เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 5 Docker registry

อยากลองใช้ docker แต่ยังไม่ต้องการนำ image อัปโหลดไปไว้บน docker hub จะทำอย่างไรได้มั้ย ที่นี่มีคำตอบครับ เราสามารถนำ docker image ที่ได้สร้างขึ้นนั้นไปเก็บไว้ในสิ่งที่เรียกว่า Docker registry ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ Public registry อยู่ที่ hub.docker.com เราจะต้องลงทะเบียนเพื่อขอมีบัญชีผู้ใช้จึงจะสามารถอัปโหลด image ไปเก็บไว้ได้ ส่วนอีกอย่างก็คือ Private (Local) registry จะเป็นการสร้างที่เก็บส่วนตัว ที่เก็บของหน่วยงาน ในบทความนี้จะสาธิตทำที่เก็บ image สำหรับทดสอบงาน การใช้งาน Docker public registry ต้องมี user account ที่ cloud.docker.com จะต้อง login ก่อนจึงจะ push image ขึ้นไปได้ เหมือนที่แสดงตัวอย่างไว้ในบล็อก “เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 1” $ docker login ตัวอย่างคำสั่ง push ที่ผมนำ image ไปเก็บไว้ $ docker push woonpsu/docsdocker:part1 ซึ่งเรียกใช้จากที่เครื่องใดก็ได้ ด้วยคำสั่ง pull $ docker pull woonpsu/docsdocker:part1   แต่หากเรายังไม่พร้อมที่จะนำ image ไปไว้บนนั้น เราก็ทำ Local registry ไว้ใช้เองไปพราง ๆ ก่อน ทำได้ 2 แบบ คือ 1. Local registry ที่ใช้งานภายในเครื่องของเราเครื่องเดียว 2. Local registry ที่เราเปิดให้เครื่อง client อื่น ๆ เข้ามาใช้ร่วมได้ Local registry แบบที่ใช้งานภายในเครื่องของเราเครื่องเดียว (localhost:5000) ใช้คำสั่งนี้เพื่อเริ่มต้นสร้าง registry container $ docker run -d -p 5000:5000 –restart=always –name myregistry registry:2 จากนั้นเรา pull image สักอัน จาก hub.docker.com เช่น $ docker pull ubuntu:16.04 หลังจากดัดแปลง(ไม่ทำก็ได้)ตามต้องการแล้วก็ใส่ tag localhost:5000/my-ubuntu ดังนี้ $ docker tag ubuntu:16.04 localhost:5000/my-ubuntu $ docker images แล้วก็ push image ไปยัง local registry ซึ่งก็คือ เครื่องที่เรากำลังใช้งาน (localhost) ใช้ port หมายเลข 5000 ดังนี้ $ docker push localhost:5000/my-ubuntu ซึ่งวิธีการเรียกใช้งาน image ที่เก็บไว้นั้น เป็นดังนี้ $ docker pull localhost:5000/my-ubuntu ก่อนไปทำตัวอย่างถัดไปซึ่งเป็นแบบที่ 2 ให้ลบ container ชื่อ myregistry ที่ทดสอบเสร็จแล้ว ที่ต้องลบเพราะว่าใช้ port หมายเลขเดียวกัน หากใช้หมายเลข port ต่างกัน ก็ไม่ต้องลบ $ docker stop myregistry $ docker rm myregistry   Local registry แบบที่เราเปิดให้เครื่อง client อื่น ๆ เข้ามาใช้ร่วมได้ (docker-registry.localdomain:5000) เราจะต้องเริ่มต้นที่การกำหนดชื่อเครื่อง ผมสมมติตั้งชื่อว่า docker-registry.localdomain ให้กับ

Read More »

ติดตั้ง Microsoft Office 2010 บน Linux Mint 18.2

     สวัสดีวันค่ะ… บล็อคนี้เราก็ยังคงอยู่กับ Linux Mint “Sonya” ที่มาพร้อมกับ Applicationพื้นฐานติดตั้งมาด้วย สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับ Linux ก็จะมีคำถามว่าแล้วโปรแกรมนี้ที่เคยใช้ในฝั่ง Windows มันมีให้ใช้ใน Linux มั้ย อย่างเช่น Microsoft Office อันนี้ Linux ก็มี LibreOffice ให้ใช้แทน และ LibreOffice Writer สามารถ Save เป็น นามสกุล .doc, .docx มาเปิดบน Windows ได้ แต่ Fonts อาจจะเพี้ยนๆหน่อยตอนเอามาเปิดบน Windows ก็มีทางเลือกให้เราติดตั้ง Fonts ที่ต้องการลงไป ดังภาพที่ 1     ภาพที่1 ติดตั้ง Font บน Linux หรือไม่แน่ใจว่า Office ตัวอื่นจะประสบปัญหาอะไรไหมตอนเอาไปเปิดกับ Windows อยากได้โปรแกรมของ Microsoft Office ทั้งหมดเอาไปใช้เลย!! ก็ทำได้ ก่อนอื่นก็ต้องลง PlayOnLinux ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถใช้โปรแกรม Windows บน Linuxได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ Step1: ไปที่ Software Manager > Search Palyon… > Install > รอวนไปค่ะ ช้าเร็วขึ้นกับเน็ตด้วย ตามภาพที่ 2 ภาพที่2 Install PlayOnLinux Step2: เปิดโปรแกรม PlayOnLinux ดังภาพที่ 3 ภาพที่3 Open PlayOnLinux เมื่อรัน PlayOnLinux ขึ้นมา ให้กด Install ดังภาพที่ 4 ภาพที่4 หน้าจอ PlayOnLinux  เลือกเมนู Office และเลือก Microsoft Office Version ที่ต้องการติดตั้ง ตามภาพที่ 5 ภาพที่5 List Program in Office Category จากนั้นก็ Next Step ไปค่ะ ตามภาพที่ 6 ภาพที่6 Installation Wizard ระหว่างทางนั้น ในเมื่อชีวิตเราไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ Error ตามภาพที่ 7 ก็มา  ตั้งสติแล้วก็ไปลง winbind ซะ!!! ภาพที่7 Fatal Error กลับมาลง Office กันอีกที Again & Again(ไปฟังเพลงปลอบใจพลางนะ) ถ้าคุณได้ไปต่อมันก็จะขึ้นให้ Browse ไปยังที่เก็บไฟล์ .exe ตามภาพที่ 8 กด Open ไปอีกหน้าจอ แล้วกด Next รอจนติดตั้งเสร็จ ภาพที่8 Setup File ในที่สุดก็ติดตั้งเสร็จ จะแสดงผลลัพธ์ดังภาพที่ 9  ซึ่ง Shortcut ถูกสร้างไว้บน Desktop สามารถเรียกใช้ได้เลย ตามภาพที่ 10 ภาพที่9 Installed Program ภาพที่10 Office Shortcut on Desktop

Read More »

เปลี่ยน ubuntu sources.list ก่อนสร้าง image ด้วย dockerfile

การใช้งาน docker นั้นเราสามารถใช้ image จาก docker hub หรือเราจะสร้าง image ของเราเอง ซึ่งมีหลายวิธีในการสร้าง image แบบของเราเอง (custom) วิธีหนึ่งคือการใช้ dockerfile อย่างคร่าว ๆ คือ mkdir ~/mydocker cd ~/mydocker touch dockerfile docker built -t test_app:20170713 . docker images ในไฟล์ชื่อ dockerfile นี้จะมีไวยกรณ์ประมาณนี้ # Image tag: test_app:20170713 <– บรรทัดนี้คือ comment FROM ubuntu:16.04 <– บรรทัดนี้คือ ไปเอา image ชื่อ ubuntu:16.04 จาก docker hub RUN apt-get update <– บรรทัดนี้คือ คำสั่งบอกว่าจะติดตั้ง หลังคำว่า RUN นั่นเอง RUN apt-get dist-upgrade -y RUN apt-get install -y apache2 libapache2-mod-php7.0 php7.0 COPY … ADD … EXPOSE … CMD … และยังมี command อื่น ๆ อีก ทีนี้จากการที่ต้องลองผิดลองถูกบ่อย ๆ จึงพบว่า หากเราเพิ่มคำสั่ง 2 บรรทัดนี้เข้าไปก่อนบรรทัด RUN apt-get update ก็จะทำให้เราได้ใช้ ubuntu repository ที่ต้องการแทนค่า default ที่ archive.ubuntu.com เช่นต้องการให้มาใช้ th.archive.ubuntu.com ก็เขียนคำสั่งดังนี้ RUN sed -i ‘s/\/us.archive/\/th.archive/g’ /etc/apt/sources.list RUN sed -i ‘s/\/archive/\/th.archive/g’ /etc/apt/sources.list ผลลัพธ์คือ หลังจากทำคำสั่ง docker built -t test_app:20170713 . จะเห็นว่าในขั้นตอนการ build นั้นจะดาวน์โหลดไฟล์ได้รวดเร็วกว่าเดิมมาก จึงนำความรู้มาบอกกันครับ อ้อลืมบอกว่าบทความที่เขียนนี้ ผมทดสอบกับ docker version 17.06.0-ce ครับ อยากแนะนำความรู้เกี่ยวกับ docker ที่อ่านมา พบว่าน่าสนใจ ลองอ่านดูครับ อ่านง่าย   บทความในต่างประเทศ How To Install and Use Docker on Ubuntu 16.04 (https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-install-and-use-docker-on-ubuntu-16-04) How to Build an Image with the Dockerfile (https://www.sitepoint.com/how-to-build-an-image-with-the-dockerfile/) Dockerfile reference (https://docs.docker.com/engine/reference/builder/) Best practices for writing Dockerfiles (https://docs.docker.com/engine/userguide/eng-image/dockerfile_best-practices/) How to update Docker image to maintain your containers secure  (https://bobcares.com/blog/update-docker-image/2/) How to upgrade docker container after its image changed (https://stackoverflow.com/questions/26734402/how-to-upgrade-docker-container-after-its-image-changed) Manage data in containers (https://docs.docker.com/engine/tutorials/dockervolumes/)  

Read More »

การสลับภาษาด้วย “~” Linux Mint 18.2 64 bit

        สำหรับใครที่ในช่วงนี้เบื่อๆเซ็งๆระบบปฎิบัติการ Windows อยากลองอะไรใหม่ๆให้กับชีวิตบ้าง ใจก็อยากไป macOS แหละ ครั้นจะเอามาลงที่เครื่องเรา มันได้เหรอ(คิดในใจเบาๆ) ว่าแล้วก็หันไปซบอก OpenSource อย่าง linux ดีกว่า linux ก็จะประสบปัญหาการเปลี่ยนภาษาเหมือนตอนที่เราลง Windows ใหม่ๆ ต้องกด Left Alt + Shift เพื่อเปลี่ยนภาษา มันก็จะลำบากหน่อยๆ กดไปบ้างไม่ไปบ้างแต่คนที่ชินแล้วก็ปล่อยเขาไปนะค่ะ ส่วนเรายังไม่ชินปกติก็จะใช้ Grave “~” ตลอด ซึ่ง linux เดิมจะใช้ ปุ่ม Ctrl+Shift ในการเปลี่ยนภาษา สืบไปสืบมาได้ความว่า linux จะใช้ “~” แทนการอ้างอิง path home จึงไม่สามารถใช้ “~” เปลี่ยนภาษาได้ แต่สำหรับใครที่ยังไม่ชินก็สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเปลี่ยนภาษาได้เนอะ             ก่อนอื่นต้องทำการ download โปรแกรมมาติดตั้งติดตั้งในเครื่องเพื่อใช้ในการสลับภาษาโดยชื่อว่าgrave-key.tar.gz สามารถ download ได้ที่ http://noc.rmutl.ac.th/main/wp-content/plugins/download-monitor/download.php?id=29         วิธีการติดตั้ง ไฟล์ที่ download มาจะมีนามสกุล .gz โดยเป็นไฟล์ zip ประเภทหนึ่งบนระบบปฎิบัติการ linux ดังนั้นก่อนการใช้งาน จึงต้องทำการ คลาย zip ก่อน โดยโปรแกรม zip จะถูกติดตั้งเป็นโปรแกรมพื้นฐานมาแล้ว จึงสามารถใช้งานได้ทันที โดยวิธีการคลายzip เข้าไปยังตำแหน่งไฟล์ที่ download คลิกขวาที่ไฟล์ แล้วเลือก “open with archive manager” โปรแกรมที่ไช้ในการคลาย zip จะถูกเปิดขึ้นมา หลังจากนั้น กด Extract แล้วเลือกตำแหน่ง เก็บไฟล์ ดังภาพที่ 1                                  ภาพที่ 1  Extract File ด้วย open with archive manager ทำการ install โปรแกรม โดยใช้ command ในส่ง install  เปิดโปรแกรม terminal เข้าไปยังตำแหน่ง path ที่ไฟล์โปรแกมอยู่ run โปรแกรม ด้วยคำสั่ง ./script.sh                                                        ภาพที่ 2 run โปรแกรม ตั้งค่า keyboard เพื่อให้สามารถใช้งานได้ โดยเปิดโปรแกรม Keyboard ตามขั้นตอนดังภาพที่ 3 หรือ Search คำว่ “keyboard” ตรงรูปแว่นขยายด้านบน                               

Read More »

วิธีการติดตั้ง Kubernetes Add-on DNS และ DashBoard

Kubernetes มี DNS กับ GUI ให้ใช้งานบ้างไหม             หลังจากติดตั้ง Kubernetes แล้วการสร้าง containner โดยในที่นี้เรียกว่า pod (ใช้เรียก 1 containner หรือกลุ่มของ containner ก็ได้) ซึ่งสามารถสร้างด้วยคำสั่ง Kubectl ได้เลย (สร้างจากที่ไหนก็ได้) สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง ต้องติดตั้งก่อนตามวิธีติดตั้ง Kubernetes บน CoreOS ตอนที่ 1[1] และ ตอนที่ 2[2]  สำหรับ Add-on ที่แนะนำจะเป็น DNS และ Dashboard ซึ่งเรียกได้ว่าจำเป็นต้องมี ไม่งั้นชีวิตจะยุ่งยากขึ้นเยอะครับ คงไม่มีใครอยากดูรายการ pod เยอะ ๆ ด้วย command line กันนะครับ  วิธีการติดตั้ง DNS-Addon[3] เข้าไปยังเครื่องที่ติดตั้ง Kubectl ไว้แล้ว ทำการสร้าง yaml file ดังนี้ (ถ้า vim วางแล้วเพี้ยนให้ใช้ nano แทน) nano dns-addon.yaml เนื้อหาในไฟล์ดังนี้ (อย่าลืมเปลี่ยน &gt; เป็น > เวลา Copy & Paste ด้วยครับ) apiVersion: v1 kind: Service metadata: name: kube-dns namespace: kube-system labels: k8s-app: kube-dns kubernetes.io/cluster-service: “true” kubernetes.io/name: “KubeDNS” spec: selector: k8s-app: kube-dns clusterIP: <DNS Cluster-IP> ports: – name: dns port: 53 protocol: UDP – name: dns-tcp port: 53 protocol: TCP — apiVersion: v1 kind: ReplicationController metadata: name: kube-dns-v20 namespace: kube-system labels: k8s-app: kube-dns version: v20 kubernetes.io/cluster-service: “true” spec: replicas: 1 selector: k8s-app: kube-dns version: v20 template: metadata: labels: k8s-app: kube-dns version: v20 annotations: scheduler.alpha.kubernetes.io/critical-pod: ” scheduler.alpha.kubernetes.io/tolerations: ‘[{“key”:”CriticalAddonsOnly”, “operator”:”Exists”}]’ spec: containers: – name: kubedns image: gcr.io/google_containers/kubedns-amd64:1.9 resources: limits: memory: 170Mi requests: cpu: 100m memory: 70Mi livenessProbe: httpGet: path: /healthz-kubedns port: 8080 scheme: HTTP initialDelaySeconds: 60 timeoutSeconds: 5 successThreshold: 1 failureThreshold: 5 readinessProbe: httpGet: path: /readiness port: 8081 scheme: HTTP initialDelaySeconds: 3 timeoutSeconds: 5 args:

Read More »