แนวความคิดนี้จัดทำเพื่อตอบโจทย์และสนองความต้องการดังนี้ คือ สามารถจัดเก็บและสำรองข้อมูลเว็บไซต์ และสามารถแก้ไขไฟล์ได้ทุกที่ อำนวยความสะดวกให้กับโปรแกรมเมอร์ มีความคล้ายคลึงกับพวก sub version control, github แต่ไม่เหมือน เพราะมีข้อด้อยและข้อดีกว่าดังนี้ ข้อด้อย – ไม่มีการควบคุมในส่วนของเวอร์ชั่นของโค้ดโปรแกรม – ไม่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมเป็นทีม อาจจะทำได้แต่ต้องจัดการบริหารให้ดี ข้อเด่น – เหมาะสมกับนักพัฒนาคนเดียว การทำงานสะดวกกว่าพวก version control มาก – ทันทีที่แก้ไขไฟล์ จะอัพเดตไฟล์ทันที ในการเลือกใช้ Strange Clouds (บริการเก็บไฟล์บนกลุ่มเมฆ) อย่าง Dropbox มีความเหมาะสมที่สุด เพราะสามารถติดตั้งได้ทุกระบบปฎิบัติการ แต่ทีจะสาทิตนี้จะใช้เป็น Ubuntu/Linux Mint ดังมีขั้นตอนดังนี้
Category: Cloud Computing
update ownCloud new version (5.0.6 to 5.0.7)
หลังจากวันก่อนเมื่อช่วงต้นเดือนเขียนบทความ เรื่อง “มาทำ Self-hosted cloud storage ด้วย ownCloud ใน PSU กันเถอะ” ผมก็ทดสอบการใช้งานไปเรื่อยๆ มีเพื่อนชาว PSU sysadmin มาร่วมกันทดสอบกัน 5-6 คน ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น 5.0.6 มาวันนี้เมื่อเข้าในหน้า admin ก็จะพบว่ามีแจ้งเตือนว่ามีเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่าแล้ว คือ 5.0.7 แล้ว ก็ทำการอัปเดตผ่านหน้าเว็บได้เลย ถ้ากำหนด file permission ให้แก่ webserver user (www-data) ที่ไดเรกทอรี /var/www/owncloud ผลลัพธ์คือเมื่ออัปเดตเสร็จจะพบว่าเข้าสู่โหมด maintenance เราในฐานะผู้ดูแลต้องไปปลดล็อกที่ไฟล์ config.php…
มาทำ Self-hosted cloud storage ด้วย ownCloud ใน PSU กันเถอะ
เมื่ือช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ผมได้รับอีเมลเกี่ยวกับรายชื่อ cloud storage ที่มีให้บริการ เช่น dropbox เป็นต้น แล้วมีพูดถึงว่านอกจากบริการบนอินเทอร์เน็ต ยังมี open source software ชื่อ owncloud อีกตัวนึงที่มีคนทำไว้ใช้งานเองและใช้ได้จริง และเป็นที่นิยมกันมากมาย ผมเลยตามไปดูที่ owncloud.org และก็จุดประกายความคิดขึ้นมาต่อยอดจากที่งาน WUNCA26 ว่ามีอาจารย์ท่านนึงบรรยายเกี่ยวกับ cloud ว่าอยากให้มหาวิทยาลัยมี private cloud ใช้งาน อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งคือ self-hosted cloud storage หมายถึง ตั้งเซิร์ฟเวอร์เองไว้เก็บไฟล์ owncloud ทำอะไรได้บ้าง ผมจินตนาการอย่างนี้นะครับ ผมจะมี directory เก็บไฟล์ทำงาน ซึ่งแน่นอนอาจต้องการอีกสักหนึ่งเพื่อไว้กิจกรรมอะไรก็ได้…
สมัยนี้เขาไม่แนบไฟล์ใหญ่ๆกันแล้ว (Google Drive)
มีผู้ใช้ถามมาว่า “จะส่งภาพงานอบรมให้เพื่อน ที่ Gmail แต่ทำไมส่งไปไม่ได้ ไม่กี่ภาพเอง ถามเพื่อนเขาก็ว่าพื้นที่เขาไม่เต็ม ทำไม PSU เราไม่ให้ส่งหล่ะ ?!?!?!” … ตรวจสอบพบว่า … ไม่กี่ภาพ แต่ขนาดรวมทั้งสิ้น 125 MB, และ Gmail ก็มีข้อจำกัด ไม่ให้ส่ง email ที่มีขนาดรวมไฟล์แนบเกิน 25 MB ในขณะที่ PSU เองไม่ได้จำกัดการส่งออกครับ แล้ว … ทำไงดี ??? ต่อไปนี้เป็นหนึ่งในหลายๆวิธีครับ นั่นคือ ใช้ Google Drive เพื่อการแชร์ไฟล์ โดยจะใช้วิธีสร้าง…