เขียน JavaScript RegExp กับข้อมูล sensitive ให้แสดง 4 ตัวอักษรสุดท้าย

เขียน JavaScript กับข้อมูลที่ sensitive โดยใช้ RegExp เพื่อแสดงบางส่วน เนื่องจากทางผู้เขียนได้รับ requirement ให้ปรับปรุงข้อมูลที่อ่อนไหว ให้แสดงบางส่วน อย่างเช่น เลขบัตรประชาชน โดยก่อนอื่นจะอธิบายความหมายสัญลักษณ์ RegExp ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ ความหมาย . หาตัวอักษรเดียวและยกเว้น newline หรือ line terminator เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /./ จะได้ผลลัพธ์ “T” n{X} นับจำนวนอักษรทั้งหมดตามจำนวน X ตัวอักษร เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /.{4}/ จะได้ผลลัพธ์ “Thai” ?=n หาตัวอักษรทั้งหมดทีมี n เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /.(?=land)/ จะได้ผลลัพธ์ “i” g หาตัวอักษรที่ตรงทั้งหมดและจะหยุดเมื่อเจอผลลัพธ์แรก เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /.(?=land)/g จะได้ผลลัพธ์ “i,n” จากนั้นใช้ function replace() Note: To replace all matches, use a regular expression with a /g flag (global match) หวังว่า km จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ ที่มา https://www.w3schools.com/jsref/jsref_obj_regexp.asp

Read More »

PSU Internet was Affected by Submarine Cable

NT คาดว่าจะแก้ไขกลับมาให้เป็นปกติได้ประมาณวันที่ 1 มี.ค. 2566 PSU ยังคงมีการใช้ Internet ผ่าน อีก 2 ISP ได้แก่ UniNet และ True ซึ่งก็มีทางเชื่อม Internet ผ่าน NT-IIG วงรีทางซ้ายในแผนผัง http://internet.nectec.or.th/webstats/show_page.php?ZRXlBGci8PKBfyGoc7U+YUMy0Mxa4ePxBhBlnwqcod1s56C+MB1w8PH7zxtoDLTv3lyjGbqHqI3kpjAsGrb3Y0vlVN/aAcvDDim6ggNEPEVG0g7Tda6BWRbRQiS8DM5D     สาเหตุการขัดข้อง o เกิดจากการขัดข้องของระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ได้แก่ ระบบ AAG, AAE1 และ APG บริเวณน่านน้ำประเทศสิงคโปร์, ฮ่องกง และประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทับซ้อนพร้อมกันหลายระบบ ทำให้วงจร Trunk Internet Gateway เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆเกิดการ Congestion ผลกระทบการใช้งานบริการ International Internet Gateway oทำให้การใช้งาน Internet หรือ Application แบบ Real time โดยเฉพาะปลายทางประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ใช้งานได้ช้า (High latency/packet loss) ในบางช่วงเวลาที่การใช้งาน Traffic สูง oทั้งนี้ในการให้บริการ NT IIG ยังมี Traffic บางส่วนที่สามารถใช้งานได้จาก IIG Caching ซึ่งอยู่ภายใน IIG network เช่น Facebook, Google, Akamai, NETFLIX, Line ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบต่อการใช้งาน แผนการแก้ไขเร่งด่วน oเปิดวงจร Trunk ผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำ TIS (TH-SG) + SJC (SG-HK) •ดำเนินการ : เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อ วันที่ 2 ก.พ. 2566 •ผลลัพธ์ : ทำให้ Traffic ที่ผ่านไปยังปลายทางเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ใช้งานได้ดีขึ้นและลดการ Congestion ด้านสิงคโปร์ได้บางส่วน oเปิดวงจรเชื่อมต่อปลายทาง NT IIG POP Singapore เพิ่มเติมผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำ SMW4 ขนาด 100 GE เพื่อขยาย Capacity ของ IIG Trunk Singapore •ดำเนินการ : เปิดวงจรเชื่อมต่อไปยังสถานีเคเบิลใต้น้ำประเทศสิงคโปร์เป็นเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้รอการเชื่อมต่อวงจรเชื่อมโยงจากสถานีเคเบิลใต้น้ำในประเทศสิงคโปร์ไปยัง NT IIG POP โดย บ.SingTel แจ้งข้อมูลล่าสุด(20ก.พ.)คาดว่าจะสามารถดำเนินการเชื่อมต่อวงจรได้ประมาณวันที่ 1 มี.ค. 2566 •ผลการลัพธ์ : ทำให้ Traffic ที่ผ่านไปยังปลายทางประเทศสิงคโปร์และปลายทางอื่นๆกลับสู่ภาวะปกติ แผนการแก้ไขระยะยาว oเพิ่ม Diversity วงจรเชื่อมต่อผ่านระบบ Submarine ADC (ประมาณ Q4 2566) •Singapore POP เป็น 5 ระบบ (SMW4/TIS/AAG/APG/ADC) •Hong Kong POP เป็น 5 ระบบ (AAG/APG/AAE1/TIS-SJC/ADC) ข้อมูล ข้อขัดข้อง NT IIG ที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ช่องทางหนึ่งแก่ PSU เนื่องจากเคเบิลใต้น้ำ 20Feb2023 ครับ https://www.submarinecablemap.com/

Read More »

Nessus Essentials

เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่ Nessus Essentials จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุดจึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ เช่น หากใช้ Ubuntu ก็ทำตาม วิธี https://sysadmin.psu.ac.th/2023/02/14/ubuntu-oval/ ที่ Ubuntu มีให้แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้ว เครื่องมือที่สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ diis.psu.ac.th มีใช้สำหรับตรวจสอบช่องโหว่คือNessus Professional ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรายปี และการใช้งาน ผู้ดูแลไอทีส่วนงานต่างๆ สามารถส่งอีเมลถึง itoc@psu.ac.thแจ้งความประสงค์ ขอให้ตรวจสอบช่องโหว่เว็บไซต์ URL…วันที่… เวลา… ซึ่งจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2 ชั่วโมง itoc@psu จะส่งรายงานผลการตรวจสอบจาก Nessus ให้กับท่านตามอีเมล @psu.ac.th ที่แจ้งความประสงค์เข้ามาตามลำดับคำขอ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้ดูแลไอทีส่วนงานต่างๆ สามารถสมัครใช้บริการ Nessus ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายNessus Essentialshttps://www.tenable.com/products/nessus/nessus-essentialsซึ่งรองรับ 16 IP Address และตรวจสอบได้เพียงพอ ไม่ต้องถึงระดับ Compliance Checks แบบ Nessus Professional บทความที่เคยใช้ข้อมูลจาก Nessus มีอยู่ที่https://sysadmin.psu.ac.th/2019/08/13/nessus-scaned/ ส่วน รายละเอียดการใช้งาน Nessus Essentials หากท่านใดมีเนื้อหาพร้อมแบ่งปัน สามารถแปะ URL ในช่องความเห็นมาได้เลยครับ ร่วมด้วยช่วยกัน เพิ่มความปลอดภัยไซเบอร์ ให้ ม.อ.

Read More »

Ubuntu OVAL

เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่สำหรับอูบุนตู เพิ่มเติม สำหรับ Ubuntu 24.04 10Jun2024 เมื่อได้รับทราบข้อมูลช่องโหว่ของลีนุกซ์อูบุนตูที่ดูแลอยู่จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุดจึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ Ubuntu มีมาให้ด้วยคำสั่งsudo apt updatesudo apt dist-upgradeแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้วตามคำแนะนำของ Ubuntu ที่มีประกาศข่าวเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับอูบุนตูไว้ที่ https://ubuntu.com/security/notices อูบุนตูมี Ubuntu OVAL (Open Vulnerability and Assessment Language) ไว้ให้ใช้ตรวจสอบช่องโหว่ ซึ่งใช้โปรแกรมชื่อ OpenSCAP เพื่อทำรายงานช่องโหว่ให้ดูได้เอง ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ตัวอย่างการใช้งานจริงกับเครื่องบริการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต Ookla Server ซึ่งใช้เป็นตัวอย่างแสดง

Read More »

ระบบสารสนเทศ (5/5) : ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF) ระบบ Health Insurance for Foreigners หรือมีชื่อย่อว่า ระบบ HIF เป็นระบบน้องใหม่ของทางทีมพัฒนาสารสนเทศนักศึกษา เป็นระบบที่เปิดใช้สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไปโดยระบบนี้จะมีการเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศนักศึกษา ระบบ HIF เป็นระบบที่ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาบันทึกข้อมูลการพำนักว่าขณะนี้นักศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ โดยมีข้อกำหนดว่าหากนักศึกษาต่างชาติคนใดที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย นักศึกษาคนนั้นจำเป็นต้องมีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งคำว่าประกันสุขภาพคือ ประกันที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทุกกรณี ซึ่งประเภทของประกันที่มีผลกับข้อมูลว่าประกันสมบูรณ์หรือไม่ ได้แก่ เมื่อนักศึกษาต่างชาติดำเนินการซื้อประกันตามที่ต้องการ นักศึกษาจะต้องมาบันทึกข้อมูลในระบบ HIF เพื่อแจ้งรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ ชื่อประกัน รูปถ่ายกรมธรรม์ และช่วงวันที่ของประกัน และดำเนินการส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล หน้าหลักของระบบ HIF เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประกันตามที่นักศึกษาบันทึกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Pass” และหากไม่ถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Fail” เพื่อแจ้งให้นักศึกษาดำเนินการแก้ไข เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลรายงาน ได้แก่ รายงานนักศึกษาทั้งหมด รายงานนักศึกษาต่างชาติไม่ได้พำนักในประเทศไทย รายงานประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุม/หรือหมดอายุกรณีนักศึกษาอยุ่ในประเทศไทย และรายงานประกันสุขภาพที่ใกล้หมดอายุ ซึ่งรายงานเหล่านี้สำหรับให้เจ้าหน้าที่ติดตามนักศึกษาในความรับผิดชอบของตนเองได้ หน้าหลักของระบบ HIF ส่วนของเจ้าหน้าที่ ส่วนในระบบสารสนเทศนักศึกษาจะมีข้อความแจ้งเตือนให้กับนักศึกษาต่างชาติทราบว่า ขณะนี้นักศึกษาได้เลือกสถานะการพำนักในประเทศไทย หรือต่างประเทศ และข้อมูลประกันที่มีอยู่ในปัจจุบันครอบคลุมหรือไม่ค่ะ 🎯 ** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับทีมพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาขอนำเสนอระบบสารสนเทศเพียงเท่านี้ก่อนค่ะ ขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ ^^

Read More »