Author: wiboon.w

  • กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM2 “Network Security”

    กิจกรรม CoP PSU sysadmin ลำดับถัดไปของเรา KM2 “Network Security” วันที่ 15 ก.พ. 56 เวลา 09.30 – 14.00 น. ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่ครับ ผมจัดงานแบบครั้งที่แล้วคือมาเจอกัน 09.15 กินกาแฟกันก่อน แล้วเริ่มสัก 09.30-09.40 น.

    ตอบรับเข้าร่วมได้ที่อีเมล wiboon.w@psu.ac.th หรือที่เฟสบุ๊ค http://www.facebook.com/groups/psu.sysadmin/ ก็ได้ครับ มีอาหารเที่ยงเลี้ยงด้วย โปรดแจ้งประเภทอาหารที่ท่านรับประทานได้ครับ ขอบคุณครับ (ดูรายชื่อ)

    ในครั้งนี้ผมได้รับเกียรติจากเพื่อนๆมาช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายคน มี สงกรานต์, พรพิทักษ์, โกเมน, คณกรณ์ และประทีป

    หัวข้อที่ผมได้รับเกียรติจากเพื่อนๆมาช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ
    1. สงกรานต์ มุณีแนม มาพูดเรื่อง
    – อัปเดต PSU Security Policy
    – อัปเดต ประกาศการควบคุมการใช้งานเครือข่าย ที่ใช้ในปัจจุบัน
    – Network security monitoring how-to and tools
    – Wi-Fi security ประสบการณ์ที่พบและการป้องกัน
    2. พรพิทักษ์ สันติภาพถาวร (เล็ก) มาพูดเรื่อง
    – firewall/network authentication ระดับมหาวิทยาลัย (อัปเดต Palo Alto Firewall เช่น ทำหน้าที่ใดบ้าง และได้ผลเป็นอย่างไร)
    – การเก็บบันทึก traffic log จาก firewall
    – เรื่องที่ต้องการได้รับความร่วมมือจากแอดมินคณะ
    – แนวทางความร่วมมือต่อจากอีเมลที่ส่งจาก Palo Alto Firewall
    – vpn
    3. โกเมน เรืองฤทธิ์ (ใหญ่) มาพูดเรื่อง
    – firewall/network authentication ระดับคณะ/หน่วยงาน (เช่น ทำหน้าที่ใดบ้าง และได้ผลเป็นอย่างไร)
    – การเก็บบันทึก traffic log
    – ปัญหาของผู้ใช้งานที่พบในการให้บริการ
    4. คณกรณ์ หอศิริธรรม (หนุ่ม) มาพูดเรื่อง
    – server security (web and mail)
    – host firewall ด้วย shorewall และ fail2ban (ผมขอร่วมด้วยตรงนี้)
    5. ประทีป โคตัน (ทีป) มาพูดเรื่อง
    – กล้องวงจรปิดของมหาวิทยาลัย (อัปเดตข้อมูล)
    – กล้องวงจรปิดในหน่วยงานและซอฟต์แวร์ที่ใช้

    แล้วพบกันครับ
    ขอบคุณครับ
    วิบูลย์
    ผู้ประสานงาน CoP PSU sysadmin

    รายชื่อผู้นำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    1. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    2. พรพิทักษ์ สันติภาพถาวร ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    3. โกเมน เรืองฤทธิ์ คณะแพทย์ฯ
    4. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    5. ประทีป โคตัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่

    รายชื่อผู้เข้าร่วม

    1. ภัทธ์ เอมวัฒน์ สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    2. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
    3. ธีรพันธุ์ บุญราช คณะเภสัชศาสตร์
    4. อาทิตย์ อรุณศิวกุล งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    5. ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    6. ทิพาพร พัฒนศิริ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    7. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    8. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    9. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    10. โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    11. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์
    12. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    13. จตุพร ชูช่วย ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    14. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ (*)
    15. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    16. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    17. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ (*)
    18. ณัฐพล เพชรจิระวรพงศ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    19. ปิยะวัชร์ จูงศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    20. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    21. พัฒนาวดี ศิวติณฑุโก คณะวิศวกรรมศาสตร์
    22. พงษ์พันธ์ ประพันธ์ ม.อ.ตรัง
    23. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    24. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    25. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    26. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (แจ้งถอน ติดธุระ)
    27. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    28. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
    29. พันธ์พงษ์ คงกระพันธ์ หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ.ปัตตานี (ผ่าน Video conference)
    30. จรัล บูลวิบูรณ์ คณะศิลปศาสตร์
    31. สถาพร สุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์

    ( (*) ไม่ได้เข้าร่วม)

  • ตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login

    ใน wordpress เราสามารถตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login ทำได้โดยการติดตั้ง plugin เพิ่ม ผมได้ติดตั้ง plugin ชื่อ member access (member-access.1.1.6.zip) เพิ่มตามคำแนะนำของทีมงาน (ใหญ่และน้อง ศูนย์คอมฯ ขอบคุณครับ)

    วิธีใช้งานคือ เมื่อท่านเขียนบทความเสร็จ ตัดสินใจแล้วว่าจะเผยแพร่แบบให้สมาชิกที่ login เข้าสู่ระบบแล้วจะดูได้เท่านั้น (เพราะจำเป็นจริงๆ อาจมีความลับบางอย่างไม่อยากให้พี่ google ไปบอกต่อ)

    ให้ท่านดูที่ด้านขวามือ จะเห็นเป็น
    Status: Published Edit
    Visibility: Public Edit ซึ่งถูกต้องแล้ว

    จากนั้นให้เลือกตัวเลือกของ Member Access ด้านล่าง
    ตั้งค่าตัวเลือก Ignore the default settings and make this post visible only to members

    ผลลัพธ์จากการตั้งค่าครั้งนี้ ทำให้บทความไม่แสดงในหน้าเว็บไซต์ ถ้าไม่ login เข้าสู่ระบบก็จะไม่เห็นบทความ เมื่อคัดลอก link ส่งไปให้ ผู้ที่ได้รับ link ก็จะถูก redirect มายังหน้า login

  • ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ม.ค. 56 (พฤหัส) เวลา 09.00 – 16.00 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยง ที่ห้อง 101 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    (หมายเหตุ วันที่ 30 ม.ค. 56 ทีมวิทยากรจะเตรียมห้องอบรมด้วยกัน) หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ (ดูรายชื่อผู้เข้าร่วมติว)

    ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของม.อ.วิทยาเขตต่างๆ

    ระยะเวลา

    • 1 วัน

    สถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้

    • ต้องใช้ห้องอบรมที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องต่อผู้เข้าอบรม 1 คน

    เนื้อหา

    • เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน
    • แนะนำโปรแกรม pGina บนวินโดวส์ เพื่อควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ radius server ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานอยู่ใน PSU-12 ต้นแบบพัฒนาจาก FreeRADIUS ซึ่งมี module ที่สามารถ authen กับ PSU-Passport ได้
    • ความรู้เกี่ยวกับ Disk/Partition/Booting
    • แนะนำชุดโปรแกรม PSU-12

    ชุดโปรแกรม PSU-12 ที่มีสรรพคุณดังนี้

    • Boot Manager Server – ห้องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ควบคุม boot manager จาก server
    • Cloning Server – ระบบโคลนนิงผ่าน network ใช้ทดแทนโปรแกรม GHOST
    • โคลนนิงได้ทั้ง MS Windows และ Linux
    • DHCP + PXE Server – ทำงานเป็น DHCP server และ PXE server
    • มีระบบบันทึก log accounting
    • สามารถกำหนดให้ หาก PC ลูกข่ายไม่ต่อกับ network จะบูทไม่ได้
    • ประยุกต์ใช้งานบังคับให้อ่าน message of today จึงจะบูทเครื่องใช้งานได้
    • สามารถกำหนดให้ PC ลูกข่ายบูทเข้า partition ไหนก็ได้

    รายละเอียดหัวข้อติว
    ตอนที่ 1 – ติดตั้ง server

    • ติดตั้ง Ubuntu server
    • ติดตั้งชุด PSU-12
    • การปรับแต่งให้ PSU-12 เป็น radius server ที่สามารถ authen กับ @psu.ac.th และ PSU-Passport
    • ทดสอบ authen กับอีเมลของ @psu.ac.th
    • ทดสอบ authen กับบัญชีผู้ใช้ PSU-Passport
    • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะบุคลากรของ PSU หรือเฉพาะบุคลากรในหน่วยงานเท่านั้นที่ใช้บริการได้
    • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะนักศึกษาในคณะเท่านั้นที่ใช้บริการได้

    ตอนที่ 2 – การโคลนนิ่ง

    • การ Cloning เครื่องต้นแบบไปเก็บเป็นไฟล์ต้นฉบับ (Backup Process)
    • การ Backup Partition Table
    • การ Backup Partition
    • การ Cloning เครื่องใหม่จากไฟล์ต้นแบบ (Restore Process)
    • การตั้งค่าเพื่อทำให้ระบบที่ Cloning มากลับมา boot ได้

    ตอนที่ 3 – ติดตั้งโปรแกรมสำหรับควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

    • แบ่ง partition ของฮาร์ดดิสก์โดยใช้แผ่นซีดี Sysresccd และลง Windows 7 ใหม่ใน partition ที่สร้างขึ้น
    • ติดตั้งโปรแกรมเก็บข้อมูลการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ MS และบันทึกไว้บน server ที่เลือก
    • ติดตั้งโปรแกรม pGina เพื่อให้ login เข้าก่อนใช้เครื่อง MS
    • ตั้งค่า message of today
    • สามารถตั้งเวลา shutdown จาก server โดยตรงได้

    วิทยากร

    • ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    • ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์
    • วิศิษฐ โชติอุทยางกุร คณะทันตแพทยศาสตร์
    • วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วมติว

    1. วันชัย แซ่ลิ่ม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
    2. อาฮาหมัด เจ๊ะดือราแม งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคนิคการแพทย์ (*)
    3. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ คณะเภสัชศาสตร์
    4. ดุษณี โสภณอดิศัย คณะนิติศาสตร์ (*)
    5. ฝาติหม๊ะ เหมมันต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
    6. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    7. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
    8. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    9. เพียงพิศ สุกแดง คณะวิทยาการจัดการ
    10. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
    11. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    12. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    13. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    14. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    15. เกียรติศักดิ์ คมขำ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    16. ศรายุทธ จุลแก้ว ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    17. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ (*)
    18. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    19. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    20. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    21. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (fb: Nick Justice)
    22. นาลิวัน หีมเห็ม สำนักวิจัยและพัฒนา
    23. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
    24. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ (*)
    25. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    26. เสะอันวา เสะบือราเฮง คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

    ( (*) ไม่ได้เข้าร่วม)

  • กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM1 “การทำงานกับ PSU Passport”

    กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM1 “การทำงานกับ PSU Passport” วันที่ 21 ธ.ค. 55 เวลา 09.30 – 14.00 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยงด้วย พบกันที่ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่ครับ

    กำหนดการ
    เวลา 09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง
    เวลา 10.00 – 12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การทำงานกับ PSU Passport”
    เวลา 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
    เวลา 13.00 – 14.00 น. ตอบปัญหาและข้อซักถาม

    นำเสนอโดย คุณจตุพร ชูช่วย แอดมินทีมเซิร์ฟเวอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่
    รอบนี่้ผมคิดว่า คุยกันไม่ต้องเร่งรีบมาก ในช่วงแรก แล้วเบรคพักเที่ยง ทานข้าวด้วยกัน แล้วถ้ายังมีคำถามไว้ในช่วงบ่ายอีก 1 ชั่วโมงครับ (ดูรายชื่อผู้ที่แจ้งเข้าร่วม)

    หัวข้อที่จะเล่าและตอบคำถาม
    1. โครงสร้างของระบบ PSU Passport
    2. การนำเข้าข้อมูลเพื่อสร้าง Account บน PSU Passport
    3. บริการของระบบ PSU Passport (ldap/ldaps,web service,ระบบเปลี่ยนรหัสผ่าน)
    4. สิทธิการเข้าถึงชั้นความลับของ PSU Passport (ระบบความปลอดภัยของข้อมูล)
    5. ข้อกำหนดใช้บริการ PSU Passport (พรบ. คอม 50)
    6. ระบบจัดการข้อมูลบน PSU Passport (AdsAdmin)
    7. การออก Account ในกลุ่มอื่น ๆ (Guest,VIP,LAB)
    8. ตัวอย่างการเข้าใช้งานบน Application ต่าง ๆ (LDAP,Web Service)
    9. ระบบลงทะเบียน Server Authen ในอนาคต
    10. แนวทางการเผยแพร่ความรู้ในอนาคต
    11. ตอบคำถามกวนใจใคร

    ช่วง ตอบคำถามกวนใจใคร เช่น

    ผู้ใช้: อยากให้ศูนย์คอมฯมี database view ของ PSU Passport เพื่อให้คณะคอนเนคเข้ามาได้
    แอดมินศูนย์:
    – ข้อมูลอะไรครับ หากเฉพาะ user/password ก็ใข้ passport ได้อยู่แล้ว ?
    – หากเป็นข้อมูลบุคลากรให้ติดต่อการเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเพื่อขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลครับ
    – และหากเป็นข้อมูลนักศึกษาให้ติดต่อทะเบียนกลางเพื่อขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ครับ
    ผู้ใช้: ถ้าให้ 0com เป็นตัวกลาง ประสานงานให้ แบบ one stop service ได้มั้ยครับ
    แบบว่าไม่ต้องไปติดต่อหลายที่
    แอดมินศูนย์:
    ไม่ได้ครับ เพราะเราไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เป็นแค่ที่เก็บ ต้องขอเจ้าของครับ

    ผู้ใช้: สามารถทำให้ antivirus แต่ละค่าย สามารถ
    update อัตโนมัติได้โดยไม่ต้อง authen psu passport ได้ไหม
    เพราะโดยปกติเครื่องคอมขึ้นมา โปรแกรม antivirus จะทำการ update
    ให้อัตโนมัติ เครื่องคอมผู้ใช้ ถ้าไม่ได้ authen psu passport
    ผ่านหน้าเว็บทันที จะขึ้น โปรแกรม antivirus จะเตือน update failed

    ผู้ใช้: ไม่แน่ใจว่า ตอนนี้ ศูนย์คอมเปิดเป็น web service ให้กับคณะเรียกใช้หรือเปล่า

    ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน
    วิบูลย์

    รายชื่อผู้ดำเนินกิจกรรมครั้งนี้

    1. วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    2. จตุพร ชูช่วย  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่

    รายชื่อผู้ที่แจ้งเข้าร่วม

    1. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    2. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    3. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    4. วชิรวิชญ์  จิวานิจ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    5. อาทิตย์ อรุณศิวกุล งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    6. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    7. จอมขวัญ สุวรรณมณี สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    8. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    9. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    10. ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    11. อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    12. สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    13. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    14. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    15. โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    16. ภัทธ์ เอมวัฒน์ สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    17. ก้องชนก ทองพลัด กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่
    18. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    19. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    20. บุญศิริ บุญยก สำนักงานเลขานุการ คณะวิทยาการจัดการ
    21. สุทิศา จรียานุวัฒน์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะทันตแพทยศาสตร์
    22. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะทันตแพทยศาสตร์
    23. เพียงพิศ สุกแดง  คณะวิทยาการจัดการ
    24. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
    25. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
    26. กิตติศักดิ์ แก้วเนียม จากสำนักฯ ม.อ.ปัตตานี
    27. จรัล บูลวิบูรณ์ คณะศิลปศาสตร์
    28. เสกสรร มาลานุสรณ์ คณะศิลปศาสตร์
    29. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    30. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    31. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    32. ดุษณี โสภณอดิศัย  คณะนิติศาสตร์
    33. ธิดาวรรณ์ แซ่เล่า
    34. ปิยะวัชร์ จูงศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    35. สุรเชษฐ์ หนูแท้ คณะแพทยศาสตร์
    36. อาฮาหมัด เจ๊ะดือราแม งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคนิคการแพทย์
    37. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์
    38. สนธยา เมืองโต หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ.ปัตตานี
    39. สายัณ อินชะนะ หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ.ปัตตานี
    40. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    41. ทิพาพร พัฒนศิริ  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    42. พงษ์พันธ์ ประพันธ์ ม.อ.ตรัง
    43. อนันต์ ทองนวล ม.อ.ตรัง
    44. ธีรพันธุ์  บุญราช คณะเภสัชศาสตร์
    45. นพชาติ เลิศพูนสวัสดิ์  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
  • วิธีย้ายบล็อก wordpress ไปเครื่องใหม่ชื่อโดเมนเนมใหม่

    บันทึกขั้นตอน (ตัวอย่าง) ในการย้ายบล็อก wordpress จากเครื่องเดิม sysadmin.in.psu.ac.th ไปยังเครื่องใหม่ โดเมนเนมใหม่ sysadmin.psu.ac.th เนื่องจากเครื่องเดิมจะมี resources ไม่เพียงพอ และต้องการเปลี่ยนชื่อโดเมนเนมอันใหม่ที่หลายคนว่าดูเหมาะสมและชื่อสั้นกว่า งานนี้บอกได้เลยว่าเล่นเอาเหงื่อตกเลย เพราะคิดว่าย้ายแบบ Joomla! ก็น่าจะได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ครับ สุดท้ายสำเร็จกับการติดตั้ง Duplicator Plugin ไว้ที่เครื่องเดิมก่อน แล้วสร้าง backup ไว้นำมา restore ลงในเครื่องใหม่

    เนื้อหาค่อนข้างยาวสักนิด ผมมีเจตนาอยากให้เห็นว่าการทำเว็บไซต์ขึ้นมาหนึ่งอัน เราต้องใช้ความรู้พอสมควร และที่ทำส่วนใหญ่ก็อ่านจากเว็บไซต์ของพี่วิภัทร นั่นคือ opensource.psu.ac.th นี่แหล่ะครับ

    1. เริ่มต้นจากกำหนดจำนวน resources ที่จำเป็นใช้ เพราะว่าจะไปขอใช้ Virtual Machine ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ขอไว้คือ RAM 2 GB, Hard disk 40 GB, OS Ubuntu 12.04.1, TCP Port 80,443
      แล้วกรอกในแบบฟอร์ม
    2. งานบริการเซิร์ฟเวอร์ก็สร้าง VM ให้ที่ทำการอัปเดต OS ให้แล้ว แจ้ง username ให้เข้าใช้งานผ่าน ssh
    3. เมื่อ ssh เข้าได้แล้ว เข้าทำงานในสิทธิ root ด้วยคำสั่ง
      sudo su –
    4. ทำการติดตั้ง Apps ที่จำเป็น ผมเลือก LAMP คือชุดรวมของ Linux, Apache, MySQL และ PHP ที่จำเป็นต้องใช้กับ wordpress ด้วยคำสั่ง
      tasksel
      เลือก LAMP
      จะมีคำถาม รหัสผ่านของ MySQL root ให้ตั้งที่จะจำได้
    5. ติดตั้งส่วนเพิ่มเติมของ php เพิ่มด้วยคำสั่ง
      apt-get install php5-gd php5-imap php5-ldap php5-radius
    6. ติดตั้ง unzip เพิ่มด้วยคำสั่ง
      apt-get install unzip
    7. ปรับแต่ง apache2 ให้ใช้งานแบบ module rewrite
      sudo a2enmod rewrite
    8. ต่อไปก็มาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ http และ redirect http โดยแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default
      <VirtualHost *:80>
      ServerAdmin webmaster@localhost
      ServerName sysadmin.psu.ac.th           <==== เพิ่มบรรทัดนี้
      DocumentRoot /var/www/wordpress

      <Directory /var/www/wordpress>
      Options Indexes FollowSymLinks MultiViews
      AllowOverride All             <==== แก้ไขบรรทัดนี้จาก None เป็น All
      Order allow,deny
      allow from all
      </Directory>
      …     ที่เหลือเหมือนเดิม
      </VirtualHost>
      เพิ่มบรรทัดข้างล่างนี้ เพื่อให้ยังคงมีการ redirect ไปยังที่ใหม่หากใช้ชื่อเก่า
      <VirtualHost *:80>
      ServerName sysadmin.in.psu.ac.th
      Redirect / http://sysadmin.psu.ac.th/
      </VirtualHost>
    9. ต่อไปมาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ https
      สั่งเปิด module ssl ด้วยคำสั่ง
      a2enmod ssl
      คัดลอกแฟ้ม PSU SSL certificates (file_a.crt, file_b.key และ file_c.ca-bundle) มาเก็บไว้ในไดเรกทอรีที่สร้างนี้
      mkdir -p /etc/apache2/ssl
      mv /home/username/file_* /etc/apache2/ssl/
      แล้วปรับเปลี่ยนสิทธิของแฟ้มด้วยคำสั่ง
      chown -R root:root /etc/apache2/ssl/file_*.*
      chmod 600 /etc/apache2/ssl/file_*.*
      แล้วแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default เพื่อจัดการเกี่ยวกับ https และ Certificates
      เพิ่มบรรทัดต่อท้ายไฟล์
      NameVirtualHost *:443
      <VirtualHost *:443>
      DocumentRoot /var/www/wordpress
      ServerName sysadmin.psu.ac.th
      SSLEngine on
      SSLCertificateFile /etc/apache2/ssl/file_a.crt
      SSLCertificateKeyFile /etc/apache2/ssl/file_b.key
      SSLCertificateChainFile /etc/apache2/ssl/file_c.ca-bundle
      </VirtualHost>
    10. ต้องสั่งรีสตาร์ท apache2 ดังนี้
      service apache2 restart
      (more…)
  • ติว PSU-netdrive: เทคนิคการแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คโดยไม่ต้องใช้ SAMBA วันที่ 30 พ.ย. 55

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในปีนี้ในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย. 55 เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยประมาณ ที่ห้อง 106 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่

    รอบนี้ต้องขอรับจำนวนจำกัดเพียง 15 ที่เท่านั้น หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้

    รายละเอียดเรื่องที่ติว

    • การปรับแต่ง ubuntu server ให้เป็น file server เพื่อแชร์ไฟล์แก่ MS client ทำให้สามารถ map network drive โดยไม่ต้องใช้ SAMBA เพียงแค่ติดตั้งเป็น SSH File System รวมทั้ง client ใดๆ ในอินเทอร์เน็ต เช่น Linux desktop หรือ Android smart phone เป็นต้น ก็สามารถแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คร่วมกันกับ MS client ได้แล้วโดยใช้โปรแกรมที่รองรับโปรโตคอล SFTP
    • หากองค์กรมี user account อยู่แล้วสามารถติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account นั้นมาแชร์ไฟล์ร่วมกันได้ด้วย

    หัวข้อมีดังนี้

    • ติดตั้ง VirtualBox for Windows
    • ติดตั้ง Ubuntu server บน VirtualBox
    • ติดตั้ง Ubuntu desktop บน VirtualBox
    • ติดตั้ง Android บน VirtualBox
    • ติดตั้ง PSU-netdrive บน Ubuntu server
    • ติดตั้ง SFTP net drive for Windows บน MS client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ map network drive บน MS client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ mount SSHFS บน Ubuntu desktop client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ ด้วย AndFTP บน Android client
    • เบื้องหลังการจัดการไฟล์ของ PSU-netdrive บนระบบปฏิบัติการ Linux
    • ติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account ที่มีอยู่แล้วมาแชร์ไฟล์ร่วมได้
    • (เพิ่มเติม) การตั้งค่าเพื่อใช้งานร่วมกับบริการ anonymous ftp server
      (เพิ่มเติม) การป้องกันและจัดการผู้ลักลอบเดารหัสผ่านด้วย fail2ban

    รายชื่อทีมวิทยากร

    1. นายวิบูลย์ วราสิทธิชัย
    2. นายวิศิษฐ โชติอุทยางกูร (อาหารมังสวิรัติ)
    3. นายเกรียงไกร หนูทองคำ

    รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมติว

    1. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    2. สาวิตรี วงษ์นุ่น คณะมนุษย์ฯ
    3. ลักขณา ฉุ้นทิ้ง คณะมนุษย์ฯ
    4. อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ
    5. อาทิตย์ อรุณศิวกุล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    6. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์  คณะทันตแพทยศาสตร์
    7. นิติ โชติแก้ว งานเทคโนโลยีสารสนเทศและงานโสตทัศนูปกรณ์ คณะการแพทย์แผนไทย ม.สงขลานครินทร์
    8. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    9. นนทพน รัตนพิทยาภรณ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์
  • KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress

    KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress ในวันนี้จะเล่าให้ฟังถึงเรื่องต่างๆดังนี้

    การเขียนเนื้อเรื่อง

    1. หลังจากมีเรื่องที่จะเขียน ให้ login เข้า โดยไปที่เมนูด้านบน “เขียนเล่าเรื่อง”
      คลิก Add New
      ที่ช่องตั้งชื่อเรื่อง ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นภาษาไทย เช่น เรื่องที่เขียนนี้คือ
      “KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress”
      ผมก็ตั้งเป็นว่า
      “KM How to authoring in wordpress”
      แล้วสังเกตที่บรรทัด Permalink มันตั้งให้เสร็จ สวยด้วย
      แล้วกลับไปแก้ไขเป็นชื่อภาษาไทย
    2. ตัวเอดิเตอร์ที่ใช้งานสามารถทำฟังก์ชันนี้ได้ คือ หากข้อความที่เขียนยาวมากๆ แนะนำให้ใช้เครื่องมือ Insert More Tag เพื่อแทรกแบ่งไปหน้าถัดไป
    3. อย่าลืมเพิ่ม Categories ของเรื่อง อยู่ทางด้านขวามือนะครับ
      รวมถึงเพิ่ม Tags ด้วยเพื่อใช้เป็นคำค้นนั่นเอง แล้วคลิก Add ด้วย
    4. โปรแกรม WordPress สามารถเก็บข้อความรอให้เขียนครบถ้วนก่อน เรียกว่า Save Draft ทำให้ได้ผลงานมากขึ้น
    5. คลิก View Post เพื่อดูว่าหากเผยแพร่โดยคลิก Publish แล้วผู้ใช้ทั่วไปจะเห็นอย่างไร
    การปรับแต่ง
    1. สำหรับ Profile ของผู้เขียน ถ้าใส่รายละเอียดในช่อง Biographical Info (อยู่ด้านล่าง) ไว้ เมื่อเผยแพร่ Post ไปแล้ว ผู้อ่านทั่วไปจะเห็นว่าผู้เขียนคือใคร มีอะไรที่ผู้เขียนอยากให้รู้เกี่ยวกับผู้เขียน และ
      อย่าลืมใส่รูปภาพที่คลิก Update Picture ด้วย หรือหากเคยสมัคร GRvatar ไว้แล้วก็ไม่ต้อง wordpress จะไปเอารูปภาพมาใส่ให้เอง
  • เบราว์เซอร์กับเว็บไซต์ https ที่ใช้ Self-signed Certificate

    คำถามที่ผมต้องการคำตอบ คือ ผมจะทำให้ Chrome บน Windows 8 สามารถติดตั้ง PSU CA (certificate authority) จากหน้า passport.psu.ac.th ได้อย่างไร เพราะว่าผมทำ self-signed certificate verified by PSU CA จึงจำเป็นต้องให้เบราวเซอร์ที่ใช้ได้รับการติดตั้ง PSU CA ก่อน บน Ubuntu ผมใช้งานได้แล้ว จำไม่ได้ว่ามันเอา PSU CA เข้าไปตอนไหน

    คำตอบที่ผมได้รับจากการสอบถามผู้รู้ ก็พบว่า

    certificate ที่ซื้อมาเป็น cert สำหรับ *.psu.ac.th คงใช้กับ *.in.psu.ac.th ไม่ได้ครับ

    Web ขอ CA passport.psu.ac.th รองรับเฉพาะ IE/Firefox เท่านั้นครับ ส่วน server cer ในกรณีที่ไม่ใช่ x.psu.ac.th ใช้ self sign cer ได้เลยครับ ถ้าแนะนำอยากให้พี่จดเป็น sysadmin.psu.ac.th หลังจากนั้นแจ้งมาที่ผมได้ครับ เดี๋ยวผมส่ง server ca ที่เป็น *.psu.ac.th ให้ (CA ที่พี่ขอจากหน้า passport.psu.ac.th เป็น User CA ครับไม่ใช่ Server CA, แต่ก็ขอได้ครับ แต่จะมีวิธีต่างจากการขอทั่วไป แนะนำให้ใช้ self sign ดีกว่า เพราะคนใช้งานต้องลง cer psu ถึงจะ trust cer ที่เป็น self sign ของระบบ psu passport ที่ออกให้อีกที แบบนั้นใช้ self sign ไปเลยดีกว่า)

    ผมมีตัวอย่างบน ubuntu นะครับ เข้าเบราว์เซอร์ chrome และไปยังเว็บไซต์ sysadmin.in.psu.ac.th มันไม่ฟ้อง “ไม่ปลอดภัย” และ URL แสดงรูปกุญแจสีเขียว https เพราะผมคงติดตั้ง PSU CA แล้ว (ไม่รู้ตอนไหน) ต่อไปผมลองใช้จาก Windows 8 มันฟ้อง “ไม่ปลอดภัย” เลยจะพยายามติดตั้ง PSU CA จากหน้า passport.psu.ac.th ครับ และทำไม่ได้ฟ้องว่ารอบรับ IE/Firefox เดาว่าผมคง import เข้า chrome

    จริงๆ chrome มันใช้ตัวจัดการ cert ของ IE ครับ

    หมายความว่า ถ้าผมไปเข้าเบราว์เซอร์ IE ติดตั้ง PSU CA ให้เสร็จแล้วกลับมาเข้า Chrome ก็ใช้งานได้ (จริงป่ะ)

    ใช่ครับ

    โอ้ ท่านใหญ่ เกรียงไกร ท่านยอดมาก ขอคารวะ ทดสอบแล้วในขั้นตอนติดตั้ง PSU CA จาก passport.psu.ac.th ต้องเปลี่ยนตัวเลือกจาก Automatic เป็น Place all certificates in the following store และเลือก Trusted Root Certificated Authorities (จะเอาไปเขียนลงในบล็อก sysadmin)

  • pixlr online photo editor ใช้แทน photoshop

    มีคำถามว่าหากไม่ต้องการจ่ายเงินซื้อโปรแกรมตกแต่ง แก้ไข ภาพถ่าย ที่นิยมที่สุดคือ photoshop เราจะใช้โปรแกรมอะไรดี ก็ลองมองดูที่โอเพนซอร์ส ชื่อ Gimp แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความนิยมเนื่องด้วย user interface ใช้งานไม่ถูกใจชาวกราฟิกดีไซน์เลยทีเดียว

    ผมก็เจอตัวที่คิดว่าน่าใช้งาน คือ pixlr เป็น online photo editor และมีเวอร์ชั่นติดตั้งบนสมาร์ทโฟนด้วย ผมให้กราฟิกดีไซเนอร์คนหนึ่งทดสอบใช้งานดู ก็ได้รับคำตอบว่า ใช้ได้ ง่ายดี

    พวกเราลองอ่านในบล็อกของเขา จะเห็นว่ามีการแนะนำวิธีการใช้งานผ่านบล็อกน่าอ่านมาก ที่ http://blog.pixlr.com/