ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เงื่อนไข IN ในคำสั่ง SELECT บนฐานข้อมูล Oracle

สำหรับบทความนี้ จะนำเสนอข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้งานคำสั่ง SELECT บนฐานข้อมูล Oracle ซึ่งประสบมาจากการใช้งานจริงสองเรื่องด้วยกัน

 

เรื่องแรกจะเป็นข้อจำกัดในการใช้เงื่อนไข IN (value1,value2,value3,…) ในคำสั่ง SELECT  ส่วนอีกเรื่องจะเป็นเรื่องของข้อควรระวังในการใช้ IN ร่วมกับเงื่อนไขที่เป็น subquery ในคำสั่ง SELECT  เช่นกัน

 

การใช้คำสั่ง SELECT และเงื่อนไข IN นั้น เป็นรูปแบบคำสั่งพื้นฐานแบบหนึ่งที่นักพัฒนาที่ทำงานคลุกคลีกับฐานข้อมูลส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี  โดยรูปแบบที่เรามักจะใช้งานกันบ่อย คือ

รูปแบบที่ 1 รูปแบบ SELECT * FROM TABLE1 WHERE FIELD1 IN  (value1,value2,value3,…)  โดยผลลัพธ์จะเป็นรายการข้อมูลในตาราง TABLE1 ที่ค่าของข้อมูลใน FIELD1 มีอยู่ใน value1,value2,value3 ,…

รูปแบบที่ 2 คล้ายกับรูปแบบที่ 1  นั่นเอง แต่จะเป็นการใช้ subquery แทนที่ (value1,value2,value3,…)   โดยมีรูปแบบ SELECT * FROM TABLE1 WHERE FIELD1 IN  (SELECT FIELD2 FROM TABLE2) สำหรับผลลัพธ์จะเป็นรายการข้อมูลในตาราง TABLE1 ที่ค่าของข้อมูลใน FIELD1 มีใน FIELD2 ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการ SELECT ข้อมูลจากตาราง TABLE2

 

ข้อจำกัดในการใช้เงื่อนไข IN (value1,value2,value3,…)

สำหรับใน Oracle นั้น list รายการที่อยู่ภายในเครื่องหมายวงเล็บ สามารถมีได้มากสุดไม่เกิน 1000 ค่า  ซึ่งบางท่านอาจจะสงสัยว่าในการ SELECT ข้อมูลตามปกตินั้น มีโอกาสน้อยมากที่เราจะพิมพ์ค่าของข้อมูลใน list จนถึง 1000  ค่า แต่ก็มีโอกาสที่จะพบได้คือ เมื่อมีการใช้งานคำสั่งนี้ผ่านโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หน้าจอการทำงานของโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นชุดของรายการข้อมูลที่ให้ผู้ใช้สามารถเลือกเองได้ จากนั้นรายการที่ถูกเลือกจะถูกส่งไปแปลงเป็นเงื่อนไขในคำสั่ง SELECT  อีกครั้ง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกรณีที่มี list เกิน 1000 ค่า ได้นั่นเอง

ในภาพด้านล่างจะเป็นตัวอย่างของเว็บสำหรับสืบค้นหนังสือของห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกรายการผลลัพธ์จากการสืบค้นและเก็บรวบรวมไว้เพื่อทำการ export ไปใช้งานต่อได้ ซึ่งก็มีโอกาสที่จะเลือกผลลัพธ์ได้เกิน 1000  รายการเกิดขึ้นได้

Capture

ถือว่าเป็นจุดหนึ่งที่ผู้พัฒนาควรระมัดระวังในการเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เงื่อนไข IN ลักษณะนี้ในคำสั่ง SELECT

 

ข้อควรระวังในการใช้ IN ร่วมกับเงื่อนไขที่เป็น subquery

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน  โดยมีข้อมูลจากตารางสองตาราง คือ TABLE01 และ TABLE02

สำหรับ TABLE01 เป็นข้อมูลที่ต้องการ SELECT เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ส่วนตาราง TABLE02 จะเป็นเงื่อนไขที่จะใช้ใน subquery  ข้อมูลในตารางทั้งสองจะเป็นดังนี้

 

ข้อมูลใน  TABLE01

t01

ข้อมูลใน  TABLE02

t02

 

จะยกตัวอย่างกรณีการ SELECT ออกเป็น 2 กรณีดังนี้

  1. ต้องการข้อมูลใน TABLE01 ที่ข้อมูลในฟีลด์ F02 ของตารางนี้มีในฟีลด์ F02 ของ TABLE02 ด้วย

คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM TABLE01 WHERE F02 IN (SELECT F02 FROM TABLE02);

ผลลัพธ์ที่ได้คือ

result1

ซึ่งถูกต้อง

 

  1. ต้องการข้อมูลใน TABLE01 ที่ข้อมูลในฟีลด์ F02 ของตารางนี้ไม่มีในฟีลด์ F02 ของ TABLE02 โดยปรับคำสั่งจาก IN เป็น NOT IN

คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM TABLE01 WHERE F02 NOT IN (SELECT F02 FROM TABLE02);

ผลลัพธ์ที่ได้คือ

result2

ซึ่งถูกต้อง

 

จะเห็นว่าทั้งสองกรณีทั้งการใช้ IN หรือ NOT IN ผลลัพธ์ที่ได้ก็ออกมาถูกต้อง

 

ทดลองต่อไปโดยการเพิ่มข้อมูลในตาราง TABLE02 ดังนี้

t02_2

โดยข้อมูลที่เพิ่มจะมี 1 รายการที่ข้อมูลใน F02 มีค่าเป็น null

 

จากนั้นลองทำการ SELECT แบบเดิมดังนี้

  1. ต้องการข้อมูลใน TABLE01 ที่ข้อมูลในฟีลด์ F02 ของตารางนี้มีในฟีลด์ F02 ของ TABLE02 ด้วย

คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM TABLE01 WHERE F02 IN (SELECT F02 FROM TABLE02);

ผลลัพธ์ที่ได้คือ

result1

จะเห็นว่าได้ผลลัพธ์แบบเดิม ซึ่งถูกต้อง

 

  1. ต้องการข้อมูลใน TABLE01 ที่ข้อมูลในฟีลด์ F02 ของตารางนี้ไม่มีในฟีลด์ F02 ของ TABLE02 โดยปรับคำสั่งจาก IN เป็น NOT IN

คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM TABLE01 WHERE F02 NOT IN (SELECT F02 FROM TABLE02);

ผลลัพธ์ที่ได้คือ

result3

ซึ่งไม่มีผลลัพธ์ใด ๆ ออกมาเลย

ลองเพิ่มเงื่อนไขใน subquery โดยเอารายการที่ F02 มีค่าเป็น null ออกไป

คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM TABLE01 WHERE F02 NOT IN (SELECT F02 FROM TABLE02 WHERE F02 IS NOT NULL);

ผลลัพธ์ที่ได้คือ

result2

ซึ่งเป็นไปตามที่เราต้องการ

 

สรุปได้ว่า กรณีที่เราต้องการใช้งานคำสั่ง SELECT ที่ใช้ร่วมกับเงื่อนไข NOT IN ตามด้วย subquery  ต้องระมัดระวังในเรื่องของผลลัพธ์ที่ได้จาก subquery มีค่าข้อมูลที่เป็น null อยู่ด้วย ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่ตรงตามที่เราต้องการ

 

ข้อมูลอ้างอิง 

https://docs.oracle.com/cd/B19306_01/server.102/b14200/conditions013.htm

https://docs.oracle.com/cd/B19306_01/server.102/b14200/expressions014.htm#i1033664

 

 

 

 

 

 

Share the Post:

Related Posts

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 30 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More