Grammarly For Chrome

Blog ที่2 สำหรับปีนี้ ทางผู้เขียนก็อยากจะขอนำเสนอ Extension เจ๋งๆ ให้ได้รู้จักกันอีกสักอันละกันเนอะ เชื่อเลยว่าหลายๆคน ที่ไม่ถนัดในภาษาอังกฤษมากนัก (อย่างเช่นผู้เขียนนี่แหละ – -“) จะต้องกราบงามๆ ให้กับคนที่พัฒนาสร้างสรรค์ Extension ที่ชื่อว่า Grammarly ตัวนี้ขึ้นมาให้เราได้ใช้กัน … __/\__ *** ถ้าพร้อมแล้วก็มาทำความรู้จัก Grammarly For Chrome กันเถอะ *** Grammarly เป็น Extension ที่จะทำหน้าที่คอยจับตามองในสิ่งที่เราพิมพ์ลงไปแบบ Real-time (ทันที) และจะคอยบอกให้เรารู้ ว่าเราพิมพ์ผิดคำไหน ตกตรงจุดไหน และที่สำคัญเจ้าตัวนี้มันจะแนะนำวิธีแก้ไขให้ หรือบางทีก็จะมีการแสดงอธิบายเพิ่มเติมให้ด้วย ความฉลาดของเจ้าตัวนี้หลักๆ ที่จะช่วยเราได้อย่างเช่น การสะกดคำ การลืมเติม S หรือการใส่ . (dot) หรือการจัดวางเรื่องของรูปแบบประโยค การขึ้นต้นคำ เป็นต้น อะ ไม่ต้องบรรยายกันมากละ มาลองติดตั้ง แล้วก็ใช้งานจริงกันเลยดีกว่าาาา ถ้าพร้อมแล้วก็ ลุยยยย กันเลย   *** วิธีติดตั้ง Grammarly For Chrome *** 1.เปิด Google Chrome Browser เพื่อติดตั้ง Extension คลิกที่นี่ จากนั้นเลือกเพิ่ม Extension ดังกล่าว                   2. หลังจากเพิ่มส่วนขยายเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าจอ Personalize Grammarly ดังรูป เราสามารถเลือกระบุได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วเรื่องที่เราเขียนจะเกี่ยวกับด้านไหน และระบุได้ว่าทักษะ ที่เรามีเนี่ยอยู่ที่ระดับประมาณไหน แต่หากไม่ต้องการระบุใดๆ ก็สามารถกด Skip เพื่อข้ามได้เลย                 3.ถัดมาให้ Create Account เพื่อเข้าสู่ระบบ โดยเราสามารถจะเลือก with facebook หรือ with google ก็ได้นะสำหรับคนที่มี Account อยู่แล้ว หากนอกเหนือจากนี้ก็ระบุ Email ที่ต้องการใช้ไปได้เลย                 4.แท่น แท่น แท๊นนน เมื่อ Login เข้ามาแล้วก็จะพบกับหน้าจอ Welcom to Grammarly! แบบในรูปนะ หน้านี้ก็จะมีให้เราเลือกว่าจะใช้แบบ ฟรี หรือจะใช้แบบ Premium เอาจริงๆ ตัดสินใจได้ไม่ยากเลย คลิกลงไปแรงๆ ตรงที่เขียนว่า “Continue to Grammarly It’s Free” 555+ จะเสียเงินทำไม แค่ที่เค้าฟรี มาให้เราก็เพียงพอที่จะใช้ได้ในชีวิตประจำวันของเราแล้ววว !!!                 5. คราวนี้มาทดลองใช้ Extension ตัวนี้ในการส่ง E-mail กัน ปล..แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่แค่ใช้ในการพิมพ์ E-mail เท่านั้นนะ จะเขียน Blog หรือพิมพ์อย่างอื่นผ่าน Chrome ก็สามารถใช้ Extension ตัวนี้ได้เช่นเดียวกันนะเออ ตัวอย่างเช่น พิมพ์ข้อความ young people are talking less on their mobile ทดสอบโดยการพิมพ์ถูกบ้าง ผิดบ้าง ก็จะสังเกตุได้ว่าเจ้าตัว Grammarly ก็จะตรวจสอบคำที่คาดว่าจะไม่ถูกต้อง และขีดเส้นใต้ สีแดงเอาไว้            

Read More »

Email tracking By Google Chrome Extension

เมื่อวันเวลาหมุนเวียนมาบรรจบพบกันอีกครั้ง ก่อนการเขียนผล TOR ในปีนี้ ก็ได้เวลาที่เหล่าเราทั้งหลายจะมาเริ่มต้นเขียน Blog กันอีกครั้ง และเช่นเคยสิ่งที่ผู้เขียนมีโอกาสศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือทดลองใช้งาน โดยมากแล้วก็จะเกี่ยวพันกับหน้าที่การงานในปัจจุบันนั่นแล ซึ่งหน้าที่หลักที่ผู้เขียนต้องทำทุกๆ วัน นั่นคือการรับแจ้งและตอบปัญหาให้กับลูกค้าผ่านทาง E-Mail และต้องขอบอกเลยว่าสำหรับผู้เขียน การตรวจสอบว่าเมลล์ถูกส่งไปถึงปลายทางหรือมีการเปิดอ่านหรือไม่นั้น มันเป็นเรื่องที่จำเป็นมากๆ ในงาน IT เพราะนอกจากการโทรแล้ว อีกหนึ่งช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แถมยังประหยัดรายจ่ายอีกต่างหาก นั่นก็คือการส่ง E-Mail นั่นเองแหละหนา โดยหนึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการติดตั้ง Extension บน Google Chrome และใน Blog นี้ผู้เขียนจะขอแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ Chrome Extension ที่มีชื่อว่า “Email Tracking for Gmail & Inbox” ต้องขอบอกว่าจิ๋วแต่แจ๋วนะจ๊ะออเจ้าทั้งหลาย !! Email Tracking คืออะไร ??? เอาแบบสั้นๆ เลย มันคือตัว App ที่ไว้คอย Track (ติดตาม) ว่า E-Mail ที่เราได้ส่งหรือตอบกลับไปนั้น ได้ถูกเปิดอ่านแล้วหรือไม่นั่นเอง วิธีติดตั้ง Email Tracking for Gmail & Inbox 1.เปิด Google Chrome Browser เพื่อติดตั้ง Extension คลิกที่นี่ จากนั้นเลือกเพิ่ม Extension ดังกล่าว                     2. จากนั้นให้เข้าสู่ระบบ Gmail เลือก Sign in with Google                     3.จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้เรา อนุญาตให้ Mailtrack เข้าถึงบัญชีของเรา                     4.ถัดมาจะให้เราเลือกว่าจะใช้งานแบบไหน และระดับเราๆแล้ว จะเลือกอะไรได้ล่ะ เลือก Free เท่านั้นก็พอ !!               5.ระบบก็จะบอกเราว่า ยินดีด้วย คุณติดตั้ง Mailtrack เรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้คลิก “Go to my email”                   6.เมื่อเข้าสู่หน้าจอ E-Mail ของเราแล้วนั้นจะสั่งเกตุได้ว่าจะมี Icon ของตัว Mailtrack แสดงอยู่ตรงมุมบนขวา                   7.ในขั้นตอนต่อไปให้เราทดสอบโดยการเขียนและส่ง E-mail ไปยัง E-Mail อื่นที่เราสามารถเข้าไปเปิดอ่านเพื่อทำการทดสอบได้ เมื่อส่งไปแล้วก็ให้ทดสอบโดยการไปเปิดอ่าน E-Mail ดังกล่าว และกลับมายัง E-Mail หลักที่เราใช้ส่ง จะสังเกตุได้ว่าจะมีการ แจ้งเตือนกลับมาจาก MailTrack Alert ที่เราตั้งค่าไว้                 8.ถ้ามีการเปิดอ่าน E-Mail ของเราที่ส่งออกไป ระบบจะมี Notification แจ้งเตือนมี E-Mail แจ้งสถานะกลับมา และในกล่องจดหมายที่ส่งแล้ว จะมี Icon เครื่องหมายถูกคู่ซ้อนกันสีเขียว ตัวอย่างดังรูป

Read More »

ตรวจเช็คพื้นที่และเฝ้าระวังน้ำท่วมด้วย Google Earth

#ฝนตกต่อเนื่อง ตรวจเช็คพื้นที่และเฝ้าระวังน้ำท่วมด้วย Google Earth มาดูวิธีการเฝ้าระวังพื้นที่บ้านเรา จะเสี่ยงน้ำท่วมไหม? และต้องเฝ้าระวังพื้นที่รอบๆด้วยนะคับ #GoogleEarth #GIS #เฝ้าระวังน้ำท่วม

Read More »

วิธีการใช้ Google Drive เป็น Private Git Repository

git คือ distributed revision control system เรามักใช้ github.com สำหรับเก็บ source code แต่มัน public ซึ่ง บางทีเราก็ต้องการอะไรที่ private ต่อไปนี้ คือวิธีการใช้งาน Google Drive เพื่อสร้าง Private Git Repository ติดตั้ง Google Drive File Stream, git ให้เรียบร้อย ใน Google Drive สร้าง Directory ชื่อ git ขึ้นมาที่ My Drive กรณี Google Drive File Stream ก็จะเห็นที่ G:\My Drive\git จากนั้น ก็สร้าง Working Directory  เช่น ที่ Documents ในภาพ สร้างไว้ใน Documents\firebase\fmsworkshop จากนั้น คลิก Git Bash Here ใช้คำสั่ง git init เพื่อสร้าง .git ใน Directory นี้ก่อน จากนั้นใช้คำสั่งนี้ ที่มี –bare เพื่อสร้าง Remore Repository บน Google Drive git init –bare “G:\My Drive\git\fmsworkshop.git” บน Google Drive File Stream ก็จะมี fmsworkshop.git ปรากฏขึ้น ซึ่งต่อไปก็สามารถ git push ขึ้นไปเก็บไว้ได้แล้ว ต่อไป ก็พัฒนาโปรแกรมไป แล้ว ก็ git push ตามปรกติครับ git add . git commit -m “some text” git push “G:\My Drive\git\fmsworkshop.git” หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

วิธีการ Upload ไฟล์ไปบน Google Drive File Stream ด้วย Google Client Library for Python

Google Drive File Stream จริงๆแล้วก็คือการเปิดให้ PC ทั้ง Windows และ Mac สามารถ Map Drive จาก Google Drive มาเป็น G:\ หรืออะไรทำนองนั้น แต่ปัจจุบัน (September 2017) บน Windows Server ซึ่งใช้ Secure Boot จะไม่สามารถติดตั้ง Client ได้ และ Ubuntu Server ก็ยังไม่มีตัวติดตั้ง ดังนั้น ในภาพของผู้ดูแลระบบ ไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ได้ … โดยตรง ส่วนใน Windows Desktop ทั่วไปก็จะติดตั้งได้ แม้ว่า จากคำโฆษณา จะบอกว่าผู้ใช้สามารถใช้งานได้ แม้พื้นที่บน Local Drive ไม่เยอะ แต่เอาเข้าจริง ด้วยความสามารถที่จะใช้งาน Offline ได้บ้าง ทำให้ Client ต้อง Cache ไฟล์ที่ใช้งานด้วยเช่นกัน และหาก upload ไฟล์ขนาดใหญ่ จาก Local Drive ไปเก็บใน G:\ ข้างต้น ก็จะทำให้ต้องเสียพื้นที่ในขนาดเท่าๆกันไปด้วย เช่น ใน Local Drive มีไฟล์ที่จะ Backup ขึ้นไป ขนาด 1 GB บน C:\ เมื่อทำการ Copy ไปยัง G:\ ก็จะเสียพื้นที่อีก 1 GB ด้วยเช่นกัน ทางออกก็คือ ใช้ความสามารถของ Google Client Library ทำการ Upload ไฟล์ขึ้นไปโดยตรง เท่าที่ทดลองมา จะไม่ได้ Cache บน Local Drive ทำให้สามารถ Upload ไฟล์ขนาดใหญ่ได้ โดยไม่เสียพื้นที่เพิ่มแบบ Client ข้างต้น วิธีการใช้งาน Python เพื่อ Upload File ขึ้น Google Drive File Stream ผมเขียน Code เอาไว้ ชื่อ upload2gdrive.py ไว้บน GitHub (https://github.com/nagarindkx/google) สามารถดึงมาใช้งานได้โดยใช้คำสั่ง clone https://github.com/nagarindkx/google.git cd google สร้าง Project, Credential ตาม “ขั้นที่ 1” ในบทความ การใช้งาน Google Drive API ด้วย Google Client Library for Python ซึ่งจะได้ไฟล์ Client Secret File มา ให้แก้ไขชื่อเป็น “client_secret.json” แล้ว นำไปไว้ใน directory “google” ตามข้อ 1 วิธีใช้คำสั่ง ดูวิธีใช้ python upload2gdrive.py –help Upload ไฟล์ จาก /backup/bigfile.tar,gz python upload2gdrive.py –file /backup/bigfile.tar.gz บน Windows ก็สามารถใช้งานได้ ด้วยคำสั่ง python upload2gdrive.py –file D:\backup\bigfile.tar.gz หากต้องการระบุตำแหน่ง Folder บน Google Drive ที่ต้องการเอาไฟล์ไปไว้ ให้ระบุ Folder ID python upload2gdrive.py –file /backup/bigfile.tar.gz —-gdrive-id xxxxxxxbdXVu7icyyyyyy หากต้องการระบุ Chunk Size (ปริมาณข้อมูลที่จะแบ่ง Upload เช่น

Read More »