Category: Spam

  • Spam-20150420-01

    หากท่านได้รับ Email ในลักษณะดังภาพต่อไปนี้ … นี่เป็นจดหมายหลอกลวง !!!

    สิ่งที่ต้องทำ !

    • ห้ามคลิกลิงค์ใดๆ: เพราะมันจะนำไปสู่เว็บไซต์หลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว รหัสผ่าน และข้อมูลทางการเงินได้ หรือ อาจจะถูกฝังโปรแกรมดักจับข้อมูลในเครื่องของท่านได้ โดยไม่มีการเตือน
    • ห้าม Reply, Forward : เพราะท่านกำลังทำให้เกิดการแพร่กระจาย และ ตกเป็นเป้าหมายต่อไปทันที
    • ให้ลบทิ้งทันที

    หากคลิก หรือ พลาดบอกรหัสผ่านไปแล้ว

    • ให้ตั้งรหัสผ่านใหม่ทันที !!! และต้องแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
    • หาก Reply ไปตอบโต้กับผู้ส่ง ท่านต้องระวังตัวมากขึ้น เพราะจะมีจดหมายหลอกลวงอื่นๆจำนวนมากที่จะวิ่งเข้ามาหาท่าน

    ทางมหาวิทยาลัย จะไม่ส่งจดหมายแจ้งเตือน/สอบถามรหัสผ่านจากท่านเด็ดขาด
    ดูลักษณะ จดหมายหลอกลวงได้ที่นี่ http://sysadmin.psu.ac.th/tag/spamtoday/

    11016090_825810207484219_4181677015922385492_n 11133880_979914218687413_6070345264068726966_o 11168077_10206042289793579_6477794721261486887_n

     

    Screenshot_2015-05-19-10-04-57

  • วิธีจัดการ Facebook Spam

    เมื่อ Facebook เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็ย่อมจะมี Spam หรือพวกชอบโฆษณาขายของโน่นนี่นั่นบ้าๆบอๆเข้ามารังคาญ โดยมักจะมากัน 3 วิธี หลักๆ

    1. โพสต์บน Timeline ของเราโดยตรง วิธีนี้ทำให้ Friends ของเรา และคนที่เปิดหน้า Profile ของเรา ต้องทนเห็น Spam พวกนี้ โดยเราไม่ได้เป็นคนโพสต์

    2. พวก Spam จะโพสต์ภาพ บน Timeline ตัวเอง แต่ Tag ว่าเราอยู่ในภาพนั้นๆด้วย เช่น

    3. พวก Spam จะโพสต์ภาพ หรือ ข้อความ ที่ชวนให้คลิกมากๆ แต่พอเราคลิกเข้าไปแล้ว มันจะไปเปิด App ของ Facebook ซึ่งจะขอสิทธิ์ให้เข้าไปดูรายชื่อ Friends ของเรา และ “Post on behalf” หรือ บอกว่าจะขอโพสต์ข้อความบน Timeline ของเรา เหมือนดั่งเราเป็นคนโพสต์เอง วิธีนี้ เลวร้ายมาก เพราะ ถ้าเพื่อนๆของเรา เกิดไปคลิกโพสต์เหล่านั้น ก็จะเข้าวงจรเดียวกัน เกิดการแพร่ระบาดของ Spam บน Facebook ขึ้น เช่น ภาพนี้ เป็น Spam App ชื่อ sv9.iknotz.com เป็นต้น

     

    มาดูวิธีการแก้ไขกัน (ตามภาพ)

    1. ไปที่ (1) คลิกที่ Setting

    2. ไปที่ (2) Timeline and Tagging

    3. ไปที่ (3) Who can add things to my timeline? > Who can post on your timeline? ให้คลิก Edit แล้วควรจะเลือก Friends เพื่อให้ เฉพาะคนที่เรายอมรับเป็นเพื่อนเท่านั้น สามารถโพสต์บน Timeline ของเราได้

    4. ไปที่ (4) Review posts friends tag you in before they appear on your timeline? ให้คลิก Edit แล้วเลือกเป็น Enable เพื่อให้ แม้ว่า คนที่เรารับเป็น Friends ไปแล้ว แต่เราไม่ได้ระวังตัวหรือ คนที่ชอบรับ Friends ไปเรื่อย เห็นสวยๆ ทรงโตๆก็รับไปเรื่อย พวกนี้แหล่ะ มันมักจะเป็น Spam ถ้าพวกนี้เกิดโพสต์ภาพขายของแล้ว Tag เราขึ้นมา ก็ต้องให้เรา Review ก่อน จึงจะแสดงบน Timeline เราได้

    5. สำหรับ พวก Spam App ที่เราเผลอใจ ไปกดเพราะอาจจะ …. หน้ามืด อยากดูจัด เลยคลิกไปเรื่อยๆ ก็ต้องไปลบ Apps ตามภาพ

      โดยไปที่ (5) Apps แล้ว คลิกที่ (6) Show All Apps เพื่อแสดง Apps ทั้งหมด จากนั้นหาชื่อ Spam Apps เช่นตัวอย่าง sv9.iknotz.com หรืออะไรที่ใกล้เคียง หรืออะไรที่เราไม่ควรจะมีไว้ จากนั้นคลิกที่ (7) เพื่อลบ ก็จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ

      ให้คลิกดัง (8) เพื่อให้ ลบโพสต์ทั้งหมดของ Spam Apps เหล้านั้นที่ปรากฏบน Timeline ของเรา

     

    ขอให้โชคดี

  • แกะรอย Facebook Spam

    ตามรอย Facebook Spam with Virus

    คำเตือน : ขั้นตอนต่อไปนี้ ทำเพื่อให้เห็นว่า Facebook แพร่ Virus มาได้อย่างไรเท่านั้น

    อย่านำไปลองทำที่บ้าน !!! โดยเฉพาะ Windows Users

    1. มี Message มา เป็น Link แปลกๆ

    01-facebook-message

    2. ระแวงไว้ก่อน ลองใช้ Linux Mint LiveCD ตรวจสอบ

    โดยเปิด Link ดังกล่าวด้วย  FireFox (พิมพ์ลงไป ไม่ได้เปิดโดยตรงจาก Facebook)
    พบว่า มันให้ Download ไฟล์ Zip ชื่อ CameraImage-35160.jpg.zip
    ดังภาพ

    02-linuxmintcd

    แต่เดี๋ยวก่อน !!! อย่าใช้คำสั่ง Open เด็ดขาด
    ให้เปลี่ยนเป็น Save File

    หากใครเจอเหตุการณ์เช่นนั้น แล้วเผลอไปเปิด
    คุณก็ติด Virus เข้าแล้ว !!!

    3. จะเห็นได้ว่า พวกนี้จะหลอกให้ผู้ใช้ โดยเฉพาะ Windows ที่มักจะ “ซ่อน” นามสกุลของไฟล์

    (Hide known extensions) ทำให้ไม่เห็นว่าไฟล์ที่ download มานั้นเป็น .Zip ซึ่งจะสามารถสั่งให้
    Execute โปรแกรมหรือ สั่งให้ Virus ทำงานได้ทันที !

    ผู้ใช้ที่ไม่รู้หรือไม่สังเกตุ ก็จะเห็นเป็นแค่
    CameraImage-35160.jpg
    ซึ่งน่าจะเป็นภาพ แทนที่จะเป็น
    CameraImage-35160.jpg.zip
    ซึ่งเป็นไฟล์อันตราย

    4. คราวนี้ มาดูว่า เจ้าไฟล์นี้ มันทำอะไร

    โดยทดลองเปิดดู (บน Linux Mint ไวรัสไม่สามารถทำอะไรได้)
    พบว่าใน Zip ไฟล์นี้ มี ไฟล์ชื่อ
    summertime-fun.jpg.exe
    อยู่ ซึ่งเป็น Virus นั่นเอง (ดังภาพ)
    03-exe-inside

    5. ต่อไป เป็นการส่งไฟล์ไปตรวจสอบ ว่าเป็น Virus ชนิดใด

    ในที่นี้เลือกใช้

    https://www.virustotal.com/en/

    เพราะสามารถส่งไฟล์ไปตรวจสอบได้ทาง Web Browser ดังภาพ
    04-sendfile-to-scan

    โดยเลือกไฟล์ summertime-fun.jpg.exe ข้างต้นไปตรวจสอบ

    ผลที่ได้คือ

    05-scan-result

    สรุป เป็น Virus/Malware ชนิดหนึ่ง

    รายละเอียดยังไม่แน่ชัด แต่ไม่ไปยุ่งกับมันเป็นดีที่สุด

    6. อ่านเพิ่มเติมเกี่ยว Virus/Spam ที่มากับ Facebook ได้ที่

    http://www.hacker9.com/beware-of-spambook-facebook-spam-and-virus.html

     

    สำหรับใครที่เจอเหตุการณ์นี้ แล้ว

    1. ได้รับ Message แล้วคลิก Link … ถ้า Web Browser ของท่านฉลาดสักหน่อย ก็จะถามว่า จะ Save หรือ Open
    (กรณีใช้ Microsoft Windows เท่านั้น)

    ถ้าเลือก Save แล้วไม่ได้ไปเปิดไฟล์ –> ก็ยังปลอดภัย แค่ไปลบไฟล์ทิ้ง จบ
    ถ้าเลือก Open แล้ว ไม่ได้ไป Double Click ไฟล์ที่ซ่อนอยู่ –> ก็ยังปลอดภัย ลบไฟล์ทิ้ง จบ
    แต่ถ้า เลือก Open แล้ว double click –> ท่านน่าจะติด Virus ไปแล้วครับ ถ้าในเครื่องมี Antivirus แต่ไม่ Update
    หรือตรวจสอบไม่เจอ ก็เป็นอันว่า มันฝังในเครื่องแล้ว

    หากติดแล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องจะช้าลง เพราะ Virus/Malware/Trojan พวกนี้จะพยายามติดต่อ Internet เพื่อทำการบางอย่างเช่น แพร่ข้อความ หรือ ที่เคยเจอมา “จะติดต่อกลับไปหาเจ้าของ” ซึ่ง Trojan พวกนี้ จะเปิด Backdoor เอาไว้ ทำให้เครื่องของท่าน
    กลายเป็น Botnet หรือ หุ่นเชิด ผู้ร้ายจะสามารถนำไฟล์อื่นๆมาลงในเครื่องได้ ซึ่งความเสี่ยงได้แก่
    1.1 มีการวาง Key-logger ซึ่งจะดักจับการ กด Keyboard ไว้แล้วส่งไปให้ผู้ร้าย ดังนั้น ถ้าท่านมีการพิมพ์รหัสผ่านต่างๆ
    ก็มีโอกาสที่ผู้ร้าย จะสามารถเข้าถึงบัญชีต่างๆของท่าน และเสี่ยงมากขึ้น หากเป็นข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น
    1.2 วางไฟล์ที่จะแพร่ Virus/Malware/Trojan พวกนี้ผ่าน Social Network/Email ไปยังคนที่เกี่ยวข้องกับท่าน
    สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง
    1.3 อื่นๆอีกมากมาย เช่น ก่อกวนทำความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย

    แนะนำให้หาผู้เชี่ยวชาญใกล้ตัว เพื่อล้าง virus ครับ

    2. ท่านที่ได้รับ Message แต่ไม่ได้เป็น Windows ก็ไม่ต้องเป็นห่วงครับ มันทำอะไรไม่ได้
    แต่ควรระวัง อย่าคลิกอะไรโดยไม่ดู เพราะ ครั้งนี้ ตัวอย่างนี้ เป็นการแพร่ไวรัสแบบ เป็น “ไฟล์”
    ซึ่ง ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ มันจะฝังมาใน Temporary Internet File ซึ่ง แค่คลิกลิงค์ ก็ติดแล้ว
    โดย เมื่อคลิกลิงค์ ก็จะไปเปิด Website ที่แพร่ Malware เครื่องของท่านก็จะอยู่ภายใต้การควบคุมทันที
    ซึ่ง ทุกระบบปฏิบัติการ มีโอกาสเสี่ยงได้เท่าๆกัน

     

     

    วิธีป้องกันตัวเอง คือ

    ระแวงในทุกสิ่งที่มาจาก Internet แล้วคุณจะปลอดภัยมากขึ้น
    ไม่รู้ ไม่แน่ใจ อย่าคลิก และ ให้สอบถามจากผู้รู้

  • จดหมายหลอกลวง 2013-08-07

    วันนี้ 7 สิงหาคม 2556 มีจดหมายหลอกลวงหลุดเข้ามาในระบบ
    โดยผ่าน ผู้ใช้ของมหาวิทยาลัย 3 คน ซึ่งโดนหลอกเอารหัสผ่านไปก่อนหน้านี้
    ซึ่ง ทั้งหมด ถูกระงับการใช้งาน PSU Email ชั่วคราวไปแล้ว

    โดยจะมีหน้าตาจดหมาย เป็นภาษาไทย แต่อ่านแล้วสับสน เพราะใช้ Google Translate แปล เพื่อหลอกคนไทยโดยเฉพาะ เนื้อหาประมาณนี้

    spam-20130807

     

    โดยหวังให้ผู้ที่โดนหลอก คลิก Link ใน Email ซึ่งจะได้พบหน้า Website นี้

    spam-20130807-2

     

    เมื่อมีผู้หลงเชื่อ กรอกข้อมูลลงไป โดยเฉพาะ Username และ Password ก็ทำให้ผู้ร้ายสามารถเข้ามาใช้ PSU Webmail ของผู้นั้น เป็นฐานในการโจมตีผู้อื่นต่อไป

    ผลกระทบที่ผู้ถูกหลอกจะได้รับ

    1. จะมีจดหมายจากตัวเอง ส่งไปหาคนทั่วโลก นับแสนคน สร้างความเดือนร้อนรำคาญ

    2. ผู้ร้าย จะทำการเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้น เมื่อผู้รับตอบกลับมา จะไม่กลับมายัง Email ของคนนั้นอีกเลย แต่จะส่งไปให้ผู้ร้ายแทน

    หากมีข้อมูลทางการเงิน ก็อาจทำให้สูญทรัพย์สินได้

    3. หากมีการส่ง Email ขยะออกไปมาก จะทำให้ ทั่วโลกปิดกั้นการรับข้อมูลจากมหาวิทยาลัย และทำให้เกิดความเสียหายกับทั้งมหาวิทยาลัยได้

     

    ทางมหาวิทยาลัย จะไม่มีจดหมายลักษณะดังกล่าวไปแจ้งผู้ใช้ ** เด็ดขาด **

    กรุณาอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับกลลวงต่างๆได้ที่

    http://share.psu.ac.th/blog/cyber007/25717

    หากท่านใดได้รับ กรุณาลบทิ้งทันที อย่าได้ลองคลิก Link เด็ดขาด เพราะอาจจะมีการฝัง Script บางอย่าง เพื่อฝังไว้ในเครื่องของท่านก็เป็นได้

     

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ

  • การตรวจสอบหา User ที่โดนหลอกเอา Password บน เว็บเมล์

    วันก่อนได้รับจดหมายแจ้งเตือนว่า กำลังจะทำการปรับปรุงฐานข้อมูล email และจะทำการลบบัญชีที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อขยายพื้นที่ให้กับผู้ใช้รายใหม่ เพื่อเป็นการยืนยันว่าท่านยังมีการใช้งานอยู่โปรดกรอกข้อมูลตาม url ด้านล่าง มิเช่นนั้นบัญชีของท่านจะถูกลบ เมื่อคลิกเข้าไปดูตาม url ก็พบว่ามีช่องให้กรอกข้อมูล ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน แหมเจอแบบนี้ถ้าเป็นคนในวงการก็จะรู้ว่าหลอกลวงแน่นอน แต่ก็ยังมีผู้ใช้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หลงเชื่อ (จากประสบการณ์จะพบว่าผู้ใช้ทีหลงเชื่อโดยส่วนใหญ่จะเก่งภาษาอังกฤษหรือเป็นชาวต่างชาติครับ)

    Screenshot-1

    เมื่อลองตรวจดูที่ header ทั้งหมดของจดหมายดังกล่าวเพื่อหาว่าต้นตอของจดหมายถูกส่งมาจากที่ใด ก็พบว่าถูกส่งมาจาก 199.83.103.141 ซึ่งเมือตรวจสอบต่อไปก็พบว่าเป็น ip address ที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

    Screenshot-2

     ก็เลยชักสงสัยแล้วว่าผู้ใช้รายใดกันที่ส่งอีเมล์ฉบับนี้มากจากอเมริกา ก็เลยตรวจสอบจาก log ของเว็บเมล์เพื่อหาดูกิจกรรมของหมายเลข ip ดังกล่าว ก็พบว่า มีผู้ใช้รายหนึ่ง (จากรูปด้าล่างคื sophita.t) ได้ทำการ login โดยใช้ ip ดังกล่าวครับ ดังรูป

    Screenshot-3

    ตรวจสอบใน log ต่อไปก็พบว่า ip นี้มีการส่งจดหมายดังกล่าวจริง

    Screenshot-4

    เมือตรวจสอบไปยังผู้ใช้เจ้าของบัญชีดังกล่าวว่าช่วงเวลาที่มีการส่งจดหมายหลอกลวงดังกล่าว ได้อยู่ที่อเมริกาหรือเปล่า ก็ได้คำตอบว่าอยุ่เมืองไทยตลอดจะมีไป ตปท. บ้างก็คงไปจีนแต่ไม่ใช่ช่วงดงกล่าว จึงเป็นที่แน่ชัดว่าถูกขโมยรหัสผ่านแน่นอน แถมยังใช้ในการส่ง SPAM เพื่อหวังหลอกเอารหัสผ่านผู้ใช้รายอื่นๆ อีก

    ขั้นแรกจึงได้ทำการปิดกั้นการเข้าถึงไปยังเว็บไซต์ที่หลอกลวงให้กรอกข้อมูลผู้ใช้ก่อน จากนั้นจึงได้ทำการแจ้งเตือนผู้ใช้อื่นๆ แล้วจึงทำการ reset รหัสผ่านผู้ใช้ที่โดนขโมยรหัสผ่าน

  • Warning :: spam-20130109

    พบจดหมายหลอกลวง มีเนื้อความประมาณนี้ (แค่นี้จริงๆ — ไม่จำเป็น อย่าได้ตาม link ไปนะครับ)

    http://www.hfh-schule.de/images/perfsedit.php

    เมื่อคลิกแล้ว (ไม่แนะนำให้ทุกท่านทำเช่นนี้ แต่ผมขอทดลองให้ดูเป็นตัวอย่าง) มันจะ detect ว่าเราอยู่ที่ใดในโลก ในตัวอย่างนี้ มันพบว่า IP Address ของผมอยู่ที่ Songkhla

    ก็จะไปยัง website ชื่อ http://workfromyourhome5.com/

    ซึ่งมันจะทำเป็น Phishing Site หน้าตาเหมือนของ CNBC เป๊ะ ดังนี้


    แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นวันที่ update ข่าวนี้เป็น

    Published: Monday, 30 April 2012 | 7:48 AM ET

    แล้วทุก link ในหน้านี้ จะชี้ไปที่

    http://workfromyourhome5.com/go.php

    ซึ่งจะส่งไปยังหน้า page ที่จะหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปครับ ดังนี้

    จึงเรียนมาเพื่อให้ระมัดระวังกันมากๆครับ