Tag: wordpress

  • การเชื่อมต่อ OAuth2 ด้วย WordPress

    อยาก  Login ด้วย OAuth2 กับ WordPress ต้องทำอย่างไร

    สำหรับตัวอย่างนี้จะทำการติดตั้งบน WordPress 5.1 ผ่าน Plugin Simple Single Sign On

    • หลังจากติดตั้ง WordPress เสร็จ เข้าหน้า Administrator แล้วทำการกด Install เพื่อเข้าไปยังหน้าติดตั้ง Extension เพิ่มเติม ทำการเพิ่มปลั๊กอินใหม่ดังรูป

    • ทำการค้นหา single sign on และทำการ Install Now

    • จากนั้นทำการกด Activate

    • จากนั้นทำการตั้งค่าโดยข้าม Step 1 ไปตั้งค่า Step 2 เนื่องจากได้มีการตั้งค่า WP OAuth Server ให้รองรับไว้อยู่แล้ว

    • หลังจากนั้นทำการทดสอบ Login โดยกดปุ่ม Single Sign On

    เพิ่งเท่านี้ก็จะสามารถใช้งานได้ แต่ยังเป็นแบบเลือกได้ว่าจะ Login แบบ Local หรือผ่าน OAuth โดยอาจจะทำเป็นปุ่มในหน้าแรกเพื่อให้กด Login ก็ได้เช่นกัน

  • WordPress Custom Error page

    เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการแสดงผล error page ที่แสดงผลใน licensing.psu.ac.th จึงต้องหาทางแก้ไขการแสดง Error page 403 ใหม่

    1. Plug in ชื่อ Custom Error Pages ติดตั้งแล้วเปิดใช้งานให้เรียบร้อย
    2. เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในแฟ้ม .htaccess
      ErrorDocument 403 /index.php?status=403
      ErrorDocument 401 /index.php?status=401
    3. แต่เนื่องจากไซต์ที่แสดง error 403 ไม่ใช่ licensing.psu.ac.th แต่เป็น bahamut.psu.ac.th ซึ่งอาจจะมีหลายท่านเคยเจอข้อความประมาณ
      Forbidden You don't have permission to access /licensing/SW_DVD5_Office_Professional_Plus
      _2013w_SP1_32-BIT_X64_English_X19-35900.ISO on this server.
    4. ฉะนั้นต้องไปสร้าง .htaccess ในพื้นที่ของไซต์ bahamut.psu.ac.th แทน ซึ่งอยู่ที่ /licensing มีข้อความว่า
      ErrorDocument 403 https://licensing.psu.ac.th/index.php?status=403 
      ErrorDocument 401 https://licensing.psu.ac.th/index.php?status=401
    5. จบขอให้สนุก
    6. ก่อนจาก licensing.psu.ac.th เป็นที่จัดเก็บ link ของไฟล์ที่อยู่บน bahamut.psu.ac.th เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ นอกมหาวิทยาลัย จะแจ้ง error ในหน้าของ bahamut.psu.ac.th ทำให้ดูไม่เป็นหนึ่งเดียว ปรับแก้ด้วยวิธีข้างต้น
    7. ตัวอย่างหน้า error page เข้ารับชมได้ที่ https://licensing.psu.ac.th/index.php?status=403
    8. สรุปได้ว่า ErrorDocument จะชี้ที่ไหนก็ได้
  • เขียน PHP ใน wordpress

    1. สิ่งที่ต้องมี ไซต์ wordpress และ user ที่สามารถติดตั้งและใช้งาน Plugins ได้ ส่วนใหญ่คือ user ที่มีสิทธิ administrator
    2. ติดตั้ง Plugins ชื่อ PHP Code snippets (จริง ๆ Plugins ที่ทำหน้าที่นี้มีหลายตัว แต่ใช้ตัวนี้มานานแล้ว) แล้วเปิดการใช้งานให้เรียบร้อย

      PHP Code snippets
      PHP Code snippets
    3. เมื่อติดตั้งและเปิดใช้แล้วจะมีเมนู PHP snippets ปรากฏขึ้นที่แถบด้านซ้ายมือ

      PHP snippets
      PHP snippets
    4. เมื่อคลิกที่ PHP snippets จะได้ดังรูป (แต่อันนี้จะมี code ของผู้เขียนอยู่แล้วสาม code)

      PHP snippets
      PHP snippets
    5. คลิก Add snippet เพื่อสร้าง code

      PHP Snippet
      New Code
    6. ใส่ชื่อ code ในช่องแรก และใส่ code PHP ในช่องที่สอง

      PHP snippet
      Coding
    7. คลิก Where there is a shortcode เพื่อให้ code ทำงานเฉพาะหน้าที่มีการระบุ  shortcode แต่หากต้องการให้ code นี้ทำงานทุกหน้าสามารถคลิกที่ Run everywhere และสามารถเขียนคำอธิบายได้ในช่อง  Description

      PHP snippet
      Run at
    8. คลิก Publish เพื่อเปิดการใช้งาน code คลิก snippet เพื่อดูสถานะ ถ้าได้ดังรูปแปลว่า code ถูกเปิดใช้งานแล้ว

      PHP snippet
      Code status activated
    9. ถ้าต้องการปิดไม่ให้ code ทำงานสามารถคลิกปุ่ม Deactivate ได้

      PHP snippet
      Code status deactivated
    10. วิธีเรียกใช้งานให้สร้าง Pages หรือ Posts แล้วนำ shortcode ไปใส่ไว้ shortcode สามารถดูได้ในช่อง  Where use? ตัวอย่าง
    11. จาก code นี้ถ้าเรียกหน้า https://licensing.psu.ac.th/login โดย user ที่ยังไม่ login จะ redirect ไปหน้า login ก่อน
    12. จบขอให้สนุก

     

  • วิธีสร้าง CoreOS Cluster

    จะสร้าง CoreOS ให้กลายเป็น Cluster Docker Container ได้อย่างไร

                 จากบทความที่แล้วที่แนะนำเกี่ยวกับ CoreOS และการติดตั้งบน Vmware[1] ไปแล้วนั้น เราก็สามารถสร้างให้เป็นในรูปแบบ Cluster ได้ โดยมองว่าเครื่องแต่ละเครื่องที่สร้างนั้นเป็น Node หนึ่ง ๆ ใน Cluster โดยใช้ etcd เป็นตัวเก็บข้อมูลของ Node และ Fleet เป็นตัว Deploy docker ให้กระจายไปยัง Node ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยที่จะสามารถย้ายตัวเองได้เมื่อมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา (Recommend จำนวนเลขคี่ และอย่างต่ำต้อง 3 node ขึ้นไป ยิ่งเยอะ โอกาสล่มก็ยิ่งต่ำ)


                etcd ในปัจจุบันเป็น Version 3 ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจาก Version 2 (แต่ใน document web ยังเป็น etcd2 เป็นส่วนมาก) โดยใช้สำหรับเก็บข้อมูลแต่ละ Node ทำให้รู้ว่าในแต่ละ Cluster มีเครื่องใด IP อะไรบ้าง มีทั้งหมด 3 วิธีคือ 

    1. Static เป็นวิธีที่ระบุลงไปเลยในแต่ละเครื่องว่ามีเครื่องไหนบ้างที่อยู่ใน Cluster วิธีการนี้ข้อเสียคือถ้าเพิ่มต้องเพิ่มทุกเครื่อง
    2. etcd Discovery เป็นวิธีที่จะให้ Discovery Service เป็นคนทำหน้าที่เก็บข้อมูล (เหมือน tracker torrent) เมื่อเพิ่มเครื่องใหม่ ก็แค่ชี้ไป Discovery URL ก็เสร็จ
    3. DNS Discovery เป็นวิธีการใช้วิธีการจด DNS ในรูปแบบ SRV record เพื่อบอกว่า บริการนี้มีเครื่องอะไรอยู่บ้าง ซึ่งจะมีการอ้างอิงอยู่กับ Domain Name โดยวิธีนี้จำเป็นต้องจดชื่อ Domain ทุกเครื่อง

                ในบทความนี้จะอธิบายวิธีที่ 1 ซึ่งแม้ยุ่งยาก แต่เหมาะกับระบบที่ Internet Public ไม่ค่อยเสถียร และ ถ้าใครต้องการลองวิธีอื่นสามารถตามอ่านได้ใน Web CoreOS[2] ครับ

      วิธีการตั้งค่า etcd2

    • ทำการสร้าง service etcd2 service ด้วย systemd ดังนี้
      sudo vim /etc/systemd/system/etcd2.service
    • ข้อความในไฟล์มีดังนี้ (ถ้าต้องการความปลอดภัยสามารถใช้ https ได้ครับ แต่ต้องมีการทำ certificate เพิ่มเติม ซึ่งไม่ขออธิบายครับ)
      [Unit]
      Description=etcd2
      Conflicts=etcd.service
      
      [Service]
      User=etcd
      Type=notify
      Environment=ETCD_DATA_DIR=/var/lib/etcd
      ExecStart=/usr/bin/etcd2 --name node01 --initial-advertise-peer-urls http://[IP]:2380 \
       --listen-peer-urls http://[IP]:2380 \
       --listen-client-urls http://[IP]:2379,http://127.0.0.1:2379 \
       --advertise-client-urls http://[IP]:2379 \
       --initial-cluster-token etcd-cluster-1 \
       --initial-cluster node01=http://[IP_node01]:2380,node02=http://[IP_node02]:2380,node03=http://[IP_node03]:2380 \
       --initial-cluster-state new
      
      Restart=always
      RestartSec=10s
      LimitNOFILE=40000
      TimeoutStartSec=0
      
      [Install]
      WantedBy=multi-user.target
      
    • Enable etcd2 service เพื่อให้รันทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
      sudo systemctl enable etcd2
    • Start etcd2 service
      sudo systemctl start etcd2
    • ตรวจดูสถานะการทำงานของ etcd2 service
      sudo systemctl status etcd2
    • เราสามารถดูข้อมูลสมาชิกได้ดังนี้
      etcdctl member list

     วิธีการตั้งค่า Fleet

    • ทำการสร้าง service fleet โดยการตั้งค่าใน systemd ดังนี้
      sudo vim /etc/systemd/system/fleet.service
    • ข้อความในไฟล์มีดังนี้ (จะเห็นว่า config ตั้งค่าให้ Start หลัง etcd2)
      [Unit]
      Description=fleet daemon
      
      After=etcd2.service
      
      Wants=fleet.socket
      After=fleet.socket
      
      [Service]
      User=fleet
      Environment=GOMAXPROCS=1
      Environment="FLEET_PUBLIC_IP=[IP]"
      ExecStart=/usr/bin/fleetd
      Restart=always
      RestartSec=10s
      
      [Install]
      WantedBy=multi-user.target
    • Enable fleet service เพื่อให้รันทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
      sudo systemctl enable fleet
    • Start fleet service
      sudo systemctl start fleet
    • ตรวจดูสถานะการทำงานของ fleet service
      sudo systemctl status fleet
    • วิธีตรวจดูสถานะแต่ละ Node ทำได้ดังนี้
      fleetctl list-machines
    • จะได้ผลลัพธ์หน้าตาประมาณนี้ครับ

           ให้ทำการติดตั้งไปเรื่อย ๆ ทั้ง CoreOS->Etcd2->Fleet จนครบ 3 เครื่อง หรือ 5,7,9 เครื่องแล้วแต่จะต้องการว่าจะสร้างกี่ Node ครับ ยกตัวอย่างถ้าครบ 3 เครื่องก็จะได้ประมาณนี้ครับ

    ทดสอบการสร้าง WordPress ผ่าน Fleet[3]

    • วิธีการทำแน่นอนครับ หนีไม่พ้นไฟล์รูปแบบ systemd (อีกแล้ว) แต่ไม่ต้องรันด้วย systemctl นะครับ ทำที่เครื่องใดเครื่องหนึ่ง สร้างที่ /home/core ก็ได้ดังนี้
    • ก่อนอื่นต้องติดตั้ง docker mysql โดยสร้างไฟล์ mysql.service ดังนี้
      vim mysql.service
    • ข้อความในไฟล์ประมาณนี้ครับ
      [Unit]
      Description=MySQL DataBase
      After=etcd.service
      After=docker.service
      
      [Service]
      TimeoutStartSec=0
      ExecStartPre=-/usr/bin/docker kill mysql
      ExecStartPre=-/usr/bin/docker rm mysql
      ExecStartPre=/usr/bin/docker pull mysql:5.7
      ExecStart=/usr/bin/docker run --name mysql -e MYSQL_ROOT_PASSWORD="wordpress" -e MYSQL_DATABASE="wordpress" -e MYSQL_USER="wordpress" -e MYSQL_PASSWORD="wordpress" mysql:5.7
      ExecStop=/usr/bin/docker stop mysql
    • สร้างไฟล์ wordpress.service ดังนี้
      vim wordpress.service
    • ข้อความในไฟล์ประมาณนี้ครับ
      [Unit]
      Description=WordPress
      After=mysql.service
      
      [Service]
      TimeoutStartSec=0
      ExecStartPre=-/usr/bin/docker kill wordpress
      ExecStartPre=-/usr/bin/docker rm wordpress
      ExecStartPre=/usr/bin/docker pull wordpress
      ExecStart=/usr/bin/docker run --name wordpress --link mysql -p 8880:80 -e WORDPRESS_DB_PASSWORD=wordpress -e WORDPRESS_DB_NAME=wordpress -e WORDPRESS_DB_USER=wordpress wordpress
      ExecStop=/usr/bin/docker stop wordpress
      
      [X-Fleet]
      X-ConditionMachineOf=mysql.service
    • สั่ง Start mysql service ด้วย fleetctl ดังนี้
      fleetctl start mysql.service

    • สั่ง Start wordpress service ด้วย fleetctl ดังนี้
      fleetctl start wordpress.service

    • สั่งคำสั่งเพื่อตรวจสอบสถานะดังนี้ (ซึ่งจะบอกว่าติดตั้งที่ Node ใด และสถานะการใช้งาน หรือการติดตั้งเป็นอย่างไร)
      fleetctl list-units

    • เสร็จแล้วลองสั่ง fleetctl list-units ที่ Node อื่น ๆ ดูครับก็จะได้ผลลัพธ์เหมือน ๆ กัน
    • ก็จะได้ web wordpress เอาไว้ใช้งานแล้ว
    • จากนั้นทดสอบลองปิด Node ดูครับ สำหรับระบบที่มี 3 Node พังได้แค่ Node เดียวครับ ถ้าอยากได้มากกว่านั้นต้องเพิ่มจำนวน Node ขึ้นไป 
    • จะพบว่าเครื่องจะย้ายไป Start อีก Node ทันที (มันจะสั่ง start ใหม่นะครับ ไม่ได้ย้ายไปแบบ vmware) เท่าที่ทดสอบข้อมูลไม่ได้มาด้วยครับ อีกทั้งยังได้ ip ที่เครื่องใหม่ เพราะฉะนั้นต้องหาวิธีทำ map volume และ proxy web เอาเองครับ

    (Optional) วิธีการ Fix IP แทน DHCP

    • ในกรณีที่ต้องการ Fix IP แทน DHCP ให้เข้าไปสร้าง systemd network config โดยสร้างไฟล์ดังนี้
      sudo vim /etc/systemd/network/static.network
    • ข้อความในไฟล์ประมาณนี้ครับ
      [Match]
      Name=[Interface Name]
      
      [Network]
      Address=[IP/Mask]
      Gateway=[IP Gateway]
      DNS=[DNS IP มีหลาย IP ให้เว้นวรรค เช่น 10.0.0.1 10.0.0.2]
    • จากนั้นให้ทำการ Restart เครื่อง (จริง ๆ restart service ก็น่าจะได้ แต่ลองแล้วไม่ได้ครับ)

                 สำหรับ CoreOS Cluster ก็มีเท่านี้ครับ แต่จะเห็นว่ายังขาด Docker Management ที่เป็น GUI รวมถึง Docker Gateway และระบบ Storage ติดตามในตอนต่อ ๆ ไปแล้วกันครับ

    ==================================

    Reference :

    [1] มารู้จักกับ CoreOS Linux และวิธีติดตั้ง CoreOS Linux บน Vmware : https://sysadmin.psu.ac.th/2017/05/03/coreos-linux-install-vmware/

    [2] CoreOS Clustering Guide : https://coreos.com/etcd/docs/latest/op-guide/clustering.html#etcd-discovery

    [3] Deploy WordPress in CoreOS Cluster using Fleet : https://wenfeng-gao.github.io/2016/06/03/deploy-wordpress-in-coreos-cluster-using-fleet.html

  • Juju #04 – วิธีทำให้ WordPress กระจายงานไปยัง MySQL Slave ด้วย HyperDB

    ต่อจาก Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL เมื่อมี MySQL Server มากกว่า 1 ตัว ซึ่งทำการ Replication กัน (ในตอนนี้ 2 ตัว คือ Master กับ Slave) ซึ่งให้ความสามารถในเรื่อง [1]

    • Data-Security : เมื่อข้อมูลถูก Replicate ไปที่ Slave แล้ว เราสามารถหยุดการทำงานของ Slave เพื่อทำการสำรองข้อมูลได้ โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master
    • Analytics: ทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ที่ Slave โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master
    • Scale-Out Solutions: เมื่อมี Slaves หลายตัว ทำให้สามารถกระจายงานในด้าน Read เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการแก้ไขข้อมูล จะทำที่ Master เท่านั้น

    ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการ Scale-Out Solutions ของ WordPress เท่านั้น โดยใช้ Plugin ชื่อ HyperDB

    HyperDB [2] เป็น Database Class ที่ใช้แทนที WordPress built-in database functions โดยจะทำให้ WordPress สามารถติดต่อกับ MySQL ได้หลายเครื่อง โดยที่สามารถกำหนดได้ว่าจะ Write ไปยัง Master และ Read จากทั้ง Master และ Slaves อีกทั้งยังสามารถ Failover ได้อีกด้วย

    วิธีการติดตั้ง HyperDB

    1. ที่ WordPress ใช้คำสั่ง
      wget https://downloads.wordpress.org/plugin/hyperdb.1.2.zip
      sudo apt-get install unzip
      sudo unzip hyperdb.1.2.zip
    2. ย้ายไฟล์ hyperdb/db-config.php ไปยังที่ Directory เดียวกันกับ wp-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/)
      sudo cp hyperdb/db-config.php /var/www
    3. ย้ายไฟล์ hyperdb/db.php ไปยังที่ Directory wp-content (ในที่นี้คื่อ /var/www/wp-content)
      sudo cp hyperdb/db.php /var/www/wp-content/
    4. แก้ไขไฟล์ db-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/db-config.php) [3] โดยค้นหาคำว่า DB_HOST ซึ่งควรจะปรากฏอยู่แค่ 2 แห่งในไฟล์ ให้ไปที่ชุดที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหาประมาณนี้

      จากนั้นแก้ไข DB_HOST ให้เป็น DB_SLAVE_1
    5. ต่อไปก็ไปเพิ่ม define(‘DB_SLAVE_1′,’xxx.xxx.xxx.xxx’) ซึ่งไฟล์ wp-config.php หรือไม่ก็ wp-info.php (ในที่นี้อยู่ที่ /var/www/wp-info.php)
    6. เมื่อทดสอบใช้งาน พบว่า มี Query มาทั้งที่ master และ slave
      ในภาวะว่าง

      ในภาวะมีงานเข้ามา
    7. ทดสอบเพิ่มบทความใหม่ ชื่อ “This is my first article” พบว่า ระบบสามารถเขียนไปยัง Master แล้วสามารถส่งต่อไปให้ Slave ได้
    8. ต่อไป เพิ่ม mysql-slave2 เข้าไปใน Juju และสร้าง Relation เป็น master -> Slave เช่นกัน

      แล้วทำการเพิ่ม DB_SLAVE_2 เข้าไปใน db-config.php และ wp-info.php

    9. ก็จะพบว่าข้อมูลได้ Replicate ไปหา Slave2 แล้ว
    10. และ เมื่อทำการ query ข้อมูลก็พบว่า มีการกระจายคำสั่ง Read ไปทั้ง 3 เครื่อง

    References

    [1] https://dev.mysql.com/doc/refman/5.7/en/replication.html

    [2] https://th.wordpress.org/plugins/hyperdb/

    [3] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-optimize-wordpress-performance-with-mysql-replication-on-ubuntu-14-04

  • How to install mathtex.cgi ubuntu 12.04

    1. ติดตั้ง texlive-full , dvipng,  imagemagick
      $sudo apt-get install -y texlive-full dvipng imagemagick
    2. ดาวน์โหลด mathtex.zip
      $wget http://www.forkosh.com/mathtex.zip
    3. สร้างไดเร็คทอรี่ mathtex
      $mkdir mathtex
    4. cd mathtex
    5. unzip ../mathtex.zip
    6. compile mathtex.c ด้วยคำสั่ง
      $cc mathtex.c -DLATEX=\"$(which latex)\" -DDVIPNG=\"$(which dvipng)\"  -o mathtex.cgi
    7. sudo mv mathtex.cgi /usr/lib/cgi-bin
    8. sudo chown :www-data /usr/lib/cgi-bin
    9. sudo chmod g+w /usr/lib/cgi-bin
    10. เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในแฟ้ม /etc/apache2/sites-enabled/000-default ภายใน Directive VirtualHost ถ้าใส่ตามนี้คืออนุญาติเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้นเข้าถึงได้
      ScriptAlias /cgi-bin/ /usr/lib/cgi-bin/
      <Directory /usr/lib/cgi-bin>
          Options +ExecCGI
          Order deny,allow
          Deny from all
          Allow from 10.0.0.0/8 172.16.0.0/12 192.168.0.0/16
      </Directory>
    11. restart apache
      $sudo service apache2 restart
    12. ทดสอบเรียกใช้งานได้ที่ http://yourhostname/cgi-bin/mathtext.cgi?x
    13. texlive เป็นโปรแกรมที่ทดแทน latex ใช้สร้างสมาการทางคณิตศาสตร์
    14. ใน WordPress มีปลั๊กอินชื่อ Youngwhan’s Simple Latex สามารถเรียกใช้ mathtex นี้ได้ทันที โดยปกติจะเซ็ตไว้ให้ใช้ shared host ภายนอกมหาวิทยาลัย
    15. ทดสอบเรียกใช้งาน E=mc^2 ได้ผลเป็น
    16. ตัวอย่างอื่นๆ สำหรับสมการแปลกๆ Example
    17. จบ…. ขอให้สนุกครับ

    ที่มา

    • https://help.ubuntu.com/community/LaTeX
    • http://www.forkosh.com/cgi-bin/weblist.cgi?-t=weblist&-o=php&-f=sources/mimetexquickstartweb.php
  • WordPress file owner and permission

    ตอนนี้เราควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเว็บไซต์ wordpress โดยการตั้งค่าสิทธิของไดเรกทอรีและไฟล์มากขึ้นเพราะมีข่าวที่เว็บไซต์มีช่องโหว่แล้วถูกฝังโค้ด

    เช่น แต่เดิมเราติดตั้ง wordpress ไว้ในไดเรกทอรี /var/www/wordpress แล้วเพื่อให้ทำงานติดตั้ง plugins เพิ่ม ปรับแต่งหน้าเว็บด้วย themes ใหม่ๆ หรือการอัปโหลดรูปภาพและสื่อ รวมทั้งการ upgrade เวอร์ชั่นของ wordpress ทำได้สะดวกง่ายๆ ด้วยการกำหนดสิทธิอย่างง่ายคือ

    sudo chown -R www-data.www-data /var/www/wordpress

    ก็ใช้งานได้แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะเป็นเหยื่อได้ ผมได้คุยกับน้องใหญ่ แล้วก็ลงความเห็นกันว่า เราควรตั้งค่า file owner และ file permission ให้มันเข้มขึ้นแต่ยังสะดวกในการทำงานติดตั้งอะไรๆได้ด้วย ก็เป็นที่มาของคำสั่งข้างล่างนี้

    อันดับแรกก็จะต้องกำหนด file owner กันก่อน ถ้า ubuntu server ของเรา ใช้ username คือ mama และมี group ชื่อ adm ซึ่งเป็นชื่อ group ที่มีสิทธิทำอะไรได้มากกว่า user ธรรมดา ก็ใช้ mama:adm นี้ได้ หรือจะใช้ mama:mama ก็ได้ครับ (ที่เป็น adm ก็เผื่อไว้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะเพิ่ม username สักคนเข้าใน groupname adm นี้ก็เท่านั้นเอง) ดังนี้

    sudo chown -R mama:adm /var/www/wordpress
    sudo chown -R mama:adm /var/www/wordpress/wp-content/

    ถัดมาก็กำหนด file owner ที่ให้สิทธิ apache web server ซึ่งใช้ username คือ www-data และ groupname คือ www-data เพียงแค่ไดเรกทอรีที่จำเป็น ดังนี้

    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/plugins
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/themes
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/upgrade
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/uploads

    ถัดไปก็กำหนด file permission ให้กับไดเรกทอรีเหล่านี้ด้วย (ผมเพิ่ม -R ลงไปในคำสั่งด้านล่างนี้ด้วยแล้ว) ดังนี้

    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/plugins
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/themes
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/upgrade
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/uploads

    สุดท้าย เราต้องแก้ไขไฟล์ชื่อ wp-config.php ด้วยนะ เหตุผลตรงนี้คือ เราไม่ต้องการติดตั้งแบบที่มันจะถาม ftp user แต่ต้องการให้ติดตั้งได้อัตโนมัติ ให้แก้ไขดังนี้

    sudo vi /var/www/wordpress/wp-config.php

    โดยให้แทรกบรรทัด

    define('FS_METHOD', 'direct');

    ไว้ก่อนบรรทัดนี้ อยู่ประมาณ 10 บรรทัดนับจากท้ายไฟล์ครับ

    /* That’s all, stop editing! Happy blogging. */

    ผมคิดว่าหากเป็น CMS ตัวอื่นๆ ก็คงใช้แนวทางเดียวกันนี้ได้

    ขอจบเพียงเท่านี้ และขอขอบคุณข้อมูลจากคุณเกรียงไกร หนูทองคำ ครับ

  • ตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login

    ใน wordpress เราสามารถตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login ทำได้โดยการติดตั้ง plugin เพิ่ม ผมได้ติดตั้ง plugin ชื่อ member access (member-access.1.1.6.zip) เพิ่มตามคำแนะนำของทีมงาน (ใหญ่และน้อง ศูนย์คอมฯ ขอบคุณครับ)

    วิธีใช้งานคือ เมื่อท่านเขียนบทความเสร็จ ตัดสินใจแล้วว่าจะเผยแพร่แบบให้สมาชิกที่ login เข้าสู่ระบบแล้วจะดูได้เท่านั้น (เพราะจำเป็นจริงๆ อาจมีความลับบางอย่างไม่อยากให้พี่ google ไปบอกต่อ)

    ให้ท่านดูที่ด้านขวามือ จะเห็นเป็น
    Status: Published Edit
    Visibility: Public Edit ซึ่งถูกต้องแล้ว

    จากนั้นให้เลือกตัวเลือกของ Member Access ด้านล่าง
    ตั้งค่าตัวเลือก Ignore the default settings and make this post visible only to members

    ผลลัพธ์จากการตั้งค่าครั้งนี้ ทำให้บทความไม่แสดงในหน้าเว็บไซต์ ถ้าไม่ login เข้าสู่ระบบก็จะไม่เห็นบทความ เมื่อคัดลอก link ส่งไปให้ ผู้ที่ได้รับ link ก็จะถูก redirect มายังหน้า login

  • วิธีย้ายบล็อก wordpress ไปเครื่องใหม่ชื่อโดเมนเนมใหม่

    บันทึกขั้นตอน (ตัวอย่าง) ในการย้ายบล็อก wordpress จากเครื่องเดิม sysadmin.in.psu.ac.th ไปยังเครื่องใหม่ โดเมนเนมใหม่ sysadmin.psu.ac.th เนื่องจากเครื่องเดิมจะมี resources ไม่เพียงพอ และต้องการเปลี่ยนชื่อโดเมนเนมอันใหม่ที่หลายคนว่าดูเหมาะสมและชื่อสั้นกว่า งานนี้บอกได้เลยว่าเล่นเอาเหงื่อตกเลย เพราะคิดว่าย้ายแบบ Joomla! ก็น่าจะได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ครับ สุดท้ายสำเร็จกับการติดตั้ง Duplicator Plugin ไว้ที่เครื่องเดิมก่อน แล้วสร้าง backup ไว้นำมา restore ลงในเครื่องใหม่

    เนื้อหาค่อนข้างยาวสักนิด ผมมีเจตนาอยากให้เห็นว่าการทำเว็บไซต์ขึ้นมาหนึ่งอัน เราต้องใช้ความรู้พอสมควร และที่ทำส่วนใหญ่ก็อ่านจากเว็บไซต์ของพี่วิภัทร นั่นคือ opensource.psu.ac.th นี่แหล่ะครับ

    1. เริ่มต้นจากกำหนดจำนวน resources ที่จำเป็นใช้ เพราะว่าจะไปขอใช้ Virtual Machine ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ขอไว้คือ RAM 2 GB, Hard disk 40 GB, OS Ubuntu 12.04.1, TCP Port 80,443
      แล้วกรอกในแบบฟอร์ม
    2. งานบริการเซิร์ฟเวอร์ก็สร้าง VM ให้ที่ทำการอัปเดต OS ให้แล้ว แจ้ง username ให้เข้าใช้งานผ่าน ssh
    3. เมื่อ ssh เข้าได้แล้ว เข้าทำงานในสิทธิ root ด้วยคำสั่ง
      sudo su –
    4. ทำการติดตั้ง Apps ที่จำเป็น ผมเลือก LAMP คือชุดรวมของ Linux, Apache, MySQL และ PHP ที่จำเป็นต้องใช้กับ wordpress ด้วยคำสั่ง
      tasksel
      เลือก LAMP
      จะมีคำถาม รหัสผ่านของ MySQL root ให้ตั้งที่จะจำได้
    5. ติดตั้งส่วนเพิ่มเติมของ php เพิ่มด้วยคำสั่ง
      apt-get install php5-gd php5-imap php5-ldap php5-radius
    6. ติดตั้ง unzip เพิ่มด้วยคำสั่ง
      apt-get install unzip
    7. ปรับแต่ง apache2 ให้ใช้งานแบบ module rewrite
      sudo a2enmod rewrite
    8. ต่อไปก็มาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ http และ redirect http โดยแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default
      <VirtualHost *:80>
      ServerAdmin webmaster@localhost
      ServerName sysadmin.psu.ac.th           <==== เพิ่มบรรทัดนี้
      DocumentRoot /var/www/wordpress

      <Directory /var/www/wordpress>
      Options Indexes FollowSymLinks MultiViews
      AllowOverride All             <==== แก้ไขบรรทัดนี้จาก None เป็น All
      Order allow,deny
      allow from all
      </Directory>
      …     ที่เหลือเหมือนเดิม
      </VirtualHost>
      เพิ่มบรรทัดข้างล่างนี้ เพื่อให้ยังคงมีการ redirect ไปยังที่ใหม่หากใช้ชื่อเก่า
      <VirtualHost *:80>
      ServerName sysadmin.in.psu.ac.th
      Redirect / http://sysadmin.psu.ac.th/
      </VirtualHost>
    9. ต่อไปมาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ https
      สั่งเปิด module ssl ด้วยคำสั่ง
      a2enmod ssl
      คัดลอกแฟ้ม PSU SSL certificates (file_a.crt, file_b.key และ file_c.ca-bundle) มาเก็บไว้ในไดเรกทอรีที่สร้างนี้
      mkdir -p /etc/apache2/ssl
      mv /home/username/file_* /etc/apache2/ssl/
      แล้วปรับเปลี่ยนสิทธิของแฟ้มด้วยคำสั่ง
      chown -R root:root /etc/apache2/ssl/file_*.*
      chmod 600 /etc/apache2/ssl/file_*.*
      แล้วแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default เพื่อจัดการเกี่ยวกับ https และ Certificates
      เพิ่มบรรทัดต่อท้ายไฟล์
      NameVirtualHost *:443
      <VirtualHost *:443>
      DocumentRoot /var/www/wordpress
      ServerName sysadmin.psu.ac.th
      SSLEngine on
      SSLCertificateFile /etc/apache2/ssl/file_a.crt
      SSLCertificateKeyFile /etc/apache2/ssl/file_b.key
      SSLCertificateChainFile /etc/apache2/ssl/file_c.ca-bundle
      </VirtualHost>
    10. ต้องสั่งรีสตาร์ท apache2 ดังนี้
      service apache2 restart
      (more…)