UX, everything related!

เรามักได้ยินคำว่า UI เป็นประจำเมื่อเราพัฒนาระบบแต่ รู้หรือไม่ว่านอกจาก UI แล้วมันมีอีกหนึ่งอย่างที่ควรรู้และสำคัญยิ่งกว่าแต่ถูกมองข้ามไปคือ UX (ย่อมาจาก User experience) หลายๆคนมักจะสับสนว่า UI และ UX มันคือสิ่งเดียวกัน จริงๆแล้วมันคือคนละอย่างกันเลย วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง UI :: User Interface User Interface คือหน้าตาของระบบที่ผู้ใช้ได้เห็น ได้ตอบสนอง ไม่ใช่ระบบในทางคอมพิวเตอร์อย่างเดียวที่มี UI ถ้าเทียบกับขวดซอสมะเขือเทศ ขวดก็คือหนึ่งใน UI เช่นกันหรืออาหาร 1 จาน หน้าตาของอาหารก็ถือว่าเป็น UI ด้วย “UI เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้หรือจับต้องได้“ UX :: User Experience User Experience คือ Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ที่เราได้ส่งมอบให้ มากกว่า Interface ที่ผู้ใช้งานได้ตอบสนอง เราจะไป focus ที่ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วได้บรรลุวัตถุประสงค์ของเราหรือไม่ “UX คือสิ่งที่อยู่กับความรู้สึก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่วัดประเมินผลได้” ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพ การออกแบบ UX ของการรับประทานอาหารจานหนึ่ง เราอยากให้ผู้ใช้รู้สึก fresh ก่อนตามด้วยความแน่นของรสชาติที่ตั้งใจปรุงตามมา ก็ต้องออกแบบจานอาหาร การเลือกใช้วัตถุดิบ หรือการให้กินคู่กับเครื่องดื่มบางอย่าง จะช่วยส่งเสริม/เติมเต็มให้ผู้กินได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ได้ จริงๆแล้ว นอกจาก website หรือ application ที่ต้องมี UX ที่ดีเป็น 1 ในองค์ประกอบแล้ว ทุกๆอย่างรอบตัวในชีวิตประจำวันก็ต้องมี UX ที่ดีเช่นกัน Why should we have to care on UX? UX เรียกได้ว่าเป็นสารต้นต้นของสินค้าก็ว่าได้ การทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีมักจะเป็น 1 ในวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบสินค้าและบริการ เพราะถ้าทำออกมาแล้ว ผู้ใช้ไม่ enjoy ใช้แล้วลำบากกว่าเดิม แล้วใครจะมาใช้งาน? สินค้าบางอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นซอสมะเขือเทศออกแบบขวดซอสแบบทั่วไป เวลาใช้ผู้ใช้จะต้องเคาะ/เขย่าขวด ซอสจึงจะออกมา การออกแบบขวดให้เป็นแบบคว่ำ บีบแล้วซอสออกเลย เป็นการแก้ปัญหาของผู้ใช้ เมื่อผลิตออกมาจึงขาย ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้ ผู้ใช้ก็ happy, win win ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ แล้วเราจะไปหาข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์หละ แน่นอน UX = Research Research เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม การสัมภาส การสังเกตการใช้งาน การลงพื้นที่จริง หรือการอิงข้อมูลทางสถิติหรือข้อมูล log ยิ่งทำเยอะยิ่งทำให้เกิด UX ที่ดี การมี user experience ที่ดีมาจากการทำ Research หรือการค้นความหาข้อมูล ถามว่าการตามหาข้อมูลจะทำได้อย่างไรหละ User Research การ research ข้อมูลของผู้ใช้งาน/กลุ่มผู้ใช้งาน จะได้ออกแบบได้ตรงจุด ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เช่น อายุ เพศ ที่อยู่ เป็นต้น ผู้ใช้ที่เราขายคือใคร กลุ่มไหนบ้าง ทำงานอะไร ผู้ใช้สินค้าเรามีบุคลิกอย่างไร นิสัยเป็นอย่างไร รวมไปถึง รูปภาพของผู้ใช้ ควรเป็นรูปที่สามารถสื่อถึง Lifestyle ของคนๆนั้นได้ จะดีมากๆ ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวแปรตั้งต้นที่เราจะต้องมาออกแบบระบบอย่างไรให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่เราเก็บข้อมูลมา จะเห็นได้ว่า ยิ่งเราทำ research มาเท่าไหร โอกาสของการสร้างสินค้ามาให้ตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้ จะทำให้สินค้าเราขายออกได้ง่ายกว่าเช่น การออกแบบระบบสารสนเทศที่กลุ่มผู้ใช้ระบบ 90%เป็นผู้มีอายุ การทำระบบให้เขาใช้งานก็ควรมีตัวอักษรที่ใหญ่กว่าทั่วไป มีการทำ Shortcut เมนูที่ง่าย ไม่สับซ้อน Brand Research คนที่ว่าจ้างหรือว่าง่ายๆคือเจ้าของระบบคือใคร Brand หรืออัตลักษณ์ของเขาเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ขององค์กร สีขององค์กร design token ขององค์กร ก็เป็นอีก 1 อย่างที่ต้องมีการศึกษาข้อมูลด้วยเช่นกัน Problem Research นอกจากการ research ผู้ใช้แล้ว เราก็ควรศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะอะไรผู้ใช้ถึงเลิกใช้ ทำไมผู้ใช้ถึงไม่ใช้ feature นี้ ทำไมผู้ใช้สับสนในการใช้งาน ปัญหาเหล่านี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งสารตั้งต้นที่จะทำไปออกแบบและพัฒนาสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถสำรวจปัญหาเหล่านี้ได้จากการให้ผู้ใช้ทำแบบสอบถาม การลงพื้นที่จริงไปสังเกตการใช้งานระบบ

Read More »

สร้าง Modal dialog อย่างง่ายด้วย jquerymodal

เนื่องจากตอนนี้มีพรบ.คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องมี pop up Modal dialog ถามผู้ใช้ วันนี้จะมาแนะนำการใช้งาน jQuery ที่เรียกใช้ไม่กี่บรรทัดเราก็ได้ Modal dialog โดยจะยกตัวอย่าง Modal dialog แบบไม่ให้ปิดได้ โดยต้องอ่านข้อความก่อน ถึงจะปิดได้ ขั้นตอนที่ 1 เพิ่ม jquery.min.js, jquery.modal.min.js, jquery.modal.min.css เพื่อเรียกใช้งาน ขั้นตอนที่ 2 เพิ่มการตั้งค่า Modal dialog ตามตัวอย่างไม่ให้แสดงปุ่ม “ปิด” ขั้นตอนที่ 3 เพิ่ม User interface Modal dialog โดยใช้ tag div ขั้นตอนที่ 4 ได้ผลลัพธ์ Modal dialog ออกมาอย่างสวยงาม ที่มา : https://jquerymodal.com

Read More »

Firebase และ Arduino ตอนที่ 2

ในตอนที่ 2 เราจะมาดูภาคการเขียนโปรแกรมในส่วนของ board โดยใช้ซอฟต์แวร์ arduino-1.8.10 เขียน sketch แล้ว upload เข้า board เพื่อใช้งานร่วมกับ Firebase หากบังเอิญ search มาเจอบทความนี้ก่อน ย้อนกับไปอ่าน ตอนที่ 1 ได้ครับ เริ่มต้นเราต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ ดังรูป รันโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมา arduino-1.8.10-windows.exe (ส่วนอีก 2 ไฟล์ที่เป็น .zip แตกไฟล์ออกมา CH341SER_WINDOWS.zip ใช้เพื่อให้ USB port ของ Notebook จำลองเป็น Serial port COM3 ได้ และ firebase-arduino-master.zip จะใช้ในโปรแกรม Arduino ในขั้นตอน Add Libraries) ในไดเรกทอรี libraries จะเห็นว่าเราใช้งาน libraries ใดได้บ้างในการเขียนโปรแกรม และเมื่อเราจะเขียนโปรแกรม จะต้องวางไว้ในไดเรกทอรี ดูตัวอย่าง เอาโค๊ดของ project ชื่อ Firstapp-IoT ได้ที่ link นี้ https://github.com/woonpsu/firstapp-iot เมื่อรันโปรแกรม Arduino ในครั้งแรก ให้ตั้งค่าเพิ่มที่ File > Preferences ตัวอย่าง Arduino board ที่ใช้ ESP8266 ต้องใส่ URL: https://arduino.esp8266.com/stable/package_esp8266com_index.json ถัดไป ตั้งค่าเลือก Board ให้ตรงกับที่เราซื้อมา (ให้ข้อมูลเพิ่มครับ ที่ซื้อมาคือรุ่น บอร์ดทดลอง NodeMCU V2 NodeMCU V2 ESP8266 Development Kit ESP-12F/N) เมื่อเราเขียน Sketch book เสร็จ ไม่ error แล้ว เราจะอัปโหลดใส่ board ในขั้นตอนนี้ เราใช้สาย USB data ต่อ board เข้ากับ USB port ในรูปจะเห็น COM3 หากใช้สาย USB Charger จะไม่เห็น Serial port นะ เมื่อพร้อมก็คลิกปุ่ม upload ต่อไปเราก็เปิดหน้าต่าง Serial Monitor เพื่อดูผลลัพธ์ หรือ debug จะเห็นว่า โปรแกรมมีการใช้คำสั่ง Serial.println(“WiFi connected”); เพื่อ debug ผลลัพธ์เมื่อเราใช้โปรแกรม JavaScript สั่งเปิด LED1 และ LED2 และตั้งสีให้กับหลอดสี เป็น สีเขียว อ้างอิง: อ่านเยอะ ๆ และ search จาก google หลายเพจมาก ๆ ได้รับข้อมูลเรื่องการเชื่อมต่อเน็ต Arduino ไปยัง Wi-Fi 802.1x จากเพื่อนชื่อโป้งทำงานที่ CLIB PSU โดยนักศึกษาฝึกงานเขียนโค๊ดไว้บน github ที่นี่ https://github.com/ton28919/firedoor/blob/main/nodeMCU_WifiEnterprise/nodeMCU_WifiEnterprise.ino โปรแกรม JavaScript ที่เขียนก็ได้จาก Firebase Document ส่วนมาก ต้องขอบคุณเพจนี้ด้วย เป็นเพจแรก ๆ ที่จุดประกายให้ http://www.daydev.com/firebase/web-authentication-with-firebase.html และ https://adamblog.co/firebase-authentication-with-firebaseui/ Firebase UI https://github.com/firebase/firebaseui-web และขอบคุณทุกเพจบนโลกใบนี้ที่เขียนแนะนำโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน

Read More »

Firebase และ Arduino ตอนที่ 1

บทความนี้ ตอนที่ 1 จะพูดถึง (แจกโค๊ด) Firebase Realtime Database และ ตอนที่ 2 จะพูดถึง Arduino โดยที่ในตอนที่ 1 จะเป็นโปรแกรมให้เห็นว่า นำข้อมูลใส่เข้าใน Firebase Realtime Database ได้อย่างไร แล้วในตอนที่ 2 เราจะโปรแกรม Arduino ให้เชื่อมต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi 802.1x แล้วหลอด LED จะถูกเปิด/ปิด หรือ เปลี่ยนสี เมื่อมีการสั่งจากโปรแกรม JavaScript ในตอนที่ 1 ในขั้นตอนการติดตั้ง Firebase สมัครใช้งาน สร้าง Database ลองหาอ่านกันเอาเองนะครับ มันง่าย ๆ ครับ เรามาเริ่มต้นที่มี Database ชื่อว่า Firstapp-IoT ที่ผมสร้างไว้แล้ว ขั้นตอนมาเราจะโปรแกรม JavaScript โดยการเขียนโปรแกรมไว้ใน local folder เครื่องของผมใช้ Windows 10 ผมก็สร้างไว้ที่ C:\myFirebase และก็ไปดาวน์โหลด firebase-tools-instant-win.exe เพื่อใช้ในการทดสอบแบบ localhost ด้วยคำสั่ง firebase serve แล้วทำการทดสอบโปรแกรมผ่านเว็บเบราว์เซอร์ที่ localhost:5000 และเมื่อโปรแกรมพร้อมใช้ก็นำขึ้นไปไว้ใน Firebase hosting ด้วยคำสั่ง firebase deploy –only hosting แล้วก็สามารถใช้โปรแกรมผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ที่ firstapp-iot.web.app รัน firebase-tools-instant-win.exe ในขั้นตอน setup ครั้งแรก เราสร้างไดเรกทอรีชื่อ nodemcu จะมีคำถามว่าจะสร้าง project ใหม่ หรือ ใช้ที่มีอยู่ ผมมีอยู่แล้ว ดังรูป และถัดไป เราจะเขียนโปรแกรมภาษา JavaScript ไว้ที่เรา setup ไว้ ไฟล์แรกที่เราจะเขียนคือ index.html และเมื่อเสร็จเราก็รัน firebase-tools-instant-win.exe กลับเข้ามา และทดสอบโดยคำสั่ง firebase serve และเมื่อโปรแกรมเริ่มใช้งานได้แล้ว ก็นำไปไว้บน Firebase hosting ด้วยคำสั่ง firebase deploy ดังรูป ผลลัพธ์ของโปรแกรม เมื่อเราใส่ email ที่อนุญาต ก็จะเข้าสู่หน้าต่อไปที่จะทดสอบการอัปเดตค่าข้อมูลใน Firebase Realtime Database ของ project ชื่อ Firstapp-IoT ดังรูป เมื่อคลิกที่ SET LED ON ได้ผลลัพธ์แบบนี้ สำหรับเว็บเพจ setled.html เป็นการทดสอบให้เห็นว่า เราสามารถตั้งค่า Firebase authentication ด้วย email แล้วอนุญาตให้แก้ไขข้อมูลใน Firebase Realtime Database ได้ โดยต้องไปตั้งค่า Rules ให้ดี ถัดไป คลิกที่ Goto NodeMCU ESP8266 Project ผมจะสาธิตการควบคุม Arduino NodeMCU ESP8266 ให้เปิด/ปิด LED ตรงนี้เชื่อมต่อผ่านเน็ต Wi-Fi 802.1x ทดสอบคลิก Set LED On และเลือก GREEN และดูผลลัพธ์ที่อุปกรณ์ ดังรูป ถัดไปลองอีกตัวอย่าง คลิก Set LED Off และเลือก BLUE และดูผลลัพธ์ที่อุปกรณ์ ดังรูป จบการทดสอบ จากรูปเราต่อวงจรตามตำราที่เล่าขานกันในอินเทอร์เน็ต ตรงนี้หาอ่านกันเอาเองนะครับ สังเกตเราจะใช้ก้อนถ่านพร้อมราง แต่เราก็สามารถเลือกใช้สายชาร์ตจ่ายไฟได้ ดังรูป ต่อไปมาดูส่วนโปรแกรมกันบ้าง คลิกเข้าไปในไดเรกทอรี public จะเห็นดังรูป แจกโค๊ดให้ครับ เข้าไปที่ github ตาม link นี้ https://github.com/woonpsu/firstapp-iot ถัดไปเรามาดูส่วนที่เราต้องมีใน

Read More »

สร้างเงาให้กับวัตถุด้วย SmoothShadow

Layer of shadows คือจำนวนชั้นของเงา ปกติโดยทั่วไปเราจะใช้งานกันประมาณ 1-2 layer ซึ่งจำนวนของชั้นเงานี้จะสัมพันธ์กับตัวปรับแต่งด้านล่าง เช่นในรูปตั้งไว้ที่ 4 layers หรือเงา 4 ชั้น เราก็จะสามารถปรับกราฟการไล่เงาซึ่งจะแบ่งไว้ 4 ช่วงของแสงไล่ตั้งแต่ขาวไปดำ 4 ระดับ ถ้าปรับเป็น 7 layers ระบบก็จะซอยช่วงเทาเพิ่มมามากขึ้น ก็จะไล่จากขาวไปดำ 7 ระดับ Final transparency คือความเข้ม/ความโปร่งใสของเงา ค่ายิ่งน้อยเงาของเราจะยิ่งโปร่งแสง(จางขึ้น) ค่ายิ่งมากเงาของเราก็จะยิ่งทึบแสง(เข้มขึ้น) ส่วนของกราฟจะแสดงถึงการไล่แสงของเงา โดยเราจะสามารถดึงจุดวงกลมสีชมพูได้ เพื่อปรับความโค้งของกราฟ เงาก็จะมีการไล่แสงที่ต่างกันออกไป และส่วนของ Reverse alpha คือการกลับกันของเงา ไล่จากขาวไปดำ Final vertical distance คือการไล่แสงในแนวตั้ง ซึ่งจะสามารถไล่แสงได้แค่ทิศทางเดียวคือ แสงจากบนลงล่าง เงาด้านล่างของวัตถุ ยิ่งเพิ่มค่ามากเงาก็จะเพิ่มมาด้านล่างมากขึ้น ค่าลดลงเงาในแนวตั้งก็จะน้อยลง ส่วนกราฟจะแสดงปริมาณของเงาในแต่ละ layer สามารถดึงวงกลมสีชมพูเพื่อปรับแต่งได้ Final blur strength คือระดับความเบลอของเงา ยิ่งเพิ่มค่าเบลอ เงาของเราก็จะเบลอ ดูนวลตา กลมกลืนมากขึ้น ถ้าลดค่าความเบลอ เงาก็จะยิ่งชัดขึ้นจะเป็นสี่เหลี่ยม แสงแข็ง เห็นชัดเจน ส่วนกราฟจะความเบลอในแต่ละ layer สามารถดึงวงกลมสีชมพูเพื่อปรับแต่งได้เช่นกัน Reduce spread คือ ระดับการแผ่กระจายของเงา ยิ่งเพิ่มมาก เงาก็จะมีความใหญ่ มีการเกลี่ยแสงที่มาก ดูกลมกลืน ยิ่งลดค่า เงาก็จะยิ่งหดอยู่ใกล้วัตถุ ทำให้วัตถุมีความชัดเจนมากขึ้น อ้างอิง Smoother & sharper shadows with layered box-shadows | Tobias Ahlin , @brumm (@funkensturm) / Twitter

Read More »