pGina fork 3.9.9.12 configuration

pGina 3.9.9.12 ส่ง RADIUS accounting ได้ และทำ option Remove account and profile after logout ได้ และ ปุ่ม Shutdown ก็ log off user ให้ด้วย (โดยตั้งค่าที่ Local Machine Plugin จะมีให้ ติ๊ก เลือก Notification เพิ่มมาอีกอัน) นอกจากนี้ก็มีเพิ่ม plugins อีกหลายตัว พร้อมแก้บั๊ก ที่น่าสนใจคือ scripting plugin ทำให้ customize ได้มากขี้น แต่ผู้เขียนบทความนี้ยังไม่ได้ลอง เวอร์ชั่น 3.9.9.12 ดาวน์โหลดได้จาก http://mutonufoai.github.io/pgina/index.html การตั้งค่าสำหรับทำเป็น Windows Authentication ในเครื่องคอมที่เป็น Windows 10 ผมได้ทำ screen capture มาเฉพาะที่ผมได้ใช้งาน ซึ่งก็คือ Local Machine, RADIUS plugin ดังนี้ หน้าแรกคือแท็บ General จะแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมพร้อมทำงาน ให้ดูที่ข้อความที่แสดงเป็นสีเขียวใต้ข้อความ pGina Service status และตัวเลือกที่ผมเลือกใช้คือ Use original username to unlock computer คือหากหลุดไปที่หน้า screen saver ก็ปลดได้ด้วย username ที่ login นั้น แท็บถัดไปคือ แท็บ Plugin Selection อันแรกที่จะใช้คือ Local Machine คือ user ที่สร้างขึ้นภายใน Windows นั่นเอง สังเกตจะมีตัวเลือกที่ Authentication, Gateway และ Notification (เพิ่มมาใหม่) และที่ใช้อีกอันคือ RADIUS Plugin จากนั้นให้เลือก Local Machine แล้วให้คลิกปุ่ม Configure จะได้ค่าดีฟอลต์ ดังรูปข้างล่างนี้ ผมจะใช้ค่าตัวเลือก Remove account and profile after logout เพื่อที่ไม่ต้องเก็บ user profile ที่เป็น user จาก user database ภายนอก เช่น จาก RADIUS server เป็นต้น และ หากต้องการให้ user นั้นมีสิทธิมากกว่า User ทั่วไป ก็ตั้ง Mandatory Group เช่น ตั้งเป็น Administrators หรือ ใส่ชื่อกลุ่ม Guests ไว้ เมื่อเวลาผู้ใช้ login ก็จะมีสิทธิแค่ Guest ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มไม่ได้ เป็นต้น เราจะไม่ใช้ option Remove account and profile after logout ก็ได้โดยให้เก็บ user account ไว้ ก็จะทำให้การเข้าใช้งาน login ในครั้งต่อไปเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาสร้าง user profile ใหม่ แต่ก็ต้องเตรียม disk ไว้ให้ใหญ่เพียงพอ หรือ ทำรอบ cloning ใหม่ให้เร็วขึ้น ต่อไปก็มาถึงตั้งค่า RADIUS plugin หลังจากเลือก Authentication และ Notification แล้วจากนั้นคลิกปุ่ม Configure จะได้ค่าดีฟอลต์รวมกับที่แก้ไขแล้ว ดังรูป ผมจะเลือกใช้และใส่ค่าต่าง ๆ เหล่านี้ครับ เลือก Enable Authentication เพื่อสอบถาม username/password เลือก

Read More »

ขั้นตอนการติดตั้ง Django ด้วย Python3 บน Windows

ขั้นตอนการติดตั้ง Django ด้วย Python3 บน Windows ติดตั้ง Python จาก https://www.python.org/downloads/ เปิด cmd โดย Run As Administrator ใช้คำสั่ง python -m pip install django ทดสอบโดยใช้คำสั่ง python -m django –version สร้าง Project ด้วยคำสั่ง django-admin startproject mysite เข้าไปใน project “mysite” directory ด้วยคำสั่ง cd mysite ทดสอบ runserver python manage.py runserver เปิด website: http://127.0.0.1:8000/ เดี๋ยวมาต่อเรื่อง การสร้าง App, การใช้ Database, การ Authentication และการสร้าง REST API เพื่อใช้งานกับ OAuth2

Read More »

Choose Network Type In VirtualBox

เมื่อต้องไปจัดอบรม และต้องใช้ Oracle VM VirtualBox สำหรับสร้าง Virtual Machine (VM) จำนวนหนึ่ง (มากกว่า 1 ตัว ฮ่า ๆ) เราจำเป็นจะต้องรู้ว่า สภาพแวดล้อมของห้องบริการคอมพิวเตอร์ที่เราไปขอใช้งานนั้น จัด IP ให้กับเครื่อง Windows แบบใด เช่น ในกรณีที่มีการปล่อย DHCP IP แบบเหลือเฟือ การเลือกชนิด network ของ VM แต่ละตัว ก็ง่าย เราก็เลือกตั้งค่าเป็น Bridges ซึ่งแบบนี้ VM แต่ละตัวก็จะได้ IP อยู่ในชุดเดียวกันกับ Windows แต่หากจัด IP แบบตายตัวให้กับ MAC Address ของ PC นั้นเลย และไม่ปล่อย DHCP IP เพิ่มให้ อย่างนี้ เราก็ต้องออกแบบว่าจะให้ VM (Guest) เหล่านั้นใช้ IP อะไร จะทำงานร่วมกันได้อย่างไร และจะให้ VM เหล่านั้น ติดต่อกับ Windows (Host) ด้วยหรือไม่ แบบแรก NAT Network แบบนี้ VirtualBox จะสร้าง network จำลองขึ้นมาในโปรแกรมมันเองเท่านั้น ผลลัพธ์คือ VM (Guest) ทุกตัวจะทำงานร่วมกันได้ แต่จะติดต่อกับ Windows (Host) ไม่ได้ แบบนี้ VM (Guest) ทุกตัวจะได้รับ IP อยู่ในชุดที่ใช้สำหรับ NAT นั่นคือ 10.0.2.0/24 และ VM แต่ละตัวเมื่อได้ IP จะได้ค่า IP ของ DNS server ที่เครื่อง Windows ใช้งานมาให้ด้วย ทำให้ VM สามารถติดต่อไปใช้งาน Internet ได้ ตัวอย่างเช่น VM 2 ตัว ตั้งค่า network ชนิด NAT Network VM ตัวที่ 1 จะได้ IP 10.0.2.6 และได้ค่า IP DNS Server ชุดที่ใช้ใน Windows (Host) ใช้งาน Internet ได้เลย VM ตัวที่ 2 ได้ IP 10.0.2.15 และใช้คำสั่ง ping ไปยัง VM ตัวที่ 1 ได้ แต่ Windows (Host) จะใช้คำสั่ง ping VM ทั้ง 2 ตัว ไม่ได้ สำหรับวิธีการตั้งค่า NAT Network ก็เข้าไปที่ File > Preferences > Network  และเราสามารถแก้ หรือ เพิ่มใหม่ ได้ แบบที่สอง Host-Only Adapter แบบนี้ VirtualBox จะสร้าง Virtual network adapter เพิ่มลงใน Windows OS ให้ด้วย ผลลัพธ์คือ VM (Guest) ทุกตัวจะทำงานร่วมกันได้ และติดต่อกับ Windows (Host) ได้ แต่แบบนี้ VM (Guest) ทุกตัวจะได้รับ IP ในชุด 192.168.56.0/24 (ค่า default

Read More »

วิธีใช้ Google Sheets เป็นฐานข้อมูล เพื่อการเฝ้าระวังระบบ โดยการใช้งานผ่าน Google API Client Library for Python

ต่อจาก วิธีการใช้ Google Sheets เป็นฐานข้อมูล การใช้งาน Google Drive API ด้วย Google Client Library for Python วิธีการ Upload ไฟล์ไปบน Google Drive File Stream ด้วย Google Client Library for Python คราวนี้ ใครมีข้อมูลที่เกิดขึ้นในเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร แล้วต้องการส่งไปเขียนเก็บไว้ใน Google Sheets แบบต่อท้าย (Append) เช่น ในตัวอย่างนี้ วัดระยะเวลาการโอนย้ายข้อมูล เปรียบเทียบระหว่าง rsync เพื่อสำรองข้อมูลไปไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำรองที่ต่างวิทยาเขต กับ การนำไปเก็บไว้ใน Google Drive ตามวิธีการที่กล่าวไว้ใน วิธีการ Upload ไฟล์ไปบน Google Drive File Stream ด้วย Google Client Library for Python ผมได้เขียนโค๊ดเอาไว้ที่ https://github.com/nagarindkx/google.git สามารถโคลนไปใช้งานได้ (ช่วย Reference กันด้วยนะครับ) ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้ ใช้คำสั่ง git clone https://github.com/nagarindkx/google.git cd google ติดตั้ง python, pip, google-api-python-client ตามที่เขียนไว้ใน การใช้งาน Google Drive API ด้วย Google Client Library for Python และสร้างโปรเจคใน Google Developer Console เปิดใช้งาน Google Sheets API, สร้าง Credentials > OAuth Client ID แล้ว download JSON มาไว้ในชื่อว่า client_secret.json รูปแบบคำสั่งคือ $ python append2gsheet.py –help usage: append2gsheet.py [-h] [–auth_host_name AUTH_HOST_NAME] [–noauth_local_webserver] [–auth_host_port [AUTH_HOST_PORT [AUTH_HOST_PORT …]]] [–logging_level {DEBUG,INFO,WARNING,ERROR,CRITICAL}] –data DATA –sheetid SHEETID [–range RANGE] [–value-input-option VALUEINPUTOPTION] optional arguments: -h, –help show this help message and exit –auth_host_name AUTH_HOST_NAME Hostname when running a local web server. –noauth_local_webserver Do not run a local web server. –auth_host_port [AUTH_HOST_PORT [AUTH_HOST_PORT …]] Port web server should listen on. –logging_level {DEBUG,INFO,WARNING,ERROR,CRITICAL} Set the logging level of detail. –data DATA CSV format –sheetid SHEETID Google Sheets ID –range RANGE Simply Sheet Name like ‘Sheet1!A1’ –value-input-option VALUEINPUTOPTION Optional: [RAW,USER_ENTERED] สิ่งที่ต้องมี คือ Google Sheets ที่สร้างไว้แล้ว ให้สังเกตที่ URL ตัวข้อความที่อยู่หลัง https://docs.google.com/spreadsheets/d/ จะเป็น “Sheet

Read More »

วิธี upgrade Node.js ใน Bash ของ Windows 10 ให้เป็นรุ่นปัจจุบัน

ปัญหาคือ บน Windows 10 เราสามารถใช้ Windows Subsystem for Linux (WSL) หรือ Bash Shell ได้ ซึ่งจริงๆมันก็คือ Ubuntu 16.04.3 แต่ว่า เวลาจะใช้งาน Node.js ติดตั้งพวก Firebase, Angular อะไรพวกนี้ จะทำไม่ได้ เพราะรุ่นที่ให้มามันเก่ามาก วิธีการคือ (Reference: https://nodejs.org/en/download/package-manager/#debian-and-ubuntu-based-linux-distributions) ใช้คำสั่งต่อไปนี้ curl -sL https://deb.nodesource.com/setup_8.x | sudo -E bash – apt-get install -y nodejs ก็เรียบร้อย

Read More »