ออกให้หมด

    2.ไปที่แท็บ Slide Master –> Insert Placeholder –> Picture

    3.ลากวางในตำแหน่งตามต้องการ

    4.คัดลอก Picture อันที่ทำเรียบร้อยแล้วมาวางต่อ ๆ กันแล้วปรับขนาด ดังรูป

    5.ไปที่แท็บ Slide Master –> Close Master View

    6.ที่แท็บ Home –> New Slide –> Custom Layout

    7.สามารถเพิ่มรูปตามต้องการได้ และสามารถเพิ่มรูปโดยไม่ตรง Resize ขนาด ไม่ต้องปรับอะไร

    วันนี้แค่นี้ก่อนแล้วกันนะคะ ขอบคุณทุกคนที่ติดตามค่ะ

  • การสร้างฟอร์มกรอกข้อมูลใน Word

    เราอาจจะสร้างฟอร์มเพื่อส่งให้ผู้อื่นกรอกเอกสาร ตามฟอร์มที่เราออกแบบไว้ โดยจะต้องไปเรียกใช้ Develper ที่แถบ Ribbon โดยไปที่เมนู File –> Options –> Customize Ribbon เลือก Develper ดังรูป

    จะเห็นว่ามีแถบ Developer ปรากฏอยู่

    เรามาเริ่มสร้างฟอร์มกัน ในที่นี้จะสร้างฟอร์มเล็ก ๆ ดังรูป

    จากนั้นคลิกแถบ Developer แต่ละ Control ที่จะนำมาใช้ แต่ละตัวทำหน้าที่อะไรบ้าง

    • หมายเลข 1 เป็นข้อความที่สามารถจัดรูปแบบได้
    • หมายเลข 2 เป็นข้อความที่กรอกอิสระ
    • หมายเลข 3 เป็นการแทรกรูปภาพ
    • หมายเลข 4 เป็นฟิลด์รายการที่มีตัวเลือก สามารถเลือกได้
    • หมายเลข 5 เป็นการแทรกฟิลด์แบบมีตัวเลือก เช่นเดียวกับหมายเลข 4
    • หมายเลข 6 เป็นรูปแบบวันที่ให้เลือก

     

    จากนั้นเมื่อเรารู้จักหน้าที่ของแต่ละ Control แล้ว เราก็เลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ โดยในส่วนของตำแหน่ง เราจะใช้ Combo box เมื่อคลิก Combo box  1 ครั้งให้ไปเลือกที่ Properties จากนั้นจะปรากฏดังรูป

    เมื่อเรียบร้อยแล้วจะได้ดังรูป

    เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อความหัวข้อ คือให้กรอกได้เฉพาะข้อมูลที่มีช่องให้กรอกเท่านั้น โดยไปที่แถบ Developer –> Restrict Editing จะแสดงดังรูป

    จากนั้นที่ข้อ 2 ให้ติ๊กเลือกและกำหนดเป็น Filling in forms เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อความ แล้วคลิกปุ่ม “Yes, Start Enforcing Protection” จะแสดง Dialog ดังรูป

    ระบุ Password ที่จะใช้ป้องกันการแก้ไขข้อความ จากนั้นคลกปุ่ม “OK” จากนั้นลองไปคลิกที่หัวข้อจะไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ จะแก้ไข/กรอกได้เฉพาะที่ให้กรอกข้อมูลนั้น

     

     

     

     

     

     

  • การทดสอบแบบอัตโนมัติ ด้วย Robot framework กับ Selenium Library (ตอนที่ 2 การใช้งาน)

    มาลุยกันต่อในตอนที่ 2 กันค่ะ อันดับแรกต้องทำการติดตั้ง Selenium WebDriver กันก่อน สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่ https://www.seleniumhq.org/download/ เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วเรามาทำความรู้จักโครงสร้างหลักใน Robot Framework กันค่ะ

    ในส่วนของ Setting จะเป็นการกำหนด Library ในที่นี้จะใช้ Selenium2Lirary

    ในส่วนของ Keyword จะใช้ในกรณีที่เราต้องการที่จะสร้าง Keyword ของเราขึ้นมาใช้งานเอง ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะในไฟล์นี้เท่านั้น

    ในส่วนของ Variables คือการกำหนดตัวแปร สำหรับการใช้งาน

    ในส่วนของ Test Cases คือส่วนของการเขียน Test Cases ซึ่งสิ่งสำคัญในส่วนนี้คือ ชื่อ Test Cases ถ้าไม่มีการตั้งชื่อให้กับ Test Cases ก็จะไม่สามารถ Run คำสั่งทั้งหมดในไฟล์นี้ได้

    ***โครงสร้างที่สำคัญในการ Run Test Case คือ Setting และ Test Cases ซึ่งในการสร้างไฟล์สำหรับ Test ด้วย Robot ทุกครั้ง จะต้องมี 2 ส่วนนี้ มิฉะนั้น ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ส่วน Keywords กับ Variables อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

    จาก Test case ตัวอย่างต้องการจะค้นหา Google ด้วยคำว่า hello world โดยเปิดผ่าน Google Chrome เมื่อเขียนคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ก็ Save ไฟล์เป็น Text ธรรมดา ตัวอย่างจะบันทึกชื่อเป็น test.robot ดังรูป

    จากนั้นเรามา Run การทดสอบแบบอัตโนมัติกันค่ะ เปิด Command Prompt ขึ้นมาค่ะ

    ผลลัพธ์จะแสดงอัตโนมัติ ดังรูปค่ะ

    สามารถจะดู Log และ Report จากการทดสอบได้ดังรูป

    เห็นมั๊ยค่ะว่าการใช้งานไม่ยุ่งยากเลย แถมมี log มี report ให้ดูด้วยนะเออ ครั้งนี้เป็นการใช้งานเบื้องต้น เดี๋ยวตอนหน้าจะนำเสนอการใช้งานคำสั่งในรูปแบบอื่น ๆ กันบ้างนะคะ อย่าลืมติดตามกันหล่ะ 

  • การทดสอบแบบอัตโนมัติ ด้วย Robot framework กับ Selenium Library (ตอนที่ 1 การติดตั้ง)

    วันนี้จะมาเล่าเรื่องการทดสอบแบบ Automate ด้วย Robot framework ค่ะ Robot framework ก็คือการทดสอบการทำงานของระบบที่สร้างขึ้น ให้ง่ายและรวดเร็วด้วยการทำ Automate Testing ซึ่งจุดขายของมันคือ Robot Framework สามารถ Test data , executes test cases ออกมาเป็น report และ logs ได้

    Robot Framework implement มาจาก ภาษา Python ดังนั้นเราก็ต้อง install Python กันก่อน โดย Dowloadที่ https://www.python.org/ftp/python/2.7.8/python-2.7.8.msi  ติดตั้งง่าย ๆ มี Next คลิก Next 

    เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วมาลองใช้คำสั่งใน Command line ดังรูป ถ้าได้ผลลัพธ์ดังรูปแสดงว่าเราติดตั้ง Python เรียบร้อยแล้วค่ะ

    ต่อไปก็ทำการ Download get-pip.py โดย Download ได้ที่ https://bootstrap.pypa.io/get-pip.py จากนั้นเปิด Command line ใช้คำสั่งเพื่อติดตั้ง pip เรียกจากที่ไฟล์เก็บอยู่ ดังรูป

    Set Environment Variables ไปที่ This PC คลิกขวา à Properties à Advanced system settings à Environment Variables คลิก New ดังรูป จากนั้นคลิกปุ่ม OK

    ที่ Path ทำการ Double click ขึ้นมา จากนั้น New เพิ่มดังรูป

    จากนั้นเปิด Command line พิมพ์คำสั่งเพื่อติดตั้งส่วน library ที่จำเป็นในการทดสอบ คำสั่งดังนี้

    เมื่อเราลงเสร็จ ลองใช้ คำสั่ง pip freeze จะเห็นว่า มันมี library ตามที่เราติดตั้ง ดังรูป

    Tools หรือ IDE ที่จะใช้ในการเขียน Robot Framework จะเลือกเอาตามที่ถนัดเลยค่ะ บทความครั้งหน้าเราจะมาลองใช้งานกันค่ะ

  • เทคนิคการใช้ Word ในการทำบรรณานุกรม

    ในการทำเอกสารงานวิชาการ/งานวิจัย เมื่อเราอ่านเอกสารจากบทความหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วมาเขียนในงานของเราจะต้องมีการอ้างอิงที่มาของเนื้อหาดังกล่าว โดยไปที่ References คลิก Insert Citation  คลิก Add New Source จะแสดง Dialog ดังรูป

    • Type of Source ให้เลือกประเภทของแหล่งข้อมูลเนื้อหาตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, เอกสารวิชาการ, Conference Proceeding, รายงาน, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์, จาก Website ต่าง ๆ ก็สามารถทำอ้างอิงได้ ในที่นี้ขอเลือก Book
    • Author ระบุชื่อผู้แต่ง
    • Title ระบุชื่อหนังสือ
    • Year ระบุปีที่พิมพ์
    • City ระบุชื่อเมืองที่พิมพ์
    • Publisher ระบุสำนักพิมพ์
      จากนั้นคลิก OK ก็จะได้อ้างอิง ดังรูป

      พอเราทำเอกสารเสร็จทั้งหมดไปถึงหน้าสุดท้ายแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องทำบรรณานุกรมแล้ว ไปที่ References ที่ Style เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้มาตรฐานการอ้างอิงแบบไหน ส่วนใหญ่ก็จะเป็น APA จากนั้นคลิกที่ Bibliography คลิกเลือก Bibliography ก็จะได้บรรณานุกรม ดังรูปโดยที่เราสามารถปรับแต่งขนาดตัวอักษร จัดรูปแบบ และยังสามารถอัพเดตอ้างอิงและบรรณานุกรมได้ด้วยค่ะ อาจจะเป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คิดว่าคงมีประโยชน์กับผู้ที่ทำเอกสารงานวิชาการ/งานวิจัยนะคะ 

     

  • ภาพสวยประกอบบน office ด้วย Pickit

    ในการนำเสนองานต่างๆ สิ่งที่ช่วยให้การนำเสนอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น คือ รูปภาพและรูปแบบการจัดวาง ซึ่งใน office จะมี Add-in ที่ชื่อว่า Pickit ซึ่งเป็นเป็นเครื่องมือที่ช่วยการค้นหาภาพตามที่เราต้องการนำมาใช้ในงานนำเสนอของเราได้ มาดูขั้นตอนการใช้งานกันเลยค่ะ 

    1.เริ่มต้นเราต้องทำการติดตั้ง Add-in ซึ่งสามารถติดตั้งได้ใน Microsoft office (Word, excel, power point) ในที่นี้จะนำเสนอในส่วนของ power point ไปยังแท็บ INSERT > Store

     

    2.เป็นหน้าจอ Apps for Office ในช่องค้นหา พิมพ์คำว่า “Pickit” เมื่อเจอรายการ “Picket Free Images” ให้กดปุ่ม Add

    3.เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อย โปรแกรมจะปรากฎอยู่ด้านขวาของหน้าจอ

    4.หากโปรแกรมไม่ขึ้นมาสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ที่ INSERT> My Apps > Pickit Free Images

    5.จากนั้นพิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการหรือเลือกภาพตามหมวดหมู่ต้องการได้ ในตัวอย่างนี้ข้อยกตัวอย่าง คำว่า “network” ระบบก็จะแสดงรายการภาพ

    6.จากนั้นเลือกภาพที่ต้องการ ก็กดปุ่ม Insert เพื่อดึงภาพมาใช้ในงานของเรา

     

    เพียงเท่านี้เราก็ได้ภาพสำหรับตกแต่งให้งานนำเสนอของเรา น่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ภาพดังกล่าว ยังเป็น “ภาพฟรี” อีกด้วย