Author: wanwarang.j

  • มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.2 : ลงมือสร้าง Flow ด้วย Power Automate)

                หลังจากที่ EP. ที่แล้ว เราได้มีการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ทั้งในส่วนของแบบฟอร์มที่จะใช้ในการกรอกข้อมูล และลิสต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลกันไปแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่เคยอ่าน สามารถติดตามได้ที่ลิงค์นี้นะคะ มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.1 : ขั้นตอนการเตรียมตัว) และมาถึง EP.นี้ ก็ได้เวลาลงมือสร้าง Flow ที่จะควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ ที่จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้กับเราได้โดยที่เราไม่ต้องลงมือเองกันแล้ว และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มขั้นตอนต่อไปกันเลยดีกว่านะคะ

    ขั้นตอนการสร้าง Flow โดยใช้ Power Automate 

    1.ไปยัง Power Automate เพื่อสร้าง Flow การทำงานที่เราต้องการ โดยการกดปุ่ม เพื่อเลือก Apps ที่เป็น Power Automate จาก Microsoft 365 ที่เราต้องการเช่นเคยค่ะ


    2. สร้าง Flow : โดยการกดปุ่ม Create ที่ฝั่งซ้ายมือ และเลือกรูปแบบ Flow ที่ต้องการ ซึ่งมีทั้งแบบที่สร้างใหม่ด้วยตนเองและสร้างจากต้นแบบที่มีก็ได้ แต่สำหรับกรณีนี้ขอเลือกแบบ Automated cloud flow นะคะ


    3. ระบุชื่อ Flow และเหตุการณ์ที่ต้องการให้ทำงานอัตโนมัติ : เมื่อเลือกรูปแบบ Flow ที่ต้องการได้แล้ว เราจะต้องตั้งชื่อ Flow และทำการเลือกเหตุการณ์ที่เราต้องการให้ระบบทำงานอัตโนมัติกันค่ะ ซึ่งในที่นี้ขอเลือกเป็นเหตุการณ์ที่แบบฟอร์มมีการบันทึกข้อมูล หรือตัวเลือก “When a new response is submitted” ตามภาพค่ะ


    4. เลือกแบบฟอร์มที่จะใช้ในการบันทึกข้อมูล : หลังจากระบุเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว เราจะต้องทำการเลือกแบบฟอร์มที่เราสนใจหลังมีการบันทึกข้อมูล โดยเลือกระบุในค่า Form Id โดยระบบจะแสดงตัวเลือกแบบฟอร์มที่เราสร้างขึ้นไว้ทั้งหมดมาให้เลือก ในที่นี้ขอเลือก “แบบฟอร์มยืมอุปกรณ์ในหน่วยงาน” นะคะ


    5. สร้างขั้นตอนถัดไป : หลังจากเลือกแบบฟอร์มที่เราต้องการนำข้อมูลมาบันทึกเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก New Step เพื่อกำหนดขั้นตอนการทำงานขั้นต่อไป ตามภาพค่ะ


    6. ระบุเนื้อหาที่ต้องการใช้งาน : โดยขั้นตอนการทำงานต่อไปที่เราต้องดำเนินการก็คือ การนำเนื้อหาของแบบฟอร์มที่เราต้องการมาใช้งานค่ะ โดยเราจะต้องเลือก “Get response details” ซึ่งขอแนะนำวิธีในการค้นหาให้ง่ายขึ้นโดยการใส่คำค้น “Microsoft Form” ลงไป เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแบบฟอร์มของเราเป็น Microsoft Form นั่นเอง แต่หากแบบฟอร์มที่ท่านต้องการใช้เป็นชนิดอื่น ก็สามารถค้นหาตามชนิดนั้นๆได้ค่ะ


    7. ระบุแบบฟอร์มและ Response Id : หลังจากนั้น ระบบจะแสดงหน้าจอให้ทำการระบุแบบฟอร์มที่ต้องการเอาเนื้อหาข้อมูลมาใช้งาน และกำหนด Response Id


    8. การระบุแบบฟอ์มทำเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น หลังจากนั้นให้ทำการเลือก Response Id จากแบบฟอร์ม ตามภาพได้เลยค่ะ


    9. เมื่อกำหนดค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ ให้ทำการสร้างขั้นตอนถัดไป โดยการกดปุ่ม New Step เพื่อจัดการขั้นต่อไปกันเลยค่ะ


    10. ระบุ SharePoint และลิสต์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล : ขั้นตอนถัดมา ถึงเวลาที่เราจะต้องระบุว่าข้อมูลจากแบบฟอร์มที่เราระบุในขั้นตอนก่อนหน้านี้จะนำไปบันทึกลงที่ใด โดยในที่นี้จะบันทึกลงลิสต์ใน SharePoint ที่เราเตรียมไว้กันนะคะ โดยการใช้คำค้น “Sharepoint” และเลือก “Create Item” เพื่อให้ข้อมูลจากแบบฟอร์มที่เราได้มาถูกบันทึกลงในลิสต์ใน Share Point ที่เราต้องการกันค่ะ


    11. โปรแกรมจะให้เราระบุไซต์ของ Share Point และลิสต์ที่เราต้องการเก็บข้อมูล


    12. ระบุไซท์ใน SharePoit : เลือกไซต์ Share Point ซึ่งเป็นที่อยู่ของลิสต์ที่เราเตรียมไว้ในการเก็บข้อมูลให้ถูกต้อง


    13. ระบุลิสต์ที่ต้องการเก็บข้อมูล : เลือกลิสต์ที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลจากแบบฟอร์ม ในกรณีนี้ขอเลือกลิสต์ที่ชื่อว่า “การยืม-คืนอุปกรณ์ในหน่วยงาน” ตามที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 2 ข้างต้น


    14. จับคู่คอลัมน์ในลิสต์กับข้อมูลในแบบฟอร์มที่ต้องการบันทึกข้อมูล : หลังจากนั้น โปรแกรมจะให้เราทำการจับคู่คอลัมน์ในลิสต์กับข้อมูลจากแบบฟอร์มที่เราสร้างขึ้น ว่าต้องการให้ข้อมูลจากแบบฟอร์มส่วนไหนถูกบันทึกลงในคอลัมน์ใด โดยข้อมูลจากแบบฟอร์มจะอยู่ฝั่งขวามือเพื่อให้เราเลือกมาใส่ในแต่ละคอลัมน์ของลิสต์ ตามภาพค่ะ


    15. หลังจากที่เราจับคู่คอลัมน์กับข้อมูลในแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้ว จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ


    16. บันทึก Flow ที่สร้าง : หลังจากนั้นให้ทำการบันทึกข้อมูล Flow ที่เราสร้างขึ้นให้เรียบร้อย โดยการกดปุ่ม Save ที่อยู่ฝั่งขวามือ


    17. เมื่อบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะขึ้นแถบสีเขียวแสดงให้ทราบว่าการบันทึกเสร็จสมบูรณ์ เพียงเท่านี้เราก็จะได้ Flow การบันทึกข้อมูลจากแบบฟอร์มมาลงลิสต์ใน Share Point ของเราโดยไม่ต้อง import ข้อมูลใหม่ให้เสียเวลาค่ะ

    ตัวอย่างการนำไปใช้งานและผลลัพธ์

    1. เปิดให้มีการกรอกแบบฟอร์มโดยนำลิงค์ตามที่ได้แนะนำไว้ข้างต้นมาใช้ ซึ่งจะแสดงแบบฟอร์มให้กรอกข้อมูลตามภาพ

    2. เมื่อทำการบันทึก หรือกดปุ่ม Submit ข้อมูลที่กรอกในแบบฟอร์มจะถูกบันทึกในลิสต์ที่อยู่ใน Share Point ที่ชื่อว่า “การยืม-คืนอุปกรณ์ในหน่วยงาน” ที่เราเตรียมไว้ให้โดยอัตโนมัติ ดังภาพ

                   เพียงเท่านี้ ท่านก็จะมีข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ในลิสต์จากแบบฟอร์มที่ผู้ใช้กรอกมา โดยที่ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนในการนำเข้าข้อมูลอีกต่อไป แถมยังลดการใช้กระดาษได้อีกด้วยนะคะ ซึ่งวิธีการข้างต้นนี้ เป็นเพียงหนึ่งในวิธีที่หวังว่าจะช่วยให้การทำงานของผู้ที่ต้องทำงานกับแบบฟอร์มอยู่แล้วง่ายขึ้น และสามารถลดขั้นตอนการดำเนินการที่มีในปัจจุบันไม่มากก็น้อยนะคะ แต่จริงๆแล้วเจ้า Power Automate ยังมีความสามารถที่หลากหลาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอีกหลายทางเลยค่ะ อย่าลืมไปลองใช้งานและลองเล่นกันดูนะคะ ขอบคุณที่ติดตามเช่นเคยนะคะ ไว้เจอกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ ^^v

  • มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.1 : ขั้นตอนการเตรียมตัว)

                   ในปัจจุบันพบว่า มีการใช้งานแบบฟอร์มในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อความสะดวก และลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ไม่ว่าจะเป็น Google Form หรือ Microsoft form เพื่อรับข้อมูลจากผู้ใช้ เนื่องจากใช้งานง่าย และสะดวก และทำให้ผู้ที่กรอกข้อมูล สามารถกรอกข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องอาศัยการกรอกแบบฟอร์มกระดาษอย่างแต่ก่อน แต่ในส่วนของการเก็บข้อมูลและการนำไปใช้ก็อาจจะมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยปกติแบบฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ก็จะสามารถ Export ข้อมูลออกมาในรูปแบบไฟล์ Excel หรือ CSV ได้อยู่แล้ว แต่สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนจะขอหยิบยกวิธีการเก็บข้อมูลจาก Microsoft form มาเก็บในลิสต์(List) ซึ่งเป็นเปรียบเสมือนฐานข้อมูลหรือตารางที่ใช้เก็บข้อมูลใน SharePoint  โดยที่ไม่ต้องมา Import ข้อมูลจากไฟล์ Excel หรือ CSV ที่เรานำมาจากแบบฟอร์มอีก ซึ่งเราจะใช้ตัวช่วยที่ชื่อว่า Power Automate เพื่อมาลดขั้นตอนการทำงานเหล่านี้ให้กับเรากันค่ะ

                   โดยก่อนที่เราจะเริ่มเรียนรู้วิธีการบันทึกข้อมูลดังกล่าว สิ่งที่เราจะต้องมีเพื่อให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วง นั่นก็คือ

    1. แบบฟอร์ม Microsoft Form ที่ใช้ในการกรอก
    2. ลิสต์ใน SharePoint ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากแบบฟอร์ม
    3. Flow ที่สร้างจาก Power Automate ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากแบบฟอร์มลงในลิสต์นั่นเองค่ะ

    หมายเหตุ : ในบทความนี้ ผู้ใช้จะไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนของการสร้างฟอร์ม และลิสต์ที่ใช้เก็บข้อมูลใน SharePoint แต่จะขอเน้นไปที่วิธีการสร้าง Flow ใน Power Automate เพื่อบันทึกข้อมูลแทนนะคะ และการใช้งาน Microsoft Form SharePoint และ Power Automate จริงๆแล้วสามารถเข้าใช้งานได้จากหลายช่องทาง แต่ในตัวอย่างนี้จะใช้ผ่าน Office 365 นะคะ

                   โดยใน EP. นี้จะเป็นขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์ในข้อ 1 และ 2 ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะไปสร้าง Flow ในขั้นตอนที่ 3 ให้โปรแกรมทำงานอัตโนมัติกันใน EP. ถัดไปนะคะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มขั้นตอนการจัดเตรียมเครื่องมือใน 2 ขั้นตอนแรก กันเลยดีกว่าค่ะ

    ขั้นตอนที่ 1 : การจัดเตรียมแบบฟอร์ม Microsoft Form โดยเราจะเตรียมและสร้างแบบฟอร์ม Microsoft Form ที่ต้องการให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการระบุชนิดและการบังคับกรอกในข้อมูลแต่ละรายการให้ครบถ้วน โดยจะขอแนะนำวิธีการคร่าวๆ ดังนี้

    1.ไปยังแบบฟอร์ม โดยการกดปุ่มเพื่อเลือก Apps ที่เป็น Form จาก Microsoft 365 ที่เราต้องการกันค่ะ

    กดปุมเพื่อเลือก Apps ที่ต้องการใช้งานจาก Microsoft 365


    2. หลังจากนั้นจะแสดงรายการ App ใน Microsoft Office365 มาให้เลือก ในที่นี้ขอเลือก Form ดังภาพ


    3. จะปรากฎหน้าจอและปุ่มให้สร้างแบบฟอร์ม ให้กดลูกศร และเลือก New Form ตามภาพ

    หมายเหตุ : ในส่วนนี้ต้องระวัง เพราะหลายคนจะเลือกผิดเป็น New Quiz ต้องสังเกตให้ดีนะคะ


    4. หลังจากนั้นให้ทำการระบุข้อมูลที่ต้องกรอกในแบบฟอร์ม พร้อมระบุชนิด และการบังคับกรอกของข้อมูลให้เรียบร้อย และสามารถเลือกสไตล์ให้กับแบบฟอร์มของเราเพื่อเพิ่มความสวยงามได้ด้วยเช่นกันนะคะ โดยเริ่มจากการตั้งชื่อแบบฟอร์ม และกดปุ่ม Add new เพื่อเพิ่มข้อในแบบฟอร์มของเรากันค่ะ


    5. หากเราเคยมีการทำแบบฟอร์มและใส่หัวข้อก่อนหน้านี้ โปรแกรมจะดึงข้อมูลที่เราเคยทำไว้มาแนะนำ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเรา กรณีที่ข้อมูลหัวข้อคล้ายๆกัน และไม่ต้องระบุใหม่ทั้งหมด โดยจะเลือกจากส่วนของ Recommended ค่ะ หรือเราจะเลือกสร้างใหม่เองก็ได้นะคะ


    6. ในกรณีที่ต้องการเพิ่มข้อใหม่ที่ไม่ได้มาจากส่วนของการแนะนำ(Recommended) โปรแกรมจะแสดงหน้าจอให้เราระบุค่าต่างๆ จะเห็นว่า ในการสร้างหัวข้อใหม่แต่ละรายการ เราสามารถระบุชนิดของข้อมูล ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ดังภาพ


    7. หลังจากนั้น ให้ทำการระบุชื่อหัวข้อ และสามารถระบุค่าต่างๆได้ ดังนี้

    • ชื่อหัวข้อ
    • ระบุว่าเป็นข้อมูลที่ต้องบังคับกรอกหรือไม่
    • ระบุว่าต้องการให้เป็นหัวข้อที่มีการกรอกข้อมูลที่มีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด เช่น ข้อมูลพวกรายละเอียดต่างๆ หรือไม่
    • การเลื่อนลำดับหัวข้อ โดยการกดลูกศรขึ้น-ลง หรือลากไปทั้งกล่องเพื่อไปยังลำดับที่ต้องการได้
    • การทำสำเนาหัวข้อ ในกรณีที่หัวข้อมีลักณะคล้ายกัน เพื่อประหยัดเวลาในการสร้างข้อใหม่
    • การลบหัวข้อ
      ดังภาพค่ะ

    8. หลังจากที่ได้สร้างแบบฟอร์มและกำหนดค่าต่างๆในแต่ละข้อของแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วจะได้ผลลัพธ์ดังภาพค่ะ

    ตัวอย่างของแบบฟอร์มที่ใช้ในการกรอกข้อมูลในมุมมองของผู้กรอก

    1. ตัวอย่างผลลัพธ์แบบฟอร์มหน้าแรก


    2. ตัวอย่างหน้าจอการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม


    เพิ่มเติม ท่านสามารถ Copy ลิงค์ของฟอร์มไปใช้งาน ได้โดยการกดปุ่ม Collect Response ดังภาพ


                   ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้ระบุการตั้งค่าต่างๆเพิ่มเติม และเราสามารถ Copy ลิงค์ของฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล และสามารถทำเป็นลิงค์แบบสั้นได้ ดังภาพ

                   นอกจากนี้ ท่านยังสามารถระบุการตั้งค่าในส่วนของการกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะมากรอกแบบฟอร์มว่าต้องเป็นคนในองค์กร หรือหน่วยงานหรือไม่ และต้องการให้เก็บข้อมูลชื่อผู้กรอกข้อมูล และสามารถกรอกข้อมูลได้คนละ 1 ครั้งต่อแบบฟอร์มหรือไม่ หรือจะระบุตัวบุคคลที่สามารถทำแบบฟอร์มนี้ก็ได้เช่นกันค่ะ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานแบบฟอร์มในแต่ละครั้ง และทั้งหมดนี้ก็จะเป็นวิธีการสร้างแบบฟอร์มอย่างคร่าวๆ เพื่อเตรียมนำไปใช้งานในขั้นตอนถัดไปกันค่ะ

    ขั้นตอนที่ 2 : การจัดเตรียมลิสต์ในการเก็บข้อมูล ที่มีใน SharePoint โดยมีการระบุชื่อและชนิดของแต่ละคอลัมน์ และต้องอย่าลืมว่าข้อมูลคอลัมน์แต่ละรายการในลิสต์ต้องสอดคล้องกับข้อมูลที่มีในแบบฟอร์มในขั้นตอนที่ 1. โดยวิธีการสร้างลิสต์ มีดังนี้

    1.ไปยัง SharePoint โดยการกดปุ่ม เพื่อเลือก Apps ที่เป็น SharePoint จาก Microsoft 365 ที่เราต้องการกันค่ะ


    2. หลังจากนั้นให้ทำการสร้างลิสต์ขึ้นมา  โดยการคลิกปุ่ม New และเลือก List ตามภาพ


    3. เลือกชนิดของลิสต์ที่ต้องการสร้าง ซึ่งจะเห็นว่าสามารถนำเข้าข้อมูลจากลิสต์ที่มีอยู่ หรือจากไฟล์ Excel และ CSV ได้ด้วย แต่ในกรณีเราจะสร้างจาก “Blank list” ตามภาพค่ะ


    4. ระบุชื่อของลิสต์ที่เราต้องการเก็บข้อมูล ในที่นี้จะขอระบุชื่อเป็น “การยืม-คืนอุปกรณ์ในหน่วยงาน” ดังภาพ


    5. จากนั้นสร้างคอลัมน์ และระบุชนิดของข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูล โดยการกดปุ่ม Add column และต้องอย่าลืมว่า คอลัมน์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนี้ต้อง สอดคล้อง กับข้อมูลที่กรอกในแบบฟอร์มที่เราสร้างในขั้นตอนที่ 1 ด้วยนะคะ และแนะนำให้ตั้งชื่อให้สื่อความหมายกับข้อมูลที่เก็บเพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ และลดความสับสนได้ค่ะ


    6. โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอให้เราระบุชนิดของข้อมูลในคอลัมน์ที่เราต้องการจะเพิ่ม ดังภาพค่ะ


    7. จากนั้น โปรแกรมจะให้เราระบุรายละเอียดของคอลัมน์ที่ต้องการเพิ่มเติม ซึ่งจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของข้อมูล


    8. หลังจากที่เราสร้างคอลัมน์จนครบตามที่ต้องการแล้ว เราก็จะมีลิสต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งเราสามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขในภายหลังได้ ดังภาพค่ะ


    9. การจัดการข้อมูลในลิสต์ โดยปกติข้อมูลในลิสต์ เราสามารถเพิ่มได้โดยตรงจากหน้าลิสต์ในขั้นตอนต่างๆ อย่างสังเขป ดังนี้

    • การเพิ่มข้อมูล โดยการกดปุ่ม New ซึ่งจะแสดงหน้าจอให้กรอกข้อมูล ดังต่อไปนี้


                   นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่ม/แก้ไขข้อมูลได้โดยการกดปุ่ม Edit in grid view เพื่อจัดการข้อมูลในรูปแบบตาราง ซึ่งจะแสดงหน้าจอให้แก้ไขในอีกมุมมอง แล้วแต่ความถนัด ดังนี้


                   ท่านสามารถเพิ่มข้อมูลใหม่ในมุมมอง grid view ได้โดยการกดปุ่ม Add new item หากกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถกลับไปยังมุมมองแรกได้โดยการกดปุ่ม Exit grid view เพื่อกลับไปยังมุมมองการดูข้อมูลปกติดังนี้

    • การแก้ไขข้อมูลจากมุมมองดูข้อมูลทั่วไป สามารถทำได้หลายวิธี โดยการกดปุ่ม Edit หรือ Edit in grid view ตามที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ หรือ หากต้องการลบข้อมูล สามารถเลือกรายการที่ต้องการลบ และกดปุ่ม Delete ได้ตามภาพ

                    จะเห็นว่า ในลิสต์เองก็มีความสามารถในการจัดการข้อมูล เพิ่ม/แก้ไข/ลบได้ในตัวเองอยู่แล้ว แต่บทความที่ผู้เขียนหยิบยกมานี้ ได้มีการนำแบบฟอร์มมาใช้เป็นช่องทางให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลเข้ามา เพื่อความสะดวก และใช้งานง่ายในการกรอกข้อมูลจากผู้ใช้นั่นเอง
                    และมาถึงตรงนี้เราก็จะมีทั้ง แบบฟอร์ม และ ลิสต์ ที่พร้อมจะใช้ในการเก็บข้อมูลกันแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ถึงคราวที่เราต้องไปเตรียม Flow กันบ้าง แต่สำหรับการสร้าง Flow ที่จะใช้ในการบันทึกข้อมูลจากฟอร์มมาลงลิสต์ที่เตรียมไว้จะขอพูดถึงใน EP. ถัดไปละกันนะคะ(เนื่องจาก EP. นี้ก็เริ่มจะยาวเกินไปแล้ว) ไว้เจอกันใน EP.2 นะคะ ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบ และหวังว่าจะพอเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ

  • เรียนรู้เบื้องต้นกับการใส่ลายน้ำ(Watermark)ให้กับเอกสาร PDF ของเราด้วย iTextSharp

                   ในบทความนี้เราก็ยังคงอยู่กับเรื่องการทำภาพลายน้ำอย่างต่อเนื่องจาก EP. ที่แล้วที่พูดถึงการทำข้อความลายน้ำบนภาพที่เราทำการอัพโหลด ถ้าใครยังไม่ได้อ่านสามารถตามไปอ่านกันได้ ที่นี่ นะคะแต่สำหรับ EP. นี้เราจะขอเปลี่ยนบรรยากาศไปทำ ลายน้ำบนไฟล์ PDF โดยใช้เครื่องมือ iTextSharp กันบ้าง เผื่อว่าผู้อ่านบางท่านที่อาจจะกำลังใช้งาน iTextSharp ในการจัดทำไฟล์ PDF อยู่พอดี และอยากจะลองใส่ลายน้ำให้กับงานเอกสารของท่านดูบ้าง จะได้สามารถนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนะคะ โดยตัวอย่างที่จะนำมาแนะนำกันจะมีทั้งแบบลายน้ำที่เป็นข้อความ และลายน้ำที่เป็นภาพค่ะ นอกจากนี้ก็ยังมีทั้งแบบที่เป็นการทำภาพลายน้ำทับไฟล์เดิมที่มีอยู่ และแบบที่ทำภาพลายน้ำและบันทึกเป็นไฟล์ใหม่ค่ะ ผู้อ่านจะได้ลองในหลายๆวิธี และสามารถเลือกไปปรับใช้ให้เหมาะกับงานของแต่ละท่านได้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา งั้นเรามาเริ่มทำภาพลายน้ำบนงานเอกสาร PDF ของเรากันเลยดีกว่าค่ะ

    แบบที่ 1 : การสร้างลายน้ำแบบข้อความ ซึ่งวิธีการนี้ จะมีการทำ Template ต้นฉบับของลายน้ำแบบข้อความไว้ก่อน และเมื่อต้องการทำไฟล์ลายน้ำ จะต้องทำการอ่านไฟล์ลายน้ำจากต้นแบบมาจัดทำลายน้ำบนไฟล์ที่ต้องการได้ ดังนี้ค่ะ

    1.1 ระบุ Library เพิ่มเติม

    using iTextSharp.text;
    using iTextSharp.text.pdf;
    using System.IO;

    1.2 สร้างเมธอดในการสร้าง Template ลายน้ำต้นฉบับ เพื่อใช้ในการทำลายน้ำให้กับไฟล์ PDF ที่ต้องการ

            ////กรณียังไม่เคยสร้างหรือมี Template มาก่อน ให้เรียกใช้งาน CreateTemplate("ข้อความที่ต้องการให้แสดงในเทมเพลต",พาธที่จะสร้างไฟล์เทมเพลตดังกล่าว) 
            public void CreateTemplate(string watermarkText, string targetFileName)
            {
                var document = new Document();
    
                ////ระบุพาธที่ต้องการสร้างไฟล์เทมเพลต
                var pdfWriter = PdfWriter.GetInstance(document, new FileStream(targetFileName, FileMode.Create));
                ///ระบุค่าต่างๆเกี่ยวกับตัวอักษรที่จะแสดงผลในเทมเพลตลายน้ำที่สร้างขึ้น
                var font = new Font(Font.FontFamily.HELVETICA, 60, Font.NORMAL, BaseColor.LIGHT_GRAY);
                document.Open();
    
                ////ระบุค่าข้อความ และค่าต่างๆให้กับลายน้ำที่ต้องการ
                ColumnText.ShowTextAligned(pdfWriter.DirectContent, Element.ALIGN_CENTER, new Phrase(watermarkText, font), 300, 400, 45);
                document.Close();
            }

    ตัวอย่าง ไฟล์ PDF ของ Template ลายน้ำที่ได้จากการเรียกใช้งานเมธอด CreateTemplate ข้างต้น

    1.3 สร้างเมธอดในการจัดทำลายน้ำข้อความให้กับไฟล์ PDF จาก template ลายน้ำต้นฉบับ

    public void AddTextWatermark(string sourceFilePath, string watermarkTemplatePath, string targetFilePath)
            {
                ///ระบุพาธไฟล์ต้นทางที่ต้องการทำข้อความลายน้ำ
                var pdfReaderSource = new PdfReader(sourceFilePath);
                ///ระบุพาธไฟล์ปลายทางที่ต้องการบันทึกไฟล์แบบมีลายน้ำ
                var pdfStamper = new PdfStamper(pdfReaderSource, new FileStream(targetFilePath, FileMode.Create));
    
                ///ระบุพาธของไฟล์ต้นแบบลายน้ำที่จัดทำไว้
                var pdfReaderTemplate = new PdfReader(watermarkTemplatePath);
                var page = pdfStamper.GetImportedPage(pdfReaderTemplate, 1);
    
                ///ทำการวนลูปเพื่อทำลายน้ำให้กับไฟล์ PDF ทีละหน้า
                for (var i = 0; i < pdfReaderSource.NumberOfPages; i++)
                {
                    ///ระบุตำแหน่งในการแสดงผลลายน้ำกับเนื้อหาในไฟล์ PDF กรณีนี้คือวางไว้ใต้เนื้อหา แต่หากต้องการให้อยู่บนเนื้อหาให้เปลี่ยนเป็น GetOverContent แทน 
                    var content = pdfStamper.GetUnderContent(i + 1);
                    content.AddTemplate(page, 0, 0);
                }
    
                pdfStamper.Close();
                pdfReaderTemplate.Close();
            }

    1.4 เรียกใช้งานเมธอดเพื่อทำลายน้ำให้กับไฟล์ PDF ที่ต้องการ(กรณีนี้สมมุติให้เป็นการกดปุ่มเพื่อเรียกใช้งานเมธอดดังกล่าว)

     protected void btnGenWatermark_Click(object sender, EventArgs e)
            {
                 ////กำหนด Path ของไฟล์ PDF ต้นทางที่ต้องการทำลายน้ำ กรณีที่ gen จาก iTextSharp สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยเอาพาธดังกล่าวมาใช้เป็น strSourcePath ได้เลย
                string strSourcePath = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/PDF/File/PDFDocument.pdf");
    
                 ////สร้างตัวแปรชื่อไฟล์ PDF ที่จะบันทึกใหม่ในชื่อตัวแปร genName
                string genName = Guid.NewGuid().ToString() + ".pdf";
    
                 ////กรณียังไม่เคยสร้างหรือมี Template มาก่อนให้เรียกใช้งาน CreateTemplate("ข้อความที่ต้องการให้แสดงในเทมเพลต",templatePath)  ทั้งชื่อไฟล์เทมเพลตใหม่ที่จะบันทึก
                string templatePath = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/PDF/TemplateWatermarkPDF/" + genName);
    
                 ////ระบุพาธปลายทางที่ต้องการบันทึกไฟล์แบบมีลายน้ำพร้อมทั้งชื่อไฟล์ใหม่ที่จะบันทึก
                string targetPath = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/PDF/WatermarkPDF/" + genName);
    
                 ////ตรวจสอบว่ามีไฟล์ดังกล่าวอยู่จริงตามที่อยู่ที่ระบุไว้หรือไม่
                if( File.Exists(strSourcePath))
                { 
                     ////กรณียังไม่เคยสร้างหรือมี Template มาก่อน ให้เรียกใช้งาน CreateTemplate("ข้อความที่ต้องการให้แสดงในเทมเพลต",พาธที่จะสร้างไฟล์เทมเพลตดังกล่าว) 
                    CreateTemplate("Copyrights (c) 2023", templatePath);
    
                     ////เรียกใช้งานเมธอดในการสร้างข้อความลายน้ำตามเทมเพลตที่มี(ตามพาธที่ระบุ) โดยส่งค่าที่อยู่ของไฟล์ต้นทาง พาธเทมเพลตที่ต้องการทำลายน้ำ และพาธปลายทางที่ต้องการบันทึกไฟล์แบบมีลายน้ำ
                    AddTextWatermark(strSourcePath, templatePath, targetPath);
                }
            }

    ตัวอย่างผลลัพธ์

    หมายเหตุ : 

    1. บางครั้งอาจพบว่าการใช้ GetUnderContent อาจทำให้ข้อความลายน้ำโดนเนื้อหาบดบังได้ในบางกรณี จนอาจจะต้องใช้ GetOverContent แทนดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ 

    แต่สำหรับเนื้อหาในไฟล์ PDF โดยทั่วไปแล้ว สามารถใช้งาน GetUnderContent ได้ตามปกติ เพื่อไม่ให้ข้อความลายน้ำบดบังเนื้อหาในเอกสาร

    แบบที่ 2 การสร้างลายน้ำแบบรูปภาพให้กับเอกสาร PDF โดยจะขอยกตัวอย่างให้ดู 2 แบบนะคะ คือแบบที่สร้างลายน้ำบนไฟล์ PDF ใหม่ และแบบที่สร้างลายน้ำบนไฟล์ต้นทางเดิมค่ะ 

    2.1 แบบสร้างลายน้ำบนไฟล์ใหม่ โดยการสร้างเมธอด AddImageWatermark

        public void AddImageWatermark(string sourceFilePath, string watermarkImagePath, string targetFilePath)
            {
                ///ระบุพาธไฟล์ต้นทางที่ต้องการทำภาพลายน้ำ
                var pdfReader = new PdfReader(sourceFilePath);
    
                ///ระบุพาธไฟล์ปลายทางที่ต้องการบันทึกไฟล์แบบมีภาพลายน้ำ
                var pdfStamper = new PdfStamper(pdfReader, new FileStream(targetFilePath, FileMode.Create));
    
                ///ระบุพาธของไฟล์ภาพที่ต้องการนำมาทำภาพลายน้ำ
                var image = iTextSharp.text.Image.GetInstance(watermarkImagePath);
                image.SetAbsolutePosition(200, 400);
    
                ///ทำการวนลูปเพื่อทำภาพลายน้ำให้กับไฟล์ PDF ทีละหน้า
                for (var i = 0; i < pdfReader.NumberOfPages; i++)
                {
                    var content = pdfStamper.GetUnderContent(i + 1);
                    content.AddImage(image);
                }
    
                pdfStamper.Close();
            }

    วิธีเรียกใช้งาน (กรณีนี้สมมุติให้เป็นการกดปุ่มเพื่อเรียกใช้งานเมธอดดังกล่าว)

            protected void btnGenWatermark_Click(object sender, EventArgs e)
            {
                ////กำหนด Path ของไฟล์ภาพที่ต้องการทำลายน้ำ
                string strWaterMark = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/images/clientpreview.png");
                
    ////ระบุ Path ของไฟล์ PDF ต้นทางที่ต้องการทำลายน้ำ string strSourcePath = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/PDF/File/job_apply_form.pdf");
    ////สร้างตัวแปรชื่อไฟล์ PDF ที่จะบันทึกใหม่ในชื่อตัวแปร genName string genName = Guid.NewGuid().ToString() + ".pdf";
    ////ระบุพาธปลายทางที่ต้องการบันทึกไฟล์แบบมีลายน้ำพร้อมทั้งชื่อไฟล์ใหม่ที่จะบันทึก string targetPath = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/PDF/WatermarkPDF/" + genName);
    ////ตรวจสอบว่ามีไฟล์ภาพลายน้ำ และไฟล์ PDF ต้นทางดังกล่าวอยู่จริงตามที่อยู่ที่ระบุไว้หรือไม่ if (File.Exists(strWaterMark) && File.Exists(strSourcePath)) { AddImageWatermark(strSourcePath, strWaterMark, targetPath); } }

    2.2 แบบสร้างลายน้ำบนไฟล์เดิม โดยการสร้างเมธอด AddImageWatermarkInExistingFile

     private void AddImageWatermarkInExistingFile(string sourceFilePath,string watermarkImagePath )
            {
                 ///อ่านค่าจากพาธไฟล์ต้นทางที่ต้องการทำภาพลายน้ำ
                byte[] bytes = File.ReadAllBytes(sourceFilePath);
    
                 ///ระบุพาธของไฟล์ภาพที่ต้องการนำมาทำภาพลายน้ำ
                var img = iTextSharp.text.Image.GetInstance(watermarkImagePath);
    
                img.SetAbsolutePosition(200, 400);
                PdfContentByte waterMark;
    
                using (MemoryStream stream = new MemoryStream())
                {
                     ///ทำภาพลายน้ำในไฟล์ต้นทางที่ต้องการทำภาพลายน้ำ
                    PdfReader reader = new PdfReader(bytes);
                    using (PdfStamper stamper = new PdfStamper(reader, stream))
                    {
                        ///ทำการวนลูปเพื่อทำภาพลายน้ำให้กับไฟล์ PDF ทีละหน้า
                        int pages = reader.NumberOfPages;
                        for (int i = 1; i <= pages; i++)
                        {
                            waterMark = stamper.GetUnderContent(i);
                            waterMark.AddImage(img);
                        }
                    }
                    bytes = stream.ToArray();
                }
                File.WriteAllBytes(sourceFilePath, bytes);
            }

    วิธีเรียกใช้งาน (กรณีนี้สมมุติให้เป็นการกดปุ่มเพื่อเรียกใช้งานเมธอดดังกล่าว)

            protected void btnGenWatermark_Click(object sender, EventArgs e)
            {
                ////กำหนด Path ของไฟล์ภาพที่ต้องการทำลายน้ำ
                string strWaterMark = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/images/clientpreview.png");
    
                ////ระบุ Path ของไฟล์ PDF ต้นทางที่ต้องการทำลายน้ำ
                string strSourcePath = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/PDF/File/job_apply_form.pdf");
    
                ////สร้างตัวแปรชื่อไฟล์ PDF ที่จะบันทึกใหม่ในชื่อตัวแปร genName
                string genName = Guid.NewGuid().ToString() + ".pdf";
    
                 ////ตรวจสอบว่ามีไฟล์ภาพลายน้ำ และไฟล์ PDF ต้นทางดังกล่าวอยู่จริงตามที่อยู่ที่ระบุไว้หรือไม่
                if (File.Exists(strWaterMark) && File.Exists(strSourcePath))
                {
                    AddImageWatermarkInExistingFile(strSourcePath,strWaterMark);
                 }
            }
    

    ตัวอย่างผลลัพธ์

    หมายเหตุ :
    1. ทั้งสองวิธีข้างต้นจะให้ผลลัพธ์ของภาพลายน้ำแบบเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ไฟล์ที่บันทึกภาพลายน้ำ โดยแบบแรกจะสร้างเป็นไฟล์ใหม่ แต่แบบที่สองจะบันทึกลงบนไฟล์เดิม

    2. ในการใช้ภาพทำภาพลายน้ำ อาจจะต้องระวังเกี่ยวกับขนาดภาพที่นำมาใช้ในการแสดงผล และอาจต้องทดสอบการจัดวางตำแหน่งของภาพ เพื่อให้ภาพลายน้ำดังกล่าวออกมาสวยงาม และตรงกับความต้องการในการใช้งาน เพราะหากใช้ภาพที่ใหญ่หรือเล็กเกินไป อาจทำให้ไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานได้

               ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงวิธีเบื้องต้นในการสร้างภาพลายน้ำด้วย iTextSharp เท่านั้น เราอาจจะต้องลองผิดลองถูก ประยุกต์วิธีการนำไปใช้ไปด้วยกัน และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านเพื่อให้แต่ละท่านสามารถนำวิธีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพิ่มเติมกับงานพัฒนาที่ท่านกำลังทำอยู่ หรือหากผู้อ่านท่านใดมีข้อเสนอแนะสามารถให้คำแนะนำมาได้นะคะ ทางเรายินดีรับฟังทุกข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ร่วมกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า และขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ ^^

    แหล่งอ้างอิง

  • มาลองใส่ข้อความ/ภาพลายน้ำ(Watermark) บนรูปภาพที่เราอัพโหลดด้วย C# กันเถอะ

              ในการทำงานของนักพัฒนาโปรแกรม อาจจะมีบางงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลรูปภาพต่างๆลงบนเซิร์ฟเวอร์ และอาจมีความต้องการที่จะใส่ลายน้ำให้กับรูปภาพเหล่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วการทำลายน้ำนั้น ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ป้องกัน หรือปกป้องลิขสิทธิ์ของเจ้าของภาพผู้อัพโหลดข้อมูลหรือเป็นการแจ้งที่มาของภาพนั้นๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ในทางมิชอบ และทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังอาจใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ให้กับงานของคุณได้ หรืออาจทำหน้าที่เป็นตราประทับเพื่อระบุสถานะของเอกสารโดยมีคำเช่น “สำเนา” “ฉบับร่าง” หรือ “ตัวอย่าง” ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการจัดการเอกสารสำคัญอย่างไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบงานของคุณได้ในขณะที่คุณทำเอกสารฉบับร่างให้เป็นเอกสารฉบับจริง

              และสำหรับในบทความนี้ทางผู้เขียนจึงถือโอกาสมาแนะนำวิธีการทำภาพลายน้ำให้กับรูปภาพที่เราบันทึกข้อมูลจากการอัพโหลดไฟล์โดยระบบที่พัฒนาขึ้นกันค่ะ โดยวิธีการเพิ่มลายน้ำสามารถทำได้หลายทาง อาจจะเป็นการนำรูปภาพทั้งหมดที่มีการอัพโหลดมาตกแต่งด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ แต่ในกรณีนี้ ผู้เขียนจะขอแนะนำวิธีเบื้องต้นในการพัฒนาโปรแกรมในการใส่ลายน้ำให้กับภาพตอนอัพโหลดไฟล์ด้วย C#  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านได้นำไปต่อยอดงานพัฒนาของตนเองได้ ซึ่งในบทความนี้จะแบ่งวิธีที่มาแนะนำการใส่ลายน้ำให้กับรูปภาพที่อัพโหลดออกเป็น 2 แบบดังนี้ค่ะ

    1.การใส่ลายน้ำแบบข้อความ โดยการทำลายน้ำด้วยวิธีนี้ เราจะต้องมีการระบุข้อความที่เราต้องการให้แสดงลายน้ำในภาพที่ทำการอัพโหลด ซึ่งขั้นตอนการทำลายน้ำ มีดังนี้

    1.1 เพิ่ม Library ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเข้ามา

    using System.IO;
    using System.Drawing;

    1.2 สร้างหน้าจอที่มี File upload และปุ่มเพื่อทำการอัพโหลดไฟล์

    .aspx page

       <html >
            <head runat="server">
            <title></title>
            </head>
            <body>
                    <form id="form1" runat="server">
                            <div><asp:FileUpload ID="FileUpload" runat="server" />
                            <asp:Button runat="server" Text="Upload" ID="btnSave" OnClick="btnSave_Click" />
                            </div>
                    </form>
            </body>
        </html>

    1.3 สร้างเมธอดที่ใช้ในการสร้างภาพลายน้ำ ที่ชื่อว่า AddTextWatermark() โดยมีพารามิเตอร์เป็นข้อความที่ต้องการให้แสดงเป็นลายน้ำ ดังนี้

    Code C#

    เมธอด AddTextWatermark

     protected void AddTextWatermark(string watermarkText)
            {
                ////รับพารามิเตอร์เป็นข้อความที่ต้องการแสดงผล ในชื่อตัวแปร watermarkText 
                ////สร้างตัวแปรรูปภาพที่ได้จากการอัพโหลดไฟล์โดยผู้ใช้งาน ในชื่อตัวแปร image
                System.Drawing.Image image = System.Drawing.Image.FromStream(FileUpload.PostedFile.InputStream);
    
                ////หาค่าความกว้างและความสูงของภาพที่อัพโหลดใส่ตัวแปร w และ h
                int w = image.Width;
                int h = image.Height;
    
                ////สร้างตัวแปรชื่อรูปภาพที่จะบันทึกใหม่จากการรอัพโหลดไฟล์โดยผู้ใช้งาน ในชื่อตัวแปร genName
                string genName = Guid.NewGuid().ToString() + Path.GetExtension(FileUpload.PostedFile.FileName);
    
                ////สร้างตัวแปร Bitmap ในชื่อ bmp และระบุค่าความสูงและความกว้างตามภาพที่ได้ทำการอัพโหลด 
                System.Drawing.Bitmap bmp = new System.Drawing.Bitmap(w, h);
    
                ////กำหนดค่าต่างๆให้กับ Graphics ในตัวแปรที่ชื่อว่า g จากตัวแปร Bitmap ที่สร้างไว้
                System.Drawing.Graphics g = System.Drawing.Graphics.FromImage((System.Drawing.Image)bmp);
                g.InterpolationMode = System.Drawing.Drawing2D.InterpolationMode.High;
                g.SmoothingMode = System.Drawing.Drawing2D.SmoothingMode.HighQuality;
                g.Clear(System.Drawing.Color.Transparent);
                g.DrawImage(image, 0, 0, w, h);
    
                ////กำหนดขนาดของตัวอักษร และค่าต่างๆในการแสดงผลของตัวอักษรของข้อความ
                System.Drawing.Font drawFont = new System.Drawing.Font("Arial", 30, FontStyle.Bold, GraphicsUnit.Pixel);
    
                ////หาขนาดของข้อความ ตามค่าตัวอักษร(font)ที่ระบุข้างต้น
                SizeF textSize = new SizeF();
                textSize = g.MeasureString(watermarkText, drawFont);
    
                /////กำหนดสีของข้อความที่ต้องการทำลายน้ำและการกำหนดสีแบบ transparency
                System.Drawing.SolidBrush drawBrush = new System.Drawing.SolidBrush(Color.FromArgb(200, 211, 211, 211));
    
                /////กำหนดจุดหมุนจากจุดกึ่งกลางภาพ และหมุนให้ข้อความเอียง 45 องศา
                g.TranslateTransform(bmp.Width / 2, bmp.Height / 2);
                g.RotateTransform(45);
    
                ////ระบุข้อความ ลักษณะตัวอักษร สีและตำแหน่งในการวางข้อความลงบนรูปภาพที่กำหนด โดยจะกำหนดให้อยู่กึ่งกลางภาพแบบทะแยงมุม 45 องศา
                g.DrawString(watermarkText, drawFont, drawBrush, -(textSize.Width / 2), -(textSize.Height / 2));
                System.Drawing.Image newImage = (System.Drawing.Image)bmp;
    
                ////บันทึกภาพไปยังที่อยู่ไฟล์ที่ระบุ
                newImage.Save(Server.MapPath("~/Uploads/" + genName));
                g.Dispose();
            }

    เรียกใช้เมธอดเมื่อกดปุ่ม Upload โดยส่งพารามิเตอร์เป็นข้อความที่ต้องการให้แสดงลายน้ำบนภาพไป

    protected void btnSave_Click(object sender, EventArgs e) {       AddTextWatermark("Copyrights (c) 2023"); }

    ผลลัพธ์ตัวอย่าง

    เพิ่มเติม

    1. หากต้องการเปลี่ยนตำแหน่งของภาพลายน้ำ สามารถทำได้หลายแบบ โดยผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างกรณีที่ต้องการให้ภาพลายน้ำอยู่ตำแหน่งขวาล่าง ซึ่งปรับแก้เพิ่มเติม ดังนี้
      เปลี่ยนจาก
      /////กำหนดจุดหมุนจากจุดกึ่งกลางภาพ และหมุนให้ข้อความเอียง 45 องศา
      g.TranslateTransform(bmp.Width / 2, bmp.Height / 2);
      g.RotateTransform(45);

      ////ระบุข้อความ ลักษณะตัวอักษร สีและตำแหน่งในการวางข้อความลงบนรูปภาพที่กำหนด โดยจะกำหนดให้อยู่กึ่งกลางภาพแบบทะแยงมุม 45 องศา
      g.DrawString(watermarkText, drawFont, drawBrush, -(textSize.Width / 2), -(textSize.Height / 2));
      System.Drawing.Image newImage = (System.Drawing.Image)bmp;
      เป็น 
      Point position = new Point((bmp.Width – ((int)textSize.Width + 10)), (bmp.Height – ((int)textSize.Height + 10)));

      ////ระบุข้อความ ลักษณะตัวอักษร สีและตำแหน่งในการวางข้อความลงบนรูปภาพที่กำหนด โดยจะกำหนดให้อยู่ขวาล่างแทน
      g.DrawString(watermarkText, drawFont, drawBrush, position);
      แทน
    2. ในการนำไปใช้งานจริง ในส่วนของตำแหน่ง สีและขนาดตัวอักษร ท่านสามารถระบุได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้รองรับกับการใช้งานจริง ในตัวอย่างเป็นเพียงกรณีศึกษาเท่านั้นค่ะ

    ตัวอย่างผลลัพธ์หลังมีการปรับตำแหน่งการแสดงผลลายน้ำ

    2.การใส่ลายน้ำด้วยรูปภาพ หลังจากที่เราได้ลองทำลายน้ำบนภาพด้วยข้อความกันไปแล้ว คราวนี้เราจะลองแบบกรณีที่ต้องการให้นำภาพมาเป็นลายน้ำบนรูปภาพที่ทำการอัพโหลดกันบ้างค่ะ โดยมีวิธี ดังนี้นะคะ

    Code C#

    เมธอด AddImageWatermark

       protected void AddImageWatermark(string watermarkImagePath)
            {
                try {
                    ////สร้างตัวแปรชื่อรูปภาพที่จะบันทึกใหม่จากการรอัพโหลดไฟล์โดยผู้ใช้งาน ในชื่อตัวแปร genName
                    string genName = Guid.NewGuid().ToString() + Path.GetExtension(FileUpload.PostedFile.FileName);
    
                    ////ประกาศตัวแปรของไฟล์รูปภาพที่ทำการอัพโหลด
                    using (Bitmap image = (Bitmap)System.Drawing.Image.FromStream(FileUpload.PostedFile.InputStream))
    
                    ////ประกาศตัวแปรไฟล์ภาพที่ต้องการนำมาทำเป็นภาพลายน้ำ
                    using (System.Drawing.Image watermarkImage = System.Drawing.Image.FromFile(watermarkImagePath))
    
                    using (Graphics imageGraphics = Graphics.FromImage(image))
                    using (TextureBrush watermarkBrush = new TextureBrush(watermarkImage))
                    {
                        ////หาจุดตำแหน่งกึ่งกลางภาพที่ต้องการวางภาพลายน้ำ
                        int x = (image.Width / 2 - watermarkImage.Width / 2);
                        int y = (image.Height / 2 - watermarkImage.Height / 2);
                        watermarkBrush.TranslateTransform(x, y);
                        imageGraphics.FillRectangle(watermarkBrush, new Rectangle(new Point(x, y), new Size(watermarkImage.Width + 1, watermarkImage.Height)));
    
                        ////บันทึกรูปภาพตามที่อยู่(Path)ที่ระบุ
                        image.Save(Server.MapPath("~/Uploads/" + genName));
                    }
                }
                catch (Exception ex)
                {
                    ////แสดงข้อความแจ้งเตือนกรณีที่พบข้อผิดพลาดระหว่างดำเนินการ
                    Page.ClientScript.RegisterClientScriptBlock(Page.GetType(), "alert", "alert('ไม่สามารถอัพโหลดไฟล์และทำลายน้ำภาพดังกล่าวได้" + ex.Message + "')", true);
                }
               
            }

    เรียกใช้เมธอดเมื่อกดปุ่ม Upload โดยส่งพารามิเตอร์เป็นที่อยู่ของภาพที่ต้องการให้แสดงลายน้ำบนภาพไป

    protected void btnSave_Click(object sender, EventArgs e) { string strWaterMark = HttpContext.Current.Server.MapPath("~/images/preview.png");       AddImageWatermark(strWaterMark); }

    ผลลัพธ์ตัวอย่าง

    หมายเหตุ : หน้า aspx ที่ใช้จะเป็นแบบเดียวกับวิธีที่ 1 (การทำลายน้ำแบบข้อความ) แต่จะแตกต่างกันเฉพาะในส่วนของการทำงานใน btnSave_Click ที่มีการเรียกใช้เมธอดและส่งค่าพารามิเตอร์ต่างกันค่ะ

                    และทั้งหมดนี้ ก็เป็นวิธีการใส่ลายน้ำในเบื้องต้น ที่ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานของท่านได้ตามความสะดวกและความถนัดของแต่ละคน เพื่อให้รูปภาพ.o’kของเรามีลายน้ำได้โดยง่าย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งปรับแต่งรูปเองในภายหลังให้วุ่นวายกันค่ะ แต่ในการใช้งานจริง ผู้ใช้อาจจะต้องปรับค่าต่างๆให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ เช่น ขนาดหรือสีตัวอักษร หรือขนาด/สีของรูปภาพที่ใช้เป็นลายน้ำ เพื่อให้ผลลัพธ์ของภาพลายน้ำออกมาสวยงาม และเหมาะสมไม่บดบังตัวภาพจริงจนเกินไปนะคะ ผู้เขียนหวังว่าเนื้อหาบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับนักพัฒนาที่กำลังตามหาวิธีการนี้กันอยู่นะคะหากมีคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถชี้แนะเพื่อเป็นประโยชน์ร่วมกันได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

    แหล่งอ้างอิง

  • การย่อ-ยุบแถวข้อมูลบน GridView โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับ jQuery และ Collapse ใน Bootstrap (C#)

               จากความเดิมตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงวิธีการจัดการข้อมูลจำนวนมากด้วยการจัดกลุ่มหมวดหมู่ของข้อมูลใน GridView กันไปแล้ว ซึ่งหากผู้อ่านท่านใดต้องการทราบวิธีการจัดหมวดหมู่สามารถตามดูเนื้อหาในบทความได้จาก การจัดหมวดหมู่แถวของข้อมูลบน GridView ด้วย C# และในส่วนของบทความนี้จะเป็นเนื้อหาต่อยอดการทำงานจากการจัดหมวดหมู่ดังกล่าว โดยเพิ่มความสามารถให้หมวดหมู่หรือกลุ่มเหล่านั้นสามารถย่อ-ยุบได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดูข้อมูลแยกส่วนกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้บางท่านที่อาจมีความต้องการดูข้อมูลทีละส่วนได้ โดยจะนำ Component ที่ชื่อว่า Collapse ใน Bootstrap มาประยุกต์ใช้ในการแสดงผลร่วมกับ GridView และยังมี jQuery มาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อให้สามารถแสดงผลตามที่ต้องการได้ โดยการอธิบายในบทความนี้ ทางผู้เขียนจะขอตัดตอนในส่วนของรายละเอียดขั้นตอนวิธีการจัดหมวดหมู่ไป และข้ามมาพูดถึงขั้นตอนที่ต้องจัดทำเพิ่มเติมในการทำย่อ-ยุบเลยละกันนะคะ

               ก่อนจะไปเริ่มในส่วนของการเขียนโค้ด เรามาทำความรู้จักกับ ค่าที่จำเป็นต้องใช้ในการระบุให้กับแถวหลัก(parent)เพื่อให้สามารถย่อยุบได้ กันก่อนนะคะ

    • data-toggle=”collapse
    • data-target=”.multi-collapse” เพื่อกำหนด target ที่เราต้องการให้ย่อยุบได้ โดยใช้สไตล์ชีทเป็นตัวช่วยเพื่อแยกแต่ละกลุ่มออกจากกัน ซึ่งในที่นี้จะตั้งชื่อสไตล์ชีท multi-collapse ตามด้วยรหัสของประเภทกลุ่มนั้น โดยต้องระบุสไตล์ชีทนี้ให้กับแถวย่อย(child)ด้วย
    • aria-controls=”demo1 demo2 demo3 demo4 demo5” เพื่อกำหนดพื้นที่ที่จะย่อยุบ โดยสามารถกำหนดได้มากกว่า 1 พื้นที่ ซึ่งจะแยกด้วยการเว้นวรรคชื่อ id ของแถวย่อย(child) ในตัวอย่างนี้ คือ แถวย่อยของแถวหลักนี้ ประกอบด้วย 5 แถว คือ แถวที่มี id ชื่อ demo1,demo2,demo3,demo4, demo5 นั่นเอง
    • class = “collapseToggle” เป็นการระบุสไตล์ชีทเพื่อใช้ในการระบุตำแหน่งในการเปลี่ยนไอคอนเวลากดย่อ-ยุบ โดยเรียกใช้งานผ่าน jQuery(ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนถัดไป)

               หลังจากเรารู้จักค่าที่จำเป็นต้องใช้กันไปแล้ว เราก็มาเริ่มปรับแก้โค้ดเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความสามารถให้ GridView ของเรากันเลยค่ะ

    1. ปรับแก้ในส่วนของ GroupGv_DataBound เพิ่มเติม เพื่อกำหนดค่าที่ระบุไว้ข้างต้นในแถวของหมวดหมู่ที่แทรกเข้ามา

    string lastCatName = "";
    string AllName = "";
    
     
    protected void GroupGv_DataBound(object sender, EventArgs e)
            {
                lastCatName = "";
                Table table = (Table)GroupGv.Controls[0];
    
                foreach (GridViewRow row in GroupGv.Rows)
                {
                  
                    HiddenField HidCatName = (HiddenField)row.FindControl("HidCatName");
                    HiddenField HidCatID = (HiddenField)row.FindControl("hdCatID");
                    HiddenField HidID = (HiddenField)row.FindControl("hdID");
    
                    ////ตั้งชื่อ id ให้กับแถวย่อย(child) แต่ละแถว
                    row.Attributes.Add("id", "Name" + HidID.Value);
    
                   ////กำนดสไตล์ชีทของตัวแถวย่อยและระบุเพื่อให้ย่อยุบได้ ด้วย accordian-body collapse และระบุพื้นที่เพื่อให้อ้างถึงจากแถวหลัก(parent)ได้ 
                  /////ซึ่งเป็นในส่วนของ multi-collapse จะเป็น multi-collapse ตามด้วยชื่อรหัสประเภทนั่นเอง 
                  /////โดยแถวย่อย(child) ที่มีแถวหลัก(parent)เดียวกัน ค่าของ multi-collapse จะตรงกันและตรงกับค่า target ที่ระบุไว้ในแถวหลัก(parent)ด้วย
    
                    if (row.RowState == DataControlRowState.Alternate)  ////กรณีที่ต้องการให้แต่ละแถวสลับสีกันเพื่อให้ง่ายต่อการดูข้อมูล 
                       row.CssClass = "Blue accordian-body collapse multi-collapse" + HidCatID.Value;
                    else               
                      row.CssClass = "accordian-body collapse multi-collapse" + HidCatID.Value;
    
                    if (HidCatName.Value != lastCatName)
                    {
    
                       ////////วนเพื่อหาจำนวน child ในแต่ละประเภทเพื่อใช้ในการกำหนด aria-controls
    
                        var strList = GroupData.Select("CategoryID='" + HidCatID.Value + "'");
                        foreach (DataRow dr in strList)
                        {
                            AllName += " Name" + dr["ID"];
                        }
    
                       //// เป็นการหาผลรวมค่าของฟิลด์ Amt ซึ่งหมายถึงจำนวน โดยเป็นการรวมค่าฟิลด์แยกตามแต่ละ CategoryID นั่นเอง
    
                        var sumOfValuesInCategory = GroupData.AsEnumerable().Where(x => x.Field<string>("CategoryID") == HidCatID.Value).Sum(x => x.Field<int>("Amt")).ToString();
                       
                        int realIndex = table.Rows.GetRowIndex(row);
                        string text = HidCatName.Value;
                        GridViewRow newHeaderRow = new GridViewRow(realIndex, 0, DataControlRowType.Header, DataControlRowState.Normal);
    
                        /////กำหนดค่าต่างๆ (data-toggle  data-target  aria-controls )ให้กับแถว เพื่อให้สามารถย่อ-ยุบได้ 
    
                        newHeaderRow.Attributes.Add("data-toggle", "collapse");
                        newHeaderRow.Attributes.Add("data-target", ".multi-collapse" + HidCatID.Value);
                        newHeaderRow.Attributes.Add("aria-expanded", "true");
                        newHeaderRow.Attributes.Add("aria-controls", AllName);
    
                        TableCell newCell = new TableCell();
                        newHeaderRow.Cells.AddAt(0, newCell);
    
                       /////ปรับแก้การระบุค่า ColumnSpan จากเดิมที่รวมกันทุกคอลัมน์(GroupGv.Columns.Count) 
                       //// แต่กรณีนี้ต้องเว้นคอลัมน์ไว้แสดงผลจำนวนรวมแต่ละประเภทด้วย
    
                        newCell.ColumnSpan =1;
                        newCell.BackColor = System.Drawing.Color.FromName("#399ea9"); ;
                        newCell.ForeColor = System.Drawing.Color.White;
                        newCell.Font.Bold = true;
                        newCell.Attributes.Add("class", "collapseToggle");
    
                        /////ใส่ไอคอน + หน้าข้อความชื่อประเภท เพื่อบอกให้ทราบว่าสามารถกดย่อ-ยุบได้
                        newCell.Text = "<i class='fas fa-plus mr-2'></i>" + string.Format(HidCatName.Value, "&nbsp;{0}", text);
    
                        ///สร้าง TableCell หรือคอลัมน์ใหม่ เพื่อแสดงผลข้อมูลจำนวนรวมของแต่ละประเภท 
    
                        TableCell newCellTotal = new TableCell();
    
                        /////เพิ่ม TableCell ในแถวที่กำลังสร้างและระบุค่าต่างๆ
                        newHeaderRow.Cells.AddAt(1, newCellTotal);
                        newCellTotal.ColumnSpan = 1;
                        newCellTotal.BackColor = System.Drawing.Color.FromName("#399ea9"); ;
                        newCellTotal.ForeColor = System.Drawing.Color.White;
                        newCellTotal.Font.Bold = true;
                        newCellTotal.HorizontalAlign = HorizontalAlign.Right;
    
                        ////นำค่าผลรวมในตัวแปร sumOfValuesInCategory ที่คำนวณได้ข้างต้นมาจัดรูปแบบก่อนแสดงผลใน TableCell สร้าง
    
                        newCellTotal.Text = string.Format("{0:#,##0}",int.Parse(sumOfValuesInCategory));
                        newCellTotal.Attributes.Add("class", "collapseToggle");
                        table.Controls.AddAt(realIndex, newHeaderRow);
                    
                          AllName = "";
    
                    }
                    lastCatName = HidCatName.Value;
                }
            }

    2.จัดทำให้ไอคอนสามารถเปลี่ยนเป็น + หรือ – ได้ เมื่อกดย่อ-ยุบ ด้วย jQuery

     <script>
         $(document).ready(function () {
    
    ///เมื่อมีการคลิก element ที่มีสไตล์ชีท collapseToggle จะทำการเปลี่ยนค่าไอคอน หากเป็นภาพบวกจะเปลี่ยนเป็นลบ หากเป็นเครื่องหมายลบจะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายบวก
                $('.collapseToggle').click(function () {
                    $(this).find('i').toggleClass('fa-plus fa-minus');
                });
            });
    </script>

    เพิ่มเติม : ท่านสามารถสร้างสไตล์ชีทตกแต่งเพิ่มเติมให้กับแถวของข้อมูลได้ ในกรณีนี้ได้ทำการสร้างสไตล์ชีทเพื่อไว้สำหรับเวลาเอาเม้าส์ชี้ที่แถวที่สามารถย่อ-ยุบได้ จะแสดงเป็นรูปมือ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่าสามารถกดได้ค่ะ

        <style>
            .collapseToggle {
                cursor: pointer;
            }
        </style>

    ผลลัพธ์

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : จากตัวอย่างข้างต้น ตอนเปิดหน้าจอครั้งแรก ทุกหมวดหมู่จะถูกยุบอยู่ หากต้องการให้การแสดงผลครั้งแรก ทุกหมวดหมู่ถูกขยายอยู่ สามารถปรับแก้โค้ดอีกเพียงเล็กน้อย ดังนี้ค่ะ

    1. เพิ่มคำว่า “show” เข้าไปในสไตล์ชีทตอนกำหนดให้แถวย่อย ดังนี้ค่ะ

    แบบเดิม

                    if (row.RowState == DataControlRowState.Alternate)  ////กรณีที่ต้องการให้แต่ละแถวสลับสีกันเพื่อให้ง่ายต่อการดูข้อมูล 
                       row.CssClass = "Blue accordian-body collapse multi-collapse" + HidCatID.Value;
                    else               
                      row.CssClass = "accordian-body collapse multi-collapse" + HidCatID.Value;

    แบบใหม่

                      if (row.RowState == DataControlRowState.Alternate)  ////กรณีที่ต้องการให้แต่ละแถวสลับสีกันเพื่อให้ง่ายต่อการดูข้อมูล 
    
                        row.CssClass = "Blue accordian-body collapse show multi-collapse" + HidCatID.Value;
                    else
                        row.CssClass = "accordian-body collapse show multi-collapse" + HidCatID.Value;

    2.ปรับแก้ให้ไอคอนแรกที่ต้องการแสดงเป็นเครื่องหมายลบ ดังนี้ค่ะ

    แบบเดิม

                       /////ใส่ไอคอน + หน้าข้อความชื่อประเภท เพื่อบอกให้ทราบว่าสามารถกดย่อ-ยุบได้
                        newCell.Text = "<i class='fas fa-plus mr-2'></i>" + string.Format(HidCatName.Value, "&nbsp;{0}", text);

    แบบใหม่

                        /////ใส่ไอคอน + หน้าข้อความชื่อประเภท เพื่อบอกให้ทราบว่าสามารถกดย่อ-ยุบได้
                        newCell.Text = "<i class='fas fa-minus mr-2'></i>" + string.Format(HidCatName.Value, "&nbsp;{0}", text);

    ผลลัพธ์

              จากตัวอย่าง การแสดงผลครั้งแรกก็จะเปลี่ยนเป็นขยายทั้งหมด และแสดงไอคอนเป็นเครื่องหมายลบ(-)ตั้งต้นไว้ให้ และสามารถย่อ-ยุบตามปกติได้แล้วค่ะ

    เพิ่มเติม

              นอกจากนี้ ผู้เขียนขอแถมให้อีกนิดสำหรับท่านที่ต้องการจะย่อประเภทกลุ่มทั้งหมด หรือต้องการให้แสดงประเภทกลุ่มทั้งหมด อาจจะทำเป็นปุ่มให้ผู้ใช้กด ซึ่งมีวิธี ดังนี้ค่ะ

    1. สร้างปุ่ม 2 ปุ่ม เพื่อกดขยายทั้งหมด และย่อทั้งหมด

    <asp:UpdatePanel ID="UpdatePanel1" runat="server">
            <ContentTemplate>
                <div class="col pull-right">
                    <asp:LinkButton ID="lnkShowAll" runat="server" CssClass="btn btn-sm btn-info mb-1" OnClientClick="javascript:ShowHideAll('1');return false;"><i class="fas fa-eye"></i>แสดงทั้งหมด</asp:LinkButton>
                    <asp:LinkButton ID="lnkHideAll" CssClass="btn btn-sm btn-info mb-1" OnClientClick="ShowHideAll('0');return false;" runat="server"><i class="fas fa-eye-slash"></i>ซ่อนทั้งหมด</asp:LinkButton>
                </div>
    
    
            </ContentTemplate>
        </asp:UpdatePanel>

    2. เขียนฟังก์ชั่นในการซ่อน/แสดงทั้งหมด

    <script>
        
     function ShowHideAll(flag) {
    
              /////ล้างค่าการระบุการแสดงผลและการแสดงไอคอนทั้งหมด ทำให้ทุกแถวยุบอยู่ จนกว่าจะมีการสั่งให้ show
                $(".accordian-body").removeClass("show");
                $(".collapseToggle").find('i').removeClass("fa-plus").removeClass("fa-minus");
    
             /////กรณีต้องการให้แสดงจะเพิ่มสไตล์ชีท show ให้กับทุกแถว และแสดงไอคอนเป็น - ทั้งหมด เพื่อให้กดย่อได้
    
                if (flag == '1') {
                    $(".accordian-body").addClass("show");
                    $(".collapseToggle").find('i').addClass("fa-minus");
                }
            /////กรณีต้องการให้แสดงจะแสดงไอคอนเป็น + ทั้งหมด เพื่อให้กดขยายได้
                else
                    $(".collapseToggle").find('i').addClass("fa-plus");
                }
    
    </script>

    ผลลัพธ์

    หมายเหตุ : ในการทำงานนี้จะใช้ jQuery และ Bootstrap ร่วมด้วย ผู้ที่จะนำไปใช้งานอย่าลืมอ้างอิงไฟล์สไตล์ชีทและสคริปท์ของ Bootstrap รวมทั้งไฟล์ของ jQuery เพื่อให้โค้ดข้างต้นสามารถทำงานได้นะคะ

              ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างวิธีการที่จะแก้ปัญหาในการแสดงผลข้อมูลแบบตารางด้วย GridView แบบจัดกลุ่มและสามารถย่อ-ยุบข้อมูลภายในกลุ่มได้ โดยนำความสามารถของ Component อย่าง collapse ใน Bootstrap เข้ามาช่วยเท่านั้น แต่ในส่วนของรูปแบบ วิธีการ แต่ละท่านสามารถปรับเปลี่ยนและพลิกแพลงเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถนำเกร็ดความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับงานของท่านได้อีกด้วย และขอบคุณที่ติดตามนะคะ ^^

    แหล่งอ้างอิง

    https://getbootstrap.com/docs/4.0/components/collapse/
    https://www.geeksforgeeks.org/how-to-change-symbol-with-a-button-in-bootstrap-accordion/

  • การจัดหมวดหมู่แถวของข้อมูลบน GridView ด้วย C#

              ในการดึงข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบตาราง GridView อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกของนักพัฒนาที่จะหยิบไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงผล แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกตาลายและอ่านยากไปสักหน่อย ผู้พัฒนาจึงต้องพยายามหาวิธีจัดการข้อมูลในการแสดงผลให้สามารถอ่านง่ายและสบายตามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมาก การจำแนกประเภท หรือแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำวิธีการแสดงผลของข้อมูลบน GridView แบบจำแนกออกตามกลุ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดูข้อมูลแยกส่วนกัน เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ GridView ซึ่งเราเองใช้งานอยู่และน่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ

    ขั้นตอนในการพัฒนา

    1. เตรียมข้อมูลในการแสดงผล โดยจากตัวอย่างนี้ จะทำการสมมุติข้อมูลของดอกไม้ ผลไม้ และต้นไม้ และมีข้อมูลเพื่อใช้ในการแยกประเภทไว้ด้วย เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ
    //// ประกาศตัวแปร GroupData
     เป็น ViewState เพื่อใช้ในงานข้อมูลในส่วนการแทรกแถวประเภทกลุ่มใน Event อื่นด้วย 
    
    public DataTable  GroupData
    
            {
                get
                {
                    if (ViewState["GroupData"] == null)
                    {
                        ViewState["GroupData"] = new DataTable();
                    }
                    return (DataTable)ViewState["GroupData"];
                }
                set { ViewState["GroupData"] = value; }
            }
    
    //// ผู้อ่านสามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่น Getdata() การดึงข้อมูลนี้ในตอน Page_Load เพื่อดูเป็นตัวอย่างได้ค่ะ
    protected void Getdata() 
            {
                
                GroupData.Columns.AddRange(new DataColumn[5] {
                             new DataColumn("CategoryName", typeof(string)),
                             new DataColumn("Name", typeof(string)),
                             new DataColumn("ID", typeof(string)),
                              new DataColumn("Amt", typeof(int)),
                            new DataColumn("CategoryID",typeof(string))});
    
                GroupData.Rows.Add("Flower", "Rose", "1",2500, "01");
                GroupData.Rows.Add("Flower", "Lotus", "3",150, "01");
                GroupData.Rows.Add("Fruit", "Grape", "2",350, "02");
                GroupData.Rows.Add("Fruit", "Mango", "4",1750, "02");
                GroupData.Rows.Add("Fruit", "Orange", "5",2240, "02");
                GroupData.Rows.Add("Tree", "Cactus", "6",370, "03");
                GroupData.Rows.Add("Tree", "Hazelnut Tree", "6",2250, "03");
                ////นำข้อมูลใน Datatable ชื่อ GroupData แสดงผลใน GridView
                GroupGv.DataSource = GroupData;
                GroupGv.DataBind();
            }
    

    หมายเหตุ : การประกาศตัวแปร และการดึงข้อมูลเป็นเพียงการยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจเท่านั้น ในการทำงานจริงผู้อ่านสามารถใช้วิธีการประกาศตัวแปรและเรียกใช้แบบอื่น หรือดึงข้อมูลจากส่วนอื่นได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความถนัดค่ะ

    2. เตรียม GridView ที่จะใช้ในการแสดงผล โดยจะขอยกตัวอย่างให้ดูการแสดงผล GridView แบบทั่วไปก่อนมีการจัดกลุ่ม เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ดังนี้ค่ะ

        <asp:GridView ID="GroupGv" runat="server" AutoGenerateColumns="False"
            DataKeyNames="ID"  CssClass="table table-sm table-hover Blue" Width="100%">
            <AlternatingRowStyle CssClass="Blue" />
            <EmptyDataRowStyle CssClass="Blue" />
            <EmptyDataTemplate>
                <br />
                <div style="text-align: center">
                    <i class="fas fa-exclamation-circle"></i>&nbsp;&nbsp; ไม่พบข้อมูล<br />
                    &nbsp;
                </div>
    
            </EmptyDataTemplate>
            <EmptyDataRowStyle HorizontalAlign="Center" />
            <HeaderStyle CssClass="Blue" />
    
            <Columns>
                <asp:TemplateField HeaderText="Name">
                    <ItemTemplate>
                        <asp:HiddenField ID="hdCatID" runat="server" Value='<%# Eval("CategoryID") %>' />
                        <asp:HiddenField ID="hdID" runat="server" Value='<%# Eval("ID") %>' />
                        <asp:HiddenField ID="HidCatName" runat="server" Value='<%# Eval("CategoryName") %>' />
                        <asp:Label ID="lblName" runat="server" Text='<%# Eval("Name") %>'></asp:Label>
                    </ItemTemplate>
                     <ItemStyle  Width="50%"  />
                </asp:TemplateField> <asp:BoundField HeaderText="Category Name" DataField="CategoryName">
                <ItemStyle  Width="30%"/>
                 </asp:BoundField>
                  <asp:BoundField HeaderText="Amount" DataField="Amt"  DataFormatString="{0:#,##0}" >
                <ItemStyle HorizontalAlign="Right"  Width="20%"/>
                 </asp:BoundField>
               
            </Columns>
        </asp:GridView>
    

    เพิ่มเติม : ข้อมูลจำนวนเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข จึงได้ทำการจัด Format รูปแบบของข้อมูลให้แสดงผลแบบตัวเลข ด้วยการระบุ DataFormatString=”{0:#,##0}” เช่น หากข้อมูล 2500 จะแสดง 2,500 ให้อัตโนมัติ

    ผลลัพธ์(ก่อนทำการจัดกลุ่ม)

    3. เพิ่ม Event ที่ชื่อว่า OnDataBound=”GroupGv_DataBound” ให้กับ GridView เพื่อแสดงผลข้อมูลแบบกลุ่ม และตัดคอลัมน์ประเภท(Category Name)ออกไป เนื่องจากเราจะนำไปใช้แสดงผลในการจัดกลุ่ม

        <asp:GridView ID="GroupGv" runat="server" AutoGenerateColumns="False"
            DataKeyNames="ID"  CssClass="table table-sm table-hover Blue" Width="100%" OnDataBound="GroupGv_DataBound">
            <AlternatingRowStyle CssClass="Blue"  />
            <EmptyDataRowStyle CssClass="Blue" />
            <EmptyDataTemplate>
                <br />
                <div style="text-align: center">
                    <i class="fas fa-exclamation-circle"></i>&nbsp;&nbsp; ไม่พบข้อมูล<br />
                    &nbsp;
                </div>
    
            </EmptyDataTemplate>
            <EmptyDataRowStyle HorizontalAlign="Center" />
            <HeaderStyle CssClass="Blue" />
    
            <Columns>
                <asp:TemplateField HeaderText="Name">
                    <ItemTemplate>
                         <%--นำค่าไปใช้ตอนแทรกแถวหมวดหมู่ที่ต้องการจัดกลุ่ม--%>
                        <asp:HiddenField ID="hdCatID" runat="server" Value='<%# Eval("CategoryID") %>' />
                        <asp:HiddenField ID="hdID" runat="server" Value='<%# Eval("ID") %>' />
                        <asp:HiddenField ID="HidCatName" runat="server" Value='<%# Eval("CategoryName") %>' />
                        <asp:Label ID="lblName" runat="server" Text='<%# Eval("Name") %>'></asp:Label>
                    </ItemTemplate>
                     <ItemStyle  Width="70%"  />
                </asp:TemplateField> 
                  <asp:BoundField HeaderText="Amount" DataField="Amt"  DataFormatString="{0:#,##0}">
                <ItemStyle HorizontalAlign="Right"  Width="30%"/>
                 </asp:BoundField>
               
            </Columns>
        </asp:GridView>
    

    4. เพิ่มโค้ดในส่วนของฝั่งเซิร์ฟเวอร์(C#) ให้กับ Event ของ GridView ที่เราเพิ่มในข้อ 3. เพื่อจัดกลุ่ม ดังนี้ค่ะ

            string lastCatName = "";
            string AllName = "";
    
            protected void GroupGv_DataBound(object sender, EventArgs e)
            {
                lastCatName = "";
                Table table = (Table)GroupGv.Controls[0];
    
               ////////วนเพื่อแทรกแถวชื่อแต่ละประเภทของข้อมูล เช่น ดอกไม้ ต้นไม้ หรือผลไม้ 
                foreach (GridViewRow row in GroupGv.Rows)
                {
                  
                  
                    HiddenField HidCatName = (HiddenField)row.FindControl("HidCatName");
                    HiddenField HidCatID = (HiddenField)row.FindControl("hdCatID");
                    HiddenField HidID = (HiddenField)row.FindControl("hdID");
                    
            
               ////////หากพบว่าเป็นประเภทใหม่จะทำการสร้างแถวและเพิ่มแทรกเข้าไป โดยมีการกำหนดค่าต่างๆ เช่น ข้อความที่จะแสดง สีพื้นหลัง สีตัวอักษร และค่า ColumnSpan เป็นต้น
    
     
                    if (HidCatName.Value != lastCatName)
                    {
                       
                        int realIndex = table.Rows.GetRowIndex(row);
                        string text = HidCatName.Value;
                        GridViewRow newHeaderRow = new GridViewRow(realIndex, 0, DataControlRowType.Header, DataControlRowState.Normal);
    
    
                        /////สร้าง TableCell และระบุค่าต่างๆ ก่อนนำไปเพิ่มในแถว newHeaderRow ที่เพิ่งสร้าง
                       TableCell newCell = new TableCell();
                        newHeaderRow.Cells.AddAt(0, newCell);
    
                        ///กำหนด ColumnSpan เท่ากับจำนวนคอลัมน์ทั้งหมดใน GridView (GroupGv.Columns.Count)เพื่อให้คอลัมน์ที่ต้องการเพิ่มยาวครอบคลุมทั้งแถว
                        newCell.ColumnSpan = GroupGv.Columns.Count;
                        newCell.BackColor = System.Drawing.Color.FromName("#399ea9"); ;
                        newCell.ForeColor = System.Drawing.Color.White;
                        newCell.Font.Bold = true;
                        newCell.Text = string.Format(HidCatName.Value, "&nbsp;{0}", text);
    
                        ////เพิ่มแถวที่ต้องการแทรกเข้าไปในตารางหรือ GridView ที่เรากำลังจัดการอยู่นั่นเอง
                        table.Controls.AddAt(realIndex, newHeaderRow);
                       
                    }
                    lastCatName = HidCatName.Value;
                }
            }         
    

    ผลลัพธ์ (หลังมีการจัดกลุ่ม)

    เพิ่มเติม : จากตัวอย่างข้างต้น เนื่องด้วยข้อมูลเป็นการจัดกลุ่มและมีข้อมูลเชิงตัวเลข ผู้เขียนจึงขอแนะนำเพิ่มเติมในส่วนของการแสดงจำนวนรวมแยกในแต่ละกลุ่มไว้ด้วย โดยเพิ่มเติมโค้ดในส่วนของ GroupGv_DataBound ดังนี้ค่ะ

     protected void GroupGv_DataBound(object sender, EventArgs e)
            {
                lastCatName = "";
                Table table = (Table)GroupGv.Controls[0];
    
                foreach (GridViewRow row in GroupGv.Rows)
                {
                  
                    HiddenField HidCatName = (HiddenField)row.FindControl("HidCatName");
                    HiddenField HidCatID = (HiddenField)row.FindControl("hdCatID");
                    HiddenField HidID = (HiddenField)row.FindControl("hdID");
    
    
                    if (HidCatName.Value != lastCatName)
                    {
    
                       //// เป็นการหาผลรวมค่าของฟิลด์ Amt ซึ่งหมายถึงจำนวน โดยเป็นการรวมค่าฟิลด์แยกตามแต่ละ CategoryID นั่นเอง
    
                        var sumOfValuesInCategory = GroupData.AsEnumerable().Where(x => x.Field<string>("CategoryID") == HidCatID.Value).Sum(x => x.Field<int>("Amt")).ToString();
                       
    
                        int realIndex = table.Rows.GetRowIndex(row);
                        string text = HidCatName.Value;
                        GridViewRow newHeaderRow = new GridViewRow(realIndex, 0, DataControlRowType.Header, DataControlRowState.Normal);
                        TableCell newCell = new TableCell();
                        newHeaderRow.Cells.AddAt(0, newCell);
    
                       /////ปรับแก้การระบุค่า ColumnSpan จากเดิมที่รวมกันทุกคอลัมน์(GroupGv.Columns.Count) 
                       //// แต่กรณีนี้ต้องเว้นคอลัมน์ไว้แสดงผลจำนวนรวมแต่ละประเภทด้วย
    
                        newCell.ColumnSpan =1;
                        newCell.BackColor = System.Drawing.Color.FromName("#399ea9"); ;
                        newCell.ForeColor = System.Drawing.Color.White;
                        newCell.Font.Bold = true;
                        newCell.Text = string.Format(HidCatName.Value, "&nbsp;{0}", text);
    
                        ///สร้าง TableCell หรือคอลัมน์ใหม่ เพื่อแสดงผลข้อมูลจำนวนรวมของแต่ละประเภท 
    
                        TableCell newCellTotal = new TableCell();
    
    
                        /////เพิ่ม TableCell ในแถวที่กำลังสร้างและระบุค่าต่างๆ
                        newHeaderRow.Cells.AddAt(1, newCellTotal);
                        newCellTotal.ColumnSpan = 1;
                        newCellTotal.BackColor = System.Drawing.Color.FromName("#399ea9"); ;
                        newCellTotal.ForeColor = System.Drawing.Color.White;
                        newCellTotal.Font.Bold = true;
                        newCellTotal.HorizontalAlign = HorizontalAlign.Right;
    
    
                        ////นำค่าผลรวมในตัวแปร sumOfValuesInCategory ที่คำนวณได้ข้างต้นมาจัดรูปแบบก่อนแสดงผลใน TableCell สร้าง
    
                        newCellTotal.Text = string.Format("{0:#,##0}",int.Parse(sumOfValuesInCategory));
                       
                        table.Controls.AddAt(realIndex, newHeaderRow);
                    
                    }
                    lastCatName = HidCatName.Value;
                }
            }

    ผลลัพธ์

              เพียงเท่านี้ท่านก็จะสามารถจัดกลุ่มข้อมูล GridView ของท่าน เพื่อลดปัญหาการดูข้อมูลแบบตารางที่มีแถวข้อมูลจำนวนมากได้บ้างแล้ว ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสามารถนำแนวทาง เกร็ดเล็กๆน้อยๆนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานของท่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ หากมีส่วนใดผิดพลาดทางผู้เขียนก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณที่ติดตามนะคะ ^^

    แหล่งอ้างอิง
    https://stackoverflow.com/questions/61773421/sum-column-where-condition-with-datatable

  • วิธีการรวมไฟล์ pdf หลายไฟล์และรูปภาพมาแสดงในครั้งเดียวด้วย iTextSharp (#C)

              ที่มาของบทความนี้ เนื่องด้วยงานที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้พัฒนาอยู่นั้น มีส่วนหนึ่งที่เป็นการแนบไฟล์เอกสาร/หลักฐานทั้งในรูปแบบไฟล์ PDF และรูปภาพ เข้ามาจากผู้ใช้งาน ซึ่งเอกสารเหล่านี้จะต้องมีส่วนของการแสดงผลให้ทางฝั่งเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสาร/หลักฐานดังกล่าวด้วย โดยเดิมทีจะมีการแสดงผลแยกเป็นรายการให้เจ้าหน้าที่เพื่อคลิกดูรายละเอียดทีละรายการ ดังภาพ

              ซึ่งในการทำงานจริงแล้วนั้นพบว่า การตรวจสอบเอกสาร/หลักฐานต่างๆที่ผู้ใช้แนบมาสามารถทำได้ยากและต้องใช้เวลา เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะต้องทำการคลิกดูรายละเอียด/ดาวน์โหลดไฟล์คราวละ 1 ไฟล์เพื่อตรวจสอบ ซึ่งไฟล์จะแยกกันอยู่ หากต้องการดาวน์โหลดก็ต้องดาวน์โหลดทีละไฟล์ ดังภาพ

    จึงเป็นที่มาของการค้นหาวิธีการแสดงผลไฟล์ทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบและดูรายละเอียดข้อมูลเอกสารไฟล์แนบได้ในคราวเดียว ซึ่งผู้เขียนก็ได้นำวิธีการดังกล่าวมาแบ่งปันให้กับผู้อ่านที่มีความสนใจและประสบปัญหาคล้ายกันอยู่  ซึ่งจะมีวิธีการดังนี้ค่ะ

    1.ดึงข้อมูลไฟล์แนบเอกสารทั้งหมดของผู้ใช้

      DataTable dtFile = new DataTable();
    
        //เป็นส่วนของการสมมุติการดึงข้อมูลการแนบไฟล์ของผู้ใช้ออกมาในรูปแบบ Datatable
            dtFile.Columns.AddRange(new DataColumn[2] { 
                             new DataColumn("CITIZEN_ID", typeof(string)),
                            new DataColumn("FILE_PATH",typeof(string))});
            dtFile.Rows.Add("xxxxxxxxxxxx", "resumeFiles/Document1.pdf");
            dtFile.Rows.Add("xxxxxxxxxxxx", "resumeFiles/Document2.pdf");
            dtFile.Rows.Add("xxxxxxxxxxxx", "resumeFiles/Document3.pdf");
            dtFile.Rows.Add("xxxxxxxxxxxx", "resumeFiles/Image.png");
             
    
    //สร้างตัวแปรในการเก็บค่าชื่อไฟล์ เพื่อใช้ในการส่งเป็นพารามิเตอร์ในการรวมไฟล์
            List<string> listFiles = new List<string>();
            string path = Server.MapPath("../registPDF");
    
    //ตั้งชื่อไฟล์ที่จะรวมไฟล์ทั้งหมดไว้ และประกาศตัวแปรต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้างและรวมไฟล์
            string genName = Guid.NewGuid().ToString() + ".pdf";
    
    //ตัวแปร tmpPath เป็นตัวแปรที่เป็นชื่อไฟล์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวมไฟล์ทั้งหมด
    
            string tmpPath = "../registPDF/" + genName;
            string[] files = Directory.GetFiles(path);
            string[] fileName;
            string DestName = "";
    
    //กำหนดนามสกุลที่ต้องการตรวจสอบว่าเป็นไฟล์รูปภาพหรือไม่
            string[] ImgExt = { "png","jpg","jpeg","gif"};
    
           /// เป็นการลบ Temporary file ที่ถูกสร้างขุึ้นเพื่อรวมไฟล์ เพื่อไม่ให้มีไฟล์ที่ไม่ใช้งานค้างอยู่ในเซิร์ฟเวอร์มากเกินไป *****
            foreach (string file in files)
            {
                FileInfo fi = new FileInfo(file);
                if (fi.LastAccessTime < DateTime.Now.AddMinutes(-30))
                    fi.Delete();
            }
          
    
          //วนค่าเพื่อเก็บตัวแปรชื่อไฟล์แนบก่อนรวมไฟล์
    
            for (int i = 0; i <= dtFile.Rows.Count - 1; i++)
            {
    
         //ตรวจสอบว่ามีไฟล์ดังกล่าวอยู่จริงหรือไม่บนเซิร์ฟเวอร์ตามที่อยู่ไฟล์ที่อ้างถึง
                if (File.Exists(Server.MapPath("../" + dtFile.Rows[i]["FILE_PATH"].ToString())))
                {
    
         //ตรวจสอบชนิดของไฟล์ว่ามีนามสกุลอะไร หากไม่ใช่ไฟล์ PDF จะต้องทำการแปลงและสร้างเป็นไฟล์ PDF ก่อนส่งไปรวมไฟล์
                    fileName = dtFile.Rows[i]["FILE_PATH"].ToString().Split('.');
                    if (fileName[1] == "pdf")
                        listFiles.Add(Server.MapPath("../" + dtFile.Rows[i]["FILE_PATH"].ToString()));
                    else 
                    {
    
         //กรณีที่พบว่าไม่ใช่ไฟล์ PDF จะตรวจสอบว่าเป็นไฟล์รูปภาพหรือไม่ หากใช่จะทำการแปลงและสร้างเป็นไฟล์ PDF ก่อนส่งไปรวมไฟล์
                        if (ImgExt.Contains(fileName[1].ToLower()))
                        {
                            DestName = "../registPDF/"  + Guid.NewGuid().ToString() + ".pdf";
                            ConvertImageToPdf(Server.MapPath("../" + dtFile.Rows[i]["FILE_PATH"].ToString()), Server.MapPath(DestName));
                            listFiles.Add(Server.MapPath( DestName));
                        }
                    }
                } 
     
            }
    
    //เรียกใช้งานเมธอดในการรวมไฟล์ โดยส่งค่าลิสต์ของชื่อไฟล์ PDF ทั้งหมดที่ต้องการรวม และชื่อไฟล์ปลายทางที่จะใช้ในการรวม
    
            CombineMultiplePDFs(listFiles.ToArray(), Server.MapPath(tmpPath));
    
    
    //แสดงผล PDF ไฟล์ที่ได้ทำการรวมเรียบร้อยแล้วด้วย Literal โดยตัวแปร tmpPath คือที่อยู่ของไฟล์ใหม่ที่ทำการรวมไฟล์ PDF ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว
    
    
            StringBuilder strObj = new StringBuilder();
    
            strObj.Append("<object id=\"pdfContainer\" type=\"application/pdf\"");
            strObj.AppendFormat(" data=\"{0}#toolbar=1&amp;navpanes=0&amp;scrollbar=1\" style=\" z-index:1000; width: 99%;  height: 600px;\">", tmpPath);
            strObj.AppendFormat(" <param name=\"src\" value=\"{0}#toolbar=1&amp;navpanes=0&amp;scrollbar=1\"> ", tmpPath);
            strObj.Append(" </object>");
    
            ltrPDF.Text = strObj.ToString();
            dtFile = null;
            

    หมายเหตุ ในการทำงานข้างต้น ควรมีการลบไฟล์(Temporary file)ที่ถูกสร้างไว้ก่อนหน้านี้ที่ไม่ใช้งานออกไปด้วย เนื่องจากการรวมไฟล์ด้วยวิธีนี้จะมีการสร้างไฟล์รวมตัวใหม่ขึ้นมาและนำไปแสดงผลให้ผู้ใช้ ซึ่งหลังจากผู้ใช้งานไม่ใช้งานแล้วหากเราไม่ทำการลบทิ้งจะเกิดเป็นไฟล์ขยะบนเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากได้

              โดยจากโค้ดข้างต้นจะพบว่า ไฟล์ที่จะใช้ในการรวบรวมจะต้องเป็นไฟล์ PDF ซึ่งในการทำงานจริงของเรา การแนบไฟล์เอกสาร/หลักฐานสามารถแนบได้ทั้งไฟล์ที่เป็น PDF และไฟล์ที่เป็นรูปภาพด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะทำการรวมไฟล์ จึงต้องทำการตรวจสอบว่ามีไฟล์ดังกล่าวอยู่จริงหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบชนิดของไฟล์ด้วย หากพบว่าไฟล์ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในรูปแบบ PDF ไฟล์ ให้ทำการแปลงไฟล์รูปภาพเหล่านั้นให้เป็น PDF เสียก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในขณะทำการรวมไฟล์นั่นเอง

    2. เขียนเมธอดในการรวมไฟล์ดังกล่าวและสร้างเป็นไฟล์ PDF ตัวใหม่

        public static void CombineMultiplePDFs(string[] fileNames, string outFile)
        {
            // ขั้นที่ 1: สร้าง document ที่จะรวมไฟล์ทั้งหมดขึ้นมา
            Document document = new Document();
            // สร้าง FileStream object ที่จะใช้งานและต้องอย่าลืม dispose เมื่อใช้งานเรียบร้อยแล้ว
            using (FileStream newFileStream = new FileStream(outFile, FileMode.Create))
            {
                // ขั้นที่ 2: สร้างตัว
                PdfCopy writer = new PdfCopy(document, newFileStream);
                if (writer == null)
                {
                    return;
                }
    
                //ขั้นที่ 3:เปิดการใช้งานตัว document
                document.Open();
    
              // วนเพื่ออ่านค่าชื่อไฟล์ และทำการเพิ่มข้อมูลลงในเอกสารตัวใหม่ที่จะรวมไฟล์ทั้งหมด
    
               foreach (string fileName in fileNames)
                {
                    // สร้างตัว reader จากเอกสารแนบที่กำลังวน
                    PdfReader reader = new PdfReader(fileName);
                    reader.ConsolidateNamedDestinations();
    
                    // ขั้นที่ 4: ทำการเพิ่มหน้าข้อมูลจาก reader ให้กับตัว writer ทีละหน้า
                    for (int i = 1; i <= reader.NumberOfPages; i++)
                    {
                        PdfImportedPage page = writer.GetImportedPage(reader, i);
                        writer.AddPage(page);
                    }
    
                    PRAcroForm form = reader.AcroForm;
                    if (form != null)
                    {
                        writer.CopyAcroForm(reader);
                    }
    
                    reader.Close();
                }
    
                // ขั้นที่ 5: ปิดการทำงาน document และ writer
                writer.Close();
                document.Close();
            } 
        }
    

    3.เขียนเมธอดในแปลงไฟล์รูปภาพให้เป็นไฟล์ PDF

     public static void ConvertImageToPdf(string srcFilename, string dstFilename)
        {
            iTextSharp.text.Rectangle pageSize = null;
    
            using (var srcImage = new Bitmap(srcFilename))
            {
                pageSize = new iTextSharp.text.Rectangle(0, 0, srcImage.Width, srcImage.Height);
            }
            using (var ms = new MemoryStream())
            {
                var document = new iTextSharp.text.Document(pageSize, 0, 0, 0, 0);
                iTextSharp.text.pdf.PdfWriter.GetInstance(document, ms).SetFullCompression();
                document.Open();
                var image = iTextSharp.text.Image.GetInstance(srcFilename);
                document.Add(image);
                document.Close();
    
                File.WriteAllBytes(dstFilename, ms.ToArray());
            }
        }

    4.แสดงผลไฟล์ PDF ที่รวมเรียบร้อยแล้ว ด้วย Literal

            StringBuilder strObj = new StringBuilder();
    
            strObj.Append("<object id=\"pdfContainer\" type=\"application/pdf\"");
            strObj.AppendFormat(" data=\"{0}#toolbar=1&amp;navpanes=0&amp;scrollbar=1\" style=\" z-index:1000; width: 99%;  height: 600px;\">", tmpPath);
            strObj.AppendFormat(" <param name=\"src\" value=\"{0}#toolbar=1&amp;navpanes=0&amp;scrollbar=1\"> ", tmpPath);
            strObj.Append(" </object>");
    
            ltrPDF.Text = strObj.ToString();
    

    หมายเหตุ ในการใช้งานโค้ดข้างต้น มีไลบรารีที่จำเป็นต้องใช้งาน ดังนี้ค่ะ

    using System.IO;
    using iTextSharp.text;
    using iTextSharp.text.pdf;
    using System.Data;
    using System.Text;
    using System.Drawing;

    ผลลัพธ์ ตัวอย่างไฟล์ที่ได้จากการรวมไฟล์เอกสาร PDF 3 ไฟล์ และไฟล์รูปภาพ 1 ไฟล์

              ซึ่งวิธีการนี้เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาในการแสดงผลไฟล์ PDF หลายๆไฟล์ในครั้งเดียวเท่านั้น และอาจมีข้อจำกัดหากผู้ใช้มีการแนบไฟล์จำนวนมาก เนื่องจากจะส่งผลให้ขนาดของไฟล์ที่รวมได้มีขนาดใหญ่มากตามไปด้วย ในส่วนของการแนบไฟล์จึงควรมีการจำกัดขนาดและรูปแบบให้เหมาะสมในการแนบไฟล์แต่ละครั้ง เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์ด้วย และผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้กับนักพัฒนาที่กำลังประสบปัญหาเดียวกันอยู่ไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณค่ะ ^^

    แหล่งอ้างอิง

    https://stackoverflow.com/questions/6029142/merging-multiple-pdfs-using-itextsharp-in-c-net

    https://alandjackson.wordpress.com/2013/09/27/convert-an-image-to-a-pdf-in-c-using-itextsharp/

  • จะทำอย่างไรให้สามารถดึงข้อมูลมาแสดงผลด้วย Progress bar โดยใช้ .Net (C#)

              จากบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้แนะนำเกี่ยวกับ Progress bar และวิธีการใช้งานเบื้องต้นกันไปแล้ว ซึ่งใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ มาถึงในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอนำความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงที่มีการดึงข้อมูลตอน Runtime มาแสดงผลด้วย Progress bar โดยผู้เขียนจะไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนของการสร้างสไตล์ชีทและการกำหนดค่าต่างๆแล้ว แต่จะเน้นในส่วนของการดึงข้อมูลมาแสดงแทน โดยผู้เขียนจะพยายามยกตัวอย่างให้เห็นหลายแนว เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพในการนำไปใช้มากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบจะต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

    แบบแถบละสี

    1. ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล และจัดเตรียม Tag Html ที่จะใช้ในการแสดงผล
        private void getData()
        {
            ////////////////////เป็นการสมมุติการดึงข้อมูลมาใส่ Datatable ที่ชื่อว่า dtProgress ซึ่งเป็นจำนวนของผลไม้แต่ละชนิด
    
            StringBuilder strProgress = new StringBuilder();
            DataTable dtProgress = new DataTable();
            dtProgress.Columns.AddRange(new DataColumn[2] { 
                             new DataColumn("Percent", typeof(int)),
                            new DataColumn("Name",typeof(string))});
    
            dtProgress.Rows.Add(25, "Orange");
            dtProgress.Rows.Add(56, "Grape");
            dtProgress.Rows.Add(45, "Mango");
            dtProgress.Rows.Add(100, "Banana");
          
          ////////////////////เป็นการวนลูปค่าเพื่อสร้างแท็ก html ในการแสดงผลแถบ Progress bar
             int i = 0;
             for ( i = 0; i <= dtProgress.Rows.Count -1; i++) 
             {
             
         ////////////////////เป็นการแสดงชื่อผลไม้แต่ละชนิดบนแถบ Progress bar
                strProgress.Append("<h3 class=\"progress-title\">" + dtProgress.Rows[i]["Name"] + "</h3>");
                strProgress.Append("<div class=\"progress-outer\">");
                strProgress.Append("<div class=\"progress\">");
    
         ////////////////////เป็นการแสดงกำหนดขนาดให้กับแถบสี Progress bar ตามข้อมูล % ในแถวที่วน และมีการ ดึงค่าสไตล์ชีทจากการเรียกใช้ฟังก์ชั่น getCss()
    
    ตามเงื่อนไขของจำนวน % ด้วย
                strProgress.Append("<div class=\"progress-bar progress-bar-striped " + getCss(int.Parse(dtProgress.Rows[i]["Percent"].ToString())) + " \" style=\"width:" + dtProgress.Rows[i]["Percent"] + "%;\"></div>");
    
    
         ////////////////////แสดงจำนวน % ของแต่ละแถบ Progress bar
    
                strProgress.Append("<div class=\"progress-value\"><span>" + dtProgress.Rows[i]["Percent"] + "</span>%</div>");
                strProgress.Append("</div></div>");
             }
    
         ////////////////////นำค่า Tag Html ที่เตรียมไว้ มาแสดงผลด้วย Literal
    
             ltrProgressBar.Text = strProgress.ToString();
    
        }

    2. เมธอดในการแปลงค่าสไตล์ชีทเพื่อปรับสีตามจำนวนที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์

    private string getCss(int Percent)
        {
            string ReturnResult = "";
    
            if (Percent >= 0 && Percent <= 25) 
            {
                ReturnResult = "progress-bar-danger";
            }
            else if (Percent > 25&& Percent <= 50) 
            {
                ReturnResult = "progress-bar-warning"; 
            }
            else if (Percent > 50 && Percent <= 75)
            {
                ReturnResult = "progress-bar-info";
            }
            else if (Percent > 75 && Percent <= 100)
            {
                ReturnResult = "progress-bar-success";
            }
            return ReturnResult;
        }

    จากโค้ดข้างต้นจะเป็นการกำหนดสไตล์ชีทที่จะใช้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนค่า % ที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง

    • สีแดง ช่วงตั้งแต่ 0 – 25 %
    • สีส้ม ช่วงตั้งแต่ 26 – 50 %
    • สีฟ้า ช่วงตั้งแต่ 51 – 75 %
    • สีเขียว ช่วงตั้งแต่ 76 – 100 %

    ตัวอย่างการเรียกใช้งาน

        protected void Page_Load(object sender, EventArgs e)
        {
            getData();
        }

    ผลลัพธ์

    แบบหลายสีในแถบเดียวกัน(แบบที่ 1)

              โดยในตัวอย่างนี้ จะเป็นการแสดงข้อมูลจำนวนผลไม้เป็น % รวมในแถบ Progress bar เดียวกัน ซึ่งจะแยกตามสี และมีบอกจำนวนรวมถึงชื่อผลไม้ให้ทราบ อีกทั้งยังแสดงจำนวนรวมของผลไม้ทุกชนิดด้วย โดยมีวิธีการทำ ดังนี้ค่ะ

    1. ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล และจัดเตรียม Tag Html ที่จะใช้ในการแสดงผล
        private void getMultiFruitColorData()
        {
            StringBuilder strProgress = new StringBuilder();
            DataTable dtProgress = new DataTable();
            dtProgress.Columns.AddRange(new DataColumn[2] { 
                             new DataColumn("Percent", typeof(int)),
                            new DataColumn("Name",typeof(string))});
            dtProgress.Rows.Add(25, "Orange");
            dtProgress.Rows.Add(12, "Grape");
            dtProgress.Rows.Add(7, "Mango");
            dtProgress.Rows.Add(25, "Banana");
    
            int i = 0;
            int percent = 0;
            string CssStr = "";
            int Total = 0;
            
                strProgress.Append("<h3 class=\"progress-title\">Multiple-fruits</h3>");
                strProgress.Append("<div class=\"progress-outer\">");
                strProgress.Append("<div class=\"progress\">");
            for (i = 0; i <= dtProgress.Rows.Count - 1; i++)
            {
                percent = int.Parse(dtProgress.Rows[i]["Percent"].ToString());
    
    
    ////////////////////คำนวณผลรวม % ของผลไม้ทุกชนิดตามการวนรอบที่จะแสดงในแถบ Progress bar
    
                Total += percent;
                switch (i) 
                {
                    case 0: CssStr = "progress-bar-danger"; break;
                    case 1: CssStr = "progress-bar-warning"; break;
                    case 2: CssStr = "progress-bar-info"; break;
                    case 3: CssStr = "progress-bar-success"; break;
                }
    
    ////////////////////เป็นการแสงค่า % ของผลไม้แต่ละชนิดในแถบ Progress bar เดียวกัน โดยแสดงชื่อผลไม้ และจำนวน % ของผลไม้แต่ละชนิดด้วย
    
                strProgress.Append("<div class=\"progress-bar progress-bar-striped " + CssStr + "\" style=\"width:" + percent + "%;\">" + dtProgress.Rows[i]["Name"] + "(" + percent + "%)</div>");
               
            }  
    
     ////////////////////เป็นการแสงผลรวม % ของผลไม้ทุกชนิดในแถบ Progress bar
    
            strProgress.Append("<div class=\"progress-value\"><span>" + Total + "</span>%</div></div>");
            strProgress.Append("</div></div>");
    
            ltrProgressBar.Text = strProgress.ToString();
    
        }
    

              จากโค้ดตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่าการสร้างแท็ก Html จะแตกต่างจากแบบแรก คือจะมีการสร้างใน <div class=\”progress\”> เดียวกัน ซึ่งมีหลักการคล้ายกับการสร้าง Progress bar อย่างง่ายหลายสีในแถบเดียวกันที่เคยกล่าวไว้แล้วในบทความก่อนหน้านั่นเอง

    ผลลัพธ์

    แบบหลายสีในแถบเดียวกันและแสดงหลายแถบ Progress Bar(แบบที่ 2)

              ในตัวอย่างนี้ เป็นการแสดงผลแถบสีแยกตามช่วงของข้อมูลบน Progress bar แต่ละแถบ โดยการแสดงผลจะแบ่งสีตามปริมาณข้อมูลในแต่ละช่วง ดังนี้

    สีแดง ช่วงตั้งแต่ 0 – 25 % สีส้ม ช่วงตั้งแต่ 26 – 50 % สีฟ้า ช่วงตั้งแต่ 51 – 75 % สีเขียว ช่วงตั้งแต่ 76 – 100 %

    หากข้อมูลที่ต้องการแสดงผลตกอยู่ในช่วงใดก็จะมีการแสดงแถบสีนั้นขึ้นมาให้เห็นตามลำดับ โดยมีวิธีการทำต่อไปนี้ค่ะ

    1. ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล และจัดเตรียม Tag Html ที่จะใช้ในการแสดงผล
        private void getMultiColorData()
        {
            StringBuilder strProgress = new StringBuilder();
            DataTable dtProgress = new DataTable();
            dtProgress.Columns.AddRange(new DataColumn[2] { 
                             new DataColumn("Percent", typeof(int)),
                            new DataColumn("Name",typeof(string))});
    
            dtProgress.Rows.Add(25, "Orange");
            dtProgress.Rows.Add(56, "Grape");
            dtProgress.Rows.Add(45, "Mango");
            dtProgress.Rows.Add(100, "Banana");
    
            int i = 0;
            int j = 0;
            int maxRange = 0;
            int percent = 0;
            for (i = 0; i <= dtProgress.Rows.Count - 1; i++)
            {
                percent= int.Parse(dtProgress.Rows[i]["Percent"].ToString());
    
    
    ////////////////////วนเพื่อสร้าง Progress bar ใหม่ในผลไม้แต่ละชนิด
    
                strProgress.Append("<h3 class=\"progress-title\">" + dtProgress.Rows[i]["Name"] + "</h3>");
                strProgress.Append("<div class=\"progress-outer\">");
                strProgress.Append("<div class=\"progress\">");
                maxRange = 0;
    
    ////////////////////คำนวณหาว่าค่าของ % ตกอยู่ในช่วงใด 1-4(เนื่องจากแบ่งออกเป็นช่วงละ 25 % และรวมเป็น 100%)
    
    
                if (percent >= 0 && percent <= 25)
                {
                    maxRange = 1;
                }
                else if (percent > 25 && percent <= 50)
                {
                    maxRange = 2;
                }
                else if (percent > 50 && percent <= 75)
                {
                    maxRange = 3;
                }
                else if (percent > 75 && percent <= 100)
                {
                    maxRange = 4;
                }
    
    ////////////////////วนลูปเพื่อแสดงผลสีในแต่ละช่วงบน Progress bar โดยมีการเรียกใช้งานเมธอด getCssRange()
    
                for (j = 1; j <= maxRange; j++)
                {
                    strProgress.Append(getCssRange(percent, j, maxRange));
                 }
                strProgress.Append("<div class=\"progress-value\"><span>" + dtProgress.Rows[i]["Percent"] + "</span>%</div></div>");
                strProgress.Append("</div></div>");
            }
    
            ltrProgressBar.Text = strProgress.ToString();
    
        }

    2. สร้างเมธอดที่ใช้ในการสร้างแท็ก Html ในการแสดงผลแถบสี ซึ่งในส่วนของกระบวนการคำนวณแถบสีจะไม่ขอลงในรายละเอียด แต่แสดงไว้ให้เห็นภาพการทำงานหลักๆเท่านั้น ดังนี้ค่ะ

        private string getCssRange(int Percent,int Range,int MaxRange)
        {
            string ReturnResult = "";
    
            switch (Range)
            {
                case 1:
                    if (MaxRange > Range)
                        ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-danger\" style=\"width:25%;\"></div>";
    
                    else 
                    {
                        Percent = Percent >= 25 ? 25 : Percent - (25 * (Range - 1));
                    ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-danger\" style=\"width:" + Percent + "%;\"></div>";
                    }
                    break;
                case 2:
                    if (MaxRange > Range)
                        ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-warning\" style=\"width:25%;\"></div>";
    
                    else
                    {
                        Percent = Percent >= 50 ? 50 : Percent - (25 * (Range - 1));
                        ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-warning\" style=\"width:" + Percent + "%;\"></div>";
                    }
                   
                    break;
    
                case 3:
                    if (MaxRange > Range)
                        ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-info\" style=\"width:25%;\"></div>";
    
                    else
                    {
                        Percent = Percent >= 75 ? 75 : Percent- (25* (Range-1));
                        ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-info\" style=\"width:" + Percent + "%;\"></div>";
                    }
                     break;
    
                case 4:
    
                     if (Percent==100)
                         ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-success\" style=\"width:25%;\"></div>";
                     else
                     {
                         Percent =   Percent - (25 * (Range - 1));
                         ReturnResult = "<div class=\"progress-bar progress-bar-striped progress-bar-success \" style=\"width:" + Percent + "%;\"></div>";
                     }
                      break;
    
            }
             return ReturnResult;
        }
    

    ผลลัพธ์

    หมายเหตุ : จากตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจการประยุกต์ใช้งาน และการทำงานร่วมกับ Progress bar เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งผู้อ่านสามารถดัดแปลง และมีวิธีการรวมถึงเทคนิคที่แตกต่างออกไปที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อแสดงผลข้อมูล ขึ้นกับอัลกอริธึมของแต่ละท่าน

              จากบทความนี้จะเห็นได้ว่า วิธีการดึงข้อมูลมาแสดงผลด้วย Progress bar แบบนี้ จะมีความยืดหยุ่นกว่าแบบที่มีการกำหนดค่าตายตัวในบทความก่อนหน้า อีกทั้งยังสามารถแสดงจำนวนแถบ Progress bar และสีได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับข้อมูล การกำหนดเงื่อนไขในการแสดงผล และความต้องการของผู้พัฒนาที่จะดึงข้อมูลมาแสดงผลนั่นเอง และผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะพอเป็นแนวทางในการนำไปใช้งานจริงให้กับทุกท่านได้นะคะ ขอบคุณค่ะ ^^

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

    https://bestjquery.com/tutorial/progress-bar/demo78/

    https://www.jquery-az.com/boots/demo.php?ex=51.0_5

  • มาทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้งาน Progress bar ในเบื้องต้นกันเถอะ

              โดยปกติแล้วในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา คงมีบางเวลาที่เราอาจจะอยากแสดงผลข้อมูลของเราในรูปแบบของ Progress bar ซึ่งเป็นแถบของข้อมูล เพื่อเพิ่มมุมมองให้กับการแสดงผลให้ไม่น่าเบื่อจำเจแทนที่จะเป็นเพียงการแสดงผลตัวเลขเฉยๆ โดยเจ้า Progress bar นี้จะทำให้เราเห็นภาพได้ว่า ข้อมูลของเราได้ดำเนินการใกล้ถึงเป้าหมายแล้วหรือยัง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ ดังนั้นในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีการใช้งาน Progress bar แบบเบื้องต้น โดยจะมีขั้นตอนง่ายๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้

    1. การกำหนสไตล์ชีท โดยเราจะใช้สไตล์ชีทเหล่านี้ เพื่อช่วยให้การแสดงผลของ Progress bar ของเราสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งการกำหนดสไตล์ชีทสามารถทำได้ 2 วิธี คือแบบที่กำหนดในไฟล์เลย หรือแยกเป็นไฟล์สไตล์ชีทต่างหากได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้ทำเป็นแบบแยกไฟล์สไตล์ชีทออกมาต่างหากแล้วอ้างถึงจากไฟล์ที่เรียกใช้แทน เพื่อง่ายต่อการปรับปรุง และใช้งานในครั้งต่อไปค่ะ

    ไฟล์ Progress.css

      .progress-title {
        font-size: 18px;
        font-weight: 700;
        color: #000;
        margin: 0 0 10px;
      }
    
    .progress-outer {
        background: #fff;
        padding: 5px 60px 5px 5px;
        border: 5px solid #bebfbf;
        border-radius: 45px;
        margin-bottom: 20px;
        position: relative;
    }
    
    .progress {
        background: #bebfbf;
        border-radius: 20px;
        margin: 0;
    }
    
        .progress .progress-bar {
            border-radius: 20px;
            box-shadow: none;
            animation: animate-positive 2s;
        }
    
        .progress .progress-value {
            font-size: 20px;
            font-weight: 700;
            color: #6b7880;
            position: absolute;
            top: 3px;
            right: 10px;
        }
    
        .progress-bar.active{
        animation: reverse progress-bar-stripes 0.40s linear infinite, animate-positive 2s;
        }
       @-webkit-keyframes animate-positive{
        0% { width: 0%; }
        }
       @keyframes animate-positive {
        0% { width: 0%; }
        }
    
       .progress-bar-striped {
        background-image: linear-gradient(
    45deg
    ,rgba(255,255,255,.15) 25%,transparent 25%,transparent 50%,rgba(255,255,255,.15) 50%,rgba(255,255,255,.15) 75%,transparent 75%,transparent);
        background-size: 1rem 1rem;
      }
      .progress-bar {
        display: -ms-flexbox;
        display: flex;
        -ms-flex-direction: column;
        flex-direction: column;
        -ms-flex-pack: center;
        justify-content: center;
        overflow: hidden;
        color: #fff;
        text-align: center;
        white-space: nowrap;
         transition: width .6s ease;
       }
       .progress {
        display: -ms-flexbox;
        display: flex;
        height: 1rem;
        overflow: hidden;
        font-size: .75rem;
        background-color: #e9ecef;
        border-radius: .25rem;
        box-shadow: inset 0 0.1rem 0.1rem rgb(0 0 0 / 10%);
        }
     

    เพิ่มเติม : การอ้างอิงไฟล์สไตล์ชีทจากภายนอก โดยที่อยู่ของไฟล์ก็ขึ้นกับการระบุของแต่ละท่าน

    <link href="dist/css/Progress.css" rel="stylesheet">

    2. การกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล Progress bar ในส่วนของแท็ก body ในไฟล์ html

    <div class="container">
        <div class="row">
            <div class="col-md-6">
    
             <!-- progress bar-->
                <h3 class="progress-title">Basic Progress</h3>  <!-- progress bar Title-->
                <div class="progress-outer">
                    <div class="progress">
                        <!-- กำหนดสไตล์ชีทเพื่อแสดงแถบสี และขนาดของ progress bar -->
                        <div class="progress-bar progress-bar-striped progress-bar-info" style="width:85%;"></div>
                       <div class="progress-value"><span>85</span>%</div> <!-- แสดงข้อความจำนวน % บน progress bar -->
                    </div>
                </div>
            <!-- End progress bar-->
          
            </div>
        </div>
    </div>

    คำอธิบาย : จากตัวอย่าง จะเห็นว่าเราสามารถปรับแต่งและใส่ข้อมูลให้กับ Progress bar 3 ส่วนคือ

    • ข้อความบนแถบ Progress bar ได้ในส่วนของ Progress-title คือ <h3 class=”progress-title”>Basic Progress</h3>
    • กำหนดความกว้างของ Progress bar ได้ผ่านทาง style-inline คือ style=”width:85%;
    • แสดงข้อความจำนวนของข้อมูลบนแถบ Progress bar คือ <div class=”progress-value“><span>85</span>%</div> นั่นเอง

    3. การเรียกใช้งาน jQuery เพื่อการแสดงผล Progress bar ของเราให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนเลขที่แสดงตั้งแต่ 0 จนถึงจำนวนเลขนั้น เช่น หากเลขที่ต้องการแสดงคือ 60% ตัวเลขแสดงจำนวนดังกล่าวจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นโดยเริ่มจาก 0 จนถึง 60 นั่นเอง

    <script type="text/javascript" src="https://code.jquery.com/jquery-1.12.0.min.js"></script>
     <script>
    $(document).ready(function(){
        $('.progress-value > span').each(function(){
            $(this).prop('Counter',0).animate({
                Counter: $(this).text()
            },{
                duration: 1500,
                easing: 'swing',
                step: function (now){
                    $(this).text(Math.ceil(now));
                }
            });
        });
    });
     </script>

    ผลลัพธ์

    เพิ่มเติม
              จากตัวอย่างข้างต้น จะเป็นการแสดงผล Progress bar แบบพื้นฐานอย่างง่าย เพียงเท่านี้ท่านก็จะสร้าง Progress bar ได้ด้วยตนเองแล้ว แต่หากท่านใดที่อยากเพิ่มสีสันและความสวยงามให้กับ Progress bar ของท่าน ก็สามารถทำได้ดังตัวอย่างนี้ค่ะ
    1. ปรับแก้เพิ่มเติมในส่วนของการกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล

    <div class="container">
        <div class="row">
            <div class="col-md-6">
    
             <!-- progress bar-->
                <h3 class="progress-title">Progress1</h3>  <!-- progress bar Title-->
                <div class="progress-outer">
                    <div class="progress">
                        <!-- กำหนดสไตล์ชีทเพื่อแสดงแถบสี และขนาดของ progress bar -->
                        <div class="progress-bar progress-bar-striped progress-bar-danger" style="width:25%;"></div>
                       <div class="progress-value"><span>25</span>%</div> <!-- แสดงข้อความจำนวน % บน progress bar -->
                    </div>
                </div>
    
            <!-- End progress bar-->
                <h3 class="progress-title">Progress2</h3>
                <div class="progress-outer">
                    <div class="progress">
                        <div class="progress-bar progress-bar-striped progress-bar-warning" style="width:50%;"></div>
                        <div class="progress-value"><span>50</span>%</div>
                    </div>
                </div>
                <h3 class="progress-title">Progress3</h3>
                <div class="progress-outer">
                    <div class="progress">
                        <div class="progress-bar progress-bar-striped progress-bar-info" style="width:75%;"></div>
                        <div class="progress-value"><span>75</span>%</div>
                    </div>
                </div>
                <h3 class="progress-title">Progress4</h3>
                 <div class="progress-outer">
                    <div class="progress">
                        <div class="progress-bar progress-bar-striped progress-bar-success" style="width:90%;"></div>
                        <div class="progress-value"><span>90</span>%</div>
                    </div>
                </div>
            </div>
        </div>
    </div>

    2. เพิ่มสไตล์ชีทที่ใช้สำหรับเพิ่มสีสันให้กับ Progress bar ของเรา

    .progress-bar-danger {
        background-color: #d9534f;
    }
    .progress-bar-warning {
        background-color: #f0ad4e;
    }
    .progress-bar-success {
        background-color: #5cb85c;
    }
    .progress-bar-info {
        background-color: #5bc0de;
    }

    ผลลัพธ์

              จากตัวอย่างข้างต้น จะเป็นวิธีการสร้าง Progress bar ที่มีการใส่สีสันให้กับแต่ละแถบเส้น แต่ลูกเล่นของการแสดงผล Progress bar ยังสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งผู้เขียนจะขอแนะนำอีกวิธี ซึ่งเป็นการสร้าง Progress bar แบบหลายสีในแถบเดียวกันโดยมีวิธีการเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ

    การกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล Progress bar ในส่วนของแท็ก body ในไฟล์ html

    <div class="container">
        <div class="row">
            <div class="col-md-6">
    
                  <h3 class="progress-title">Multiple-color Progress</h3>
                    <div class="progress-outer">
                <!-- การกำหนดแถบสีใน 1 แถบ progress bar-->
                        <div class="progress">
    
                            <!-- แถบสีแดงใน progress bar ขนาด 25%-->
                            <div class="progress-bar progress-bar-danger progress-bar-striped" style="width: 25%">25%
                            </div>
                              <!-- แถบสีส้มใน progress bar ขนาด 25%-->
                            <div class="progress-bar progress-bar-warning progress-bar-striped" style="width: 25%">50%
                            </div>
                             <!-- แถบสีฟ้าใน progress bar ขนาด 25%-->
                            <div class="progress-bar progress-bar-info progress-bar-striped " style="width: 25%">75%
                            </div>
                             <!-- แถบสีเขียวใน progress bar ขนาด 25%-->
                            <div class="progress-bar progress-bar-success progress-bar-striped active" style="width: 10%">10%
                            </div>
                            <div class="progress-value">
                                <span>85</span>%</div>
                        </div>
                    </div>
          
            </div>
        </div>
    </div>

              จากโค้ดตัวอย่างข้างต้น จะสังเกตเห็นว่าการกำหนดค่าต่างๆจะมีลักษณะกับหลักการที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่จะแตกต่างกันตรงที่การแสดงผลหลายแถบสีในแถบเดียวกันจะมีการกำหนด progress bar ภายใต้แท็ก <div class=”progress”> เดียวกัน และหากต้องการกำหนดให้มีกี่แถบสีก็สามารถเพิ่มสี และกำหนดขนาดของแต่ละแถบสีได้ตามต้องการ

    ผลลัพธ์

              โดยบทความนี้ก็ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแนะนำการใช้งาน รวมถึงลูกเล่นของ Progress bar ในเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากรูปแบบและการใช้งานของ Progress bar ยังมีให้เลือกใช้ เลือกลองกันอีกมากมายหลายแบบเลยนะคะ ผู้เขียนหวังว่าความรู้จากบทความนี้จะเป็นพื้นฐานและตัวช่วยให้กับนักพัฒนาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานของตนได้ไม่มากก็น้อยค่ะ ^^

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

    https://bestjquery.com/tutorial/progress-bar/demo78/

    https://www.jquery-az.com/boots/demo.php?ex=51.0_5