วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #8

ได้รับข้อร้องเรียนจาก Google Webmaster Tools ว่า มีเครื่องภายในมหาวิทยาลัย พยายามโจมตี เครือข่ายภายนอก และทาง Firewall ของมหาวิทยาลัย ได้ทำการปิดกั้น การเข้าออก ของเครื่องดังกล่าวแล้ว จึงเข้าตรวจสอบ

 ขั้นตอนการตรวจสอบ

 1. เบื้องต้น พบว่าเป็น  Ubuntu 8.04.4 LTS

2. ตรวจสอบ ทำให้ทราบว่า Web User ใดที่สั่งให้ httpd ทำงาน ด้วยคำสั่ง

 ps aux |grep http

 ผลคือ

 nobody   31159  0.0  1.5  29056 15588 ?        S    Dec17   0:00 /opt
/lampp/bin/httpd -k start -DSSL -DPHP5

 จึงทราบว่า Web User ใช้ชื่อว่า ‘noboby’ (จากที่เคยคุ้นชินกับ www-data, apache อะไรทำนองนั้น)

 3. ตรวจสอบ Process อย่างละเอียดด้วยคำสั่งต่อไปนี้

 ps auxwe

 ผลที่ได้ พบว่า มี Process ของ httpd ทั่วๆไป จะแสดงรายละเอียดอย่างนี้

nobody     3460  0.0  1.3  28060 14348 ?        S    Dec01   0:00 /op
t/lampp/bin/httpd -k start -DSSL -DPHP5 LESSOPEN=| /usr/bin/lesspipe 
%s USER=root MAIL=/var/mail/root SHLVL=4 LD_LIBRARY_PATH=/opt/lampp/li
b:/opt/lampp/lib:/opt/lampp/lib: HOME=/root LOGNAME=root _=/opt/lampp/
bin/apachectl TERM=vt100 PATH=/usr/local/sbin:/usr/local/bin:/usr/sbin
:/usr/bin:/sbin:/bin LANG=en_US.UTF-8 LS_COLORS=no=00:fi=00:di=01;34:l
n=01;36:pi=40;33:so=01;35:do=01;35:bd=40;33;01:cd=40;33;01:or=40;31;01
:su=37;41:sg=30;43:tw=30;42:ow=34;42:st=37;44:ex=01;32:*.tar=01;31:*.t
gz=01;31:*.svgz=01;31:*.arj=01;31:*.taz=01;31:*.lzh=01;31:*.lzma=01;31
:*.zip=01;31:*.z=01;31:*.Z=01;31:*.dz=01;31:*.gz=01;31:*.bz2=01;31:*.b
z=01;31:*.tbz2=01;31:*.tz=01;31:*.deb=01;31:*.rpm=01;31:*.jar=01;31:*.
rar=01;31:*.ace=01;31:*.zoo=01;31:*.cpio=01;31:*.7z=01;31:*.rz=01;31:*
.jpg=01;35:*.jpeg=01;35:*.gif=01;35:*.bmp=01;35:*.pbm=01;35:*.pgm=01;3
5:*.ppm=01;35:*.tga=01;35:*.xbm=01;35:*.xpm=01;35:*.tif=01;35:*.tiff=0
1;35:*.png=01;35:*.svg=01;35:*.mng=01;35:*.pcx=01;35:*.mov=01;35:*.mpg
=01;35:*.mpeg=01;35:*.m2v=01;35:*.mkv=01;35:*.ogm=01;35:*.mp4=01;35:*.
m4v=01;35:*.mp4v=01;35:*.vob=01;35:*.qt=01;35:*.nuv=01;35:*.wmv=01;35:
*.asf=01;35:*.rm=01;35:*.rmvb=01;35:*.flc=01;35:*.avi=01;35:*.fli=01;3
5:*.gl=01;35:*.dl=01;35:*.xcf=01;35:*.xwd=01;35:*.yuv=01;35:*.aac=00;3
6:*.au=00;36:*.flac=00;36:*.mid=00;36:*.midi=00;36:*.mka=00;36:*.mp3=0
0;36:*.mpc=00;36:*.ogg=00;36:*.ra=00;36:*.wav=00;36: SHELL=/bin/bash L
ESSCLOSE=/usr/bin/lesspipe %s %s PWD=/root

แต่ พบว่า มีอยู่รายการหนึ่ง แสดงผลอย่างนี้

 nobody    5106  0.0  0.2   4168  2184 ?        S    Nov21   1:17 /usr
/local/apache/bin/httpd -DSSL                                         

                                          -m a.txt HOME=/nonexistent O
LDPWD=/var/spool/cron LOGNAME=nobody PATH=/usr/bin:/bin SHELL=/bin/sh 
PWD=/home/wwwroot/experience/images/smilies/.laknat/.libs

 จึงตรวจสอบ Process PID 5106 ด้วยคำสั่ง

 ls -la /proc/5106

 ผลที่ได้คือ

 ซึ่ง จะเห็นได้ว่า Process นี้ สั่งทำงานจาก /home/wwwroot/experience/images/smilies/.laknat/.libs/httpd

แต่ ก่อนหน้านี้ ผู้ดูแลระบบ ได้ สำรองข้อมูลออกไป แล้วลบทิ้งไปก่อนแล้ว จึงขึ้นคำว่า (deleted)

 จาก วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #6 พบว่า Hacker มักจะเขียน crontabs เอาไว้ เรียก Backdoor กลับมาอีก จึงทำการตรวจสอบที่ /var/spool/cron/crontabs ด้วยคำสั่ง

 ls -l /var/spool/cron/crontabs/

ผลที่ได้คือ

-rw------- 1 nobody crontab 271 2013-11-21 21:45 nobody
-rw------- 1 root   crontab 256 2011-12-30 09:46 root

 และเมื่อ cat ออกมาดู พบว่า

cat /var/spool/cron/crontabs/root

# DO NOT EDIT THIS FILE - edit the master and reinstall.
# (/tmp/crontab.WBj4te/crontab installed on Fri Dec 30 09:46:13 2011)
# (Cron version -- $Id: crontab.c,v 2.13 1994/01/17 03:20:37 vixie Exp $)
# m h  dom mon dow   command
0 3 * * * sh /backup.sh
cat /var/spool/cron/crontabs/nobody

# DO NOT EDIT THIS FILE - edit the master and reinstall.
# (a.txt.d installed on Thu Nov 21 21:45:40 2013)
# (Cron version -- $Id: crontab.c,v 2.13 1994/01/17 03:20:37 vixie Exp $)
* * * * * /home/wwwroot/experience/images/smilies/.laknat/.libs/a.txt.upd >/dev/null 2>&1

 แสดงให้เห็นว่า มี crontabs ของ nobody สร้างเมื่อเวลา Thu Nov 21 21:45:40 2013

4.เครื่องนี้ใช้ lampp เป็น Web Server ซึ่ง ใช้พื้นที่ทำงานคือ

 /opt/lampp

 โดย ให้ผู้ใช้แต่ละคน สร้าง Web ในพื้นที่ /home ของแต่ละคนได้

 และเก็บ Logs ที่

 /opt/lampp/logs

 จึงตรวจสอบด้วยคำสั่ง

 grep "21/Nov/2013:21:45" /opt/lampp/logs/access_log

 ผลที่ได้คือ

03-logplacefile

แสดงให้เห็นว่า มีการเรียกไฟล์ *.php ใน images/stories ซึ่ง น่าจะเป็นช่องโหว่ จาก JCE Exploited ตาม วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #4 ซึ่งจะใช้วิธีการตามที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อตรวจสอบต่อไป

5. เนื่องจาก ผู้ดูแลระบบ ได้สำรองข้อมูลของ /home/wwwroot/experience/images/smilies/.laknat/.libs/ เอาไว้ จึง เรียกออกมาดู

ได้ผลดังนี้

จะเห็นได้ว่า ไฟล์ a.txt.upd ถูกสร้างเมื่อเวลา 2013-11-21 21:45 จริงๆ

เมื่อใช้คำสั่ง

cat a.txt.upd

 ได้ผลว่า

a.txt.upd

จึงลองตรวจสอบ a.txt.run ด้วยคำสั่ง

cat a.txt.run

 ได้ผลว่า

 a.txt.run

และใช้คำสั่ง

cat a.txt

 ซึ่งเป็นโปรแกรม ภาษา TCL ซึ่งมีรายละเอียดยาวมาก แต่ มีส่วนหนึ่ง เขียนว่า

a.txt

และจากการตรวจสอบ ทั้ง directory ก็พบว่า เป็นการเอา Network Tools ต่างๆ ได้แก่ Sniffer, Network Scanner และ อื่นๆอีกมากมาย ซึ่ง เอาตัวโปรแกรม เช่น TCL แบบ Portable มาด้วย หมายความว่า แม้เครื่อง Server ไม่ติดตั้ง TCL ก็สามารถทำงานได้เลยทีเดียว

 ดังนั้น เครื่องนี้ ถูกสั่งงานจากทางไกล กลายเป็น Botnet เพื่อตรวจสอบ เครื่องแม่ข่ายภายใน แม้มหาวิทยาลัยจะมี Firewall ป้องกัน แต่ถูกเครื่องนี้ ดักเก็บข้อมูล และแสดงผลกลับไปให้ Hacker ผ่านทาง Port TCP/80 ซึ่ง Firewall เปิดให้ใช้งานได้เลย

 5. ตรวจสอบว่า มีไฟล์ *.php ใน directory images/stories อีกหรือไม่ ด้วยคำสั่ง

 find /home -name "*.php" -type f | grep 'images/stories'

 ก็พบเพียงไฟล์เดียว คือ

 /home/wwwroot/research_old/images/stories/gh.php

 ซึ่งผิดสังเกต เมื่อตรวจสอบไฟล์ที่สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ไม่พบความผิดปรกติ ซึ่ง ไม่ปรกติ

6. จึงตรวจสอบทั้ง /home ทุกไฟล์ *.php ที่อาจจะมี Backdoor ที่อาจซ่อนการใช้ฟังก์ชั่น eval หรือไม่ ด้วยคำสั่ง

for f in $(find /home/ -name "*.php" -type f) ; do
  echo $f
  echo "---"
  grep 'eval(' "$f"
  echo "---"
done

 พบว่า มีไฟล์ *.php ทั้งหมดจำนวน 15,883 ไฟล์ ในนั้นมี 200 กว่าไฟล์ ที่มีการใช้ฟังก์ชั่น eval จริง แต่บางส่วน ก็เป็นไฟล์ที่ถูกต้อง แต่มี 34 ไฟล์ ที่ เป็นไฟล์ Backdoor ใหม่ๆ เพิ่งสร้างขึ้นมา เช่น

และ เป็นไฟล์ของระบบ ที่มีการแทรก Backdoor Code เข้าไป เช่น

จึง เก็บรายชื่อไฟล์ทั้ง 34 นี้ ไว้ในไฟล์ ชื่อ 11-manualhack.txt และใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อเก็บไฟล์เอาไว้ เพื่อใช้ตรวจสอบต่อไป

 cat 11-manualhack.txt | xargs tar -cvf evalbackdoor.tar

 แล้วจึง ลบทิ้งด้วยคำสั่งต่อไปนี้

 cat 11-manualhack.txt | xargs rm -rf

 7. ตรวจสอบต่อไปว่า มี directory ใดบ้าง ที่ เปิดให้ Web User ‘nobody’ เขียนได้ ด้วยคำสั่ง

 find /home -user nobody -perm -u+w -type d

พบว่า มี directory จำนวนมากที่เปิดให้ Web User เขียนได้

และ ใช้คำสั่งต่อไปนี้ ดูว่า มี directory ใดบ้าง เปิดให้ใครๆก็เขียนได้ (World Writable) หรือ ตั้ง permission 777 ด้วยคำสั่ง

find /home  -perm -o=w -type d

 ก็มีจำนวนมากเช่นกัน

 การแก้ไขปัญหา

1. เก็บไฟล์ Backdoor ด้วยคำสั่งต่างๆข้างต้น และลบทิ้ง

2. ปรับให้ทุก Directory เป็น Permission 755 ด้วยคำสั่ง

 find /home -type d -print0 | xargs -0 chmod 0755

 3. ปรับให้ทุก File เป็น Permission 644

 find /home -type f -print0 | xargs -0 chmod 0644

 4. เปลี่ยน Owner และ Group ของทุก Directory และ Files ให้เป็นของแต่ละ User ด้วยคำสั่งประมาณนี้

chown -R user01.user01 /home/wwwroot

5. ลบ crontab ด้วยคำสั่ง

rm /var/spool/cron/crontabs/nobody

6. หยุด Process PID 5106

kill -9 5106

 คำแนะนำ

เนื่องจาก ขณะนี้ได้ เราได้แต่ค้นหา ช่องโหว่ ตามที่เคยเรียนรู้มาเท่านั้น ยังมีรูปแบบต่างๆ ที่ยังไม่รู้อีกมากมาย จึงแนะนำให้

1. ติดตั้ง OS ใหม่

2. ติดตั้ง Joomla ใหม่ และ ย้ายเฉพาะ ข้อมูลที่อยู่ใน MySQL มา แล้วจึง Upgrade ให้เป็นรุ่นล่าสุด

3. ย้ายเฉพาะ ภาพ และ ไฟล์เอกสารสำคัญมา แต่ต้องไม่เอาไฟล์ .php หรือ อื่นๆมาเด็ดขาด

4. เข้มงวดกับการตั้ง Owner และ Permission กับผู้ใช้งานทุกคนของระบบ, หากจะมี Directory ใดต้องให้มีการ Upload ไฟล์ได้ จะต้องตั้งค่าไม่ให้ PHP ทำงานได้เด็ดขาด

5. การใช้งาน Joomla จะต้องยกเลิกการ Upload ภาพผ่านทาง HTTP แต่ให้ใช้ FTP แทน

 และ บทความต่อๆไป จะพูดถึงการ Hardening เพื่อลดความเสียหายต่อไป

 ขอให้โชคดี

Comments are closed.