ติดตั้ง Let’s Encrypt Certificate สำหรับ SSL Sites บน IIS

หลังจากที่พี่หนุ่ม คณกรณ์ หอศิริธรรม  ได้เขียนเรื่อง วิธีติดตั้ง HTTPS ด้วย Certificate ของ Let’s Encrypt ไปแล้วนั้น ก็จะมาถึงทางฝั่ง Windows กันบ้าง ซึ่งจะติดตั้งผ่านเครื่องมือ บน Command Line ครับ ตัวอย่างนี้จะเป็นวิธีการติดตั้งโดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า WinACME ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ที่นี่ (จริงๆ มีหลายตัวให้เลือกใช้ครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาผ่าน ACME API มีทั้งแบบเป็น Command Line, Power shell และเป็น GUI ครับ) หลังจากดาวน์โหลดไฟล์มาแล้ว ผม Extract ไปไว้ที่ C:\LetsEncryptSSL จากนั้นก็เปิด Command Prompt ด้วยสิทธิ Administrator(เปิดด้วยสิทธิ Administrator เพื่อให้มีการสร้าง Schedule Task ในการ Renew Cert. โดยอัตโนมัติครับ) จากนั้นทำการเรียกด้วยคำสั่ง letsencrypt จะพบกับเมนูดังภาพนี้ครับ ผมเลือกตอบตัว “n” จะพบกับเมนูให้เลือกด้านล่างนี้ (สำหรับผู้ที่มีความชำนาญ สามารถเลือก M เพื่อเปิด advanced option ได้ครับ) และเนื่องจากเครื่องที่แสดงอยู่นี้ เป็น multiple site และผมจะทำการติดตั้งลงไปเพียง 1 site ตามนี้ครับ เลือก site จากนั้นกด Enter จะพบว่าโปรแกรมเริ่มทำการ Generate SSL Cert. และ Assign ไปยัง Site ของเรา พร้อมทั้งกำหนด Schedule Task เรียบร้อยแล้ว ลองดูผลลัพธ์ใน II ลองเปิดเว็บดู ผ่าน Google Chrome ปรากฎว่ามีรูปกุญแจขึ้นแล้วและเป็น Cert. ของ Let’s Encrypt ตามที่ต้องการ กลับไปตรวจสอบ Schedule Task พบว่ามีการสร้าง Task เพื่อ Renew Cert. เอาไว้แล้ว จบปิ๊ง…

Read More »

python #05 – การ Save/Load ตัวโมเดลจาก Keras แล้วนำไปใช้ใน Production Server

ต่อจาก python #03 – Train/Validation/Test and Accuracy Assessment with Confusion Matrix เมื่อสร้าง Neural Network Model แล้วทำการ Train/Test ปรับค่า Hyper parameters จนได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว (Accuracy และ Confusion Matrix ให้ค่าที่รับได้) ก็สามารถเก็บ Model นี้เอาไว้ใช้งานภายหลัง ไม่ต้องเริ่มต้น Train ใหม่ โดยใช้คำสั่ง ก็จะได้ไฟล์ (ตามตัวอย่างนี้) ชื่อ example_model.h5 สามารถนำไปใช้บนเครื่อง Production ได้ โดยเรียกใช้งานด้วยคำสั่ง จากนั้น ก็จะสามารถใช้ mode.predict() เพื่อใช้งานได้ตามต้องการ ต่อ การสร้าง RESTful API สำหรับใช้งานจริง ง่าย ๆ ด้วย Flask และ Waitress ก็สามารถนำ Model นี้ไป Deploy เป็น RESTful API ได้เช่นกัน โดยเพิ่ม และ จากนั้น ก็สั่ง เพื่อส่งค่าผ่าน Postman ไป ที่ Server ก็จะ Error ว่า เหตุ เพราะยังไม่ได้มีการสร้าง Tensorflow Graph ขึ้นมา ดังนั้น ต้องเพิ่มคำสั่งต่อไปนี้ และ จากนั้น restart waitress_server แล้วส่งค่าเข้าไปใหม่ ก็จะได้การ Prediction แล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

python #04 – Tensorboard

เมื่อติดตั้ง Tensorflow ก็จะมี Tensorboard ติดตั้งมาให้แล้ว วิธีการใช้งาน ก็แสนง่าย คือ ใน Code เพิ่ม(ตั้งชื่อ directory ให้ดี เช่นกรณีนี้ ตั้งชื่อว่า example-logs เป็นต้น) และในส่วนของ fit ให้เพิ่ม callbacks เข้าไป ดังภาพนี้ จากนั้นก็ Train ตามปรกติ เมื่อต้องการดู Tensorboard ก็เพียงเปิดอีก Terminal หนึ่ง (Command Prompt) ไปที่ Directory ที่มี log อยู่ แล้วใช้คำสั่ง ตัว Tensorboard ก็จะทำงาน อ่าน logs จาก –logdir ที่กำหนด แล้วแสดงผลที่ Port 6006 แต่รายละเอียดใช้ยังไง ขอศึกษาเพิ่มเติมก่อนครับ แหะ ๆ

Read More »

Case Study: ระบบประเมินผลออนไลน์ด้วย Google Sheets แบบแก้ไขได้เฉพาะส่วนของตนเอง แต่มองเห็นของคนอื่นได้ด้วย

โจทย์มีอยู่ว่า ต้องการระบบประเมินผล Online ให้อาจารย์จากหลาย ๆ มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ท่าน ประเมินผลการทำงาน ในมุมมองต่าง ๆ แยกตาม Sheet และ ในแต่ละมุมมอง อาจารย์แต่ละท่าน สามารถเลือกตัวเลือกจาก Dropdown ในคอลัมน์ของตนเองในแต่ละหัวข้อย่อย แต่ในขณะเดียวกัน สามารถมองเห็นได้ด้วยว่า อาจารย์ท่านอื่นให้คะแนนหัวข้อย่อยนั้นว่าอย่างไร แต่จะไม่สามารถแก้ไขของท่านอื่น หรือ แก้ไขส่วนอื่น ๆ ได้ มีระบบสรุปคะแนนอัตโนมัติ เริ่มกันเลย ลองคลิกไปดูตัวอย่างได้ที่นี่ สร้าง Google Sheets โดยมีทั้งหมด 5 Sheets แต่ละ Sheet มีคอลัมน์แรก เป็นรายการที่จะประเมิน คอลัมน์ B – F เป็นส่วนที่ผู้ประเมินแต่ละท่านใช้ในการประเมิน ชีตที่ 1 -3 เป็น มุมมองในการประเมิน ชีตที่ 4 เป็น Rubric Score หรือ ค่าที่จะใช้ทำ Dropdown ด้วย V Lookup ชีตที่ 5 เป็น Summary เอาไว้แสดงภาพรวมการประเมิน (ใช้ในภายหลัง) สร้าง Dropdown ไปที่ ชีต “มุมมองที่ 1” ที่เซล B7 (หัวข้อประเมินแรก ของผู้ประเมินคนแรก) แล้ว “คลิกขวา” เลือก Data Validation … จากนั้น ในบรรทัด On invalid data เลือก Reject inputในบรรทัด Criteria คลิกที่ช่องด้านหลัง แล้วไปคลิก ชีต “RubricScore” และเลือกส่วนที่จะมาแสดงใน Dropdown นั่นคือ “Not Met”, “Partially Met” และ “Met” แล้วคลิกปุ่ม OK จากนั้น กลับมาคลิกปุ่ม Save จากนั้น ก็ Copy เซล B7 ไปยังทุก ๆ ส่วนที่จะทำการประเมิน เพิ่มผู้ประเมินเป็น Editor คลิกปุ่ม Share แล้วกรอก Email Address ซึ่งเป็น Google Account ของผู้ประเมินทั้ง 5 คนลงไป ให้เป็น Editor จากนั้นคลิกปุ่ม Send ในขั้นตอนนี้ ทุกคนที่เป็น Editor สามารถเข้ามาแก้ไข ทุกส่วน ของ Google Sheets นี้ได้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ ต่อไป จะเป็นการกำหนด ส่วนที่ แต่ละคนจะสามารถแก้ไขได้ กำหนดส่วนที่ผู้ประเมินแก้ไขได้ คิดเหมือนกับ การเจาะช่อง ให้เฉพาะส่วนที่กำหนดนี้ ให้มีการแก้ไขได้ คลิกเมนู Tools > Protect sheetแล้วคลิก Except certain cellsในที่นี้คือ B:F แล้วเลือก Editor ทุกคน ให้สามารถ แก้ไขได้จากนั้นคลิกปุ่ม Done ตอนนี้ ทั้ง 5 คนจะสามารถแก้ไขสิ่งที่อยู่ในคอลัมน์ B-F ได้ แต่ยังมีปัญหาคือ อ.สมชาย สามารถแก้ไขข้อมูลในคอลัมน์ของ อ.สมหญิง ได้อยู่ กำหนดให้ผู้ประเมินแก้ไขได้เฉพาะคอลัมน์ของตนเอง ต่อไป กำหนดให้ อ.สมศรี แก้ไขได้เฉพาะคอลัมน์ C ซึ่งเป็นของตนเองเท่านั้นเลือก คอลัมน์ Cคลิกเมนู Data > Protected sheets and ranges …คลิกปุ่ม Set Permissions จากนั้น

Read More »

python #03 – Train/Validation/Test and Accuracy Assessment with Confusion Matrix

ต่อจาก python #02 – ติดตั้ง Tensorflow และ Keras ซึ่งกล่าวถึง ขั้นตอนการสร้าง Model และ วาง Layers ต่าง ๆ ของ Keras รวมไปถึง การใช้ model.summary() เพื่อแสดงโครงสร้าง Neural Network ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ต่อไป เป็นการ นำข้อมูลมาแบ่งเป็นชุด สำหรับ Train/Validate/Evaluate การแบ่งข้อมูล สมมุติมีข้อมูล ที่อาจจะมาจาก CSV File ซึ่งมี field 0 – 9 คือ ตัวแปรต้น หรือ ที่มักเรียกว่า Features และ มี field 10 เป็น ตัวแปรตาม หรือ ที่เรียกว่า Label ทำการแบ่งข้อมูล เป็น X และ y(วิธีการ Slice ข้อมูล จะเป็นรูปแบบ data[ row, column]) ก่อนนำไปใช้ ต้องแปลง y ให้เป็น One-Hot Encode ซึ่ง Keras เองมีเครื่องมือให้อยู่แล้ว การแบ่งข้อมูลเป็น Train/Test สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ง่ายและสะดวก คือ ใช้ train_test_split จาก Scikit Learn ในตัวอย่างนี้ มีข้อมูลตัวอย่างน้อย คือ เพียง 5 samples จึงแบ่งสัดส่วน Test Size = 0.3 หรือ 30% การสร้าง Model สมมุติ เราออกแบบ Neural Network ตามภาพ กล่าวคือ มี Input Layer จำนวน 10 Nodes และ มี Hidden Layers เป็น Dense 2 ชั้น จำนวน 8 และ 5 Nodes ตามลำดับ โดยมี Activation Function เป็น Relu จากนั้น ส่งไปยัง Output Layer ที่มี 3 Nodes ใช้ Activation Function เป็น Softmax เพราะจะเป็น Categorial Classification และ ใช้ Code ตามนี้ แล้ว Compile โดยใช้ Loss Function เป็น Categorical Crossentropy, Optimizer เป็น Adam ที่ Learning Rate 0.001 (เลือกจะตั้งค่าหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี) และกำหนด Metrics เป้น Accuracy การ Training ใช้คำสั่ง fit ในการ train โดยกำหนด X_train คือข้อมูลสำหรับการสอนโมเดล และ y_train เพื่อให้โมเดลเปรียบเทียบว่าต่างจากผลที่คำนวณแค่ไหน (ผ่าน Loss Function) จากนั้นจึงทำการ Adjust Weights กลับมา (ผ่าน Optimizer) ในกระบวนการ Backpropagationในตัวอย่างนี้ ตั้งค่า epochs หรือ จำนวนรอบที่จะ Train และ batch_size เพื่อกำหนดว่า

Read More »