Windows 10, Version 1903, May 2019 Update installation

Windows 10, Version 1903, May 2019 Update เป็นรุ่นปรับปรุงที่ออกเมื่อ พฤษภาคม 2562 การติดตั้งเปลี่ยนแปลงไปนิดหน่อยดังนี้ จะพูดถึงการติดตั้งใหม่เท่านั้น ใครจะอัพเดตผ่าน Windows update ก็สามารถอัพเดตได้เลย สำหรับนักศึกษา Windows 10 ที่สามารถติดตั้งได้คือ Windows 10 Education เท่านั้น เนื่องจากหมายเลขผลิตภัณฑ์ (Product key) ที่ได้จาก Microsoft Azure เป็น Windows 10 Education โหลดได้จาก Microsoft Azure และ https://licensing.psu.ac.th/windows-10/ การ activate สามารถทำได้เพียงวิธีเดียวคือใช้ Product key จาก Microsoft Azure เท่านั้น เมื่อติดตั้งจะมีหน้าจอให้เลือกว่าจะติดตั้งรุ่นไหน ก็ให้เลือก Windows 10 Education เท่านั้น สำหรับบุคลากร เลือกติดตั้งได้ 3 รุ่นได้แก่ Windows 10 Education, Windows 10 Pro และ Windows 10 Pro for workstation เท่านั้น รุ่น Enterprise และรุ่นที่มี N ต่อท้ายติดตั้งไม่ได้ การ activate สามารถทำได้ 2 วิธี คือ กดรับ Product key ได้ที่ CD-Key ซึ่งเป็นคีย์กลางของมหาวิทยาลัย ใช้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย activate 1 ครั้งนับ 1 ครั้ง ฉะนั้นก่อน activate ควรติดตั้ง Software ตัวอื่น ๆ ให้เสร็จเรียบร้อยจนแน่ใจว่าจะไม่ติดตั้ง Windows ใหม่ในระยะเวลา 6 เดือน activate ผ่าน KMS ของมหาวิทยาลัย วิธีนี้เหมาะสำหรับห้องปฏิการคอมพิวเตอร์ และเครื่องในสำนักงาน ที่เปิดใช้งานทุกวัน (หรืออย่างน้อย 1 ครั้งใน 6 เดือน) และเชื่อมต่อกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัยตลอดเวลา เริ่ม…ได้ ดาวน์โหลดแผ่นได้ที่ https://licensing.psu.ac.th/windows-10/ สร้าง flash drive สำหรับบูต (flash drive ต้องมีขนาดอย่างน้อย 8GB) ด้วย Rufus https://rufus.ie/ หรือเขียนแผ่น DVD ให้เรียบร้อย เปิดเครื่องบูตด้วย flash drive หรือ DVD ที่สร้างเตรียมไว้แล้ว

Read More »
Microsoft Office Professional Plus 2019

How to install Office Professional Plus 2019 in PSU

สามารถ download ได้จาก https://licensing.psu.ac.th ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย เมื่อเปิดหน้าของ Office Professional Plus 2019 เลื่อนลงมาล่างสุดจะมีให้ Download อยู่ 2 ส่วน โดย Office pro plus 2019 setup คือส่วนที่จำเป็นต้องโหลด และสามารถเลือกโหลด Configuration Setup ได้ตามภาษาและสถาปัตยกรรมที่ต้องการ เมื่อโหลดเสร็จแล้ว ติดตั้งโดยการเปิด cmd เรียกใช้ cmd ด้วยการกด windows+R การติดตั้ง Office Professional Plus 2019 จะเป็นการติดตั้งผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น พิมพ์ cd ไปยังโฟลเดอร์ที่ดาวน์โหลดทั้งสองไฟล์ไว้ (ในตัวอย่างโหลดไฟล์ไว้ที่ Desktop) พิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ โดยเลือกตามรุ่นและสถาปัตยกรรมที่เลือก จะมีหน้า User control ให้ตอบ Yes แล้วจะได้หน้าต่างติดตั้งขึ้นมา รอจนเสร็จ เปิด Microsoft word สร้างเอกสารใหม่ คลิกเมนู File แล้วเลือก account มองไปด้านขวาในส่วนของ Product Information หากยังไม่มีข้อความว่า Product Activated ให้คลิก Change Product key ให้นำคีย์จากเว็บ https://licensing.psu.ac.th มาใส่แล้วกด Activate Office ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยก่อนทำขั้นตอนนี้ สำหรับผู้ใช้ทั่วไปจบเพียงเท่านี้ ขอให้สนุก สำหรับ Power Users และคนที่ต้องการใช้ Office ภาษาอื่นๆ มากกว่าภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ หากเปิดดูในแฟ้ม o2019proplus64en.xml จะมีส่วนที่แก้ไขได้ ได้แก่ SourcePath และ Language ID โดยค่าที่เป็นไปได้ของ SourcePath คือ โฟลเดอร์ปลายทางที่จะได้เป็นที่เก็บตัวติดตั้ง Office Professional Plus 2019 เช่น d:\download ซึ่งแปลว่าโหลดตัวติดตั้งมาเก็บไว้ที่ d:\download และค่าที่เป็นไปได้ของ Language ID ได้แก่ รหัสภาษาที่ไมโครซอฟท์กำหนดโดยสามารถดูได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/DeployOffice/office2016/language-identifiers-and-optionstate-id-values-in-office-2016 ตัวอย่างไฟล์ที่แก้เสร็จแล้ว วิธีใช้งานให้พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ใน cmd จะค้างอยู่จนกว่าจะ download เสร็จ เมื่อ download เสร็จแล้วสามารถพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ใน cmd เช่นเดิม เพื่อเริ่มกระบวนการติดตั้ง แบบที่กล่าวมาแล้ว จบขอให้สนุกครับ

Read More »

Hardening your HTTP response headers

Introduction HTTP Response headers คือ ค่าของสตริงที่ส่งกลับมาจากเซิร์ฟเวอร์ที่มีเนื้อหาตามที่ถูกร้องขอ โดยปกติจะใช้บอกข้อมูลทางเทคนิค เช่น เบราเซอร์ควรแคชเนื้อหา, ประเภทของเนื้อหาคืออะไร, ซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ และอื่น ๆ   HTTP Response headers ถูกใช้เพื่อส่งต่อนโยบายความปลอดภัยไปยังเบราเซอร์  ทำให้การเปิดเว็บไซต์ของเรามีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น Header ของ Apache2 ที่ควรต้องใส่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมีดังนี้ Content Security Policy Header เรื่อง Content Security Policy (CSP) ช่วยให้กำหนดต้นทางของเนื้อหาที่อนุญาตสำหรับเว็บไซต์ โดยการจำกัดเนื้อหาที่เบราเซอร์สามารถโหลดได้ ได้แก่ js และ css สามารถสร้าง CSP ได้จาก https://report-uri.com/home/generate ทั้งนี้ต้องทดสอบการทำงานทุกครั้งเนื่องจาก การกำหนดค่าบางอย่างอาจทำให้เว็บไซต์ ทำงานไม่ถูกต้อง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://scotthelme.co.uk/content-security-policy-an-introduction/ สำหรับ Apache2 เพิ่ม Header ต่อไปนี้ ในแฟ้มของไซต์ที่ต้องการ เช่น /etc/apache2/site-enabled/lsc-ssl.conf  หรือแฟ้ม .htaccess ในไซต์ที่ต้องการ (ซึ่งแนะนำว่าใช้ .htaccess จะได้ไม่ต้องรีสตาร์ทเซิร์ฟเวอร์) เพื่อเปิดการใช้งาน CSP Header always set Content-Security-Policy “default-src https: data: ‘unsafe-inline’ ‘unsafe-eval'” HTTP Strict Transport Security (HSTS) เว็บไซต์ ต้องมีการตั้งค่าให้ redirect จาก HTTP ไปยัง HTTPS เสมอ และ HSTS จะเป็น Header ที่กำหนดให้เบราเซอร์จำสถานะของ HTTPS เอาไว้แม้ว่าจะเป็นการเปิดจาก bookmark ที่เป็น HTTP ก็ตาม ก็จะถูกบังคับให้เป็น HTTPS รายละเอียดเพิ่มเติม https://scotthelme.co.uk/hsts-the-missing-link-in-tls/ เช่น เมื่อเปิด http://licensing.psu.ac.th ก็จะถูก redirect ไป https://licensing.psu.ac.th Header always set Strict-Transport-Security “max-age=31536000; includeSubDomains” X-Frame-Options X-Frame-Options หรือ XFO header จะช่วยป้องกันผู้ใช้จากการโจมตีแบบ clickjacking ที่ผู้บุกรุกสามารถโหลด iframe จากไซต์ของเขาบนไซต์ของเราได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ของเราเชื่อว่าไม่อันตราย!! รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.troyhunt.com/clickjack-attack-hidden-threat-right-in/ Header always set X-Frame-Options “SAMEORIGIN” X-Xss-Protection Header นี้ใช้กำหนดค่าการป้องกัน XSS ที่มีอยู่บนเบราเซอร์ต่างๆ โดยการตั้งค่าจะมี 0 คือ ปิดการทำงาน 1 คือเปิดการทำงาน และ 1; mode=block ซึ่งจะกำหนดให้เบราเซอร์ทำการบล็อคการกระทำใดๆ ก็ตามที่มากกว่าการล้างข้อมูลสคริปต์ Header always set X-Xss-Protection “1; mode=block” X-Content-Type-Options X-Content-Type-Options ใช้ในการป้องกันการโจมตีผ่านทางช่องโหว่ MIME sniffing ซึ่งจะเกิดเมื่อ เว็บไซต์อนุญาตให้ผู้ใช้อัพโหลดเนื้อหาไปยังเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งผู้ใช้อาจเปลี่ยนหรือซ่อนไฟล์อันตราย แล้วอัพโหลดขึ้นเซิร์ฟเวอร์ รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.keycdn.com/support/x-content-type-options/ Header always set X-Content-Type-Options “nosniff” เบื้องต้นแนะนำเท่านี้ก่อนครับ พิเศษ!! สำหรับผู้ใช้งาน wordpress มีปลั๊กอินชื่อ HTTP Headers ใช่ตั้งค่า Header ต่างๆ ที่เล่ามาข้างต้นได้อย่างสบายใจหายห่วง!!! ไม่ต้องแก้ .htaccess ไม่ต้องแก้ config ใด ๆ  เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะพบว่ามี Header อีกมากที่สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะกล่าวอีกในครั้งต่อ ๆ ไป ต้นฉบับ https://scotthelme.co.uk/hardening-your-http-response-headers/ มีวิธีการเซ็ตสำหรับ Nginx และ IIS สามารถดูเพิ่มเติมได้ครับ อย่าลืม!! ตรวจ

Read More »

Oracle Label Security

Oracle Label Security (OLS) เป็นส่วนขยายของเทคโนโลยี Virtual Private Database (VPD) ซึ่งเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ Oracle 8i  OLS อนุญาตให้มีการควบคุมการเข้าถึงลงในแถวต่างๆ ตามป้ายกำกับที่ระบุ ฟังก์ชันการทำงานที่คล้ายคลึงกันสามารถทำซ้ำโดยใช้ Fine Grained Access Control (FGAC) แต่ OLS ให้โซลูชันที่ง่ายกว่าสำหรับการรักษาความปลอดภัยระดับแถว (row-level security) ในบทความนี้ฉันจะนำเสนอตัวอย่างง่ายๆของการกำหนดค่า OLS ตั้งค่าฐานข้อมูล หากไม่ได้เลือกตัวเลือก Label Security เมื่อครั้งติดตั้ง Oracle Database สามารถเรียกตัวติดตั้งและเลือกตัวเลือก Label Security เพิ่มเติมได้ภายหลัง เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ Oracle เปิด terminal พิมพ์ dbca (Database Server เป็น Linux) เมื่อได้ Welcome Screen คลิก Next ที่หน้า Operation คลิก Configure Database Options แล้วคลิก Next หน้า Database เลือกฐานข้อมูลที่ต้องการ คลิก Next ที่หน้า Database Features คลิกเลือก Label Security คลิก Next คลิก Finish เมื่อจบการตั้งค่าให้ restart database สร้างผู้ใช้ทดสอบ คำสั่งทั้งหมดทำภายใน sqlplus สร้างผู้ใช้ ols_test มีรหัสผ่านว่า password โดยให้สิทธิ์ CONNECT, RESOURCE, SELECT_CATALOG_ROLE sqlplus, / as sysdba CONN / AS SYSDBA CREATE USER ols_test IDENTIFIED BY password DEFAULT TABLESPACE users TEMPORARY TABLESPACE temp GRANT CONNECT, RESOURCE, SELECT_CATALOG_ROLE TO ols_test; ต่อไปเป็นการให้สิทธิ์ในแพ็คเกจ OLS แก่ผู้ใช้ ols_test จำเป็นต้อง unlock ผู้ใช้ lbacsys และตั้งรหัสผ่านว่า lbacsys เพื่อใช้เป็นคนกำหนดสิทธิ์ต่างๆ ให้ ols_test ได้แก่สิทธิ์ execute บน sa_components, sa_user_admin, sa_label_admin, sa_policy_admin, sa_audit_admin, sa_sysdba, to_lbac_data_label และให้ ols_test เป็น lbac_dba sqlplus, / as sysdba, lbacsys/lbacsys ALTER USER lbacsys IDENTIFIED BY lbacsys ACCOUNT UNLOCK; CONN lbacsys/lbacsys GRANT EXECUTE ON sa_components TO ols_test WITH GRANT OPTION; GRANT EXECUTE ON sa_user_admin TO ols_test WITH GRANT OPTION; GRANT EXECUTE ON sa_user_admin TO ols_test WITH GRANT OPTION; GRANT EXECUTE ON sa_label_admin TO ols_test WITH GRANT OPTION; GRANT EXECUTE ON sa_policy_admin TO

Read More »

WordPress Custom Error page

เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการแสดงผล error page ที่แสดงผลใน licensing.psu.ac.th จึงต้องหาทางแก้ไขการแสดง Error page 403 ใหม่ Plug in ชื่อ Custom Error Pages ติดตั้งแล้วเปิดใช้งานให้เรียบร้อย เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในแฟ้ม .htaccess ErrorDocument 403 /index.php?status=403 ErrorDocument 401 /index.php?status=401 แต่เนื่องจากไซต์ที่แสดง error 403 ไม่ใช่ licensing.psu.ac.th แต่เป็น bahamut.psu.ac.th ซึ่งอาจจะมีหลายท่านเคยเจอข้อความประมาณ Forbidden You don’t have permission to access /licensing/SW_DVD5_Office_Professional_Plus _2013w_SP1_32-BIT_X64_English_X19-35900.ISO on this server. ฉะนั้นต้องไปสร้าง .htaccess ในพื้นที่ของไซต์ bahamut.psu.ac.th แทน ซึ่งอยู่ที่ /licensing มีข้อความว่า ErrorDocument 403 https://licensing.psu.ac.th/index.php?status=403 ErrorDocument 401 https://licensing.psu.ac.th/index.php?status=401 จบขอให้สนุก ก่อนจาก licensing.psu.ac.th เป็นที่จัดเก็บ link ของไฟล์ที่อยู่บน bahamut.psu.ac.th เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ นอกมหาวิทยาลัย จะแจ้ง error ในหน้าของ bahamut.psu.ac.th ทำให้ดูไม่เป็นหนึ่งเดียว ปรับแก้ด้วยวิธีข้างต้น ตัวอย่างหน้า error page เข้ารับชมได้ที่ https://licensing.psu.ac.th/index.php?status=403 สรุปได้ว่า ErrorDocument จะชี้ที่ไหนก็ได้

Read More »