ในตอนที่ 2 เราจะมาดูภาคการเขียนโปรแกรมในส่วนของ board โดยใช้ซอฟต์แวร์ arduino-1.8.10 เขียน sketch แล้ว upload เข้า board เพื่อใช้งานร่วมกับ Firebase หากบังเอิญ search มาเจอบทความนี้ก่อน ย้อนกับไปอ่าน ตอนที่ 1 ได้ครับ
เริ่มต้นเราต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ ดังรูป

รันโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมา arduino-1.8.10-windows.exe (ส่วนอีก 2 ไฟล์ที่เป็น .zip แตกไฟล์ออกมา CH341SER_WINDOWS.zip ใช้เพื่อให้ USB port ของ Notebook จำลองเป็น Serial port COM3 ได้ และ firebase-arduino-master.zip จะใช้ในโปรแกรม Arduino ในขั้นตอน Add Libraries)

ในไดเรกทอรี libraries จะเห็นว่าเราใช้งาน libraries ใดได้บ้างในการเขียนโปรแกรม

และเมื่อเราจะเขียนโปรแกรม จะต้องวางไว้ในไดเรกทอรี ดูตัวอย่าง

เอาโค๊ดของ project ชื่อ Firstapp-IoT ได้ที่ link นี้ https://github.com/woonpsu/firstapp-iot
เมื่อรันโปรแกรม Arduino ในครั้งแรก ให้ตั้งค่าเพิ่มที่ File > Preferences

ตัวอย่าง Arduino board ที่ใช้ ESP8266 ต้องใส่ URL: https://arduino.esp8266.com/stable/package_esp8266com_index.json
ถัดไป ตั้งค่าเลือก Board ให้ตรงกับที่เราซื้อมา (ให้ข้อมูลเพิ่มครับ ที่ซื้อมาคือรุ่น บอร์ดทดลอง NodeMCU V2 NodeMCU V2 ESP8266 Development Kit ESP-12F/N)

เมื่อเราเขียน Sketch book เสร็จ ไม่ error แล้ว เราจะอัปโหลดใส่ board ในขั้นตอนนี้ เราใช้สาย USB data ต่อ board เข้ากับ USB port ในรูปจะเห็น COM3 หากใช้สาย USB Charger จะไม่เห็น Serial port นะ เมื่อพร้อมก็คลิกปุ่ม upload

ต่อไปเราก็เปิดหน้าต่าง Serial Monitor เพื่อดูผลลัพธ์ หรือ debug

จะเห็นว่า โปรแกรมมีการใช้คำสั่ง Serial.println(“WiFi connected”); เพื่อ debug

ผลลัพธ์เมื่อเราใช้โปรแกรม JavaScript สั่งเปิด LED1 และ LED2 และตั้งสีให้กับหลอดสี เป็น สีเขียว

อ้างอิง:
- อ่านเยอะ ๆ และ search จาก google หลายเพจมาก ๆ
- ได้รับข้อมูลเรื่องการเชื่อมต่อเน็ต Arduino ไปยัง Wi-Fi 802.1x จากเพื่อนชื่อโป้งทำงานที่ CLIB PSU โดยนักศึกษาฝึกงานเขียนโค๊ดไว้บน github ที่นี่ https://github.com/ton28919/firedoor/blob/main/nodeMCU_WifiEnterprise/nodeMCU_WifiEnterprise.ino
- โปรแกรม JavaScript ที่เขียนก็ได้จาก Firebase Document ส่วนมาก
- ต้องขอบคุณเพจนี้ด้วย เป็นเพจแรก ๆ ที่จุดประกายให้ http://www.daydev.com/firebase/web-authentication-with-firebase.html และ https://adamblog.co/firebase-authentication-with-firebaseui/
- Firebase UI https://github.com/firebase/firebaseui-web
- และขอบคุณทุกเพจบนโลกใบนี้ที่เขียนแนะนำโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
One Response
มีตัวอย่าง ESP8266 + DHT11 โมดูลวัดอุณหภูมิ
เชื่อม WiFi 802.1x เตือน อุณหภูมิ เข้า Line
ไม่ทราบว่ามีมั้ยครับ ตอนนี้ ติด ปัญหาเชื่อม WiFi 802.1x ยังเชื่อมไม่ได้ครับ
มือใหม่ครับ