Category: Linux (OS, shell script, etc)

  • เรื่องเล่าจากการทำ ubuntu do-release-upgrade

    มี ubuntu server 18.04.5 ที่มี open source software ชื่อ fogproject เวอร์ชั่นที่ใช้คือ 1.5.8 ซึ่งใช้สำหรับการ cloning Windows ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ บางคนคงได้ใช้งานอยู่ และก็มี freeradius 3.0 ติดตั้งไว้ด้วย

    อยากจะขยับ ubuntu server จาก 18.04.5 ไปเป็น 20.04 ก็เลยทำคำสั่ง do-release-upgrade ในเครื่องทดสอบ ทำจนเสร็จได้ ubuntu 20.04 สมใจ ในระหว่างขั้นตอนการทำ upgrade นั้นก็จะมีหน้าคำถามว่า จะใช้ไฟล์คอนฟิกของโปรแกรมที่ตรวจพบว่าเรามีการไปแก้ไขไว้ จะเลือกที่ใช้อยู่ปัจจุบัน หรือ จะใช้ของใหม่ตาม package ก็เลือกว่า ใช้ของที่ใช้อยู่ ซึ่งก็ค่อยมาแก้ไขว่า ของใหม่มีอะไรใหม่บ้าง ให้ดูเทียบกับ ไฟล์.dpkg-list

    ตอนนี้เราได้ ubuntu 20.04 แล้ว ลองตรวจสอบดูสิว่า fogproject กับ freeradius ใช้งานได้มั้ย เอาหละสิ fogproject รันไม่ขึ้น ลอง reinstall ด้วยคำสั่ง ./installfog.sh -y ก็เจอฟ้องว่า “Stopping web service failed ค้นหาใน google ก็พบคำตอบว่า fogproject รุ่น 1.5.8 ไม่รองรับ ubuntu 20.04 ซึ่งหากใครเจอปัญหาตอนที่ fogproject 1.5.9 ยังไม่ออกมาให้ใช้ –มีหนาวแน่นอน– เพราะมันจะรันไม่ได้เลย ตรงนี้น่ากังวลมาก ๆ และควรระวังมาก ๆ แต่บังเอิญว่า ตอนเวลานี้ fogproject รุ่น 1.5.9 ออกมาเพื่อแก้ปัญหาใช้กับ ubuntu 20.04 ได้แล้ว พร้อมให้ download แล้วที่เว็บไซต์

    จะมีปัญหาเกี่ยวกับ php ด้วย คือ มันจะไม่ได้ php7.4 โดยทันที ซึ่งเป็นรุ่นที่มาพร้อมกับ ubuntu 20.04 หากต้องการลงเพิ่มด้วยคำสั่ง apt install php7.4 อันนี้อยากบอกว่า ซอฟต์แวร์ของคุณอาจจะต้องใช้ php เวอร์ชั่นเก่า ก็ควรระมัดระวังด้วย

    หลังจากนั้นก็ไปเอา fogproject 1.5.9 มาติดตั้ง จะทำการติดตั้ง php7.4 ให้อัตโนมัติหากยังไม่มี php7.4 ซึ่งก็ทำให้ใช้งาน fogproject ได้ดังเดิม

    ต่อมาตรวจสอบ freeradius ก็พบว่ามีการเปลี่ยนเวอร์ชั่นขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน และในขั้นตอน upgrade นั้น เราก็เลือกว่าจะใช้ไฟล์คอนฟิกที่เราแก้ไขไว้ ผลคือ ม้นไม่สร้าง symbolic link file ไปยังไดเรกทอรี /etc/freeradius/3.0/sites-enabled ซึ่งจะต้องมี 2 ไฟล์คือ defaults กับ inner-tunnel ซึ่งก็จะสร้างได้ด้วยคำสั่ง ln -s โดยเราต้องสร้างไดเรกทอรีนั้นขึ้นมาก่อน แล้ว cd เข้าไปในไดเรกทอรีนั้น แล้วใช้คำสั่ง ln -s ../sites-available/default default และ ln -s ../sites-available/inner-tunnel inner-tunnel

    ตอนนี้ก็ start service freeradius ได้แล้ว

    มาลองทดสอบ freeradius user ผ่าน webservice ก็เจอว่า SoapClient error เนื่องจากไม่มี php7.4-soap ก็ติดตั้งด้วยคำสั่ง apt install php7.4-soap ทดสอบอีกทีด้วย username กับ password ของมหาวิทยาลัย ใช้กับ freeradius ได้

    (มาเล่าต่อจากเมื่อวาน)

    พอจะใช้งาน PXE boot เอ้าเจอปัญหา Windows Client เปิดเครื่องขึ้นมาแล้ว Boot from network ติดต่อกับ server เราไม่ได้ เกิดอะไรขึ้น ก็ไปเช็คดู dhcp server ในเครื่องซิว่าทำงานมั้ย ด้วยคำสั่ง service isc-dhcp-server status ก็โอเค เช็คดู dnsmasq ที่ทำหน้าที่เป็น proxy dhcp ซิ ด้วยคำสั่ง service dnsmasq status มัน error ต้องออกแรงค้นหาอีกแล้ว ก็ไปเจอเรื่องแรก ตอนที่ทำ do-release-upgrade จะมีคำถามว่า ใน ubuntu 20.04 นี้ จะเปลี่ยนเวอร์ชั่นของ LXD ก็มีบรรทัด recommended ก็เลือกตามนั้น แล้วมันก็ส่งผลมามี symbolic link file ใน /etc/dnsmasq.d/lxd ซึ่งชี้ไปยังไฟล์ที่ไม่มีอยู่จริง แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างแล้ว ก็ลบไฟล์ lxd นี้ออก ก็ยังรันไม่ได้ ก็กลับไปดูว่าใน server เวอร์ชันก่อนหน้าที่จะทำ do-release-upgrade นั้น ข้างในไฟล์ lxd เขียนไว้ว่าอย่างไร ก็พบว่ามี 2 บรรทัดคือ

    bind-interfaces
    except-interface=lxdbr0

    ผมก็สร้างไฟล์ชื่อ etc.conf ที่มี 2 บรรทัดนั้น แล้วก็ start dnsmasq ด้วยคำสั่ง service dnsmasq start ก็ผ่าน ใช้งานได้

    เล่นเอาเหนี่อย เพราะว่า options ชื่อ bind-interfaces ทำให้ dnsmasq ทำงานได้ปรกติ มันมาพร้อม lxd ใน ubuntu 18.04 นั่นเอง แต่ใน ubuntu 20.04 เหมือนว่า lxd จะเปลียนอะไรบางอย่าง จริง ๆ lxd เราก็ไม่ได้ใช้นะ ลบออกได้

    (จบส่วนที่มาเพิ่มในวันที่ 2)

    จะเห็นได้ว่า การทำ ubuntu do-release-upgrade นั่น อาจเจออะไรแบบที่เล่ามานี้ครับ ขอให้ระมัดระวังกันด้วยนะ

    สรุปว่าได้ ubuntu 20.04.1, fogproject1.5.9, php7.4, freeradius 3.0.20

    เพจที่บอกว่า fogproject 1.5.8 ไม่รองรับ ubuntu 20.04
    https://forums.fogproject.org/topic/14440/stopping-web-service-failed

    ขอบคุณครับ

  • Canonical Livepatch Service

    Canonical Livepatch Service

    Apply critical kernel patches without rebooting.

    โฆษณา

    • Fixes are applied automatically, without restarting your system
    • Reduces downtime, keeping your Ubuntu LTS systems secure
      and compliant
    • Included as part of all Ubuntu Advantage for Infrastructure
      support packages
    • ใครควรใช้ เครื่อง ubuntu 16.04 ขึ้นไป
    • เริ่มได้
    • เปิดเว็บ https://auth.livepatch.canonical.com/ เลือก Ubuntu user แล้วกดปุ่ม Get your Livepatch token

    ก็จะไปหน้านี้

    • กด Accept all and visit site
    • ก็ให้ log in ให้เรียบร้อย หากยังไม่ได้สมัคร user ของ Ubuntu one ก็ให้เลือก I don’t have an Ubuntu One account เพื่อสร้าง account

    หลังจากกด Create account ให้ไปเช็คเมล์ที่ใช้ลงทะเบียนแล้วกด verify

    • ก็จะได้หน้าที่มี Token สำหรับลงทะเบียน
    • ติดตั้งโปรแกรมชื่อ canonical-livepatch ด้วยคำสั่ง
    sudo snap install canonical-livepatch
    • เมื่อติดตั้งเสร็จได้ผลลัพธ์ว่า

    canonical-livepatch 9.5.5 from Canonical✓ installed

    • แล้วต่อด้วยคำสั่ง copy จากในเว็บได้เลย
    sudo canonical-livepatch enable $TOKEN
    • โดย $TOKEN คือค่าที่ได้จากในหน้าเว็บ
    • ก็จะได้ผลว่าประมาณว่า

    Successfully enabled device. Using machine-token: xxxxxxxxxxx

    • เสร็จ!!! แบบง่ายๆ และงงๆ
    • และสำหรับ 1 email address สามารถใช้ token เดียวกันได้ 3 เครื่อง สำหรับผู้ใช้ฟรี!!
    • ตั้งแต่ใช้มาประมาณ 1 ปีครึ่ง ก็ไม่รู้ว่ามีอัพเดตอะไรบ้างเหมือนกัน กรั่กๆ
    • ตรวจสอบสถานะของ canonical-livepatch ด้วยคำสั่ง
    sudo canonical-livepatch status --verbose
    • ก็จะได้ประมาณว่า
    • จบขอให้สนุก

    อ้างอิง

    https://ubuntu.com/security/livepatch

  • How to apache2 HTTP/2

    • วันนี้อัพเกรตเครื่อง licensing เป็น 20.04.1 เลยมาดูว่ามีอะไรที่ควรเปลี่ยนอีกบ้าง ก็มี HTTP/2 นี่ละ ออกมาหลายปีแล้วยังไม่ได้เริ่มใช้งาน เท่าที่ตรวจสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ฝั่ง windows เป็น http/2 เกือบหมดแล้ว

    https://thanwa.medium.com/http-2-คืออะไร-แตกต่างจาก-http-1-1-อย่างไร-5dfb14e46ae4

    HTTP/1.1 และ HTTP/2 ต่างกันอย่างไร
    • เริ่มได้
    • ตรวจสอบก่อนว่า server ใช้ http/2 หรือไม่ทำได้โดยใช้ web developer tool บน web browser เช่น Firefox กด F12
    Web Developer

    คลิกหัวข้อ Network ซึ่งในครั้งแรกจะไม่สามารถดูได้ว่าใช้ http/2 แล้วหรือไม่ ให้คลิกขวาดังรูป แล้วเลือก Protocol

    Web Developer

    จะได้เป็น

    HTTP/1.1

    จะเห็น http/1.1 ในช่อง Protocol ถ้าเป็น http/2 จะได้ดังภาพ

    HTTP/2
    • ขั้นตอนต่อไปนี้ทำบน Ubuntu 20.04.1 อาจใช้ได้กับ 18.04.x ด้วยเช่นกัน
    • เริ่มด้วยการเปิด module ของ apache2 ที่ชื่อ http2 ด้วยคำสั่ง
    sudo a2enmod http2
    • เมื่อตรวจสอบแฟ้ม /etc/apache2/mods-enabled/http2.conf (ด้วย editor ที่ชื่นชอบ) จะพบว่ามีข้อความต่อไปนี้อยู่แล้ว
    Protocols h2 h2c http/1.1
    • โดยปกติ Http/1 จะถูกเรียกใช้ก่อนเสมอ เว้นแต่ว่า web browser นั้นจะรองรับ http/2 แต่เราต้องการ http/2 ถูกเลือกก่อนจึงต้องกำหนดตามนั้น
    • แต่ web browser ก็มีการเลือก Protocol เองด้วยเพื่อเป็นการบังคับให้เลือก ตามลำดับของ server ให้ใส่ข้อความต่อไปนี้เพิ่มลงไป
    ProtocolsHonorOrder On

    *** จากการทดสอบพบว่า web browser สมัยใหม่เลือก http/2 ก่อนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ เพราะงั้นแค่เปิดดูแล้วก็ออกจากแฟ้ม

    • รีสตาร์ท apache2 ด้วยคำสั่ง
    sudo systemctl restart apache2
    • ตรวจสอบว่า เป็น http/2 แล้วหรือไม่ด้วยคำสั่ง
    curl -I --http2 -s https://domain.com/ | grep HTTP

    ได้ผลดังภาพ

    curl

    แปลว่า http/2 ทำงานแล้ว

    • ทีนี้เว็บเรามันทำด้วย mod_php ต้องเปลี่ยนมาใช้ PHP-FPM
    • ติดตั้ง php7.4-fpm เพิ่มด้วยคำสั่ง
    sudo apt install -y php7.4-fpm
    • ปิดการใช้งาน mod_php ด้วยคำสั่ง
    sudo a2dismod php7.4
    • ปิดการใช้งาน apache mpm_prefork ด้วยคำสั่ง
    sudo a2dismod mpm_prefork
    • หลังจากนั้นเปิด การทำงานของ mpm_event, proxy_fcgi และ setenvif
    sudo a2enmod mpm_event proxy_fcgi setenvif
    • เปิดการทำงานของ php7.4-fpm ด้วยคำสั่ง
    sudo systemctl start php7.4-fpm
    • ให้ php7.4-fpm ทำงานทุกครั้งที่รีสตาร์ท
    sudo systemctl enable php7.4-fpm
    • เปิดการทำงานของ php7.4-fpm ใน apache2
    sudo a2enconf php7.4-fpm
    • เริ่มการทำงานของ apache2 ใหม่
    sudo systemctl restart apache2
    • ทดสอบว่าเป็น http/2 แล้วด้วยคำสั่ง
    curl -I --http2 -s https://domain.com/ | grep HTTP

    ได้ผลดังภาพ

    • จริงๆ ตรวจสอบด้วย web browser ก็ได้ แต่อยากอวด command line
    • จบขอให้สนุก

    อ้างอิง

    https://www.tecmint.com/enable-http2-in-apache-on-ubuntu/

    https://httpd.apache.org/docs/2.4/howto/http2.html

  • Windows Terminal (3)

    • ติดตั้ง WSL2 ก็แล้ว แต่ใช้แค่ bash ดูไม่ว้าววววว เลย ให้ดูตัวอย่างก่อนที่

    https://github.com/ohmyzsh/ohmyzsh/wiki/Themes

    สวยงามอล่างฉ่าง
    • มาติดตั้ง zsh และ theme กัน
    • เริ่มจากติดตั้ง zsh
    sudo apt install zsh
    install zsh
    • ต่อด้วยคำสั่งต่อไปนี้เพื่อติดตั้ง ohmyzsh
    sh -c "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/ohmyzsh/ohmyzsh/master/tools/install.sh)"
    • จากภาพจะมีการเปลี่ยน default shell ด้วยเปลี่ยนจาก bash เป็น zsh ฉะนั้นเมื่อเปิด wsl terminal ครั้งใดก็จะได้เป็น zsh shell ทุกครั้ง
    • สิ่งที่เพิ่มมาและมีความสำคัญมากคือ .oh-my-zsh และ .zshrc
    • เสร็จละง่าย!! แต่ theme ตั้งต้นอาจจะไม่ฉูดฉาด
    • แก้ไขแฟ้ม .zshrc ด้วย editor ที่ชื่นชอบ!
    • ดูชื่อ theme ต่างๆ ได้ที่ https://github.com/ohmyzsh/ohmyzsh/wiki/Themes
    • มองหาคำว่า ZSH_THEME=”robbyrussell” สามารถเปลี่ยน robbyrussell เป็นอย่างอื่นได้เลย เช่น bira เปลี่ยนแล้ว save เมื่อออกมาอยู่ที่ prompt ให้พิมพ์
    . ./.zshrc
    • (อ่านว่า จุด-เว้นวรรค-จุด-สแลช-จุด-แซ่ด-เอส-เอช-อาร์-ซี)
    • หรือพิมพ์ว่า
    source .zshrc
    • ก็จะเปลี่ยนหน้าตาไปทันที ก่อนหน้านี้ต้องเคยติดตั้ง powerline font มาก่อนซึ่งในตอนที่ 1 ได้ให้ติดตั้งไปแล้ว จะได้ดังรูป
    • สวยแล้ว ทั้งนี้สวยแต่ละคนไม่เท่ากันก็อาจจะลองเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นๆ ได้เลย หรือหากต้องการเขียนเองก็ทำได้ อ่านเอกสารเองนะจ๊ะ
    • เท่านี้ก่อนสำหรับ zsh shell
    • สำหรับ zsh สามาติดตั้งได้บน linux server แทบทุกดิสโทรเลยทีเดียว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ubuntu หรือ debian ยังมี repository และ plugin เสริมต่างๆ ของ zsh อีกด้วย (ค่ายอื่นอาจจะมีแต่ไม่ได้ใช้งานมากเลยไม่ทราบนะครับ)
    • จบขอให้สนุก
    • ต้นฉบับ https://ohmyz.sh/
  • Windows Terminal (2)

    Q: วันก่อนติดตั้ง WSL2 แล้วอยากใช้งาน bash บน Windows Terminal ด้วยทำไง?

    A: กด แล้วเลือก Ubuntu 20.04 ไงล่ะ!!

    Q: ไม่อยากกดเอาแบบเปิดมาแล้วเป็น ubuntu เลยอ่ะ

    A: แก้ Settings คลิก เลือก Settings

    จะเป็นการเปิดการตั้งค่าต่างๆ ด้วย Text Editor ที่ชื่นชอบ

    เลื่อนลงมาดูเรื่อยๆ จะเจอว่ามี Ubuntu-20.04 อยู่

    สนใจบรรทัดที่เขียนว่า “guid”: ให้ copy ข้อความที่อยู่ภายใน “{ }” มาทั้งหมด จากตัวอย่างคือ 07b52e3e-de2c-5db4-bd2d-ba144ed6c273 แล้วให้เลื่อนจอขึ้นไปด้านบนจนเห็นบรรทัดที่มีข้อความว่า “defaultProfile”: แทนที่ข้อความที่อยู่ภายในเครื่องหมาย “{ }” ด้วยข้อความที่ copy ไว้

    เปลี่ยนเป็น

    แล้ว save ปิดแล้วเปิดใหม่ก็จะได้ Ubuntu-20.04 เป็นค่า default

    • จบขอให้สนุก
  • Windows Subsystem for Linux Installation Guide for Windows 10

    เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เริ่ม

    • เปิด Powershell ด้วยสิทธิ์ของ Administrator แล้วพิมพ์คำสั่ง ต่อไปนี้เพื่อเปิดใช้งาน “Windows Subsystem for Linux” หรือ wsl โดยจะเป็นรุ่น 1 หรือ wsl1
    dism.exe /online /enable-feature /featurename:Microsoft-Windows-Subsystem-Linux /all /norestart
    wsl1
    • ปรับรุ่นให้เป็นรุ่น 2 โดย Windows 10 ที่ใช้งาน ต้องเป็น Windows 10 version 2004, Build 19041 1903, Build 18362 ขึ้นไปเท่านั้น
    • ตรวจสอบรุ่นของ Windows ด้วยคำสั่ง winver (start->run)
    winver
    • เปิดใช้งาน Virtual Machine Platform พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ ใน powershell ของ administrator
    dism.exe /online /enable-feature /featurename:VirtualMachinePlatform /all /norestart
    Virtual Machine Platform
    • restart เครื่องเพื่อให้การปรับรุ่น wsl1 เป็น wsl2 สมบูรณ์
    • ตั้งค่าให้ wsl2 เป็นค่าเริ่มต้นด้วยคำสั่ง
    wsl --set-default-version 2
    Set default wsl2
    • ซึ่งจะเจอข้อความตามภาพ ให้ไปดาวน์โหลด kernel ได้จาก https://aka.ms/wsl2kernel โหลดมาแล้วติดตั้งให้เรียบร้อย (Next technology)
    download kernel
    • สั่งคำสั่งเดิมอีกครั้งเพื่อตั้งค่าให้ wsl เป็นรุ่น 2 เป็นค่าเริ่มต้น
    Set default wsl2
    • สามารถดูรายละเอียดความแตกต่างของ wsl2 ได้ที่ https://aka.ms/wsl2
    • ติดตั้ง Linux ที่ต้องการจาก Microsoft Store หรือคลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อเข้า Microsoft Store
    ubuntu 20.04
    • ติดตั้งเสร็จแล้วคลิก Launch ใน Microsoft Store
    • จะเป็นการเปิดหน้าของลินุกส์ขึ้นมาและให้ตั้งค่าต่างๆ username และ password
    Setup
    • ตั้งค่าเสร็จได้ดังภาพ
    Fin
    • ตั้งค่าลินุกส์ให้เป็น wsl2 ตรวจสอบว่าเป็นรุ่นไหนอยู่ด้วยคำสั่ง
    wsl --list --verbose
    check version
    • ซึ่งถ้าหากยังเป็นรุ่น 1 สามารถเปลี่ยนได้ด้วยคำสั่ง
    wsl --set-version <distribution name> <versionNumber>
    • โดยแทนที่ <distribution name> ด้วยชื่อเต็มที่ได้จากคำสั่ง wsl –list –verbose เช่น Ubuntu-20.04 และ <versionNumber> ด้วย 1 หรือ 2 ตามต้องการ
    • จบขอให้สนุก

    ต้นฉบับ

    https://docs.microsoft.com/en-us/windows/wsl/install-win10

  • [บันทึกกันลืม] แก้ปัญหา server certificate verification failed บน gitlabs

    ปัญหาคือ: จะ git push จาก Linux/Ubuntu มาเก็บใน gitlabs ขององค์กร

    git push -u origin master

    แต่ติดปัญหาว่า

    fatal: unable to access 'https://gitlab.xxx.xxx.xxxx/userid/repo.git/': server certificate verification failed. CAfile: /etc/ssl/certs/ca-certificates.crt CRLfile: none

    วิธีแก้ปัญหา (แบบรีบ ๆ)

    git config --global http.sslVerify false

    ก็จะใช้งานได้แล้ว

    *** เออ “ก็ง่าย ๆ” แต่ไม่มีบอกไว้ให้หาง่าย ๆ นิ ***

  • How to create LVM volume group and logical volume

    LVM ย่อมาจาก Logical Volume Manager ความสามารถของ LVM คือสามารถสร้าง logical partition ขยายไปบนฮาร์ดดิสก์หลายๆ ลูกได้ ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่ทำบน CentOS หรือ Oracle Linux หรือ ค่าย Redhat Enterprise Linux ส่วนฝั่ง Debian ก็สามารถใช้คำสั่งเดียวกันทำงานเหมือนกัน แต่อาจจะต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม

    โดยขนาดสูงสุดที่ LVM ทำได้ขึ้นกับชนิดของ CPU และ Kernel ที่ใช้งาน

    • สำหรับ Kernel 2.4 บน CPU 32-Bit มีขนาดได้ไม่เกิน 2TB
    • สำหรับ Kernel 2.6 บน CPU 32-Bit มีขนาดได้ไม่เกิน 16TB
    • สำหรับ Kernel 2.6 บน CPU 64-Bit มีขนาดได้ไม่เกิน 8EB
    • ป้จจุบัน Kernel รุ่น ? CPU 64-Bit ยังไม่มีคำตอบ

    แต่เมื่อ format ให้มีระบบไฟล์แบบ ext4 จะสร้างพาทิชั่นได้ไม่เกิน 1EB เท่านั้น

    ขึ้นกับ file system ใช้งานด้วย
    • เริ่มได้
    • เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ของ root ซึ่งอาจจะเป็น root เอง หรือ user ที่อยู่ในกลุ่ม wheel หากเข้าด้วยบัญชีผู้ใช้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ root ให้สั่งคำสั่ง
    su -
    ตามด้วยรหัสผ่านของ root

    หรือ

    sudo -i
    ตามด้วยรหัสผ่านของผู้ใช้ที่เรียกคำสั่งนี้

    จึงจะสามารถทำคำสั่งต่อไปได้

    • ตรวจสอบว่ามีฮาร์ดดิสก์ลูกไหนถูกใช้งานอยู่บ้างด้วยคำสั่ง
    df -h
    • ได้ผลลัพธ์ประมาณดังรูป
    df
    df
    • จากภาพข้างต้น /dev/sda ถูกใช้งานอยู่แล้วคือ /dev/sda1 และ /dev/sda2 ให้ตรวจสอบว่ามีดิสก์ลูกอื่นอีกหรือไม่ด้วยคำสั่ง
    fdisk -l|grep /dev
    fdsik
    fdisk
    • จะเห็นว่ามี /dev/sdb, /dev/sdc และ /dev/sdd ที่ว่างอยู่
    • จะใช้ /dev/sdb
    • เริ่มจากสร้างพื้นที่สำหรับทำ LVM ก่อนด้วยคำสั่ง
    fdisk /dev/sdb

    กด n ตามด้วย p ตามด้วย 1 แล้ว enter 2 ครั้ง

    กด t แล้วพิมพ์ 8e แล้วกด w ดังภาพ

    fdisk
    fdisk
    • สร้าง LVM physical volume โดยใช้คำสั่ง pvcreate
    pvcreate /dev/sdb1
    • สร้าง LVM volume group ชื่อ vg_u01
    vgcreate vg_u01 /dev/sdb1
    • สร้าง LVM logical volume group ชื่อ lv_u01 ใน volume group ที่ชื่อ vg_u01 โดยให้มีขนาดทั้งหมดที่มีอยู่ใน vg_u01
    lvcreate -n lv_u01 -l 100%FREE vg_u01

    ดังภาพ

    pvcreate, vgcreate, lvcreate
    pvcreate, vgcreate, lvcreate
    • ดูสถานะว่า LVM สร้างเสร็จแล้วด้วยคำสั่ง
     pvscan
    pvscan
    • ดูสถานะว่ามี Physical Volume เท่าไหร่ ด้วยคำสั่ง
    pvdisplay
    pvdisplay
    • ก่อนใช้งานอย่าลืม format โดย device ที่จะต้อง format จะกลายเป็น /dev/vg_u01/lv_u01 ให้มีชื่อว่า u01
    mkfs.ext4 -L u01 /dev/vg_u01/lv_u01
    mkfs.ext4
    • สร้าง mount point ให้กับ lv_u01
    mkdir /u01
    • mount lv_u01 เข้ากับ /u01
    mount LABEL=u01 /u01
    • ตรวจสอบว่า /u01 ถูกเรียกใช้งานแล้ว ใส่ -h เพื่อให้ระบุขนาดเป็น GMK
    df -h
    mkdir, mount, df
    • สั่งให้ mount อัตโนมัติทุกครั้งที่บูตเครื่องเพิ่มข้อความต่อไปนี้ในแฟ้ม /etc/fstab
    LABEL=u01       /u01    ext4    defaults 0 0
    fstab
    • จบขอให้สนุก
    • อาจจะยังไม่เห็นภาพว่าแล้วมันกระจายไปดิสก์หลายๆ ลูกได้อย่างไร อธิบายง่ายๆ /u01 สามารถอยู่ได้บนฮาร์ดดิสก์มากกว่าหนึ่งลูก โดยเห็นเป็นพื้นที่เดียวกันคือ /u01 ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย /dev/sdb1, /dev/sdc1 ใน vg_u01
    • ยังมีเรื่องการเพิ่มขนาดภายหลังให้ดูที่ http://portal.psu.ac.th/blog/howto/6281 ไปพลางก่อน
  • วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server บน Windows

    อยาก ssh เข้า Windows Server เพื่อเข้าไปรัน PowerShell หรือรัน script cmd ต้องทำอย่างไร
    (โดยปกติ Windows ปัจจุบันมี OpenSSH Client ติดตั้งมาโดย Default ถ้าใครต้องการแค่จะใช้ ssh/scp command ข้ามบนความนี้ได้เลยครับ)

    Reference :
    https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/administration/openssh/openssh_install_firstuse Installation of OpenSSH For Windows Server 2019 and Windows 10

    Environment :

    – Windows Server 2019 หรือ Windows 10 1809 ขึ้นไป

    • วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server ผ่าน GUI
      เปิด Settings > Apps > Apps and Features > Manage Optional Feature
      s (Windows 10 ใช้คำว่า Optional Features)
    • วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server ผ่าน PowerShell (Run as Administrator)

    – ตรวจสอบ Version ของ OpenSSH ที่จะลงก่อน

    Get-WindowsCapability -Online | ? Name -like 'OpenSSH*'

    – ทำการติดตั้งตาม Version ล่าสุด

    Add-WindowsCapability -Online -Name OpenSSH.Server~~~~0.0.1.0
    • วิธีการสร้าง Service ให้ Start OpenSSH Server โดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่องผ่าน PowerShell Run as Administrator และทำการเปิด Firewall ให้เข้าถึงได้
    Start-Service sshd
    # OPTIONAL but recommended:
    Set-Service -Name sshd -StartupType 'Automatic'
    # Confirm the Firewall rule is configured. It should be created automatically by setup. 
    Get-NetFirewallRule -Name *ssh*
    # There should be a firewall rule named "OpenSSH-Server-In-TCP", which should be enabled
    # If the firewall does not exist, create one
    New-NetFirewallRule -Name sshd -DisplayName 'OpenSSH Server (sshd)' -Enabled True -Direction Inbound -Protocol TCP -Action Allow -LocalPort 22
    
    • ทดสอบเข้าใช้งาน (สำหรับเครื่องที่ join office365 แนะนำให้เข้าผ่าน local account ครับ)
    ssh [username]@[Windows Server IP]
    • การใช้งานต้องใช้คำสั่งของ powershell นะครับ ไม่ใช่ shell script ของ linux ดังนั้นการกดออกต้องใช้คำสั่ง exit

    ในแง่เดียวกันสามารถทำ ssh tunnel ไปมาระหว่าง Windows และ Linux ได้นะครับ แต่คงจะไม่ได้เขียน Blog ในส่วนนี้ครับ แต่จะไม่มี command ssh-copy-id ใน windows ให้ใช้คงต้อง ssh-keygen แล้ว copy key ไปสร้างในเครื่อง linux เองครับ