Tag: ArcGIS

  • การนำเข้า Web Map Services บนโปรแกรม ArcGIS

    จากคราวก่อนเคยพูดถึง การนำเข้า Web Map Service บน Google Earth มาแล้ว วันนี้จะขอนำเสนอ การนำเข้า Web Map Services (WMS) บนโปรแกรม ArcGIS กันบ้าง

    ปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

    ข้อดีของ WMS ที่เห็นได้ชัดคือ

    1. เจ้าของข้อมูลไม่ต้องเผยแพร่ shape file (ซึ่งหลายๆท่านอาจจะได้มาซึ่งความยากลำบากในกระบวนการทำงานกว่าจะได้ข้อมูลนั้นมา) แต่สามารถเผยแพร่ให้สาธารณะทราบได้ว่า เรามีข้อมูลนี้อยู่นะ ถ้าอยากได้ข้อมูลดิบ ก็ติดต่อหรือเจรจาเรื่องค่าเหนื่อยกันหลังไมค์ >*<
    2. ผู้นำไปใช้ ก็ไม่ต้องคอยอัพเดทข้อมูล เพราะทุกครั้งที่ต้นทางเจ้าของข้อมูลอัพเดทข้อมูล ข้อมูลเราก็จะอัพไปด้วย สบายยยยย

     

    *** หากยังไม่มีโปรแกรม ArcGIS for Desktop ก็สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี 60 วัน นะคับ ดูวิธีการติดตั้งได้ที่ การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop (Trial)

    วิธีการนำ WMS ไปใช้กับโปรแกรม ArcGIS for Desktop

    1. Copy WMS ลิงค์ที่ได้จากเว็บไซต์ **ตัวอย่างจากเว็บ http://slb-gis.envi.psu.ac.th01.1

    2. เปิดโปรแกรม ArcMap > เปิด ArcCatalog > ดับเบิ้ลคลิก Add WMS Server

    01

    3. past ลิงค์ที่ copy มาจากเว็บที่ URL > คลิกปุ่ม Get Layers ระบบจะแสดงชั้นข้อมูลขึ้นมา > คลิกปุ่ม OK

    02

    4. ที่ Catalog จะปรากฏข้อมูล WMS ที่ได้เพิ่มไปเมื่อสักครู่นี้

    04

    5. คลิกเม้าส์ค้าง (drag mouse) ลากชั้นข้อมูลมาวางที่พื้นที่งาน จะปรากฏการแสดงผลของชั้นข้อมูล ซึ่งจะเป็น Layer หนึ่งของโปรเจ็คงาน

    05

    6. เสร็จ ^^

     

    ****บริการฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop (Trial)

    ArcGIS

    ArcGIS for Desktop เป็นซอฟต์แวรด้าน GIS สำหรับการสร้าง แก้ไข วิเคราะห์ จัดเก็บ และแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน ช่วยใช้ในการตัดสินใจ เพื่อประหยัดงบประมาณ เวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

    ในการติดตั้งนี้จะเป็นแบบ Trial version ซึ่งจะมีอายุการใช้งานได้ 60 วัน หลังจากนั้นก็จะไม่สามารถเปิดโปรแกรมได้

    * สามารถติดตั้งได้ทั้งคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook
    * การสมัครเพื่อขอรับรหัส EVA จะได้เพียง 1 account ต่อ 1 email ต่อการใช้งาน 60 วัน

    ความต้องการของระบบขั้นต่ำ

    1. ระบบปฏิบัติการ windows 64 bit
    2. CPU Minimum: Hyperthreaded dual core*
      Recommended: Quad core*
    1. RAM Minimum: 4 GB
      Recommended: 8 GB
      Optimal: 16 GB
    1. VGA 24-bit color
      Minimum: DirectX 9 (OpenGL 2.0)—compatible card with 512 MB RAM**
      Recommended: DirectX 11 (OpenGL 3.2)—compatible card with 2 GB RAM**
      Optimal: DirectX 11 (OpenGL 4.4)—compatible card with 4 GB RAM**
    1. Visualization cache up to 32 GB of space
    2. Disk space Minimum: 4 GB
      Recommended: 6 GB or higher
    1. Software Microsoft .NET Framework 4.5.1
      Internet Explorer 11

    การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS

    1. เปิดหน้าเว็บไซต์ http://www.esri.com/software/arcgis/arcgis-for-desktop/free-trial
    2. กรอกข้อมูล > คลิกปุ่ม Start Trial เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม
      01
    1. ระบบส่งอีเมล์ของผู้สมัคร ให้เช็คอีเมล์แล้วทำการ Active เพื่อ set password ในการเข้าสู่ระบบ ArcGIS Online
      02
    2. เมื่อเช็คอีเมล์จะพบเมล์ใหม่ subject: Esri – Activate Your Free ArcGIS Trial ให้คลิกที่ลิงค์ เพื่อทำการ Active บัญชีผู้ใช้
      03
    1. เมื่อคลิก Active ลิงค์ในเมล์แล้ว จะเปิดหน้าต่างเว็บขึ้นมาเพื่อให้กรอกข้อมูลสำหรับการสร้างบัญชีผู้ใช้
      04
    2. คลิกปุ่ม บันทึกและดำเนินการต่อ
      05
    1. เสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียน > คลิกปุ่ม ใช้แอพ
      06
    2. เข้าสู่หน้าเว็บสำหรับการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรม ให้คลิกดาวน์โหลด ArcMap และ
      ทำการ copy หมายเลขแสดงสิทธิ์การอนุญาตใช้งาน ArcMap เก็บไว้
      07
    3. รอการดาวน์โหลดไฟล์
      08
    1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ ArcGIS_Desktop_104_exe เพื่อติดตั้งโปรแกรม
      09
    2. คลิกปุ่ม Next
      10
    1. คลิกปุ่ม Close และทำเครื่องหมายเลือก Launch the setup program เพื่อเริ่มติดตั้ง
      11
    1. คลิกปุ่ม Next
      12
    1. เลือก I accept the license agreement แล้วคลิกปุ่ม Next
      13
    1. เลือกติดตั้งแบบ Complete แล้วคลิกปุ่ม Next
      14
    1. คลิกปุ่ม Next ไปเรื่อยๆ
      15
    1. ติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop เสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม Finish
      19
    1. จะปรากฏหน้าต่างสำหรับการ Authorize ขึ้นมาก

    เลือก Advanced(ArcInfo) Single Use แล้วคลิกปุ่ม Authorize Now
    20

    1. เลือก Authorize with Esri now using the Internet แล้วคลิกปุ่ม Next
      21
    2. ใส่ข้อมูลตามที่เคยสมัครผ่านเว็บไว้ก่อนหน้านี้ แล้วคลิกปุ่ม Next
      22
    1. เลือกใส่ข้อมูลตามรูปภาพ แล้วคลิกปุ่ม Next
      23
    2. จะปรากฏหน้าต่างให้ใส่รหัส ซึ่งได้จากการสมัครสมาชิกไว้แล้วก่อนหน้านี้ โดย Esri จะส่งรหัสนี้ให้ทางอีเมล์
      จากนั้นทำการ copy ไปวางไว้ในช่อง แล้วคลิกปุ่ม Next
      24
    1. เลือก I do not want to authorize any extensions at this time > คลิกปุ่ม Next
      25
    1. คลิกปุ่ม Next
      26
    1. รอการตรวจสอบ โดยในขั้นตอนนี้จะต้องทำการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ต
    2. การตรวจสอบผ่านและเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Finish
      28
    1. จะปรากฏหน้าต่าง ArcGIS Administrator ขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม OK
      29
    2. เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เปิดโปรแกรม ArcMap4 > เลือกเมนู Customize > Extensions..
      30
    1. ทำเครื่องหมายเลือกทุก extensions เพื่อเป็นการเปิดใช้ Extensions ในโปรแกรม > คลิกปุ่ม Close
      31
    2. เสร็จเรียบร้อยสำหรับการติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop
      32

    *** ส่วนวิธีการใช้งาน ก็สามารถค้นหาได้ใน google นะคับ ^^
    *** หรือสามารถติดต่อขออบรมวิธีการใช้งานโปรแกรม ArcGIS ได้ที่ศูนย์ GIS มอ. ก็ได้เช่นกันนะคับ (http://www.rsgis.psu.ac.th เมนู บริการวิชาการ)
    *** หรือจะลงทะเบียนเรียน(รายวิชาสำหรับ ป.โท) ก็ได้เช่นกันนะคับ ^^

     

    อ้างอิง

    • http://www.esrith.com/
  • การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server

    จากกระแสไฟไหม้พื้นที่ทางการเกษตรทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลในการเตรียมพื้นดินสำหรับการเพาะปลูกทั้งของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดวิกฤตหมอกควันไฟครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ผู้เขียนจึงได้จัดทำแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (Hotspot) แบบ Real Time (มีการอัพเดทข้อมูลจุดความร้อนทุกๆชั่วโมง) โดยใช้การนำเข้าข้อมูล WMS (Web Map Service) จากเว็บไซต์ NASA

    มาดูวิธีการสร้างเว็บแผนที่(Web Map Application) ด้วยการนำเข้า WMS บน ArcGIS Server 10 กันนะคับ

    2016-02-14_17-51-55

    ขั้นตอนหลักๆ จะมี 3 ส่วนคือ

    1. การสร้างไฟล์นำเข้า WMS ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop
    2. การสร้าง Services บน ArcGIS Server
    3. การสร้าง Web Map Application บน ArcGIS Server

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/
    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    00

    3. เปิดโปรแกรม ArcGIS Desktop > เปิด Catalog > คลิก GIS Server > Add WMS Server

    01

    4. วางลิงค์ที่ได้จากเว็บ ที่ช่อง URL แล้วคลิกปุ่ม Get Layer

    http://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/wms/c6/?SERVICE=WMS&VERSION=1.1.1&REQUEST=GetMap&LAYERS=fires24&width=1024&height=512&BBOX=-180,-90,180,90&&SRS=EPSG:4326

    02

    5. จะปรากฏชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม OK

    03

    6. Catalog จะแสดง WMS จากนั้นลากข้อมูลวางไว้ตรงพื้นที่งาน

    04

    7. แสดงจุดความร้อน โดยมีชั้นข้อมูลแบบ 24 ชม. และ 48 ชม.

    05

    8. เปลี่ยนชื่อชั้นข้อมูล เพื่อเข้าใจง่ายต่อการแสดงผ่านเว็บ

    06

    9. เพิ่มข้อความในแผนที่เพื่อให้เครดิตเจ้าของข้อมูล โดยคลิกที่เมนู Insert > Text

    07

    10. พิมพ์ Power by Firms Group of NASA แล้วปรับแต่งขนาดและตำแหน่งของข้อความ

    08

    11. จากนั้นทำการ Save ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    12. ต่อไปเป็นขั้นตอนการสร้าง web map application โดยเปิด ArcGIS Server Manager

    13. ทำการสร้าง Services โดยคลิกที่ Services > Manager Services > Publish a GIS Resource

    09

    14. แท็บ General ใส่ชื่อ service ตรงช่อง Name :  ในที่นี้ใช้ชื่อ hotspot2016

    10

    15. แท็บ Parameters ตรง Map Document: ให้คลิกเลือกไฟล์ที่ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้ในโปรแกรม ArcGIS ในที่นี้ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    11

    16. แท็บ Capabilities กำหนดค่าตาม default

    12

    17. แท็บ Pooling ปรับตัวเลขให้เป็น 10 ตรงช่อง Maximum number of instances > คลิกปุ่ม Save and Restart

    13

    18. เมื่อได้สร้าง Services แล้ว ต่อไปทำการสร้างเว็บ ด้วยการคลิกที่ Applications >
    Create Web Application

    14

    19. ตั้งชื่อเว็บเป็น Fire ซึ่งจะเป็นชื่อเว็บสำหรับการเผยแพร่

    15

    20. แท็บ Layer เพื่อเลือก Services ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ คือ hotspot2016 > คลิกปุ่ม Add

    16

    21. เพิ่ม Layer แผนที่ฐาน (Basemap) เพื่อเป็นพื้นหลังของแผนที่ โดยมี 2 Layers ที่แสดงเป็นแบบ Roads และ Aerial with labels > จากนั้นคลิกปุ่ม Add

    17

    22. จะปรากฏชั้นข้อมูล (Layers) ตามที่ได้เลือกไว้ โดยทำการเปลี่ยนชื่อ Layer เพื่อให้เข้าใจง่ายในการแสดงผล

    18

    23. ทำการตั้งค่าการแสดง scale ของแผนที่ด้วยการคลิกปุ่ม Define… ตามรูป

    19

    24. ปรับขนาดการแสดงผลหน้าจอตามต้องการ ในที่นี้ปรับให้พอดีกับประเทศไทย > คลิก OK

    20

    25. ปรับแต่งชื่อเรื่องเว็บและ web links > คลิกปุ่ม Finish

    21

    26. จะปรากฏ web application ที่ได้ทำการสร้างไว้ ในที่นี้จะเป็น http://servername/fire

    22

    27. คลิกที่เว็บลิงค์ จะปรากฏหน้าต่างเว็บขึ้นมา ดังรูป

    23

    28. หากเผยแพร่แล้วจะเป็น http://slb-gis.envi.psu.ac.th/fire

    2016-02-14_17-51-55

    *** ยาวนิดนะคับ พอดีทำรายงานเลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่สนใจเรื่อง Web Map Application และสำหรับใครหลายๆคนที่อาจจะยังมองไม่ออกว่า เอ??? GIS Web Map นี่เขาทำกันอย่างไร?

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

    *** ข้อดีของ ArcGIS Server คือ สะดวก มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน แต่การปรับแต่งความสวยงามของเว็บ ยังคงด้อยกว่า Geoserver + OpenLayer ซึ่งเป็น Open source อยู่นะคับ ที่สำคัญคือ ต้องซื้อ license ในราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่

    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง