มัลแวร์สวมรอยการใช้งาน Facebook

มีรายงานจากศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2559 พบว่ามีการแพร่กระจายมัลแวร์ประเภท Malicious Code ผ่าน Facebook โดยอาศัยช่องทางการแจ้งเตือนของ Facebook

การทำงานของมัลแวร์

เมื่อผู้ใช้ได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ว่าถูกพาดพิงโดยบุคคลที่สาม หากผู้ใช้คลิกเข้าไปดูข้อความแจ้งเตือนดังกล่าวก็จะถูกนำไปยังไซต์อื่นทันที และเว็บไซต์ปลายทางที่ถูกนำพาไปจะปรากฏข้อความว่าเป็นส่วนขยายของ Browser สำหรับใช้เปลี่ยนสีของเว็บไซต์ Facebook และให้ดาวน์โหลดไฟล์ Instalador_Cores.scr มาติดตั้ง ซึ่งเป็นส่วนขยายของ Google Chrome

รูปที่ 1 หน้าเว็บไซต์ปลายทางมีให้ดาวน์โหลดไฟล์ Instalador_Cores.scr

หากผู้ใช้หลงเชื่อดาวน์โหลดและติดตั้งจะพบว่ามีการสร้างไฟล์ไว้ที่ไดเรกทอรี่ C:\User\[ชื่อผู้ใช้]\AppData\Local\Google\Update จากนั้นจะสร้าง Shortcut สำหรับเรียกใช้งาน Google Chrome ไว้ที่ Desktop โดยตัว Shortcut ดังกล่าวจะเป็นการเปิดใช้งาน Google Chrome โดยโหลดส่วนเสริมที่ถูกติดตั้งใหม่ขึ้นมาทำงานด้วย

หากเปิดใช้งาน Google Chrome จาก Shortcut ดังกล่าว และเข้าใช้งานเว็บไซต์ Facebook ก็จะพบว่าสีของ Facebook เปลี่ยนเป็นสีเขียวดังรูปที่ 2 และยังสามารถปรับแต่งเป็นสีอื่นได้ตามต้องการ

รูปที่ 2 ตัวอย่างส่วนขยายของ Google Chrome ที่สามารถเปลี่ยนสีเว็บไซต์ Facebook ได้

นอกจากการทำงานดังกล่าวแล้วมัลแวร์ตัวนี้ยังได้แฝงการทำงานเบื้องหลังไว้โดยจะตรวจสอบว่ามีการล็อคอิน Facebook ไว้หรือไม่ หากใช่ก็จะสวมรอยไปโพสต์คอมเมนต์ในเว็บไซต์ pinandwin8.co.nz ทันที โดยในคอมเมนต์ก็จะมีการอ้างถึงผู้อื่นที่อยู่ในรายชื่อเพื่อนของผู้ใช้อีกด้วย

การแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อ

  1. ไปที่ไดเรกทอรี C:\User\[ชื่อผู้ใช้]\AppData\Local\Google\Update แล้วลบไดเรกทอรี่และไฟล์ที่มัลแวร์สร้าง ดังนี้ ไดเรกทอรี่ css, img, js ไฟล์ manifest.json, popup.html และ background.html
  2. ลบไอคอน Google Chrome ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ออกจาก Desktop

การป้องกันการโจมตี

  1. ผู้ใช้ Facebook ควรอ่านข้อความแจ้งเตือนที่ปรากฏบนหน้าจอ โดยเฉพาะเมื่อ Facebook แจ้งว่าการคลิกลิงก์จะเป็นการเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์อื่น
  2. หากคลิกลิงก์จาก Facebook แล้วพบหน้าจอขอให้ใส่รหัสผ่าน ไม่ควรใส่ข้อมูลเพราะอาจเป็นหน้าเว็บไซต์หลอกลวง (Phishing)
  3. หากคลิกลิงก์จาก Facebook แล้วพบหน้าจอขอให้ดาวน์โหลดโปรแกรม ควรพิจารณาก่อนดาวน์โหลดโปรแกรมนั้นเพราะอาจเป็นอันตรายได้
  4. ผู้ดูแลระบบอาจพิจารณาบล็อคเว็บไซต์ pinandwinco.nz เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่เผยแพร่มัลแวร์

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Share the Post:

Related Posts

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 30 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More