Category: Linux (OS, shell script, etc)

  • [บันทึกกันลืม] วิธีหาไฟล์ที่มีคำที่ต้องการ โดยแสดงเฉพาะ ชื่อไฟล์เท่านั้น

    โจทย์ ต้องการหาไฟล์ที่มีคำว่า text_pattern จากทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /path/to/ ที่มีนามสกุล .ipynb แต่ต้องไม่มีคำว่า checkpoint ใน path หรือชื่อไฟล์

    find /path/to -name "*.ipynb" ! -name "*checkpoint*" -type f -print0 | while read -r -d '' i; do
        if grep -q "text_pattern" "$i"; then
             echo "$i"  # Output only the filename if the pattern is found
        fi;
    done
  • Install from scratch – licensing (1)

    ติดตั้งปรับแต่ง Ubuntu 22.04 เพื่อเตรียมสำหรับติดตั้ง WordPress บน apache2 และติดตั้ง WordPress

    Host setting
    1. เครื่อง Server มี 2 ชื่อ A record เป็น server-name1.psu.ac.th Cname เป็น server-name.psu.ac.th
    2. ติดตั้ง Ubuntu 22.04 ข้ามเรื่องการติดตั้ง Ubuntu ไปนะครับ
    3. จะได้ username: group ที่สามารถเรียกใช้ sudo ได้ตั้งแต่เริ่มต้นตามที่ติดตั้ง
    4. sudo apt update && sudo apt dist-upgrade -y && sudo apt autopurge -y เพื่อปรับปรุง software ต่าง ๆ ให้เป็นรุ่นปัจจุบัน
    5. sudo reboot ในกรณีที่มี kernel ใหม่ต้องรีบูตเพื่อเปลี่ยน kernel
    6. sudo apt install mysql-server apache2 php libapache2-mod-php php-mysql php-gd php-imagick php-xml php-curl php-mbstring php-intl php-zip unzip php-apcu
    7. sudo a2enmod ssl rewrite headers
    8. เปลี่ยนเป็น user root ด้วยคำสั่ง sudo -i
    9. cd /etc/ssl/private
    10. cp /home/username/certificate/* . (ต้องได้รับไฟล์ certificate มาเรียบร้อยแล้วนะครับ ขอข้ามไปเรื่องการจัดเตรียมไฟล์ certificate) ในตัวอย่างนี้จะมีไฟล์เดียวคือ star.psu.ac.th-combined.crt
    11. openssl dhparam -out /etc/ssl/private/dhparams_4096.pem
    12. /etc/apache2/sites-available
    13. vi default-ssl.conf
    <IfModule mod_ssl.c>
    SSLUseStapling On
    SSLStaplingCache "shmcb:logs/ssl_stapling(32768)"
    <VirtualHost _default_:443>
    ServerAdmin someone@somedomain.com
    ServerName server-name1.psu.ac.th

    DocumentRoot /var/www/html

    ErrorLog ${APACHE_LOG_DIR}/error.log
    CustomLog ${APACHE_LOG_DIR}/access.log combined

    SSLEngine on

    SSLCertificateFile /etc/ssl/private/star.psu.ac.th-combined.crt

    SSLOpenSSLConfCmd DHParameters "/etc/ssl/private/dhparam.pem"
    SSLOpenSSLConfCmd ECDHParameters brainpoolP512r1
    SSLOpenSSLConfCmd Curves brainpoolP512r1:sect571r1:secp521r1:secp384r1

    #A+
    SSLProtocol all -SSLv2 -SSLv3 -TLSv1 -TLSv1.1
    SSLHonorCipherOrder on
    SSLCipherSuite ECDH+AESGCM:DH+AESGCM:ECDH+AES256:DH+AES256:ECDH+AES128:DH+AES:RSA+AESGCM:RSA+AES:!aNULL:!MD5:!DSS
    SSLCompression off
    #Header add Strict-Transport-Security "max-age=15768000;includeSubDomains"
    Header always set Strict-Transport-Security "max-age=63072000"

    <FilesMatch "\.(cgi|shtml|phtml|php)$">
    SSLOptions +StdEnvVars
    </FilesMatch>
    <Directory /usr/lib/cgi-bin>
    SSLOptions +StdEnvVars
    </Directory>

    </VirtualHost>
    </IfModule>
    1. vi licensing.conf
    <virtualHost *:80>
        Documentroot /var/www/html/lsc
        ServerName server-name.psu.ac.th
        ErrorLog ${APACHE_LOG_DIR}/licensing_error_log
        CustomLog ${APACHE_LOG_DIR}/licensing_access_log common
        Options -Indexes
        RewriteEngine On
        RewriteRule (.*) https://server-name.psu.ac.th
        RewriteCond %{REQUEST_METHOD} ^(TRACE|TRACK) [NC]
        RewriteRule ^.* - [F]
    </virtualhost>
    1. vi licensing-ssl.conf
    <IfModule mod_ssl.c>
    SSLUseStapling On
    SSLStaplingCache "shmcb:logs/ssl_stapling(32768)"
            <VirtualHost *:443>
                    ServerAdmin someone@somedomain.com
                    ServerName server-name.psu.ac.th
                    DocumentRoot /var/www/html/lsc

                    LogLevel info
                    ErrorLog ${APACHE_LOG_DIR}/lsc-ssl-error.log
                    CustomLog ${APACHE_LOG_DIR}/lsc-ssl-access.log combined

                   SSLEngine on

                    SSLOpenSSLConfCmd DHParameters "/etc/ssl/private/dhparams_4096.pem"
                    SSLOpenSSLConfCmd ECDHParameters brainpoolP512r1
    SSLOpenSSLConfCmd Curves brainpoolP512r1:sect571r1:secp521r1:secp384r1

                    SSLCertificateFile /etc/ssl/private/star.psu.ac.th-combined.crt

    #A+
    SSLProtocol all -SSLv2 -SSLv3
    SSLHonorCipherOrder on
    SSLCipherSuite TLSv1.3 TLS_CHACHA20_POLY1305_SHA256:TLS_AES_256_GCM_SHA384
    SSLCipherSuite ECDH+AESGCM:DH+AESGCM:ECDH+AES256:DH+AES256:ECDH+AES128:DH+AES:RSA+AESGCM:RSA+AES:!aNULL:!MD5:!DSS
    SSLCompression off
    Header always set Strict-Transport-Security "max-age=63072000"

                    RewriteEngine on
                    RewriteCond %{REQUEST_METHOD} ^(TRACE|TRACK) [NC]
                    RewriteRule ^.* - [F]

                    Options -Indexes

                    <FilesMatch "\.(cgi|shtml|phtml|php)$">
                                    SSLOptions +StdEnvVars
                    </FilesMatch>

                    <Directory /var/www/html/lsc>
                            Options FollowSymLinks
                            AllowOverride All
                    </Directory>

                    <Directory /usr/lib/cgi-bin>
                                    SSLOptions +StdEnvVars
                    </Directory>
            </VirtualHost>
    </IfModule>
    1. a2ensite licensing.conf licensing-ssl.conf default-ssl.conf
    2. a2enmod headers
    3. systemctl restart apache2
    4. mysql
    CREATE USER 'username'@'localhost' IDENTIFIED BY 'password';
    create database licensing;
    GRANT ALL PRIVILEGES ON licensing.* TO 'username'@'localhost' WITH GRANT OPTION;
    quit
    1. cd /var/www/html
    2. wget https://wordpress.org/latest.zip
    3. unzip latest.zip
    4. rm latest.zip
    5. mv wordpress lsc
    6. chmod -R username:www-data .
    7. cd lsc
    8. chmod g+w .
    9. logout
    10. จบส่วนการตั้งค่า Host เพื่อเตรียมติดตั้ง WordPress
    11. เปิด browser ไปที่เว็บ http://licensing.psu.ac.th ซึ่งจะถูก redirect ไปที่ https://licensing.psu.ac.th โดยอัตโนมัติ
    12. กรอกข้อมูลสำหรับเชื่อมต่อให้เรียบร้อย และติดตั้ง wordpress ให้เรียบร้อย
    13. กลับมาที่ console หรือ terminal
    14. cd /var/www/html/lsc
    15. chmod og-w .
    16. sudo chown username:www-data .htaccess wp-config.php
    17. chmod og-w .htacess wp-config.php
    18. vi wp-config.php เพิ่มข้อความว่า
    /** Direct install plugin **/
    define('FS_METHOD', 'direct');
    1. cd /var/www/html/lsc/wp-content
    2. mkdir uploads upgrade languages
    3. sudo chown -R username:www-data uploads upgrade languages themes plugins
    4. chmod -R g+w uploads upgrade languages themes plugins เพื่อให้สามารถติดตั้ง plugin theme และ upload ไฟล์ขึ้นเว็บได้ เมื่อติดตั้ง themes และ plugins ได้จนพอใจแล้วสั่งคำสั่งต่อไปนี้ chmod -R g-w upgrades languages themes plugins
    5. จบส่วนติดตั้ง WordPress
  • Ubuntu OVAL

    เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่สำหรับอูบุนตู

    เพิ่มเติม สำหรับ Ubuntu 24.04 10Jun2024

    เมื่อได้รับทราบข้อมูลช่องโหว่ของลีนุกซ์อูบุนตูที่ดูแลอยู่จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุด
    จึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ Ubuntu มีมาให้ด้วยคำสั่ง
    sudo apt update
    sudo apt dist-upgrade
    แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้วตามคำแนะนำของ Ubuntu ที่มีประกาศข่าวเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับอูบุนตูไว้ที่ https://ubuntu.com/security/notices

    อูบุนตูมี Ubuntu OVAL (Open Vulnerability and Assessment Language) ไว้ให้ใช้ตรวจสอบช่องโหว่ ซึ่งใช้โปรแกรมชื่อ OpenSCAP เพื่อทำรายงานช่องโหว่ให้ดูได้เอง ตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. Login เข้าไปที่เครื่องอูบุนตูที่ใช้อินเทอร์เน็ตได้
    2. Download ด้วยการใช้คำสั่ง
    wget https://security-metadata.canonical.com/oval/com.ubuntu.$(lsb_release -cs).usn.oval.xml.bz2

    หรือเลือก Download ให้ตรง Ubuntu Version จากตัวเลือกที่
    https://security-metadata.canonical.com/oval/
    โดยให้เลือกแบบ CVE เพื่อจะได้เปรียบเทียบรายการช่องโหว่กับรายงาน Nessus ที่แสดงด้วย CVE เช่นกัน
    1. คลายไฟล์ที่ถูกบีบอัดลดขนาดที่ Download มาได้ ด้วยการใช้คำสั่ง
    bunzip2 com.ubuntu.$(lsb_release -cs).usn.oval.xml.bz2
    1. ใช้โปรแกรม OpenSCAP เพื่ออ่านเงื่อนไขการตรวจสอบช่องโหว่ต่างๆ บนเครื่อง และสร้างไฟล์รายงานผลชื่อ report.html ด้วยการใช้คำสั่ง
    oscap oval eval --report report.html com.ubuntu.$(lsb_release -cs).usn.oval.xml
    1. เพิ่มเติม จากคุณ เกรียงไกร 15Feb2023 => บางเครื่องต้องติดตั้ง libopenscap8 ก่อนด้วยคำสั่ง sudo apt install libopenscap8 ไม่งั้นใช้ oscap ไม่ได้
    2. เพิ่มเติม สำหรับ Ubuntu 24.04 10Jun2024 => ต้องติดตั้ง openscap-scanner ด้วยคำสั่ง sudo apt install openscap-scanner ไม่งั้นใช้ oscap ไม่ได้
    3. ใช้โปรแกรม เว็บบราวเซอร์ เพื่อเปิดอ่านไฟล์รายงานผลชื่อ report.html

    ตัวอย่างการใช้งานจริงกับเครื่องบริการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต Ookla Server ซึ่งใช้เป็นตัวอย่างแสดง

    1. Ubuntu Server 20.04 5.4.0-121#137 15Jun2022 ก่อนจะใช้คำสั่ง sudo apt dist-upgrade เพื่อปรับปรุงความปลอดภัย
      ในรายงานแสดงจำนวน 14 #X ที่ยังมีช่องโหว่ พร้อมด้วยรายการช่องโหว่หมายเลข USN และ CVE ต่างๆ โดยละเอียดตามรูป
    2. Ubuntu Server 20.04 5.4.0-137#154 5Jan2023 เมื่อได้ใช้คำสั่ง sudo apt dist-upgrade ปรับปรุงความปลอดภัยและรีบูทเครื่องแล้ว
      ในรายงานแสดงจำนวน 2 #X ที่ยังมีช่องโหว่ พร้อมด้วยรายการช่องโหว่หมายเลข USN และ CVE ต่างๆ โดยละเอียดตามรูป
    3. เนื่องจากส่วนการปรับปรุงความปลอดภัยอีก 2 รายการที่ยังเหลืออยู่นั้นทาง Ubuntu จะมีบริการให้เฉพาะกับสมาชิก Ubuntu Pro https://ubuntu.com/pro เท่านั้น (จะเขียนคำแนะนำเพิ่มให้ครับ)
      ซึ่งหลังจากทำตามขั้นตอนใส่ คีย์ ของ Ubuntu Pro ลงบน เครื่องอูบุนตูของเราเรียบร้อย และอัพเดตความปลอดภัยเพิ่มจากสิทธิ์ Ubuntu Pro ในรายงาน OVAL จะได้รับการอัพเดตปิดกั้นช่องโหว่อย่างครบถ้วน ตามรูป
    4. ถึงแม้ว่าวันนี้ อูบุนตู ของท่านจะได้รับการอัพเดตล่าสุดแล้ว แต่ด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ก็อย่าลืมติดตามอ่านข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์ และหมั่นปรับปรุง อัพเดต อยู่เป็นประจำครับ
  • ติดตั้ง haproxy บน Ubuntu Desktop

    เป็นขั้นตอนที่ทำขึ้น เพื่อทำการ redirect port 80 เข้าไปยัง web server ใน VM (OpenNebula miniONE on KVM) ที่เราติดตั้งไว้ในเครื่อง Ubuntu Desktop ในตัวอย่างนี้ Ubuntu Desktop มี IP 192.168.1.70 และ VM มี IP 172.16.100.3

    ขั้นตอน

    1. เปิด Terminal และติดตั้ง haproxy ด้วยคำสั่ง sudo apt install haproxy
    2. เข้าทำงานสิทธิ root ด้วยคำสั่ง sudo  su  –
      และไปในไดเรกทอรี cd  /etc/haproxy
      เก็บสำรองไฟล์ config ไว้ก่อน ด้วย cp  haproxy.cfg  haproxy.cfg.orig
      เข้าไปแก้ไขไฟล์ vi  haproxy.cfg
    3. เพิ่มบรรทัดเหล่านี้ ต่อท้ายบรรทัด errorfile 504 /etc/haproxy/errors/504.http

    frontend www-http

       bind *:80

       mode http

       acl is_cms path -i -m beg /cms/

       use_backend be_cms if is_cms

    backend be_cms

       option forwardfor

       server cms 172.16.100.3:80

    1. ทำการ restart haproxy และ ดู status
    2. ทดสอบการเข้าใช้งานจากเครื่องใน network เดียวกันกับเครื่อง Ubuntu Desktop ของเรา ไปที่ http://REAL-IP/cms/ 

    จบครับ

  • สร้าง VM OpenNebula miniONE on KVM ตอนที่ 2 add one-context

    เป็นขั้นตอนติดตั้ง one-context ต่อจากตอนที่แล้ว

    ขั้นตอน

    1. คำสั่ง sudo su – และ คำสั่ง 

    wget https://github.com/OpenNebula/addon-context-linux/releases/download/v5.12.0.2/one-context_5.12.0.2-1.deb

    1. ลบ cloud-init ด้วยคำสั่ง apt-get purge -y cloud-init
      ติดตั้งด้วยคำสั่ง dpkg -i one-context_*deb || apt-get install -fy
    2. เมื่อเสร็จ ให้ออกจาก web console และ คลิก Power off hard
    3. เอา CD-ROM ออก
    4. เมื่อถึงตรงนี้ VM นี้ก็พร้อมใช้เป็นต้นแบบในครั้งต่อไปได้ เราจึง Save as Template สมมติให้ชื่อว่า ubuntu-server-20.04
    5. ปรับแต่ VM Template เพื่อเติมสิ่งที่เกี่ยวกับ Context โดยคลิกปุ่ม Update
    6. คลิกที่ Context และ คลิกที่ตัวเลือกทุกอัน
    7. ใส่ Custom vars คือ SET_HOSTNAME, USERNAME และ PASSWORD
    8. ตอนนี้ VM Template นี้ ก็พร้อมใช้งาน เพื่อสร้าง VM ใหม่อันต่อไป โดยจะคลิกที่คำว่า Instantiate ก็ได้
    9. เลือกได้ว่าจะให้สร้างทีละกี่ instances ส่วนชื่อให้ละไว้ไม่ต้องใส่ก็ได้
    10. จะได้ชื่อจาก ชื่อ VM Template และต่อท้ายด้วย VMID
    11. คลิกที่ web console เพื่อเข้าไปใช้งาน VM
    12. จะได้หน้านี้
    13. ทดสอบ login ด้วย username ชื่อ papa ตามที่เราตั้งใน Context
    14. หน้า Dashboard หลังจากที่เราสร้างเสร็จ 1 ตัว
    15. หากเข้าหน้าเว็บ Sunstone ไม่ได้เพราะลืม password ของ username oneadmin ดูที่นี่
    16. ถึงตรงนี้ เราควรจะ ssh จาก ubuntu desktop เข้าไปยัง VM ได้ แต่หากเราไม่สามารถ ssh เข้าไปยัง VM เพราะว่า ssh host key ไม่มีเนื่องจากข้อผิดพลาดในขั้นตอนติดตั้ง Ubuntu server ให้สร้างด้วยคำสั่ง ssh-keygen -A ในเครื่อง VM แล้ววนกลับไปสร้าง VM Template ใหม่ 

    ในตอนต่อไปก็จะเป็นการติดตั้ง CMS Web Site เพื่อใช้ในการทดสอบการให้บริการ TCP port 80 ผ่าน HAPROXY ของเครื่อง ubuntu desktop

  • สร้าง VM OpenNebula miniONE on KVM

    หลังจากติดตั้ง server เสร็จแล้ว ตอนนี้ เรามาลองสร้าง VM กันสัก 1 ตัว หลักการคือ สร้าง image ที่เป็น disk เปล่า ๆ จากนั้นสร้าง VM Template ให้มาใช้ image นี้ และกำหนดค่า VM Template ให้เสร็จ แล้วสร้าง VM จาก VM Template นั้น

    ขั้นตอน

    1. สร้าง Image เปล่า สมมติตั้งชื่อว่า DISK8GB กำหนด Type คือ Generic storage datablock และเป็นแบบ Empty disk image กำหนดขนาด 8 GB
    2. สร้าง Image ที่เป็น CD-ROM สมมติตั้งชื่อว่า iso-ubuntu-focal กำหนด Type คือ Readonly CD-ROM โดย Upload จากฮาร์ดดิสก์ และเลือก ubuntu-20.04.1-live-server-amd64.iso
    3. ตอนนี้เตรียมของ 2 อย่าง พร้อมแล้ว
    4. สร้าง VM Template ชื่อ Install new ubuntu ใช้ Hypervisor ชนิด KVM กำหนด Memory 768 MB (เพิ่มได้) 
    5. กำหนดค่า Storage ให้ DISK0 ใช้ image ชื่อ DISK8GB
    6. กำหนดค่า Network ใช้อันที่มีอยู่แล้วคือ vnet (สร้างเองได้ภายหลัง)
    7. คลิก Create เพื่อสร้าง VM Template
    8. จะได้ดังรูป
    9. สร้าง VM จาก VM Template ที่สร้างในข้อที่แล้ว คลิกที่ Instances > VMs และคลิกปุ่ม +
    10. เลือก VM Template ชื่อ install new ubuntu
    11. จะได้ VM ชื่อ install new ubuntu-0
    12. แต่ตอนนี้ เรายังไม่ได้ใส่ CD-ROM เพื่อติดตั้ง ให้คลิก Power Off hard
    13. คลิกที่ VM 
    14. คลิกที่ Storage และ คลิก Attach disk
    15. คลิกเลือก image ที่เป็น CD-ROM
    16. ตอนนี้ เรามี disk และ CD-ROM แล้ว
    17. คลิก Config เพื่อเข้าไป Update configuration
    18. ตั้งค่า OS&CPU Boot order ให้ boot CD-ROM
    19. เปิด VM
    20. เข้าไปทำงานทางหน้า Web console 
    21. รอ
    22. ติดตั้ง Ubuntu Server ลงใน VM
      (ติดตั้ง Ubuntu Server 20.04 ใน VM ของ miniONE KVM)

    ตอนต่อไปเป็นขั้นตอนติดตั้ง one-context เพิ่มลงใน VM อ่านต่อเรื่องนี้ สร้าง VM OpenNebula miniONE on KVM ตอนที่ 2 add one-context

  • ติดตั้ง Ubuntu Server 20.04 ใน VM ของ miniONE KVM

    เป็นขั้นตอนสร้าง VM ที่เป็น Ubuntu Server 20.04 ใน VM ของ miniONE KVM

    ขั้นตอน

    1. เลือกใช้ภาษาอังกฤษในการติดตั้ง
    2. เลือก keyboard layout 
    3. ตั้งค่า IP Address แบบ static เลือก Interface name และ คลิก Edit IPv4
    4. เลือก Method แบบ Manual
    5. ใส่ค่า IP Address
    6. ไปต่อ คลิก Done
    7. ไปต่อ คลิก Done
    8. ตั้ง Mirror address มาที่ http://th.archive.ubuntu.com/ubuntu
    9. Storage configuration เลือก Use an entire disk 
    10. ไปต่อ คลิก Done
    11. Confirm destructive action เลือก Continue
    12. กำหนดค่า name, username และ password
    13. เลือก Install OpenSSH server และคลิก Done
    14. Featured Server Snaps ไม่เลือก ไปต่อ คลิก Done
    15. รอ
    16. เมื่อเสร็จ คลิก Reboot
    17. ในขั้นตอน downloading and installing security updates หากนานมาก จะไม่รอ ก็คลิก Cancel update and reboot
    18. เมื่อกลับเข้าใช้งาน ต้อง update เองสักรอบ เพื่อลงโปรแกรมอื่น ๆ ได้
    19. และอาจเป็นผลให้ติดตั้ง ssh host key ไม่สำเร็จ ตรวจสอบด้วยคำสั่ง ls -l /etc/ssh
    20. แก้ไขโดยสร้าง ssh host key ด้วยคำสั่ง ssh-keygen -A

    จบขั้นตอนสร้าง Ubuntu Server

  • ติดตั้ง Ubuntu Desktop 20.04

    ขอแนะนำวิธีการติดตั้ง Ubuntu Desktop เพื่อเตรียมใช้เล่าเรื่องราวในตอนต่อ ๆ ไป เพื่อให้เห็นภาพว่า เราสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Ubuntu ที่เป็น Graphic User Interface ได้อย่างง่าย ๆ เลือก minimal installation ให้มีแค่ Firefox Web Browser

    ขั้นตอน

    1. นำ USB Drive ที่มี Ubuntu Desktop ไป Boot ที่โน้ตบุ๊ค
    2. หน้าต่างแรก จะมีคำถามให้เลือก เลือก Install Ubuntu
    3. ค่า Keyboard layout ใช้ค่า default คือ English 
    4. จะเลือกติดตั้งแบบ Minimal installation
    5. เครื่องนี้พร้อมให้ล้างฮาร์ดดิสก์ได้ ก็จะเลือก Erase disk and install Ubuntu
    6. กด Continue เพื่อยืนยันติดต้้งลงฮาร์ดดิสก์ได้
    7. เลือกชื่อเมือง Bangkok
    8. ตั้งชื่อผู้ใช้ ชื่อเครื่อง ชื่อ username และ password
    9. เริ่มติดตั้ง  รอ
    10. เมื่อเสร็จ คลิก Restart Now
    11. ดึง USB Drive ออก แล้วกด Enter
    12. เมื่อ Boot เข้าได้สำเร็จ จะมีหน้าต่างให้เลือก username ที่ใช้
    13. ในครั้งแรกที่เข้าใช้ จะมีตัวเลือกว่า จะใช้ user แบบ Single Sign-On ของ Ubuntu หรือ จะใช้อย่างอื่นก็เลือกเอา หรือจะไม่ทำอะไรก่อน ก็คลิก Skip
    14. คลิก Next อีก 2 หน้าต่าง


    15. หน้านี้ หากเรายอมให้ข้อมูล Location ก็คลิกปุ่มเพื่อสไลด์เปิด
    16. คลิก Done 
    17. จะมีหน้าต่าง Software Updater ให้คลิก Install Now
    18. ทุกครั้งที่จะมีการเพิ่ม/ลบโปรแกรม จะต้องให้ข้อมูลว่า เรามีสิทธิจัดการ โดยใส่รหัสผ่าน ทุกครั้ง
    19. รอให้ update เสร็จ
    20. เมื่อเสร็จ คลิก Restart Now
    21. เมื่อ Boot กลับเข้ามาในครั้งหลังนี้ ก็ใช้งานได้แล้ว โดยคลิกที่ปุ่ม 9 จุด เพื่อดูว่ามีอะไรให้ใช้งานบ้าง

  • Grid infrastructure 18c ตอน 1

    รอบนี้จะมาติดตั้ง Oracle grid infrastructure 18c กัน

    สิ่งที่ต้องเตรียม

    • Vmware 2 เครื่อง โดยแต่ละเครื่องมีคุณสมบัติดังนี้ (ปรับลดตามความเหมาะสมได้)
      • 2 CPU 64 core
      • 128 GB Memory
      • HDD 2 ลูก
        • 300GB
        • 1TB
      • Shared Storage ครั้งนี้เลือกใช้ iSCSI 6 ลูกลูกละ 1TB
      • Network Card 3 ใบ
      • IP address โดย 4 IP วงเดียวกัน 3 IP สำหรับชื่อเรียกใน DNS วงเดียวกันกับ 4 IP แรก 2 IP คนละวง
        • rac1 1 IP สำหรับการ์ดใบแรก เป็น IP ประจำเครื่อง หรือเรียก Public IP (ens192)
        • rac2 1 IP สำหรับการ์ดใบแรก เป็น IP ประจำเครื่อง หรือเรียก Public IP (ens192)
        • rac1-vip 1 IP เป็น virtual IP ไม่ต้องใส่ในการ์ดแลน วงเดียวกันกับ IP ประจำเครื่อง เรียก Virtual IP
        • rac2-vip 1 IP เป็น virtual IP ไม่ต้องใส่ในการ์ดแลน วงเดียวกันกับ IP ประจำเครื่อง เรียก Virtual IP
        • rac-scan 3 IP ต้องจดชื่อนี้ใน DNS ด้วยโดยจดเป็น round robin วงเดียวกันกับ IP ประจำเครื่อง เรียก Scan name
        • rac1-priv 1 IP สำหรับการ์ดใบที่สอง เป็น IP สำหรับคุยกันเองใน cluster คนละวงกับ IP ประจำเครื่อง เรียก Private IP (ens224) วงเดียวกับ rac2-priv
        • rac2-priv 1 IP สำหรับการ์ดใบที่สอง เป็น IP สำหรับคุยกันเองใน cluster คนละวงกับ IP ประจำเครื่อง เรียก Private IP (ens224) วงเดียวกับ rac1-priv
        • rac1-storage 1 IP สำหรับเชื่อมต่อ iSCSI ติดต่อผู้ดูแล iSCSI (ens256)***
        • rac2-storage 1 IP สำหรับเชื่อมต่อ iSCSI ติดต่อผู้ดูแล iSCSI (ens256)***
    • Download Software
    • Oracle Enterprise Linux 7.9
      • เลือกติดตั้งดังรูปได้แก่
        • Date & Time เลือก Timezone ที่ถูกต้อง Asia/Bangkok
        • Keyboard English (US), Thai
        • Software Selection เลิอกเป็น Server with GUI
        • KDUMP เลือก Disabled
        • Security Policy เลือก ปิด เป็น No profile selectd
        • ตั้งค่า network ตามที่เขียนข้างบน
    • ขั้นตอนแบ่งดิสก์
    • เริ่มการจัดการ iSCSI ในขั้นตอนนี้
    Device Selection
    • กด Add a disk
    Add iSCSI
    • กด Add iSCSI Target…
    • ใส่ IP Address ของ iSCSI และ iSCSI Initiator Name ที่ได้จาก iSCSI Admin
    ADD iSCSI STORAGE TARGET
    • กด Start Discovery
    • ทำเครื่องหมายถูกหน้าดิสก์ที่ขึ้นมาทั้งหมด
    ADD iSCSI STORAGE TARGET
    • กด Log In จะได้
    Installation Destination
    • กดเลือกทั้งหมดแล้วกด Done จะได้
    INSTALLATION DESTINATION
    • เลือกเฉพาะ disk ขนาด 300GB และเลือก I will configure partitioning กด Done
    INSTALLATION DESTINATION
    • ตอนแบ่ง Partition เลือกเป็น LVM
      • /boot 1GB file
      • /boot/efi 200MB (default) เนื่องจากเลือก boot แบบ efi
      • / 282.8 GB file system ext4
      • swap 16GB
    Manual Portioning
    • กด Done ได้ดังรูป
    • กด Accept Changes
    • กด Begin Installation
    • ขั้นตอนสร้าง User สร้างตามรูป
    Configuration 
    • คลิก Advanced…
    • คลิกถูกในช่องสี่เหลี่ยมทั้งสองช่อง พิมพ์ 54321 ทั้งสองช่อง
    • ในช่อง Add user to the following groups: เปลี่ยนเป็นดังนี้
    wheel,oinstall(54321),oper(54322),dba(54323),backupdba(54324),dgdba(54325)
    ,kmdba(54326),asmdba(54327), asmoper(54328),asmadmin(54329),racdba(54330)
    • รอจนติดตั้งเสร็จ reboot ทำแบบเดียวกันที่ rac2
    • เริ่มการตั้งค่าที่ rac1
    • ล็อคอินด้วยผู้ใช้ oracle เปิด terminal แล้วพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ จะขึ้นให้ใส่ password ให้ใส่ password ของ oracle
    sudo -i
    • แก้ไขไฟล์ host ด้วยคำสั่ง
    vi /etc/hosts
    • แก้ไขให้อยู่ดังรูป
    <IP-address>  <fully-qualified-machine-name>  <machine-name>
    • ปิด selinux แก้ไขแฟ้ม /etc/selinux/config
    vi /etc/selinux/config
    • เปลี่ยน SELINUX=enforcing เป็น SELINUX=permissive
    • บันทึกแล้วออกมารันคำสั่ง
     setenforce Permissive
    • ปิด firewall ด้วยคำสั่ง
    systemctl stop firewalld
    systemctl disable firewalld
    • เปิดการทำงานของ NTP
    systemctl enable chronyd
    systemctl restart chronyd
    chronyc -a 'burst 4/4'
    chronyc -a makestep
    • ติดตั้งซอฟท์แวร์ที่จำเป็นสำหรับ Oracle 18c
    yum install oracle-database-preinstall-18c -y
    yum install binutils -y
    yum install compat-libstdc++-33 -y
    yum install compat-libstdc++-33.i686 -y
    yum install gcc -y
    yum install gcc-c++ -y
    yum install glibc -y
    yum install glibc.i686 -y
    yum install glibc-devel -y
    yum install glibc-devel.i686 -y
    yum install ksh -y
    yum install libgcc -y
    yum install libgcc.i686 -y
    yum install libstdc++ -y
    yum install libstdc++.i686 -y
    yum install libstdc++-devel -y
    yum install libstdc++-devel.i686 -y
    yum install libaio -y
    yum install libaio.i686 -y
    yum install libaio-devel -y
    yum install libaio-devel.i686 -y
    yum install libXext -y
    yum install libXext.i686 -y
    yum install libXtst -y
    yum install libXtst.i686 -y
    yum install libX11 -y
    yum install libX11.i686 -y
    yum install libXau -y
    yum install libXau.i686 -y
    yum install libxcb -y
    yum install libxcb.i686 -y
    yum install libXi -y
    yum install libXi.i686 -y
    yum install make -y
    yum install sysstat -y
    yum install unixODBC -y
    yum install unixODBC-devel -y
    yum install zlib-devel -y
    yum install zlib-devel.i686 -y
    • ปรับปรุงรุ่นของ software
    yum update -y
    • ยกเลิก virbr0 interface
    systemctl stop libvirtd.service
    systemctl disable libvirtd.service
    • จัดการกับ disk ลูก 1TB
    fdisk /dev/sdb
    • กด n แล้ว enter แล้วกด enter 4 ครั้ง
    • กด t แล้ว enter แล้วเลือก 31 กด enter
    • กด w enter
    • สร้าง sdb1 ให้เป็น LVM Physical volume
    pvcreate /dev/sdb1
    • สร้าง LVM volume group ชื่อ vg_u01
    vgcreate vg_u01 /dev/sdb1
    • สร้าง LVM logical volume group ชื่อ lv_u01 ใน volume group ที่ชื่อ vg_u01 โดยให้มีขนาดทั้งหมดที่มีอยู่ใน vg_u01
    lvcreate -n lv_u01 -l 100%FREE vg_u01
    • format LVM logical volume group lv_u01 เป็นแบบ ext4 มี Label ว่า u01
    mkfs.ext4 -L u01 /dev/vg_u01/lv_u01
    • สร้าง /u01
    mkdir /u01
    • แก้ไขแฟ้ม /etc/fstab เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ต่อท้าย
    LABEL=u01               /u01                    ext4    defaults        1 1
    • สั่งให้ mount /u01 ด้วยคำสั่ง
    mount -a
    • ตรวจสอบว่า mount ได้หรือไม่
    df -h
    • ได้ผลประมาณว่า
    • จบการจัดการ disk 1TB
    • ต่อมาสร้างโฟลเดอร์ ที่จำเป็นสำหรับ grid infrastructure และ oracle database
    mkdir -p /u01/app/18.0.0.0/grid
    mkdir -p /u01/app/oracle/product/18.0.0.0/db_1
    chown -R oracle:oinstall /u01/app
    chmod -R 775 /u01/app
    • พิมพ์ logout เพื่อออกจาก user root แล้วกลับเป็น user oracle
    • สร้างโฟลเดอร์ /home/oracle/scripts
    mkdir -p /home/oracle/scripts
    • สร้างแฟ้ม /home/oracle/scripts/setEnv.sh มีข้อความว่า โดย rac1.x.x.x คือชื่อเต็มของ rac1 หรือ rac2 ตามเครื่องที่ทำ ORACLE_SID ก็ต้องเป็น regist1 สำหรับ rac1 และ regist2 สำหรับ rac2
    cat > /home/oracle/scripts/setEnv.sh <<EOF
    # Oracle Settings
    export TMP=/tmp
    export TMPDIR=\$TMP
    export ORACLE_HOSTNAME=rac1.x.x.x  #เปลี่ยน   
    export ORACLE_UNQNAME=regist   #เปลี่ยน
    export ORACLE_BASE=/u01/app/oracle
    export GRID_HOME=/u01/app/18.0.0.0/grid
    export DB_HOME=\$ORACLE_BASE/product/18.0.0.0/db_1
    export ORACLE_HOME=\$DB_HOME
    export ORACLE_SID=regist1 #เปลี่ยน
    export ORACLE_TERM=xterm
    export BASE_PATH=/usr/sbin:\$PATH
    export PATH=\$ORACLE_HOME/bin:\$BASE_PATH
    export LD_LIBRARY_PATH=\$ORACLE_HOME/lib:/lib:/usr/lib
    export CLASSPATH=\$ORACLE_HOME/JRE:\$ORACLE_HOME/jlib:\$ORACLE_HOME/rdbms/jlib
    alias grid_env='. /home/oracle/scripts/grid_env'
    alias db_env='. /home/oracle/scripts/db_env'
    EOF
    • เพิ่ม script /home/oracle/scripts/setEnv.sh ให้ทำงานทุกครั้งที่ Login
    cat >> /home/oracle/.bashrc <<EOF
    . /home/oracle/scripts/setEnv.sh
    EOF
    • สร้างแฟ้ม /home/oracle/scripts/grid_env และแฟ้ม /home/oracle/scripts/db_env ด้วยคำสั่ง
    cat > /home/oracle/scripts/grid_env <<EOF
    export ORACLE_SID=+ASM1
    export ORACLE_HOME=\$GRID_HOME
    export PATH=\$ORACLE_HOME/bin:\$BASE_PATH
    export LD_LIBRARY_PATH=\$ORACLE_HOME/lib:/lib:/usr/lib
    export CLASSPATH=\$ORACLE_HOME/JRE:\$ORACLE_HOME/jlib:\$ORACLE_HOME/rdbms/jlib
    EOF
    
    cat > /home/oracle/scripts/db_env <<EOF
    export ORACLE_SID=regist1
    export ORACLE_HOME=\$DB_HOME
    export PATH=\$ORACLE_HOME/bin:\$BASE_PATH
    export LD_LIBRARY_PATH=\$ORACLE_HOME/lib:/lib:/usr/lib
    export CLASSPATH=\$ORACLE_HOME/JRE:\$ORACLE_HOME/jlib:\$ORACLE_HOME/rdbms/jlib
    EOF
    • reboot ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ หากขึ้นให้ใส่ password ให้กรอก password ของ oracle
    sudo reboot
    • ทำซ้ำที่ rac2 อีกเครื่อง
    https://sysadmin.psu.ac.th/2021/01/18/grid-infrastructure-18c-2/