Author: grianggrai.n

  • Install from scratch – licensing (2)

    ใช้ plugin ชื่อว่า WPO365 วิธีการตั้งค่าเพื่อใช้งาน single sign on ของ Microsoft365 ในการล็อคอินเข้าระบบของ WordPress

    Authentication
    1. ต้องเซ็ต HTTPS ที่เว็บให้เสร็จเรียบร้อย
    2. สำคัญ!!! จำเป็นต้องมีสิทธิ์ Global Administrator บน Azure
    3. Login เข้าเว็บ https://portal.azure.com มองหา Azure Active Directory
    4. ซ้ายมือเลื่อนหาคำว่า App registrations
    5. คลิก + New registration แล้วกรอกชื่อที่ต้องการในช่อง Name ในส่วนของ Supported account types เลือก Accounts in this organizational directory only (Prince of Songkla University only – Single tenant)
    1. เลื่อนลงมาจนเจอคำว่า Redirect URI (Optional) เลือก Web ในช่อง select platform และกรอกชื่อเว็บ https://licensing.psu.ac.th/wp-admin/ ลงไปในช่องถัดมา แล้วคลิก Register
    1. หน้าถัดไป คลิก Token configuration บนเมนูซ้ายมือ จากนั้นคลิก + Add optional claim เลือก Token Type เป็น ID และเลือกหัวข้อด้านล่าง ดังนี้ email, family_name, given_name และ upn แล้วคลิกปุ่ม Add จะมีให้ Add optional claim เพิ่ม ให้ติ๊กถูกแล้วกด Turn on the Microsoft Graph email, profile permission (required for claims to appear in token). แล้ว Add จะได้
    1. คลิก API permissions ที่เมนูซ้ายมือ แล้วคลิก + Add permission คลิก Microsoft Graph แล้วคลิก Delegated และเลือกหัวข้อดังต่อไปนี้ (พิมพ์ในช่อง Search ได้เลย) email, offline_access, openid และ profile แล้วคลิก Add permissions

    จากนั้นคลิก Grant admin consent for Prince of Songkla University แล้วคลิก Yes

    1. คลิก Certificates & Secrets ที่เมนูซ้ายมือ คลิก  + New client secret ตั้งชื่อในช่อง Description และเลือกวันหมดอายุ คลิก Add จากนั้นให้ copy ค่าของช่อง Value เก็บไว้
    1. กลับมาที่ https://licensing.psu.ac.th หลังจากติดตั้งปลักอินชื่อ WPO365 | LOGIN และเปิดใช้งาน (activate) เรียบร้อยแล้ว
    2. คลิก WPO365 ที่ด้านซ้ายมือล่างสุด เปิดใช้งาน SINGLE SIGN-ON (SSO) แล้วคลิก configure
    3. กรอกข้อมูลดังนี้
      1. Select Identity Provider (IdP) เลือก Azure AD (default)
      2. Select SSO-protocol เลือก OpenID Connect (default)
      3. Select OpenID Connect flow เลือก Auth.-code flow (recommended)
      4. Application (Client) Secret นำค่าที่ copy เก็บไว้ในข้อ 9 มาใส่ช่องนี้
      5. Directory (tenant) ID นำค่าที่ได้จากหน้า Overview ของ lsc ชื่อฟิลด์ Directory (tenant) ID
      6. Application (Client) ID นำค่าที่ได้จากหน้า Overview ของ lsc ชื่อฟิลด์ Application (client) ID
      7. Redirect URI View in Azure Portal ใส่ว่า https://licensing.psu.ac.th/
      8. Domain hint View Custom domain names ใส่ว่า psu.ac.th, email.psu.ac.th
      9. Add prompt=select_account parameter ติ๊กถูก
      10. กด Save configuration ด้านล่าง แล้วจะมีหน้า Important ขึ้นมากด Confirm
    4. คลิกแท็บ User Registeration ด้านล่างกรอกดังนี้
      1. Custom domains View Custom domain names กรอก psu.ac.th และคลิก + เพิ่มอีกช่องพิมพ์ email.psu.ac.th
      2. เลื่อนลงมาล่างสุดกด Save configuration
    5. คลิกแท็บ Plugin self-test เลื่อนลงมาด้านล่าง กด Start self-test จะถูก redirect ไปหน้า log in ของ mail ให้ Log in ตามปกติ แล้วจะเด้งกลับมาหน้าของ https://licensing.psu.ac.th หากล็อคอินไม่ผ่านให้กลับไปหน้า https://portal.azure.com คลิก App registrations แล้วเลือก lsc แล้วคลิก Authentication คลิก Add URI เพิ่ม https://licensing.psu.ac.th เข้าไปอีก 1 url กด save กลับไปล็อคอินอีกครั้งน่าจะได้แล้ว
  • Install from scratch – licensing (1)

    ติดตั้งปรับแต่ง Ubuntu 22.04 เพื่อเตรียมสำหรับติดตั้ง WordPress บน apache2 และติดตั้ง WordPress

    Host setting
    1. เครื่อง Server มี 2 ชื่อ A record เป็น server-name1.psu.ac.th Cname เป็น server-name.psu.ac.th
    2. ติดตั้ง Ubuntu 22.04 ข้ามเรื่องการติดตั้ง Ubuntu ไปนะครับ
    3. จะได้ username: group ที่สามารถเรียกใช้ sudo ได้ตั้งแต่เริ่มต้นตามที่ติดตั้ง
    4. sudo apt update && sudo apt dist-upgrade -y && sudo apt autopurge -y เพื่อปรับปรุง software ต่าง ๆ ให้เป็นรุ่นปัจจุบัน
    5. sudo reboot ในกรณีที่มี kernel ใหม่ต้องรีบูตเพื่อเปลี่ยน kernel
    6. sudo apt install mysql-server apache2 php libapache2-mod-php php-mysql php-gd php-imagick php-xml php-curl php-mbstring php-intl php-zip unzip php-apcu
    7. sudo a2enmod ssl rewrite headers
    8. เปลี่ยนเป็น user root ด้วยคำสั่ง sudo -i
    9. cd /etc/ssl/private
    10. cp /home/username/certificate/* . (ต้องได้รับไฟล์ certificate มาเรียบร้อยแล้วนะครับ ขอข้ามไปเรื่องการจัดเตรียมไฟล์ certificate) ในตัวอย่างนี้จะมีไฟล์เดียวคือ star.psu.ac.th-combined.crt
    11. openssl dhparam -out /etc/ssl/private/dhparams_4096.pem
    12. /etc/apache2/sites-available
    13. vi default-ssl.conf
    <IfModule mod_ssl.c>
    SSLUseStapling On
    SSLStaplingCache "shmcb:logs/ssl_stapling(32768)"
    <VirtualHost _default_:443>
    ServerAdmin someone@somedomain.com
    ServerName server-name1.psu.ac.th

    DocumentRoot /var/www/html

    ErrorLog ${APACHE_LOG_DIR}/error.log
    CustomLog ${APACHE_LOG_DIR}/access.log combined

    SSLEngine on

    SSLCertificateFile /etc/ssl/private/star.psu.ac.th-combined.crt

    SSLOpenSSLConfCmd DHParameters "/etc/ssl/private/dhparam.pem"
    SSLOpenSSLConfCmd ECDHParameters brainpoolP512r1
    SSLOpenSSLConfCmd Curves brainpoolP512r1:sect571r1:secp521r1:secp384r1

    #A+
    SSLProtocol all -SSLv2 -SSLv3 -TLSv1 -TLSv1.1
    SSLHonorCipherOrder on
    SSLCipherSuite ECDH+AESGCM:DH+AESGCM:ECDH+AES256:DH+AES256:ECDH+AES128:DH+AES:RSA+AESGCM:RSA+AES:!aNULL:!MD5:!DSS
    SSLCompression off
    #Header add Strict-Transport-Security "max-age=15768000;includeSubDomains"
    Header always set Strict-Transport-Security "max-age=63072000"

    <FilesMatch "\.(cgi|shtml|phtml|php)$">
    SSLOptions +StdEnvVars
    </FilesMatch>
    <Directory /usr/lib/cgi-bin>
    SSLOptions +StdEnvVars
    </Directory>

    </VirtualHost>
    </IfModule>
    1. vi licensing.conf
    <virtualHost *:80>
        Documentroot /var/www/html/lsc
        ServerName server-name.psu.ac.th
        ErrorLog ${APACHE_LOG_DIR}/licensing_error_log
        CustomLog ${APACHE_LOG_DIR}/licensing_access_log common
        Options -Indexes
        RewriteEngine On
        RewriteRule (.*) https://server-name.psu.ac.th
        RewriteCond %{REQUEST_METHOD} ^(TRACE|TRACK) [NC]
        RewriteRule ^.* - [F]
    </virtualhost>
    1. vi licensing-ssl.conf
    <IfModule mod_ssl.c>
    SSLUseStapling On
    SSLStaplingCache "shmcb:logs/ssl_stapling(32768)"
            <VirtualHost *:443>
                    ServerAdmin someone@somedomain.com
                    ServerName server-name.psu.ac.th
                    DocumentRoot /var/www/html/lsc

                    LogLevel info
                    ErrorLog ${APACHE_LOG_DIR}/lsc-ssl-error.log
                    CustomLog ${APACHE_LOG_DIR}/lsc-ssl-access.log combined

                   SSLEngine on

                    SSLOpenSSLConfCmd DHParameters "/etc/ssl/private/dhparams_4096.pem"
                    SSLOpenSSLConfCmd ECDHParameters brainpoolP512r1
    SSLOpenSSLConfCmd Curves brainpoolP512r1:sect571r1:secp521r1:secp384r1

                    SSLCertificateFile /etc/ssl/private/star.psu.ac.th-combined.crt

    #A+
    SSLProtocol all -SSLv2 -SSLv3
    SSLHonorCipherOrder on
    SSLCipherSuite TLSv1.3 TLS_CHACHA20_POLY1305_SHA256:TLS_AES_256_GCM_SHA384
    SSLCipherSuite ECDH+AESGCM:DH+AESGCM:ECDH+AES256:DH+AES256:ECDH+AES128:DH+AES:RSA+AESGCM:RSA+AES:!aNULL:!MD5:!DSS
    SSLCompression off
    Header always set Strict-Transport-Security "max-age=63072000"

                    RewriteEngine on
                    RewriteCond %{REQUEST_METHOD} ^(TRACE|TRACK) [NC]
                    RewriteRule ^.* - [F]

                    Options -Indexes

                    <FilesMatch "\.(cgi|shtml|phtml|php)$">
                                    SSLOptions +StdEnvVars
                    </FilesMatch>

                    <Directory /var/www/html/lsc>
                            Options FollowSymLinks
                            AllowOverride All
                    </Directory>

                    <Directory /usr/lib/cgi-bin>
                                    SSLOptions +StdEnvVars
                    </Directory>
            </VirtualHost>
    </IfModule>
    1. a2ensite licensing.conf licensing-ssl.conf default-ssl.conf
    2. a2enmod headers
    3. systemctl restart apache2
    4. mysql
    CREATE USER 'username'@'localhost' IDENTIFIED BY 'password';
    create database licensing;
    GRANT ALL PRIVILEGES ON licensing.* TO 'username'@'localhost' WITH GRANT OPTION;
    quit
    1. cd /var/www/html
    2. wget https://wordpress.org/latest.zip
    3. unzip latest.zip
    4. rm latest.zip
    5. mv wordpress lsc
    6. chmod -R username:www-data .
    7. cd lsc
    8. chmod g+w .
    9. logout
    10. จบส่วนการตั้งค่า Host เพื่อเตรียมติดตั้ง WordPress
    11. เปิด browser ไปที่เว็บ http://licensing.psu.ac.th ซึ่งจะถูก redirect ไปที่ https://licensing.psu.ac.th โดยอัตโนมัติ
    12. กรอกข้อมูลสำหรับเชื่อมต่อให้เรียบร้อย และติดตั้ง wordpress ให้เรียบร้อย
    13. กลับมาที่ console หรือ terminal
    14. cd /var/www/html/lsc
    15. chmod og-w .
    16. sudo chown username:www-data .htaccess wp-config.php
    17. chmod og-w .htacess wp-config.php
    18. vi wp-config.php เพิ่มข้อความว่า
    /** Direct install plugin **/
    define('FS_METHOD', 'direct');
    1. cd /var/www/html/lsc/wp-content
    2. mkdir uploads upgrade languages
    3. sudo chown -R username:www-data uploads upgrade languages themes plugins
    4. chmod -R g+w uploads upgrade languages themes plugins เพื่อให้สามารถติดตั้ง plugin theme และ upload ไฟล์ขึ้นเว็บได้ เมื่อติดตั้ง themes และ plugins ได้จนพอใจแล้วสั่งคำสั่งต่อไปนี้ chmod -R g-w upgrades languages themes plugins
    5. จบส่วนติดตั้ง WordPress
  • Add an email account to Outlook

    วิธีเพิ่มอีเมลเข้าในโปรแกรม Microsoft Outlook

    1. เปิดโปรแกรม “Microsoft Outlook” (เวอร์ชั่นที่แนะนำ 2019 ขึ้นไป หรือ Office 365) ครับ คลิกปุ่มสตาร์ทเลื่อนหา Outlook ต้องเป็นโปรแกรมที่มาพร้อมกับชุด Office นะครับไม่ใช่ Outlook (New) บน Windows 11
    1. จะได้หน้าโปรแกรม Outlook ดังภาพ กรอกอีเมลลงไปในรูปแบบ username.s@psu.ac.th คลิก Connect
    1. จะเห็นได้ว่าหากเป็น Mail ของ Microsoft 365 ตัวโปรแกรมจะรู้ทันทีและเพิ่มให้โดยไม่ต้องกดอะไรเพิ่มในโปรแกรม Outlook เอาเครื่องหมายถูกออกจากช่อง Setup Outlook Mobile on my phone, too คลิก Done
    1. จะได้ดังภาพ
    1. สามารถใช้งานได้ตามอัธยาสัยครับ และหากต้องการย้ายเมล์จาก webmail เดิมมาให้อยู่ในเมล์ของ Microsoft 365 ให้ทำการเพิ่มบัญชีใหม่เข้าไปอีกดังนี้
    2. คลิกเมนู File ที่มุมบนซ้าย
    1. ได้ดังภาพ คลิก Add Account
    1. จะได้หน้าเพิ่มเมล์ พิมพ์เมล์ลงไปในรูปแบบ username.s@mail.psu.ac.th แต่ในตัวอย่าง ใช้อีเมลทดสอบชื่อ grianggrai.n@mail.psu.ac.th (หรือหากต้องการแอดอีเมลของ Google ของมหาวิทยาลัยก็พิมพ์ grianggrai.n@g.psu.ac.th สังเกตโดเมนข้างหลังจะเป็น @g.psu.ac.th) นะครับ คลิก Connect
    1. จะได้ดังภาพ คลิก IMAP
    1. จะได้หน้า IMAP Account Settings ให้กรอกข้อมูลตามภาพ แล้วกด Next
    1. ใส่รหัสผ่านของ Webmail.psu.ac.th คลิก Connect
    1. จะได้หน้าให้กรอกรหัสผ่านอีกครั้ง
    1. ให้แก้ตรงช่อง User Name ให้เอาคำว่า @mail.psu.ac.th ออกดังภาพ และพิมพ์รหัสผ่านอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ คลิก Ok
    1. จะได้ดังภาพ เอาเครื่องหมายถูกหน้า Set up Outlook Mobile on my phone, too ออกแล้วคลิก Done
    1. จะได้ดังภาพ สังเกตุว่ามีบัญชีอีเมลสองบัญชีแล้ว
    1. หากต้องการย้ายเมล์จากบัญชีที่ใช้ใน https://webmail.psu.ac.th ก็ให้คลิกที่บัญชีของ username.s@mail.psu.ac.th คลิกที่ Inbox แล้วคลิกจดหมายที่ต้องการย้าย แล้วคลิกเมาส์แช่ไว้ แล้วลากเมล์ฉบับนั้นไปปล่อยที่บัญชีของ username.s@psu.ac.th สามารถใช้วิธีลากแล้ววางนี้ได้ครั้งละมาก ๆ หลายฉบับได้ด้วย
    1. หากจำรหัสของ webmail ไม่ได้ติดต่อได้ที่ passport at psu.ac.th ครับ
  • How to import/export contact lists

    • เริ่มจาก log in เข้าระบบที่เว็บเมล์เดิม https://webmail.psu.ac.th คลิก Address
    • จะได้หน้า Address book ซึ่งประกอบด้วยรายชื่อผู้ติดต่อของเรา และให้เลื่อนลงมาล่างสุดจะมีส่วนของ Address book export
    • คลิก Export to CSV File
    • จะมีหน้าต่างดาวน์โหลดไฟล์มาให้เลือกตำแหน่งเก็บและตั้งชื่อไฟล์ให้เรียบร้อย แล้วคลิก Save จากตัวอย่างจะดาวน์โหลดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ Downloads
    • เปิดแท็บใหม่เปิดเว็บ http://email.psu.ac.th หรือ https://outlook.com/email.psu.ac.th ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย ได้ดังภาพ
    • คลิก ด้านซ้ายมือไอคอนที่ 3
    • จะได้ดังภาพ
    • คลิก Manage contacts เลือก Import contacts
    • จะได้หน้า Import contacts คลิก Browse
    • จะได้หน้าต่างสำหรับอัปโหลดไฟล์ CSV ที่เรา export จาก webmail คลิก Open
    • จะได้ดังภาพ คลิก Import
    • จะได้หน้าตัวอย่างจากไฟล์ CSV ให้ตรวจสอบว่าอ่านออกหรือไม่ในกรณีที่เป็นภาษาไทย หรือภาษาอื่น ๆ ถ้าอ่านออกและแสดงผลถูกบรรทัดคลิก Looks OK, continue
    • รอจนได้หน้าสรุปว่ามีกี่คนที่ถูก Import คลิก Close
    • จะได้หน้าดังภาพ contacts ทั้งหมดถูกนำเข้าเรียบร้อย
    • ฟิลด์หลักๆ ในไฟล์ csv ที่ควรมีนะครับ
      • ชื่อ
      • นามสกุล
      • ชื่อเล่น
      • อีเมล
    • เช่น
      First Name,Last Name,Nickname,E-mail address
      Grianggrai,Nootongkum,Yai,grianggrai.n@psu.ac.th
  • How to redirect email from Outlook to Gmail

    • ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย ผ่านเว็บ http://email.psu.ac.th หรือ https://outlook.com/email.psu.ac.th
    • มองไปทางขวาบนจะมีรูป คลิกรูปเฟืองจะได้ดังภาพ
    • คลิก View all Outlook settings จะได้ดังภาพ
    • คลิก Forwarding จะได้ดังภาพ
    • เลือก Enable forwarding และใส่อีเมลที่ต้องการส่งเมล์ไป และเลือก Keep a copy of forwarded messages อันนี้แนะนำให้เลือกไว้ด้วย แต่เมื่อ forward ไปแล้วต้องกลับมาดูเมล์ที่นี่ด้วย อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพือป้องกันเมล์เต็ม 50GB
    • จะได้ดังภาพ ปุ่ม Save หายไป
    • หากต้องการยกเลิก ก็ให้เอาเครื่องหมายถูกหน้า Enable forwarding ออกแล้วคลิก Save ได้เช่นกัน
  • How to install Microsoft 365

    ฉบับปรับปรุง 2022

    • สำหรับบุคลากร ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไปต้องล็อคอินด้วย @psu.ac.th
    • เปิดเว็บล็อคอินเข้าระบบที่ http://email.psu.ac.th หรือ https://outlook.com/email.psu.ac.th ให้เรียบร้อย
    • คลิกที่ 9 จุดด้ายซ้ายบน
    • จะเห็นคำว่า Office
    • คลิกคำว่า Office จะได้หน้าต่างใหม่
    • มองไปมุมบนขวาจะเห็นคำว่า Install Office
    • คลิก Install Office จะได้ดังภาพ
    • เลือก Office 365 apps
    • จะเป็นการดาวน์โหลดตัวติดตั้ง Office 365 มาไว้ที่เครื่อง
    • เปิด Windows Explorer ไปยังที่ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งเอาไว้
    • ดับเบิ้ลคลิกไฟล์ OfficeSetup จะมีหน้าต่าง Account Control ขึ้นมาให้ตอบ Yes
    • ตัวติดตั้งทำงาน
    • รอให้ดาวน์โหลดสักครู่ (ขึ้นอยู่กับความเร็วอินเตอร์เน็ต) จนได้หน้าเสร็จสิ้น
    • คลิก Close
    • เปิดโปรแกรม Word เพื่อตรวจสอบไลเซนต์ เมื่อโปรแกรม Word เปิดขึ้นมาจะมีหน้าต่างดังภาพคลิก Ok
    • จะได้หน้าต่างยอมรับไลเซนต์กด Accept
    • เมื่อคลิกที่ Account ที่มุมล่างซ้ายต้องได้ประมาณดังภาพเป็นอันเสร็จ

    Pages: 1 2

  • Microsoft Authenticator

    Microsoft 365 จะมีการเปิด Multi-Factor Authentication ไว้โดยปริยายต้องตั้งค่าดังต่อไปนี้

    • สำหรับบุคลากรเป็น @psu.ac.th
    • นักศึกษารหัสนักศึกษาขึ้นต้นด้วย 67 เป็นต้นไปเป็น @psu.ac.th
    • และส่วนนักศึกษารหัสนักศึกษาขึ้นต้นด้วย 66 65 64 … ยังเป็น @email.psu.ac.th
    • วิดีโอแนะนำการตั้งค่า Microsoft Authenticator
    • iOS และ Android ให้ติดตั้งโปรแกรมชือ Microsoft Authenticator ความต้องการขั้นต่ำ iOS14 หรือสูงกว่า, Android 8.0 หรือสูงกว่า
    • การยืนยันตัวตนด้วย SMS สำหรับมือถือรุ่นเก่า
    • ภาพจาก App Store และ Play Store ค้นหาว่า “microsoft authenticator”
    • พักไว้ก่อนแล้วกลับมาที่ PC
    • เข้าเว็บไซต์ http://email.psu.ac.th หรือ https://outlook.com/email.psu.ac.th หรือ https://outlook.office365.com/email.psu.ac.th
    • ให้ใส่ username ในรูปแบบ username.s@psu.ac.th หรือ รหัสนักศึกษา@email.psu.ac.th แล้วกด Next จะได้หน้าต่างที่ต้องเลือกว่าเป็นบัญชีประเภทไหน เลือก บัญชีที่ทำงานหรือโรงเรียน
    • ได้หน้าใส่รหัสผ่าน ให้กรอกรหัสผ่านของ PSU Passport ลงไป
    • เมื่อกด Sign In เนื่องจากเป็นการเข้าระบบครั้งแรก จะมีการให้ตั้งค่า Multi-factor authentication กด Next
    • จะได้หน้า ดังภาพกดถัดไป
    • กดถัดไปจะได้ QR code
    • มาที่โทรศัพท์มือถือเปิด App Microsoft Authenticator ขึ้นมา
    • กดที่เครื่องหมาย + จะได้ดังภาพ เลือก work or school account แล้วเลือก Scan QR code
    • จะมี account ใหม่เพิ่มใน app ดังภาพ
    • กดถัดไปใน PC จะได้หน้าดังภาพ มีตัวเลขปรากฎอยู่ ให้นำตัวเลขไปใส่ใน App ในโทรศัพท์ กด Yes และต้องใส่รหัสผ่านที่ล็อคโทรศัพท์มือถือด้วยจึงจะสำเร็จ หากใช้สแกนหน้าหรือสแกนลายนิ้วมือก็สามารถทำได้เลย
    • จะได้ดังภาพกดเสร็จสมบูรณ์ เป็นอันเสร็จการตั้งค่า การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน วันดีคืนร้าย ไม่ได้ใช้งานอีเมลหรือบริการอื่นๆ ของ Microsoft 365 แล้ว App เด้งเตือนว่าให้ใส่ตัวเลขขึ้นมา แนะนำให้เปลี่ยนรหัสผ่านของ PSU Passport ทันทีนะครับเพราะรหัสผ่านของท่านอาจโดนแฮ็คได้แล้ว
    • จะได้หน้านี้ขึ้นมา หากเป็นเครื่องส่วนตัว สามารถตอบ Yes ได้ แต่ก็ไม่แนะนำ ควรตอบ No ไว้ดีกว่า
    • ก็จะได้หน้าอีเมลอย่างที่ต้องการ

    วิดีโอแนะนำการตั้งค่า Microsoft Authenticator

    SMS (ยกเลิกแล้วนะครับ)

    • หากติดตั้งแอป Microsoft Authenticator ไม่ได้สามารถเลือกเป็น SMS แทนได้โดยเมื่อถึงหน้านี้ หยุดอ่านก่อน ให้เลือก I want to set up different method หรือ ฉันต้องการตั้งค่าด้วยวิธีอื่น
    • จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกดังภาพ
    • ให้เลือกเป็น Phone ดังภาพแล้วกด Confirm
    • เลือกประเทศที่ให้บริการโทรศัพท์ และกรอกหมายเลขโทรศัพท์ คลิก Next
    • รอรับ SMS จาก Microsoft แล้วนำเลขไปกรอกในหน้าเว็บ กด Next
    • จะได้ดังภาพกด Next
    • จะได้ดังภาพ กด Done
    • จะได้หน้านี้ หากเป็นเครื่องส่วนตัวสามารถตอบ Yes ได้เลย แต่ไม่แนะนำ ให้ตอบ No ไปทุกเครื่องทุกที่จะดีกว่า
    • หากมีปัญหาเช่น เผลอลบแอป Microsoft Authenticator เปลี่ยนมือถือ หรือตั้งค่าไม่สำเร็จ สามารถแจ้งได้ทางโทรศัพท์ 074-282082 หรือสายภายใน 2082
  • Microsoft 365

    14 พ.ย. 65 นี้เตรียม พบกับอีเมลสำหรับอาจารย์และบุคลากรโฉมใหม่ ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยกว่าเดิม ขอแนะนำสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มใช้งานดังนี้

    1. ขนาดโควต้าเมล์ 50GB พื้นที่ OneDrive 1TB ส่งเมล์ขนาดสูงสุด 30MB ยกเลิก
    2. การตั้งค่า Microsoft Authentication app
    3. Passkey in Microsoft Authenticator
    4. Import contacts to Microsoft 365
    5. Export contacts from Gmail and import to Microsoft 365
    6. วิธี forward mail ไปอีเมลอื่น
    7. วิธี forward mail จาก Gmail ส่วนตัวเข้า Microsoft 365
    8. ยกเลิกการใช้งาน Google เป็น POP3 Client
    9. การติดตั้ง Office365
    10. การใช้งาน Outlook เพื่อเชื่อมต่อกับอีเมล rev.2.2 Released Date 11/23/2023
    11. ย้าย Google Workspace Mail Service มา Office365 Mail Service บุคลากรอย่าลืมเปลี่ยน @email.psu.ac.th เป็น @psu.ac.th นะครับ
    12. Set up email with iOS Mail app
    13. FAQ

  • ย้าย Google Workspace Mail Service มา Office365 Mail Service

    ย้ายเมล์จาก Gmail ของมหาวิทยาลัย มา Office365 mail ของมหาวิทยาลัย (@psu.ac.th มายัง @email.psu.ac.th)

    สิ่งที่ต้องมี

    1. สัญญาณอินเตอร์เน็ตนะครับขาดไม่ได้
    2. ใช้งาน Gmail ของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว และต้องการย้ายเมล์มายัง Office365 ของมหาวิทยาลัย
    3. Microsoft Outlook 2019 ขึ้นไป แต่แนะนำให้ติดตั้งเป็น Office365 ซึ่้งจะมี Microsoft Outlook for Microsoft 365 ให้ด้วย ขั้นตอนการติดตั้งขอข้ามไปนะครับ ขออนุญาตสรุปเอาเองว่าทุกท่านติดตั้งเป็นนะครับ หากติดตั้งไม่เป็นสามารถดูแนวทางได้ที่ Download and install Office365 Microsoft Outlook บน MAC ทำไม่ได้นะครับ
    4. มีครบแล้วเริ่มกันเลย

    Ready Go!!

    1. เปิด Microsoft Outlook เมื่อเปิดครั้งแรกจะมีหน้าต่างให้ใส่อีเมลของเรา ก็ใส่ไปได้เลยโดยอาจจะเริ่มจาก Mail ของ Office365 ที่เป็น @email.psu.ac.th ก่อนเนื่องจากจะใช้ขั้นตอนน้อยกว่า เมื่อใส่เมล์แล้วกด Connect ก็จะให้ใส่ Password ของเมล์ @email.psu.ac.th ของเราลงไปอาจมีการให้ยืนยันด้วยรหัสที่ส่งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ด้วย ทำให้เรียบร้อย
    email.psu.ac.th
    1. ได้ดังรูป
    Account successfully added
    1. ต่อไปพิมพ์ mail ของ gmail ของมหาวิทยาลัยลงไป gmail ของมหาวิทยาลัยจะมีโดเมนว่า g.psu.ac.th (ยังจำได้มั้ย) ดังรูป แล้วกด Next เพื่อไปต่อ
    Gmail
    1. จะมีหน้าต่างของ Google ขึ้นมา ซึ่งกรอก Username ไว้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Next ได้เลย
    Google
    1. เมื่อกด Next จะได้หน้าใส่รหัสผ่านก็ใส่รหัสผ่านของ gmail ของมหาวิทยาลัยลงไปแล้วกด Sign in
    Password
    1. ในขั้นตอนหลังจากนี้ถ้าใครมีเซ็ตเรื่องความปลอดภัย เช่น 2 step authentication ก็ทำตามขั้นตอนไปนะครับ จนกว่าจะได้ดังรูป เลื่อนลงมาล่างสุดกด Allow
    Allow
    1. เป็นอันเสร็จในการเพิ่มเมล์ใน Outlook จะได้หน้าสรุปดังรูป กด Done สังเกตว่า Gmail จะเป็น IMAP และ Office365 จะเป็น Microsoft 365
    Outlook
    1. ก็จะได้หน้าโปรแกรม Outlook มาเมื่อมองไปด้านซ้ายก็จะเห็นเมล์สองอันดังรูป
    Outlook
    1. ทีนี้ให้มองด้านบน ตรงส่วนที่เรียกว่า Ribbon ที่เป็นแถบทูลบาร์ต่าง ๆ ให้คลิกขวาบริเวณนั้น แล้วเลือก Customize the Ribbon…
    Customize the Ribbon…
    1. จะได้หน้าต่าง Outlook Options ดังรูป
    Outlook Options
    1. ในช่อง Choose commands from: ให้เลือกเป็น All commands ดังรูป
    Outlook Options
    1. เลื่อนหา Select All ในช่องฝั่ง All commands ดังรูป
    Outlook Options
    1. มาที่ฝั่ง Main Tabs คลิกขวาที่ Home (Mail) เลือก add New group ดังรูป
    Outlook Options
    1. จะได้ New Group (Custom) ปรากฎขึ้นใน Home (Mail) บรรทัดล่างสุดดังรูป
    Outlook Options
    1. เลือกทั้งสองฝั่งให้เป็นแบบในรูปข้อ 14 คลิก Add>> เมื่อได้ดังรูป คลิก OK
    Outlook Options
    1. สังเกตแถบ ribbon จะมี New Group เพิ่มขึ้นมาในส่วนท้ายสุดดังรูป
    Ribbon
    1. กลับมาดูที่กล่องจดหมาย เมื่อกดขยาย @g.psu.ac.th จะมี Inbox ปรากฎขึ้นดังรูป ซึ่งจะเห็นจำนวนเมล์ที่ไม่ได้อ่าน ที่อยู่ใน Inbox
    Gmail Inbox
    1. ให้กดขยายกล่อง @email.psu.ac.th และคลิกขวาที่ @email.psu.ac.th เลือก New Folder…
    New Folder…
    1. ตั้งชื่อว่า Gmail PSU
    Gmail PSU
    1. กลับไปที่ Inbox ของ @ g.psu.ac.th จะได้ดังรูป
    Inbox
    1. กด Select All ที่ Ribbon จะได้ประมาณดังรูป
    Select All…
    1. ทีนี้ถึงตอนสำคัญ คลิกเมาส์ซ้ายที่จดหมายที่ถูกเลือกไว้แล้วกดปุ่มค้างไว้ เพื่อทำการลากเอาไปปล่อยที่ Gmail PSU ที่สร้างไว้ในข้อ 18 – 19 แล้วปล่อยปุ่มเมาส์ ดังรูป
    Drag on Drop
    1. จะเป็นการย้ายเมล์ทั้งหมดจาก gmail ไป office365 ทันทีรอจนทำงานเสร็จ Inbox ของ Gmail ก็จะว่าง เปล่าดังรูป
    Gmail Inbox
    1. กดปุ่ม F9 บนคีย์บอร์ดเพื่อดูสถานะการย้ายที่แท้จริง ว่าย้ายเสร็จแล้วหรือไม่ ดังรูป
    Gmail Sync
    1. เมื่อไปดูที่กล่อง Gmail PSU ใน Office365
    Gmail PSU
    1. ความจริง แล้วไม่จำเป็นต้องสร้าง Gmail PSU ก็ได้ สามารถลากจาก Inbox ไปสู่ Inbox ได้เลย เหตุที่ต้องสร้างเพราะผู้เขียนใช้เมล์ @email.psu.ac.th เป็นหลักอยู่แล้วเพื่อไม่ให้ปนกันจึงต้องสร้างนะครับ
    2. และอย่าลืมว่า Quota Mail ของ @email.psu.ac.th มีเพียง 50GB เท่านั้นนะครับ ถ้ามีเมล์มากกว่านี้ก็ต้องแบ่งแล้วครับว่าอันไหนสำคัญ ไม่สำคัญ (ไม่เกี่ยวกับ OneDrive น้า OneDrive ยัง 1TB เหมือนเดิมครับ)
    3. จบขอให้สนุกครับ