Category: Cloud Computing

  • วิธีใช้งาน Google Form ให้เฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะตอบแบบฟอร์มได้ โดยต้องไม่บังคับ Login ด้วย Google Account ด้วย

    Google Form เป็นเครื่องมือสร้างแบบสำรวจยอดฮิต สร้างง่าย ใช้ง่าย เหมาะสำหรับงานที่เปิดให้ใครก็ได้ สามารถตอบแบบสอบถาม

    แต่ ถ้าต้องการให้เฉพาะคนในองค์กรซึ่งใช้ G Suite (เช่น กรณีของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้ G Suite for Education โดเมน psu.ac.th เป็นต้น) ตอบแบบสอบถามเท่านั้น ก็พอจะทำได้ แต่ก็จะเจอปัญหาคือ ผู้ใช้ในองค์กรอาจจะ Login ด้วย Web Browser ซึ่ง Sign-In ด้วย Gmail ส่วนตัว ก็จะยุ่งยากหน่อย ต้องสลับ Account เป็นต้น แล้วยิ่งบางคน ใช้ LINE เพื่อ Scan QR Code แล้วก็ไปใช้ In-App Browser ซึ่งก็ไม่รู้ว่า Sign-In ด้วย Account ไหน ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเป็นการไปใช้งานนอกสถานที่ที่ใช้ประจำ Google ก็มักจะ Challenge โดยการ ให้ระบุ เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือ Email ที่ใช้ Recovery สร้างความวุ่นวายได้เป็นอย่างมาก

    แล้ว ก็มี Requirement “ง่าย ๆ” มาให้คิด

    • ต้องการออกแบบระบบ ลงคะแนน ให้คณะกรรมการ ซึ่งอยู่ทั้งในและนอกองค์กร
    • ท่าน ๆ เหล่านี้ ล้วน … ทรงคุณวุฒิ และ วัยวุฒิ
    • ใช้อุปกรณ์หลากหลาย
    • ส่งแบบฟอร์มไปให้กรอก โดยผ่าน Email ท่าน ๆ ซึ่งเป็น @yahoo.com, @hotmail.com, @gmail.com, @xxx.edu, @xxxxxxxxx
    • บางท่าน ไม่มี Email แต่มี LINE เท่านั้น
    • การลงคะแนน ต้องมั่นใจว่า กรรมการแต่ละท่าน เป็นผู้ลงคะแนนจริง ๆ
    • ท่าน ๆ ลงคะแนนได้ 1 เสียงเท่านั้น
    • เปลี่ยนใจได้ด้วย คือ ตอนแรกจะลงคะแนนอย่างนึง แล้วก็ Submit ไปแล้ว แต่ก็คิดว่า เอ๊ะ เปลี่ยนใจแระ (ในกรอบเวลา)
    • ไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้ลงคะแนนได้ (โดยง่าย)

    แนวทางการแก้ปัญหา

    Google Form มี Feature นึง ที่บางคนไม่เคยใช้ นั่นคือ “Get pre-filled link”

    Pre-filled Link กล่าวคือ ทำการกรอกข้อมูลบางอย่างใน Google Form แล้วส่งให้ผู้ใช้ เช่น เรารู้อยู่แล้วว่า จะส่งแบบฟอร์มนี้ ไปทาง Email ของกรรมการท่านนี้ ก็แทนที่ต้องให้ท่าน กรอกชื่อตัวเอง เราก็กรอกไปให้ท่านเลย อะไรทำนองนั้น

    Idea ของเราคือ จะสร้าง “Question” ชื่อ Token ขึ้นมา (จะตั้งว่าอะไรก็ได้นะ)

    แล้วคลิกที่ “Get Pre-filled Link”

    จะได้แบบฟอร์มพร้อมกรอกอย่างนี้ เราก็จะ Mark ตำแหน่งที่จะแทนค่า Token ด้วยการใส่คำอะไรก็ได้ แต่ในที่นี้ จะใส่เป็นคำว่า “token” ตัวพิมพ์เล็ก ไปใส่ แล้วคลิกปุ่ม Get Link จากนั้น คลิกปุ่ม COPY LINK

    Link ที่ได้ จะเป็นแบบนี้

    https://docs.google.com/forms/d/e/XXXXXXXXXX/viewform?usp=pp_url&entry.625502761=token

    จากนั้นแค่ค่า ข้อความ “token” ด้วยค่า Hash เช่น เอาชื่อ นามสกุล และ email address ของแต่ละคนมาเข้ารหัส MD5 (จะกล่าวถึงวิธีการได้มาในตอนท้าย) เช่น ได้เป็น

    b4771c1c4d65442b32d7029d13fb6e41

    ก็จะได้ URL ที่จะส่งให้ท่านกรรมการ อย่างนี้

    https://docs.google.com/forms/d/e/XXXXXXXXXX/viewform?usp=pp_url&entry.625502761=b4771c1c4d65442b32d7029d13fb6e41

    เมื่อผู้รับคลิก Link ก็จะได้หน้าตาฟอร์มแบบนี้

    คราวนี้ ในภาพใหญ่ ก็ต้องหาทางทำสร้าง Hash ของกรรมการแต่ละท่าน อันนี้เป็นตัวอย่าง

    ต่อไปนี้เป็นวิธีการหาค่า Hash (เขียนด้วย Google App Script)
    Source: https://www.answiz.com/questions/2594/hash-of-a-cell-text-in-google-spreadsheet

    function MD5 (input) {
      var rawHash = Utilities.computeDigest(Utilities.DigestAlgorithm.MD5, input);
      var txtHash = '';
      for (i = 0; i < rawHash.length; i++) {
        var hashVal = rawHash[i];
        if (hashVal < 0) {
          hashVal += 256;
        }
        if (hashVal.toString(16).length == 1) {
          txtHash += '0';
        }
        txtHash += hashVal.toString(16);
      }
      return txtHash;
    }

    จากนั้นก็เขียน Script ส่ง Email / LINE แจ้งข้อความที่ต้องการ พร้อม Link ที่กรอกข้อมูล Hash ของแต่ละท่าน

    เป็นอันเรียบร้อย …

    เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ ความซับซ้อน

    คราวนี้ ท่าน ๆ ก็ลงคะแนนกันมา แต่ว่า

    • ช่อง Token นั้น บน Google Form มันแก้ไขได้ ไม่มีทาง Lock ทำให้บางท่าน เอ่อ เผลอ แก้ไข/ลบ/ทดลอง
    • บางท่าน ก็ ลงคะแนน Submit แล้ว อยากเปลี่ยนใจทำไงดี ?

    ดังนั้น ต้องหาทางทำให้

    • ถ้า Hash ไม่ตรงกับข้อมูลที่มี ไม่นับคะแนน
    • ถ้า Hash ตรง แต่ซ้ำ ๆ มา ให้นับคะแนนจาก Record ล่าสุด

    ก็มาร่าย Formula กันหน่อย

    หน้าตา Google Sheets ซึ่งเป็นผลการลงคะแนนที่ได้จาก Google Form

    ไปเขียนสูตรใน Column D โดย จะนำค่าจาก Column C ไปตรวจสอบกับ Hash ซึ่งขอยกตัวอย่างว่า อยู่ที่ Sheet2 ใน Column A โดยใช้สูตร

    =IF(ISNA(VLOOKUP(C2,Sheet2!A:A,1,false)),"Not Match","Match")

    จากภาพแสดงให้เห็นว่า แถว 5 นั้น ค่า Hash ไม่ตรง จึงขึ้นคำว่า “Not Match”

    ต่อไป ก็ Filter เฉพาะที่ Match แล้ว Sort ตาม Timestamp

    สูตรประมาณนี้

    =sort(filter(A2:D6,D2:D6="Match"),3,True)

    คราวนี้ เราจะรู้ต้องหาว่า อันไหนหล่ะ ที่เป็น Record ล่าสุดในแต่ละกลุ่ม

    ใช้สูตรประมาณนี้

    =if(C14=C15,"","1")

    กล่าวคือ พอเรียงลำดับแล้ว ก็หาว่า บรรทัดไหน เป็นขอบของกลุ่ม ว่างั้น (อธิบายยากจัง) ก็แสดงค่า 1

    สุดท้าย จะก็ได้ผลสรุป Record ที่ Hash ตรง และเป็นการ Submit ล่าสุดของแต่ละกลุ่ม

    สูตรประมาณนี้

    =filter(A14:E17,E14:E17="1")

    ก็เอาไปทำ Chart สรุป ได้แล้ว

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • djsurvey – Google Forms Alternative #01

    ต่อจาก ddready – แพ็ครวม django + bootstrap4 + crispy form + docker พร้อมใช้งาน ในบทความนี้ ผมได้พยายามทำให้ใช้งาน Django ได้ง่ายขึ้น จนได้ แบบสำรวจอย่างง่าย พร้อมใช้งาน ใน 3 ขั้นตอน

    Prerequesite

    ติดตั้ง Python 3.6+ หรือ ใช้ Python Container แล้ว

    Repository

    https://github.com/nagarindkx/djsurvey

    ง่าย ๆ 3 ขั้นตอน

    1. Clone Repository

    ใช้คำสั่ง git

    git clone https://github.com/nagarindkx/djsurvey.git

    หรือ Download ไปก็ได้

    https://github.com/nagarindkx/djsurvey/archive/master.zip

    2. กำหนดข้อคำถามในแบบสำรวจ

    แก้ไขไฟล์

    /code/main/survey/models.py

    ตัวอย่างเช่น แบบสำรวจ ประกอบด้วย

    1. ชื่อ
    2. อีเมล
    3. เพศ
    4. วันเดือนปีเกิด
    5. ผลไม้ที่ชอบ
    6. ข้อเสนอแนะ

    ก็สร้าง Model ตามนี้ ( แรก ๆ อาจจะรู้สึกน่ากลัว แต่พอเข้าใจแล้ว มันง่ายมาก)

    from django.db import models
    class Survey(models.Model):
        fullname = models.CharField(
            verbose_name="ชื่อ",
            max_length=255,  blank=False)
        email = models.EmailField(
            verbose_name="อีเมล",
            blank=False)
        gender = models.CharField(
            verbose_name="เพศ",
            max_length=1,    blank=False,
            choices=[('F', 'หญิง'), ('M', 'ชาย')],
            default='F',
        )
        birthdate = models.DateField(
            verbose_name="วันเดือนปีเกิด",
            auto_now=False,  blank=False)
        fruit = models.CharField(
            verbose_name="ผลไม้ที่ท่านชอบ",
            max_length=1,    blank=False,
            choices=[('a', 'แอปเปิ้ล'), ('b', 'มะละกอ'),
                     ('c', 'กล้วย'), ('d', 'ส้ม')],
            default='c',
        )
        comment = models.TextField(
            verbose_name="ข้อเสนอแนะ",
            blank=True)

    แนะนำให้ใช้ Visual Studio Code จะทำงานได้ง่ายมาก

    3. Migrate แล้ว Run

    ใช้คำสั่งต่อไปนี้

    python manage.py migrate
    python manage.py runserver 0:8080

    ชมผลงาน

    http://localhost:8080/survey/

    หรือ ตกแต่งอีกนิดหน่อย ก็จะได้แบบนี้

    http://localhost:8080/advancedsurvey/

    สำหรับผู้ที่ใช้ Docker สามารถ ทำตามขั้นตอนใน แนวทางการพัฒนา Web Application ด้วย django จาก local docker สู่ Google Cloud Run เพื่อนำขึ้น Google Cloud Run ได้เลย (แต่ต้องเชื่อมกับ Database จริง ๆ ก่อนนะ – โปรดติดตามตอนต่อไป)

    คุณกำลังเจอปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่ไม๊ ?

    • Google Forms ก็ง่ายดีแหล่ะ แต่ จะทำอย่างไรให้เก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลได้ ?
    • อยากให้ ผู้ใช้งาน Upload เอกสารเข้ามา / แก้ไขข้อมูล ซึ่ง Google Forms ก็ทำได้ แต่ต้อง Login ด้วย Google Account ก่อน จึงจะทำได้
    • Google Forms ก็ทำ Conditions ได้แหล่ะ (Go to section base on answer) แต่ ถ้าจะให้มีการคำนวนที่ซับซ้อนกว่านั้น ก่อนจะเลือกคำถามถัดไป จะทำอย่างไร ?

    ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อคุณใช้ Django !

    • ติดตั้งได้ บน Web Server ของคุณ!
    • Login ด้วย Facebook/Twitter/Google/Line หรือ Email หรือ จะเป็น Single Sign-On ก็ยังได้
    • ทุกอย่างสามารถ Customize ได้ ทำแบบสอบถามที่ซับซ้อนได้

    ไว้เจอกันในตอนต่อ ๆ ไปครับ

  • วิธีใช้ Google Calendar เพื่อบันทึกปฏิบัติงาน และใช้ Google Sheets เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงาน

    บทความนี้ นำเสนอแนวทางที่ผมใช้ในการ “บันทึกการปฏิบัติงาน” และ “รายงานผลการปฏิบัติงาน” เพื่อนำไปกรอกในระบบ TOR ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    เครื่องมือที่ใช้

    1. Google Calendar
    2. Google Sheets
    3. Google Sheets Add-ons ชื่อ “Timesheet”
    4. Google Keep

    เป้าหมาย

    การบันทึกผลปฏิบัติงาน เพื่อ รายงานผลการปฏิบัติงานในระบบ TOR

    ระบบ TOR ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    TOR Online – ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องตกลงกับหัวหน้าฝ่าย ว่า รอบ TOR นี้ เราจะทำอะไร และมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง เอาเป็นว่า … จะกำหนดเป็น “ภาระงาน” แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
    1. งานประจำ
    2. งานเชิงพัฒนา/งานพิเศษ
    3. ผลงานอื่นๆ(ตามที่คณะกำหนด)

    ในแต่ละ หัวข้อใหญ่ ก็จะแจกแจงว่า ทำอะไร เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เช่น

    1.1 5ส
    1.2 ประชุมติดตามงานของทีมงาน

    อะไรทำนองนั้น

    หัวข้อย่อย ของ ผลงานประจำ — มันสำคัญตรงการกรอก ผลการปฏิบัติงาน และ เอกสาร/ข้อมูลอ้างอิงนี่แหล่ะ

    ซึ่ง นอกจากต้องทำงานในหน้าที่ ประชุม ๆ ตอบคำถาม แก้ไขปัญหา กิจกรรรม … ฯลฯ ก็ต้อง บันทึกว่า ทำอะไรลงไปบ้าง มีเอกสารอ้างอิง และ ต้องสามารถ ให้หัวหน้า (และคณะกรรมการประเมิน) สามารถเข้าไปดูได้ด้วย

    ขอยกตัวอย่าง หัวข้อ “ภาระงาน” ของผมใน TOR ปี 2562
    ( TwT )

    
    1.1 5 ส
    1.2 ประชุมติดตามงานของทีมงาน
    1.3 ติดตั้ง Server/Software บริการ PSU Email
    1.4 เฝ้าระวังบริการ PSU Email
    1.5 ตอบคำถาม/ให้คำแนะนำบริการ PSU Email
    1.6 ประยุกต์ใช้ DialogFlow พัฒนา Chatbot กับ Facebook Page ของศูนย์คอมพิวเตอร์
    1.7 ประยุกต์ใช้ Deep Learning ในการคัดกรองอีเมลขยะ
    1.8 พัฒนาระบบหน่วยตรวจสอบภายใน
    1.9 โครงการปรับปรุงความปลอดภัย PSU Email
    1.10 โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง
    
    2.1 งานปรับปรุงและพัฒนา
    2.2 Helpdesk
    2.3 Internal Auditor
    
    3.1.1 อบรมประชุมที่ศูนย์จัด
    3.1.2 กิจกรรมมหาวิทยาลัย
    3.1.3 กิจกรรมศูนย์คอมพิวเตอร์
    3.1.4 กรรมการ/คณะทำงาน
    3.2   กิจกรรมกลุ่มงาน
    3.2.1 ประชุมติดตามโครงการ

    แล้วเราจะบันทึกผลการปฏิบัติงานอย่างไร ให้ ง่าย และสามารถ นำมากรอกใน TOR ได้ด้วย

    เริ่มจาก Google Keep

    เอาข้อหัวย่อย ของภาระงานข้างต้น มาสร้างเป็น Note ใหม่ใน Google Keep ตั้งหัวข้อว่า TOR 2562 (หรือใครอยากจะทำไว้ใช้ของ TOR 2563 ก็ค่อยลองทำดู)

    ต่อไป เราจะสร้าง Label ของแต่ละหัวข้อย่อย โดยการใส่ # ไว้ด้านหน้า หัวข้อย่อย เช่น
    1.10 โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง
    เป็น
    [Update – สำหรับให้รายงานสวยงามยิ่งขึ้น แนะนำให้ Replace ” ” ด้วย “_”]
    #1.10_โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง

    พอใส่ # หน้า 1.10 แล้ว Google Keep จะขึ้น Popup ให้สร้าง Label “1.10” เราก็สร้างไว้ (มันมีเหตุผล ทำตามไปก่อน เดี๋ยวเล่าให้ฟัง)

    Popup ให้สร้าง Label “1.10”

    ทำจนครบทุกข้อ เราจะได้ Note ใน Google Keep อย่างนี้
    จากนั้น ให้คลิก รูป Pin เพื่อปักหมุดเอาไว้
    แล้วกดปุ่ม Close ด้านล่างได้เลย

    [Update: ใน Google Keep สามารถเอาภาพ เช่น เกณฑ์การประเมิน การพิจารณาว่าเรื่องนี้ เข้าในส่วน งานประจำ หรือ งานเชิงพัฒนา เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ จะได้ไม่ต้องไปค้นหาหลาย ๆ ที่]

    บันทึกการปฏิบัติงานใน Google Calendar

    ใน Google Calendar จะมี Panel ด้านขวามือ จะเห็น Icon ของ Google Keep สีเหลือง ๆ คลิกสิครับ รออะไร

    Icon ของ Google Keep ใน Google Calendar

    เราก็จะเห็น Note ของ Google Keep ที่เรา Pin ไว้ตะกี้ อยู่บนสุด

    Note ที่ Pin ไว้ จะอยู่บนสุด

    ใน Google Calendar นั้น ปรกติเราจะลงนัดหมายต่าง ๆ ลงไปใน Default Calendar ของเรา แต่ในที่นี้ แนะนำให้สร้างอีก Calendar นึงขึ้นมา ตั้งชื่อว่า worklog

    แนะนำให้สร้าง Calendar ใหม่ ชื่อ worklog เพื่อแยกบันทึกปฏิบัติงาน กับ การนัดหมายทั่วไป

    วิธีลงบันทึก

    เช่น วันนี้ เวลา 10:00-13:30 ทำงานของหน่วยตรวจสอบภายใน เป็นการ “ปรับปรุงโปรแกรมหน่วยตรวจสอบ” และบันทึกสิ่งที่จะต้องทำ กับ สิ่งที่ทำเสร็จไปแล้ว

    วิธีการบันทึก

    1. [Update] Copy ข้อความจาก Google Keep เช่น ข้อ #1.8_พัฒนาระบบหน่วยตรวจสอบภายใน มาใส่ใน Title
    2. [Update] อาจจะเพิ่ม ” ปรับปรุงโปรแกรมหน่วยตรวจสอบ” เป็นคำบรรยาย ในหัวข้อการทำงาน
    3. ใส่ เวลา 10:00 – 13:30 ว่าเราทำงานนี้ในช่วงเวลานี้
    4. บันทึกสิ่งที่จะต้องทำ กับ สิ่งที่ทำเสร็จไปแล้ว
    5. เลือกบันทึกลงใน worklog
    6. กดปุ่ม Save
    ขั้นตอนการบันทึกผลการปฏิบัติงาน

    วางแผนการทำงาน

    อย่างเช่น ผมมีงานที่ต้องทำทุกเช้า คือ “1.4 เฝ้าระวังบริการ PSU Email”

    1. [Update] ใส่ #1.4_เฝ้าระวังบริการ_PSU_Email
    2. เลือกบันทึกใน worklog
    3. คลิก More Option
    บันทึกปฏิบัติงาน ที่จะต้องทำทุกวัน

    เลือกเป็น Repeat > Every Weekday

    เลือกให้เกิดการบันทึกนี้ ทุกวัน

    แล้วมา Uncheck “All day” ออก เพื่อกำหนดช่วงเวลา เช่น ผมจะทำงานนี้ประจำทุกวันทำงาน เวลา 09:00-10:00 จากนั้น คลิกปุ่ม Save

    กำหนดเวลา

    สร้างนัดหมาย แล้วเอามาเป็นบันทึกปฏิบัติงานก็ได้

    เบื่อไม๊ เวลาจะนัดประชุม นอกจากจะต้องหาเวลาว่าง ห้องว่าง แล้วต้องมาหาว่า ใครว่างวันไหน แถม ลงนัดไปแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่า ใครจะตอบรับการเข้าประชุมบ้าง

    ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อใช้ Google Calendar

    1. ใส่หัวข้อ เช่น “#1.10 นัดประชุม” –> เพื่อลงในบันทึกปฏิบัติงานของภาระงาน “1.10 โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง”
    2. ลงเวลานัด
    3. เพิ่ม Email ผู้เข้าร่วมประชุม
    4. ดูได้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมว่างไม๊ในเวลานัด (ถ้ามันใช้ Calendar เป็นอ่ะนะ)
    5. ถ้าคนนี้ไม่สำคัญ ไม่มาก็ได้ ก็ Mark Optional
    6. ใน G Suite for Education สามารถจอง Resource ได้ เช่น จองหัองได้ ใน Free Gmail ไม่มีจร้า
    7. ใน G Suite for Education สามารถสร้างห้อง เพื่อ Video Conference ใน Google Meet ได้ ส่วน ใน Free Gmail ไม่มีจร้า
    8. คลิก Save

    ตอบ Email ก็เอามาลงบันทึกปฏิบัติงานได้

    เช่น มี Order มาให้ทำอะไร มาทาง Email ก็สามารถ เอามาลงบันทึกปฏิบัติงานได้เลย

    ก็สามารถเอามาใส่ในหัวข้อ ภาระงาน ที่ถูกต้องได้ แถม ถ้า email นี้ ถึงใครบ้าง ก็จะสร้างนัดหมายให้ได้ด้วย

    ผลการบันทึกปฏิบัติงาน

    เมื่อเวลาผ่านไป …

    วัน ๆ ไม่ได้ว่างงานนะ

    เมื่อถึงเวลารายงานผลการปฏิบัติงาน

    ใน Google Drive สร้าง Google Sheets ขึ้น จากนั้น ติดตั้ง Add-Ons ชื่อ “TimeSheet”

    เมื่อติดตั้งเสร็จจะได้อย่างนี้

    และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องใส่ # ไว้หน้าชื่อของ Event

    เริ่มเลยแล้วกัน

    Add-Ons > TimeSheet>Create Report

    เลือก Calendar และ กำหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องการ

    ผลที่ได้

    ผลที่ได้ เรียงตามหัวข้อภาระงาน และ นับจำนวนชั่วโมงได้

    เช่น หัวข้อ #1.8 พัฒนาระบบหน่วยตรวจสอบภายใน ก็จะสามารถดูรายละเอียดและจำนวนชั่วโมงได้

    และเอาไปใส่ใน TOR ได้แระ

    ส่วน Google Sheets บันทึกผลข้างต้น ก็เอาไป Share ได้ตามปรกติ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • วิธีสร้างสมุดโทรศัพท์ของหน่วยงานด้วย Google Contact

    เคยเป็นไม๊ จะโทรศัพท์หาเพื่อนร่วมงาน แต่ไม่รู้ว่า เบอร์มือถือ เบอร์ที่โต๊ะ หรือ Email อะไร วิธีการที่บางหน่วยงานทำ คือ ทำแผ่นพับเป็นสมุดโทรศัพท์เก็บใส่กระเป๋าตังค์บ้าง เป็นกระดาษแปะบ้าง บางทีก็หาย บางทีก็ไม่ได้พกบ้าง หรือ บางทีทำเป็นเว็บให้ค้นหาบ้าง … บางแห่งถึงกับต้องลงแรงเรียน Mobile App ก็มี (อิอิ)

    จะดีกว่าไม๊ ถ้าแค่ฝ่ายบุคคล แค่รวบรวม ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น เบอร์มือถือ เบอร์โต๊ะ และ Email ใส่ Excel แล้วจากนั้น ใครใคร่จะ Import ใส่ Google Contact ของตนเองได้เลย แล้วหลังจากนั้น จะโทร จะค้นหา ก็สามารถทำในมือถือของตนเองได้เลย !!! ไม่ต้องพก ไม่ต้องติดตั้ง App เพิ่ม ใช้ได้ทั้ง iOS, Android และบน Computer ก็ยังได้

    มาดูกัน

    สร้าง Excel เก็บข้อมูล

    การนำเข้า (Import) ข้อมูลเข้า Google Contact มีทริคนิดเดียว คือ บรรทัดแรกของไฟล์ จะต้องเป็น Header ที่กำหนดชื่อตามรูปแบบมาตราฐาน กล่าวคือ ตั้งหัวข้อว่า “ชื่อ”, “นามสกุล”, “ชื่อเล่น”, “มือถือ”, “เบอร์โต๊ะ” อะไรอย่างนี้ +++ไม่ได้+++

    ต้องตั้งเป็น

    "Given Name","Family Name", "Name Suffix","Phone 1 - Type","Phone 1 - Value","Phone 2 - Type","Phone 2 - Value","Group Membership"

    Given Name = ชื่อ
    Familay Name = นามสกุล
    Name Suffix = ใช้เป็นชื่อเล่นก็ได้
    Phone 1 – Type = ประเภทโทรศัพท์อันที่ 1 (เช่น Mobile)
    Phone 1 – Value = หมายเลขโทรศัพท์อันที่ 1 (เช่น เบอร์มือถือ)
    Phone 2 – Type = ประเภทโทรศัพท์อันที่ 2 (เช่น Work)
    Phone 2 – Value = หมายเลขโทรศัพท์อันที่ 2 (เช่น เบอร์โต๊ะ)
    Group Membership = จะให้ Label ว่าอย่างไร

    ดังตัวอย่างนี้

    จากนั้น Save เป็นแบบ CSV File สมมุติชื่อว่า contact.csv

    นำเข้า Google Contact

    เปิด Gmail/Google Mail แล้วคลิกที่ App > Contacts
    ใน Google Contact คลิกที่ More > Import
    เลือกไฟล์

    เสร็จแล้ว ก็จะได้ใน Google Contact มี Label ตามภาพ (1 contact มีหลาย ๆ label ได้)
    ในภาพ จะเห็นว่า Contact ที่เพิ่งนำเข้าไป จะปรากฏใน Label cc2019, myContact และ Imported on 5/7 ซึ่งเป็น Default

    วิธีการนี้ มีข้อดีคือ แม้จะมี contact ที่ซ้ำกัน ก็ไม่เป็นไร เราสามารถ Merge ทีหลังได้ หรือ เลือกลบที่เป็น Label ของปีก่อน ๆ ได้ ถ้าต้องการ


    พร้อมใช้งานทันที

    เมื่อ Import เสร็จแล้ว ในมือถือที่ Sync กับ Google Account ที่เราเอา Contact ใส่เข้าไปก็จะสามารถค้นหาได้ทันที

    หาตามเบอร์โทรศัพท์ก็ได้

    เย ๆ

  • ELK #08 Oracle Audit Trail

    ต่อจา ELK #07 – Logstash คราวนี้ มาใช้งานจริง โดยใช้ ELK เพื่อเก็บ Log ของ Oracle Audit Trail

    1. Oracle Audit Trail บน Database Server เก็บ Log ในรูปแบบ XML โดยแต่ละ Event จะมี tag <AuditRecord> … </AuditRecord> คุมอยู่ ที่แตกต่างจาก Log ทั่วไปคือ ในแต่ละ Event จะมีเครื่องหมาย CRLF (การขึ้นบรรทัดใหม่) เป็นระยะ ๆ
    2. ออกแบบให้ Logstash รับข้อมูล (Input Plugin) จาก TCP Port 5515 ซึ่งต้องใช้ Codec ในการรวบ Multiline ในแต่ละ Event เข้าด้วยกัน โดยหา pattern “<AuditRecord>” เป็นจุดเริ่มต้น ส่วนบรรทัดที่ไม่เจอ Pattern ดังกล่าวนั้นการตั้งค่า negate => “true” เป็นการบอกว่า “ให้ดำเนินการต่อไป” โดยจะเอาบรรทัดที่ตามมาจากนี้ ต่อท้าย ด้วยการตั้งค่า what=> “previous”
    3. ในส่วนของ Filter Plugin จะอ่านค่าจาก “message” และ ส่งสิ่งที่ถอดจาก XML ได้ ไปยัง “doc”
    4. ในส่วของ Output Plugin จะส่งออกไปยัง ElasticSearch ที่ TCP port 9200

    ดัง Configuration ต่อไปนี้

    input {
       syslog {
          port => 5515
          codec => multiline {
               pattern => "<AuditRecord>"
               negate  => "true"
               what    => "previous"
          }
       }
    }
    filter {
       xml {
          source => "message"
          target => "doc"
       }
    }
    output {
      elasticsearch {
         hosts => ["elk.server:9200"]
      }
    }

    จากนั้น ทาง Oracle Database Server ทำการเปิด Audit Trail แล้วเขียน Log ลงไฟล์ แล้วเขียน Cron เพื่อ Netcat ไฟล์ส่งมาให้ Lostash ที่เปิด Port TCP 5515 ไว้รอรับ

    ผลที่ได้คือ

    โดยวิธีนี้ จะเป็นการนำ Log ซึ่งจากเดิมเป็น Text Format นำมาเป็น NoSQL ได้ ซึ่งจะสามารถ Query ข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • Case Study: ระบบประเมินผลออนไลน์ด้วย Google Sheets แบบแก้ไขได้เฉพาะส่วนของตนเอง แต่มองเห็นของคนอื่นได้ด้วย

    โจทย์มีอยู่ว่า

    • ต้องการระบบประเมินผล Online ให้อาจารย์จากหลาย ๆ มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ท่าน ประเมินผลการทำงาน ในมุมมองต่าง ๆ แยกตาม Sheet
    • และ ในแต่ละมุมมอง อาจารย์แต่ละท่าน สามารถเลือกตัวเลือกจาก Dropdown ในคอลัมน์ของตนเองในแต่ละหัวข้อย่อย
    • แต่ในขณะเดียวกัน สามารถมองเห็นได้ด้วยว่า อาจารย์ท่านอื่นให้คะแนนหัวข้อย่อยนั้นว่าอย่างไร แต่จะไม่สามารถแก้ไขของท่านอื่น หรือ แก้ไขส่วนอื่น ๆ ได้
    • มีระบบสรุปคะแนนอัตโนมัติ

    เริ่มกันเลย

    ลองคลิกไปดูตัวอย่างได้ที่นี่

    สร้าง Google Sheets โดยมีทั้งหมด 5 Sheets แต่ละ Sheet มีคอลัมน์แรก เป็นรายการที่จะประเมิน คอลัมน์ B – F เป็นส่วนที่ผู้ประเมินแต่ละท่านใช้ในการประเมิน

    ชีตที่ 1 -3 เป็น มุมมองในการประเมิน

    Sheet “มุมมองที่ 1”
    Sheet “มุมมองที่ 2”
    Sheet “มุมมองที่ 3”

    ชีตที่ 4 เป็น Rubric Score หรือ ค่าที่จะใช้ทำ Dropdown ด้วย V Lookup

    Rubric Score

    ชีตที่ 5 เป็น Summary เอาไว้แสดงภาพรวมการประเมิน (ใช้ในภายหลัง)

    Summary

    สร้าง Dropdown

    ไปที่ ชีต “มุมมองที่ 1” ที่เซล B7 (หัวข้อประเมินแรก ของผู้ประเมินคนแรก) แล้ว “คลิกขวา” เลือก Data Validation …

    จากนั้น ในบรรทัด On invalid data เลือก Reject input
    ในบรรทัด Criteria คลิกที่ช่องด้านหลัง

    แล้วไปคลิก ชีต “RubricScore” และเลือกส่วนที่จะมาแสดงใน Dropdown นั่นคือ “Not Met”, “Partially Met” และ “Met” แล้วคลิกปุ่ม OK

    จากนั้น กลับมาคลิกปุ่ม Save

    จากนั้น ก็ Copy เซล B7 ไปยังทุก ๆ ส่วนที่จะทำการประเมิน

    เพิ่มผู้ประเมินเป็น Editor

    คลิกปุ่ม Share แล้วกรอก Email Address ซึ่งเป็น Google Account ของผู้ประเมินทั้ง 5 คนลงไป ให้เป็น Editor จากนั้นคลิกปุ่ม Send

    ในขั้นตอนนี้ ทุกคนที่เป็น Editor สามารถเข้ามาแก้ไข ทุกส่วน ของ Google Sheets นี้ได้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ ต่อไป จะเป็นการกำหนด ส่วนที่ แต่ละคนจะสามารถแก้ไขได้

    กำหนดส่วนที่ผู้ประเมินแก้ไขได้

    คิดเหมือนกับ การเจาะช่อง ให้เฉพาะส่วนที่กำหนดนี้ ให้มีการแก้ไขได้

    คลิกเมนู Tools > Protect sheet
    แล้วคลิก Except certain cells
    ในที่นี้คือ B:F

    แล้วเลือก Editor ทุกคน ให้สามารถ แก้ไขได้
    จากนั้นคลิกปุ่ม Done

    ตอนนี้ ทั้ง 5 คนจะสามารถแก้ไขสิ่งที่อยู่ในคอลัมน์ B-F ได้ แต่ยังมีปัญหาคือ อ.สมชาย สามารถแก้ไขข้อมูลในคอลัมน์ของ อ.สมหญิง ได้อยู่

    กำหนดให้ผู้ประเมินแก้ไขได้เฉพาะคอลัมน์ของตนเอง

    ต่อไป กำหนดให้ อ.สมศรี แก้ไขได้เฉพาะคอลัมน์ C ซึ่งเป็นของตนเองเท่านั้น
    เลือก คอลัมน์ C
    คลิกเมนู Data > Protected sheets and ranges …
    คลิกปุ่ม Set Permissions

    จากนั้น เลือกเฉพาะ email ของ อ.สมศรี เท่านั้นที่สามารถแก้ไขได้
    แล้คลิกปุ่ม Done

    ทำซ้ำกระบวนการนี้ กับ ผู้ประเมินทุกคน ให้แก้ไขได้เฉพาะของตนเองเท่านั้น
    ตอนนี้ อ.สมศรี จะเห็นหน้าจออย่างนี้
    กล่าวคือ แก้ไขได้เฉพาะส่วนของตนเองเท่านั้น

    Save เป็น Macro

    ทำเช่นนี้กับ มุมมองที่เหลือ หรือ จะ Save Macro ก็ได้
    โดยคลิก เมนู Tools > Macros
    จากนั้น ทำกระบวนการที่ต้องการให้บันทึกไปเรื่อย ๆ แล้ว Save
    แล้ว ค่อยไป Run Macro ที่สร้างขึ้น ในชีตที่ต้องการ

    Macro จะมีหน้าตาประมาณนี้

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • Virtual data center with OpenNebula

    OpenNebula เป็นชื่อของ open source software สำหรับทำ virtual data center เวอร์ชั่นล่าสุดคือ 5.6.1 (https://opennebula.org)

    ผมได้ทดลองในห้องปฏิบัติการ และเขียนเป็นขั้นตอนการติดตั้งจนกระทั่งได้ VM ขึ้นมา แต่ยังไม่ลงรายละเอียดถึงขั้นใช้งาน storage network ได้ ซึ่งจะได้ทดลองกันต่อไป

    ในตอนนี้ จะเรียกว่า basic set up ก็ได้นะ ในการ set up ระบบจริงตามคำแนะนำ แต่ละเครื่องควรมี network card 2 cards เพื่อแยกระหว่าง network ที่ให้บริการ กับ Management network

    การ set up จะต้องมีเครื่องที่เป็น Front-end เพื่อทำหน้าที่เป็น database และเว็บเพจสำหรับทำ configuration และสั่งการ และจะต้องมีเครื่องที่เป็น Hypervisor อย่างน้อย 1 เครื่อง โดยเลือกได้ว่าจะใช้ KVM หรือ vcenter สเปคเครื่อง hypervisor นี้ต้องรองรับ Virtualization extensions (Intel VT-x or AMD-V)

    เตรียมการทดลองโดยใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผมนำมาใช้มี 3 เครื่อง อายุเครื่องก็พอสมควร (ตามกำลังทรัพย์ที่มีในห้องปฏิบัติการ) แต่ทั้ง 3 เครื่องนี้ มีเพียง 1 network card ครับ เครื่อง Front-end 1 เครื่อง สเปค Pentium(R) Dual-Core CPU E5200 @ 2.50GHz มี RAM 4 GB อันนี้เป็นเครื่องทั่วไปที่รัน apache2 web server และ mariadb database ได้ ใช้เครื่อง KVM จำนวน 2 เครื่อง เพื่อจะให้เห็นว่าสามารถสร้าง VM ไปที่ KVM node ที่ต้องการได้ เครื่อง KVM node01 เป็น AMD Phenom(tm) II X4 945 Processor มี RAM 8 GB และ KVM node02 เป็น Intel(R) Core(TM) i5 CPU M 520 @ 2.40GHz มี RAM 4 GB

    นอกจากเครื่องคอมฯ แล้ว ผมก็มี network switch (L2-managed) เพื่อกำหนด port ให้รองรับ 802.1Q VLAN ผมออกแบบให้มี 2 VLAN คือ VLAN ID 6 (untagged) และ VLAN ID 7 (tagged) ซึ่ง VLAN 6 ก็คือ ครึ่งแรกของ network class C 192.168.6.0 เขียนแบบ CIDR 192.168.6.0/25 มี gateway คือ 192.168.6.1 และ VLAN 7 ก็คือ ครึ่งหลังของ network 192.168.6.128/25 มี gateway คือ 192.168.6.129

    ผมเขียนขั้นตอนไว้ในเว็บไซต์ opensource.psu.ac.th จะสะดวกกว่านำมาใส่ไว้ในบล็อกนี้ทั้งหมด เข้าไปที่ https://opensource.cc.psu.ac.th/Ubuntu1804 ก็จะเห็น link ต่อไปนี้

    แล้วจะมานำเสนอเรืองราวถัดไปครับ

  • django – as a Dialogflow Webhook #03

    บทความนี้ จะกล่าวถึง การใช้ django ทำหน้าที่เป็น Webhook จาก Dialogflow ผ่าน Fulfillment ทาง HTTP Post Request ด้วย JSON object และ ทำการประมวลผล แล้วตอบกลับไปเป็น JSON Object เช่นกัน เพื่อให้ Dialogflow ตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตามต้องการ เช่น อาจจะให้ไปค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลในองค์กรมาตอบ เป็นต้น

    Source: https://dialogflow.com/docs/intro/fulfillment

    ในมุมของ django django (ดี)จังโก้ ดีอย่างไร #01 ได้กล่าวถึงการสร้าง Web Application จาก Model โดยกำหนด Fields ต่าง ๆ จากนั้น django ก็จะสร้าง Web Form ต่าง ๆ ให้อัตโนมัติ และยังสามารถสร้าง Users ของระบบ พร้อมทั้ง กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละคนได้อีกด้วย แล้วนำไปผูกกับส่วน Admin เพื่อให้ผู้ใช้ทำการ Authentication ก่อนเข้าจัดการกับข้อมูลต่างได้ และในบทความ django – Deploy to Production #02 ได้แนะนำวิธีการ Deploy ระบบที่สร้างขึ้นสู่ Production ตามลำดับ

    ในบทความนี้ จะใช้ “view” ซึ่งเป็นอีกส่วนของ django ตามขั้นตอนต่อไปนี้

    ใน myproject สร้าง App ใหม่ ชื่อ fulfillment

    python manage.py startapp fulfillment

    เพิ่ม ‘fulfillment’ app ลงใน myproject/settings.py ที่ INSTALLED_APPS
    ( ในตัวอย่างก่อนหน้า เราเพิ่ม worklog app ไว้แล้ว) 

    INSTALLED_APPS = [
        'django.contrib.admin',
        'django.contrib.auth',
        'django.contrib.contenttypes',
        'django.contrib.sessions',
        'django.contrib.messages',
        'django.contrib.staticfiles',
        'worklog',
        'fulfillment'
    ]

    จากนั้น แก้ไขไฟล์ myproject/fulfillment/views.py ตามนี้

    from django.http import HttpRequest, HttpResponse
    from django.views.decorators.csrf import csrf_exempt
    import json
    # Create your views here.
    @csrf_exempt
    def sayHi(request):
        j = json.loads(request.body)
        x = {  "fulfillmentText": "This is a text response"
            }
        return HttpResponse(json.dumps(x))

    ในส่วนนี้ จะ import packages ต่อไปนี้

    • HttpRequest เพื่อรับ Input ผ่าน HTTP
    • HttpResponse เพื่อตอบ Output ผ่าน HTTP
    • csrf_exempt เพื่อบอกว่า ยอมให้ทำงานผ่าน HTTP POST โดยไม่ต้องมี CSRF Token (ถ้าไม่ใส่ อยู่ ๆ จะส่ง POST เข้ามาไม่ได้ )
    • json เพื่อจัดการ JSON object

    จากนั้น สร้าง Function ชื่อ “sayHi” มี function ที่เรียกใช้งานดังนี้

    • json.loads(request.body) ทำหน้าที่แปลง JSON Object จาก HTTP Request เข้ามาอยู่ในรูป Python Object ในที่นี้ จะนำข้อมูลจาก Dialogflow Fulfillment ที่ได้จาก Intent Matching และ Parameter Extraction ส่งมา
    • json.dumps(x) ทำหน้าที่แปลงข้อมูล จาก Python Object (ในรูปแบบ dict) ไปเป็น JSON Object ในที่นี้ แปลง { “fulfillmentText” : “This is a text response” } ไปเป็น JSON Object แล้วตอบกลับไปทาง HTTP Response

    ต่อไป สร้างไฟล์ myproject/fulfillment/urls.py เพื่อกำหนด URL ที่จะเรียกใช้ function ดังนี้

    from django.urls import path
    from . import views
    urlpatterns = [    
    	path('hi', views.sayHi )
    ]

    ในส่วนนี้ import package “path” เข้ามา และ import views ที่สร้างขึ้นใน ‘fulfillment’ app และกำหนดว่า เมื่อการเรียก “hi” ให้ไปเรียก function “sayHi” ซึ่งเป็น views

    สุดท้าย แก้ไขไฟล์ myproject/urls.py เพื่อเพิ่ม URL path ให้ fulfillment

    from django.contrib import admin
    from django.urls import path, include
    urlpatterns = [
    	path('admin/', admin.site.urls),
    	path('fulfillment/', include('fullfillment.urls'))
    ]
    

    เมื่อมีการเรียก http://server-domain/fulfillment/ ก็จะส่งไปให้ views ใน fulfillment ทำงาน โดย Include fulfillment.urls เข้ามา

    เมื่อเรียก  http://server-domain/fulfillment/hi ก็จะไปเรียก function sayHi ที่เขียนข้างต้นนั่นเอง

    Dialogflow Fulfillment

    ใน Dialogflow Console คลิกที่ Fulfillment แล้ว Enable Webhook จากนั้นใส่ URL ของ django production server ที่เราสร้างขึ้น ในตัวอย่างจะเป็น

    https://xxxxxxxxx.psu.ac.th/fulfillment/hi

    จากนั้น กดปุ่ม Save ด้านล่าง (ในทางปฏิบัติจริง ๆ ต้องมีเรื่อง Authentication/Authorization อีกพอสมควร แต่ในตัวอย่างนี้ ทำแบบง่าย ๆ ก่อน)

    ต่อไป สร้าง Intent ชุดที่ต้องการให้ส่งให้ Fulfillment ทำงาน แล้วก็คลิกที่ Fulfillment > Enable webhook call for this intent แล้ว Save

    จากนั้น ลองทดสอบดู จะเห็นได้ว่า Default Response จะแสดงข้อความ “This is a text response” แทนที่จะเป็น Text Response ที่กำหนดใน Intent นั้น

    ลองคลิก Diagnostic Info

    จะเห็นว่า มี fulfillmentText เป็น “This is a text response” ตามที่เขียนไว้ เป็นอันว่า Dialogflow สามารถเชื่อมต่อไปยัง django Webhook ที่สร้างขึ้นได้แล้ว

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • Everything are connected together

    “ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน”

    สวัสดี ผู้อ่านทุกท่านนะครับ นี่คือบทความฉบับปฐมภูมิของผู้เขียน ที่จะนำพาท่านไปพบกับบทความในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้เขียนพยามสรรสร้างบทความนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดที่เรียบง่าย แต่ได้ไอเดีย เพื่อนำไปสร้างนวัตกรรมหรือนำไปประยุกต์ใช้งานกับหน้าที่การงาน ที่เราต่างร่วมกันทำเพื่อองค์กรของเราให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

    กล่าวถึงหัวข้อที่ผู้เขียนเรื่อง “Everything are connected together” เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนได้สกัดมาจากงานที่ผู้เขียนปฏิบัติจริงและได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่เริ่มตั้งไข่ จนกระทั่งเริ่มยืนและเดินได้ เติบโตขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มทักษะในการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

    ในบทความนี้จะไม่เน้นเนื้อหาในเชิงลึก แต่จะนำเสนอแก่นสาร ที่รวบรวมแนวความคิดของผู้เขียนที่มีต่อการปฏิบัติงาน เพื่อนำเสนอไอดีย และแง่มุมต่าง ๆ ที่มันสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างจากการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านต่อไป

    ปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีตลอดจนเครื่องมือต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายให้เราเลือกนำมาใช้งาน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ “ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน” เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ผู้อ่านคงจะเริ่มคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ในชีวิตประจำวันที่เราใช้ Internet มันเชื่อมโยงทุกสิ่งอย่าง อย่างไรก็ตามในหลาย ๆ มิติของการเปลี่ยนแปลงมันก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน นั่นคือทุกอย่างล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ผู้เขียนพยามสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริง หากเราจะก้าวไปข้างหน้า จงอย่างไปยึดติด แต่เราควรเลือกที่จะเปลี่ยนให้เหมาะสมไปตามภาวะในความเป็นจริง

    เรามาเข้าเรื่องที่จะนำเสนอในบทความนี้กัน…. เพิ่งได้เข้าเรื่องนะ OK ใจเย็น ๆ ไม่ต้องรีบร้อนค่อย ๆ อ่านไปแล้วกันนะ ^_^

    จากการที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมปฏิบัติการ “ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ครั้งที่ 1 (The 1st PSU ICT Workshop) นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทำให้เราได้เชื่อมต่อถึงกัน ในการประชุมครั้งนั้นผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ ” แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนา web app และ mobile app บนสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส (Microservices Architecture)”

    สถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มใหม่ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
    สามารถอ่านรายละเอียด Story ได้ที่นี่(เปิดดูได้เฉพาะเครือข่ายภายใน มอ.)
    https://dev-paas.eng.psu.ac.th

    สถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มใหม่ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ออกแบบขึ้นบนพื้นฐานของสถาปัตยกรรม Microservice ซึ่งทุกสิ่งอย่างเชื่อมต่อกัน แต่ละ Service มีหน้าที่เฉพาะตัว ไม่ยึดติดภาษาที่ใช้พัฒนา แต่เราจะควบคุมให้ทำงานตามที่เราต้องการและสามารถปรับแต่งได้ เพื่องรองรับการเปลี่ยนแปลง นั่นคือภาพโดยรวมของเพลตฟอร์ม

    การเลือกเครื่องมือ (Tools) ทีนำมาใช้ในการพัฒนาหรือการ Operation ระบบทั้งหมดนั้นมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน หลักการเลือกเครื่องมือของผู้เขียนมีดังนี้

    1. ตรงตามความต้องการ
    2. มีรายละเอียด (Docs) อธิบายชัดเจน
    3. มีชุมชน (Community) ที่มีการ update ปัญหาอย่างสมำเสมอ
    4. มี Road map ของการพัฒนาที่ชัดเจน
    5. มีช่องทางเชื่อมต่อแบบต่างเพลตฟอร์ม (Cross Platform)

    เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารเพลตฟอร์ม ที่สามารถเชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องพัฒนาหรือเขียน Code ขึ่นมาใหม่ ตรงนี้จะช่วยให้เรามีเวลาไปทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เครื่องมือที่นำเสนอในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนา ที่ผู้เขียนได้ผ่านกระบวนการทดสอบ และใช้งานจริงแล้ว ขอนำเสนอด้วยภาพด้านล่างเพื่อความเข้าใจอย่างรวดเร็ว

    ชุดเครื่องมือ Open source สำหรับการบริหารจัดการเพลตฟอร์ม

    จากภาพเครื่องมือที่ใช้นั้นเป็น Open source ที่มาจากต่างค่าย ต่างผู้พัฒนาแต่มันสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างลงตัว ซึ่งรายละเอียดของเครื่องมือนั้นผู้เขียน ขอให้ข้อมูลจากผู้ให้บริการเลยนะครับซึ่งมีดังนี้

    1. Kong API Gateway เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการ การเข้าถึง APIs จากภายนอกแล้วไปเรียก APIs ภายในโดยใช้หลักการ Reverse proxy ได้อย่างง่าย สะดวก ไม่ต้องเขียน config ให้ยุ่งยากปลอดภัยและรวดเร็ว ในตัว Kong API Gateway นั้น มี Logging UDP/TCP Plugin  ให้เราสามารถส่ง logs ไปบันทึกตามตำแหน่งที่เราต้องการได้ Reference:  https://konghq.com
    2. ELK API Analytic เป็นเครื่องมือที่หลายคนน่าจะรู้จักดีและมีบทความดี ๆ ที่ผ่านมาเกี่ยวกับ ELK อยู่ในชุมชนนี้ด้วย เครื่องมือนี้ช่วยวิเคราะห์ปัญหาการเรียกใช้ APIs ตรวจสอบความผิดปกติในการใช้งาน เป็นต้น Reference: https://www.elastic.co
    3. Grafana API Monitoring เป็นเครื่องมือสำหรับใช้สร้าง Dashboard / Visualize กราฟ และวิเคราะห์ในเชิงสถิติ โดยตัวมันมี Plugin connection data source หลายแบบ หนึ่งใน data source ที่ใช้อยู่คือการดึงมาจาก elastic search ที่ผ่านการทำ indexing มาแล้ว รวมถึงมีความสามารถในการตั้งค่า threshold เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการส่ง Notification ได้หลายช่องทาง เช่น Email , Line เป็นต้น Reference: https://grafana.com

    บทสรุป

    “Everything are connected together” ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน ล้วนมีช่องทางให้เชื่อมต่อ แม้ในการทำงานก็เช่นกัน การเชื่อมต่อกันเป็นการประสานการทำงานกันได้อย่างดี แม้จะมีหน้าที่งานระดับใดก็ตามขอเพียงแค่เปิดใจรับฟังและไม่ใช้เหตุผลส่วนตัวในการตัดสินใจ ขอให้ใช้เหตุผลเพื่อส่วนรวม คุณพร้อมหรือยังที่จะเชื่อมต่อ….

    สำหรับขั้นตอนวิธีอย่างละเอียดในการเชื่อมต่อทำอย่างไร หากสนใจ ติดต่อสอบถาม หรือปรึกษาได้ครับ โทร. 749931 / email: thawat.va@psu.ac.th

    ผู้เขียน: นายธวัช วราไชย
    ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์
    สังกัดฝ่ายคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์