Category: Manual

คู่มือการติดตั้ง, คู่มือการใช้งาน

  • ย้าย Google Workspace Mail Service มา Office365 Mail Service

    ย้ายเมล์จาก Gmail ของมหาวิทยาลัย มา Office365 mail ของมหาวิทยาลัย (@psu.ac.th มายัง @email.psu.ac.th)

    สิ่งที่ต้องมี

    1. สัญญาณอินเตอร์เน็ตนะครับขาดไม่ได้
    2. ใช้งาน Gmail ของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว และต้องการย้ายเมล์มายัง Office365 ของมหาวิทยาลัย
    3. Microsoft Outlook 2019 ขึ้นไป แต่แนะนำให้ติดตั้งเป็น Office365 ซึ่้งจะมี Microsoft Outlook for Microsoft 365 ให้ด้วย ขั้นตอนการติดตั้งขอข้ามไปนะครับ ขออนุญาตสรุปเอาเองว่าทุกท่านติดตั้งเป็นนะครับ หากติดตั้งไม่เป็นสามารถดูแนวทางได้ที่ Download and install Office365 Microsoft Outlook บน MAC ทำไม่ได้นะครับ
    4. มีครบแล้วเริ่มกันเลย

    Ready Go!!

    1. เปิด Microsoft Outlook เมื่อเปิดครั้งแรกจะมีหน้าต่างให้ใส่อีเมลของเรา ก็ใส่ไปได้เลยโดยอาจจะเริ่มจาก Mail ของ Office365 ที่เป็น @email.psu.ac.th ก่อนเนื่องจากจะใช้ขั้นตอนน้อยกว่า เมื่อใส่เมล์แล้วกด Connect ก็จะให้ใส่ Password ของเมล์ @email.psu.ac.th ของเราลงไปอาจมีการให้ยืนยันด้วยรหัสที่ส่งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ด้วย ทำให้เรียบร้อย
    email.psu.ac.th
    1. ได้ดังรูป
    Account successfully added
    1. ต่อไปพิมพ์ mail ของ gmail ของมหาวิทยาลัยลงไป gmail ของมหาวิทยาลัยจะมีโดเมนว่า g.psu.ac.th (ยังจำได้มั้ย) ดังรูป แล้วกด Next เพื่อไปต่อ
    Gmail
    1. จะมีหน้าต่างของ Google ขึ้นมา ซึ่งกรอก Username ไว้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Next ได้เลย
    Google
    1. เมื่อกด Next จะได้หน้าใส่รหัสผ่านก็ใส่รหัสผ่านของ gmail ของมหาวิทยาลัยลงไปแล้วกด Sign in
    Password
    1. ในขั้นตอนหลังจากนี้ถ้าใครมีเซ็ตเรื่องความปลอดภัย เช่น 2 step authentication ก็ทำตามขั้นตอนไปนะครับ จนกว่าจะได้ดังรูป เลื่อนลงมาล่างสุดกด Allow
    Allow
    1. เป็นอันเสร็จในการเพิ่มเมล์ใน Outlook จะได้หน้าสรุปดังรูป กด Done สังเกตว่า Gmail จะเป็น IMAP และ Office365 จะเป็น Microsoft 365
    Outlook
    1. ก็จะได้หน้าโปรแกรม Outlook มาเมื่อมองไปด้านซ้ายก็จะเห็นเมล์สองอันดังรูป
    Outlook
    1. ทีนี้ให้มองด้านบน ตรงส่วนที่เรียกว่า Ribbon ที่เป็นแถบทูลบาร์ต่าง ๆ ให้คลิกขวาบริเวณนั้น แล้วเลือก Customize the Ribbon…
    Customize the Ribbon…
    1. จะได้หน้าต่าง Outlook Options ดังรูป
    Outlook Options
    1. ในช่อง Choose commands from: ให้เลือกเป็น All commands ดังรูป
    Outlook Options
    1. เลื่อนหา Select All ในช่องฝั่ง All commands ดังรูป
    Outlook Options
    1. มาที่ฝั่ง Main Tabs คลิกขวาที่ Home (Mail) เลือก add New group ดังรูป
    Outlook Options
    1. จะได้ New Group (Custom) ปรากฎขึ้นใน Home (Mail) บรรทัดล่างสุดดังรูป
    Outlook Options
    1. เลือกทั้งสองฝั่งให้เป็นแบบในรูปข้อ 14 คลิก Add>> เมื่อได้ดังรูป คลิก OK
    Outlook Options
    1. สังเกตแถบ ribbon จะมี New Group เพิ่มขึ้นมาในส่วนท้ายสุดดังรูป
    Ribbon
    1. กลับมาดูที่กล่องจดหมาย เมื่อกดขยาย @g.psu.ac.th จะมี Inbox ปรากฎขึ้นดังรูป ซึ่งจะเห็นจำนวนเมล์ที่ไม่ได้อ่าน ที่อยู่ใน Inbox
    Gmail Inbox
    1. ให้กดขยายกล่อง @email.psu.ac.th และคลิกขวาที่ @email.psu.ac.th เลือก New Folder…
    New Folder…
    1. ตั้งชื่อว่า Gmail PSU
    Gmail PSU
    1. กลับไปที่ Inbox ของ @ g.psu.ac.th จะได้ดังรูป
    Inbox
    1. กด Select All ที่ Ribbon จะได้ประมาณดังรูป
    Select All…
    1. ทีนี้ถึงตอนสำคัญ คลิกเมาส์ซ้ายที่จดหมายที่ถูกเลือกไว้แล้วกดปุ่มค้างไว้ เพื่อทำการลากเอาไปปล่อยที่ Gmail PSU ที่สร้างไว้ในข้อ 18 – 19 แล้วปล่อยปุ่มเมาส์ ดังรูป
    Drag on Drop
    1. จะเป็นการย้ายเมล์ทั้งหมดจาก gmail ไป office365 ทันทีรอจนทำงานเสร็จ Inbox ของ Gmail ก็จะว่าง เปล่าดังรูป
    Gmail Inbox
    1. กดปุ่ม F9 บนคีย์บอร์ดเพื่อดูสถานะการย้ายที่แท้จริง ว่าย้ายเสร็จแล้วหรือไม่ ดังรูป
    Gmail Sync
    1. เมื่อไปดูที่กล่อง Gmail PSU ใน Office365
    Gmail PSU
    1. ความจริง แล้วไม่จำเป็นต้องสร้าง Gmail PSU ก็ได้ สามารถลากจาก Inbox ไปสู่ Inbox ได้เลย เหตุที่ต้องสร้างเพราะผู้เขียนใช้เมล์ @email.psu.ac.th เป็นหลักอยู่แล้วเพื่อไม่ให้ปนกันจึงต้องสร้างนะครับ
    2. และอย่าลืมว่า Quota Mail ของ @email.psu.ac.th มีเพียง 50GB เท่านั้นนะครับ ถ้ามีเมล์มากกว่านี้ก็ต้องแบ่งแล้วครับว่าอันไหนสำคัญ ไม่สำคัญ (ไม่เกี่ยวกับ OneDrive น้า OneDrive ยัง 1TB เหมือนเดิมครับ)
    3. จบขอให้สนุกครับ
  • ใช้ Gmail เป็น pop3/pop3s client

    เริ่มกันเลย

    1. สำหรับผู้ใช้ใหม่ไม่เคยสมัครเมล์ของมหาวิทยาลัยมาก่อน ต้องเริ่มที่ https://webmail.psu.ac.th เลื่อนลงมาล่างสุด ปุ่มสีแดงที่เขียนว่า Register or Reset Password PSU-Email และ เว็บ https://passport.psu.ac.th มองไปทางซ้ายจะมีข้อความ ขอ/เปลี่ยนรหัส Google ทั้งสองเว็บจะมี 4 ช่องให้กรอก ช่องแรกคือ username ของ PSU Passport ช่องสองรหัสผ่านของ PSU Passport ช่องสามและสี่รหัสผ่านใหม่ที่จะใช้กับระบบเมล์ (ไม่เกี่ยวกับ PSU Passport นะย้ำ) ทำสองเว็บนี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้วเริ่มที่ข้อ 2 ได้เลย!!
    1. ต้องยกเลิก filter ที่ตั้งไว้ที่เว็บเมล์ก่อน คือลบส่วนที่เคยตั้งค่าไว้ตามเอกสาร https://kyl.psu.th/RLYBWKpt6 ซึ่งหากมีกฎข้ออื่น ๆ ที่สร้างเพิ่มเติมจะเก็บไว้ก็ได้เช่นกัน แค่ต้องลบอันที่ redirect ไป @g.psu.ac.th ทิ้งไปก่อนเท่านั้น (สำหรับผู้ใช้ใหม่ สามารถทำตามเอกสาร https://kyl.psu.th/RLYBWKpt6 ได้เลย แต่!!! ไม่ต้องทำในส่วน redirect ตั้งแต่ Step 2 ไม่ต้องทำ ให้ทำตามเอกสารนี้แทน)
    Filter
    1. เปิดเว็บ https://gmail.com ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย
    gmail.com
    1. มองไปมุมบนขวาจะเห็นรูปเฟือง ให้คลิกรูปเฟืองแล้วเลือก See all settings
    See all settings
    1. จะได้หน้า Settings
    Settings
    1. ให้คลิกที่ Accounts and Import จะได้หน้าตาประมาณนี้
    Accounts and Import
    1. ทีนี้เลื่อนลงมาจนกว่าจะเจอ Check mail from other accounts:
    Check mail from other accounts:
    1. คลิก Add a mail account จะมีหน้าต่างใหม่ปรากฎขึ้น!!!
    Add a mail account
    1. ให้กรอกอีเมลในรูปแบบ username.s@mail.psu.ac.th เช่น gr☷☷☷☷.n@mail.psu.ac.th แล้วกด Next
    Add a mail account
    1. หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลดังรูป โดยส่วนที่ต้องกรอกเพิ่มจะเป็น password และ POP Server ต้องแก้เป็น mail.psu.ac.th เท่านั้น Port ที่ใช้ได้คือ 110 ซึ่งคือ POP3 ธรรมดา ไม่สามารถเลือก Always use a secure connection (SSL) when retrieving mail. และ 995 คือ POP3S ที่ต้องเลือก Always use a secure connection (SSL) when retrieving mail ซึ่ง 2 Port นี้ต่างกันที่การเข้ารหัสและความเร็วในการโหลดเมล์ คือ Port 110 โหลดเร็วแต่ไม่เข้ารหัส Port 995 โหลดช้าเพราะเข้ารหัส ก็ต้องเลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง หากต้องการเก็บเมล์ไว้ที่ https://webmail.psu.ac.th ก็ให้เลือก Leave a copy of retrieved message on the server. และในส่วนตัวเลือกสุดท้าย Label incoming messages จะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ แต่แนะนำให้เลือก โดยสามารถเปลี่ยนชื่อเรียกได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหา กด Add Account เพื่อไปหน้าถัดไป
    1. จะได้หน้า Your mail account has been added. เลือก No เพราะเราไม่ต้องการส่งเมล์ออกในนาม @mail.psu.ac.th กด Finish
    Your mail account has been added.
    1. กดปุ่ม F5 ที่แป้นพิมพ์ก็จะเห็นว่าเราได้เพิ่มเมล์ @mail.psu.ac.th ไว้แล้วและกำลัง Check mail
    Accounts and Import
    1. เมื่อรอไปสักครู่ให้เลื่อนดูในแถบด้านซ้ายมือจะมีชื่อที่เราตั้งไว้ตอนกด Add a mail account
    Label
    1. เท่านี้เราก็สามารถเช็คเมล์ @psu.ac.th ได้โดยไม่ต้อง redirect mail แบบเดิม
    2. จบ. ขอให้สนุก

    *** รายละเอียดการดึงเมล์ใหม่ https://workspaceupdates.googleblog.com/2012/08/three-gmail-labs-graduation-into.html โดยสรุปคือ ความถี่ขึ้นอยู่กับบัญชีอีเมล ที่เพิ่มเข้ามา มีเมล์เข้ามากแค่ไหน ถ้ามากก็จะรีเฟรชบ่อย และถ้ารีบให้กด refresh เอง

    • ทั้งนี้หากมีเมล์เก่าเหลืออยู่ในเว็บเมล์ จะถูกส่งไป gmail ด้วยทั้งหมด
  • UX Design Processes

    สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของ การออกแบบสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และดีต่อผู้ใช้ การสร้างสินค้าและบริการจะต้องประกอบไปด้วยการออกแบบทางด้านประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือ UX เพราะทุกสิ่งที่ถูกคิดค้นหรือสร้างขึ้นล้วนต้องผ่านการคิด วิเคราะห์ สร้างเพื่ออะไร ทำไปทำไม ตอบโจทย์อะไรกับผู้ใช้ ซึ่งการออกแบบมีด้วยกัน 6 ขั้นตอนหลักๆดังนี้

    รูปภาพแสดง design process โดย The Efficient Approach: How to Design a Lean UX MVP | Toptal

    Step 1 : Understanding Environment (Discovery phase)

    เป็น phase แห่งการทำความเข้าใจ การทำความเข้าใจในที่นี้หมายถึง การที่เราเข้าใจผู้ใช้, เข้าใจ brand, เข้าใจในเงื่อนไขต่างๆ เพื่อที่จะเอามาเป็นแนวทางในการทำ research ให้ phase ถัดไป

    • User การทำความเข้าใจผู้ใช้งานระบบ -> Pain Point discovery
      • การค้นหา Pain point ของผู้ใช้
      • เราต้องเข้าใจว่าปัญหาของผู้ใช้คืออะไรบ้าง
      • เราคิดว่าจะแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ได้อย่างไรบ้าง
    • Brand เป้าหมาย/จุดประสงค์ขององค์กร
      • เราต้องรู้โปรเจคนี้มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจหรือเป้าหมายขององค์กรเราอย่างไร ต้องพยายามยึดติดอยู่กับเป้าหมายขององค์กรเพราะมันจะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้
    • Clear Needs & Conditions ความต้องการและเงื่อนไขที่ชัดเจน
      • เราจะทำอะไร
      • เราต้องทำภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง

    Step 2 : Research (Infomation Gathering, Hypothesis phase)

    เมื่อเราทราบถึงเป้าหมายของการสร้างหรือพัฒนาสินค้าและทราบถึงปัญหาของผู้ใช้แล้ว ขั้นต่อไปคือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

    phase นี้จึงเป็น phase แห่งการค้นคว้า เก็บข้อมูลตั้งต้นเพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป การ research มีด้วยกันหลายวิธี

    Interview การสัมภาษณ์

    • 1:1 Interview การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับผู้ใช้
      • จะเป็นเหมือนการพูดคุยทั่วไปถึงเรื่องการใช้งานระบบ เคยเจอปัญหาอะไรมาบ้าง ยังคงติดปัญหาในจุดไหนอยู่ไหม ในการใช้งานระบบเขามองหาอะไรอยู่
      • การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทำให้ทราบถึงความจริงใจและอารมณ์ของผู้ใช้ สามารถนำมาเป็นตัววัดความเที่ยงตรง เชื่อถือได้ของข้อมูลชุดนั้น
      • การสัมภาษณ์แบบนี้สามารถทำแบบพูดคุยตัวต่อตัวหรือทาง meeting/conference/telephone ก็ได้
    • Group Interview การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม
      • เป็นวิธีการที่ให้ข้อมูลได้แบบไม่ค่อยละเอียด แต่ได้จุดที่สำคัญ มีการกรองกันจากการพูดคุยภายในกลุ่ม ลักษณะการถามก็จะเป็นเหมือนการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว
      • การสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้อาจจะต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมา
      • กลุ่มของผู้ใช้ 3-5 คนก็เพียงพอไม่จำเป็นต้องไปเก็บจากผู้ใช้ 100-1000 คน (Rule of thumb)

    Surveys การทำแบบสอบถาม

    ในการสร้างแบบสอบถามขึ้นมา เราต้องรู้ถึงปัญหาของผู้ใช้ ปัญหานี้เกิดในผู้ใช้กลุ่มไหน แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นสมมติฐาน

    • หลักการสร้างแบบสอบถาม
      • แยกปัญหาออกมา โดยดูความสำคัญว่า ปัญหาอันไหนสามารถวัดและทำ Testing ได้แล้วนำมาทำให้เป็นคำถามแบบที่ Interactive ได้
      • พยายามตั้งคำถามปลายเปิดแต่ยังสามารถทำให้เรามองเห็นคำตอบได้
      • *ไม่ควรตั้งคำถาม Yes/No, Rating เนื่องจากไม่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาต่อได้
    รูปภาพแสดงการทำ Heat map analysis
    • ตัวอย่างของการทำ survey ที่ดี
      • Hypothesis: สงสัยว่าหน้าแรกของระบบมันไม่จูงใจผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ออก (nothing grabs user’s attention)
        • วิธีถาม: 5seconds test นำหน้าเว็ปจริงๆมาและใช้ Heat map ในการวิเคราะห์โดยกำหนดโจทย์ว่า ให้ผู้ประเมินคลิกจุดแรกที่ผู้ใช้สนใจภายใน 5วินาที
        • คำตอบ: Heat map result ผู้ใช้สนใจตรงไหนมากที่สุด สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อได้
      • Hypothesis: ข้อสงสัยที่คิดว่าลูกค้าไม่เข้าใจว่าเค้าทำอะไรได้บ้างบนเว็ปไซต์ของเขา
        • วิธีถาม: 5seconds test ดูหน้าเว็ปแล้วถามว่า คิดว่าหน้านี้เขาสามารถทำอะไรได้บ้าง
        • คำตอบ: ลำดับของความชัดเจนว่า ผู้ใช้สนใจอะไรเป็นอันดับแรก และอันดับตามๆมา
      • Hypothesis: สงสัยว่า content มันน่าจะไม่ดึงดูดผู้ใช้แน่ๆ
        • วิธีถาม: นำเว็ปไซต์คู่แข่งมาเปิดคู่กันกับเว็ปไซต์เราและทำในลักษณะของ A/B testing โดยทำ hot spot test ให้ผู้ประเมินเลือก section ของเว็ปตัวอย่าง 3 ชิ้นที่คิดว่าจำเป็นสำหรับเขา
        • คำตอบ: section ที่เขามองหาแต่เราไม่มี หรือจุดไหนที่มีเหมือนกัน หรือจุดไหนที่เรามีแต่คนอื่นไม่มี
    • ข้อดี:: Scale ได้, รวดเร็ว, วิเคราะห์ง่าย
    • ข้อเสีย:: คำตอบอาจจะมีการเอนเอียงได้ (Bias) ไม่สามารถอธิบายแทนสิ่งที่ผู้ใช้เจอมาได้ทั้งหมด คำตอบที่ได้ไม่หลากหลาย และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลจากผู้ใช้ ถ้ามีการออกแบบแบบสอบถามไม่ดี ทำให้เกิดการพลาดโอกาส

    Usability Testing การสำรวจการใช้งานในกลุ่มเป้าหมาย

    การทำ Usability test จะทำให้เราทราบถึง pain point และ happy point ของระบบได้ชัดเจนมากขึ้น

    • User testing คือการทำ test โดยการเปิดหน้าจอให้ผู้ใช้ลองทำ Task บางอย่างแล้วเราสังเกตุการใช้งาน แล้วบันทึกวิธีการ Interact และ Reaction ของผู้ใช้ระหว่างการใช้งาน
    • A/B Testing คือการทำ test โดยมีการสร้างระบบขึ้นมา 2 เวอร์ชั่นขึ้นไปมา แล้วนำไปทำ user testing เพื่อวัดผลว่าเวอร์ชั่นไหน user happy ที่สุด
      • อาจจะทำเป็น Prototype ก็ได้ ไม่จำเป็นต้อง Coding ขึ้นมาจริงๆ
    • Click heat คือการดูว่าผู้ใช้กำลังคลิกตรงไหน บริเวณไหนที่มีการ Interact บ่อยๆหรือไม่มีการ Interact ทำให้เราได้ข้อมูลสมมติฐานไปคุยกับ user ต่อไปได้ (tool e.g. Hotjar)

    Contextual Inquiry การสำรวจโดยลงพื้นที่จริง ที่มีการใช้งานจริง

    การทำ CI เป็นการสังเกตุการณ์จากการใช้งานจริงว่าติดปัญหาอย่างไร เรียนรู้จากเรื่องราวของบุคคลนั้นๆ เป็นแนวสนทนาปลายเปิด บางกรณีผู้ใช้จะเปิดใจพูดได้โดยไม่ต้องกังวลไม่เหมือนการสัมภาสแบบกลุ่มหรือในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยก็จะเกิดความไม่ครบถ้วนของข้อมูลได้ มีการทำ/แก้ไข Prototype หน้างานแล้วทดสอบได้เลย

    • ข้อดี:: ได้ผลการสัมภาสที่เป็นประสบการณ์จากผู้ใช้เองโดยตรง, ผู้สัมภาสได้มีอารมณ์ร่วมกับผู้ให้ประเมิน รับรู้ครบถ้วนในด้านตั้งแต่ประสบการณ์ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความประทับใจเป็นต้น
    • ข้อเสีย:: ในกรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัวก็จะไม่สามารถติดตามวัดผลได้ ต้องถามความสะดวกใจของผู้ใช้ด้วย, ต้องมีการเดินทางไปในแต่ละสถานี ส่งผลถึงเรื่องงบประมาณ

    วิธีการทำ Research อื่นๆ ศึกษาต่อได้ที่ More Research Techniques


    Step 3 : Analyze (Brain Storming)

    เป็น phase แห่งการวิเคราะห์ กลั่นกรองข้อมูลออกมาให้เหลือแต่สิ่งที่สำคัญ ขั้นตอนนี้สามารถทำได้หลายกระบวนการ แต่เราจะยกตัวอย่างมาให้เล็กน้อยก่อน

    รูปภาพแสดง User Persona

    User Persona สร้างโปรไฟล์ตัวอย่างของผู้ใช้

    เป็นเหมือนเข็มทิศในการออกแบบ การตัดสินใจ การออกแบบจะแก้ปัญหาของผู้ใช้อย่างไร แล้วจะตอบสนองความต้องการของเขาได้อย่างไร ซึ่งจะประกอบไปด้วย

    • Bare necessities ข้อมูลจำเป็นเบื้องต้น
      • ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ อาชีพ และอื่นๆ
      • ประวัติโดยย่อ
      • แผนผังบุคลิก
    • User’s image รูปภาพของผู้ใช้
      • บางครั้งรูปภาพของผู้ใช้สามารถบ่งบอกได้ถึงหลายๆอย่าง มากกว่าการเขียนบรรยาย
      • การแต่งกายของผู้ใช้ก็สามารถบ่งบอกถึงบุคลิกได้
    • Personality แถบที่บ่งบอกถึงนิสัยของผู้ใช้
      • สามารถทำเป็นแถบค่าพลังบ่งบอกความเป็นบุคลิกต่างๆได้เช่น Extroverted ⇔ Introverted, Passive ⇔ Active, Analytical ⇔ Creative เป็นต้น
    • Goals and Motivations เป้าหมายและแรงบรรดาลใจ
      • เป้าหมายของผู้ใช้ ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไปตอบโจทย์เป้าหมายของผู้ใช้
      • แรงบรรดาลใจของผู้ใช้ ก็สามารถนำมาเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาวิเคราะห์ก่อนออกแบบ
      • ยกตัวอย่าง การซื้อของออนไลน์ผ่านระบบ e-commerce
        • เป้าหมายของผู้ใช้คือ อยากได้สินค้าที่มีราคาถูกที่สุด คุ้มค่าที่สุด
        • แรงบรรดาลใจของผู้ใช้คือ ต้องการการเปรียบเทียบสินค้าในเรทราคาเท่าๆกัน
        • เราสามารถนำข้อมูลทั้ง 2 มาวิเคราะห์ออกแบบระบบให้รองรับได้เช่น การแนะนำสินค้าใกล้เคียงกับสินค้าที่ผู้ใช้กำลังดูอยู่ มีการแนะนำร้านที่แนะนำโดย platform หรือเรียงตามเรทของสินค้า
    • Pain points จุดที่ผู้ใช้ไม่ชอบ หรือ ข้อเสียของระบบที่ต้องแก้
      • เป็นสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ออกมาจากการสัมภาสหรือได้มาจากการสัมภาสโดยตรง ข้อมูลส่วนนี้คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ ระบบที่สร้างขึ้นมาจะต้องแก้ไข pain points เหล่านี้ให้ได้
      • แก้ได้ = User happy

    User Journey mapping แผนผังแสดง Interaction ของผู้ใช้

    รูปภาพแสดง User Journey mapping

    การทำ user journey จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของระบบ ในขั้นตอนต่างๆว่า ผู้ใช้รู้สึกอย่างไร จุดไหนที่ต้องมีการปรับปรุงอีก

    User journey จะประกอบด้วย Flow การทำงานของระบบที่ผู้ใช้จะต้องเจอ ข้อมูล Emotions หรืออารมณ์ที่ผู้ใช้จะต้องเจอในแต่ละหน้าแต่ละขั้นตอน ข้อมูลความคิดของผู้ใช้ ณ ขณะนั้นซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลอารมณ์ของผู้ใช้ ข้อมูลโอกาสที่เราวิเคราะห์ออกมาว่า ณ ขณะนั้น เราสามารถ Offer อะไรให้กับผู้ใช้ได้บ้าง ข้อมูลประสบการณ์ มีความง่ายในการใช้งานมากแค่ไหน น่าเบื่อหรือไม่ และข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้

    **นอกเหนือจากการทำ User persona และ User journey ที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีวิธีการทำ Analyze อีกหลายวิธีเช่น การทำ Storyboard, Card Sorting, SWOT Analysis, Use cases และอื่นๆ More Analyze Techniques


    Step 4 : Design (Experiment phase)

    หลังจากได้ผ่านขั้นตอนแห่งการวิเคราะห์มา ขั้นตอนต่อไปคือการทำให้เกิดขึ้นมา ทำให้ Test ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Wireframe หรือ Prototype ขั้นตอนนี้เป็น phase แห่งการทดลอง ลองผิดลองถูก อ้างอิงจาก use case ต่างๆ นำข้อมูลที่ได้จากการ Analyze มาสร้างเป็นสิ่งที่สามารถทดสอบได้ ในขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วยการออกแบบในหลายๆส่วน ส่วนหลักๆจะประกอบไปด้วย

    รูปภาพแสดง Wireframe low-fidelity
    • Site map แผนผังของระบบ
      • ไม่ซับซ้อน
      • หน้าต่างๆอยู่ถูกที่ ถูกลำดับชั้น
    • User flow แผนผังการดำเนินการของผู้ใช้ หน้าไหนไปหน้าไหน
    • Information Architechture ออกแบบโครงสร้างของข้อมูลเช่น จัดหมวดหมู่ให้กับข้อมูล
    • Design system แกนหลักในการออกแบบ ประกอบด้วย
      • Typography ชุดตัวอักษร
      • Color Scheme ชุดโทนสี (Primary, Secondary, Accent, Success, Danger, Warning, Default)
      • Icon ชุด Icon
      • Image โทนการใช้รูปภาพภายในระบบ (Photos, Vertor Images, 3D)
      • (optional) Component สำเร็จรูป
    • Wireframe low-fidelity ต้นแบบของระบบ ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูล โครงแบบร่างในกระดาษหรือโปรแกรมที่สามารถบอกได้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างหน้าและรูปแบบของหน้าจอ
      • แสดงข้อมูลต่างๆ ที่ต้องแสดงในแต่ละหน้า
      • เป็นตัวตีกรอบโครงสร้างของแต่ละหน้าได้
      • แสดงให้เห็น Flow การทำงานและเป็นตัวอธิบาย Interface ในหน้าต่างๆ
    • Prototype การนำ Wireframe มาลงรายละเอียดจริง และนำมา mockup บนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการทดสอบและประเมินผล

    Loop : Design > Test > Validate > Design > Test > …

    เมื่อมีการออกแบบเสร็จสิ้น เราจะต้องทำการทดสอบ ประเมินผล ถ้าไม่ผ่านการทดสอบก็ต้องวนกลับมาขั้นตอนเดิมคือ ออกแบบใหม่ ทดสอบ วนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะผ่านไป phase ต่อไปได้


    Step 5 : Build & Launch (Make it real phase)

    เมื่อผ่านขั้นตอนของการออกแบบมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือขั้นตอนของการสร้างมันขึ้นมาให้เหมือนกับที่ออกแบบไว้ ในขั้นตอนนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาหรือขั้นตอนที่ต่างจากการออกแบบได้เนื่องจากปัจจัยทางการสร้างหรือ coding ซึ่ง ณ ขั้นตอนนี้ก็ควรปรึกษาผู้ออกแบบและช่วยกันหาทางออกร่วมกันได้ ผลที่ได้จากการสร้าง เช่น

    รูปภาพแสดง Wireframe Hi-fidelity

    Prototype หรือ Wireframe Hi-fidelity

    Prototype เป็นการนำ Wireframe มาต่อยอด มีการลงรายเอียดส่วนของสัดส่วน สี ตัวอักษร รวมถึง Icon และรูปภาพ ลงรายละเอียด Content จริงๆ มีการเชื่อมโยงปุ่มกับหน้าต่างๆหรือเรียกว่า Prototyping ให้เป็น Flow การทำงานจริงๆขึ้นมา เราสามารถนำผลงานมาขึ้น Mockup เป็น device จริงไปให้ผู้ใช้ได้ทดสอบแทนการเปิดหน้าจอ application ให้ดูผ่านจอก็ได้เช่นกัน ในส่วนนี้สามารถทำได้จากหลากหลายโปรแกรมเช่น Figma, Adobe XD และโปรแกรมอื่นๆเป็นต้น

    Implement an actual application

    เป็นการพัฒนา application หรือ feature นั้นๆขึ้นมาจริงๆจะต้องมีการประเมินความสำคัญของ feature หรือความสำคัญถึงการที่จะต้องทดสอบกับการใช้งานจริงๆด้วยเช่นกัน เพราะจะส่งผลต่อการลงแรงของหลายๆฝ่ายและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมขึ้นมาได้ (เรียกได้ว่า มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน)

    Make sure your product is perfect! :: Do you trust in your research and analysis?

    ถ้าคิดว่าการ Launch Feature ใหม่หรือสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดหรือออกสู่ public ยังไม่กล้าเสี่ยงลองนำผลงานที่ได้ไป

    • ทำ User testing นำไปให้ผู้ใช้ทดสอบเหมือนขั้นตอนการทำ Usability test ในขั้นตอน Research
    • ทำ Internal testing ทดสอบและรีวิวกันเองภายในทีม
    • ทำ Beta Launch ปล่อยระบบให้กับกลุ่มคนเล็กได้ทดสอบ เก็บ Feedback แล้วนำกลับมาแก้ไข

    สุดท้ายแล้วเมื่อปรับปรุงแก้ไขจนคิดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ก็ถึงเวลา Launch ปรับ Version ตัวโปรแกรมจริงๆให้ผู้ใช้ได้ใช้


    Step 6 : Analyze Validation (Collect Feedback) aka ตรวจการบ้าน

    เมื่อเราได้ผ่านขั้นตอนของการสร้างมาแล้ว ผู้ใช้ได้เจอกับสิ่งที่เราปรับปรุงหรือสร้างขึ้นมาใหม่ สิ่งที่เรา research analyze design ไปนั้นมันถูกต้องแล้วใช่หรือไม่ ตอบโจทย์ปัญหา pain point ของผู้ใช้หรือไม่ ดึงดูดให้ผู้ใช้กลับมาใช้งานระบบไหม และแน่นอนสิ่งที่ต้องเกิดคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงคือ ผลตอบรับหรือ feedback เราจะต้องมีการเก็บข้อมูล feedback มาวิเคราะห์ อาจจะมีจุดที่เราพลาดไป ทดสอบไม่เจอในกลุ่มการทดสอบ beta ก็จะได้แก้ไข ปรับปรุง feature ให้ตอบโจทย์กว่าเดิม หรือคิดว่าการปรับปรุงระบบไปในแนวทางอื่นๆอาจจะส่งผลได้ดีกว่านี้ ข้อมูลตรงนี้ก็จะไปเป็นสารตั้งต้นของการขึ้นรอบการออกแบบและพัฒนาในรอบถัดๆไป


    Loop Step 1-6 > Step 2-6 > … > Perfect** Product! (at that time)

    การที่เราทำ loop แบบนี้ไปเรื่อยๆทำให้ระบบหรือสินค้าที่เราสร้างขึ้นมีการพัฒนาอย่างตรงจุด ตอบโจทย์ผู้ใช้ เป็นระบบที่เข้าใจผู้ใช้ อาจจะมีการปรับปรุงไปในแนวใหม่เพื่อรองรับกลุ่มผู้ใช้ที่หมุนเปลี่ยนไปในทุกๆครั้งที่กลับมาทำ research ก็ไม่ผิดแปลกไป

    ปล. การวน loop ในแต่ละครั้งเราสามารถตัดขั้นตอนบางอย่างไปได้เช่น รอบที่ 2 อาจจะเป็นผู้ใช้คนเดิมก็ข้ามไปทำ research ได้เลย หรือมีข้อมูลจาก loop เก่าก็สามารถนำข้อมูลนั้นมา Design & Test ได้เลย การกระทำแบบนี้เราเรียกว่าการ Lean UX Process

    **Perfect มันไม่มีอยู่จริง ไม่ต้องไป keep perfect but ทำให้ใกล้คำว่า perfect ที่สุดจะดีกว่า เราไม่สามารถออกแบบหรือสร้างอะไรสักอย่างที่มันตอบโจทย์คนทั้งโลกได้ แต่ทำให้ดีที่สุดของเราได้

    Summary

    จบแล้วขั้นตอนการออกแบบ UX Design process เบื้องต้น ยาวหน่อยแต่รายละเอียดเกือบครบ จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วขั้นตอนทาง UX design process ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกๆส่วนของชีวิตประวันและของรอบตัว มันมีวิธีการต่างๆหลากหลายรูปแบบ ขึ้นกับมุมมองของผู้ทำ แต่ทุกวิธี base on problem แน่นอน ถ้าเราวิเคราะห์ได้ว่าคนๆนั้นไปเจอปัญหาอะไรมา แล้วเราแก้ไขให้เขาได้ ทำไมเขาจะไม่ซื้อ/ใช้สินค้าของคุณ ที่สำคัญคือ Keep doing research, keep developing.

    Thanks for references:
    The UX design process in 6 stages | Inside Design Blog (invisionapp.com)
    What is user research? | Inside Design Blog (invisionapp.com)
    หลงไปในงาน UX Research at Agoda. เอะนั่นเห็นมี Event UX Research at… | by Dark_Spirit (Warm) | WIP team | Medium
    UX Process – UX Mastery

  • Webmail transformation!! #4

    export contact มาแล้วเอาเข้า webmail2 ไม่ได้ ยังไงซิ ?

    ไหนขอดูหน่อย
    1. เมื่อเปิดไฟล์ที่ export ออกจาก Squirrelmail (webmail) ตัวเก่าพบว่าข้อมูลที่ export มาเป็นดังนี้
    webmail export

    จะเห็นว่ามีบรรทัดสุดท้ายที่รายชื่อแปลก ๆ เมื่อถามๆ ดูคือทำลิสต์เอาไว้ว่าถ้าส่งหาลิสต์นี้ก็ไปตามรายชื่อเมล์ได้เลย ทีนี้ การเก็บลักษณะนี้บน Roundcube (Webmail2) นั้นทำไม่ได้ครับต้องแก้ใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดังนี้

    "nickname","name","First Name","Last Name","E-mail Address","label"

    *รูปแบบตามบรรทัดแรกในไฟล์นั่นเอง

    แต่ในความเป็นจริงสดมภ์ (คอลัมน์ Column) ที่จำเป็นจะต้องมีมีเพียง 3 คอลัมน์ ได้แก่ First Name, Last Name และ E-mail address เท่านั้นดังนี้เมื่อแปลงไฟล์ด้านบนให้เป็นตามรูปแบบก็จะได้เป็น

    Changed data

    หรือจะสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาเองก็ได้แต่ต้องอยู่ในรูปแบบ

    First Name, Last Name, E-mail Address

    ไฟล์ตัวอย่างก็จะได้เป็น

    Custom
    1. เมื่อมาที่ Roundcube ไปที่ contact แล้วมองด้านขวาบนกด Import
    Import contacts
    1. Browse เลือกไฟล์ที่แก้ไขแล้ว
    File selected
    1. กด Import จะได้หน้าสำคัญที่เป็นตัวกำหนดว่าจะเอาคอลัมน์ไหนเข้าบ้าง
    Column Selected

    หากเป็นไฟล์ Custom ก็จะมีเพียง 3 คอลัมน์ดังภาพ

    Custom Column
    1. กด Import จะได้หน้าสรุปว่านำเข้าได้กี่รายชื่อ กด Close
    Successfully imported
    1. แต่มาเป็นการรวมแต่ละรายชื่อเข้ากลุ่มให้เหมือนสมัยเป็น Squirrelmail มองมาทางซ้ายสุดด้านบนจะเห็นคำว่า Group อยู่ ใกล้ ๆ กันนั้นมี ให้กดที่ แล้วเลือก Add group
    Add group
    1. จะมีหน้าต่างสำหรับตั้งชื่อ Group ให้
    Create new group
    1. ก็สามารถตั้งชื่อได้ตามอัธยาศัยแล้วกด Save จะได้ Group ที่สร้างเพิ่มขึ้นมาดังภาพ
    Group
    1. คราวนี้มาเพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่ม ทำได้โดยการคลิกที่รายชื่อที่ต้องการแล้วมองไปทางขวา จะเห็นคำว่า Groups
    Address Book
    1. กดที่คำว่า Groups ก็จะเห็นรายชื่อกลุ่มที่เราสร้างไว้สามารถกด (ปุ่มอยู่ชิดซ้าย) ให้กลายเป็น (ปุ่มอยู่ชิดขวา) เพื่อให้รายชื่อนั้นอยู่ในกลุ่มที่เราต้องการนั่นเอง
    Group Disabled
    Group Enabled
    1. ก็สามารถเลือกได้จนพอใจเมื่อคลิกกลุ่มที่สร้างไว้จะพบรายชื่อที่เราต้องการให้อยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่แล้ว
    Group Server
    1. สามารถส่งเมล์ถึงกลุ่มได้ทันทีโดยง่ายเพียงกดเลือกที่ชื่อกลุ่มที่เราต้องการจะส่งเมล์หา แล้วไปกดที่ Compose รายชื่อทั้งหมดในกลุ่มจะถูกใส่ในชื่อ To โดยอัตโนมัติ
    Compose to Groups
    1. หรือหากมีหลายกลุ่มหรือต้องการส่งเมล์ถึง คนอื่นๆ ในคราวเดียวกัน (สำคัญ) ระบบเมล์ของมหาวิทยาลัยอนุญาตให้ส่งเมล์ถึงที่อยู่เมล์ได้ 100 เมล์เท่านั้นในคราวเดียวกัน สามารถกดที่รูป เพื่อเพิ่มรายชื่อได้ทันทีหรือจะพิมพ์ต่อท้ายไปก็ได้เช่นเดียวกัน
    1. จบขอให้สนุก…
  • Webmail transformation!! #3

    เมื่อจะเลิกใช้ Squirrelmail มาใช้งาน Roundcube ก็ต้องมีเรื่องของการทำ Redirect และ Filter ด้วยซึ่งใน Roundcube (webmail2) มีวิธีการที่แตกต่างออกไปดังที่จะเล่าต่อไปนี้

    Redirect & Filter

    สำหรับผู้ใช้ใหม่ไม่เคยใช้ Squirrel mail (webmail เดิม) มาก่อน

    ที่ต้องระบุแบบนี้เพราะสำหรับคนที่เคยใช้ Squirrel mail มาก่อนส่วนมากจะ Redirect mail ไป gmail หมดแล้วดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำตามขั้นตอนนี้

    1. Log In เข้าระบบให้เรียบร้อย
    Webmail
    1. คลิก Settings ด้านซ้ายมือ
    Settings
    1. จะได้ดังภาพ
    Settings
    1. เลือก Filters
    Filters
    1. ได้ดังภาพ
    Filters
    1. มองไปด้านขวามีคำว่า Create คลิก Create ได้ดังภาพ
    Create Filter
    1. กรอกข้อมูลและเลือกดังนี้
    Filter

    โดย username.s คือ username ของท่าน หากต้องการเก็บเมล์ไว้ที่ PSU E-mail ด้วยให้คลิกเครื่องหมาย ท้ายช่อง แล้วเลือก Keep message in Inbox เพิ่มดังนี้แล้วคลิก Save

    Keep message in Inbox

    ในกรณีที่ Keep message in Inbox อาจจะต้องเข้ามาดูที่เว็บเมล์บ้างเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันเมล์เต็มนะครับ

    1. หลังคลิก Save จะได้ดังภาพ
    Gmail
    1. หรือหากต้องการ Redirect mail ไปที่อื่น ๆ อีกก็สามารถสร้างเพิ่มอีกโดยคลิก Create และตั้งค่าแบบเดิมแต่เปลี่ยนที่อยู่อีเมล เช่น
    more filters

    โดย Filter จะทำจากบนลงล่าง

    1. สามารถตั้งกฎเพื่อกรองอีเมลสแปมได้เช่นกัน โดยปกติอีเมลของมหาวิทยาลัยจะทำเครื่องหมายไว้หน้าอีเมลที่เข้าข่ายอีเมลสแปมอยู่แล้วคือมีค่ำว่า [SPAM?]: อยู่ใน Subject สามารถตั้งกฎให้ลบได้ดังภาพ
    Spam Filter

    Filter นี้จะทำการลบอีเมลทุกฉบับที่มีคำว่า [SPAM?:] ถูกลบทิ้งไปอยู่ใน Trash

    Trash

    ควรตรวจสอบอีเมลในโฟลเดอร์ Trash ก่อน Empty Trash ทุกครั้ง การล้างโฟรเดอร์ Trash ทำได้โดยคลิกโฟลเดอร์ Trash แล้วคลิกที่ ที่อยู่หลัง username ของท่านแล้วเลือก Empty ดังภาพ ซึ่งอีเมลทั้งหมดที่ถูกลบและ Spam จะโดนล้างไปหมดในคราวเดียวกันดังนั้นควรตรวจสอบว่ามีอีเมลที่ไม่ใช่ Spam ปะปนไปหรือไม่ก่อนกดล้างโฟลเดอร์นะครับ

    Empty Trash

    และควรลบอีเมลที่ไม่ใช้แล้วเสมอ ๆ เพื่อป้องกันโควต้าเต็มนะครับ

    Delete
    1. จบขอให้สนุก…
  • Webmail transformation!! #1

    คุยก่อน

    webmail.psu.ac.th อยู่กับเรามา… นานมากแล้วจนปัจจุบันนี้แทบจะคุยไม่รู้เรื่องแล้วค้นหาด้วยภาษาไทย แท้ ๆ ก็ไม่ได้ ก็คงถึงเวลาต้องไป ที่ชอบๆ สักที

    พุทโธธรรมโมสังโข!!!

    เร็ว ๆ นี้สำนักนวตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉะริยะจะประกาศใช้งาน webmail ตัวใหม่ ที่ได้เปิดให้ทดสอบใช้งานมาระยะหนึ่งแล้วอย่างเป็นทางการ โดยสามารถเข้าใช้งานผ่าน https://webmail2.psu.ac.th ซึ่งต่อไปจะกลายเป็น https://webmail.psu.ac.th ผลกระทบถึงท่าน ๆ ทั้งหลาย… ดังนี้

    1. ถ้าก่อนหน้านี้ใช้ https://webmail.psu.ac.th มาตลอดไม่เคยใช้ gmail เลย ก็ไม่กระทบอะไรนอกจากรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไป มาก… ถึงมากที่สุด
    2. ถ้าอ่านเมล์ที่ gmail.com เป็นหลักก็ไม่กระทบอะไรมากนัก
    3. ถ้ามีความต้องการตั้งค่า filter เพิ่มเติมก็จะกระทบมากเนื่องจากวิธีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก

    เริ่มต้นการใช้งาน

    1. เปิดเว็บ https://webmail2.psu.ac.th จะได้หน้าตาประมาณนี้ (อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อประกาศใช้จริง)
    webmail2 start page
    1. ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อยจะได้หน้าตานี้
    Webmail2 Inbox
    1. ทดสอบค้นหาภาษาไทย คลิกในช่อง Search… ที่อยู่บล็อกกลาง
    Search…

    ลองค้นหาคำว่า “สถานะ” แล้วกด enter สิ่งที่ได้ก็ตามภาพนะครับ

    Keywords
    1. การค้นหาสามารถกำหนดเงื่อนไขได้ว่าจะให้ไปค้นหา คำ ๆ นั้น ในส่วนไหนของอีเมล์ ไม่ว่าจะเป็น Subject อย่างเดียว From อย่างเดียว หรือ เนื้อความในอีเมล์ ทำได้โดยคลิกที่ ที่อยู่หลังรูปซองจดหมายที่ช่อง Search… เมื่อคลิกจะได้ดังภาพ
    Search criteria

    จะเห็นว่ามีตัวเลือกมากมายว่าอยู่ที่เราเลือกไม่ว่าจะเป็น subject from to cc bcc body entire message ทั้งยังสามารถระบุช่วงเวลาที่ต้องการค้นหาหรือ กำหนด โฟลเดอร์ของเมล์ที่ต้องการค้นหาได้ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเยอะ และมีจดหมายจำนวนมากการค้นหาก็อาจกินเวลานานได้

    1. การย้ายบ้านจาก webmail.psu.ac.th มายัง webmail2.psu.ac.th สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำเองคือการย้ายข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ หรือที่เรียกว่า Address book นั่นเอง
    2. Log in เข้าระบบที่ https://webmail.psu.ac.th
    webmail.psu.ac.th
    1. เมื่อ log in เข้ามาแล้วคลิกที่ Addresses
    Addresses
    1. จะได้ดังภาพ ซึ่งเป็นการแสดงรายชื่อผู้ติดต่อที่มีทั้งหมด ทั้งยังสามารถ export ออกมาได้ด้วย
    Address
    1. เมื่อต้องการจะ export เลื่อนจอลงมาด้านล่างในส่วนของ Address book export
    Address book export
    1. คลิก Export to CSV File จะเป็นการ download รายชื่อทั้งหมดออกมาเก็บไว้ในไฟล์ .csv ก็ให้เซฟไว้ในที่ที่หาเจอนะครับ
    2. กลับมาที่ https://webmail2.psu.ac.th หาก session expire ไปแล้วให้ล็อคอินใหม่
    Your session is invalid or expired.
    1. เมื่อล็อคอินเข้ามาได้ให้คลิก Contacts ที่อยู่ด้านซ้ายมือ
    Contacts
    1. จะได้ดังภาพ
    Contacts
    1. คลิกปุ่ม Import ด้านขวามือ
    Import
    1. จะได้หน้าต่าง Import contacts
    Import contacts
    1. ก็ให้กด Browse ไปยังไฟล์ที่เซฟก็ไว้จากข้อ 10.
    Import contacts
    1. คลิก Import จะได้หน้าสรุปว่า นำเข้าสำเร็จกี่รายชื่อใครบ้าง หลังจากนั้นคลิก x ได้เลย
    Successfully imported
    1. จะได้รายชื่อผู้ติดต่อไว้ใน webmail2 เรียบร้อย *หมายเหตุเพิ่มเติม อีเมลแอดเดรสของรายชื่อผู้ติดต่อนั้นต้องมีอยู่จริงเท่านั้นจึงสามารถนำเข้าได้นะครับ
    Contacts
    1. สำหรับพาร์ท 1 ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้รอพาร์ทต่อไปครับ ขอให้สนุก
  • ทำ functional design อย่างง่ายด้วยโปรแกรม Sandcastle Help File Builder

    เมื่อพัฒนาโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาทำเอกสารการเขียนอธิบายโค้ดต่อ บางครั้งมันยุ่งยากเสียเวลา วันนี้มีวิธีที่สะดวกและรวดเร็วเพียงแค่เขียนอธิบายใน Class ที่เราต้องการอธิบาย เช่น Constructors, Properties, methods

    ตัวอย่างการเขียนอธิบายโค้ด

    โดยทั่วไปแล้วการเขียน Logic ต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานต่อหรืออ้างอิงโค้ดที่เราเขียนมักจะ build code เป็นไฟล์ .dll เพื่อให้ระบบอื่นมาเชื่อมต่อและเรียกใช้งานได้ โดยขั้นตอนแรกเราใช้โปรแกรม Sandcastle Help File Builder สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิ้งก์ https://github.com/EWSoftware/SHFB/releases และ download และติดตั้งตามลิ้งก์

    SHFBInstaller_v2019.11.17.0.zip 45.1 MB

    เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย หน้าตาก็จะประมาณนี้

    โปรแกรม Sandcastle Help File Builder

    ก่อนอื่นเราต้องไปตั้งค่าการ build code ใน Visual Studio ในส่วนของ XML ตามไฮไลต์สีเหลือง

    การตั้งค่า XML ใน Visual Studio

    จากนั้นก็กด Build ใน Visual Studio

    แสดงการ Build ใน Visual Studio

    เมื่อ build เสร็จ เราจะได้ไฟล์ .dll และ .xml

    ไฟล์ .dll และ .xml

    เมื่อได้ไฟล์ .dll และ .xml เรียบร้อยแล้ว ก็เพิ่มในโปรแกรม Sandcastle Help File Builder โดยไปที่เมนู File > Project Explorer > Documentation Sources > Add Documentation Source

    เมนูการเพิ่ม Add Documentation Source

    เมื่อเลือกไฟล์ .dll และ .xml เรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้แสดงตามภาพ

    แสดงผลลัพธ์เมื่อ Add Documentation Source เสร็จ

    จากนั้นตั้งค่าเมนู Help File ตามตัวอย่างข้างล่าง

    ตั้งค่าเมนู Help File

    จากนั้นตั้งค่าเมนู Visibility ตามตัวอย่างข้างล่าง

    ตั้งค่าเมนู Visibility

    เมื่อตั้งค่าโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปที่เมนู Documentation > Build Project

    เมนู Documentation > Build Project

    รอโปรแกรมประมวลผลสักครู่ เราก็จะได้ไฟล์ .chm ออกมา

    ไฟล์ .chm

    เมื่อเปิดไฟล์ .chm เราก็จะได้ผลลัพธ์ Help File ตามรูปแบบที่แสดงตามภาพด้านล่าง

    ผลลัพธ์ Help File 1
    ผลลัพธ์ Help File 2
    ผลลัพธ์ Help File 3
    ผลลัพธ์ Help File 4
  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep1

    Blog ที่4 นี้ขอนำเสนอโปรแกรมจับภาพหน้าจอฟรี ย้ำนะว่าฟรี !! มีชื่อว่า shareX ซึ่งสามารถจับภาพหน้าจอเพื่อนำไปใช้งานต่อในหลากหลายรูปแบบ เช่น ทำคู่มือ ทำวีดีโอ เอาไปลงในเว็บไซต์ หรื่ออื่นๆ ถือเป็นโปรแกรมฟรีแบบ Open Source ที่จัดเต็มในเรื่องของเครื่องมือต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้แบบครบครันนนนนน

    จริงๆแล้วโปรแกรมฟรีที่สามารถจับภาพหน้าจอ record วีดีโอนี่ก็มีมากมายเลยแหละ อยู่ที่ใครชอบแบบไหน เอาเป็นว่าวันนี้ลองมาทำความรู้จักกับอีก 1 ตัว ที่มีชื่อว่า shareX กันหน่อยละกันนะ “จะได้รู้ว่าดีกว่าที่ใช้อยู่เนี่ย มันก็มีนะ !!” (อันนี้ผู้เขียนบอกตัวเองนะ 55+)

    shareX สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://getsharex.com/ หรือจะหาผ่าน window store ก็ได้เหมือนกัน เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการติดตั้งบนเครื่องของเราได้เลย

    สำหรับ shareX ก็จะมี feature หลักๆ คือ

    • รองรับการจัดภาพหน้าจอแบบเต็มจอ เฉพาะหน้าต่าง หรือเฉพาะส่วน
    • สามารถตั้งให้เปิดแก้ไขภาพในโปรแกรมอื่นๆ ก่อนที่จะอัพโหลดได้
    • save file อัตโนมัติเอาไว้ในเครื่อง
    • upload ภาพขึ้นไปยัง services ต่างๆ
    • สามารถ copy code ต่างๆได้จากในตัวโปรแกรม เช่น html สำหรับแทรกภาพ หรือ BBCode สำหรับแปะในเว็บบอร์ด
    • รองรับการย่อ URL ในตัว
    • รองรับการ upload ข้อความขึ้นเว็บ
    • รองรับการ upload file ขึ้นอินเตอร์เน็ต
    • แชร์สิ่งที่อัพโหลดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้
    • ตั้งค่า hotkey สำหรับจับภาพได้

    เหล่านี้ถือเป็น feature คร่าวๆ ของเจ้า shareX นะ จริงๆ แล้ว services ต่างๆที่ตัวโปรแกรมเชื่อมต่อได้นั้นมีเยอะมากๆ เดี๋ยวเราจะลองไปดูกัน

    เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะเจอกับหน้าตาเจ้าตัว shareX ประมาณนี้ …..

    จะเห็นได้ว่าข้อความที่ขึ้นบอกไว้นั้นคือ ปุ่มใช้งานมาตรฐานที่โปรแกรมกำหนดมาให้ หากเราต้องการปุ่มอื่นๆ ถามว่าเปลี่ยนได้มั้ย ตอบเลยว่า …. ได้ !! แต่เดี๋ยวจะอธิบายไว้ในส่วนของ Hotkey settings ด้านล่างนะ

    ——————————————————————————————————————————————–

    Capture

    มากันที่ Feature หลักอันแรกคือ “Capture” หรือการจับภาพหน้าจอนั่นเอง shareX จะรองรับการจับภาพในหลายรูปแบบ ย้ำว่าหลากหลาย จริงๆ

    Fullscreen          จับภาพหน้าจอแบบ Fullscreen
    window               จับภาพหน้าจอแบบ Window ซึ่งสามารถเลือกได้จากหน้าจอทั้งหมดที่เราเปิดไว้ในเครื่องได้เลย
    monitor               หากมีมากกว่า 1 จอ ก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะจับหน้าจอใด
    Region                 จับภาพหน้าจอแบบเลือกเฉพาะส่วน
    Last region        จับภาพในส่วนล่าสุดที่เราเพิ่งจับภาพไป
    Screen recording      บันทึกภาพหน้าจอ
    Screen recording (GIF)           บันทึกภาพหน้าจอแบบ GIF
    Scrolling capture        จับภาพหน้าจอที่มีความยาวมากเกินกว่าที่จะสามารถแสดงบนหน้าจอได้ทีเดียวหมด (ต้อง Scroll mouse ขึ้นลงนั่นเอง)
    Text capture (OCR)    จับภาพโดยเลือกเฉพาะตัวอักษรในภาพนั้น
    Auto capture           สามารถตั้งเวลาได้ ว่าจะให้จับภาพหน้าจอ ทุกๆ กี่วินาที
    Show Cursor          สามารถเลือกได้ว่าภาพหน้าจอที่เรา capture ไปเนี่ย จะให้แสดง cursor หรือไม่
    Screenshot delay: 0s สามารถเลือกความ delay ของการ capture หน้าจอได้

    Upload Feature

    Workflows

    แสดง Hotkey นั่นแหละ โดยส่วนหลักตัวโปรแกรมก็จะกำหนดมาให้อยู่แล้ว แต่เราสามารถปรับเปลี่ยน Hotkey ได้เอง และยังสามารถเพิ่ม workflows ได้อีกด้วยตัวอย่างจะอธิบายในส่วนของ Hotkey settings นะ

    • Capture region คือการจับภาพโดยเลือกพื้นที่ ๆ เราต้องการ
    • Capture entire screen คือการจับภาพแบบเต็มหน้าจอ
    • Capture active window คือการจับภาพจากหน้าต่างที่เราเลือก หรือกำลังทำงาน
    • Start/Stop screen recording using custom region คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้
    • Start/Stop screen recording (GIF) using custom region  คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้โดยผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ GIF นั่นเอง

    Tools

    เครื่องมือเพิ่มเติม หรือส่วนเสริมของตัวโปรแกรมที่ทำให้เจ้า shareX เนี่ย ล้ำกว่าโปรแกรมอื่นไปอีก Step ขอยกตัวอย่างเป็นบางเครื่องมือละกัน เนื่องจากผู้เขียนก็ยังใช้ไม่ครบทุกเมนูเล้ยยยยย ตัวอย่างเช่น

    • Color picker           สามารถเลือกสีได้ ว่าต้องการสีอะไร
    • Screen color picker… เลือกสีบนหน้าจอเราได้เลยว่าต้องการสีอะไร โดยโปรแกรมจะ copy code สีเราให้ทันที เราสามารถนำไป code สีดังกล่าวไปใช้ต่อได้
    • Image editor           หน้าจอสำหรับปรับแต่งแก้ไขรูปภาพของเรา เช่น บันทึก upload print, select and move, สามารถใส่ข้อความลงในภาพได้ ทั้งแบบตัวอักษร หรือ free hand ใส่ step ในรูปภาพได้, Hilight, zoom, ใส่ emotion ได้, crop รูปภาพ แทรกรูปภาพ เป็นต้น
    • Image effects…       สำหรับใส่ effects ให้กับภาพได้ เช่น เพิ่ม filter ภาพ, ปรับ Adjustment, เพิ่ม text watermark หรือ image watermark เป็นต้น
    • Ruler…                เลือกเพื่อวัดขนาดของส่วนหน้าจอที่เราเลือกได้ ดังรูป
    • Image combiner…           อันนี้ก็เจ๋งดี เราสามารถเลือกภาพหน้าจอที่เราได้ capture ไว้เนี่ย นำมาผสมกันได้ ให้อยู่ในรูปเดียวกัน และยังเลือกแสดงผลได้อีกว่าจะให้แสดงในแนวนอน หรือแนวตั้ง เป็นต้น

    After capture tasks

    สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่จับภาพเสร็จแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป ตัวอย่างตามภาพด้านล่างเลย เช่น บันทึกเป็นไฟล์ภาพทันที, ใส่เอฟเฟกต์, ใส่ลายน้ำ, บันทึกเป็นภาพขนาดย่อ, คัดลอกในคลิปบอร์ด อัพโหลดไปยังเว็บ หรือ print เป็นต้น อยากเลือกอันไหนบ้างก็คลิกบนรายการ หรือบน icon ได้เลย

    After upload tasks

    สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่อัพโหลดภาพแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป เช่น แสดง shorten URL, Show QR code หรือ Copy URL to Clipboard เป็นต้น

    Destinations

    คือส่วนที่เราสามารถเข้ามาเลือกได้ว่าปลายทางที่เราจะเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์ตัวอักษร หรือแปลง URL shortener เนี่ย เราจะเลือกอะไร คือเอาจริงๆ มันเยอะมากกกกกก หลักๆ ถ้าเป็นรูปผู้เขียนก็จะเลือก upload ไว้ที่ google photo หากเป็น file ก็จะไว้ที่ google drive เป็นต้น เอาเป็นว่าการตั้งค่าเนี่ยจะมาเล่าในตอนต่อๆ ไปละกันนะ มันเยอะจริงๆ

    Task settings…..

    การตั้งค่าในการบันทึกหน้าจอ เมื่อคลิก “Task settings” ก็จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา จริงๆ การตั้งค่าหลักๆ โปรแกรมก็จะตั้งมาให้เรียบร้อยอยู่แล้ว

    Application settings

    เป็นส่วนสำหรับตั้งค่าต่างๆ ของตัวโปรแกรม shareX หลักๆ ก็จะมีภาษา ตั้งค่า path ที่เก็บไฟล์ การแสดงผลของ History หรือต้องการให้โปรแกรมแสดงหรือไม่แสดงในส่วนไหน เป็นต้น แล้วแต่ผู้ใช้แต่ละคนนะ ก็ลองเข้ามาตั้งค่ากันดูได้

    Hotkey settings

    1. เลือกเมนู “Hotkey setting
    2. เลือกรายการที่ต้องการเปลี่ยน
    3. คลิกบน hotkey เดิม จากนั้นก็จะปรากฏหน้าจอด้านล่างเพื่อให้เราสามารถ select hotkey…. ใหม่ตามที่เราต้องการได้เลย

    แต่หากไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ Hotkey ที่ให้มาก็จำง่ายอยู่แล้วก็ข้ามเมนูนี้ไปได้เล้ย

    Screenshots folder…..

    เมนูนี้ใช้สำหรับเปิด Folder ที่เก็บภาพหน้าจอที่เราได้ Capture เอาไว้นั่นเอง หากต้องการเปลี่ยน path ที่เก็บสามารถเปลี่ยนได้โดยเลือกไปที่เมนู “Application settings” นะ

    History

    ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการใช้งานย้อนหลังทั้งหมดของเรา โดยจะแยกให้เห็นเลยว่า total รวมเป็นเท่าไหร่ และเป็นประเภท image , text , URL อย่างละกี่ไฟล์ เป็นต้น

    Image history…..

    ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการจับภาพหน้าจอย้อนหลังของเราทั้งหมด

    News

    ข่าวประกาศจากทาง shareX

    Debug

    ส่วนสำหรับข้อมูลการพัฒนา และมีในส่วนของการทดสอบเครื่องมือต่างๆ ไว้ด้วยเช่น test text upload, test images upload เป็นต้น

    Donate

    ถ้าใครคิดว่าใช้งานโปรแกรมนี้จนประทับใจแล้วก็สามารถไปบริจาคเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของ ShareX กันได้

    About

    แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม shareX

    ——————————————————————————————————————————————–

    สำหรับ Blog นี้ผู้เขียนขอแนะนำโปรแกรม shareX  โดยอธิบายคุณสมบัติหลักๆ แต่ละตัว แบบไม่ได้ลงลึกเอาไว้ก่อน Blog หน้า จะกลับมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมทั้งในส่วนของการ connect ไปยังปลายทางที่เราเลือกสำหรับ upload ภาพ หรือการ Generate ออกมาเป็น QR Code หรืออื่นๆ เท่าที่ผู้เขียนจะอธิบายได้ละนะ 555 อย่าลืมไปลองใช้กันดูละ จิ๋วแต่แจ๋ว นะจะบอกให้

    อ้างอิง : bit.ly/refblog4