Search results for: “elk”

  • PSU One Passport (Authentik)

    PSU One Passport (Authentik)

    • PSU One Passport (Authentik) เป็นระบบล็อคอิน แบบใหม่ที่ ระบบเงินเดือน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “ต้องใช้” เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ซึ่งระบบล็อคอินนี้ได้ประกาศใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน 2567
    • หน้าตาเป็นดังภาพ

    คลิก “ลงชื่อเข้าใช้ด้วย PSU PASSPORT” จะได้หน้าดังภาพ

    เมื่อได้หน้านี้มี 2 ทางเลือกคือ

    1. กรอก Username ของ PSU Passport ลงไปแล้วคลิก Log in
    1. กรอกรหัสผ่านของ PSU Passport ลงไปคลิก Continue
    1. !!สำคัญมาก ให้คลิกเลือกคำว่า “TOTP Device” จะได้ QR Code ดังภาพ
    1. ให้ใช้โปรแกรมจำพวก Authenticator มาสแกน QR Code ดังกล่าวซึ่งโปรแกรมที่เรามีทุกคนอยู่แล้วคือ Microsoft Authenticator นั่นเอง!!!
    1. ในโทรศัพท์จิ้มเครื่องหมาย + (บวก) เลือก Other (Google, Facebook, etc.)
    1. ทำการสแกน QR Code ในข้อ 3. จะได้ PSU One Passport เพิ่มเข้ามาดังภาพ
    1. กลับมาที่ Browser ในคอมพิวเตอร์ให้เลื่อนจอลงมาล่างสุดในหน้าที่มี QR Code จะมีช่องให้ใส่ Code *
    1. ให้นำ Code จาก PSU One Passport ใน App Microsoft Authenticator มาใส่ โดยคลิกที่ คำว่า PSU One Passport จะปรากฎเลข 6 หลัก
    1. นำเลขมาใส่ในช่อง Code * แล้วกด Continue
    1. จะสามารถเข้าระบบที่ใช้งาน Authentik ในการเข้าระบบได้ ในที่นี้คือ https://payroll.urmo.psu.ac.th
    1. จะได้หน้าล็อคอินเข้าระบบอีเมล ของมหาวิทยาลัย

    1. กรอกชื่อบัญชีอีเมลมหาวิทยลัยลงไปแล้วคลิก Next
    1. บางคนจะได้หน้า Approve sign in ที่ปรากฎเลขสองหลัก ให้นำเลขสองหลักไปใส่ใน App Microsoft Authenticator แล้วกดอนุมัติ
    1. หรือบางคนจะได้หน้ากรอกรหัสผ่าน ก็ให้ใส่รหัสผ่านของอีเมลลงไปแล้วจะได้หน้าในข้อที่ 3 เช่นเดียวกัน
    2. นำเลขที่ได้มาใส่ในมือถือ แล้วกด Yes แล้วใส่รหัสปลดล็อคมือถือ (หรือ สแกนนิ้วมือ สแกนหน้า)
    1. จะได้ดังภาพ
    1. ตอบ Yes ได้ถ้าเป็นเครื่องส่วนตัว ถ้าไม่ใช่เครื่องส่วนตัวให้ตอบ No
    2. เข้าระบบได้เรียบร้อย
    3. ถ้าไม่เคยตั้งค่าไมโครซอฟท์ออเทนติเคเตอร์ ให้ทำการตั้งค่าก่อน ตามคู่มือที่ https://sysadmin.psu.ac.th/microsoft-authenticator/
    • ซึ่งแนะนำให้ใช้วิธีที่ 2 ดีกว่า เนื่องจากไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเติมอีก
  • Everything are connected together

    “ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน”

    สวัสดี ผู้อ่านทุกท่านนะครับ นี่คือบทความฉบับปฐมภูมิของผู้เขียน ที่จะนำพาท่านไปพบกับบทความในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้เขียนพยามสรรสร้างบทความนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดที่เรียบง่าย แต่ได้ไอเดีย เพื่อนำไปสร้างนวัตกรรมหรือนำไปประยุกต์ใช้งานกับหน้าที่การงาน ที่เราต่างร่วมกันทำเพื่อองค์กรของเราให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

    กล่าวถึงหัวข้อที่ผู้เขียนเรื่อง “Everything are connected together” เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนได้สกัดมาจากงานที่ผู้เขียนปฏิบัติจริงและได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่เริ่มตั้งไข่ จนกระทั่งเริ่มยืนและเดินได้ เติบโตขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มทักษะในการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

    ในบทความนี้จะไม่เน้นเนื้อหาในเชิงลึก แต่จะนำเสนอแก่นสาร ที่รวบรวมแนวความคิดของผู้เขียนที่มีต่อการปฏิบัติงาน เพื่อนำเสนอไอดีย และแง่มุมต่าง ๆ ที่มันสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างจากการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านต่อไป

    ปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีตลอดจนเครื่องมือต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายให้เราเลือกนำมาใช้งาน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ “ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน” เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ผู้อ่านคงจะเริ่มคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ในชีวิตประจำวันที่เราใช้ Internet มันเชื่อมโยงทุกสิ่งอย่าง อย่างไรก็ตามในหลาย ๆ มิติของการเปลี่ยนแปลงมันก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน นั่นคือทุกอย่างล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ผู้เขียนพยามสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริง หากเราจะก้าวไปข้างหน้า จงอย่างไปยึดติด แต่เราควรเลือกที่จะเปลี่ยนให้เหมาะสมไปตามภาวะในความเป็นจริง

    เรามาเข้าเรื่องที่จะนำเสนอในบทความนี้กัน…. เพิ่งได้เข้าเรื่องนะ OK ใจเย็น ๆ ไม่ต้องรีบร้อนค่อย ๆ อ่านไปแล้วกันนะ ^_^

    จากการที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมปฏิบัติการ “ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ครั้งที่ 1 (The 1st PSU ICT Workshop) นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทำให้เราได้เชื่อมต่อถึงกัน ในการประชุมครั้งนั้นผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ ” แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนา web app และ mobile app บนสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส (Microservices Architecture)”

    สถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มใหม่ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
    สามารถอ่านรายละเอียด Story ได้ที่นี่(เปิดดูได้เฉพาะเครือข่ายภายใน มอ.)
    https://dev-paas.eng.psu.ac.th

    สถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มใหม่ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ออกแบบขึ้นบนพื้นฐานของสถาปัตยกรรม Microservice ซึ่งทุกสิ่งอย่างเชื่อมต่อกัน แต่ละ Service มีหน้าที่เฉพาะตัว ไม่ยึดติดภาษาที่ใช้พัฒนา แต่เราจะควบคุมให้ทำงานตามที่เราต้องการและสามารถปรับแต่งได้ เพื่องรองรับการเปลี่ยนแปลง นั่นคือภาพโดยรวมของเพลตฟอร์ม

    การเลือกเครื่องมือ (Tools) ทีนำมาใช้ในการพัฒนาหรือการ Operation ระบบทั้งหมดนั้นมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน หลักการเลือกเครื่องมือของผู้เขียนมีดังนี้

    1. ตรงตามความต้องการ
    2. มีรายละเอียด (Docs) อธิบายชัดเจน
    3. มีชุมชน (Community) ที่มีการ update ปัญหาอย่างสมำเสมอ
    4. มี Road map ของการพัฒนาที่ชัดเจน
    5. มีช่องทางเชื่อมต่อแบบต่างเพลตฟอร์ม (Cross Platform)

    เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารเพลตฟอร์ม ที่สามารถเชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องพัฒนาหรือเขียน Code ขึ่นมาใหม่ ตรงนี้จะช่วยให้เรามีเวลาไปทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เครื่องมือที่นำเสนอในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนา ที่ผู้เขียนได้ผ่านกระบวนการทดสอบ และใช้งานจริงแล้ว ขอนำเสนอด้วยภาพด้านล่างเพื่อความเข้าใจอย่างรวดเร็ว

    ชุดเครื่องมือ Open source สำหรับการบริหารจัดการเพลตฟอร์ม

    จากภาพเครื่องมือที่ใช้นั้นเป็น Open source ที่มาจากต่างค่าย ต่างผู้พัฒนาแต่มันสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างลงตัว ซึ่งรายละเอียดของเครื่องมือนั้นผู้เขียน ขอให้ข้อมูลจากผู้ให้บริการเลยนะครับซึ่งมีดังนี้

    1. Kong API Gateway เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการ การเข้าถึง APIs จากภายนอกแล้วไปเรียก APIs ภายในโดยใช้หลักการ Reverse proxy ได้อย่างง่าย สะดวก ไม่ต้องเขียน config ให้ยุ่งยากปลอดภัยและรวดเร็ว ในตัว Kong API Gateway นั้น มี Logging UDP/TCP Plugin  ให้เราสามารถส่ง logs ไปบันทึกตามตำแหน่งที่เราต้องการได้ Reference:  https://konghq.com
    2. ELK API Analytic เป็นเครื่องมือที่หลายคนน่าจะรู้จักดีและมีบทความดี ๆ ที่ผ่านมาเกี่ยวกับ ELK อยู่ในชุมชนนี้ด้วย เครื่องมือนี้ช่วยวิเคราะห์ปัญหาการเรียกใช้ APIs ตรวจสอบความผิดปกติในการใช้งาน เป็นต้น Reference: https://www.elastic.co
    3. Grafana API Monitoring เป็นเครื่องมือสำหรับใช้สร้าง Dashboard / Visualize กราฟ และวิเคราะห์ในเชิงสถิติ โดยตัวมันมี Plugin connection data source หลายแบบ หนึ่งใน data source ที่ใช้อยู่คือการดึงมาจาก elastic search ที่ผ่านการทำ indexing มาแล้ว รวมถึงมีความสามารถในการตั้งค่า threshold เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการส่ง Notification ได้หลายช่องทาง เช่น Email , Line เป็นต้น Reference: https://grafana.com

    บทสรุป

    “Everything are connected together” ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน ล้วนมีช่องทางให้เชื่อมต่อ แม้ในการทำงานก็เช่นกัน การเชื่อมต่อกันเป็นการประสานการทำงานกันได้อย่างดี แม้จะมีหน้าที่งานระดับใดก็ตามขอเพียงแค่เปิดใจรับฟังและไม่ใช้เหตุผลส่วนตัวในการตัดสินใจ ขอให้ใช้เหตุผลเพื่อส่วนรวม คุณพร้อมหรือยังที่จะเชื่อมต่อ….

    สำหรับขั้นตอนวิธีอย่างละเอียดในการเชื่อมต่อทำอย่างไร หากสนใจ ติดต่อสอบถาม หรือปรึกษาได้ครับ โทร. 749931 / email: thawat.va@psu.ac.th

    ผู้เขียน: นายธวัช วราไชย
    ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์
    สังกัดฝ่ายคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • ElasticSearch + LogStash + Kibana

    บทความชุด ElasticSearch + LogStash + Kibana

    ELK #01
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • June 24, 2017
    https://sysadmin.psu.ac.th/2017/06/24/elk-01/

    ELK #02
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • June 24, 2017
    https://sysadmin.psu.ac.th/2017/06/24/elk-02/

    ELK #03
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • June 27, 2017
    https://sysadmin.psu.ac.th/2017/06/27/elk-03/

    ELK #04
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • June 30, 2017
    https://sysadmin.psu.ac.th/2017/06/30/elk-04/

    ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • August 31, 2017
    https://sysadmin.psu.ac.th/2017/08/31/elk-5-gis/

    ELK #6 วิธีการติดตั้ง ELK และ Geoserver แบบ Docker ให้ทำงานร่วมกัน
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • September 13, 2017
    https://sysadmin.psu.ac.th/2017/09/13/elk-6-deploy-elk-geoserver-with-docker/

    ELK #07 LogStash
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • September 11, 2018
    https://sysadmin.psu.ac.th/2018/09/11/elk-07-logstash/

    ELK #08 Oracle Audit Trail
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • April 16, 2019
    https://sysadmin.psu.ac.th/2019/04/16/elk-08-oracle-audit-trail/

    ELK #09 Anomaly Detection (Case Study)
    by คณกรณ์ หอศิริธรรม • August 21, 2019
    https://sysadmin.psu.ac.th/2019/08/21/elk-09-anomaly-detection-case-study/

     

  • การสร้าง Web Map Service (WMS) บน Geoserver

    จากบทความ ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS ของคุณคณกรณ์ ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจัดทำแผนที่ GIS ซึ่งอาศัย Web Map Service หรือเรียกย่อๆว่า WMS ก็เลยทำให้คันไม้คันมือ อยากนำเสนอวิธีการสร้าง WMS บน Geoserver เพื่อนำ shape file ที่เราได้จัดทำขึ้น(ไม่ว่าจะเป็น point , line, polygon) มาใช้งานบน GIS Web Application ซึ่งทั่วไปก็จะใช้ UI เป็น Openlayers, Leaflet ฯลฯ

    **ลองแวะเข้าไปอ่านบทความเก่าๆของผู้เขียน จะมีการนำเสนอวิธีการนำ WMS ไปใช้ อาทิเช่นกับ Google Earth, ArcGIS เป็นต้น

    ขั้นตอนการสร้าง WMS บน Geoserver

    1. สร้างและกำหนด style ของข้อมูลในโปรแกรม QGIS

    2. save style เป็น SLD file โดยจัดเก็บไว้ที่เดียวกับ shape file

    3. Copy file ทั้งหมด

    4. ไปวาง(past) ไว้ที่ root folder ของ Geoserver ซึ่งในที่นี้จะอยู่ที่ C:\Program Files\Apache Software Foundation\Tomcat 7.0\webapps\geoserver\data\shpfile\slb-gis

    *** ดาวน์โหลด shape file ตามตัวอย่างได้ที่นี่

    5. เปิด Geoserver manager โดยพิมพ์ url: localhost:8080/geoserver     *** port สามารถปรับเปลี่ยนได้

    6. ทำการสร้าง Workspaces

    7. กำหนดชื่อ Workspace และ URI

    8. กำหนด properties ของ Workspace ให้เปิดใช้งาน (Enabled) Services ต่างๆ

    9. จากนั้นทำการสร้าง Stores ในการเก็บข้อมูล shape file (จากขั้นตอนที่ 4)

    10. เลือกชนิดของ data sources ในที่นี้จะเลือก Directory of spatial files (Shapefiles)

    11. ทำตามขั้นตอนในรูป

    1) เลือก Work space ที่สร้างไว้ในข้อ 7

    2) กำหนดชื่อ data

    3) กำหนด directory ที่เก็บ shape file

    4) เลือกโฟลเดอร์ จากข้อ 4

    5) คลิกปุ่ม OK

    จากนั้นเลืื่อนไปด้านล่างสุดของหน้าจอ เพื่อคลิกปุ่ม Save

    12. จะปรากฏหน้าต่างข้อมูล shape file ที่ถูกจัดเก็บไว้ในข้อ 4 ซึ่งในที่นี้มีเพียง 1 shape file คือ slbtamb > จากนั้นคลิกที่ Publish เพื่อเปิดการใช้งานชั้นข้อมูล

    13. จะแสดงชั้นข้อมูล slbtamb จากข้อ 12

    14. คลิกปุ่ม Find เพื่อกำหนดระบบพิกัดให้กับชั้นข้อมูล ในที่นี้ shape file เป็นระบบ UTM ผู้เขียนจึงใช้รหัส 32647

    15. จากนั้น คลิก Compute from native bounds เพื่อให้ระบบ generate พิกัดให้

    16. คลิกปุ่ม Save

    17. ทำการเพิ่ม SLD file ที่ได้จัดทำไว้ในข้อที่ 2 เพื่อการแสดงผลของแผนที่ให้มีลักษณะเหมือนดังเช่นที่ได้ปรับแก้ในโปรแกรม QGIS

    18. เลือก Workspace > คลิกเลือกไฟล์ ที่ได้จัดเก็บไว้ในข้อ 4 > คลิก Upload…

    19. จะแสดงโค้ดของ sld file ซึ่งตรงนี้ สามารถปรับแก้/เพิ่มเติมได้ > จากนั้นคลิกปุ่ม Submit

    20. กลับไปที่เมนู Layers จากข้อ 12 ให้คลิกแถบ Publishing > เลือก Default Style > เลือก style ที่ได้สร้างในข้อ 19

    21. จะแสดงรูปแบบของ style

    22. ทำการพรีวิวดูชั้นข้อมูลที่ได้สร้างขึ้น > คลิกเมนู Layer Preview > เลือกชั้นข้อมูล จากนั้นคลิก OpenLayers

    23. จะแสดงแผนที่ชั้นข้อมูลที่ได้นำเข้า shape file โดยการนำไปใช้ จะใช้

    WMS url และ Layers name

    *** ดูตัวอย่างการนำไปใช้เพิ่มที่

     

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านที่ต้องการจะสร้าง GIS Web App. หรือมีข้อมูล shape file แล้วต้องการจะนำไป publish ขึ้นเว็บในรูปแบบของ GIS Web นะคับ

    ** ข้อดีของ WMS คือ เราจะแชร์เฉพาะ Service โดยที่ข้อมูล shape file ยังคงอยู่กับเรา(private) 

     

    สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา GIS Web Application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS

     

    ===============================================
    สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
    คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
    แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand

  • วิธีสร้าง Docker Swarm

    หลายคนคงจะได้ใช้งาน Docker มาแล้ว แต่อาจจะลองใช้งานบน 1 Physical Server กล่าวคือ สร้างหลายๆ container อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว

    >> ติดตั้ง docker 17.06.0 CE บน Ubuntu

    Docker Swarm เป็นเครื่องมือที่ติดมากับ Docker รุ่นตั้งแต่ 1.12 เป็นต้นมา (ปัจจุบัน ชื่อรุ่นคือ 17.06.0 CE) ก่อนอื่น มาตรวจสอบว่า เรากำลังใช้ Docker รุ่นไหนด้วยคำสั่ง

    docker version

    Docker Swarm ประกอบไปด้วย Master Node และ Worker Node โดยใน 1 Swarm สามารถมีได้ หลาย Master และ หลาย Worker

    ในตัวอย่างนี้ จะแสดงการเชื่อมต่อ Ubuntu 16.04 ทั้งหมด 4 เครื่อง เข้าไปใน 1 Swarm (ทุกเครื่องสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ และต่อ Internet ได้ และติดตั้ง Docker ไว้เรียบร้อยแล้ว)

    [Master Node]

    1. ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อสร้าง Swarm Master Node บนเครื่องนี้
      docker swarm init

      จะได้ผลดังภาพ

    2. ให้ Copy คำสั่ง ตั้งแต่ “docker swarm join –token …..” เป็นต้นไป เพื่อเอาไปสั่งให้ Work Node เข้ามา Join ใน Swarm

    [Worker Node]

    นำคำสั่งจาก Master Node ข้างต้น มาใช้

    จากนั้น ทำเช่นเดียวกันนี้ กับ Worker Node ที่เหลือ (และหากในอนาคตต้องการเพิ่ม Worker Node อีก ก็เอาคำสั่งนี้ไปใช้)

    ตัวอย่างการนำไปใช้
    (หากสนใจ ลอง git clone https://github.com/nagarindkx/elk ไปดูได้)

    1. สร้าง “Stack File” ซึ่งจะคล้ายๆกับการสร้าง Compose File แต่มีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย
    2. ใช้คำสั่ง ต่อไปนี้ เพื่อสร้าง Stack ของ Software ให้กระจายไปใน Worker Nodes
      docker stack deploy -c $(pwd)/elk.yml k1

      ผลที่ได้

    3. วิธีดูว่า ตอนนี้มี Stack อะไรอยู่บ้าง ใช้คำสั่ง
      docker stack ls
      ผลที่ได้
    4. วิธีดูว่า ตอนนี้มีการไปสร้าง Container ไว้ที่ใดใน Docker Swarm บ้าง ด้วยคำสั่ง (สั่งการได้บน Master Node เท่านั้น)
      docker service ps k1
      ผลที่ได้
    5. ต่อไป อยากจะเพิ่ม Scale ให้บาง Service ใน Stack ใช้คำสั่ง
      docker service scale k1_elasticsearch=4
      ผลที่ได้

     

    ในตัวอย่างนี้ จะสามารถใช้งาน Kibana ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่า อยู่ที่ Node “docker04” แต่เราสามารถเรียกใช้งานได้ที่ Master Node “docker01” ได้เลย เช่น Master Node มี IP เป็น 192.168.xxx.111 ที่ port 5601 ได้

    คร่าวๆแค่นี้ก่อนครับ