ระบบ PSU Email ให้บริการผู้ใช้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีการใช้งานจากทั่วโลก ทั้งระบบประกอบขึ้นจากคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง การจะตรวจสอบ Log เมื่อเกิด Incident ขึ้น อาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน และเป็นการยากพอสมควรที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ และสรุปออกมาเป็นรายงานได้ จึงเริ่มใช้ ELK สำหรับรวบรวม Log ของทั้งระบบไว้ที่ส่วนกลาง และพัฒนาต่อยอดเพื่อการตรวจจับความผิดปรกติต่าง ๆ ได้

ในบทความนี้ จะนำเสนอวิธีการใช้ ELK เพื่อตรวจจับ การ Login ที่ผิดปรกติบน PSU Email โดยจะสนใจ ผู้ใช้ที่มีการ Login จากนอกประเทศเป็นหลัก

การส่ง Log จาก Server เข้า ELK

ที่เครื่อง Server แต่ละเครื่อง กำหนดให้ส่ง Log จาก /etc/rsyslog.d/50-default.conf เข้าไปที่ your.logstash.server:port ตามที่กำหนดไว้

การสร้าง Logstash Filter

ที่ Logstash Server

  • Input เพื่อรับข้อมูลจาก syslog ที่ port ที่ต้องการ เช่นในที่นี้เป็น 5516 เป็นต้น
  • Filter ใช้ Grok Plugin เพื่อจับข้อมูล จาก message แบ่งเป็นส่วน ๆ ตามลักษณะ แล้วตั้งชื่อตาม Field ตามต้องการ ในที่นี้คือ description, username, domainname, clientip, actiondate, actiontime เป็นต้น (ตัวที่สำคัญในตอนนี้คือ username และ clientip)
  • Output ตั้งว่าให้ส่งผลไปยัง Elasticsearch ที่ “your.elasticsearch.server” ที่ port 9200

[ตรงนี้มีกระบวนการบางอย่าง ซึ่งค่อยมาลงรายละเอียด]

เมื่อมี Log ไหลเข้าสู่ Logstash และ ถูกประมวลผลแล้ว ก็จะเข้าสู่ Elasticsearch แล้ว ก็นำไปใช้งานบน Kibana

หลังจากนั้น สามารถ Search ข้อมูล และใส่ Fields ที่สนใจ เช่น Time, Username, geoip.country_name และ description ได้ แล้ว Save เอาไว้ใช้งานต่อ ในที่นี้ ตั้งชื่อว่า squirrelmail-geoip

จากนั้น สามารถเอาไปสร้างเป็น Visualization แบบ Coordinate Map ได้ เช่น ดูว่า มีการ Login Success / Failed Login / Sent จากที่ไหนบ้างในโลก

จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ ใช้งานจากในประเทศไทย (วงกลมสีแดงเข้ม ๆ) ส่วนนอกประเทศ จะเป็นวงสีเหลืองเล็ก ๆ

การตรวจหาการใช้งานที่ผิดปรกติ

สร้าง Search ใหม่ กรองเฉพาะ ที่มี (exist) Username และ ไม่เป็น N/A และ มี (exist) geoip.country_code และ ไม่ใช่ Thailand แล้ว Save ไว้ใช้งานต่อไป ในที่ตั้งชื่อว่า squirrelmail-geoip-outside-th

จากนั้น เอาไปสร้าง Visualization แบบ Vertical Bar
กำหนดให้
Y Axis เป็นจำนวน
X Axis เป็น Username
โดยที่ Group by geoip.country_name และ description
ก็จะทำให้รู้ว่า ใครบ้างที่ มีการใช้งานนอกประเทศ และ เป็นการใช้งานแบบไหน

จะเห็นได้ว่า จะมีบางคนที่ แสดงสีแค่สีเดียว กับบางคนมีหลายสี เนื่องจาก มีหลายประเทศ และ หลายประเภทการใช้งาน เราสามารถ กรองเอาเฉพาะ ข้อมูลที่สนใจได้ โดยคลิกที่ Inspect แล้วกดเครื่องหมาย + กับข้อมูลที่ต้องการ เช่น description ที่เป็น “Failed webmail login” ก็ได้

ก็จะกรองเฉพาะ Username ที่มีการ Login จากต่างประเทศ แต่ไม่สำเร็จ จากภาพด้านล่าง แสดงว่า 3 คนนี้ น่าจะโดนอะไรเข้าแล้ว

หรือ ถ้าจะกรองข้อมูล เฉพาะคนที่ “Failed webmail login” และ “Message sent via webmail” ก็ได้ แต่ต้องเปลี่ยน ชนิดการ Filter เป็น “is one of”

ผลที่ได้ดังภาพ แต่เนื่องจาก ก็ยังเป็น 3 คนนี้อยู่ จะเห็นได้ว่า คน ๆ เดียว (ซ้ายสุด) มีการ Login จากหลายประเทศ ภายใน 24 ชั่วโมง

ต่อไป ถ้าเราสนใจเฉพาะ คนที่ “ส่งอีเมล” จากนอกประเทศ ในเวลาที่กำหนด จะได้ผลประมาณนี้

พบว่า คนซ้ายสุด คนเดิมนั่นแหล่ะ แต่เราจะมาดูรายละเอียด ก็คลิกที่ปุ่ม Inspect แล้ว เลือก Include เฉพาะ Username นั้น

ก็พบว่า คนนี้มีการส่ง email ออกจากประเทศ USA, Canada, Panama, Argentina, Mexico แล้วบินมา UK ภายในวันเดียว –> ทำได้ไง !!! (ดังภาพด้านล่าง)

เมื่อลองตรวจสอบ ก็จะพบว่า Username นี้ มีพฤติกรรม ส่ง Spam จริง ๆ ก็จะจัดการ “จำกัดความเสียหาย” ต่อไป

วิธีการที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสร้างเป็น Process อัตโนมัติ (เว้นแต่ขั้นตอนการ จำกัดความเสียหาย จะ Automatic ก็ได้ แต่ตอนนี้ขอ Manual ก่อน) เอาไว้สำหรับ Monitoring ได้ โดยอาจจะสั่งให้ เฝ้าดู 1 ชั่วโมงล่าสุด และ Refresh ทุก 1 นาที ดังภาพ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์

ส่วนรายละเอียด คอยติดตามตอนต่อไปครับ

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 6 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 36 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More