วิธีการใช้ Google Sheets เป็นฐานข้อมูล

Google Sheets เป็นหนึ่งใน Google Apps ซึ่งเป็น Application Suite ของ Google ประกอบด้วย ในการใช้งานทั่วไป Google Apps สามารถตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อต้องการทำกิจกรรมบางอย่างที่นอกเหนือไปจากการใช้งานพื้นฐาน ผู้ใช้สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้เอง ด้วย Google Apps Script Google Apps Script เป็น Scripting Language ที่อยู่บนพื้นฐานของภาษา JavaScript สามารถใช้งานได้และพัฒนาต่อยอดได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว สามารถเรียกใช้ Google Service ต่างๆได้มากมาย รวมถึง Google Sheets เพื่อสร้าง เมนูพิเศษ หรือ Macro เพื่อให้การทำงานที่ทำหลายๆขั้นตอนลดลงเหลือเพียงแค่คลิกเดียว อีกทั้งยังสามารถตั้งเวลาให้ทำงานอัตโนมัติ หรือ ตั้ง Trigger เพื่อให้ทำงานเมื่อเกิด Action ต่างๆได้อีกด้วย Google Apps Script มี 3 ชนิด ได้แค่ Standalone, Bound to Google Apps และ Web App ซึ่งจะสามารถใช้งานร่วมกับ Google Sites ได้อีกด้วย (Sites Gadget) รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Google Apps Script ในที่นี้ จะแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Google Apps Script แบบ Standalone เพื่อพัฒนาให้ Google Sheets ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูล และจะนำไปสู่การต่อยอดเป็น วิธีการใช้ Google Sheets เป็นระบบเฝ้าระวังเว็บไซต์ (Website Monitoring) จากภายนอกองค์กร เพื่อตรวจสอบระยะเวลาในการตอบสนอง ( Response Time) ของเว็บไซต์ ได้อีกด้วย วิธีการใช้งาน Google Apps Script แบบ Standalone ใน Google Drive คลิก New > More > Connect more apps ในชื่อ search ใส่คำว่า script แล้วกด Enter จะพบ Google Apps Script แล้วกดปุ่ม Connect จากนั้น ใน Google Drive ให้คลิกที่ New > More > Google Apps Script จากนั้นให้คลิก Close ได้เลย จะได้พื้นที่โปรเจค (Project) ในการพัฒนา Google Apps Script โดยในแต่ละโปรเจคจะประกอบไปด้วยหลายๆไฟล์ Google Apps Script ได้ ในการพัฒนา Google Apps Script นั้น จะต้องเขียนในรูปแบบของฟังก์ชั่น (Function) เพื่อให้สะดวกในการใช้งานต่างๆ ตัวอย่างเช่น มี Google Sheets อยู่ใน Google Drive ดังภาพ มีรายละเอียดดังนี้ ชื่อของ SpreadSheet คือ “ฐานข้อมูลของฉัน” ประกอบไปด้วย Sheet ชื่อ “Sheet1” และ “Log” มี URL คือ https://docs.google.com/a/psu.ac.th/spreadsheets/d/1HJmyqiBYC_AEATmdUWakLgHFyYGqSqeqSA8xEw-8o-c/edit ต่อไปเป็นขั้นตอนการเขียน Google Apps Script เพื่อติดต่อกับ Google Sheet ข้างต้น เพื่อเขียนข้อมูลลงไป โดยตั้งชื่อโปรเจคนี้ว่า ProjectMyDB ตั้งชื่อไฟล์ว่า SheetDB.gs และตั้งชื่อฟังก์ชั่น “editSheet” ดังภาพ

Read More »

GAFE#002 วิธีแสดงอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน ไว้บนสุดทุกครั้ง

การใช้งาน GAFE Email หรือ Gmail ก็ตาม วิธีที่จะแสดงเฉพาะ จดหมายที่ยังไม่ได้อ่าน (Unread) มี 3 วิธี 1. ในช่อง Search ใส่คำว่า label:unread แล้วกดปุ่ม Enter 2. ไป Gear > Setting > Inbox แล้วเปลี่ยนจาก Inbox type: Default เป็น Inbox type: Unread first แล้วกดปุ่ม Save Changes ผลที่ได้ 3. คลิก Dropdown ด้านข้าง Inbox และ สุดท้าย วิธีเลือกเฉพาะอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน ทำดังภาพ ผลที่ได้ จบ

Read More »

GAFE#001 Google Apps กับ Gmail สามารถรวม Account กันได้หรือไม่

ต่อไปนี้ GAFE จะเป็นคำย่อของ Google Apps For Education ก่อนที่เราจะก้าวสู่ Hybrid Cloud ที่วางแผนกันมานาน หลังจากได้เริ่มต้นลองใช้งาน ก็จะมีคำถามที่มีบ่อยมาก คือ “ตอนนี้มี Gmail อยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้รวมกับ GAFE ของหมาวิทยาลัยได้ไม๊” คาดว่า คำว่า “รวม” กันนี้ หมายความว่า อยากได้ พื้นที่ email ของทั้ง Gmail 15 GB และ GAFE 30 GB รวมกัน คงต้องตอบว่า ไม่ได้ เพราะ Google คงไม่ได้เปิดให้ทำเช่นนั้น  มันมีเหตุผล … ที่ผ่านมา Hotmail.com ซึ่งเปลี่ยนมาเป็น Outlook.com ก็เคยพยายามทำแบบว่า Linked Account ตั้งแต่ปี 2006 แต่ไม่สำเร็จดีนัก  และได้ยกเลิกไปในเวลาต่อมา (ดูที่นี่เพิ่มเติม) แต่สิ่งที่ Microsoft ทำคือ ให้พื้นที่ขนาดใหญ่ แล้ว ดึง email จาก หลายๆ Account มารวมที่เดียวกัน หรือไม่ก็ใช้วิธีส่ง email ออกไปในนามอีก Account ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกันทั้ง Outlook.com และ Office365 มาดูวิธีการกัน ปัญหาคือ เรื่องงาน กับ เรื่องส่วนตัวก็จะปะปนกัน และในบางครั้ง เราอาจจะใช้ Email ของงาน ไปสมัครอะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัวซึ่ง ในบางเรื่องก็อาจจะไม่เหมาะสม หรือในทางกับกัน การใช้ Email Address ที่เป็นส่วนตัว มาตอบหรือใช้งานในเรื่องงาน ก็เป็นเรื่องไม่เหมาะสม ทั้งเรื่องความ Professional และ เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย การแสดงตัวตนอีกด้วย เป็นเรื่องของ Culture Change Management ที่เราในฐานะบุคลากร และการสื่อสารเรื่องนี้ไปยังอาจารย์ และนักศึกษาให้เข้าใจด้วย คราวนี้ มาดูสิ่งที่ Google ทำ คือ ทำให้สลับ Account ได้โดยไร้รอยต่อ แค่ Add Account   เท่านี้ เราก็สามารถแยกเรื่องส่วนตัว และ่งานออกจากกัน และทั้งสอง Account สามารถเปิดใช้งานพร้อมกันได้ เปิดใน 2 Tab ก็ได้ ยังมี Feature ของ GAFE อีกมากมายในระบบ Enterprise ที่ยังไม่ได้อธิบาย เช่น การที่ผู้บริหารสามารถ Delegate ให้เลขา อ่านและตอบ Email และ Calendar แทนตนเองได้ โดยไม่ต้องบอกรหัสผ่าน หรือ การ Sharing แบบกลุ่มแปลกๆ ที่ใน Gmail ทั่วไปไม่มี รอพบกันตอนต่อๆไปนะ (อาจจะมาในรูปแบบ Youtube อิอิ) ขอคุณครับ

Read More »

วิธีใช้ฟอนต์ TH SarabanPSK บน Google Drive

ในที่สุด Google ประเทศไทยก็เอาฟอนต์ราชการขึ้นไปให้ใช้ได้สำเร็จ ต่อจากนี้ เราก็สามารถลดการพึ่งพิง Microsoft Office ซึ่งผูกขาดมายาวนานได้ “บ้าง” แล้ว เพราะที่ผ่านมา เอกสาร .doc และ .docx ไม่สามารถใช้งานกับ Office Suite ค่ายอื่นได้อย่างราบรื่นเพราะคนไทยเราไม่ใช้ฟอนต์เดียวกัน ยังไปใช้ Angsana, Cordia ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Microsoft ทำให้รูปแบบเอกสารที่จัดด้วย Microsoft Office จะเพี้ยนๆเมื่อไปเปิดกับค่ายอื่นๆ ตอนนี้ก็เหลือแต่ คนไทยเรานี่แหล่ะ ที่ต้องรณรงค์ใช้ฟอนต์แห่งชาติ เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างเสรี สำหรับ Google Drive เองก็มี Office Suite ซึ่งทำงานได้บนเว็บโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรในเครื่อง จากการทดลองใช้มายาวนาน พบว่า ถ้าเราเอาคำว่า “พอเพียง” ไว้ในใจได้แล้ว เครื่องมือชิ้นนี้ ดีเกินพอสำหรับงานสำนักงานทั่วไป และหากใครต้องการซื้อความสามารถเพิ่มก็สามารถซื้อแยกได้ ไม่ต้องถูกยัดเยียดสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ มาในราคาซอฟต์แวร์ที่แพงลิ่ว หรือ สามารถพัฒนาเพิ่มเติมเองได้ผ่าน Add-Ons ครับ สำหรับการใช้งานภาษาไทย และฟอนต์ไทย TH SarabanPSK ก็ทำได้ง่ายโดย 1. สร้าง หรือ เปิดเอกสาร Google Docs 2. ไปที่เมนู File > Language แล้วเลื่อนมาด้านล่างๆ จะพบคำว่า ไทย 3. จากนั้น ฟอนต์ TH SarabanPSK ก็จะมีให้ใช้งานทันทีครับ 4. การเก็บไฟล์ในรูปแบบ Google Docs ทาง Google จะไม่คิดพื้นที่จัดเก็บครับ แสดงว่าเราสร้างได้มากเท่าที่ต้องการ แต่ถ้าเอา .docx ไปใส่ ก็จะกินเนื้อที่ที่มีให้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

วิธีการตั้งค่า CNAME และ TXT เพื่อ Verification กับ Google Site

Google Site เป็บบริการหนึ่งของ Google ซึ่งให้เราสร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายๆ เหมาะสำหรับการงานที่ต้องการความรวดเร็วในการสร้าง และสามารถประสานกับเครื่องมือต่างๆของ Google ได้มากมาย เช่น จะสร้างแบบฟอร์มรับสมัครเข้าร่วมโครงการ, ทำรายงานผู้ที่ชำระเงินแล้ว, ผนวกกับ Google Map เพื่อแสดงตำแหน่งที่จัดงาน และสถานที่ท่องเที่ยว หรือ อื่นๆอีกมากมาย (วิธีการสร้าง จะกล่าวในบทความต่อๆไป)  ในบทความนี้ เป็นการสร้าง เว็บไซต์ของงาน ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างแห่งประเทศ (ปขมท) ๒๕๕๗ และเน้นที่ การเชื่อม Domain Name ของมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ Bind DNS เข้ากับ Google Site โดย Google Site ที่แสดงในตัวอย่าง สร้างที่ https://sites.google.com/site/cuast57/ ซึ่ง ชื่อจะจำได้ยาก จึงขอใช้ Domain Name สั้นๆชื่อ cuast57.psu.ac.th วิธีการมีดังนี้ 1. ไปที่ Setting > Manage Site 2. คลิกที่ Web Address แล้วใส่ cuast57.psu.ac.th จากนั้นคลิกปุ่ม Add 3. จะขึ้น error ด้านบน “You have not verfified domain ownership with Google. please follow these instructions” ให้คลิกที่ “these instructions”  4. เลื่อนลงไปล่าสุดของหน้าจอ คลิกที่ “Webmaster Tools home page” (สมมุติว่าท่านเคยใช้งาน Google Webmaster Tools อยู่แล้ว) 5. คลิกที่ Add A Site ให้ใส่ Domain Name ที่ต้องการ ในที่นี้คือ cuast57.psu.ac.th แล้วคลิก Continue 6. คลิกที่ Alternate Methods > Domain name provider แล้วเลือก อันล่างสุด คือ other เพราะ Google Site ไม่เปิดให้เรา Upload File ขึ้นไป, ไม่สามารถแก้ไข Header หรืออะไรทำนองนั้นได้ จึงต้องใช้วิธีการนี้ ซึ่งจะต้องอธิบายตรงนี้เพื่อความเข้าใจ  ในการที่เราคุม Domain Name แต่ใช้ Google Site นั้น สิ่งที่ต้องทำคือ สร้าง CNAME ไปยัง Google Site และ ทำการ Verification 6.1 สร้าง CNAME ไปยัง ghs.googlehosted.com. เพื่อบอกว่า cuast57.psu.ac.th จะใช้บริการของ Google Site 6.2 ต้องทำการ Verification โดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1) ถ้าเราได้ Delegate Zone มา ก็จะสามารถใส่ TXT Record ลงไปได้ โดยใช้ค่าดังภาพ  2) แต่ถ้าเราไม่ได้ Delegate Zone ก็จะต้องสร้าง CNAME ให้คลิกที่ “Add a CNAME record” ดังภาพ ให้เลือกวิธีการเอา แต่ในตัวอย่างนี้ เลือกวิธีการ 2) เพราะไม่ Delegate Zone มา และไปทำข้อ 7. ก่อน แล้วจึงกลับมาคลิกปุ่ม Verify

Read More »