ฟังก์ชัน array_agg และ array_to_string ใน PostgreSQL 

ผู้เขียนได้มีโอกาสพัฒนาโปรเจ็คใหม่ที่จะต้องไปใช้งานฐานข้อมูล PostgreSQL ซึ่งไม่เคยใช้งานมาก่อน โดยคำสั่งพื้นฐานทั่วไปก็จะเหมือนๆ กัน ตามมาตรฐานคำสั่ง SQL แต่ก็มีบางฟังก์ชันที่มีเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไปในแต่ละฐานข้อมูล อย่างเช่นที่จะกล่าวถึงในบล็อกนี้ โดยโจทย์ก็คือ ต้องการรวมข้อมูลในฟิลด์เดียวกันที่อยู่กันคนละเรคคอร์ด ให้มาเชื่อมต่อกัน เช่น มีตารางข้อมูลจังหวัด และอำเภอ ความต้องการก็คือ นำชื่ออำเภอทั้งหมดภายในจังหวัดเดียวกันมาแสดงเรียงต่อ ดังตัวอย่าง “ปัตตานี” “หนองจิก, โคกโพธิ์” “ยะลา” “เบตง, ธารโต, รามัน” “สงขลา” “กระแสสินธุ์, หาดใหญ่, คลองหอยโข่ง” ซึ่งภายใน PostgreSQL เราจะใช้งานฟังก์ชัน array_agg และ array_to_string โดย expression จะเป็นฟิลด์ หรือกลุ่มฟิลด์ที่จะดึงมารวมเข้าไว้ด้วยกัน sort_expression ฟิลด์ที่จะใช้ในการเรียง โดย anyarray ข้อมูลในรูปแบบ array delimeter ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ใช้คั่นระหว่างข้อมูลที่มาเชื่อมต่อกัน null_string ตัวอักษรหรือสัญลักณ์ที่จะใช้แสดงเมื่อ element ใน array มีค่าเป็น null ตัวอย่างคำสั่ง ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ดังรูป เนื่องจากจะเป็นการรวมข้อมูลในแต่ละจังหวัด เราก็เลยจะต้องใช้ฟังก์ชัน group by ร่วมด้วย จากผลลัพธ์จะเห็นว่าเราจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการแล้ว เพียงแต่ข้อมูลอำเภอจะยังอยู่ในรูปแบบ array เพราะฉะนั้น เราจะต้องใช้ฟังก์ชัน array_to_string มาช่วยแปลงข้อมูล array มาอยู่ในรูปแบบ string ตามที่เราต้องการ ดังตัวอย่าง จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ ซึ่งบทความนี้เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของฟังก์ชันของ PostgreSQL ที่แตกต่างจากฐานข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเราก็จะต้องศึกษาเรียนรู้กันต่อไป ถ้าผู้เขียนมีโอกาสได้ใช้งานฟังก์ชันหรือฟีเจอร์อะไรแปลกใหม่ ก็จะพยามนำมาบันทึกไว้ ในโอกาสต่อๆ ไป ขอบคุณครับ ข้อมูลอ้างอิง

Read More »

สร้าง script comments column จาก table ไป view อัตโนมัติใน oracle

การเขียน comment ของ column view อัตโนมัติผ่านการสร้าง sql script ใน oracle โดยการนำ comment ของ column table มา generate comments ของ column view นั้น เพื่อประหยัดเวลาและไม่ต้องเขียน comment ซ้ำอีกรอบในการสร้าง view จะยกตัวอย่างการใช้งาน โดยเลือก view V_MAJOR_FOR_API ที่ไม่มี comments โดยที่ view V_MAJOR_FOR_API มีการเรียกใช้ตาราง MAJOR, ตาราง MAJOR_TYPE และ ตาราง DEPT ที่มีการเขียน comments ของ column table อยู่แล้ว ขั้นตอนที่1 จัดทำ sql script เพื่อสร้าง comments ของ column view ขั้นตอนที่ 2 จัดทำ format sql script เพื่อสร้าง comment ของ column view ตามรูปแบบ “COMMENT ON COLUMN V_MAJOR_FOR_API .MAJOR_TYPE IS ‘รหัสประเภท’;“ โดยเขียน sql script จากข้างบนมาจัดการต่อ ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นก็ Copy script จากขั้นตอนที่ 2 ไป execute script และจะได้ผลลัพธ์ตามภาพด้านล่าง หวังว่า km จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยและสามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำ document นะคะ

Read More »

หาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในตารางด้วย LAG Function

LAG Functionเป็นฟังก์ชันที่ให้เราสามารถเข้าถึงแถวข้อมูลก่อนหน้าของตารางได้โดยที่ไม่ต้องทำการ self-join รูปแบบการใช้งานLAG ( expression [, offset [, default] ] )OVER ( [ query_partition_clause ] order_by_clause ) โดยที่ ตัวอย่าง : การใช้งานฟังก์ชัน LAG Query ข้างต้นเป็นการหาผลการเรียนของภาคการศึกษาก่อนหน้าของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน โดยที่ ผลลัพธ์จาก Query คราวนี้เรามาประยุกต์ใช้งานฟังก์ชัน LAG กันค่ะ ตัวอย่าง : การประยุกต์ใช้ฟังก์ชัน LAG เพื่อหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในตารางเรามีตารางข้อมูลชื่อ V3_PLAN_SEC2_1_PLO ซึ่งประกอบด้วยฟิลด์ PLAN_SEC2_1_PLO_ID (🔑) , PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESCโดยเงื่อนไขของระบบกำหนดไว้ว่าจะต้องมี PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESC เพียงรายการเดียวเท่านั้น 📌จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ามีข้อมูลที่มีรายการซ้ำซ้อนของข้อมูล PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESC เช่นที่ PLAN_REPORT_ID = C2933F24A525 และที่ PLAN_REPORT_ID = C29482CB6553 เป็นต้น📌 วิธีการหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนเราสามารถหาได้หลายวิธีแต่วันนี้จะขอนำเสนอการประยุกต์ใช้ฟังก์ชัน LAG เพื่อหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันค่ะ ตามคำอธิบายข้างต้น LAG Function เป็นฟังก์ชันที่ให้เราสามารถเข้าถึงแถวข้อมูลก่อนแถวปัจจุบันได้โดยที่ไม่ต้องทำการ self-joinดังนั้นเราก็จะประยุกต์ใช้ความสามารถนี้ในการหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนก้นโดยมีขั้นตอนด้งนี้ สามารถเขียนเป็น Query ได้ดังนี้ ผลลัพธ์จาก Query 😊😊เราได้ข้อมูลรายการที่ซ้ำซ้อนกันเรียบร้อยแล้วค่ะ ก็ไม่ยากแล้วใช่มั้ยคะที่จะลบรายการที่ซ้ำซ้อนออกจากตารางข้อมูลต่อไป ^_^ หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ

Read More »

กู้คืนข้อมูลที่ถูกลบด้วย Oracle Flashback Query

เคยเจอเหตุการณ์ที่ใช้คำสั่งผิดพลาดหรือเผลอลบข้อมูลไปโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ และได้ทำการ commit ไปเรียบร้อยแล้วไม่สามารถ rollback กลับได้มั้ย 😊 สำหรับคำถามข้างต้นคิดว่าคงจะมีบ้างแหละที่จะพลาดกันบ้างใช่มั้ยคะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ เรามีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจของเรา วันนี้จึงขอนำเสนอวิธีการที่จะกู้คืนข้อมูลได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องไปร้องขอให้ DBA กู้คืนข้อมูลให้ด้วย Flashback Query กันค่ะ Flashback Query เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง ณ เวลา TIMESTAMP ที่ต้องการ ได้โดยใช้ AS OF clause การใช้งาน Flashback Query ก็ไม่ยาก ตามไปดูตัวอย่างการใช้งานกันค่ะ ตัวอย่าง Step1 : วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 10:55:25 เรามีตารางข้อมูล TEST_NEW_STUDENT จำนวน 5 รายการ Step2 : เวลา 11:01:18 คงเบรอ ๆ นิดหน่อย ทำการลบข้อมูลตาราง TEST_NEW_STUDENT และทำการ COMMIT ไปเรียบร้อย นั่งไปสักพักเอะเมื่อกี้เราทำอะไรไป พลาดไปแล้ว ข้อมูลหายหมดแล้ว ทำไงดี Step3 : ใช่ Oracle มีฟีเจอร์ Flashback Query งั้นขอเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง ณ เวลา 10:55:25 เพราะจำได้ว่าตอนนั้นข้อมูลยังมีอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนที่จะพลาดลบไป 😂 Step4 : นี่ไงข้อมูลที่เราลบไป รออะไรหละ ดำเนินการกู้คืนข้อมูลกันเลยค่ะ ไชโย😍 ข้อมูลกลับมาเรียบร้อยแล้ว Flashback Query ช่วยชีวิตเราได้จริง ๆ👍👍👍 หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ หมายเหตุ : ถ้าเราใช้วิธีการ Truncate จะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลกลับได้ด้วย Flashback Query น้า

Read More »

การประยุกต์ใข้  Sequence เพื่อสร้างตัวเลขอัตโนมัติให้กับ Table ใน Oracle Database

ก่อนหน้านี้เคยได้รับความต้องการจากระบบหนึ่งซึ่งเป็นระบบที่รับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโดยมีความต้องการข้อหนึ่งว่า “ในส่วนการจัดเก็บข้อมูลเลขที่สมัคร ให้รันข้อมูลเลขที่ผู้สมัครตามโครงการที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษา” เนื่องในการพัฒนาระบบนี้ มีการใช้ Oracle Database ในการจัดการฐานข้อมูลอยู่แล้ว เพื่อน ๆ ที่เคยทำงานกับ Oracle Database ก็จะทราบว่าเราสามารถใช้ Oracle Sequence  เพื่อสร้างตัวเลขอัตโนมัติได้ ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะใช้ Oracle Sequence มาประยุกต์ใช้เพื่อที่จะรันเลขที่ผู้สมัครได้ โดยสามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาผู้สมัครได้ข้อมูลเลขที่สมัครเดียวกัน กรณีที่ทำการสมัครในโครงการเดียวกันเรียนพร้อม ๆ กันอย่างแน่นอน วิธีการดำเนินการก็ไม่ยุ่งยากแค่สร้าง sequence ตามโครงการและปีที่เปิดรับทั้งหมดไว้ให้ก่อนให้เรียบร้อยและเมื่อนักศึกษามาสมัครก็สามารถเรียกใช้ได้เลย ตามวิธีการข้างต้นก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ก็เริ่มมีคำถามในใจ ถ้าโครงการนั้นไม่มีผู้สมัครเลย ถ้าดำเนินการสร้างไว้ก่อนก็เปลืองเปล่า ๆ หรือถ้าลืมสร้างของบางโครงการ ระบบต้องเกิดข้อผิดพลาดแน่นอน จึงเกิดแนวคิดใหม่แทนที่จะสร้างไว้ก่อน เปลี่ยนเป็นสร้าง sequence ตอนที่นักเรียนสมัครในโครงการนั้น ๆ ดีกว่า โครงการไหนไม่มีการสมัครก็ไม่ต้องสร้าง และไม่เกิดปัญหาสร้าง sequence ไม่ครบในทุกโครงการแน่นอน คราวนี้ถึงเวลาที่เราจะมาดำเนินการกันแล้วค่ะ โดยมีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้คือ ตรวจสอบก่อนว่ามีการสร้าง sequence ของโครงการนั้น ๆ หรือยังถ้ายังไม่มีการสร้างก็ให้ทำการสร้าง และเมื่อถึงเวลาที่มีการสมัครก็สามารถเรียกใช้ sequence เพื่อออกเลขที่ผู้สมัครได้เลยค่ะ ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบว่ามีสร้าง sequence หรือยัง โดยเราสามารถตรวจสอบได้จาก object : user_sequences ตามตัวอย่าง Oracle Function ดังต่อไปนี้     FUNCTION CountSequence (var_seq_name IN VARCHAR2)         RETURN NUMBER     IS         var_seq_count   NUMBER := 0;         var_seq_query   VARCHAR2 (1000);     BEGIN         var_seq_query :=                ‘SELECT COUNT (*) FROM user_sequences WHERE sequence_name = ”’             || var_seq_name             || ””;         EXECUTE IMMEDIATE var_seq_query             INTO var_seq_count;         RETURN var_seq_count;     END; ขั้นตอนที่ 2 ทำการสร้าง sequence ตามหลักการการตั้งชื่อ ตามตัวอย่าง Oracle Procedure ดังต่อไปนี้ PROCEDURE CreateSequence (var_seq_name IN VARCHAR2)     IS         var_seq_count   NUMBER := 0;     BEGIN         var_seq_count := CountSequence (var_seq_name);         IF var_seq_count = 0         THEN             EXECUTE IMMEDIATE   ‘CREATE SEQUENCE ‘                              || var_seq_name                              || ‘ START WITH 1 INCREMENT BY 1 MINVALUE 1 MAXVALUE 9999999                                          NOCACHE NOCYCLE’;         END IF;     END; ขั้นตอนที่ 3 เมื่อทำการสร้าง sequence เสร็จเรียบร้อย เราสามารถดึงค่าถัดไปของลำดับด้วยคำสั่ง nextval การออกเลขที่ผู้สมัครให้กับนักเรียน ซึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ตัวแปร var_app_no โดยมีความยาวขนาด

Read More »