รู้จักสื่อแบบ AR

TOR รอบใหม่นี้ Blog แรก (จาก 16 Blog!! ที่ต้องเขียน) ที่ผู้เขียนจะนำมาเล่าสู่กันฟังก็คือ เทคโนโลยี AR จะมาเล่าว่ามันคืออะไร แล้วถ้าเราจะสร้าง AR เนี่ย จะต้องทำยังไง ยากง่ายแค่ไหน แต่ๆๆ Blog แรกเนี่ยเอาเป็นแค่ลองมาทำความรู้จักกันก่อนละกันเนอะ วิธีการสร้างขอเป็น Blog ถัดๆ ไปละกัน อิอิ 🙂

AR คืออะไร ??
หลายๆ คนคงมีคำถามแบบเดียวกัน และอีกหลายๆ คนก็คงจะไม่เคยรู้ว่าเจ้า AR เนี่ย อยู่ใกล้กับชีวิตประจำวันเรามากกว่าที่คิดนะ 55+

——————————————————————————————————————–

เรามารู้จักกับเจ้าเทคโนโลยี AR กันเถอะ ….

เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) คือเป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านทางอุปกรณ์เว็บแคม กล้องโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือคอมพิวเตอร์ ร่วมกับการใช้ Software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็นวัตถุ (Object) ยกตัวอย่างเช่น คน สิ่งของ โดยแสดงผลออกมาเป็นลักษณะ 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศาเลยนะ

——————————————————————————————————————–

จริงๆ แล้วเนี่ย AR มันเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานมากกกกแล้ว ทางผู้เขียนก็ได้ยินผ่านๆ มาอยู่ตลอด แต่ยังไม่เคยได้ลองทดสอบเข้าไปศึกษาและใช้งานแบบจริงๆจังๆ ซะที

อาจเพราะในอดีต จะมีข้อจำกัดในทางเทคโนโลยีจึงยังไม่ค่อยมีความแพร่หลายในการใช้งานสักเท่าไหร่ แต่สำหรับยุคปัจจุบัน แทบไม่ต้องพูดถึงเลยว่า อุปกรณ์สมาร์ทโฟนเนี่ยเราสามารถข้าถึงได้ง่ายดายแค่ไหน “เรียกว่าปัจจัยที่ 5 กันเลยทีเดียว” เล่นกันตั้งแต่เด็ก 3 ขวบ จนไปถึงผู้สูงอายุวัย 80 กันนั่นแหละ !!

ดังนั้นเทคโนโลยีตัวนี้จึงกลับมาเริ่มมีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ถูกกล่าวถึงและมีคนให้ความสนใจอยู่เป็นระยะ อาจจะไม่โดดเด่นเท่ากับอีกหลายๆ ตัว แต่ก็คาดว่ายังสามารถต่อยอดไปได้อีกไกลแหละนะ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถนำมาพัฒนาเป็น Application เพื่อช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กๆ หรือช่วยในส่วนของธุรกิจการค้าที่ต้องปรับกลยุทธ์เชิงรุกในรูปแบบออนไลน์ หรือจะให้ยกตัวอย่าง AR ง่ายๆ เลยคือ “เกมส์โปเกมอน โก” นั่นแหละ

หลักการทำงานของ AR หลักๆ ประกอบด้วย

  1. วิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) โดยค้นหาจากตัว Marker (หรือที่เราเรียกว่า Markup) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ หรือรูปภาพที่เรากำหนดไว้เป็นตัวเปรียบเทียบ กับสิ่งที่เราได้เก็บไว้ในฐานข้อมูล (Marker Database)
  2. กล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือตัวจับ Sensor อื่นๆ
  3. Software ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบ 3 มิติ
  4. การแสดงผลบนจอภาพจากคอมหรือโทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ โดยกระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ จากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพโดยใช้ค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง

พื้นฐานหลักของ AR

ง่ายๆ คือ ใช้หลักการการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การเต้น หรือ การเคาะ (Beat Detection) การจดจำเสียง (Voice Recognize) และการประมวผลภาพ (Image Processing) นั่นเอง

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา AR ก็มีอยู่หลากหลายนะ เช่น Unity , Pixlive Maker เป็นต้น
หาดูใน google ก็จะขึ้นเยอะแยะไปหมด เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย พอจะเข้าใจเทคโนโลยีเสมือนจริงเพิ่มมากขึ้นอีกสักนิดกันมั้ย
ไม่ต้องรีบๆ ค่อยๆเรียนรู้ไปด้วยกันนะทุกคนน

——————————————————————————————————————–

เอาไว้ใน Blog ถัดไป ผู้เขียนจะมาเล่าถึงวิธีการสร้างเจ้า AR ตัวนี้ละกันนะ ขอเวลาไปเขียน storyboard ก่อนแป๊บนึง …. Bye 🙂
ปล … สร้างอะไม่ยากหรอก จะยากก็ตอนออกแบบ นั่งหารูป สร้างข้อความ เลือกสี หา Background เหล่านี้นี่แหละ พูดเลย นาน 55+

ขอบคุณข้อมูลดีดี
อ้างอิง : http://www.techno.lru.ac.th/techno