Category: Streaming Server & Multimedia

  • Chrome ~ Live Caption

    กราบสวัสดีคุณผู้อ่านทุกๆ ท่านนนน … blog วันนี้ ผู้เขียนจะขอว่าด้วยเรื่องของ Google Chrome Live Caption !!

    คาดว่าหลายๆ ท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเช่นเดียวกับผู้เขียน เช่น เมื่อเราต้องการดูข้อมูลวิธีการอะไรสักอย่างนึง เราก็จะ Search google เพื่อหาข้อมูล บ่อยครั้งที่ข้อมูลที่เราได้จะอยู่ในรูปแบบของวิดีโอ ซึ่งมีผู้รู้หลายๆ ท่านมาแชร์เอาไว้

    และก็บ่อยครั้งอีกเช่นเดียวกัน ที่ความรู้เหล่านั้นอยู่ในรูปแบบภาษาอังกฤษ (ซึ่งทักษะภาษาอังกฤษของผู้เขียนก็ … นะ T T)

    ปัญหาของผู้เขียนก็คือ ฟังไม่ทัน ฟังไม่เข้าใจ เค้าพูดอะไร !! 55+ ดังนั้นผู้เขียนจึงหาข้อมูล หาวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้ตัวเองสามารถเข้าใจในข้อมูลเหล่านั้นได้เพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลาที่จำกัด ค้นไปค้นมา นั่นแน่ … ก็มาเจอกับ Feature ใหม่ของ Google Chrome

    ที่มีชื่อว่า Live Caption นั่นเอง

    Live Caption บน Google Chrome แปลง่ายๆ เลยก็คือ มันจะช่วยขึ้น Subtitle ให้เราสามารถอ่านตามไปได้ และสามารถใช้งานได้ดีกับวิดีโอบน youtube หรือแม้กระทั่ง Podcast (แต่ปัจจุบันยังรองรับแค่ภาษาอังกฤษ เท่านั้นนะ)

    คำถามถัดมา แล้วเราจะทำยังไงให้ Google Chrome ของเรา แสดง Live Caption ได้ละ … ไป ไปเริ่มตั้งค่ากันเลย

    step 1 : เปิด Browser google chrome ขึ้นมาก่อน จากนั้นไปที่จุด 3 จุด มุมขวาบนของ Browser —> เลือก Settings

    step 2 : เลือกเมนู Advance

    step 3 : เลือก Accessibility

    step 4 : สุดท้ายเลือก on คำสั่ง live caption ตามในรูปเล้ยยยย

    เมื่อเราตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาดูผลลัพธ์กัน ว่าจะเป็นยังไง หน้าตาที่ได้ก็ประมาณตามวิดีโอตัวอย่างด้านล่างนี้นะ

    จริงๆ แล้วจากที่หาข้อมูลพบว่า Feature Live Caption ตัวนี้เนี่ย เค้าออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้มีปัญหาทางการได้ยิน แต่เอาจริงๆ นะ ผู้เขียนมองว่ามันมีประโยชน์ไม่น้อยเลยกับคนทั่วไป ถึงแม้ตอนนี้จะยังคงรองรับเพียงแค่ภาษาอังกฤษ แต่นั่นผู้เขียนก็มองว่ามันดีมากๆ แล้ว แถมยังสามารถใช้ได้ทั้งการดูวิดีโอแบบออนไลน์ และ ออฟไลน์ เลยด้วย ดีมากจริงๆ

    ยังไงก็แล้วแต่ ผู้เขียนก็หวังเหมือนเดิมอีกเช่นเคย หวังว่า blog นี้จะยังคงมีประโยชน์กับหลายๆ คน ไม่มากก็น้อย แนะนำให้ลองไปใช้กันดูนะทุกคน

    ขอบคุณแหล่งที่มา : ข่าวไอทีใน https://www.techhub.in.th/ ไว้น่ะที่นี้แง๊บบบบ

  • วิธีสร้าง Live Stream ด้วย Google Meet เพื่องานประชุมขนาดใหญ่ — Deprecated

    ต่อจาก ทุกคนใน PSU ใช้ Google Meet สำหรับประชุม / การเรียนการสอน ได้ใน 3 ขั้นตอน

    การประชุม มี 2 รูปแบบ

    1) แบบห้องประชุมเล็ก

    อาจจะเป็นการประชุมเล็ก ทุกคนสามารถพูดแทรกได้ (Discussion) เป็นแนวระดมความคิด (Brainstorm) นึกถึงห้องประชุมที่ทุกคนนั่งหันหน้าเข้าหากัน บนโต๊ะอาจจะมีไมโครโฟนของแต่ละคน ใครจะพูด ก็ยกมือ ขออนุญาตประธาน แล้วกดปุ่มพูด

    การประชุมแบบนี้ Google Meet ให้คนเข้าร่วมได้สูงสุด 250 คน

    ** ข้อแนะนำ ** ผู้เข้าร่วมประชุม ควรปิดไมค์ของตนเองไว้ก่อนเสมอ เพราะเสียงต่าง ๆ จะแทรกเข้าไปในห้องประชุมได้ ไว้เวลาอยากจะพูดอะไร ค่อยเปิดไมค์ แล้วพูด Google Meet จะสลับมายังหน้าของท่านเองอัตโนมัติ

    ปิดไมค์ใน Google Meet ทำงี้ครับ (แบบนี้คือเปิดอยู่ คลิกรูปไมค์เพื่อปิด)

    อย่างนี้ คือปิดเสียงแล้ว

    2) แบบห้องประชุมเปิดขนาดใหญ่

    AfricaBusinessConferernc.jpg
    Image Source: https://www.africastrictlybusiness.com/africa-business-club-at-harvard-spotlights-inclusion-innovation/

    การประชุมแบบนี้ เปิดให้คนจำนวนมาก สามารถเข้าฟังได้ โดยจะมีผู้พูดอยู่แหล่งเดียว อาจจะมีไมค์อยู่จำนวนหนึ่ง สำหรับให้ผู้เข้าร่วมประชุมซักถามได้

    ในกรณีนี้ Google Meet สามารถรองรับการเข้าชม “พร้อม ๆ กัน” ได้ถึง 100,000 คน เรียกว่า “Live Stream”

    ในทางเทคนิคการใช้งาน หากผู้เข้าร่วมประชุมท่านใด ต้องการพูดกับผู้บรรยาย ก็ค่อย สลับเข้าร่วม (Join Meeting) ได้ ซึ่งก็จะสอบถามได้พร้อมกัน 250 คน

    วิธีทำ Live Stream บน Google Meet

    Live Stream ต้อง “เริ่มต้น” จาก Google Calendar เท่านั้น

    1 สร้าง Event บน Google Calendar

    (ของ PSU เท่านั้น, Free Gmail ทำไม่ได้)

    เริ่มจาก คลิก วันที่ต้องการบรรยาย แล้ว ใส่ชื่อ Event เลือกช่วงเวลา แล้วคลิก More Options

    2 เลือก Add Conference > Hangout Meet

    3 เลือก Add live stream

    4 Copy live stream link

    เอาไปเผยแพร่ เช่น แปะเป็น Link บน Website เป็นต้น

    4 กดปุ่ม Save

    เป็นอันเรียบร้อย แล้วก็ รอเวลา ผู้จัดการบรรยาย ก็เข้าไปทำหน้าที่ครับ

    UPDATE:

    จากนั้น ก็เข้า Join Hangout Meet คลิก Join Now

    เสร็จแล้ว คลิกที่ Setting (3 จุดด้านขวาล่าง) แล้วคลิก Start Streaming

    วิธีการนี้ ทำให้ “คนในองค์กร” ของเรา สามารถเข้าฟังการบรรยายได้พร้อม ๆ กัน เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ต้อง Login ด้วย PSU G Suite for Education Account ก่อน จึงจะสามารถเข้าดูได้ –> Free Gmail และ ผู้ที่ไม่ได้ Login ไม่สามารถดูได้นะครับ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • ทุกคนใน PSU ใช้ Google Meet สำหรับประชุม / การเรียนการสอน ได้ใน 3 ขั้นตอน

    Google Meet เปิดให้บัญชีของ PSU Email “ทุกคน” สามารถใช้งานได้ (เพราะเราใช้บริการ G Suite for Education)

    • สร้างห้องประชุมได้ *
    • รองรับได้สูงสุด 250 คน ต่อห้อง **
    • สตรีมมิงแบบสด
    • บันทึก VDO ได้ โดยเก็บบน Google Drive ***

    * เราในฐานะผู้มีบัญชี G Suite สามารถ สร้าง ได้ และเชิญผู้เข้าร่วม โดย ผู้เข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นต้องมี Google Account ก็ได้ (ดูอย่างเดียว)

    ** ถ้าต้องการทำสำหรับงานประชุมที่มีคนดูอย่างเดียวจำนวนมาก เช่น เปิดสอนคลาสใหญ่ แนะนำ วิธีสร้าง Live Stream ด้วย Google Meet เพื่องานประชุมขนาดใหญ่

    *** สามารถบันทึกได้จนถึง 1 ก.ค.2020

    เริ่มกันเลย

    0: Login ด้วย PSU Email (หากยังไม่เคยใช้บริการมาก่อน ขอให้ดำเนินตามขั้นตอนตามนี้ https://gafe.psu.ac.th/support/1/1) และแนะนำให้เริ่มต้นจากหน้า Gmail

    1: คลิกที่ App หรือ 9 จุด จากนั้นคลิกที่ ไอออน Meet ดังภาพ (หรือจะเปิด website https://meet.google.com เลยก็ได้)

    2: คลิกที่ Join or start a meeting

    แล้วตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แล้วคลิก Continue

    แล้วคลิก Allow

    คลิก Join Now

    3: เชิญคนเข้าร่วม

    ทำได้โดยการ ส่ง Link ไปให้ เช่น ส่งทาง LINE/Facebook/Email หรืออะไรก็แล้วแต่สะดวก หรือ จะ Add People ก็ได้ หากต้องการห้องเฉพาะกลุ่ม

    นอกนั้น …

    บันทึก VDO

    คลิกรูป 3 จุดด้านล่างขวา แล้ว เลือก Record meeting

    แล้วก็ Accept

    แสดง PowerPoint

    เริ่มจากเปิด PowerPoint ที่ต้องการ แล้วเข้าสู่โหมด Presentation

    แล้วคลิก Present now แล้ว เลือก A window

    แล้วเลือก window ที่ต้องการแสดง แล้วกดปุ่ม Share

    เลือกสลับหน้าจอได้ เลือกว่าให้จะนำภาพใครขึ้น Stage หรือ จะดูในส่วนของ Chat ก็ได้

    หยุดการบันทึก

    คลิกที่ 3 จุด ด้านล่างขวา แล้ว กด Stop recording

    หยุด Meeting

    คลิกที่รูป โทรศัพท์สีแดงตรงกลาง

    ไฟล์บันทึก Meeting อยู่ใน Google Drive ที่ My Drive > Meet Recordings

    หมายเหตุ: จะได้ไฟล์ ซึ่งสามารถ Download ออกมาเป็น .mp4 ได้ (รอสักครู่หลังสิ้นสุดการ Meeting) และ จะสามารถ Play ได้ เมื่อ Google Drive เตรียมไฟล์เสร็จ เช่น เอาไปแสดงในเว็บไซต์ ตามวิธีการ เค้าเอาไฟล์ MP4 บน Google Drive ไปแสดงใน Video Player บนเว็บได้อย่างไร

    วิธีการใช้งาน Google Meet
    https://support.google.com/meet/?hl=th#topic=7306097

  • แชร์ประสบการณ์การสอบวิทยานิพนธ์ออนไลน์ผ่านระบบวิดีโอคอลด้วยงบประมาณศูนย์บาท (Zoom)

    สืบเนื่องจากที่ได้ไปอบรมการใช้งานโปรแกรม Zoom ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. ที่ผ่านมาประกอบกับนโยบายของคณะที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเดินทางของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมาสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา จึงได้ทดลองใช้จัดสอบวิทยานิพนธ์ออนไลน์ผ่านระบบวิดีโอคอลด้วยงบประมาณศูนย์บาทโดยใช้อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว ดังนี้

    เครื่องมือ

    1. เครื่องคอมพิวเตอร์ Lenovo all in one c340 ที่ติดตั้งในห้องเรียนอยู่แล้วกับเครื่องโปรเจกตอร์
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ lenovo all in one c240
    1. กล้อง WebCam Microsoft LifeCam Studio พร้อมขาตั้งกล้อง
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ microsoft webcam
    1. ไมโครโฟนไร้สาย Boya BY-WM8 Pro K2
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Boya BY-WM8 Pro K2

    ผลการใช้งานระบบ

    • โปรแกรม Zoom สามารถใช้งานได้ดี ระบบมีความเสถียรในเรื่องของสัญญาณภาพและเสียง ให้ความรู้สึกเหมือนพูดคุยโต้ตอบแบบ RealTime ไม่ดีเลย์แม้ใช้งานบนเครือข่าย WIFI 2.4 GHz
    • ภาพและเสียงคมชัดทั้งสองฝ่าย สามารถแชร์ภาพจากหน้าจอได้
    • โปรแกรมใช้งานง่าย โดยที่ผู้ทรงฯ สามารถใช้งานได้เองโดยไม่ต้องมีผู้ช่วย

    ข้อจำกัดและอุปสรรคที่พบ

    • โปรแกรมใช้งานได้แค่ 40 นาที สำหรับบัญชีแบบ Basic
    • คุณภาพจากกล้อง WebCam ดีระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถซูมภาพได้
    • ไมโครโฟนไร้สายที่การใช้งานจริงยังไม่คล่องตัวเท่าไรหากใช้สนทนาแบบกลุ่ม ควรเปลี่ยนเป็นไมโครโฟนวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่สามารถดูดเสียงได้รอบทิศทาง
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไมโครโฟนวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

    ภาพบรรยายกาศในวันสอบ…

  • เค้าเอาไฟล์ MP4 บน Google Drive ไปแสดงใน Video Player บนเว็บได้อย่างไร

    สมมุติว่า เรามีไฟล์วิดีโอเป็น .mp4 อยู่ไฟล์หนึ่ง อยู่ใน Google Drive ต้องการเผยแพร่ เฉพาะบน Website ของเราเท่านั้น จะต้องทำอย่างไร?

    Javascript video player

    สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ตัว Video Player บนเว็บ ลอง Google ด้วยคำว่า “javascript video player” ดู มีหลายตัวให้เลือกใช้ แต่ในที่นี้ ขอทดลองกับ video.js (เว็บไซต์ https://videojs.com )

    คลิกที่ USE NOW ( https://videojs.com/getting-started/ )

    จากนั้น ลองสร้างไฟล์ test.html โดยเอา Code จาก Video.js CDN ไปแปะเลย

    <head>
      <link href="https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video-js.css" rel="stylesheet">
    
      <!-- If you'd like to support IE8 (for Video.js versions prior to v7) -->
      <script src="https://vjs.zencdn.net/ie8/1.1.2/videojs-ie8.min.js"></script>
    </head>
    
    <body>
      <video id='my-video' class='video-js' controls preload='auto' width='640' height='264'
      poster='MY_VIDEO_POSTER.jpg' data-setup='{}'>
        <source src='MY_VIDEO.mp4' type='video/mp4'> <!-- แก้ตรงนี้ -->
        <source src='MY_VIDEO.webm' type='video/webm'>
        <p class='vjs-no-js'>
          To view this video please enable JavaScript, and consider upgrading to a web browser that
          <a href='https://videojs.com/html5-video-support/' target='_blank'>supports HTML5 video</a>
        </p>
      </video>
    
      <script src='https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video.js'></script>
    </body>

    จาก Code นี้ JavaScript จาะเรียกไฟล์ .MP4 จากไฟล์ชื่อ MY_VIDEO.mp4 ซึ่ง ถ้าเอา test.html นี้ไปวางบน Web Server ก็หมายความว่า เราต้องมีไฟล์ MY_VIDEO.mp4 ด้วย

    ไฟล์ MP4 บน Google Drive

    ตัวอย่างเช่น เราอาจอัดคลิปวิดีโอการสอน อยากจะเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ผ่าน JavaScript Video Player อย่าง video.js ข้างต้น ก็สามารถทำได้ดังนี้

    1. แชร์ไฟล์ดังกล่าว ให้เป็น Anyone with the link can View
    2. แล้ว copy link นั้นมา หน้าตาประมาณนี้

      https://drive.google.com/open?id=FILE_ID
    3. จะเห็นคำว่า id= FILE_ID ตรงนี้ให้ Copy เก็บไว้

    แต่การที่เราจะเอา Link นี้ไปใช้ใน Video Player ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะมันเป็นการเรียกใช้ Google Drive ไม่ใช่การเรียก File Content

    GoogleAPI

    วิธีการที่จะ Get Content ของไฟล์ที่ต้องการออกมากจาก Google Drive สามารถเรียกผ่าน Google API ซึ่ง หากจะทำเองก็สามารถทำได้ มีพวก node.js ให้ใช้งานอยู่ แต่พบว่า สามารถเรียกใช้ www.googleapis.com ได้ โดยอ้างอิงจาก https://googleapis.github.io/

    ในที่นี้ จะเรียกผ่าน Google Drive API ใน Version 3 รูปแบบ URL จะเป็นดังนี้

    https://www.googleapis.com/drive/v3/files/FILE_ID?alt=media&key=API_KEY

    ในการใช้งาน ต้องการ 2 ส่วน

    • FILE_ID ได้จากการแชร์ไฟล์ข้างต้น
    • API_KEY ได้มาจากการสร้าง Credential บน Google Cloud Platform วิธีการทำตามนี้ https://cloud.google.com/docs/authentication/api-keys

    การใช้งาน Google API นั้น มีส่วนทั้งที่ต้องจ่ายเงิน และส่วนที่ใช้ฟรี แต่ถูกจำกัด Quota ในกรณี Google Drive API สามารถใช้ได้ฟรี แต่จะมี Quota อยู่ โดยดูได้จาก https://developers.google.com/drive/api/v3/about-sdk

    ประกอบร่าง

    เมื่อได้ FILE_ID และ API_KEY มาแล้ว ก็เอาไปใส่ใน Code ข้างต้น

    <head>
      <link href="https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video-js.css" rel="stylesheet">
    
      <!-- If you'd like to support IE8 (for Video.js versions prior to v7) -->
      <script src="https://vjs.zencdn.net/ie8/1.1.2/videojs-ie8.min.js"></script>
    </head>
    
    <body>
      <video id='my-video' class='video-js' controls preload='auto' width='640' height='264'
      poster='MY_VIDEO_POSTER.jpg' data-setup='{}'>
        <source src='https://www.googleapis.com/drive/v3/files/FILE_ID?alt=media&key=API_KEY' type='video/mp4'> <!-- เปลี่ยนตรงนี้ -->
        <source src='MY_VIDEO.webm' type='video/webm'>
        <p class='vjs-no-js'>
          To view this video please enable JavaScript, and consider upgrading to a web browser that
          <a href='https://videojs.com/html5-video-support/' target='_blank'>supports HTML5 video</a>
        </p>
      </video>
    
      <script src='https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video.js'></script>
    </body>

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

    Disclaimer: จุดประสงค์ของบทความนี้ เพื่อแนะนำวิธีการทำเท่านั้น โปรดนำความรู้นี้ไปใช้งานอย่างสร้างสรรค์นะครับ ผู้เขียนบทความไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับผู้นำไปใช้ทั้งสิ้น

  • Kafka #01 Basic Installtion

    Apache Kafka เป็น distributed streaming platform [1] กล่าวคือ สามารถ Publish และ Subscribe ข้อมูลแบบ Streaming ได้ คล้ายๆกับ Message Queue หรือ Enterprise Messaging System ระบบนี้ใช้ได้ทั้งเป็น Real-time Streaming Data Pipeline และ สร้าง Streaming Application ได้ Apache Kafka ออกแบบมาให้สามารถทำงานเป็นแบบ Cluster โดยเก็บข้อมูลเป็น Stream of Record ซึ่งจัดหมวดหมู่ในรูปของ Topics ข้อมูลแต่ละ Record ประกอบด้วบ Key, Value และ timestamp

    เอาเป็นว่า ระบบนี้เอาไว้สำหรับรองรับการส่งข้อมูลแนวๆ Streaming มาเพื่อทำการวิเคราะห์แบบ Real-Time แทนที่จะต้องบริหารเองก็แล้วกัน แถมด้วยความสามารถในการ Subscribe ข้อมูล สามารถย้อนไปดูข้อมูลก่อนหน้าได้ (ตามขอบเขตเวลาที่กำหนด) มาติดตั้งกัน

    บทความนี้ ทดสอบบน Ubuntu 16.04

    1. ไป Download และ ติดตั้ง
      จาก https://www.apache.org/dyn/closer.cgi?path=/kafka/0.10.2.0/kafka_2.11-0.10.2.0.tgz
      ด้วยคำสั่ง

      wget http://www-eu.apache.org/dist/kafka/0.10.2.0/kafka_2.11-0.10.2.0.tgz
      tar -zxvf kafka_2.11-0.10.2.0.tgz
      cd kafka_2.11-0.10.2.0
    2. Kafka ทำงานบน Zookeeper ดังนั้นให้เริ่มทำงานด้วยคำสั่ง
      bin/zookeeper-server-start.sh config/zookeeper.properties &

      แล้วจึง สั่ง Start Kafka

      bin/kafka-server-start.sh config/server.properties &
    3. ต่อไป Producer กับ Consumer จะติดต่อกันผ่าน Topic จึงต้องสร้าง topic ด้วยคำสั่งต่อไปนี้
      bin/kafka-topics.sh --create --zookeeper localhost:2181 --replication-factor 1 --partitions 1 --topic test

      ซึ่งในที่นี้ จะได้ Topic ชื่อ test ทำงานบน Zookeeper บน Localhost ที่ Port 2181
      ลองใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อดู Topic ทั้งหมด

      bin/kafka-topics.sh --list --zookeeper localhost:2181
    4. ทดลองส่งข้อมูลเข้าไปให้ Kafka ซึ่งจะทำงานที่ Localhost ที่ Port 9092
      bin/kafka-console-producer.sh --broker-list localhost:9092 --topic test

      แล้วลองพิมพ์ข้อความอะไรลงไปดู เช่น

      Hello World
      This is a book
      Blah Blah
    5. ลองเปิดอีก Terminal ขึ้นมา แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้
      bin/kafka-console-consumer.sh --bootstrap-server localhost:9092 --topic test --from-beginning

      ก็จะเห็นได้ว่า สามารถเรียกดูสิ่งที่ส่งเข้าไปใน Topic “test” ตั้งแต่เริ่มต้นได้

    ตรงนี้ยังไม่แปลกอะไร และไม่น่าตื่นเต้นอะไร บทความต่อไปจะกล่าวถึงการสร้างเป็น Cluster แล้วก็ทำงานกับ หลายๆ Producer และ หลายๆ Consumer พร้อมๆกัน

     

    Reference

    1. https://kafka.apache.org/intro
  • แนะนำ ffDiaporama โปรแกรมนำภาพถ่ายมาทำภาพยนตร์ (Movie creator)

    แนะนำ ffDiaporama โปรแกรมนำภาพถ่ายมาทำภาพยนตร์ (Movie creator)

    ffdiaporama-logo

    Movie creator from photos and video clips with ffDiaporama

    ตัวอย่าง http://ftp.psu.ac.th/pub/cc/2557cop1/ccadmintour2014.mp4 (392M)

    โปรแกรม ffDiaporama เป็นโปรแกรมทำภาพยนตร์จากภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ มีทั้งเวอร์ชั่นที่ใช้งานบน linux และ Windows มีเว็บไซต์อยู่ที่นี่ URL: http://ffdiaporama.tuxfamily.org/

    โดยทั่วไปวิธีติดตั้งโปรแกรมเพิ่มใน linux mint คือ เลือก Menu > Software Manager
    แต่โปรแกรม ffDiaporama นั้นมันเป็นเวอร์ชั่น 1.5 ซึ่งยังขาดความสามารถในการแปลง (render) จัดได้ว่ามันไม่ทันสมัย (outdated!) จึงจำเป็นต้องติดตั้งด้วยวิธี command line จากเว็บไซต์ของผู้พัฒนาโปรแกรมโดยตรง (Launchpad on the ffDiaporama-stable PPA)

    ทำคำสั่งนี้เพื่อเพิ่มชื่อ server ต้นทางที่เก็บโปรแกรม
    sudo add-apt-repository ppa:ffdiaporamateam/stable
    จะได้ผลลัพธ์แบบนี้
    mint@mint-PSU ~ $ sudo add-apt-repository ppa:ffdiaporamateam/stable
    You are about to add the following PPA to your system:
    This PPA supplies stable packages of ffDiaporama 2.1

    For more information on ffDiaporama see : http://ffdiaporama.tuxfamily.org
    More info: https://launchpad.net/~ffdiaporamateam/+archive/stable
    Press [ENTER] to continue or ctrl-c to cancel adding it
    เมื่อกด Enter แล้วจะได้แบบนี้
    Executing: gpg –ignore-time-conflict –no-options –no-default-keyring –homedir /tmp/tmp.JiNHX5a3T2 –no-auto-check-trustdb –trust-model always –keyring /etc/apt/trusted.gpg –primary-keyring /etc/apt/trusted.gpg –keyserver hkp://keyserver.ubuntu.com:80 –recv-keys 77296259
    gpg: requesting key 77296259 from hkp server keyserver.ubuntu.com
    gpg: key 77296259: public key “Launchpad PPA for ffDiaporama Team” imported
    gpg: Total number processed: 1
    gpg:               imported: 1  (RSA: 1)

    สั่งอัปเดตรายการซอฟต์แวร์
    sudo apt-get update
    ติดตั้งโปรแกรม
    sudo apt-get install ffdiaporama
    จะได้ผลลัพธ์แบบนี้
    mint@mint-PSU ~ $ sudo apt-get install ffdiaporama
    Reading package lists… Done
    Building dependency tree
    Reading state information… Done
    The following packages were automatically installed and are no longer required:
    ffdiaporama-data libqimageblitz4
    Use ‘apt-get autoremove’ to remove them.
    The following extra packages will be installed:
    libavcodec-extra libqt5clucene5 libqt5help5 libqt5svg5
    qt5-image-formats-plugins
    The following NEW packages will be installed:
    ffdiaporama libavcodec-extra libqt5clucene5 libqt5help5 libqt5svg5
    qt5-image-formats-plugins
    0 upgraded, 6 newly installed, 0 to remove and 33 not upgraded.
    Need to get 20.4 MB of archives.
    After this operation, 29.5 MB of additional disk space will be used.
    Do you want to continue? [Y/n]
    ให้กด Enter เพื่อติดตั้ง (ขนาด19.7MB)

    เพิ่มลูกเล่น
    sudo apt-get install ffdiaporama-texturemate
    sudo apt-get install ffdiaporama-openclipart

    References:
    http://ffdiaporama.tuxfamily.org/?page_id=10472

  • การติดตั้งเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด

    การติดตั้งเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด

    • เตรียมอุปกรณ์ Hardware
    • เตรียมชุดข้อมูล Software+config
    • Config ระบบอินเทอร์เน็ต

    เตรียมอุปกรณ์ Hardware มีอะไรบ้าง ? (สำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิด 4 ช่องสัญญาณครับ)

    1. สาย RG สีขาวยี่ห้อ Link หรือ Commscope ยาว 100 เมตร

    2. หัวแจ๊คสัญญาณ RG 6 (BNC Type) จำนวน 4 ตัว

    3. รางเก็บสายไฟฟ้า PVC สีขาว 5*5 cm ยาว 4 m.

    4.สายไฟฟ้า VCT 2*0.5  SQ.mm หรือ VCT 2*1.5 SQ.mm ความยาว 20 เมตร

    5.ปลั๊กตัวเมีย 2 ตัว

    6. กล่องกันน้ำขนาด 6*6*8 จำนวน 2 ใบ

    7. เกลียวปล่อยขนาด #7*1 หัว JP  30 ตัว

    8 พุกผีเสื้อจำนวน 30 ตัว

    9.เครื่องบันทึกภาพ 4 ช่อง INNEKT ZLD104A H.264 Full D1 อินเตอร์เฟช GUI OSD, คอนโทรลเลอร์ USB Mouse 4CH

    10.กล้องอินฟาเรด ขนาด 1/3″CMOS ความละเอียด 600 TVL

    11.Harddisk western digital ขนาด 500 GB

    รวมราคา 14,097.25 บาท นี่คือราคาของอุปกรณ์ Hardware ที่เราซื้อมาติดตั้ง รวม Vat 7% แล้วนะครับ

    สำหรับการเดินสายอุปกรณ์ทั้งหมดในส่วนของ Hardware ต้องขอขอบพระคุณพี่ประเสริฐ นายช่างใหญ่จากจังหวัดภูเก็ตเดินทางมาติดตั้งให้ครับ (งานนี้จะเป็นงานเดินสายสัญญาณบนฝ้าเพดานครับ)

     

     

    การเชื่อมต่ออุปกรณ์กล้องวงจรปิด

     

    รูปที่ 1 แสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์กล้องวงจรปิด

     

    เตรียมอุปกรณ์ Software+Config มีอะไรบ้าง ? (สำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิด 4 ช่องสัญญาณครับ)

     

    1. หน้าจอสำหรับ Monitor เครื่อง DVR  สำหรับการเข้าใช้งานครั้งแรก

     

    •       ใส่ User Name : admin , Password : 123456   (การทำงานของระบบคลิกซ้ายคือการเข้าใช้งาน คลิกขวาคือการย้อนกลับไปยังเมนูก่อนหน้า)

    2. วิธีการตั้งค่าวันที่และเวลาเครื่อง

    • คลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration > System ตั้งค่าวันที่และเวลาเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม Save กด Apply และกด OK

    3. วิธีการตั้งค่าการบันทึก

    • คลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration >Record
    • Channel คือ การเลือกกล้อง
    • Resolution คือขนาดของภาพ แนะนำที่ D1
    • Frame Rate คือ ความเร็วในการบันทึก Real-time อยู่ที่ 25 FPS
    • สามารถ config All Channel ได้จากฟังก์ชัน Copy ครับ

    4. วิธีการเลือกรูปแบบการบันทึก สามารถเลือกได้ 3 รูปแบบ คือ บันทึกตลอดเวลา, บันทึกเฉพาะเวลาที่ต้องการ และบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์

    • การตั้งค่าการบันทึกตลอดเวลา คลิกขวาเลือก > Record > Manual
    • การตั้งค่าบันทึกเฉพาะเวลาที่ต้องการ คลิกขวาเลือก > Record > Schedule  เมื่อเลือกการตั้งค่าแบบนี้จำเป็นต้องตั้งค่าเวลาที่ต้องการบันทึก สามารถทำได้โดย คลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration >Record > Record Plan  โดยแถบสีเขียว คือ การบันทึกแบบ Manual, แถบสีเหลือง คือ การบันทึกแบบ Motion และ แถบสีแดงคือการบันทึกแบบ Alarm
    • กดปุ่ม Set เพื่อทำการตั้งค่าเวลาที่ต้องการบันทึก
    • การตั้งค่าบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์  จำเป็นต้องตั้งค่า Record ให้เป็น Schedule ก่อนโดยเข้าไปที่เมนู คลิกขวา > Record > Schedule หลังจากนั้นเข้าไปที่ฟังก์ชัน Alarm เพื่อตั้งค่าการบันทึก คลิกขวา Main Menu > Configuration >Alarm > Detect  เลือก Channel ที่ต้องการบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์ เพื่อกำหนดพื้นที่ในการตรวจจับและความไวในการตรวจจับวัตถุ (ที่สถาบัน ก็เลือกการตั้งค่าแบบนี้ครับเพราะไม่เปลือง Harddisk)
    • หลังจากกำหนดพื้นที่ในการตรวจจับวัตถุและความไวในการตรวจจับวัตถุได้ ขั้นตอนต่อมาให้เข้าไปที่เมนู Process เพื่อเลือกกล้องที่ต้องการบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์  เข้าไปที่เมนู Process > Linkage Set > Record Channel

    5. วิธีการใช้งานโปรแกรม iNNEKT ผ่านคอมพิวเตอร์

    • ก่อนที่จะใช้งานโปรแกรม iNNEKT ผ่านคอมพิวเตอร์ได้นั้นต้องตั้งค่าระบบก่อนสามารถทำได้โดยคลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration > Network
    • IP Address : ใส่ IP ที่อยู่ใน group เดียวกับคอมพิวเตอร์
    • Gateway : ให้ใส่เป็นค่า IP ของ Router
    • หลังจากตั้งค่า IP และ gateway แล้วต้องตั้งค่า Port ที่เมนู Advance เลือก Multicast
    • TCP Port : 8000 , HTTP Port : 80
    • ลงโปรแกรม แผ่น CD Software ที่แถมมาให้ตอนซื้อเครื่องบันทึกภาพ (เครื่อง DVR)  ผมลงโปรแกรมบน Window 7 Professional 32 bit ครับ  เมื่อลง Software เสร็จเรียบร้อย ถ้าหากดับเบิ้ลคลิกโปรแกรมจะไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ต้องคลิกขวา –>Run as administrator ครับ

    เมื่อเปิดโปรแกรมจะขึ้นแบบนี้

     

     

    login

     

    รูปที่ 2 แสดงการเข้าสู่ระบบผ่านคอมพิวเตอร์

    • ให้กด OK เพื่อเข้าสู่ระบบได้เลยครับ
    • จากนั้นไปเลือกเมนู Setting > Device Config เพื่อ Add Device ครับ
    • เลือก Search Device (อุปกรณ์ต้องอยู่ในวงแลนเดียวกัน)
    • กดที่ Device แล้วกด Add
    • เข้ามาแก้ไขชื่ออุปกรณ์
    • ใส IP Address หรือ Host name
    • ใส่ User name : admin , Password : 123456
    • กดปุ่ม Get Device Channel Count
    • กดปุ่ม Select Organization First เพื่อเลือกที่อยู่
    • ใส่ Device Port  : 8000
    • กดปุ่ม Update

    6. ขั้นตอนการดูภาพผ่าน Web Browser

    • ทดลองใน IE 10 นะครับ ใส่ IP Address ของเครื่อง DVR ครับ : 192.168.xx.xx
    • ใส่ Username : admin , Password : 123456
    • หากเจอปัญหา ActiveX  ให้เลือก Tool > Internet Option
    • เลือก Security > Custom level
    • ในส่วนที่เป็น ActiveX เลือกเป็น Enable ให้หมด ถ้าหัวข้อไหนเลือก Enable แล้วมีแถบสีแดงให้เลือกเป็น Prompt แทน

    กล้อง

    รูปที่ 3 แสดงการการดูผ่านเวบ

     

    7. การดูผ่านโทรศัพท์มือถือ

    • สามารถดาวโหลด Application เพื่อดูผ่านโทรศัพท์มือถือได้ มีเวอร์ชั่น Iphone, Android
    • วิธีการลงโปรแกรม IZee Pro เข้าไปที่ Store แล้ว Search โปรแกรม IZee Pro แล้วทำการติดตั้ง
    • add device เข้าไปที่เมนู Device List ใส่ค่า Name , Address , TCP port , User ID,password
    • กดปุ่ม Save จะได้ Device มาอยู่บน List

    Config ระบบอินเทอร์เน็ต

    • ต้องขอขอบคุณ พี่โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมที่ช่วย Fig IP Address ให้กับอุปกรณ์ DVR ทำให้สามารถเข้าดูผ่านอินเทอร์เน็ตได้
    • หากต้องการดูจากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้อง VPN เข้ามาใช้เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยก่อน หรือไม่ก็ขอโดเมนใหม่จากทางศูนย์คอมพิวเตอร์

    Chio..