Tag: mobile app

  • Xamarin Essentials : Easy access Native feature Platforms

    ในบางครั้งการเขียน app เพื่อ access location ปัจจุบันของผู้ใช้ หรือต้องการสั่งให้โทรศัพท์สั่นตาม activity ที่ตั้งไว้ หรือแม้แต่จะ access ข้อมูล device information ของอุปกรณ์ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเหล่า developer ที่เขียน mobile app ยิ่งมีหลาย platform ไม่ว่าจะเป็น android , iOS, Windows ก็มีวิธีการเขียน code การขอ Access permission คนละรูปแบบไปอีก ซึ่งบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำให้รู้จักกับ Xamarin Essentials ที่จะมาเป็นตัวช่วยให้ผู้พัฒนาเขียน code แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

    Xamarin.Essentials คืออะไร?

    คือ  official library ที่ทาง Microsoft ได้พัฒนาและรวบรวม library ที่เป็น cross-platform APIs สำหรับให้นักพัฒนา mobile app ที่พัฒนาด้วย Xamarin.Forms ได้ใช้งานในการเข้าถึง native features ของแต่ละ platforms ด้วยการเขียน code จากที่เดียว

    มีอะไรให้เรียกใช้บ้าง

    ปัจจุบันมีทั้งหมด 33 feature ให้เรียกใช้งาน อ้างอิงจาก Microsoft Doc ซึ่งมีดังนี้

    • Accelerometer – Retrieve acceleration data of the device in three dimensional space.
    • App Information – Find out information about the application.
    • Barometer – Monitor the barometer for pressure changes.
    • Battery – Easily detect battery level, source, and state.
    • Clipboard – Quickly and easily set or read text on the clipboard.
    • Color Converters – Helper methods for System.Drawing.Color.
    • Compass – Monitor compass for changes.
    • Connectivity – Check connectivity state and detect changes.
    • Detect Shake – Detect a shake movement of the device.
    • Device Display Information – Get the device’s screen metrics and orientation.
    • Device Information – Find out about the device with ease.
    • Email – Easily send email messages.
    • File System Helpers – Easily save files to app data.
    • Flashlight – A simple way to turn the flashlight on/off.
    • Geocoding – Geocode and reverse geocode addresses and coordinates.
    • Geolocation – Retrieve the device’s GPS location.
    • Gyroscope – Track rotation around the device’s three primary axes.
    • Launcher – Enables an application to open a URI by the system.
    • Magnetometer – Detect device’s orientation relative to Earth’s magnetic field.
    • MainThread – Run code on the application’s main thread.
    • Maps – Open the maps application to a specific location.
    • Open Browser – Quickly and easily open a browser to a specific website.
    • Orientation Sensor – Retrieve the orientation of the device in three dimensional space.
    • Phone Dialer – Open the phone dialer.
    • Platform Extensions – Helper methods for converting Rect, Size, and Point.
    • Preferences – Quickly and easily add persistent preferences.
    • Secure Storage – Securely store data.
    • Share – Send text and website uris to other apps.
    • SMS – Create an SMS message for sending.
    • Text-to-Speech – Vocalize text on the device.
    • Unit Converters – Helper methods to convert units.
    • Version Tracking – Track the applications version and build numbers.
    • Vibrate – Make the device vibrate.

    วิธีใช้งาน

    เปิด Xamarin.Forms project ขึ้นมา และไปที่เมนู Tools -> Nuget Package Manager -> Manage Nuget Package for Solution และในช่อง Search ให้ค้นหา Xamarin.Essentials ดังรูป

    ที่ฝั่งขวา ให้เราเลือก install ลงทุก project ทั้งในส่วน shared project ตรงกลาง และ specific platform project (android และ ios) แล้วกดปุ่ม Install ดังรูป

    ถึงตอนนี้ Xamarin.Essentials ถูกเพิ่มเข้าไปใน Reference package ของแต่ละ project เรียบร้อย แต่เรายังต้อง Config ค่าเพิ่มเติมนิดหน่อยเฉพาะ android project เท่านั้น (ios project ไม่ต้องทำอะไรก็ใช้งานได้เลย) เพื่อให้ Xamarin.Essential สามารถทำงานได้ โดยทำการเพิ่มเติม code ที่ MainActivity.cs เพื่อ initial Xamarin.Essentials ใน OnCreate() และทำการ override OnrequestPermissionResult() ดัง code ข้างล่าง เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมให้ให้เขียน code เรียกใช้งาน feature ต่างๆ ได้เลยค่ะ

    protected override void OnCreate(Bundle bundle)
    {
        ...
        global::Xamarin.Forms.Forms.Init(this, bundle);
        Xamarin.Essentials.Platform.Init(this, bundle);
        ...
    }
    
    public override void OnRequestPermissionsResult(int requestCode, string[] permissions,
        [GeneratedEnum] Android.Content.PM.Permission[] grantResults)
    {
        Xamarin.Essentials.Platform.OnRequestPermissionsResult(requestCode, permissions, grantResults);
        base.OnRequestPermissionsResult(requestCode, permissions, grantResults);
    }
    

    ตัวอย่าง

    ให้ทำการ using Xamarin.Essentials ที่ class ที่เราจะเรียกใช้งาน หลังจากนั้นสามารถเขียน code ใช้งาน method ต่างๆได้เลยค่ะ ขอยกตัวอย่างบาง feature ดังต่อไปนี้นะคะ

    1. ส่ง SMS

    หากเราต้องการส่ง SMS จาก Xamarin.Forms app ของเรา ก็เขียน code ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

    public class SmsTest
    {
        public async Task SendSms(string messageText, string recipient)
        {
            try
            {
                var message = new SmsMessage(messageText, new []{ recipient });
                await Sms.ComposeAsync(message);
            }
            catch (FeatureNotSupportedException ex)
            {
                // Sms is not supported on this device.
            }
            catch (Exception ex)
            {
                // Other error has occurred.
            }
        }
    }
    

    2. Get Location

    อยากรู้ตำแหน่ง Location ล่าสุดของ device ก็เขียน code ดังนี้

    try
    {
        var location = await Geolocation.GetLastKnownLocationAsync();
    
        if (location != null)
        {
            Console.WriteLine($"Latitude: {location.Latitude}, Longitude: {location.Longitude}, Altitude: {location.Altitude}");
        }
    }
    catch (FeatureNotSupportedException fnsEx)
    {
        // Handle not supported on device exception
    }
    

    ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพียงเท่านี้ ส่วนการเรียกใช้งาน feature อื่น สามารถอ่านได้จาก doc ของทาง Microsoft Xamarin.Essentials ได้เลยค่ะ ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ เขียน code เพียงไม่กี่บรรทัด เราก็สามารถเข้าถึง native feature ของแต่ละ platform ได้แล้วว ^^

  • Xamarin.Forms : Binding ข้อมูลด้วย MVVM pattern

    “MVVM is the best way to architecture mobile apps”

    Asfend Yar Hamid ซึ่งเป็น Microsoft MVP developer ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ เค้าคือใครน่ะเหรอ ผู้เขียนรู้จักเค้าผ่าน Udemy (คอร์สเรียนออนไลน์ที่เค้ากำลังฮอต ราคาถูก คุณภาพดี แอบรีวิว 555) ซึ่งวันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำการ Binding ข้อมูลของ Xamarin.Form app ด้วย MVVM pattern กันนะคะ

    MVVM pattern คืออะไร

    MVVM หรือ Model View ViewModel เป็น design pattern หรือรูปแบบในการวาง architecture ในการเขียน code นั่นเอง โดย

    Model คือ ส่วนที่เก็บข้อมูลของ Application เรา ตัวอย่างเช่น Entity Class หรือไฟล์ POCO Class ของ object ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจะอยู่ที่ส่วนนี้


    View คือ ส่วนที่ติดต่อกับ user ซึ่งเป็นส่วนไว้แสดงหน้า app ของเรานั่นเอง ซึ่งView จะไม่รู้อะไรเลยนอกจากการแสดงผล ส่วน Logic อื่นๆจะอยู่ใน ViewModel


    ViewModel คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทั้งหมดที่ View ต้องการ โดย View จะติดต่อ ViewModel ผ่าน Data-binding ซึ่งหาก View มีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลต่อ ViewModel ในทางกลับกันหาก ViewModel มีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลถึง View ด้วยเช่นกัน


    ทำไมต้องใช้ MVVM กับ mobile app ?

    MVVM ทำให้เราสามารถ separate หรือแยกส่วนการทำงานของ code ออกจากกันได้ชัดเจนตามหน้าที่ของมัน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการจัดการ รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง เหมาะสำหรับการพัฒนา Application ที่มีการเปลี่ยนแปลง UI บ่อยครั้ง เนื่องจากทุกการเปลี่ยนแปลงในส่วน view จะไม่กระทบต่อ ViewModel ที่เป็น business logic และยังมี Binder ซึ่งเป็นตัวช่วยจัดการการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลใน View หรือใน ViewModel ทำให้ไม่จำเป็นต้องเขียน Code ในการควบคุม View เพื่อให้เปลี่ยนแปลงตาม

    เริ่มกันเลยดีกว่า

    เกริ่นไปเยอะแล้ว เรามาลองสร้าง app เพื่อ binding ข้อมูลในรูปแบบ MVVM ดูกันเลยค่ะ
    Step 1 : สร้าง Xamarin.Forms project ขึ้นมาก่อน (วิธีสร้างและเลือก template สามารถอ่านได้จากบทความที่แล้ว => สร้าง Hello World app ง่ายๆด้วย Xamarin.Forms) ซึ่งจะได้ project structure ดังรูป

    ทีนี้เราจะไม่ไปยุ่งในส่วน specific platform project (Android และ iOS) เราจะมาสร้าง MVVM ที่ share project กัน

    Step 2 : สร้างโฟลเดอร์ Model, View และ View Model ขึ้นมา ดังรูป

    Step 3: สร้าง class ชื่อ Employee.cs ลงในโฟลเดอร์ Model โดย code ข้างในมีดังนี้

    using System;
    using System.Collections.Generic;
    using System.Text;
    
    namespace MVVMBinding.Models
    {
        public class Employee
        {
            public string FirstName { get; set; }
            public string LastName { get; set; }
            public string FullName
            {
                get { return string.Format("{0} {1}", FirstName, LastName); }
            }
        }
    }
    

    Step 4 : สร้าง ViewModel ชื่อ EmployeeVM ลงใน โฟลเดอร์ ViewModels โดยใน class นี้จะมีการ inherit และ implement interface ที่ชื่อ INotifyPropertyChanged ซึ่งเป็น interface ที่ช่วยให้ Binder property ทำงาน โดย code มีดังนี้

    using MVVMBinding.Models;
    using System;
    using System.Collections.Generic;
    using System.Collections.ObjectModel;
    using System.ComponentModel;
    using System.Runtime.CompilerServices;
    using System.Text;
    
    namespace MVVMBinding.ViewModels
    {
        public class EmployeeVM : INotifyPropertyChanged
        {
            private ObservableCollection<Employee> _employees;
            public ObservableCollection<Employee> Employees {
                get
                {
                    return this._employees;
                }
                set
                {
                    this._employees = value;
                    OnPropertyChanged();
                }
            }
            public event PropertyChangedEventHandler PropertyChanged;
            protected virtual void OnPropertyChanged(
            [CallerMemberName] string propertyName = null)
            {
                PropertyChanged?.Invoke(this,
                new PropertyChangedEventArgs(propertyName));
            }
    
            public EmployeeVM()
            {
                Employees = new ObservableCollection<Employee>();
            }
    
            public void AddNewEmployee(string fisrtName,string lastName)
            {
                Employee emp = new Employee()
                {
                    FirstName = fisrtName,
                    LastName = lastName
                };
                Employees.Add(emp);
            }
        }
    }
    

    Step 5 : สร้าง page ชื่อ EmployeePage ลงใน folder View โดยในส่วนของ EmployeePage .xaml ส่วนของ ListView จะมีการ Binding ข้อมูล กับ Employees ซึ่งเป็น property หนึ่งของ EmployeeVM สำหรับแสดงผลข้อมูล

    <?xml version="1.0" encoding="utf-8" ?>
    <ContentPage xmlns="http://xamarin.com/schemas/2014/forms"
                 xmlns:x="http://schemas.microsoft.com/winfx/2009/xaml"
                 x:Class="MVVMBinding.Views.EmployeePage">
        <ContentPage.Content>
            <StackLayout>
                <Label Text="My Employee"
                    VerticalOptions="CenterAndExpand" 
                    HorizontalOptions="CenterAndExpand" />
                <StackLayout>
                    <Label Text="ชื่อ"/>
                    <Entry Placeholder="กรอกชื่อ" x:Name="fnameEntry"/>
                    <Label Text="นามสกุล"/>
                    <Entry Placeholder="กรอกนามสกุล" x:Name="lnameEntry"/>
                    <Button x:Name="addBtn" Text="Add" Clicked="AddBtn_Clicked" />
                    <ListView ItemsSource="{Binding Employees}" BackgroundColor="Beige">
                        <ListView.ItemTemplate>
                            <DataTemplate>
                                <ViewCell>
                                    <Label Text="{Binding FullName}"/>
                                </ViewCell>
                            </DataTemplate>
                        </ListView.ItemTemplate>
                    </ListView>
                </StackLayout>
            </StackLayout>
        </ContentPage.Content>
    </ContentPage>
    

    และในส่วนของ code behind=> EmployeePage.xaml.cs ก็ให้เซตค่า BindingContext ไปยัง EmployeeVM ดัง code ต่อไปนี้

    using MVVMBinding.ViewModels;
    using System;
    using System.Collections.Generic;
    using System.Linq;
    using System.Text;
    using System.Threading.Tasks;
    
    using Xamarin.Forms;
    using Xamarin.Forms.Xaml;
    
    namespace MVVMBinding.Views
    {
    	[XamlCompilation(XamlCompilationOptions.Compile)]
    	public partial class EmployeePage : ContentPage
    	{
            private EmployeeVM vm;
            public EmployeePage ()
    		{
    			InitializeComponent ();
                vm = new EmployeeVM();
                this.BindingContext = vm;
    		}
    
            private void AddBtn_Clicked(object sender, EventArgs e)
            {
                vm.AddNewEmployee(fnameEntry.Text, lnameEntry.Text);
                ClearEntry();
            }
            private void ClearEntry()
            {
                fnameEntry.Text = "";
                lnameEntry.Text = "";
            }
        }
    }
    

    Step 6 : เปิดไฟล์ App.xaml.cs ขึ้นมา และเซตค่า MainPage ให้เรียกไปยัง EmployeePage ดัง code ต่อไปนี้

    using MVVMBinding.Views;
    using System;
    using Xamarin.Forms;
    using Xamarin.Forms.Xaml;
    
    [assembly: XamlCompilation(XamlCompilationOptions.Compile)]
    namespace MVVMBinding
    {
        public partial class App : Application
        {
            public App()
            {
                InitializeComponent();
    
                MainPage = new EmployeePage();
            }
    
            protected override void OnStart()
            {
                // Handle when your app starts
            }
    
            protected override void OnSleep()
            {
                // Handle when your app sleeps
            }
    
            protected override void OnResume()
            {
                // Handle when your app resumes
            }
        }
    }
    

    Step สุดท้าย : เสียบสาย Usb เชื่อมต่อระหว่างมือถือกับคอมของเรา build project แล้วก็กดรันโลดดด.. ผลลัพธ์ก็จะออกมาเช่นนี้

    เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง app Binding ข้อมูลแบบ MVVM pattern ด้วย Xamarin.Forms แล้วนะคะ ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางและประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมกับ app นั้นๆต่อไปค่า ^^
    บทความถัดไป => Xamarin Essentials : Easy access Native Feature Platform

  • ทำความรู้จัก Xamarin.Forms + วิธีติดตั้งบน Windows

    การพัฒนา Mobile Application ปัจจุบันมีหลากหลาย solution ให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแบบ native แยกตามแต่ละแพลตฟอร์ม , พัฒนาแบบ hybrid และแบบ cross platform นอกจากจะมีรูปแบบการพัฒนาให้พิจารณาเลือกแล้ว ยังมี Mobile framework ที่หลากหลายที่เรานำมาใช้ในการพัฒนา app ไม่ว่าจะเป็น React Native, Ionic, Fluter,Android Studio, Xcode, Xamarin เป็นต้น โดยบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ Xamarin.Forms ซึ่งเป็น framework หนึ่งที่นิยมใช้ในการพัฒนา mobile app กัน พร้อมทั้งแนะนำวิธีติดตั้งเครื่องมือเพื่อใช้งาน

    Xamarin คืออะไร?

    Xamarin คือ framework หนึ่งในการพัฒนา mobile app แบบ cross platform ของค่าย Microsoft ที่สามารถเขียน code ด้วยภาษา C# แล้วคอมไพล์เป็น native app ให้สามารถรันบน ios , android และ windows platforms ได้ ซึ่งปัจจุบันตัว Xamarin เองก็มีรูปแบบการพัฒนาออกเป็น 2 แนวทาง คือ Xamarin Native และ Xamarin.Forms

    แล้ว Xamarin.Forms กับ Xamarin Native ต่างกันยังไง?

    Xamarin Native หรือที่ฝรั่งเรียก Traditional Xamarin Approach เนี่ยเป็นรูปแบบที่ทาง Xamarin ได้พัฒนาออกมาใช้เป็นรูปแบบแรก (ปัจจุบันก็ยังมีให้ใช้อยู่) ซึ่งเป็น shared code platform concept โดยเราสามารถใช้ code ฝั่ง business logic ร่วมกันได้ แต่ code ฝั่ง UI เราก็ต้องเขียน code แยกตาม sdk ของแต่ละ platforms ซึ่งผู้พัฒนาต้องรู้จักการใช้ control ต่างๆ การวาง layout ของแต่ละ platform มาพอสมควร

    Xamarin.Forms เป็น concept และ tools รูปแบบใหม่ของ Xamarin ที่สามารถแชร์ code ระหว่าง platform ได้ 100% คือสามารถเขียน code เพียงครั้งเดียวทั้งฝั่ง business logic และ UI แล้วคอมไพล์เป็น native app ให้รันได้ทุก platforms (ios, android และ windows) ในส่วนของ UI จะเขียนด้วย XAML เช่นเดียวกับ WPF แต่ต่างกันที่การจัด layout และ control UI ที่มีแตกต่างกัน ซึ่งหากนักพัฒนาคนไหนเคยเขียน WPF มาแล้วก็สามารถเขียน mobile app ด้วย Xamarin.Forms ได้ง่ายขึ้น

    เปรียบเทียบ Xamarin Native (Traditional) กับ Xamarin.Forms
    ที่มารูป :
    https://xamarinhelp.com/xamarin-forms-making-traditional-xamarin-obsolete/

    Xamarin.Forms เหมาะกับ?

    1. Developer ที่คุ้นเคยกับ .NET framework เนื่องจากจะคุ้นเคยกับ Tools ที่ใช้งานและทำให้เข้าใจ concept และสามารถพัฒนา app ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
    2. พัฒนา Data Entry app เนื่องจาก Xamarin.Forms มี Simple UI control ให้พร้อมใช้งาน
    3. ต้องการ app ที่คุ้มค่าแต่ใช้ budget น้อย เนื่องจาก Xamarin.Form เขียน code ครั้งเดียวสามารถ run ได้ทั้ง 3 platform ได้แก่ Android, IOS และ Windows ทำให้ประหยัดงบในการ implement แต่ละ platform

    Xamarin.Forms ไม่เหมาะกับ?

    1. ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับ .NET Framework และภาษา C# เนื่องจากจะต้องศึกษาทำความเข้าใจใหม่มากพอสมควร ซึ่งหากถนัด FrontEnd web หรือ java script อาจพิจารณาเลือกใช้ framework อื่น เช่น React Native, Ionic หรือ Fluter จะพัฒนา app เสร็จได้รวดเร็วกว่า
    2. ไม่เหมาะกับ app ที่มี UI ซับซ้อนหรือ specific UI เฉพาะแต่ละ platform

    วิธีติดตั้ง Xamarin.Forms บน Windows

    System Requirement

    1. Windows 10 ขึ้นไป
    2. Microsoft Visual Studio โดยเวอร์ชันที่รองรับการใช้งาน Xamarin.Forms ต้องเป็น Microsoft Visual Studio 2017 version 15.8 ขึ้นไป

    วิธีติดตั้ง

    1. Download Visual Studio และ double click ไฟล์เพื่อ install แต่หากใครมี Visual Studio อยู่แล้ว ให้เปิด Visual Studio Installer ขึ้นมา แล้วเลือก Modify ดังรูป

    2. ที่โมดูล Mobile & Gaming เลือก Mobile development with .NET ดังรูป

    3. สังเกตที่ Installation Detail ฝั่งด้านขวา จะแสดงรายละเอียด package ที่ติดตั้ง ให้สังเกตุที่ Optional จะ default package มาให้ ซึ่งจะเห็นว่ากิน space มากพอสมควร ซึ่งตัวที่กินพื้นที่เยอะสุดคือตัว Google Android Emulator

      โดยหากใครจะประหยัดพื้นที่ แล้วเสียบสาย run ด้วย android device เลย ก็ให้ติ๊กถูกที่หน้า Google Android Emulator ออกได้เลย ซึ่งทำให้ space ลดลงไปเกือบครึ่งนึงเลยค่ะ

    4. จากนั้นกดปุ่ม Install หรือ Modify (กรณีลง VS ไว้แล้ว)
    5. จากนั้นก็ Take a coffee รอจนเสร็จค่า ^^

    เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้งเครื่องมือเตรียมพร้อมสำหรับการสร้าง Mobile application ด้วย Xamarin.Forms ซึ่งจะเห็นว่าขั้นตอนการติดตั้งง่ายไม่ซับซ้อนเลยถ้าเทียบกับ mobile framework อื่นๆ นะคะ บทความหน้าจะมาแนะนำเริ่มต้นการสร้าง app ด้วย Xamarin.Forms กันค่า

  • แนวทางการพัฒนา App บนสมาร์ทโฟน

    ถ้าใครเคยพัฒนา app เพื่อให้รองรับหลาย ๆ Platform ทั้ง iOS, Android หรือ Window Phone  ก็คงจะทราบถึงความยากลำบากในการพัฒนา เนื่องจากแต่ละ platform ก็มีวิธีการพัฒนาที่แตกต่างกัน เช่น app ที่รันบน iOS พัฒนาโดยใช้ภาษา Object C, ภาษา Swift ในขณะที่ app ที่รันบน Android พัฒนาขึ้นโดยใช้ภาษา Java และ app ที่รันบน Windows phone ก็พัฒนาขึ้นด้วย .Net Framework จะเห็นว่าแต่ละ Platform ใช้เทคโนโลยีที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้การพัฒนา app 1 ตัว ให้รองรับทั้ง 3 platform ดังกล่าวข้างต้น ต้องใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ใช้เวลาในการพัฒนาเยอะ และยุ่งยากในการบำรุงรักษา

    App บนสมาร์ทโฟน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

    • Native App คือ app ที่เกิดจากการพัฒนาโดยการใช้ SDK (Software Development Kit) ของ OS แต่ละค่าย ทำให้ app ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูง สามารถเรียกใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงหรือควบคุมอุปกรณ์ได้ เช่น ตัวรับสัญญาณ GPS กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ ที่ติดตั้งมากับสมาร์ทโฟนได้โดยตรง แต่ข้อเสียคือจะสามารถทำงานได้กับ OS เฉพาะค่ายนั้นเท่านั้น
    • Web App เป็น app ที่เข้าถึงได้ด้วยโปรแกรมประเภท Browser ต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นที่นิยม เนื่องจากผู้พัฒนาสามารถอัพเดท หรือบำรุงรักษาได้โดยที่ไม่ต้องติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ข้อเสียของ app ประเภทนี้คือ ไม่สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อเรียกใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงหรือควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของสมาร์ทโฟนได้
    • Hybrid App เป็น app ที่พัฒนาขึ้นโดยนำข้อดีของ app ทั้ง 2 ประเภทข้างต้นมารวมกัน โดยอาจจะมองว่า มันเป็น Web App ที่สามารถเขียนโปรแกรมให้เรียกใช้งานฟังก์ชันเพื่อเข้าถึงหรือควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของสมารทโฟนได้ มีหน้าตาการใช้งานหมือนกับการ Native App แต่พัฒนาโดยใช้ภาษาต่าง ๆ เช่น HTML, CSS, Java Script เป็นต้น เปิดใช้งานด้วย Web viewer ของ OS แต่ละตัวเลย ข้อดีที่เด่นชัดคือ นักพัฒนาสามารถพัฒนา app ขึ้นมาเพียงชุดเดียว แล้ว build ให้มันสามารถรันบน platform ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

    compare app

    รูปที่ 1เปรียบเทียบประสิทธิภาพ ความสามารถในการเขียน App แต่ละแบบ [ที่มา :http://androiddevelopersthai.blogspot.com/]

    การเลือกว่าจะพัฒนา app เป็นแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก และเพื่อแก้ปัญหาที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น พบว่า Hybrid App สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องมือที่นำมาใช้ในการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพมากที่จะแนะนำในบทความนี้คือ Ionic Framework

    Ionic Framework

    Ionic Framework เป็นตัวช่วยในการใช้พัฒนา Hybrid App ที่ทำให้พัฒนา App แค่ครั้งเดียวก็สามารถ Build ให้รันได้ในหลาย Platform ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับที่ใช้ในการพัฒนาเว็บได้แก่ HTML, CSS และ Java Script ทำให้นักพัฒนาเว็บสามารถเรียนรู้วิธีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

    ionic_frameworkรูปที่ 2  Ionic Framework [ที่มา : http://blog.prscreative.com]

     

    Ionic Framework เป็น Open Source ที่นักพัฒนาสามารถใช้ในการสร้าง App ของตัวเอง หรือ App เชิงพาณิชย์ก็ได้ มีเว็บไซต์อย่างเป็นทางการคือ http://ionicframework.com

    ตัวอย่าง App ดังๆ ที่ใช้ Ionic ได้แก่ UNIQLO ดังรูป

    uniqlo
    รูปที่ 3 ตัวอย่างหน้าจอ App ของ UNIQLO ที่พัฒนาขึ้นด้วย Ionic [ที่มา :https://itunes.apple.com/th/app/uniqlo-th/id867497451?l=th&mt=8 ]

    สามารถดูตัวอย่าง App ที่พัฒนาด้วย Ionic เพิ่มเติมได้จาก http://showcase.ionicframework.com