• ใช้มือถือแทน Mouse และ Keyboard ก็ได้นะ


    ชีวิตคนทำงาน Office ที่ต้องใช้ Computer เป็นประจำทุกวัน ทำงานกันอย่างหนักหน่วง ถ้าเกิด Mouse หรือ Keyboard ที่ใช้งานอยู่ มีปัญหาหรือเสียหายขึ้นมา จะทำยังไง? ส่งซ่อมหรือออกไปหาซื้อใหม่ ก็ทำให้เสียเวลาวันนี้เรามีวิธีมาช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เปลี่ยนมือถือคุณเป็น Mouse และ Keyboard แบบ WiFi ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ของคุณได้ทั้ง Windows และ Mac รวมถึงคุมมือถือ iOS และ Android ได้ด้วย สามารถพิมพ์ผ่านมือถือได้ เพียงลง Application WiFi Mouse ลงบนเครื่อง iOS หรือ Android และคอมพิวเตอร์ เริ่มต้นด้วย1. Download Application ที่ชื่อว่า WiFi Mouse มาไว้ที่มือถือของเรา ซึ่งสามารถ Download ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android 2. Download…

    >> Read More <<

  • ซ่อน/แสดง คอลัมน์ใน ASP.NET GridView จาก Code Behind


    จากบทความ ซ่อน/แสดง คอลัมน์ใน ASP.NET GridView ด้วย jQuery ท่านผู้อ่านที่ได้เข้าไปอ่านแล้วอาจจะมีคำถามว่าถ้าไม่อยากใช้ jQuery ล่ะ เนื่องด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ วันนี้ผมก็จะมานำเสนอการซ่อน/แสดงคอลัมน์ใน ASP.NET GridView อีกวิธี ซึ่งจะเป็นการควบคุมจาก code behind ที่เป็นภาษา C# หรือ VB.NET ในที่นี่ผู้เขียนจะใช้ภาษา C# ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ตัวอย่างโค้ด HTML จะมีการแก้ไขเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากบทความเดิม โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจะอยู่ที่ CheckBox คือ AutoPostBack=”true” เพื่อให้มีการ PostBack ทุกครั้งที่มีการคลิก Checkbox OnCheckedChanged=”chkCallNo_CheckedChanged” คือ event ที่อยู่ใน code behind ที่จะถูกเรียกใช้เมื่อมีการคลิก 2. โค้ดในส่วนของการจำลองข้อมูล สามารถใช้โค้ดเดิมจากบทความเก่าได้เลย 3. เพิ่มโค้ดใน chkCallNo_CheckedChanged เพื่อควบคุมการซ่อน/แสดงคอลัมน์ที่ต้องการ โดย gvBib.Columns[3].Visible จะเป็นการกำหนดให้คอลัมน์ที่…

    >> Read More <<

  • ซ่อน/แสดง คอลัมน์ใน ASP.NET GridView ด้วย jQuery


    การแสดงผลข้อมูลใน Gridviews ในบางสถานการณ์เราต้องการซ่อนข้อมูลบางคอลัมน์ออกไปก่อนตามเงื่อนไขใดๆ และเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนเราก็จะแสดงข้อมูลในคอลัมน์ที่ถูกซ่อนนั้นออกมา ในบทความนี้ผู้เขียนจะแสดงตัวอย่างการ ซ่อน/แสดง คอลัมน์ใน ASP.NET GridView ด้วยชุดคำสั่ง jQuery โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มโค้ด HTML ดังตัวอย่างด้างล่าง ซึ่งเป็นโค้ดที่แสดง Checkbox เพื่อใช้เลือกแสดงคอลัมน์ CallNo และ ASP.NET GridView ที่มีข้อมูล 5 คอลัมน์ 2. เพิ่มโค้ดใน event Page_Load ในหน้า code behind เพื่อจำลองข้อมูลที่จะใช้แสดงใน GridView เนื่องจากโค้ดตัวอย่างมีการใช้งาน class DataTable และ DataColumn ซึ่งอยู่ใน namespace System.Data เพราะฉะนั้นจะต้อง Import namespace นี้ด้วย 3. เพิ่มโค้ด jQuery เพื่อควบคุมการแสดง/ซ่อน คอลัมน์ เมื่อมีการคลิก เลือก/ยกเลิก เช็คบ๊อก…

    >> Read More <<

  • กำหนด Lexer สำหรับ Full Text Search บน ฐานข้อมูล Oracle เพื่อค้นหาภาษาไทยให้ถูกต้อง


    เนื่องจากระบบสืบค้นที่ดูแลอยู่เจอปัญหาค้นหาเลขไทย “๑ ๒ ๓ …” ไม่เจอ หลังจากตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าก่อนจะส่งคำสั่ง Query ไปยังฐานข้อมูลไม่ได้เผลอตัดเลขไทยออกที่ขั้นตอนไหน จึงทำการตรวจสอบคำสั่งที่ใช้ในการค้นหา พบว่าใช้ฟังก์ชัน SELECT * FROM THAI_LIBRARY WHERE CONTAINS(BOOK_NAME, ‘๑๐๐ ปีชาติไทย’, 1) > 0; จากคำสั่ง (ที่สมมุติขึ้น) ด้านบนจะเห็นได้ว่าใช้ CONTAINS ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่อยู่ในกลุ่ม Oracle Text ซึ่งฟังก์ชันนี้จะค้นหาคำใกล้เคียงจาก Index แล้วคืนค่า Score มาให้เราเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขพิจารณาว่าจะใช้ข้อมูลรายการนั้นหรือไม่ ที่มาภาพ ภาพด้านบนแสดงขั้นตอนการสร้าง Oracle Text Index เนื่องจากระบบจัดเก็บข้อมูลเป็น Text อยู่แล้วจึงไม่มีการกำหนด Fillter, Sectioner ทำให้จุดที่ต้องตรวจสอบว่า เลขไทยเราหายไปจาก Index ได้ยังไงเหลืออยู่คือ Lexer ที่จะเป็นตัวกำหนด Wordlist, Stoplist ในการทำ Index ต่อไป…

    >> Read More <<

  • Bootstrap Modal Full Screen


    หลายๆ ท่านที่เคยใช้งาน Bootstrap เป็น Frontend Framework น่าจะเคยใช้ modal กันมาบ้าง ซึ่ง modal เป็นจาวาสคลิปต์ปลั๊กอิน มีไว้สำหรับการแสดงผลข้อมูล ทั้งรูปภาพ ข้อความ หรือแบบฟอร์มรับข้อมูล ( html input form ) ในลักษณะป๊อปอัพ ซึ่ง modal ของ bootstrap สามารถแสดงผลได้หลายขนาด ทั้งแบบปกติ แบบเล็ก และแบบใหญ่ ขึ้นอยู่กับ class ที่เราสามารถระบุเพิ่มเข้าไปว่าต้องการให้แสดงผลเป็นแบบไหน ตัวอย่างโค้ด modal dialog และปุ่มสำหรับเปิด modal จะได้ผลลัพธ์ดังรูป ถ้าต้องการให้ modal แสดงผลใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ให้ระบุ modal-lg modal-sm หลัง modal-dialog ดังตัวอย่าง ถ้าเราต้องการให้ modal สามารถแสดงผลแบบเต็มจอ (full screen) จะไม่สามารถทำได้ (อ้างอิงจากเวอร์ชัน…

    >> Read More <<

  • จะทำอย่างไรให้สามารถดึงข้อมูลมาแสดงผลด้วย Progress bar โดยใช้ .Net (C#)


              จากบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้แนะนำเกี่ยวกับ Progress bar และวิธีการใช้งานเบื้องต้นกันไปแล้ว ซึ่งใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ มาถึงในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอนำความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงที่มีการดึงข้อมูลตอน Runtime มาแสดงผลด้วย Progress bar โดยผู้เขียนจะไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนของการสร้างสไตล์ชีทและการกำหนดค่าต่างๆแล้ว แต่จะเน้นในส่วนของการดึงข้อมูลมาแสดงแทน โดยผู้เขียนจะพยายามยกตัวอย่างให้เห็นหลายแนว เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพในการนำไปใช้มากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบจะต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ แบบแถบละสี ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล และจัดเตรียม Tag Html ที่จะใช้ในการแสดงผล 2. เมธอดในการแปลงค่าสไตล์ชีทเพื่อปรับสีตามจำนวนที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์ จากโค้ดข้างต้นจะเป็นการกำหนดสไตล์ชีทที่จะใช้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนค่า % ที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง สีแดง ช่วงตั้งแต่ 0 – 25 % สีส้ม ช่วงตั้งแต่ 26 – 50 % สีฟ้า ช่วงตั้งแต่ 51 – 75 % สีเขียว ช่วงตั้งแต่…

    >> Read More <<

  • มาทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้งาน Progress bar ในเบื้องต้นกันเถอะ


              โดยปกติแล้วในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา คงมีบางเวลาที่เราอาจจะอยากแสดงผลข้อมูลของเราในรูปแบบของ Progress bar ซึ่งเป็นแถบของข้อมูล เพื่อเพิ่มมุมมองให้กับการแสดงผลให้ไม่น่าเบื่อจำเจแทนที่จะเป็นเพียงการแสดงผลตัวเลขเฉยๆ โดยเจ้า Progress bar นี้จะทำให้เราเห็นภาพได้ว่า ข้อมูลของเราได้ดำเนินการใกล้ถึงเป้าหมายแล้วหรือยัง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ ดังนั้นในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีการใช้งาน Progress bar แบบเบื้องต้น โดยจะมีขั้นตอนง่ายๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนสไตล์ชีท โดยเราจะใช้สไตล์ชีทเหล่านี้ เพื่อช่วยให้การแสดงผลของ Progress bar ของเราสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งการกำหนดสไตล์ชีทสามารถทำได้ 2 วิธี คือแบบที่กำหนดในไฟล์เลย หรือแยกเป็นไฟล์สไตล์ชีทต่างหากได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้ทำเป็นแบบแยกไฟล์สไตล์ชีทออกมาต่างหากแล้วอ้างถึงจากไฟล์ที่เรียกใช้แทน เพื่อง่ายต่อการปรับปรุง และใช้งานในครั้งต่อไปค่ะ ไฟล์ Progress.css เพิ่มเติม : การอ้างอิงไฟล์สไตล์ชีทจากภายนอก โดยที่อยู่ของไฟล์ก็ขึ้นกับการระบุของแต่ละท่าน 2. การกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล Progress bar ในส่วนของแท็ก body ในไฟล์ html คำอธิบาย : จากตัวอย่าง จะเห็นว่าเราสามารถปรับแต่งและใส่ข้อมูลให้กับ Progress bar…

    >> Read More <<

  • ว่าด้วยการนับแถวข้อมูลใน ORACLE


                  การนับแถวข้อมูล (Row Count) ในตารางข้อมูล (Table) บน ORACLE จะใช้คำสั่ง SQL พื้นฐานคือ                             SELECT COUNT(*) FROM table_name;               แต่ในบางครั้งข้อมูลที่ไม่ปกติหรือการเพิ่มพารามิเตอร์ในคำสั่ง COUNT อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้ดังตัวอย่าง               จากภาพเป็นการเพิ่มตารางข้อมูล และเพิ่มข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกันคือ เพิ่มข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน เพิ่มข้อมูลซ้ำกัน เพิ่มข้อมูลที่เป็น NULL ทั้งสิ้น 7 rows               เมื่อใช้คำสั่งเรียกดูข้อมูลและนับจำนวนข้อมูลพบว่าข้อมูลถูกแสดงถูกต้อง และสามารถนับได้ 7 rows ถูกต้อง               เมื่อใช้พารามิเตอร์ ALL ในคำสั่ง COUNT จะพบว่าสามารถนับได้ 5 แถว ซึ่งจะหมายถึงการนับเฉพาะแถวที่มีค่าข้อมูล (ยกเว้นแถวที่มี F1 เป็น NULL)               การทำงานโดยใช้คำสั่ง SELECT COUNT( ALL…

    >> Read More <<

  • การใช้งานหน่วยเวลาใน ORACLE ระดับมิลลิวินาที


                  การใช้งานประเภทเวลาใน ORACLE ที่เราใช้งานปกติคือข้อมูลประเภท Date (Data Type=Date) ซึ่งจะเก็บข้อมูลที่มีหน่วยเล็กที่สุดคือ วินาที (second)               การใช้งานระบบที่มีผู้ใช้จำนวนมากพร้อมๆกัน ในบางครั้งหน่วยวินาทีอาจไม่ละเอียดพอ จำเป็นต้องใช้หน่วยเวลาที่เล็กกว่าวินาทีคือมิลลิวินาที (1000 มิลลิวินาที = 1 วินาที) ซึ่งใน ORACLE ได้จัดเตรียมข้อมูลประเภทนี้ไว้ให้คือ Timestamp ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งการสร้างเป็นคอลัมน์ในตารางข้อมูลหรือเป็นตัวแปรใน PL/SQL ดังตัวอย่าง การใช้งาน Timestamp ใน SQL               จากรูปจะสร้างฟิลด์ประเภท NUMBER, DATE และ TIMESTAMP (ที่ระดับความละเอียด 6 digits) โดยฟิลด์ DATE กำหนด Default Value = SYSDATE และ TIMESTAMP กำหนด Default = SYSTIMESTAMP               เมื่อเพิ่มข้อมูลโดยระบุค่าในฟิลด์ ID…

    >> Read More <<