ORA-31623: a job is not attached to this session via the specified handle

ปัญหา พยายามใช้ expdp แล้วเกิด error UDE-31623: operation generated ORACLE error 31623ORA-31623: a job is not attached to this session via the specified handleORA-06512: at “SYS.DBMS_DATAPUMP”, line 3905ORA-06512: at “SYS.DBMS_DATAPUMP”, line 5203ORA-06512: at line 1 งานมา… เมื่อค้นข้อมูลไปเรื่อย ๆ จะพบว่าอาจเกี่ยวของกับการปรับแต่งค่าต่างๆ เกี่ยวกับ memory ซึ่งก็ได้ทำไปจริงนั่นคือการปรับ shared_pool_size ให้มีขนาดมากขึ้นทำให้หน่วยความจำสำหรับทำเรื่อง expdp ไม่พอ แก้ไขได้ด้วยการลดค่า shared_pool_size ลง ด้วยคำสั่ง เพื่อปรับขนาด shared_pool_size ให้เป็น 5GB และอาจต้องเพิ่ม streams_pool_size เพราะไม่ได้ลด shared_pool_size ให้เท่าเดิม เนื่องจากมีการเพิ่มหน่วยความจำของระบบให้มากขึ้นแล้ว ด้วยคำสั่ง เพื่อปรับ streams_pool_size ให้เป็น 128MB และยังมี parameter บางตัวที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น db_cache_size เป็นต้น แต่ในครั้งนี้ปรับแค่สองอย่าง คือ shared_pool_size และ streams_pool_size ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ จบ ขอให้สนุก อ้างอิง ORA-31623: a job is not attached to this session via the specified handleUDI-31623: operation generated ORACLE error 31623 / ORA-31623

Read More »

Oracle User expire โดยไม่ทราบสาเหตุ

นักพัฒนาบางท่านที่เพิ่งเริ่มพัฒนาระบบบนฐานข้อมูล Oracle อาจจะเคยเจอปัญหาเมื่อใช้ Oracle ตั้งแต่เวอร์ชัน 11 เป็นต้นไป นั่นคือ เมื่อสร้าง user บน Oracle และใช้งานไปได้ซักระยะอยู่ ๆ user นี้ก็เกิดก็ expire โดยที่ไม่ได้มีใครเข้าแก้ไขการตั้งค่าของ user นี้ ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจจะมีสาเหตุแบบเดียวกับที่จะนำเสนอในบทควาามนี้ก็เป็นได้ หมายเหตุ ในบทความนี้จะใช้ Oracle SQL Developer ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงและจัดการฐานข้อมูล Oracle มาช่วยในการอธิบายเพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนการตรวจสอบที่มาของปัญหาและการแก้ไข login ด้วย sys ตรวจสอบการตั้งค่า Default Profile โดยเลือกเมนู View –> DBA 3. ในหน้าต่าง DBA เลือกเพิ่มการเชื่อมต่อโดย SYS 4. ไปที่การตั้งค่า Default Profile 5. คลิกขวาที่ Default แล้วเลือก Edit 6. จะปรากฏหน้าต่าง Default Profile ซึ่งใน Oracle 11 เป็นต้นไป หลังจากติดตั้งและสร้าง Database แล้ว ใน Default Profile จะมีการตั้งค่าเริ่มต้นไว้ดังรูป โดย Default Profile จะมีผลกับ user ที่ถูกสร้างใหม่ และค่าที่ทำให้ user หมดอายุโดยอัตโนมัติก็คือ “Expire in (days)” นั่นเอง จึงเป็นที่มาของการที่ user expire เองโดยที่ไม่ได้มีการเข้าไปแก้ไขข้อมูลใด ๆ ของ user นี้ 7. การแก้ไขไม่ให้ user ที่สร้างใหม่ expire อัตโนมัติ ทำได้โดยการแก้ค่า “Expire in (days)” ให้เป็น UNLIMITED เมื่อแก้ไขแล้ว user ใหม่ที่ถูกสร้างหลังจากนี้ก็จะใช้งานได้ตลอดไม่มีวัน expire แต่ส่วนของ user ที่เคยสร้างไปก่อนหน้านี้ ผู้พัฒนาจะต้องเข้าไปปรับแก้วันที่ expire เป็นราย user ไป

Read More »

คำสั่ง Update โดยใช้ข้อมูลจากอีกตาราง [Oracle]

ในการสั่ง update ข้อมูล ในบางครั้งเราอาจจะเจอโจทย์ว่า ต้องการ update ข้อมูลในตารางหนึ่งโดยใช้ข้อมูลจากอีกตารางหนึ่ง ซึ่งลักษณะของข้อมูลทั้งสองตารางนี้ จะต้องมีฟีลด์ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละเร็คคอร์ดได้ ตัวอย่างข้อมูล มีข้อมูลสองตาราง ตารางที่ 1 เก็บข้อมูลวันในหนึ่งสัปดาห์ภาษาไทย [ชื่อตาราง : DAY_OF_WEEK_THAI] โครงสร้างตารางประกอบด้วย ฟีลด์ ID เก็บ ID ของแต่ละเร็คคอร์ด ฟีลด์ DAY_FULL เก็บข้อมูลวันแบบเต็มภาษาไทย ฟีดล์ DAY_SHORT เก็บข้อมูลวันแบบย่อภาษาไทย ข้อมูลในตารางเป็นดังนี้ ตารางที่ 2 เก็บข้อมูลวันในหนึ่งสัปดาห์ภาษาอังกฤษ [ชื่อตาราง : DAY_OF_WEEK] โครงสร้างตารางประกอบด้วย ฟีลด์ ID เก็บ ID ของแต่ละเร็คคอร์ด ฟีลด์ DAY_ENG เก็บข้อมูลวันแบบเต็มภาษาอังกฤษ ฟีดล์ DAY_ENG_SHORT เก็บข้อมูลวันแบบย่อภาษาอังกฤษ ข้อมูลในตารางเป็นดังนี้ 2. ฟีลด์ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทั้งสองตารางคือฟีลด์ ID 3. ต่อมามีการปรับแก้โครงสร้างตาราง DAY_OF_WEEK โดยเพิ่มฟีลด์ 2 ฟีลด์ ดังนี้ ฟีลด์ DAY_THA สำหรับเก็บข้อมูลวันแบบเต็มภาษาไทย ฟีลด์ DAY_THA_SHORT สำหรับเก็บข้อมูลวันแบบย่อภาษาไทย 4. เนื่องจากมีข้อมูลวันภาษาไทยในตาราง DAY_OF_WEEK_THAI อยู่แล้ว และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ด้วยฟีลด์ ID ดังนั้นความต้องการคือ การใช้ข้อมูลจากตาราง DAY_OF_WEEK_THAI มา update ให้กับตาราง DAY_OF_WEEK 5. รายละเอียดการ update นำข้อมูลวันแบบเต็มภาษาไทยในฟีลด์ DAY_FULL ของตาราง DAY_OF_WEEK_THAI มาใส่ในฟีลด์ DAY_THA ของตาราง DAY_OF_WEEK นำข้อมูลวันแบบย่อภาษาไทยในฟีลด์ DAY_SHORT ของตาราง DAY_OF_WEEK_THAI มาใส่ในฟีลด์ DAY_THA_SHORT ของตาราง DAY_OF_WEEK รูปแบบคำสั่ง SQL แบบที่ 1 update table1 t1 set table1.data1= (select table2.data1 from table2 where table2.key = t1.key), table1.data2 = (select table2.data2 from table2 where table2.key = t1.key); แบบที่ 2 update table1 t1 set (table1.data1, table1.data2) = (select table2.data1, table2.data2 from table2 where table2.key = t1.key); อธิบายคำสั่ง table1 คือ ตารางที่ต้องการ update t1 คือ ชื่ออ้างอิงแทนตาราง table1 ซึ่ง t1 จะถูกใช้ในคำสั่ง select table1.data1 และ table1.data2 คือ ฟีลด์ข้อมูลที่ต้องการ update table2 คือ ตารางที่จะนำข้อมูลมาใช้เพื่อ update ให้กับ table1 table2.data1 และ table2.data2 คือ ฟีลด์ข้อมูลที่จะนำมาใช้เพื่อ update ให้กับ table1.data1 และ table1.data2 ตามลำดับ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน แบบที่ 1 update day_of_week t1 set day_tha = (select day_full from day_of_week_thai where day_of_week_thai.id = t1.id), day_tha_short = (select day_short from

Read More »

[กันลืม] ปรับแต่ง MySql/Mariadb ให้โหลดข้อมูลได้เร็วขึ้น

เพื่อให้ดาต้าเบส (Database) ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสามารถใช้ทรัพยาการของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ได้เต็มศักยภาพของเครื่องเมื่อติดตั้งเสร็จก็จะควรมีการปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับการใช้งาน สำหรับ Linux ให้แก้ไขไฟล์ /etc/mysql/my.cnf สำหรับ Windows (XAMPP) ให้แก้ไขไฟล์ C:\xampp\mysql\bin\my.ini มาเริ่มกันเลย! ปัจจุบัน MySql/Mariadb เวอร์ชั่นใหม่จะใช้เอนจินแบบ InnoDB เป็นค่าเริ่มต้น ฉะนั้นเราจะโฟกัสความสำคัญเฉพาะการตั้งค่า InnoDB โดยเฉพาะค่า innodb_buffer_pool_size ควรกำหนดให้ไม่เกิน 70-80% ของขนาด RAM มีตัวย่างการค่าคอนเฟิกดังนี้ (สมมุติสเปกเครื่องเซิร์ฟเวอร์ CPU 4 core  RAM 4 GB) คำสั่งคิวรีที่ใช้ตรวจสอบค่าที่เหมาะสมของ innodb_buffer_pool_size เมื่อใช้ดาต้าเบสไปได้ 1-2 สัปดาห์ ให้ใช้คำสั่งคิวรีนี้เพื่อใช้ตรวจสอบว่าหน่วยความจำ GB จริงที่ถูกใช้โดย InnoDB Data ใน InnoDB Buffer Pool ในขณะนี้ถูกใช้งานไปเท่าไร และมีค่าอื่นๆ อีกเช่น เสร็จแล้วให้บักทึก และ Restart การทำงาน MySql/Mariadb ใหม่อีกครั้ง แนะนำบทความเพื่อศึกษาเพิ่มเติม : Tuning MySQL : สำรวจตัวเองและเข้าใจตัวแปร อ้างอิง https://gist.github.com/fevangelou/fb72f36bbe333e059b66 https://qastack.in.th/dba/27328/how-large-should-be-mysql-innodb-buffer-pool-size https://www.bunyiam.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87-mysql-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA/

Read More »

Change BYTE to CHAR for all columns, all tables

เมื่อมีการสร้างฟิลด์ให้มีชนิดเป็น char หรือ varchar2 จริงๆ แล้ว มันมีหน่วยย่อยไปอีกว่าจะให้เป็น Byte หรือ Char ซึ่งโดยปกติจะเป็น Byte สามารถเปลี่ยนค่า default นี้ได้ด้วยการเปลี่ยนตัวแปรของระบบตัวแปรชื่อ nls_length_semantics https://docs.oracle.com/cd/B19306_01/server.102/b14237/initparams127.htm#REFRN10124 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ทีนี้ Byte กับ Char มันสำคัญอย่างไร…สำคัญเรื่องการแปลง Character Set เช่น จาก TH8ASCII เป็น AL32UTF8 จากข้อมูลเดิม 1 ตัวอักษรเท่ากับ 1Byte สำหรับ TH8ASCII และ 3Byte สำหรับ AL32UTF8 ทำให้เมื่อเราสร้างฟิลด์ ตอนมี Character set บน TH8ASCII ชนิดของข้อมูลเป็น varchar2 มีขนาด 3Byte ถ้าจะนำข้อมูลเข้าอีกฐานข้อมูลที่มี Character Set เป็น AL32UTF8 จะนำเข้าไม่ได้เพราะขนาดเกินจำนวน Byte ที่สร้างคือกลายเป็น 9Byte ต้องกลับไปเปลี่ยนต้นทางจากหน่วย Byte เป็น Char คือเก็บเป็นตัวอักษรแทน ทีนี้เราจากสร้างสคริปต์เพื่อ สร้างสคริปต์ อีกที… ด้วยคำสั่ง (สคริปต์ในตัวอย่างนี้จะเป็นการสร้างจาก Username SCOTT) เมื่อสั่งสคริปต์ทำงานจะได้ผลลัพธ์ประมาณว่า ทีนี้จากสคริปต์ข้างต้น จะดึงข้อมูลของ Table และ View มาทั้งหมดทำให้เมื่อได้สคริปต์ไปแล้วสั่งทำงานจะมี error ต้องกรองเอา view ออก เปลี่ยนสคริปต์ใหม่เป็น เมื่อสั่งรันสคริปต์จะได้ผลลัพธ์ ก็จะสามารถนำสคริปต์ที่ได้ไปสั่งรันได้ปกติ หลังจากเปลี่ยนข้อมูล TH8ASCII จาก Byte เป็น Char แล้วสามารถนำเข้าใน AL32UTF8 ได้เลย จบขอให้สนุก ต้นฉบับ http://webgeest.blogspot.com/2014/12/change-byte-to-char-for-all-columns-all.html

Read More »