
ย้าย Google Workspace Mail Service มา Office365 Mail Service
ย้ายเมล์จาก Gmail ของมหาวิทยาลัย มา Office365 mail ของมหาวิทยาลัย (@psu.ac.th มายัง @email.psu.ac.th) สิ่งที่ต้องมี Ready Go!!
ย้ายเมล์จาก Gmail ของมหาวิทยาลัย มา Office365 mail ของมหาวิทยาลัย (@psu.ac.th มายัง @email.psu.ac.th) สิ่งที่ต้องมี Ready Go!!
เคยเจอเหตุการณ์ที่ใช้คำสั่งผิดพลาดหรือเผลอลบข้อมูลไปโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ และได้ทำการ commit ไปเรียบร้อยแล้วไม่สามารถ rollback กลับได้มั้ย 😊 สำหรับคำถามข้างต้นคิดว่าคงจะมีบ้างแหละที่จะพลาดกันบ้างใช่มั้ยคะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ เรามีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจของเรา วันนี้จึงขอนำเสนอวิธีการที่จะกู้คืนข้อมูลได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องไปร้องขอให้ DBA กู้คืนข้อมูลให้ด้วย Flashback Query กันค่ะ Flashback Query เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง ณ เวลา TIMESTAMP ที่ต้องการ ได้โดยใช้ AS OF clause การใช้งาน Flashback Query ก็ไม่ยาก ตามไปดูตัวอย่างการใช้งานกันค่ะ ตัวอย่าง Step1 : วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 10:55:25 เรามีตารางข้อมูล TEST_NEW_STUDENT จำนวน 5 รายการ Step2 : เวลา 11:01:18 คงเบรอ ๆ นิดหน่อย ทำการลบข้อมูลตาราง TEST_NEW_STUDENT และทำการ COMMIT ไปเรียบร้อย นั่งไปสักพักเอะเมื่อกี้เราทำอะไรไป พลาดไปแล้ว ข้อมูลหายหมดแล้ว ทำไงดี Step3 : ใช่ Oracle มีฟีเจอร์ Flashback Query งั้นขอเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง ณ เวลา 10:55:25 เพราะจำได้ว่าตอนนั้นข้อมูลยังมีอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนที่จะพลาดลบไป 😂 Step4 : นี่ไงข้อมูลที่เราลบไป รออะไรหละ ดำเนินการกู้คืนข้อมูลกันเลยค่ะ ไชโย😍 ข้อมูลกลับมาเรียบร้อยแล้ว Flashback Query ช่วยชีวิตเราได้จริง ๆ👍👍👍 หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ หมายเหตุ : ถ้าเราใช้วิธีการ Truncate จะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลกลับได้ด้วย Flashback Query น้า
หลักจากที่ทาง Microsoft ได้ประกาศหยุดบริการ Internet Explorer (IE) อย่างถาวร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ก็ทำให้กระทบกับการใช้งานบางเว็บไซต์ (เก่าๆ) หลายเว็บไซต์ ที่ออกแบบหรือพัฒนาให้ใช้งานได้ดีบน IE แต่ต้องหันไปใช้งานบราวเซอร์อื่น เช่น กดเมนูไม่ได้บ้าง กดปุ่มแล้วไม่ทำงานบ้าง เป็นต้น ซึ่งเราจะหันไปใช้บราวเซอร์อื่นแทนก็ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์ที่เก่าๆ นั้นได้อย่างราบรื่นหรือสมบูรณ์อยู่ดี พอจะใช้ Microsoft edge ก็พบปัญหาแบบเดียวกัน ก็….เว็บไซต์มันเก่าแล้วอ่ะเธอออออ แต่ Microsoft ก็ไม่ทอดทิ้งอะไรที่ว่าเก่าๆ แบบไม่ใยดีผู้ใช้ขนาดนั้นนะคะ เพราะจริงๆ เรายังสามารถเปิดใช้งานเว็บไซต์ที่ว่าเก่าๆ นั้น (ย้ำจังเลย) ใน IE Compatibility View เพื่อให้ใช้งานในมุมมองดังกล่าวได้ผ่าน Microsoft Edge แต่ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้อีก 7 ปี (ถึงปี 2029) เท่านั้นนะคะ ซึ่งวันนี้ผู้เขียนได้รวบรวมขั้นตอนเพื่อให้สามารถใช้งานเว็บไซต์ในโหมด IE Compatibility View บน Microsoft Edge มาแนะนำกันค่า ก่อนอื่นเลย ตั้งค่าเพื่อเปิดใช้งานคุณสมบัตินี้ให้กับ Microsoft Edge กันก่อน 1. เปิด Microsoft Edge ขึ้นมาแล้ว กดคีย์ลัด Alt + F แล้วเลือก เมนู Settings ดังรูป (หรือไป ที่ edge://settings/defaultbrowser) 2. ในหน้าจอ Settings ที่แถบด้ายนซ้ายให้เลือกเมนู “Default browser” จะแสดงส่วนของการตั้งค่า Internet Explorer Compatibility ให้กดเลือก Allow ในหัวข้อ “Allow sites to be reloaded in Internet Explorer mode (IE mode)” เพื่ออนุญาตให้สามารถโหลดเว็บไซต์ในโหมด Internet Explorer Compatibility ตอนใช้งานได้หลังจากที่ได้ตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว ****อย่าลืมปิดและเปิดบราวเซอร์ขึ้นมาใหม่นะคะ มาดูวิธีการโหลดใช้งานเว็บไซต์ในโหมด Internet Explorer Compatibility กันค่าเมื่อเปิดเว็บไซต์ขึ้นมา ให้กดคีย์ลัด Alt + F แล้วเลือก “Reload in Internet Explorer mode” โลดดด ถ้าไม่เจอ Reload …. อนุญาตให้ตกใจนิดหน่อย แต่ ไม่เห็นไม่เจอใช่ว่าจะม่ายยยยมีน่ะ เพราะถ้าหากใช้ Microsoft Edge เวอร์ชั่น 92 หรือเก่ากว่านี้ ก็ให้เลือก More tools ก็จะพบกับ Reload in Internet Explorer Mode คร่าาา เท่านี้ก็ใช้งานเว็บไซต์ในโหมด Internet Explorer Compatibility ได้แล้วละค่า (หากต้องการปิดการใช้งานในโหมดนี้ ก็กดคีย์ลัด Alt + F แล้วเลือก Exit in Internet Explorer mode ) โดย เป็นยังไงกันบ้างค่า เว็บไซต์เก่าๆ ที่รองรับการใช้งานด้วย IE นั้น เราก็ไม่ต้องกังวลกันจะใช้งานกันไม่ได้ เพียงแค่ทำตามวิธีข้างต้นค่ะ 🙂 บางอย่างเก่าแต่ยังเก๋าอยู่น่ะ(ลาก่อนและขอบคุณน่ะ Internet Explorer) ขอขอบคุณ : https://www.addictivetips.com/windows-tips/compatibility-view-settings-edge/https://droidsans.com/how-to-use-ie-mode-on-microsoft-edge/Internet Explorer mode in Microsoft Edge
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน เราเจอกันอีกแล้ววว 🙂 Blog วันนี้ผู้เขียน ขอว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ ครั้งละหลายๆไฟล์ พร้อมกัน ด้วยคำสั่ง command line อันที่จริงวันนี้ทางผู้เขียนเจอปัญหาการแสดงผลรูปภาพในหน้าเว็บไซต์ที่ทางทีมเป็นผู้ดูแล ซึ่งไม่รองรับไฟล์นามสกุล .jpeg ซะงั้น แต่ไฟล์รูปต้นฉบับ 2800 กว่าไฟล์นี่มัน .jpeg หมดเลยนี่สิ …. ครั้นจะมานั่งเปลี่ยนที่ละไฟล์ก็ดูจะเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป !!! เลยต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และนำมาทดลองใช้แก้ปัญหาในครั้งดู มาค่ะ มาเริ่มกันเลย Step 1 : ให้ทุกท่าน ไปที่ start ของ window ของเรา และค้นหาคำว่า cmd เพื่อเรียก command line ขึ้นมา Step 2 : เราจะได้หน้าจอ command line ของเราขึ้นมา อย่างแรกเลยคือเราต้องเขียนคำสั่งเข้าไปยัง folder ที่เก็บไฟล์ที่เราต้องการ rename ก่อน จากตัวอย่างผู้เขียนจะเก็บไว้ที่ folder ชื่อ name2 ซึ่งอยู่บน desktop ตัวอย่างคำสั่งก็ประมาณนี้ cd c:/users/administrator/desktop/name2 จากนั้นคลิก enter เล้ย ปล…สำหรับคำสั่ง command line นี่มีมากมายเลยนะ อันนี้แค่เบื้องต้นเท่านั้นแหละ พวก cd, cd.. , del, rename ฯลฯ Step 3 : จากรูปด้านบนสังเกตุได้ว่า เราก็จะเข้าไปอยู่ใน folder name2 เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็มาเขียนคำสั่งเพื่อเปลี่ยนนามสกุลกันเล้ยยยย คำสั่งคือ rename *.jpeg *.jpg จากนั้นกด Enter เพื่อ run คำสั่งได้เลยทุกคน ปล…rename คือคำสั่ง เปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลของไฟล์ ส่วน * คืออะไรก็ตาม ตามรูปแบบคำสั่ง โดยรวมคือเราจะเปลี่ยนทุกไฟล์ใน folder name2 ที่นามสกุล .jpeg ให้เป็นนามสกุล .jpg จากตัวอย่างในวิดีโอ หลังจากเรา Run คำสั่งเรียบร้อยแล้ว นามสกุลไฟล์ใน name2 ของเราก็จะเปลี่ยนให้อัตโนมัติเน้อ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกๆท่าน ไม่มากก็น้อย หลายๆท่านอาจรู้อยู่แล้ว แต่หลายๆท่านก็อาจจะไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นลองอ่านลองทำตามกันดูนะคะ ง่ายมาก สะดวกและประหยัดเวลามากๆเลย ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงความรู้ดีๆจาก : https://www.techhub.in.th/
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน Blog แรกของรอบ TOR ใหม่ในปีนี้ ผู้เขียนจะขอว่าด้วยเรื่องของการ export ข้อมูลจาก notion และการนำเข้าข้อมูลไปยัง azure devops กันค่ะ หลายๆคนคงมีคำถาม ว่าเจ้า notion นี่มันคืออะไร ?? ถ้าให้อธิบายสั้นๆ ง่ายๆ notion ก็คือ “ซอฟต์แวร์ตัวนึงที่เราสามารถใช้จดโน้ต จัดการงาน วางแผนต่างๆ ได้ครบจบในตัวเดียว ใช้งานง่าย หน้าตาน่ารัก” นั้นแหละนะ คำถามถัดมา แล้วทำไมไม่กรอกบน azure devops เลยละ ? ทางผู้เขียนขอตอบเลยว่าการบันทึกข้อมูลตามฟอร์ม work items เนี่ย ผู้เขียนมีความรู้สึก(ส่วนตัว) ว่ามันค่อนข้างจะกรอกยาก และเสียเวลาจริงๆ (ใช้ excel, google sheet หรือ notion ง่ายกว่าเย๊อะ) ปล…แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น azure devops ก็ยังคงมีประโยชน์และใช้งานได้ดีในส่วนอื่นๆ อยู่แหละนะ ^^ Blog นี้ผู้เขียนจะไม่ลงลึกในส่วนของการใช้งาน notion แต่จะเน้นในส่วนของการ import ข้อมูลเข้าใน azure devops ซะมากกว่า ถ้าท่านผู้อ่านสนใจการใช้งาน notion สามารถค้นหาข้อมูลผ่าน google ได้เลย มีเยอะแยะมากมายเชียวละ เรามาเริ่มดูหน้าตาเจ้า notion กันก่อนเลยดีกว่า Step 1 : สมัครใช้งานให้เรียบร้อย จากนั้น Add a page ขึ้นมา ตั้งชื่อตามต้องการ เลือกใช้ DATABASE ในรูปแบบ Table ซึ่งตอบโจทย์ในการทำงาน และเก็บข้อมูลของทางผู้เขียน Step 2 : สร้าง column ข้อมูลตามที่เราต้องการบันทึก สำหรับขั้นตอนนี้ แนะนำให้สร้างตรงกับฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลใน work item ของเราบน azure devops นะ เพราะมันจะง่ายและลดระยะเวลาในการทำงานได้เยอะเลยแหละ Step 3 : ขั้นตอนนี้จะเป็นการ Export ข้อมูลที่เรากรอกไว้บน notion ให้อยู่ในรูปแบบ .csv ให้เราคลิกตรง … มุมบนด้านขวาของ page ที่เราต้องการ Export จากในตัว notion จากนั้นเลือก Export Step 4 : เลือก format และเงื่อนไขอื่นๆ ที่เราต้องการ Export โดยผู้เขียนจะเลือกเป็น Markdown& CSV เมื่อเรา Export เรียบร้อยแล้วก็จะได้หน้าตาข้อมูลมาประมาณนี้ (เราสามารถปรับแก้ไขตัวไฟล์ดังกล่าวเพิ่มเติมได้เลยนะ) Step 5 : เปิดหน้าจอ azure devops ของเราขึ้นมาก่อนเลย เลือก Project ที่ต้องการดำเนินการ เลือกเมนู “Boards” เมนูย่อย “Work Items“ Step 6 : เลือก Import Work Items จากนั้นให้เราเลือก Choose File โดยเลือกเป็นไฟล์ที่เรา Export ได้มาตะกี้นั่นแหละ Step 7 : เมื่อเรา Import ข้อมูลจาก .CSV เราเข้ามาเรียบร้อยแล้ว เราก็จะพบกับข้อมูลดังกล่าวบนตัว azure devops หน้าตาประมาณนี้เลย สุดท้าย ท้ายสุด หากตรวจสอบพบว่าถูกต้อง ไม่มีปัญหาใดๆ ก็ให้คลิก Save items ได้เลยนะทุกคนนนนนน เอาจริงๆ ง่ายมากๆ ลดเวลาการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนในการทำงานของทางผู้เขียนได้ดีมากๆ เอาไปเลย 5 ดาววววววว ทั้งนี้ทางผู้เขียนยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้อ่านหลายๆ ท่านน๊าาาา แล้วพบกันใหม่ใน Blog หน้าเน้ออออออ ขอขอบคุณน้องเอก