วิธีการสร้าง/แชร์ Template จาก Notion

การใช้งานโปรแกรม Notion มีเครื่องมือการใช้งานที่หลากหลาย มาประยุกต์กับงานต่างๆ ได้ ซึ่งงานที่เอามาใช้มากที่สุดตอนนี้เป็นการบันทึกรายงานการ สร้างเป็น Table เมื่อตั้งชื่อเพจ และสร้าง Table เรียบร้อยแล้ว เราต้องการสร้าง template สำหรับเป็นรูปแบบที่เมื่อมีการบันทึกการประชุมทุกครั้งจะต้องมีหัวข้อนี้เสมอ ลองมาทำกันต่อค่ะ เริ่มสร้าง template เริ่มจากการตั้งชื่อ template ตัวอย่างใช้ชื่อว่า “Meeting Template” สร้างส่วนที่ 1 เป็นการสร้างข้อมุลการประชุม ได้แก่ เพิ่มข้อมูลวันที่ เลือกประเภทเป็น “Date” ส่วนของวันที่จะสามารถตั้งค่าได้ว่า Format ว่าต้องการให้แสดง Month/Day/Year ซึ่งตัวอย่างเราจะเคยชินจึงเลือกใช้เป็น Day/Month/Year เพิ่มข้อมูลประเภทการประชุม เมื่อเราเพิ่มประเภทการประชุมเรียบร้อยแล้ว บันทึกข้อความที่ต้องการสร้าง Template ตามหัวข้อที่เราต้องการ มีการจัดทำวาระย่อยๆ ตามวาระการประชุม เมื่อสร้าง Template เรียบร้อยแล้ว ดำเนินการยืนยันการตั้งค่า default ตรวจสอบอีกครั้งว่า Template ที่สร้างเป็นค่า default หรือยัง เมื่อต้องการบันทึกรายงานการประชุม สร้างเอกสารการประชุมใหม่ … Read more

เทคนิคการขยับแถวขึ้นลงใน Table ด้วยวิธี Drag & Drop ใน Blazor

สำหรับ blog นี้ของผู้เขียน ถือว่าเป็นซีรี่ส์ที่ต่อเนื่องมาจาก https://sysadmin.psu.ac.th/2021/05/25/ขยับแถว-row-ขึ้น-ลง-ใน-asp-net-gridview-ด้วย-j/ และ https://sysadmin.psu.ac.th/2021/05/27/ขยับแถว-row-ขึ้น-ลง-ใน-asp-net-gridview-ด้วย-c/ ก็คือผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการขยับแถวอีกวิธีหนึ่ง ที่น่าจะเฟรนด์ลี่ต่อผู้ใช้มากกว่า นั่นก็การ Drag & Drop ก็คือผู้ใช้งานสามารถเลือกคลิก ลาก และวาง เพื่อจัดลำดับได้ตามความต้องการ ซึ่งเมื่อผู้เขียนมาทำงานบน Blazor พบว่าการ implement เรื่องนี้สามารถทำได้ง่ายมาก โดยไม่ต้องพี่งพา javascript แต่อย่างใด เรามาดูกันเลยครับ 1. เพิ่มโค้ด HTML ในส่วนของการแสดงผลข้อมูลในรูปแบบ Table 2. เพิ่มโค้ด C# ในส่วนที่ควบคุมการทำงานและจำลองข้อมูล ซึ่งจะได้ผลลัพธ์หน้าจอดังรูป และเป้าหมายของเราก็คือสามารถคลิกเลือกจังหวัด จากนั้นลากและวางไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ 3. จากนั้นเพิ่มโค้ดส่วนที่ควบคุมการ Drag และ Drop ทั้งใน HTML และ C# 4. เมื่อทดสอบการทำงาน รายชื่อจังหวัดในตารางจะสามารถคลิก ลาก และวางไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ 5. และเมื่อ drop … Read more

วิธีใช้ Power Query ดึงข้อมูลจาก PSU Web API

PSU Web API เป็นเว็บที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ JSON ทุกท่านที่มี PSU Passport สามารถสมัครเพื่อขอใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ api.psu.ac.th โดยปัจจุบันข้อมูลที่เปิดให้บริการแล้วคือ ข้อมูลส่วนกลาง ข้อมูลระบบสารสนเทศนักศึกษา และข้อมูลระบบสารสนเทศบุคลากร สำหรับทุกท่านที่สนใจใช้บริการข้อมูลสามารถศึกษาวิธีการได้จากคู่มือของระบบค่ะ วันนี้จะขอนำเสนอวิธีการดึงข้อมูลจาก PSU Web API ที่ให้บริการออกมาเป็นรูปแบบตารางด้วย Power Query ใน Microsoft Excel 365 กันค่ะ ซึ่งการดึงข้อมูลด้วย Power Query นี้น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ไม่ถนัดในการเขียนโปรแกรมเพื่อดึงข้อมูลมาใช้งานกันค่ะ STEP 1 : เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูล PSU Web API STEP 2 : ตั้งค่า Power Query Editor STEP 3 : ทำการ Transpose และแตก List ข้อมูล STEP 4 … Read more

วิธีรวมข้อมูล Excel จากหลายชีทเข้าด้วยกันเป็นตารางเดียวด้วย Power Query

Power Query เครื่องมือสำคัญของ Power BI และ Microsoft Excel 2016 | 2019 | 365 ที่จะช่วยจัดการข้อมูลให้ได้ตามต้องการ ไม่ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน การเปลี่ยนประเภทข้อมูล การจัดตารางหรือคิวรี การจัดคอลัมน์ การจัดการข้อมูลที่บกพร่อง การรวมข้อมูล การแยกข้อมูล การปรับแต่งข้อมูล และการสร้างรูปแบบข้อมูล จุดเด่นของ Power Query ในการใช้งาน Microsoft Excel เราอาจจะมีความจำเป็นที่จะรวมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ซีทเป็นตารางเดียว เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อ วันนี้จึงจะขอนำเสนอความสามารถของ Power Query เพื่อรวมข้อมูล Excel แต่ละชีทรวมเป็นตารางเดียวโดยเริ่มจาก STEP 1 : ทำการแปลงข้อมูลในแต่ละชีทให้เป็นตาราง STEP 2 : รวมข้อมูลเป็นตารางเดียวด้วย Power Query STEP 3 : กำหนดรายละเอียดของ Query STEP … Read more

วิธีการแยกคำนำหน้าชื่อ ชื่อและนามสกุล ที่รวมอยู่ในช่องเดียวกันใน Microsoft Excel

ในการใช้งาน Microsoft Excel เราคงจะเคยเจอปัญหาที่ข้อมูลมีทั้งคำนำหน้าชื่อ ชื่อและนามสกุล รวมอยู่ในช่องเดียวกัน แต่การนำไปใช้งานของเราต้องการที่จะแยกคำนำหน้าชื่อ ชื่อและนามสกุลออกจากกันเป็นคนละช่อง วันนี้จะขอนำเสนอสูตรเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น มาดูกันเลยคะว่าทำยังไง ในการแก้ปัญหานี้จะต้องใช้ฟังก์ชันหลายฟังก์ชัน รวมทั้งเทคนิคการคำนวณแบบ Array ของ Excel ผสมผสานกันโดยเริ่มจาก STEP 1 : สร้างคอลัมน์สำหรับการแสดงผล และสร้าง List รายการคำนำหน้าชื่อที่คอลัมน์ I STEP 2 : ทำการแปลง TITLE_LIST เป็นตาราง เพื่อความสะดวกในการจัดการข้อมูลคำนำหน้าชื่อและการอ้างอิงข้อมูล STEP 3 : ทำการแยกเฉพาะคำนำหน้าชื่อมาแสดงที่คอลัมน์ D ด้วยฟังก์ชัน SEARCH , MATCH และ INDEX =INDEX(TITLE[TITLE_LIST],MATCH(1,SEARCH(TITLE[TITLE_LIST],B2),0)) ฟังก์ชัน SEARCH : ค้นหาสตริงข้อความหนึ่งภายในสตริงข้อความที่สอง และส่งกลับตัวเลขที่เป็นตำแหน่งเริ่มต้นของสตริงข้อความแรกจากอักขระแรกของสตริงข้อความที่สอง ไวยากรณ์ : SEARCH(find_text,within_text,[start_num]) กรณี ฟังก์ชัน MATCH : … Read more