How to: install Owncloud (Easy method)

สำหรับ Ubuntu 12.04 เท่านั้น เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง (ไม่ต้องพิมพ์ $) $wget -q -O – http://download.opensuse.org/repositories/isv:ownCloud:community/xUbuntu_12.04/Release.key|sudo apt-key add – wget -nv https://download.owncloud.org/download/repositories/stable/xUbuntu_12.04/Release.key -O Release.key apt-key add – < Release.key ต่อด้วย $sudo sh -c “echo ‘deb http://download.opensuse.org/repositories/isv:ownCloud:community/xUbuntu_12.04/ /’ >> /etc/apt/sources.list.d/owncloud.list” sh -c “echo ‘deb http://download.owncloud.org/download/repositories/stable/xUbuntu_12.04/ /’ >> /etc/apt/sources.list.d/owncloud.list” apt-get update apt-get install owncloud ปิดท้าย $sudo apt-get update $sudo apt-get install -y owncloud ต่อด้วยคำสั่ง $sudo /etc/init.d/apache2 restart เปิดเว็บ http://localhost/owncloud เพื่อสร้าง user ที่เป็น admin ชื่ออะไรก็ได้ตามสะดวก และตั้งรหัสผ่านให้เรียบร้อย คลิก Advanced เพื่อดูค่าอื่นๆ เช่น โฟลเดอร์ที่ใช้เก็บข้อมูล การตั้งค่าฐานข้อมูลว่าจะใช้อะไร แบบง่ายนี้ขอใช้ sqlite ไปก่อนเพื่อความรวดเร็ว คลิก Finish Setup ระบบจะล็อคอินเป็น user ที่สร้างให้คนแรกโดยอัตโนมัติ ที่เหลือ … ขอให้สนุกครับ ที่มา http://software.opensuse.org/download/package?project=isv:ownCloud:community&package=owncloud https://download.owncloud.org/download/repositories/stable/owncloud/

Read More »

ประยุกต์ใช้ Dropbox ช่วยสำรองข้อมูลเว็บไซต์ และพัฒนาเว็บได้ทุกที่

แนวความคิดนี้จัดทำเพื่อตอบโจทย์และสนองความต้องการดังนี้ คือ สามารถจัดเก็บและสำรองข้อมูลเว็บไซต์ และสามารถแก้ไขไฟล์ได้ทุกที่ อำนวยความสะดวกให้กับโปรแกรมเมอร์ มีความคล้ายคลึงกับพวก sub version control, github แต่ไม่เหมือน เพราะมีข้อด้อยและข้อดีกว่าดังนี้ ข้อด้อย – ไม่มีการควบคุมในส่วนของเวอร์ชั่นของโค้ดโปรแกรม – ไม่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมเป็นทีม อาจจะทำได้แต่ต้องจัดการบริหารให้ดี ข้อเด่น – เหมาะสมกับนักพัฒนาคนเดียว การทำงานสะดวกกว่าพวก version control มาก – ทันทีที่แก้ไขไฟล์ จะอัพเดตไฟล์ทันที ในการเลือกใช้ Strange Clouds (บริการเก็บไฟล์บนกลุ่มเมฆ)  อย่าง Dropbox มีความเหมาะสมที่สุด เพราะสามารถติดตั้งได้ทุกระบบปฎิบัติการ แต่ทีจะสาทิตนี้จะใช้เป็น Ubuntu/Linux Mint  ดังมีขั้นตอนดังนี้

Read More »

update ownCloud new version (5.0.6 to 5.0.7)

หลังจากวันก่อนเมื่อช่วงต้นเดือนเขียนบทความ เรื่อง “มาทำ Self-hosted cloud storage ด้วย ownCloud ใน PSU กันเถอะ” ผมก็ทดสอบการใช้งานไปเรื่อยๆ มีเพื่อนชาว PSU sysadmin มาร่วมกันทดสอบกัน 5-6 คน ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น 5.0.6 มาวันนี้เมื่อเข้าในหน้า admin ก็จะพบว่ามีแจ้งเตือนว่ามีเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่าแล้ว คือ 5.0.7 แล้ว ก็ทำการอัปเดตผ่านหน้าเว็บได้เลย ถ้ากำหนด file permission ให้แก่ webserver user (www-data) ที่ไดเรกทอรี /var/www/owncloud ผลลัพธ์คือเมื่ออัปเดตเสร็จจะพบว่าเข้าสู่โหมด maintenance เราในฐานะผู้ดูแลต้องไปปลดล็อกที่ไฟล์ config.php ด้วยครับ จากนั้นก็จะใช้งานได้แล้ว ย้อนสักนิด การติดตั้ง owncloud นั้นจะมีอยู่ 3 วิธี คือ Tar or Zip File เหมาะสำหรับมีเครื่อง server เอง, Web Installer เหมาะสำหรับ shared hosting และสุดท้ายคือ Linux packages เหมาะสำหรับอัปเดตแบบอัตโนมัติเมื่อทำ apt-get update และ apt-get upgrade นั่นเอง วิธีที่ผมเลือกติดตั้งคือแบบ Tar File เอามาลงในเครื่อง server เอง ดังนั้นเมื่อมีอัปเดตเวอร์ชั่นใหม่ เราจะควบคุมเองได้ว่าจะทำเมื่อไร หลังจากทราบว่ามีเวอร์ชั่นใหม่ แตกต่างจากแบบ Linux packages ซึ่งจะอัปเดตไม่รอเรา อาจทำให้มีปัญหาได้หากเรามีการ manual ปรับปรุงไฟล์ php บางไฟล์ เช่นที่ผมทำคือต้องมีการแก้ไขไฟล์ ftp.php, base.php และ app.php ดังนั้นวันนี้ผมจึงมาบอกเล่าให้ฟังว่า การอัปเดตจากเวอร์ชั่นหนึ่งไปอีกเวอร์ชั่นหนึ่งแบบเล็กน้อย เรียกว่า update นะครับ และหากเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ จะเรียกว่า upgrade อันนี้อ่านมาจากเว็บ ownCloud ซึ่งวิธีการทำจะแตกต่างกัน วันนี้มาแนะนำวิธีการอัปเดต (update) ownCloud จากเวอร์ชั่น 5.0.6 ไปเป็น 5.0.7 ซึ่งหลังจากอัปเดตตามเค้าว่าแล้ว ผมก็มาปรับแต่งเพื่อให้เข้ากันกับ PSU อีกที ผมจึงเขียนเป็น wiki ไว้ที่เว็บ opensource.cc.psu.ac.th เรื่อง อัปเดต owncloud (5.0.6) เป็นเวอร์ชั่นสูงกว่า (5.0.7) สำหรับ PSU ซึ่งมีรายละเอียดการทำงานเป็นขั้นตอน โดยสรุปพบว่า เวอร์ชั่นใหม่นี้ยังไม่ได้แก้ไข bug ที่พบในไฟล์ 3 ไฟล์ที่จำเป็นสำหรับ PSU ครับ

Read More »

มาทำ Self-hosted cloud storage ด้วย ownCloud ใน PSU กันเถอะ

เมื่ือช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ผมได้รับอีเมลเกี่ยวกับรายชื่อ cloud storage ที่มีให้บริการ เช่น dropbox เป็นต้น แล้วมีพูดถึงว่านอกจากบริการบนอินเทอร์เน็ต ยังมี open source software ชื่อ owncloud อีกตัวนึงที่มีคนทำไว้ใช้งานเองและใช้ได้จริง และเป็นที่นิยมกันมากมาย ผมเลยตามไปดูที่ owncloud.org และก็จุดประกายความคิดขึ้นมาต่อยอดจากที่งาน WUNCA26 ว่ามีอาจารย์ท่านนึงบรรยายเกี่ยวกับ cloud ว่าอยากให้มหาวิทยาลัยมี private cloud ใช้งาน อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งคือ self-hosted cloud storage หมายถึง ตั้งเซิร์ฟเวอร์เองไว้เก็บไฟล์ owncloud ทำอะไรได้บ้าง ผมจินตนาการอย่างนี้นะครับ ผมจะมี directory เก็บไฟล์ทำงาน ซึ่งแน่นอนอาจต้องการอีกสักหนึ่งเพื่อไว้กิจกรรมอะไรก็ได้ และนำไฟล์เหล่านี้ไปเก็บบน server ทำให้ผมจะมีข้อมูลเก็บอยู่สองแห่ง (เครื่องผมและserver)  เมื่อผมแก้ไข เพิ่ม หรือ ลบไฟล์ แล้วจะมี sync client สักตัวทำการ sync ให้เท่ากัน เมื่อผมไม่ได้ใช้เครื่องคอมฯของตนเอง ผมก็สามารถเข้าเว็บเบราว์เซอร์แล้วเข้าไปที่ URL ที่กำหนดไว้ เช่น [ http://cloud.in.psu.ac.th ] เป็นต้น ผมก็สามารถ login เข้าทำงานกับไฟล์ของผมได้แล้ว จากนั้นก็คิดต่อไปว่าแล้วผมมี Android smart phone จะต้องใช้ได้ด้วย คือเปิดดูพวกไฟล์ pdf ได้เลย รวมถึงเมื่อถ่ายรูป ไฟล์รูปภาพก็จะอัพโหลดไปเก็บอยู่บน server ของผม และเมื่อผมกลับมาเปิดเครื่องคอมฯของตนเองอีกครั้ง โปรแกรม sync client ก็จะทำการ sync ไฟล์รูปภาพจาก server ลงมาเก็บไว้ใน directory ที่กำหนดไว้ เป็นไงครับอ่านมาถึงตรงนี้ นึกออกแล้วใช่ไม๊ครับ ไม่เห็นภาพ ลองดูตัวอย่างจาก presentation เรื่อง คู่มือสำหรับผู้ใช้งาน ownCloud ครับ ตามนี้ [ https://sharedrive.psu.ac.th/public.php?service=files&t=494382205a552cc52f07e6855c991162 ] สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจึงลงมือทำการทดสอบ ติดตั้งง่ายครับใช้ ubuntu server 12.04.2 มีเรื่องที่ต้องสนใจ 2-3 เรื่อง เรื่องแรกคือจะใช้ฐานข้อมูลอะไร มีให้เลือก sqlite, MySQL, PostGresSQL เรื่องที่สองคือจะใช้ user name อะไรในการ login เข้าใช้งาน เรื่องที่สามคือจะกำหนดพื้นที่ดิสก์รวมอยู่กับ system หรือแยก partition ต่างหากสำหรับเก็บ data นอกจากนี้ก็เป็นการคอนฟิกเพิ่มเติมโปรแกรม (owncloud จะเรียกว่า Apps) เช่น Bookmark, News Feed, Web mail client เป็นต้น และสุดท้ายคือตั้งค่า disk quota สำหรับผู้ใช้แต่ละคน เริ่มต้นด้วยแบบง่ายๆก็ใช้ local user ของโปรแกรม owncloud เองเลย ซึ่งเก็บอยู่บนฐานข้อมูล sqlite ในขั้นตอนติดตั้ง แบบยากขึ้นมานิด จะใช้ External user support ได้อย่างไร ก็พบว่าทำได้จาก LDAP, IMAP, FTP server ผมเลือกใช้ FTP server เพราะว่าเราสามารถผสมใช้ linux user name พร้อมๆไปกับ PSU Passport ของมหาวิทยาลัยได้ด้วย ผ่านทาง FTP server และอนุญาตเฉพาะ user name ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับจากหลวงพี่วิภัทรสั่งสอนไว้นั่นเอง คือ PSU-radius + vsftpd + pam_radius_auth ถัดมาก็ทดสอบเปลี่ยนไปใช้ MySQL database ก็ไม่ยุ่งยากอะไร คือ ต้องเตรียม database name, database user, database password

Read More »

สมัยนี้เขาไม่แนบไฟล์ใหญ่ๆกันแล้ว (Google Drive)

มีผู้ใช้ถามมาว่า “จะส่งภาพงานอบรมให้เพื่อน ที่ Gmail แต่ทำไมส่งไปไม่ได้ ไม่กี่ภาพเอง ถามเพื่อนเขาก็ว่าพื้นที่เขาไม่เต็ม ทำไม PSU เราไม่ให้ส่งหล่ะ ?!?!?!” … ตรวจสอบพบว่า … ไม่กี่ภาพ แต่ขนาดรวมทั้งสิ้น 125 MB, และ Gmail ก็มีข้อจำกัด ไม่ให้ส่ง email ที่มีขนาดรวมไฟล์แนบเกิน 25 MB ในขณะที่ PSU เองไม่ได้จำกัดการส่งออกครับ แล้ว … ทำไงดี ??? ต่อไปนี้เป็นหนึ่งในหลายๆวิธีครับ นั่นคือ ใช้ Google Drive เพื่อการแชร์ไฟล์ โดยจะใช้วิธีสร้าง Folder แล้วแชร์ทั้งหมด ให้กับผู้อื่น แบบไม่ต้องใช้ Google Account ในการเข้ามาดู วิธีการใช้งานมีดังนี้ 0. ท่านต้องมี Google Account (Gmail Account นั่นแหล่ะ) 1. Login ที่ https://drive.google.com 2. คลิกที่ Create แล้วเลือก Folder   3. ตั้งชื่อ “ภาพของฉัน”   4. Upload ภาพไปเก็บใน “ภาพของฉัน” โดยคลิกที่ “ภาพของฉัน” แล้วคลิกที่ Upload (ภาพลูกศรชื้ขึ้น) แล้วเลือก Files, จากนั้น เลือกภาพที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Open 5. รอให้ Upload เสร็จ 6.  คลิกที่เมนูด้านหลัง “ภาพของฉัน” แล้วคลิก Share … > Share 7. หากต้องการแชร์ให้ผู้อื่น “ที่มี Link” ดูได้ โดยไม่ต้อง Login ให้เลือก Anyone with the link แล้วเลือก Can View ดังภาพ แล้วคลิก Save (หากต้องการให้ Login ด้วย Google Account เลือก Private หากต้องการให้ทุกคน เห็นได้ เลือก Public on the Web)   8.ใส่ email address ผู้รับลงไป คั่นด้วย Comma (,) หากต้องใส่ข้อความด้วย ก็สามารถทำได้ จากนั้นคลิก Share & Save 9. ผลคือ จะมี email ส่งไปถึงผู้รับ คล้ายอย่างนี้ 10. เมื่อผู้รับคลิก “ภาพของฉัน” ก็จะได้ผลดังนี้ (มาที่ Google)   จึงเรียนมาเพื่อทราบ

Read More »